ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ลูกข่างหนึ่งถึงสองลูกปั่นอยู่บนพื้น เป้าหมายของการละเล่นคือการปราบคู่ต่อสู้ ด้วยการชนอีกฝ่ายหนึ่งล้มไป ใครทำสำเร็จคือผู้ชนะ หากลูกข่างยังคงปั่นต่อเนื่องไป การตัดสินจะมาจากระยะเวลาที่ลูกข่างของแต่ละฝ่ายสามารถหมุนได้ยาวนานที่สุด
ภาพยนตร์แสดงการประดิษฐ์ลูกแบดมินตัน เริ่มต้นด้วยการตัดแท่งไม้ไผ่ที่มีความยาวประมาณ 10 ซม. และใช้ขนไก่ 3 เส้นติดทที่ปลายด้านหนึ่งของไม้ไผ่ การเล่นประกอบด้วยผู้เล่น 2 คน พวกเขาจะตีลูกแบดด้วยไม้ตีที่ทำจากไม้ เพื่อให้ลูกแบดโต้ไปมาในอากาศ
With a cutting knife, an approximately 10 cm long missile is cut from a bamboo stick, and three docked hens-feathers as flight-feathers are fixed in the top. The game between two Miao youths then begins; they bat the “shuttle-cock” to each with wooden racquets, the object being to keep it in mid-air.
ภาพยนตร์แสดงการเต้นรำและการละเล่นของเด็กสาวอาข่า ก) “Kasatscho” การเต้นที่ยืนเรียงหน้ากระดาน เข่าและส้นเท้าชิด กระโดดไปด้านหน้าที่ละน้อย ข) “Sabumina” การเต้นที่ยืนล้อมวงกลม ก้าวด้านข้างและชิดเข่า ค) “Selung-mo” การเต้นที่ยืนล้อมวง ก้าวด้านข้างและชิดเข่า ทั้งเวียนซ้ายและขวา ง) การยืนล้อมเป็นวง ร้องเพลง ส่ายสะโพก จ) การยืนล้อมเป็นวง ร้องเพลง ปรมมือ ย่อเขาและเอว ฉ) “Amu-patsala” การเต้นด้วยขาข้างเดียวที่มีการเกี่ยวขากันเป็นวง
หลังจากการฉลองเทศกาลในวันที่สิบของเทศกาลที่มีชื่อว่า Vela อันหมายถึงเทศกาลแห่งขบวนการแข่งขันเทศระหว่างสองหมู่บ้านคือ Nenmara และ Vallenghi (ใน Kerala ทางตอนใต้ของอินเดีย) ทั้งนี้เพื่อสักการะเจ้าแม่ Sri Nellikulangara Bhagavati ผู้ซึ่งปลดปล่อยพวกเขาจากราชาปีศาจ Dharika จุดสุดยอดและปิดการจัดงานเทศกาล จะประกอบด้วยขบวน และนำหน้าด้วยช้าง 10 เชือกที่มีการประดับประดากันอย่างเต็มที่ เพื่อนำเครื่องสักการะของแต่ละหมู่บ้านไปสู่วัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของ 2 หมู่บ้าน ท่ามกลางเสียงของเครื่องดนตรีประจำหมู่บ้าน (nagarvadyam) และวงออเคสตรา"คลาสสิก"(panchavadyam) ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้จากภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างร่องรอยสีสัน หรือผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นั้นๆ หรือ นั่นคือสิ่งที่ทั้งผู้สรา้งภาพยนตร์และศิลปินมีอยู่ร่วมกัน พวกเขาเห็น จินตนาการ บันดาลรูปทรง สี หรือความเข้มข้น จากนั้นหยิบเครื่องมือเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ท้ังเหล็ก แสง ดีบุก หรืออื่นๆ ภาพยนตร์ขนาดสั้นสามเรื่องนี้ล้วนบันทึกชั่วชณะของการสร้างสรรค์งานศิลปะ เหล่านั้น The Great Sail 1966 Alexander Calder สร้างสรรค์ผลงานชื่อ La Grande Voile ที่ติดต้ังในสถาบัน Massachusetts Institute of Technology เมื่อ ค.ศ. 1966 ด้วยการควบคุมการติดตั้ง รูปทรงของเหล็กขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการบันทึกตามเวลาและภาพที่เกิดขึ้นในขณะนั้น โครงสร้างขนาดมหึมาเป็นหัวใจสำคัญชองการออกและการสร้างชิ้นงาน Calder ได้สร้างความตะลึงงันให้กับนักศึกษาในกระบวนการสร้างผลงาน Dancing with Miklos 1993
ภาพยนตร์เรื่อง The rape of Europa เป็นภาพยนตร์สารคดีเชิงประวัติศาสตร์ที่จะนำพาผู้ชมเดินทางผ่านไปยัง 7 ประเทศในยุโรปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของความโลภ การขโมย และผลของสงครามที่คุกคามมรดกทางศิลปะของยุโรปในช่วงระยะเวลาสิบสองปีที่นาซี เข้ามาปล้นและทำลายศิลปะ ประวัติศาสตร์ศิลป์ และพิพิธภัณฑ์ในยุโรป ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นความพยายามของกลุ่มนักประวัติศิลป์รุ่นใหม่และภัณฑา รักษ์จากอเมริกาและทั่วยุโรปได้ร่วมมือกันต่อสู้เพื่อทวงคืนผลงานที่ถูกขโมย ไปจำนวนนับไม่ถ้วนจากภาวะสงครามให้ถูกนำกลับมาติดตั้งที่เดิมต่อไป
Tayuban เป็นการเต้นรำประจำปีในพิธีทางศาสนาที่จัดขึ้นในหมู่บ้านของชวา ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่มีพิธีแจกจ่ายอาหาร ก็จะมีกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งการเต้นรำ นักเต้นรำ Tayuban จะเป็นสตรีซึ่งมีอาชีพเฉพาะในการเต้นรำ ระหว่างการรำก็จะมีชายหนุ่มในหมู่บ้านเข้ามาร่ายรำด้วย บางทีก็ไม่สุภาพซึ่งก็มีผู้กล่าวหาว่าพวกเขาเหล่านี้จะทำให้ tayuban`'เสื่อมเสียจากการเป็นวัฒนธรรมของชาติ จุดมุ่งหมายของการเต้นรำนี้เพื่อเป็นของขวัญให้กับวิญญาณให้ช่วยป้องกัน ชุมชน ให้มีความเป็นอยู่ดีและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนด้วย
สารคดีเรื่องนี้ฉายให้เห็นพัฒนาการศิลปะการร่ายรำของกลุ่มชาติพันธุ์ Chhau การร่ายรำที่ผู้ชายผู้สวมหน้ากากเป็นผู้แสดง และเป็นเกมการแข่งขัน ภาพยนตร์ยังให้รายละเอียดของความงดงามในศิลปะ พร้อมไปกับการสัมภาษณ์นักเต้นของ Ustad ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่ม นอกจากนี้ เรื่องยังพาเราไปสังเกตศิลปินและการแสดงในระหว่างการซ้อม และระหว่างการพูดคุยอย่างมีชีวิตชีวา
Soweto Gospel Choir เป็นชื่อที่ได้จากเมืองที่มีชื่อเสียงของแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งรวมการเต้นรำที่คึกคักและมีสีสัน มีการขับร้องที่เป็นจังหวะต่อเนื่องรื่นไหลจนกระทั่งหนังสือพิมพ์ New York Times ยกย่องให้เป็น "spirited and spectacular." ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถ่ายทำคอนเสิร์ตทัวร์ที่จดจำของพวกเขาที่ออสเตรเลีย ระหว่างปี 2005 การแสดงครั้งนี้ได้รวบรวมกลุ่มที่ถือว่ายอดเยี่ยมที่สุดของเขาผสมความทัน สมัยกับแบบอย่างดั้งเดิมพร้อมกับเพลงเด่นๆ เช่น "One Love,""The Lion Sleeps Tonight,"และ "Biko " เป็นต้น