ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่
ลูกข่างหนึ่งถึงสองลูกปั่นอยู่บนพื้น เป้าหมายของการละเล่นคือการปราบคู่ต่อสู้ ด้วยการชนอีกฝ่ายหนึ่งล้มไป ใครทำสำเร็จคือผู้ชนะ หากลูกข่างยังคงปั่นต่อเนื่องไป การตัดสินจะมาจากระยะเวลาที่ลูกข่างของแต่ละฝ่ายสามารถหมุนได้ยาวนานที่สุด
ที่หมู่บ้าน Langda ในนิวกินี ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่และมีอาชีพเลี้ยงสัตว์ และทำเกษตรกรรมยังคงทำเครื่องมือเพื่อใช้ในการตัดที่เรียกว่า adzes ซึ่งทำจากหินขัดด้วยมือของพวกเขาเอง ติดตามขั้นตอนกระบวนการได้จากภาพยนตร์
In the Langda valley in New Guinea, farming groups still make adzes of polished stone.
One of the most influential, radical science-fiction films ever made and a mind-bending free-form travelogue, La jetée (The Jetty) and Sans soleil (Sunless) couldn’t seem more different—yet they’re the twin pillars of one of the most daring and uncompromising careers in cinema history. Chris Marker, filmmaker, poet, novelist, photographer, editor, and now videographer and digital multimedia artist, has been challenging moviegoers, philosophers, and himself for years with his complex queries about time, memory, and the rapid advancement of life on this planet. These two films—a tale of time travel told in still images and a journey to Africa and Japan—remain his best-loved and most widely seen.
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์นักล่าที่ต้องเสี่ยงกับ ความตายในการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าเพื่อการดำรงอยู่ ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของนักล่า 2 ดินแดนที่อยู่ห่างไกลกัน นักล่ากลุ่มแรกที่ประเทศเนปาลได้ออกดั้นด้นตามหาน้ำผึ้งป่าในป่าแถบเทือกเขา หิมาลัย พวกเขาต้องออกไปห้อยโหนอยู่บนบันไดเชือกตามหน้าผาสูงชันเพื่อเอาน้ำผึ้งจาก รังผึ้งป่าที่ทำรังอยู่ตามหน้าผา ความสามารถพิเศษของนักล่าคือการเอาชนะพิษจากผึ้งยักษ์ได้โดยไม่มีการป้องกัน อันตรายจากพิษของผึ้งและไม่กลัวความสูงชันระหว่างการทำงาน และสำหรับอีกเรื่องหนึ่งคือนักล่าแห่งความมืดเป็นเรื่องราวในประเทศไทยของ กลุ่มนักเก็บรังนกนางแอ่นซึ่งถือว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ และมีราคาแพงคุ้มค่าต่อการเสี่ยงเพื่อการค้นหาที่ซ่อนของรังนกนางแอ่นตามถ้ำ ที่มืดมิดและสูงชั้นเพื่อเก็บรวบรวมรังซึ่งมีค่าเสมือนทองคำสีขาวที่ส่งไป ขายที่ประเทศจีน นักล่าเหล่านี้ปีนนั่งร้านไม้ไผ่ที่เปราะบางสูงกว่า 100 เมตรเหนือพื้นดินเพื่อตามหารังนกและกับมันในที่สุด ภาพยนตร์สารคดีทั้งสองเรื่องนี้ได้รับรางวัลจากการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออ สการ์และรางวัลเอ็มมี่จากทั้งหมด 35 เรื่องที่เสนอชื่อเข้ามา
ในปากีสถานแถบย่าน Buffaloes กรุง Rawalpindi เป็นแหล่งที่ผลิต ดัดแปลง ตกแต่งรถบรรทุกแปลกๆ ที่มีความสวยงามของรถบรรทุกที่นำำกลับมาใช้ใหม่ การทาสี การแกะสลักของพวกเขาบนตัวถังรถ เต็มไปด้วยภาพของศิลปะ ศาสนา การเมือง ประเพณี และบทกวีที่นิยม บนพื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ เช่น ช่าง ช่างไฟฟ้า ผู้เชี่ยวชาญหม้อน้ำ จิตรกร ช่างปั้น ฯลฯ พวกเขาไม่ได้เป็นแค่นักตกแต่งรถบรรทุกเท่านั้น การสร้างงานของพวกเขาเริ่มต้นตั้งแต่ใช้ชิ้นจากรถบรรทุกฟอร์ดเก่าจากยุค อาณานิคม การทำงานมีการแลกเปลี่ยนและส่งผ่านความรู้จากผู้เชียวชาญไปยังเด็กฝึกหัด ใหม่ สถานที่แห่งนี้เป็นที่พบปะของผู้คนจากแดนไกล นักเรียน พ่อค้า นักเดินทาง เป็นต้น การตกแต่งของพวกเขาและอื่น ๆ ในรถก็เพื่อต้องการให้สิ่งที่เขาทำนั้นช่วยปกป้องอันตรายจากอุบัติเหตุบน ท้องถนน Malang จะช่วยรักษารถบรรทุกและผู้โดยสารไว้ให้ปลอดภัย
Jacques Dournes เข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศเวียดนามบนพื้นที่สูงตอนกลางของประเทศเป็นเวลาถึง 25 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิทยา เขาได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่ศึกษาไว้มากถึง 250 เรื่อง อาทิเรื่องทางศาสนศาสตร์และเรื่องที่สำคัญๆกว่า เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางชาติพันธุ์วิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก็บ รวบรวมข้อมูลประเพณีจากคำบอกเล่า และเมื่อเขากลับมาจากเวียดนามใน 1970 จึงได้ร่วมงานกับ CNRS และลาออกในปลายปี 1980 มาอาศัยอยู่แถบเชิงเขา Cevennes ท่ามกลางหนังสือจำนวนมากของเขา รวมทั้ง รูปภาพ สมุดบันทึกภาคสนาม พันธุ์ไม้ดอกและพืชพรรณที่เขาปลูก เขาใช้ชีวิตของเขาที่เหลืออยู่กับการปลูกต้นไม้
ภาพยนตร์สารคดีความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอัฟกานิสถานที่แสดง ให้เห็นถึงการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันในการนำขนแกะที่ได้จากการเลี้ยงมาทำ เป็นสิ่งของเครื่องใช้นั้นคือการทำพรม จะได้เห็นขั้นตอนการผลิตแบบดั้งเดิม รวมทั้งการออกแบบสีและลวดลาย จนกระทั่งออกมาเป็นพรม 1 ผืน
A documentary film of the ethnic groups in Afghanistan to demonstrate the existence of daily life in the wool from the farm to make use of such items is to make carpets. Will see the traditional production process. Including design, color and pattern. Until it comes out as a piece of carpet.
Ikat เป็นเทคนิคสำหรับการย้อมสีเส้นด้ายก่อนเข้าสู่กระบวนการทอผ้า วิธีการทอผ้าลักษณะนี้เป็นเอกลักษณ์ของผู้อพยพที่มาจากดินแดนเติร์กเมนิสถาน ของสหภาพโซเวียต และปัจจุบันการทอผ้าแบบนี้ยังคงมีให้เห็นในหมู่บ้าน Qorcangu ประเทศอัฟกานิสถาน
Ikat is a technique for dyeing yarn before weaving. Immigrants from Turkmenistan in the USSR still practice this method in the village of Qorcangu, Afghanistan.
ที่เมือง Cambay ในรัฐ Gujarat ประเทศอินเดีย มีการทำอุตสาหกรรมเกี่ยวกับหินอาเกต agate และหินคาเนเลียน Carnelian ซึ่งยังคงการทำแบบดั้งเดิมเหมือนย้อนกลับไปที่ 4000 ปี ที่ผ่านมา ติดตามชมได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
In Cambay, a town in Gujarat, India, agate- and carnelian-cutting is performed in many workshops according to traditional techniques, some of which go back 4,000 years.