• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1626 times Read more...

ช่างตีเหล็กหลอมแผ่นเงินโดยใช้ค้อนทุบ ตัดแต่งและตะไบ เขาประดับลายด้านหน้าด้วยการตอกลายรูปทรงเรขาคณิต หลังจากนั้นเขาเจาะรูมุมบนสองด้าน และประกอบแผ่นประดับเงินเข้ากับสร้อยคอและสร้อยวงแหวนห้อยคอ

A smith prepares a silver plate by hammering, cutting, and filing. He then decorates the front by punching a geometrical decoration. He thereupon bores a hole in each of the two upper corners and, adding a silver chain and a silver neck-ring, produces a pendant.

Wednesday, 18 September 2013 12:53

Miao (Thailand, Tak-Provinz) Binden eines Turbans

ผ้าโพกศีรษะถูกคลี่ออก และใช้แนวแขนวัดบ่างความยาวคร่าวๆ เพื่อกะให้ปลายผ้าทั้งสองที่มีลายมาประกบกันพอดี หลังจากนั้นเป็นการสาธิตการโพกผ้า

The burban-cloth is rolled out and measured out by spreading the arms so that both embroidered ends lie on one another when it is bound. The turban is then wound in the traditional manner.

ในเบ้าหลอมโลหะที่ทำจากอิฐ ช่างตีเหล็กหลอมเงินให้เป็นท่อนและนำมาตีเป็นเส้นเงิน ต่อจากนั้นนำมาทำให้เป็นเส้นเรียบโดยใช้แม่แบบ และนำมาขดให้เป็นวงโดยใช้แกนหมุน ขดเงินที่ได้นี้จะถูกนำมาตัดเป็นวงแหวนเล็กๆ ด้วยสิ่ว และถูกนำมาร้อยเป็นสร้อยคอ

A silversmith pours silver from clay crucible; he then hammers out the resulting ingot into a thin rod which he draws into wire by means of a wire-drawing plate. He then gives it a spiral form by turning it on an iron windlass. This spiral is divided by means of a chisel into small silver rings which are linked together to form a chain.

Wednesday, 18 September 2013 12:49

Style wars

ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับงานศิลปะที่เรียกว่า Graffiti ในรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กซิตี้ ประมาณต้นทศวรรษ 1980 ผลงานเรื่องนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างสวยงาม เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์จับสาระสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองหลังจากปี 1970 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของนายกเทศมนตรี Mayor Kotch ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยอดเยี่ยมในด้านการศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้น เนื่องจากสามารถศึกษาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้หลายระดับ จึงทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมกระแสของวัฒนธรรมแบบนี้มันจึงเกิดขึ้นและ อะไรทำให้มันสำเร็จได้ ช่วยให้ได้เข้าใจถึงเหตุผลทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลัง ลักษณะเฉพาะของมนุษย์ สิทธิในอาณาเขต การแสวงหาและความต้องการการได้รับการยอมรับ มันแสดงออกทางศิลปะ Graffiti ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อสังคม ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้รับรางวัลกรังด์ปรีด์สารคดียอดเยี่ยมในปี 1983 จากเทศกาลภาพยนตร์ Sundance Film Festival. ดังนั้น STYLE WARS จึงถือว่าเป็นเอกสารที่ขาดไม่ได้ในการศึกษาวัฒนธรรม New York Street

Wednesday, 18 September 2013 12:44

Style wars plus, Style wars revisited

เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มวัยรุ่นนักวาดภาพ ที่เรียกว่า Graffiti ในนิวยอร์กซิตี้และกลุ่มนักเต้นแนวใหม่ประเภท hip-hop, b-boys พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงออกในกิจกรรมที่พวกเขามีความสามารถ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน Graffiti ในพื้นที่โดยรอบนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งทำให้เกิดข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมและความสวยงามของศิลปะประเภทดังกล่าว มีความขัดแย้งกันระหว่าง Graffitists และฝ่ายผู้ปกครอง รวมทั้งกลุ่ม Graffitists ด้วยกันเอง การหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ด้วยความยิ่งใหญ่ของงาน Graffiti, b-boys และ hip-hop จากนิวยอร์กจึงทำให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นอกจากนี้ภาพยนตร์ได้นำเสนอผลงาน Graffiti รูปแบบ Style wars และบทสัมภาษณ์ด้วย

Monday, 16 September 2013 09:00

Taking Pictures

นักสร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียที่เป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น Kildea, O'Rourke และ Connolly/Anderson เป็นกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์สารคดีที่ใช้ชีวิตอยู่ในเกาะปาปัวนิวกินี ภาพยนตร์ของพวกเขา เต็มไปด้วยเนื้อหาและมุมมอง ที่บอกเล่าพลังและความยอกย้อนของประเทศที่เปลี่ยนผ่านจากประเทศในอาณานิคม ไปสู่ความเป็นรัฐชาติในโลกสมัยใหม่ แต่เรื่องราวที่ปรากฏนั้นเป็นของใคร? เหล่านักสร้างภาพยนตร์เผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของชาติตะวันตกในการบอกเล่าเกี่ยวกับชนพื้นถิ่น ภาพยนตร์เรื่อง Taking Pictures จึงจุดประเด็นและชี้ให้เห็นกับดักของการถ่ายทำภาพยนตร์ข้ามวัฒนธรรม รูปแบบของการนำเสนอในภาพยนตร์อาศัยการพูดคุยกับนักสร้างภาพยนตร์ชาวออกสเตร เลีย และเลือกภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลและทรงอิทธิพล เกี่ยวกับปาปัวนิวกินี

Monday, 16 September 2013 08:48

Whose Is This Song?

Adela Peeva ตามค้นหาต้นกำเนิดที่แท้จริงของทำนองเพลง เธอเดินทางไปในตุรกี กรีซ มาเซโดเนีย อัลบาเนีย บอสเนีย เซอร์เบียร์ และบัลกาเรีย การเดินทางกลับเต็บไปด้วยอารมณ์ที่น่าขบขัน ความสงสัย เรื่องเศร้า และความประหลาดใจของพลเมืองในแต่ละประเทศที่ต่างก็อ้างอิงความเป็นเจ้าของ บทเพลง และบอกเล่าเรื่องราวอันเป็นที่มาของบทเพลงนั้น ทำนองได้รับการดัดแปลงเป็นบทเพลงหลากรูปแบบ ทั้งเพลงรัก บทสวดทางศาสนา บทเพลงปฏิบัติ หรือกระทั่งเพลงมาร์ชของทหารหาญ อารมณ์ที่ทรงพลังและความรู้สึกชาตินิยมที่แข็งกร้าวที่เกิดมาจากเพลงๆ เดียวนั้น บางครั้งดูน่าขบขัน แต่บางครั้งกลับดูน่าหวาดกลัว ในคาบสมุทรที่เป็นไปด้วยความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติและสงคราม จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการค้นหาความเป็นมา และบทบาทของทำนองเพลงต่อสังคม ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับชี้ให้เห็นรากของความเกลียดชังที่ฝั่งลึกบทดิแดนแห่ง นี้.

Sunday, 15 September 2013 20:49

Full Circle

ในช่วงฤดร้อน ค.ศ. 2001 ภายใต้รัฐบัญญัติการปกป้องสุสานของอเมริกันพื้นถิ่นและการส่งคืนสมบัติ วัฒนธรรม, เสาวิญญาณต้นหนึ่งซึ่งเป็นงานสะสมของพิพิธภัณฑ์พีบอดี้ (Peabody Museum) มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ส่งคืนกลับสู่ชมุชนต้นกำเนิด ชุมชน Tlingit ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอลัสกา การเดินทางของเสาวิญญาณ เริ่มต้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ในยุคของการสำรวจแฮริแมน (Harriman Expedition) จากมู่บ้านอันไกลโพ้นของ Gash ที่แคปฟอกซ์ (Cape Fox) การเดินทางในครั้งนี้เริ่มต้นจากเมืองแคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเซทท์ จนถึงเมืองแคทชิงแคน อลัสก้า เป็นสถานที่ซึ่งชุมชนแคป ฟอกซ์ ประกอบพิธีต้แนรับเสาวิญญาณคืนสู่เหย้า

In the summer of 2001, under the Native American Graves Protection and Repatriation Act, a totem pole in the Peabody Museum at Harvard University was returned to its original owners' ancestors, a Tlingit community in Southeast Alaska. The journey of the pole began a hundred years ago when it was removed by the Harriman Expedition from the deserted village of Gash at Cape Fox. The totem pole makes its way from Cambridge, Massachusetts to Ketchikan, Alaska, where the Cape Fox community holds a ceremony to welcome home artifacts taken by the Expedition.

Sunday, 15 September 2013 17:01

Baraka

DVD แผ่นนี้ บันทึกเรื่องราวจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ทิวทัศน์ ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน ความเจริญ ความสงบ ความเสื่อม มลภาวะ โดยการนำเสนอภาพประกอบเพลงทั้งบรรเลง และเพลงร้องที่สอดรับกับเนื้อหาทั้งเรื่อง ทำให้ชวนติดตาม

The word Baraka means "blessing" in several languages; watching this film, the viewer is blessed with a dazzling barrage of images that transcend language. Filmed in 24 countries and set to an ever-changing global soundtrack, the movie draws some surprising connections between various peoples and the spaces they inhabit, whether that space is a lonely mountain top or a crowded cigarette factory. Some of these attempts at connection are more successful than others: for instance, an early sequence segues between the daily devotions of Tibetan monks, Orthodox Jews, and whirling dervishes, finding more similarity among these rituals than one might expect. And there are other amazing moments, as when sped-up footage of a busy Hong Kong intersection reveals a beautiful symmetry to urban life that could only be appreciated from the perspective of film. The lack of context is occasionally frustrating--not knowing where a section was filmed, or the meaning of the ritual taking place--and some of the transitions are puzzling. However, the DVD includes a short behind-the-scenes featurette in which cinematographer Ron Fricke (Koyaanisqatsi) explains that the effect was intentional: "It's not where you are that's important, it's what's there." And what's here, in Baraka, is a whole world summed up in 104 minutes.

Akha (Thailand, Chieng Rai Provinz): Schären einer Baumwoll-Webkette (Akha (Thailand, Chieng Rai Province) Fitting up a Cotton Warp; การทำด้ายเส้นยืน)

เส้นด้ายที่ได้จากการปั่นฝ้ายจะพันอยู่กับลูกกลม เส้นด้ายจากลูกกลมจะวิ่งผ่านแท่งไม้ไผ่ โดยมีไม้เปียเป็นรูปตัวทีทำหน้าที่ช่วยในการเปียฝ้าย เข็ดฝ้ายถูกนำออกจากไม้เปีย และยืดด้วยแป้งข้าว จากนั้นเป็นตากฝ้ายบนเสาสองต้นเพื่อให้แห้ง เมื่อฝ้ายแห้งดีแล้ว ฝ้ายจะถูกนำมาคลยไว้ในตะกร้าเพื่อเตรียมทำเส้นยืนฟืมต่อไป

Thread from a wholly spun spindle is wound into a ball. The thread from the ball runs through a hollow bamboo stick which is held in the hand; then it is wound into a skein with the help of a double-T-shaped handreel. The skein is taken off the reel, starched in a solution of rice flour, and then strung between two poles to dry. When the skein is dry it is put on a reel and the thread is unwound into a basket. Six thread-beams are knocked into the ground and two women fix the wrap.

Page 6 of 7