“ระ-หว่าง-ทาง”
ชีวิตของคนทำงานภาคสนาม โดยเฉพาะนักมานุษยวิทยา ล้วนมีจุดมุ่งหมายปลายทางที่เพียรค้นหาสิ่งที่ต้องการด้วยเหตุแห่งการเดินทางโดยต้องสืบเสาะแสวงหาเพื่อสนอง “ความไม่รู้” ด้วย “ความรู้”
แม้ว่าสิ่งอันปรารถนาที่ไขว้คว้านั้นจะได้รับการสนองทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้น “ระ-หว่าง-ทาง” ก็ช่วยเติมเต็มเรื่องราว-ความหมาย-ความทรงจำของคำตอบนั้น ๆ ได้ดีอยู่มิใช่น้อย
ภาพชุด “ระ-หว่าง-ทาง” ได้ร้อยเรียงมุมมอง ณ ชั่วขณะหนึ่ง บางเหลี่ยมมุมได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่ทอดไกลอย่างไร้จุดหมาย แต่ก็กลับกลายเป็นเหตุแห่งการตั้งสติเพื่อค้นพบความสุขอันเรียบง่าย ในขณะที่ ความสงสัยก็อาจผุดผาดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวเพียงเพราะความแปลกใหม่ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า
ชีวิต “ระ-หว่าง-ทาง” เส้นนี้ เป็นการเดินทางไกลในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ครั้นเมื่อต้องออกเดินทางค้นหาวิถีชีวิตของ “คนไทดำ (Black Tai Ethnic Group)” แต่ในขณะเดียวกันก็ได้พบมุมมองของ “ชีวิต” อื่น ๆ อีกหลากหลายที่ชวนขบคิดอย่างน่าสนใจ
ท้ายที่สุด จะเห็นว่า คุณค่าของ “ระ-หว่าง-ทาง” กลับไม่ต้องแสวงหา หากแต่จะเกิดขึ้นได้เพียงเพราะเราชายตามอง ก็เท่านั้น
แรกลืมตาในวันใหม่ วิวห้องทำงานในยามเช้า
(ภาพถ่ายขณะรถตู้วิ่งผ่านเทือกเขาในยามเช้า วินาทีแรกที่เบิกตาโพลงก็รับรู้ถึงความสดชื่น สดใส)
ก้อนหินในลำธารกว้าง กับชายยืนล้างมอเตอร์ไซต์คู่ใจ
เด็กน้อยบนเนินดิน กับหญิงที่ยืนจ้องมองรถที่วิ่งไปมาบนถนนเส้นทางหลักของประเทศ
“ราชาชูรส” แม่ค้าชาวลาวนั่งแบกะดินขายหน่อไม้ ในตลาดเช้าแห่งหนึ่ง
ร่มแห่งโชคชะตา (laolottery) กับ ความหวังที่เริ่มจากโต๊ะเล็ก ๆ ของผู้คนเดินดิน
พักผ่อน: เรือนิ่งเทียบฝั่ง คนว่ายน้ำสำราญใจ
บ้านชายป่า กับสุริยาฉายแสง
สี่เด็กน้อยแจวเรือในแม่น้ำดำ สปป.ลาว
เรือจอดเทียบฝั่งเมื่อสิ้นภารกิจ เงียบสงบดั่งผืนน้ำไร้การกระเพื่อม
กองทรายสนทนา
ห่วงยางสามัคคี
น้ำกลั่นอันบริสุทธิ์
ผู้เขียน
ไอยเรศ บุญฤทธิ์
ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Shutter Stories: เล่าภาพย่านเก่าในความทรงจำผ่านเลนส์มานุษยวิทยา ปี 2567
ป้ายกำกับ ระหว่างทาง ไอยเรศ บุญฤทธิ์