ภาพลักษณ์เชิงวัตถุของก้นเพศชายกามารมณ์ออนไลน์ของกลุ่มชายรับชายในทวิตเตอร์
ภาพลักษณ์เชิงวัตถุของก้นเพศชายกามารมณ์ออนไลน์ของกลุ่มชายรับชายในทวิตเตอร์
Material Image of Male buttocks: Online Homoeroticism among MIRM – Men who use the internet to seek relationship with other men – in Twitter
ว่าที่ร้อยตรีเบญจรงค์ ถิระผลิกะ
Acting sub lt. Benjarong Tirapalika
นักวิชาการอิสระ และนิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
Independent scholar and Ph.D. candidate in program of Communication, Faculty of Business Economic and Communication, Naresuan University
บทคัดย่อ
ในอดีต “ก้น” ถูกความเป็นชายจัดการและเบียดขับให้ไปอยู่เป็นคู่ตรงข้ามกับความเป็นชายโดยสิ้นเชิง ซึ่ง “ก้น” มักถูกนําไปเชื่อมโยงกับความเป็น “ฝ่ายรับ” และเป็นหน้าที่ของ “ฝ่ายรับ” ในการจัดการให้ “ก้น” มีคุณสมบัติแบบ “ก้นนิยม” หรือ “buttocksism” แต่โลกาภิวัฒน์พัดพาส่งผลให้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ โดยกรณีศึกษานี้ใช้ทวิตเตอร์ ส่งผลให้ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนเมื่อเรื่อง “ก้น”ถูกจับมาผูกกับความเป็นชาย โดยที่ “ฝ่ายรุก” กลับมาให้ความสําคัญและนําเรื่องคุณลักษณะของ “ก้น” มาเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับชายรับชายอื่นในพื้นที่ทวิตเตอร์
บทความชิ้นนี้เกิดขึ้นจากการเดินทางลงพื้นที่ของผู้เขียน พื้นที่เพื่อการศึกษาซึ่งชายรับชายจํานวนมาก “แห่” มาใช้ นั้นคือ “ทวิตเตอร์” อย่างมีนัยยะสําคัญทางสถิติ (Young SD, Szekeres G, Coates T., 2013) โดยวิธีการเข้าถึงข้อมูลของผู้เขียนใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาที่เรียกว่า “Netnography” หรือที่หมายถึงงาน เชิงชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล ซึ่งได้รับการพัฒนาจากชาติพั นธุ์วรรณาเดิมที่ศึกษามีระเบียบวิธีการเข้าถึงข้อมูลโดย วิธีการฝังตัวในพื้นที่หรือชุมชนจริง มีผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่ม “ชายรับชาย” ที่ศึกษาความ เป็นชายผ่าน “ก้น” ซึ่งในปัจจุบันมีการให้ความหมายที่ต่างจากเดิมไป รวมทั้งประเด็นของการเบียดขับทาง รสนิยมทางเพศระหว่าง “ฝ่ายรับ” และ “ฝ่ายรุก” ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งผู้เขียนจะอธิบายต่อไป
ทําไมต้อง “ชายรับชาย”
เหตุผลหลักที่ผู้เขียนเลือกใช้คําดังกล่าวในการศึกษาพื้นที่เสมือนด้ วยเหตุที่ตั้งแต่เริ่มต้นลงสนามวิจัย ผ่านการวิจัยสองประเด็นคือ 1) ชายรับชาย : ความสัมพันธ์ในชุมชนทวิตเตอร์ และ 2) ชาติพันธุ์ทวิตเตอร์: การเปิดเผยตัวตนของกลุ่มชายรับชายในชีวิตประจําวัน รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องชาย รักชายที่มีการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2528 ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยชิ้นแรกที่ค้นพบ (เบญจรงค์ ถิระผลิ กะ, 2560; เบญจรงค์ ถิระผลิกะ, 2561) พบว่าการที่กลุ่มผู้ชายที่ใช้ทวิตเตอร์หรือสื่อสังคมออนไลน์ในการ ค้นหาปฏิสัมพันธ์ กลายเป็นปรากฏการณ์ว่ากลุ่มผู้ชายดังกล่าวนั้นหลายคนไม่ได้นิยามตนเองว่าเป็น “เกย์” หรือ “ชายรักชาย” หรือรสนิยมทางเพศอื่นใด รวมทั้งในบางคนยังให้คํานิยามของตนเองอีกว่า “มีลูกเมียแล้ว แค่อยากลอง” เป็นต้น ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศหลายชิ้นให้นิยามคําศัพท์เพื่อใช้ในการศึกษากลุ่มนี้ต่าง ๆ เช่น MSM – Men who have sex with men หรือผู้ชายที่มีกิจกรรมทางเพศกับผู้ชาย รวมทั้ง MISM – Men who use the internet to seek sex with other men หรือกลุ่มชายที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหา กิจกรรมทางเพศกับชายอื่น นอกจากนั้นจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มชายที่ใช้ทวิตเตอร์พบว่า มีชายรักชาย จํานวนมากที่กล่าวว่า “ไม่ยอมรับ” และ “ไม่ชอบ” ให้คนทั่วไปเหมารวมว่า “ชายรักชาย” หรือ “เกย์” ต้อง ใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือทวิตเตอร์ ในการค้นหาปฏิสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกับเรื่องเพศ เพราะ “ชายรักชาย” มัก โดนเหมารวมว่าเป็นกลุ่มที่สนใจและมีความต้องการทางเพศอย่างมากมายรวมทั้งเป็น “ผู้แพร่เชื้อ HIV” (ปิย ลักษณ์ โพธิวรรณ์, 2554)
ดังนั้นผู้เขียนใช้ประสบการณ์จากการลงพื้นที่ในการวิจัยทวิตเตอร์ รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมใน มุมต่าง ๆ ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอคําว่า “ชายรับชาย” เพื่อใช้ในการศึกษา โดยผู้เขียนนิยามคําว่า “ชายรับชาย” ว่า ผู้ชายที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการหากิจกรรมทางเพศหรือกิจกรรมอื่น ๆ กับผู้ชายด้วยกัน รวมทั้งกลุ่มที่มีความ หมายใกล้เคียง หรือเทียบเท่าโดยอินเทอร์เน็ตในที่นี้หมายความถึงทวิตเตอร์ หากจะอธิบายอย่างละเอียดจะ พบว่า 1) ชายรับชายนั้น ผู้เขียนต้องการใช้เป็นคํากลาง เพราะเนื่องจากเมื่อนิยามคําศัพท์ระหว่างศึกษา อาจสามารถแบ่งได้อีกเป็น 2 ลักษณะคือ (1) ชายรุกชาย และ (2) ชายรับชาย ซึ่งกริยาทั้งสองนั้นแทน พฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกเมื่อคนสองคนหรือมากกว่าสองคนมีกิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ทางเพศกัน
และ 2) การที่ผู้เขียนไม่ใช้คําว่า “ชายรักชาย”หรือ “เกย์” นั้น เนื่องจากผู้เขียนต้องการศึกษาเฉพาะ ประเด็นกิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชนทวิตเตอร์ ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมและการที่ผู้เขียน อยู่ในพื้นที่การศึกษามาเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเริ่มการศึกษานั้นมีสมาชิกหลายบัญชีรายชื่อที่กล่าวว่า “ตนเอง ไม่ใช่เกย์ และ/หรือ ไม่ใช่ชายรักชาย แค่เป็นผู้ชายที่อยากลองกิจกรรมทางเพศแบบใหม่ ๆ เท่านั้นหรือแม้ กระทั่งบางบัญชีผู้ใช้มีครอบครัวแล้วและยังคงใช้ชีวิตในโลกที่เป็นรูปธรรมที่เป็นเพศชายปกติ เป็นต้น รวมทั้ง การปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชนทวิตเตอร์นั้นมีหลากหลายกรณีที่ไม่ได้เกิดจากความรัก แต่เป็นเพียงการ ชอบพอและตกลงกันที่จะมีกิจกรรมทางเพศกันเท่านั้น ฉะนั้นจากข้อมูลที่ผู้เขียนมีจึงพยายามที่จะนิยามศัพท์ที่ เป็นคํากลางเพื่อไม่ให้กระทบกับประชากรชายรักชายอื่นในสังคมไทย ที่บางส่วนไม่ได้นิยมที่จะหาปฏิสัมพันธ์ ผ่านชุมชนทวิตเตอร์หรือในแอพลิเคชันหาคู่ต่าง ๆ (เบญจรงค์ ถิระผลิกะ, 2560)
และเมื่อ “ชายรับชาย” เข้ามาใช้พื้นที่ทวิตเตอร์แล้วก็นํามายาคติเรื่อง “ความเป็นชาย” จากพื้นที่จริง จากชุมชนจริงเข้ามาใช้ด้วย โดยความเป็นชายในพื้นที่จริงนั้นหมายถึงการมีรูปร่างสมส่วน มีกล้ามเนื้อเด่นจัด เสียงทุ่มต่ํา และองค์ประกอบอื่นใดที่เป็นองค์ประกอบสําคัญในการจัดแบ่งกลุ่มคนตามรสนิยมทางเพศ โดยใช้ ความเป็น “รุก” เป็น “รับ” มาจัดกลุ่ม รวมทั้งผนวกใช้กับการวัดความเป็นชายเพื่อจําแนกประเภทของ กิจกรรมทางเพศที่ส่งผลต่อไปยังการตีตราและการแสดงออกของภาพตัวตนระหว่างกลุ่มที่เป็น “รุก” และ “รับ” รวมทั้ง “โบ๊ท” อีกด้วย
ความเป็นชาย (มายาคติ) ที่ต้องเป็นชาย
การศึกษาเรื่องเพศชายหรือผู้ชายนั้นมีการศึกษามาอย่างไม่ขาดสาย ในเรื่องของเพศตามธรรมชาติ ที่มี แค่ชายหนึ่งหญิงสอง จนกระทั่งมีเรื่องที่เป็นเพศลําดับที่สามสี่ห้าเป็นต้นมา การศึกษาเรื่องเพศชายนั้นมี อิทธิพลต่อการศึกษาเพศศึกษาในหลายสาขาวิชารวมทั้งในศาสตร์ของมานุษยวิทยาด้วย ในบทความชิ้นนี้ผู้ เขียนจะพยายามวิพากษ์ในเรื่องของผู้ชายชายในมุมความเป็นชายผ่านอวัยวะที่เพศชายหรือความเป็นชายไม่ได้ พูดถึงมากนัก เพราะอวัยวะประเภทนี้มักจะถูกนําไปเปรียบเทียบกับความเป็นชายที่ไม่เป็นชาย อวัยะชิ้นนั้น คือ “ก้น”
เหตุที่ผู้เขียนกล่าวว่าความเป็นชายนั้นมักไม่มีการกล่าวผ่านมุมมองของ “ก้น” เพราะเนื่องจากการ ผลิตซ้ําทางเพศที่ว่าชายรับชาย “แบบรุก” มีความเป็นชายมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นบางกรณีก็ยกว่าประชากร ของชายรับชาย “แบบรุก” ก็มีน้อยกว่า ทําให้ประเด็นการให้ความสนใจและความสําคัญนั้นนําไปผูกโยงกับ “อวัยวะเพศชาย” ที่เข้มแข็ง แข็งแรง รวมทั้ง “ใหญ่” “ยาว” “อึดทน” ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความต้องการตาม “พิมพ์นิยม” ฉะนั้น “ก้น” จึงถูกนําไปผูกกับชายรับชาย “แบบรับ” ที่มักมีมายาคติว่า “ผิวขาว” “ออกสาว” “ตัวเล็ก” “ก้นเด็ก” เป็นต้น ทําให้มุมมองของ “ก้น” ในความเป็นชายนั้นถูกตีตราและเหมารวม แต่ใน ปัจจุบันเมื่อเกย์ได้ใช้พื้นที่เสมือนในการสื่อสาร พบปะ ปฏิสังสรรค์กัน กลับกลายเป็นว่าคํานิยามของ “ก้น” ที่ เคยถูกประกอบสร้าง ถูกตีตราและเหมารวมว่า “ก้น” ต้องเป็นหน้าที่หรือเป็นชายรับชาย “แบบรับ” เท่านั้นที่ ต้องให้ความสําคัญต้องเปลี่ยนไป
อ่านบทความฉบับเต็ม ภาพลักษณ์เชิงวัตถุของก้นเพศชายกามารมณ์ออนไลน์ของกลุ่มชายรับชายในทวิตเตอร์