ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์โดย วาลิด นาวินพัฒนรัตน์, ชมพูนุช ทองแป้น, อัสรีนา อารง
ระยะเวลา 10.30 นาที
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเอาทั้งความรุนแรงจากสถานการณ์ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มาคลี่กางให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้พบเจอจนเป็นเรื่องปกติ แต่ความ “ปกติ” นี้ จะดำเนินเช่นนี้ตลอดไปหรือเป็นความรุนแรงที่รอวันปะทุ Our War ไม่ได้ตอบ แต่จะถามคนดูด้วยคำถามนี้
ภาพยนตร์โดย ทรงพล สุทธิกานต์ พูลทวี, สกาวรัตน์ วีรวุฒิไกร, เจ๊ะฟาเดีย เจ๊ะอาแว
ระยะเวลา 10.20 นาที
ภาพยนตร์แนว Yuri (ยูริ) หรือหญิงรักหญิง ใสๆ หวานๆ เรื่องนี้ แทบจะไม่กล่าวถึงความรุนแรงจากสถานการณ์ชายแดนใต้เลย น่าสนใจว่าความรักของคนเพศเดียวกันในพื้นที่ชายแดนใต้ เกิดขึ้น ดำรงอยู่หรือถูกพัฒนาความสัมพันธ์ไปในรูปแบบใด เรื่องราวของเธอและเธออาจทำให้เราได้มองเห็น “ความหลากหลายของความรัก” มากขึ้นกว่าที่เคย
ภาพยนตร์โดย ชนสรณ์ แวหะมะ, ณัฐริณีย์ สุหลง, วิภาวนี อักษรชู
ระยะเวลา 10 นาที
การพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้คนในครอบครัวและสังคมยอมรับในการเป็นเพศทางเลือกของตัวเอง เป็นประเด็นหลักที่หนังเลือกหยิบมานำเสนอ รวมไปถึงทุกข์และสุข ความกดดัน การยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อเพศทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้จะถูกพิสูจน์ หรือเสนอผ่านเงื่อนไขอะไร ต่างหรือเหมือนกับที่อื่นหรือไม่อย่างไร
ภาพยนตร์โดย นูรฮายาตี ยูโซ๊ะ, คัสมีนี วานิ, ไซนับ มามะ
ระยะเวลา 10.20 นาที
หนังเล่าเรื่องของเด็กผู้หญิงมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้คนหนึ่ง ที่มีความชอบและอยากเล่นกีฬาฟุตบอลไปช่วยกันลุ้นว่าผู้หญิงคนหนึ่งจะเข้าถึงฟุตบอล กีฬาที่เชื่อว่าเป็นของผู้ชาย ในแผ่นดินที่มีข้อกำหนดเรื่องเพศสภาพอย่างเข้มข้น ได้หรือไม่อย่างไร
ภาพยนตร์โดย อับดุลการีม หะมะ, อิรฟาน รีดน, เฟอดินันต์ ยือโร๊ะ
ระยะเวลา 10.20 นาที
หนังแนว Coming of Age ของเด็กผู้ชายมุสลิมในเมืองหลวง ที่ถูกส่งไปอยู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความหวาดกลัว กริ่งเกรง และไม่วางใจต่อสถานที่และผู้คนที่นั่น จะคลี่คลายหรือขมวดปมให้เพิ่มขึ้นมากน้อยหรือไม่เพียงใด และมีเงื่อนไขอะไรมาสร้างประสบการณ์ให้ชีวิตในวัยเปลี่ยนผ่านนี้ “สัมผัสที่อบอุ่น” นำประสบการณ์นั้นมาถ่ายทอดไว้อย่างละมุนละไม
ภาพยนตร์โดย ทีมนาซิกาบูโปรดักชั่น ซาการียา แม, อัมมัร มะลาเฮง, อิลหาม มะนะแล
ระยะเวลา 10 นาที
เรื่องราวของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สมาชิกมีความหลากหลายทางความเชื่อ ความศรัทธา และความแตกต่างทางศาสนา แต่ต้องมาทำสารคดีร่วมกัน แน่นอน การปฏิสัมพันธ์กันย่อมมีทั้งความขัดแย้ง ความเห็นต่าง ความไม่เชื่อและไม่ใช่ต่อกันและกัน หนังเรื่องนี้จะบอกให้เรารู้ว่าพวกเขาจะมีวิธีขัดกันฉันมิตรอย่างไร
ภาพยนตร์โดย ฮาฟิซ หละบิลลา, อัฟฟาน ดอลี, อับดุลเราะมาน อาแวกือจิ
ระยะเวลา 7 นาที
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอชีวิตของ “หญิงบ้า” หรือ ผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ชีวิตอยู่ในสี่จังหวัดชายแดนใต้ คนชายขอบในสังคมชายขอบ ถูกตีความ พิพากษาแตกต่างจากพื้นที่อื่นหรือไม่อย่างไร
ภาพยนตร์โดย อิฟฟาน ยูโซะ, อัจญมัล เริงสมุทร, สิกรี มุเสะ
ระยะเวลา 10.50 นาที
เมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้นในจังหวัดสามชายแดนใต้ สังคมมักจะตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่ามันต้องเกิดจากผู้ก่อการร้ายและมิติทางศาสนา ความจริงของความรุนแรงจึงถูกทำให้เหลือมิติเดียวเท่านั้น “วงจรอุบาทว์” เลือกที่จะเล่าเรื่องที่สะท้อนเงื่อน และเหตุของความรุนแรงผ่านในมิติอื่นๆ ที่สังคมอาจมองข้ามไป นอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจแล้วหนังเรื่องนี้ยังมีงานโปรดักชั่นที่ปราณีต มีชั้นเชิงชวนติดตามจนไม่อาจละสายตา
ภาพยนตร์โดย นาธิป ทองจันทร์ และ อัฐพล ปิริยะ
ระยะเวลา 11 นาที
“จะเป็นอย่างไรเมื่อมอง “ความเป็นอื่น” โดยใช้ภาพสะท้อนจากสุนัข” นี่คือโจทย์ที่ทีมทำหนังเรื่องนี้วางไว้ 45 องศา จึงเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องผ่านสายตาของหมา ในจังหวัดชายแดนใต้มุมมองของหมาจะพาเราไปเรียนรู้ เข้าใจ ครุ่นคิด ตีความ อะไรในจังหวัดชายแดนใต้ หนังเรื่องนี้กำลังชี้ชวนและเชิญชม
อันนิส เด็กสาวมุสลิม ขออนุญาตพี่สาวไปเล่นที่บ้านพลอยเพื่อนบ้านชาวพุทธ ที่เพิ่งรับสุนัขบาดเจ็บตัวหนึ่งมาดูแล อันนิสอาสาช่วยพลอยทำแผลให้สุนัข เมื่อพี่สาวของอันนิสกลับมาเห็นเธอจับสุนัขเข้าพอดี อันนิสจะต้องรับมือกับพี่สาวที่ไม่พอใจ และจัดการความรู้สึกที่มีต่อพลอยและเจ้าสุนัขตัวนั้น