ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์โดย วาลิด นาวินพัฒนรัตน์, ชมพูนุช ทองแป้น, อัสรีนา อารง
ระยะเวลา 10.30 นาที
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเอาทั้งความรุนแรงจากสถานการณ์ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มาคลี่กางให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้พบเจอจนเป็นเรื่องปกติ แต่ความ “ปกติ” นี้ จะดำเนินเช่นนี้ตลอดไปหรือเป็นความรุนแรงที่รอวันปะทุ Our War ไม่ได้ตอบ แต่จะถามคนดูด้วยคำถามนี้
ภาพยนตร์โดย ทีมนาซิกาบูโปรดักชั่น ซาการียา แม, อัมมัร มะลาเฮง, อิลหาม มะนะแล
ระยะเวลา 10 นาที
เรื่องราวของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สมาชิกมีความหลากหลายทางความเชื่อ ความศรัทธา และความแตกต่างทางศาสนา แต่ต้องมาทำสารคดีร่วมกัน แน่นอน การปฏิสัมพันธ์กันย่อมมีทั้งความขัดแย้ง ความเห็นต่าง ความไม่เชื่อและไม่ใช่ต่อกันและกัน หนังเรื่องนี้จะบอกให้เรารู้ว่าพวกเขาจะมีวิธีขัดกันฉันมิตรอย่างไร
ภาพยนตร์โดย นาธิป ทองจันทร์ และ อัฐพล ปิริยะ
ระยะเวลา 11 นาที
“จะเป็นอย่างไรเมื่อมอง “ความเป็นอื่น” โดยใช้ภาพสะท้อนจากสุนัข” นี่คือโจทย์ที่ทีมทำหนังเรื่องนี้วางไว้ 45 องศา จึงเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องผ่านสายตาของหมา ในจังหวัดชายแดนใต้มุมมองของหมาจะพาเราไปเรียนรู้ เข้าใจ ครุ่นคิด ตีความ อะไรในจังหวัดชายแดนใต้ หนังเรื่องนี้กำลังชี้ชวนและเชิญชม
อันนิส เด็กสาวมุสลิม ขออนุญาตพี่สาวไปเล่นที่บ้านพลอยเพื่อนบ้านชาวพุทธ ที่เพิ่งรับสุนัขบาดเจ็บตัวหนึ่งมาดูแล อันนิสอาสาช่วยพลอยทำแผลให้สุนัข เมื่อพี่สาวของอันนิสกลับมาเห็นเธอจับสุนัขเข้าพอดี อันนิสจะต้องรับมือกับพี่สาวที่ไม่พอใจ และจัดการความรู้สึกที่มีต่อพลอยและเจ้าสุนัขตัวนั้น
หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่
ผู้คนรวมตัวกันในบริเวณที่ใช้ในการร่ายรำในพื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรม โดยจะเป็นการขับไล่วิญญาณร้ายออกไปจากหมู่บ้าน แต่ละครัวเรือนจะนำขี้เถ้าใส่ในชาม ข้าวสุก เศษผ้า และใบตองแห้ง สำหรับการโยนทิ้งถังรองรับสองใบ หลังจากผู้ประกอบพิธีร่ายมนต์ เขาจะยกวนถังทั้งสองใบเจ็ดครั้งไปรอบผู้เข้าร่วมพิธี ซึ่งอยู่ตรงกลางลานเต้น จากนั้นจะนำไปทิ้งที่ชายหมู่บ้าน
ในแถบจังหวัดทางใต้ของมณฑล Guangxi ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังมีหมอผี (Shamans) ที่ชาวเผ่านุง Nung เชื่อถือและยังทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรม (Shamanistic) ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตความเป็นอยู่และในสังคม โดยพิธีจะมีการขึ้นในวันแรกของเดือนทางจันทรคติ หมอผีที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้านจะมาสวด และมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมาเข้ามาร่วมพิธีและคอยดู คำทำนายของหมอผี หากพบว่าจะมีโรคภัยเกิดขึ้นหมอผีจะช่วยจัดการให้ โดยให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือโดยผ่านกระบวนการทางพิธีกรรม (Shamanistic) ของเขาต่อไป
หลังจากการฉลองเทศกาลในวันที่สิบของเทศกาลที่มีชื่อว่า Vela อันหมายถึงเทศกาลแห่งขบวนการแข่งขันเทศระหว่างสองหมู่บ้านคือ Nenmara และ Vallenghi (ใน Kerala ทางตอนใต้ของอินเดีย) ทั้งนี้เพื่อสักการะเจ้าแม่ Sri Nellikulangara Bhagavati ผู้ซึ่งปลดปล่อยพวกเขาจากราชาปีศาจ Dharika จุดสุดยอดและปิดการจัดงานเทศกาล จะประกอบด้วยขบวน และนำหน้าด้วยช้าง 10 เชือกที่มีการประดับประดากันอย่างเต็มที่ เพื่อนำเครื่องสักการะของแต่ละหมู่บ้านไปสู่วัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของ 2 หมู่บ้าน ท่ามกลางเสียงของเครื่องดนตรีประจำหมู่บ้าน (nagarvadyam) และวงออเคสตรา"คลาสสิก"(panchavadyam) ติดตามเรื่องราวทั้งหมดได้จากภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้
เรื่องราวของ Daw Mya Thi Na เด็กหญิงที่บวชชีเรียกว่า Thilashin (เป็นชื่อของโครงการคุณธรรมของพุทธศาสนา) ในพระอาราม กรุงย่างกุ้งประเทศพม่าเป็นกิจกรรมที่ร่วมกันระหว่างการศึกษาการทำสมาธิและ กิจกรรมอื่นๆในวัด ในระหว่างการชีผู้หญิงต้องโกนผมและสวมใส่ชุดที่จัดไว้เท่านั้น พวกเธอจะต้องละทิ้งความเกลียดชังริษยาและความไม่รู้ ต้องท่องจำบทสวดต่างๆ ทุกเช้าแม่ชีจะต้องเรียนพระคัมภีร์ ต้องสวดออกเสียงในการเรียนรู้ด้วยหัวใจ และทำงานอื่นๆภายในวัด บางวันแม่ชีจะต้องออกไปบิณฑบาตนอกวัดได้ข้าวสารมาก็จะต้องจัดเตรียมไว้ สำหรับกินและถวายพระสงฆ์ (มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างสภาพของพระสงฆ์และแม่ชี) หลังจากผ่านการบวชและมีการสอบแล้ว Daw Mya Thi Na จะได้รับใบประกาศในวันเดียวกันพร้อมกับสิ่งของบริจาคและพวกเธอก็ไม่ลืมที่จะ ไปเยี่ยมเยียนครูอาจารย์ที่สอนพวกเธอมาที่วัดบนภูเขา เสร็จแล้วจึงเดินกลับไปย่างกุ้งเพื่อร่วมพิธีเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่ พวกเธอ และที่ขาดไม่ได้คือต้องไปกราบที่เจดีย์ชะเวดากองด้วย
ประเทศเยเมนเป็นหนึ่งในประเทศมุสลิมที่มีความหลากหลายในเรื่องของการใช้ผ้า คลุมหน้า ในกรุง Sana การคลุมหน้าของสตรีมีความสำคัญมากพอๆกับเสื้อผ้าชุดดำที่สวมใส่ มันไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิบัติธรรมดาเท่านั้นแต่มันเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ทางศาสนา การสวมใส่ผ้าคลุมหน้าจะบ่งบอกสถานะของสตรีคนนั้นๆ ด้วย และเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาของเรื่องนี้ผ่านมุมมองทางแฟชั่น ผู้ชมสามารถติดตามได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจให้ได้ศึกษาต่อไป