ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์โดย นูรฮายาตี ยูโซ๊ะ, คัสมีนี วานิ, ไซนับ มามะ
ระยะเวลา 10.20 นาที
หนังเล่าเรื่องของเด็กผู้หญิงมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้คนหนึ่ง ที่มีความชอบและอยากเล่นกีฬาฟุตบอลไปช่วยกันลุ้นว่าผู้หญิงคนหนึ่งจะเข้าถึงฟุตบอล กีฬาที่เชื่อว่าเป็นของผู้ชาย ในแผ่นดินที่มีข้อกำหนดเรื่องเพศสภาพอย่างเข้มข้น ได้หรือไม่อย่างไร
ภาพยนตร์แสดงการประดิษฐ์ลูกแบดมินตัน เริ่มต้นด้วยการตัดแท่งไม้ไผ่ที่มีความยาวประมาณ 10 ซม. และใช้ขนไก่ 3 เส้นติดทที่ปลายด้านหนึ่งของไม้ไผ่ การเล่นประกอบด้วยผู้เล่น 2 คน พวกเขาจะตีลูกแบดด้วยไม้ตีที่ทำจากไม้ เพื่อให้ลูกแบดโต้ไปมาในอากาศ
With a cutting knife, an approximately 10 cm long missile is cut from a bamboo stick, and three docked hens-feathers as flight-feathers are fixed in the top. The game between two Miao youths then begins; they bat the “shuttle-cock” to each with wooden racquets, the object being to keep it in mid-air.
ภาพยนตร์แสดงการเต้นรำและการละเล่นของเด็กสาวอาข่า ก) “Kasatscho” การเต้นที่ยืนเรียงหน้ากระดาน เข่าและส้นเท้าชิด กระโดดไปด้านหน้าที่ละน้อย ข) “Sabumina” การเต้นที่ยืนล้อมวงกลม ก้าวด้านข้างและชิดเข่า ค) “Selung-mo” การเต้นที่ยืนล้อมวง ก้าวด้านข้างและชิดเข่า ทั้งเวียนซ้ายและขวา ง) การยืนล้อมเป็นวง ร้องเพลง ส่ายสะโพก จ) การยืนล้อมเป็นวง ร้องเพลง ปรมมือ ย่อเขาและเอว ฉ) “Amu-patsala” การเต้นด้วยขาข้างเดียวที่มีการเกี่ยวขากันเป็นวง
สารคดีเรื่องนี้ฉายให้เห็นพัฒนาการศิลปะการร่ายรำของกลุ่มชาติพันธุ์ Chhau การร่ายรำที่ผู้ชายผู้สวมหน้ากากเป็นผู้แสดง และเป็นเกมการแข่งขัน ภาพยนตร์ยังให้รายละเอียดของความงดงามในศิลปะ พร้อมไปกับการสัมภาษณ์นักเต้นของ Ustad ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่ม นอกจากนี้ เรื่องยังพาเราไปสังเกตศิลปินและการแสดงในระหว่างการซ้อม และระหว่างการพูดคุยอย่างมีชีวิตชีวา
เป็นการแข่งขันวิ่งโคหลังจากการทำนาข้าวสิ้นสุดลง มันเป็นวงจรทางการเกษตรที่เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปในชนบทภาคใต้ของอินเดีย ที่นี่จะเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการของเกษตรกรที่กลายเป็นกิจกรรมทาง วัฒนธรรมและได้รับการสนับสนุนโดยสังคมเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็น "ชมรมการแข่งขันของประเทศอินเดีย" การแข่งขันที่ปรากฏได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนในย่าน Palakkad ของอินเดีย การแข่งบันเกิดขึ้นในท้องนาที่ทำเป็นแอ่งเราจะได้เห็นขั้นตอนของการเตรียม การ (เชื่อมต่อระหว่างคนกับสัตว์ ) และการเตรียมตัวในการแข่งขันที่ใช้ระยะทางประมาณหนึ่งร้อยเมตรในแนวเส้นตรง ในทุ่งนาที่จัดเตรียมไว้
"เกิดอะไรขึ้นกับความสุขในอิหร่าน? บนถนนซึ่งครั้งหนึ่งเต็มไปด้วยความสนุกสนานและความบันเทิง มีโรงละครกับเสียงหัวเราะ แต่ต่อมามันถูกยุบเป็นที่จอดรถ. มันถูกขนานนามว่าเป็นที่ที่คนชั้นต่ำเข้ามาฟังกลอนสดเตหะรานซึ่งเป็นเรื่อง ของตัวละครตลกและเพศเท่านั้น รัฐบาลจึงตัดสินใจที่จะปิดโรงละครความสุขที่พวกเขาเคยมีจึงถูกกระชากให้ฉีก ขาดไปในที่สุด
"What happened to the joy in Iran? On a street once dedicated to the fun and entertainment, theater resounds with laughter before collapsing or being converted into parking. It is here that lower classes come to hear Tehran's Harlequin improvise on sex and power. The government decided to close their theater. They are found orphans: they have torn the joy they took everything from us. "
ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของดนตรีพื้นเมืองของอินเดียในแคว้นราชาสถาน
Presentation of traditional music from Rajasthan, India.
Mark Tobey เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นในขณะที่ศิลปินพำนักอยู่ที่ Seattle, Washington ในช่วงต้นคริตส์ศตวรรษ 1950 ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สองที่ Robert Gardner พยายามถ่ายทอดมุมมองของศิลปินด้วยภาษาภาพยนตร์ Tobey เป็นทั้งผู้แสดงและผู้ที่ถูกบันทึกภาพ ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงจัดเป็นภาพยนตร์ทดลองที่แสดงให้เห็นตัวตนของศิลปิน ในฐานะประตูไปสู่ศิลปะอเมริกัน และความเคลื่อนไหวในช่วงเวลานั้น
นักดนตรีชื่อ Alan Lomax ได้เดินทางไปยังแหล่งกำเนิดของดนตรีแจ๊สในนิวออร์ลีนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ ถนนที่มีสีสันของขบวนพาเหรดดนตรีแจ๊ส โดยมี Jelly Roll Morton ผู้อ้างสิทธิ์ว่าเป็นคนคิดค้นดนตรีแจ๊สคนหนึ่ง สารคดีเรื่องนี้ได้ติดตาม Morton จากบาร์เปียโนที่อบอวนด้วยควันบุหรี่ ไปยังสถานที่ที่มีดนตรีแจ๊สอยู่ทั่วไป ไม่เว้นแม้กระทั่งในท้องถนน ที่นิวออร์ลีนมีวงดนตรีและเครื่องดนตรีทองเหลืองวงแจ๊สอยู่ทั่วไป อาทิ ขบวนพาเหรดเฉลิมฉลองทุกๆงาน งานศพก็มีดนตรีแจ๊สจัดแสดงด้วย ในการแต่งกายของผู้ร่วมขบวนจะประดับด้วยขนนกและลูกปัดของ Mardi Gras อินเดีย เป็นต้น ภาพยนตร์ได้ติดตามถ่ายภาพเหตุการณ์ และการสัมภาษณ์สมาชิกของวงดนตรีแจ๊ส ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของประเพณีที่มีเพียงที่นิวออร์ลีนแห่งเดียว เท่านั้น
ค.ศ. 1935 ภาพยนตร์ของวอล์ทดิสนีย์จัดฉายที่กรุงมอสโก Fyodor Chytruk ได้รับแรงบันดาลใจ และในเวลาต่อมา เข้าศึกษาต่อด้านศิลปะ และกลายเป็นนักสร้างภาพเคลื่อนไหวรัสเซียที่เป็นที่รู้จัก เรื่องราวที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉายให้เห็นศิลปะภาพเคลื่อนไหวที่ซ่อนอยู่
In 1935 three Walt Disney films were screened in Moscow. Fyodor Chytruk, then an art student, was convinced that he had seen a miracle unfolding before him. One day he himself would become one of the greats of Russian animation. Through his story, we discover a magical art form that remained closed behind the Iron Curtain for decades. The film reflects the difficulty of life in Soviet Russia though humor-filled Soviet experience as well as the rich cultural heritage of the country.