ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์โดย วาลิด นาวินพัฒนรัตน์, ชมพูนุช ทองแป้น, อัสรีนา อารง
ระยะเวลา 10.30 นาที
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเอาทั้งความรุนแรงจากสถานการณ์ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มาคลี่กางให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้พบเจอจนเป็นเรื่องปกติ แต่ความ “ปกติ” นี้ จะดำเนินเช่นนี้ตลอดไปหรือเป็นความรุนแรงที่รอวันปะทุ Our War ไม่ได้ตอบ แต่จะถามคนดูด้วยคำถามนี้
ภาพยนตร์โดย ฮาฟิซ หละบิลลา, อัฟฟาน ดอลี, อับดุลเราะมาน อาแวกือจิ
ระยะเวลา 7 นาที
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอชีวิตของ “หญิงบ้า” หรือ ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ชีวิตอยู่ในสี่จังหวัดชายแดนใต้ คนชายขอบในสังคมชายขอบ ถูกตีความ พิพากษาแตกต่างจากพื้นที่อื่นหรือไม่อย่างไร
ภาพยนตร์โดย อิฟฟาน ยูโซะ, อัจญมัล เริงสมุทร, สิกรี มุเสะ
ระยะเวลา 10.50 นาที
เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นในจังหวัดสามชายแดนใต้ สังคมมักจะตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่ามันต้องเกิดจากผู้ก่อการร้ายและมิติทางศาสนา ความจริงของความรุนแรงจึงถูกทำให้เหลือมิติเดียวเท่านั้น “วงจรอุบาทว์” เลือกที่จะเล่าเรื่องที่สะท้อนเงื่อน และเหตุของความรุนแรงผ่านในมิติอื่นๆ ที่สังคมอาจมองข้ามไป นอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้วหนังเรื่องนี้ยังมีงานโปรดักชั่นที่ปราณีต มีชั้นเชิงชวนติดตามจนไม่อาจละสายตา
หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่
หญิงสาวชาวพุทธ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปัตตานีในช่วงพลบค่ำ ท่ามกลางผู้โดยสารมุสลิม ความมืดมิด และเสียงสื่อสารด้วยภาษาที่เธอไม่เข้าใจ รวมกันเป็นความหวาดระแวง และหวาดกลัวอันตรายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้น เธอจะจัดการความรู้สึกและแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร
นิด เด็กสาววัยรุ่นได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้งขณะที่เธอออกกำลังกายอยู่ในสวนสาธารณะ พี่หน่อย พี่สาวของนิดพยายามตามหาและรั้งตัวเธอไว้ ไม่ให้กลับบ้าน แต่ด้วยความเป็นห่วงใครบางคน นิดจึงดึงดันที่จะกลับบ้านให้ได้ ท่ามกลางเส้นทางอันตราย ไม่มีใครรู้ว่านิดรู้สึกอย่างไร และใครกันที่รอคอยเธออยู่ที่บ้าน
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการศึกษากลุ่มแรงงานข้ามชาติตัวเอกเป็นเด็กหนุ่มชาว ไนจีเรียชาวเมือง Treichville, ชานกรุง Abidjan การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ตัวแสดงจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นอิสระและใช้การ บรรยายเนื้อหาเป็นแบบกลอนสดRouch ใช้เวลาครึ่งปีในการสังเกตเรื่องราวจากนั้นจึงได้ทำบทและถ่ายทำชิวิตจริงของ หนุ่มชาวไนจีเรียซึ่งต้องต่อสู้เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพในภาพยนตร์เรื่องนี้
With this film, Jean Rouch leaves quite the traditional field of ethnology. "I followed a small group of young Nigerian migrants in Treichville, a suburb of Abidjan. I offered to do a movie where they had the right to do anything and everything. So we improvised a movie. "Improvisation was not spontaneous. Rouch had spent half a year to observe his characters. Agree with them and leu collaboration, he then agreed to a script, or rather a canvas unwritten changed during filming. "I thought we could go read further in the truth so instead of taking the actors and leu to interpret a role, we asked men to play their own lives.
Stan ทำงานที่น่าเบื่อหน่ายในโรงฆ่าสัตว์ ชีวิตส่วนตัวของเขาไม่ค่อยสดใสเท่าใดนัก ความไม่พอใจและความน่าเบื่อให้เขาไม่ตอบสนองต่อความต้องการของภรรยาที่รัก ของเขาและเขาจะต้องต่อสู้กับอิทธิพลซึ่งจะทำให้เสียชื่อเสียงและเป็นอันตราย ต่อเขาและครอบครัวของเขา
Stan works in drudgery at a slaughterhouse. His personal life is drab. Dissatisfaction and ennui keep him unresponsive to the needs of his adoring wife, and he must struggle against influences which would dishonor and endanger him and his family.
เป็นเรื่องราวของสตรีชาวอีสานชื่ออ้อย ซึ่งเป็นชื่อสมมุติในการทำงานขายบริการทางเพศในกรุงเทพฯย่านพัฒพงษ์เพื่อ หาเงินเลี้ยงตัวเองและครอบครัวที่ยากจน อ้อยทำงานขายบริการทางเพศจนคิดว่าไม่มีความรักจากผู้ชายที่แท้จริงอีกต่อไป พบกับเรื่องราวชีวิตของเธอได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
The Good Woman of the story is Aoi. In Thai, her name means 'sugar cane' or 'sweet' - not her real name but the one she uses. She works as a prostitute, catering to the male tourists who crowd the girlie bars of Patpong. "They stayed at a seedy hotel in the red-light district. Much of the filming and video recording took place there, and in the months that followed he fell in love with her." "He paid and was her customer. She became the subject of his film." Starting from this worst-possible condition, Aoi's life is described and their relationship is recorded: its evolution from fake sexual intimacy to collusion in the process of making the film and, finally, to difficult friendship and a kind of love.
ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับงานศิลปะที่เรียกว่า Graffiti ในรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กซิตี้ ประมาณต้นทศวรรษ 1980 ผลงานเรื่องนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างสวยงาม เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์จับสาระสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองหลังจากปี 1970 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของนายกเทศมนตรี Mayor Kotch ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยอดเยี่ยมในด้านการศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้น เนื่องจากสามารถศึกษาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้หลายระดับ จึงทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมกระแสของวัฒนธรรมแบบนี้มันจึงเกิดขึ้นและ อะไรทำให้มันสำเร็จได้ ช่วยให้ได้เข้าใจถึงเหตุผลทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลัง ลักษณะเฉพาะของมนุษย์ สิทธิในอาณาเขต การแสวงหาและความต้องการการได้รับการยอมรับ มันแสดงออกทางศิลปะ Graffiti ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อสังคม ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้รับรางวัลกรังด์ปรีด์สารคดียอดเยี่ยมในปี 1983 จากเทศกาลภาพยนตร์ Sundance Film Festival. ดังนั้น STYLE WARS จึงถือว่าเป็นเอกสารที่ขาดไม่ได้ในการศึกษาวัฒนธรรม New York Street