การจัดระเบียบร่างกายของผู้หญิงผ่านทรงผมและเครื่องแต่งกาย
การจัดระเบียบร่างกายของผู้หญิงผ่านทรงผมและเครื่องแต่งกาย
กฤษณะพงศ์ สิทธิปัญญา นิสิตศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
เส้นผมหรือเส้นขน (Hair) ในทางวิทยาศาสตร์แล้วถือว่าเป็นผลผลิตของร่างกาย มี เคราตินเป็นส่วน ประกอบหลัก เจริญเติบโตอยู่ในโพรงหรือช่องว่าเรียกว่ารูขุมขน (Follicles) ซึ่งกระจายอยู่บนผิวหนัง และเป็น เอกลักษณ์เฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในทางกายภาพแล้ว เส้นผมหรือเส้นขน (Hair) มีหน้าที่ในการรักษา สมดุลอุณหภูมิของร่างกายรวมไปถึง เป็นกลไกสําคัญในการสร้างแรงดึงดูดทางเพศ (Clarence R. Robbins, 1978) อย่างไรก็ตามสําหรับมนุษย์ผู้นิยามตนเป็นสัตว์ชั้นสูงผู้มีอารยะ และอยู่ร่วมกันเป็นสังคมแล้ว เส้นผมมี นัยยะและความหมายมากกว่านั้น อันจะเห็นได้จากทรงผมและเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นองค์ประกอบ สําคัญที่ทําให้เกิดความงามของผู้หญิง โดยหากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์จะพบว่า ในพื้นที่และสังคม หนึ่ง แต่ช่วงเวลามีความแตกต่างกันของเครื่องแต่งกายและทรงผมทั้งสิ้น นํามาซึ่งข้อสงสัยว่าเหตุใดเครื่องแต่ง กายและทรงผมของผู้หญิงในสถานที่หนึ่งจึงมีความเหมือนและแตกต่างกัน กลไกใดที่ทําให้เครื่องแต่งกายและ ทรงผมนั้นๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไป และจึงนํามาสู่การศึกษาเข้าไปในประวัติศาสตร์ชาติไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งคําตอบ ดังกล่าว
สยามประเทศ กลุ่มชาติพันธุ์กับบทบาทของทรงผม
รากฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสยามและอานาจักรใกล้เคียงในเอเชียตัววันออกเฉียงใต้ มีการนิยาม ให้ความหมายและคุณค่ากับเส้นผมและทรงผมซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ชาติพันธุ์ ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม จารีตและประเพณี ตั้งแต่อดีต อันจะเห็นได้จากการหลักฐานทางโบราณคดีที่ถูกสืบค้นพบ ว่างานประติมากรรมต่างๆ ที่ถูกค้นพบ พระเจดีย์จุลประโทน อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีเป็นการสลักลาย บนแผ่นหินที่มีเส้นสายที่แสดงถึงผู้หญิงสมัยทวารดีมีการไว้ผมยาวเกล้าสูงเป็นจอมไว้บริเวณกลางศีรษะหรือมี การถักเปียและเกล้าขึ้นเป็นชั้น รัดด้วยเครื่องประดับตกแต่งทรงผม ผู้ขายมีการไว้ผมและตกแต่งทรงผมด้วย เครื่องประดับในลักษณะคล้ายกัน เพียงแต่จะมีการปล่อยให้ชายผมห้อยเป็นหลอดลงมายาวประบ่า ซึ่งสะท้อน ให้เห็นถึงความแตกต่างสัญญะของทรงผมกับความแตกต่างของเพศสภาะได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็น อาณาจักรเก่าแก่และโบราณที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ก็ตาม
เมื่อพิจารณาลักษณะทรงผมของหญิงอยู่ในอาณาจักรสุโขทัย โดยพิจารณาจากหลักฐานรูปปั้นสุโขทัย ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ และชายที่นํามากจากภาพลายเส้นบนแผ่นศิลา วัดศรีชุม อุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย พบว่าทรงผมของชายหรือหญิงในสมัยดังกล่าวมีการปล่อยผมยาว เกล้ามวยไว้บนศีรษะ หรือแสกกลางรวบผมไว้ตรงท้ายทอย อาจพบชายไว้ผมสั้นบริเวณต้นคอบ้าง แต่ในภาพรวมแล้วพบว่าไม่ได้มี สัญญะเรื่องการนํามาแบ่งความเป็นเพศสภาพอีกต่อไป ใช้เพียงเครื่องตกแต่งร่างกายและทรงผมเป็นเครื่องมือ ในการจัดระเบียบแทน
อย่างไรก็ตามในสมัยอาณาจักรอยุธยาพบกว่าผู้หญิงมีการไว้ผมยาวเกล้าผมมวยสูงคล้ายคลึงกับ อาณาจักรสุโขทัย หากแต่มีความแตกต่างกันในเรื่องความหลากหลายของทรงผมได้เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น อาทิ มีการเปลี่ยนตําแหน่งการเกล้ามวยผมจากเดิมเป็นด้านหลังหรือด้านข้าง หรือแม้แต่การปล่อยผมยาวประ บ่า ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการช่วงต้นซึ่งได้มีการเปิดกว้างเพื่อให้ผู้ได้แสดงตัวตนในรูปแบบต่างๆ ที่ ตนเองชื่อชอบมากขึ้น ตามการนิยามความงามของยุคสมัย
ช่วงต้นของรัตนโกศิลป์ มีความหลากหลายของสัญญะของทรงผมซึ่งแตกต่างไป ทรงผมได้เริ่มเข้ามามี บทบาทในเรื่องของการแบ่งสถานะภาพทางสังคม ชนชั้นและช่วงวัย วัยเด็กจะมีการไว้ทรงผมที่มีเอกลักษณะ เฉพาะเพื่อเป็นการจัดระเบียบช่วงวัย โดยวัยเด็กมีการไว้ทรงจัดที่มีการมัดรวมผมขมวดไว้บนศีรษะบริเวณ กระหม่อม ด้านข้างมีการตัดผมสั้น เรียกว่าผมจุก บ้างมีลักษณะคล้ายกันเพียงแต่รวบผมที่เหลือไว้ตรงบริเวณ กระหม่อมเรียกว่าผมโก๊ะ หากมีการถักไขว้ผมที่เหลือจากบริเวณโคนผมจรดปลายผมและปล่อยปลายห้อยลง มา เรียกว่าผมเปีย หรือในบางกรณีตัดผมสั้นทั้งผมเหลือไว้เพียงกระจุกผมด้านบนหรือด้านข้างไว้เพียง 1-3 กระจุกเรียกว่าทรงแกละ ทรงผมของเด็กต่างๆ เหล่านี้เป็นที่นิยมของชาวสยามอันประกอบสร้างมาจากหลาย สิ่งแม้แต่ความเชื่อ อยู่คู่กับสังคมหรือเป็นวัฒนธรรมมาอย่างยาวงานอันจะเห็นได้จากการนําชื่อของทรงผมมา เรียกแทนจนกระทั่งต่อมากลายเป็นชื่อเรียกเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เห็นได้ว่าในปัจจุบันก็จะยังได้ยินชื่อ จุก โก๊ะ เปีย แกละ เป็นชื่อเล่นของคน แม้ว่าจะไม่ได้มีความนิยมในการไว้ผมทรงดังกล่าวแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ไม่พบ หลักฐานปรากฎการไว้ผมทรงอื่นใดในเด็กชนชั้นเจ้านาย และลูกหลานเชื้อพระวงศ์นอกจากไว้จุก ซึ่งมักเตรียม การไว้สําหรับการโสกัณต์ หรือโกนจุก ดังนั้นในช่วงระยะเวลานี้ทรงผมจึงเริ่มเข้ามีบทบาทการแบ่งชนชั้น วรรณะที่ชัดเจน (โอม รัชเวทย์, 2543)
ในมิติการนําทรงผมมาใช้เป็นสัญญะในการบ่งบอกเพศสภาพ สถานภาพสามารถพบเห็นได้ชัดเจน ใน วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในสยาม อาทิ ชาติพันธุ์ไทดํา หรือลาวซ่งซึ่งอพยพมาจากเดียนเบียนฟู อยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม ที่อพยพเข้ามาสยามหลายครั้งตั้งแต่สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย เหตุทางการเมือง เมื่อเข้ามาก็ได้นํารากฐานทางวัฒนธรรม ความเชื่อ จารีตประเพณีติดตัวมาด้วย สําหรับทรง ผมนั้นเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว โดยมีการเกล้าผมทํามวยเป็นสองก้อน เรียกว่าปั้น เกล้า ซึ่งลักษณะและรูปแบบของทรงผมนั้นจะนํามาใช้จัดระเบียบการบ่งบอกสถานะภาพทางสังคม อายุ ที่มี ลักษณะแตกต่างกันไป หญิงไทดําจะเริ่มไว้ผมตั้งแต่อายุ 13 ปี ซึ่งยังคงมีความยาวของผมไม่เพียงพอต่อการมัด รวบ เนื่องจากผมจะยาวอยู่บริเวณประไหล่เท่านั้น โดยจะเรียกทรงนี้ว่า ทรงเอื้อมไหล่หรือเอื้อมไร ต่อมาเมื่อ ผมยาวมากขึ้น จะมีการม้วนเก็บและใช้หวีสับบริเวณท้ายทอย เรียกทรงนี้ว่า ผมสับปิ้น เมื่อผมยาวเพียงพอที่ จะสามารถรวบมัดได้แล้ว จะเริ่มมีการมัดผมเป็นกระจุกและยกกระบังผมด้านหน้าไว้และปล่อยปลายผมด้าน หลัง เรียกทรงนี้ว่า ทรงจุกต๊บ และเมื่อยาวมากเพียงพอจะผูกเป็นปมเหมือนกับการผูกเชือกไว้ด้านหลัง และ ปล่อยปลายผมช่วงด้านขวา เรียกทรงนี้ว่า ผมขอดกระต๊อก เมื่อหญิงสาวอายุประมาณ 18 ปี จะเริ่มมีการเกล้า ผมทรงผมปั้นเกล้าขอดซอย โดยมีลักษณะการมัดเกล้าผมคล้ายโบว์ไว้ด้านหน้าซ้ายและปล่อยชายผมเป็นหาง ด้านหลัง
เห็นได้ว่า ทรงผมหญิงสาวชาติพันธุ์ไทดําหรือลาวซ่งนั้น มีความสอดคล้องกันเรื่องของความยาวของ เส้นผม กับทรงผมต่างๆ ซึ่งย่อมสอดคล้องกับอายุของหญิงคนนั้นๆ ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อหญิงไทดําเป็นสาว เต็มตัวจะเริ่มมีการเกล้าผมตลบไว้กลางศีรษะและม้วนชายสอดเข้าด้านใน โดยจะมีการใช้ไม้สอดขัดผมไว้ ไม่ให้
ผมหลุดออก จะเรียกทรงนี้ว่าทรง ปั้นเกล้าต่วง ถือเป็นทรงที่บ่งบอกการบรรลุนิติภาวะอย่างเต็มตัว และเมื่อ พ่อแม่หรือสามี ของหญิงไทดําเสียชีวิต จะมีการปรับเปลี่ยนทรงผมให้มีการปั้นเกล้าให้ตกค่อนไปด้านหลังของ ศีรษะ และไม่ยกทรงด้านหลังสูง โดยเรียกทรงนี้ว่า ปั้นเกล้าต๊ก หรือทรงแม่ม่าย ซึ่งเป็นการแสดงความอาลัย ซึ่งทรงผมทําให้ได้นํามาซึ่งความแตกต่างทางสถานะภาพทางสังคมนั่นเอง
การสถาปนาทรงผมของผู้หญิงในชนชั้นสูงในอาณาจักรรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325 หลังจากเจ้าพระยาจักรกรีปราบดาภิเษก ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ต่อมาได้รับการถวายนามพระ ปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี และได้ทรงย้าย ราชธานีมาตั้งฝั่งพระนคร ทรงสร้างบรมหาราชวัง ยกเสาหลักเมือง และเกิดอาณาจักรรัตนโกสินทร์ขึ้นตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา ในมิติของการจัดระเบียบทรงผมของสตรีชั้นสูงนั้นมิได้มีเพียงแต่การ จัดแบ่งตามสถานะภาพ ทางสังคมอีกต่อไป หากแต่มีการนิยามความงาม และการแสดงตัวตนในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น โดยมีการพัฒนา ทรงผมขึ้นให้มีความสอดคล้องกับเครื่องแต่งกาย อีกทั้งยังถือว่าเป็นการนําทรงผมไปใช้เพื่อเป็นสัญญะ และ เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบสตรี เพื่อให้เป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนสู่อํานาจรัฐ
สมัยดังกล่าว เป็นครั้งแรกที่มีการโปรดเกล้าให้ ออกพระราชบัญญัติการแต่งกายธรรมเนียมครั้งอยุธยา ให้ผู้หญิงไว้ผมทรงปีกที่มีลักษณะการไว้ผมยาวเฉพาะกลางกระหม่อม หวีผมแสกกลาง ปัดไปด้านข้างคล้ายทรง มหาดไทย มีปอยผมบริเวณใบหูยาวประมาณคาง การแต่งกายห่มสไบเฉียงหรือคาดผ้าแถบรอบอกแล้วห่มสไบ ทับหรือแม้แต่ห่มตะเบงมาน นุ่งโจงกระเบน เห็นได้ว่ามีความพยายาม และความตั้งใจที่จะต้องการเปลี่ยนรูป แบบทรงผมและเครื่องแต่งกายนั้น ให้มีความแตกต่างกับอาณาจักรอยุธยาที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างชัดเจน และยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทรงผมสตรีไปตามระยะเวลา แต่ยังคงลักษณะคล้ายคลึงเดิม
ในช่วงรัชกาลที่ 4 พบว่าผู้หญิงเริ่มมีการไว้ผมยาวมากกว่าเดิมและมีเปลี่ยนการจัดแต่งทรงจากเดิม เปลี่ยนการหวีปัดมาทางด้านหลัง นิยมไว้จอนผมข้างใบหูยาว เรียกว่าทรงดอกกระทุ่ม ในช่วงรัชกาลที่ 5 เริ่มมี การไว้ผมด้านข้างยาวมากขึ้น ไม่นิยมการไว้จอนอีกต่อไป ยังคงพบว่าในช่วงปลายรัชสมัยดังกล่าว มีความ หลากหลายของทรงผมมากขึ้น ด้วยอิทธิพลวัฒนธรรมแบบวิคตอเรียน (Victoria) สอดคล้องกับการเปลี่ยนไป ของการเครื่องแต่งกายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้แก้ไขเครื่องแต่ง กายของเจ้านายฝ่ายในให้เป็นไปตามพระราชดําริดูให้เหมือนแบบตะวันตกในแบบต่างๆ ถึง 15 แบบ โดยได้รับ อิทธิพลมาจากผู้หญิงอังกฤษสมัยพระนางเจ้าวิกตอเรีย 12 แบบ ได้รับอิทธิพลมาจากตุ๊กตาในสมัยพระนางเจ้า วิกตอเรียที่มีการนํามาจําหน่าย 1 แบบและได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องแต่งกายของหญิงอังกฤษในสมัยพระเจ้า เอดเวิร์ด 2 แบบ เริ่มมีการเปิดกว้างให้ผู้หญิงได้มีการตกแต่งตามความพอใจของแต่ละบุคคล เห็นได้จากเจ้า นายฝ่ายในและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอบางพระองค์ทรงไว้พระเกศายาวตามแบบอย่างตะวันตก บ้างปล่อยผม ยาวประมาณบั้นเอว ในช่วงเวลาดังกล่าวทรงผมจึงไม่ได้นํามาเพื่อเป็นการจัดระเบียบผู้หญิงกับอัตลักษณ์ของ ความเป็นสยามอีกต่อไป อีกทั้งยังมีการเปิดกว้างให้ผู้หญิงสามารถแสดงความเป็นตัวตนได้มากขึ้น แต่ยังคงอยู่ ในกรอบและการจัดระเบียบของผู้หญิงซึ่งนําไปใช้เป็นอัตลักษณ์เพื่อนําเสนอให้ต่างชาติถึงความเป็นอารยของ สยาม
อ่านบทความฉบับเต็ม การจัดระเบียบร่างกายของผู้หญิงผ่านทรงผมและเครื่องแต่งกาย