ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
นักดนตรีชื่อ Alan Lomax ได้เดินทางไปยังแหล่งกำเนิดของดนตรีแจ๊สในนิวออร์ลีนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ ถนนที่มีสีสันของขบวนพาเหรดดนตรีแจ๊ส โดยมี Jelly Roll Morton ผู้อ้างสิทธิ์ว่าเป็นคนคิดค้นดนตรีแจ๊สคนหนึ่ง สารคดีเรื่องนี้ได้ติดตาม Morton จากบาร์เปียโนที่อบอวนด้วยควันบุหรี่ ไปยังสถานที่ที่มีดนตรีแจ๊สอยู่ทั่วไป ไม่เว้นแม้กระทั่งในท้องถนน ที่นิวออร์ลีนมีวงดนตรีและเครื่องดนตรีทองเหลืองวงแจ๊สอยู่ทั่วไป อาทิ ขบวนพาเหรดเฉลิมฉลองทุกๆงาน งานศพก็มีดนตรีแจ๊สจัดแสดงด้วย ในการแต่งกายของผู้ร่วมขบวนจะประดับด้วยขนนกและลูกปัดของ Mardi Gras อินเดีย เป็นต้น ภาพยนตร์ได้ติดตามถ่ายภาพเหตุการณ์ และการสัมภาษณ์สมาชิกของวงดนตรีแจ๊ส ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของประเพณีที่มีเพียงที่นิวออร์ลีนแห่งเดียว เท่านั้น
ภาพยนตร์ในชุดนี้วิเคราะห์ระบบคิดและการประกอบพิธีกรรมของผู้ที่ศรัทธาในผู้ นำอันศักดิ์สิทธิ์นาม Embah Wali ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใน Blitar, เกาะชวาตะวันออก เกี่ยวข้องกับรูปหนังเงาหรือ wayang ในฐานะรูปลักษณ์ของชีวิต พิธีกรรมหมายรวมถึงการแสดงรูปหนังเงาและผู้แสดง
These companion films examine the philosophy and ritual practices of the followers of a holy man popularly known as Embah Wali. The movement, centred in Blitar, East Java, regards wayang as a model for living. Their ritual practices involve the performance of a unique form of wayang with human actors.
สารคดีนำเสนอวงเสวนาของบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ชั้นนำ ศิลปิน และนักชาติพันธุ์วรรณนา เกี่ยวกับอนาคตของมานุษยวิทยาทัศนา เวทีดังกล่าวจัดขึ้นที่ Temple University โดยเน้นคำถามเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างผู้ที่ทำงานในสายนี้ สุนทรียะ การใช้สื่อสมัยใหม่ และการสร้างวิถีทางในการทำงานที่ใช้มุมมองของหลายสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ผู้เข้าร่วมเสวนาสร้างบทสนทนาที่โดดเด่น และเกี่ยวเนื่องกับวาระในอนาคตของมานุษยวิทยาทัศนาที่อาศัยมุมมองจากหลาย สาขาวิชาในยุคของโลกาภิวัตน์ บทโต้ตอบต่างๆ เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงปฏิบัติการและมุมมองทางทฤษฎี ผู้เข้าร่วมการเสวนาประกอบด้วย Phillip Alperson, Kelly Askew, Rebecca Baron, Michel Brault, Kathy Brew, Roderick Coover, Jayasinhji Jhala, Paul Stoller, and Lucien Taylor, Warren Bass, Noel Carroll, Kimmika Williams และอื่นๆ
ภาพยนตร์สารคดีนำเสนอพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศไต้หวันและฮ่องกง ที่มีทั้งศิลปะการแสดง (เต้นละครและโรงละครหุ่นเชิด) เป็นส่วนสำคัญในงานดังกล่าว
Presentation of religious ceremonies in Taiwan and Hong Kong : the performing arts (dance, drama and puppet theatre) play an important part.
การร่ายรำของ Kwakiutl เป็นภาพยนตร์ที่มาจากการตัดต่อภาพบันทึกเมื่อ ค.ศ. 1950 ที่ Fort Rupert ใน British Columbia ภาพต่างๆ ได้รับการบันทึกไว้ในพิธี "Hamatsa" หรือ Cannibal dancing การร่ายรำดังกล่าวมีความน่าสนใจในเชิงศิลป์ของอินเดียนที่อาศัยอยู่ทางชาย ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ
Dances of the Kwakiutl is composed of fragments filmed in 1950 in Fort Rupert, British Columbia. They were made during a performance by those still familiar with the tradition of 'Hamatsa' or cannibal dancing. This type of dance was brought to impressive artistic heights by the Kwakiutl people of the Northwest coast.
ภาพยนตร์ในชุดนี้วิเคราะห์ระบบคิดและการประกอบพิธีกรรมของผู้ที่ศรัทธาในผู้ นำอันศักดิ์สิทธิ์นาม Embah Wali ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใน Blitar, เกาะชวาตะวันออก เกี่ยวข้องกับมหรสพหรือ wayang ในฐานะรูปลักษณ์ของชีวิต พิธีกรรมหมายรวมถึงการแสดงและผู้แสดง
These companion films examine the philosophy and ritual practices of the followers of a holy man popularly known as Embah Wali. The movement, centred in Blitar, East Java, regards wayang as a model for living. Their ritual practices involve the performance of a unique form of wayang with human actors.
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของการติดตามกลุ่มของนักเต้นรำตามศิลปะดั้ง เดิมของเขมร ที่หนีรอดชีวิตจากการสังหารหมู่ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พวกเขาได้ศึกษารูปแบบของศิลปะที่ซับซ้อนและมีมายาวนานนับทศวรรษซึ่งมีการ เชื่อมโยงกับราชประเพณีโบราณและชีวิตความเป็นอยู่ของกัมพูชา กลุ่มศิลปินเหล่านี้อยู่ในโครงการเขมรคืนถิ่นของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของผู้รอดชีวิตได้ลี้ภัยมาอาศัยอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบอาชีพที่หลากหลายแต่ขณะเดียวกันก็ช่วยกัน ดิ้นรนรักษามรดกทางศิลปะของพวกเขาไว้ด้วย ในขณะเดียวกันที่กัมพูชาก็หลงเหลือการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมไม่มากและยังเป็น งานหนักในการฝึกซ้อมนักแสดงที่เป็นสมาชิกของ L' Ecole de Danse du Cap du Refugies du Site B ส่วนในปารีสก็มีการประยุกต์และฝึกซ้อมการเต้นรำแบบเดิมให้เข้ากับการเต้น บัลเล่ต์ เช่นเดียวกัน
ค.ศ. 1935 ภาพยนตร์ของวอล์ทดิสนีย์จัดฉายที่กรุงมอสโก Fyodor Chytruk ได้รับแรงบันดาลใจ และในเวลาต่อมา เข้าศึกษาต่อด้านศิลปะ และกลายเป็นนักสร้างภาพเคลื่อนไหวรัสเซียที่เป็นที่รู้จัก เรื่องราวที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉายให้เห็นศิลปะภาพเคลื่อนไหวที่ซ่อนอยู่
In 1935 three Walt Disney films were screened in Moscow. Fyodor Chytruk, then an art student, was convinced that he had seen a miracle unfolding before him. One day he himself would become one of the greats of Russian animation. Through his story, we discover a magical art form that remained closed behind the Iron Curtain for decades. The film reflects the difficulty of life in Soviet Russia though humor-filled Soviet experience as well as the rich cultural heritage of the country.
This film tells with verve and a touch of self-irony the history of research on the Dogon since the famous 1931 expedition of Marcel Griaule. The film establishes the original expedition in the context of French anthropology at the time. Jean Rouch, celebrated filmmaker and less known as an anthropologist on the Dogon, narrates part of the story, and interviews Dogon elders and veteran expedition-member, Germaine Dieterlen.
Ikat เป็นเทคนิคสำหรับการย้อมสีเส้นด้ายก่อนเข้าสู่กระบวนการทอผ้า วิธีการทอผ้าลักษณะนี้เป็นเอกลักษณ์ของผู้อพยพที่มาจากดินแดนเติร์กเมนิสถาน ของสหภาพโซเวียต และปัจจุบันการทอผ้าแบบนี้ยังคงมีให้เห็นในหมู่บ้าน Qorcangu ประเทศอัฟกานิสถาน
Ikat is a technique for dyeing yarn before weaving. Immigrants from Turkmenistan in the USSR still practice this method in the village of Qorcangu, Afghanistan.