ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์โดย ชนสรณ์ แวหะมะ, ณัฐริณีย์ สุหลง, วิภาวนี อักษรชู
ระยะเวลา 10 นาที
การพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้คนในครอบครัวและสังคมยอมรับในการเป็นเพศทางเลือกของตัวเอง เป็นประเด็นหลักที่หนังเลือกหยิบมานำเสนอ รวมไปถึงทุกข์และสุข ความกดดัน การยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อเพศทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้จะถูกพิสูจน์ หรือเสนอผ่านเงื่อนไขอะไร ต่างหรือเหมือนกับที่อื่นหรือไม่อย่างไร
ภาพยนตร์โดย อับดุลการีม หะมะ, อิรฟาน รีดน, เฟอดินันต์ ยือโร๊ะ
ระยะเวลา 10.20 นาที
หนังแนว Coming of Age ของเด็กผู้ชายมุสลิมในเมืองหลวง ที่ถูกส่งไปอยู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความหวาดกลัว กริ่งเกรง และไม่วางใจต่อสถานที่และผู้คนที่นั่น จะคลี่คลายหรือขมวดปมให้เพิ่มขึ้นมากน้อยหรือไม่เพียงใด และมีเงื่อนไขอะไรมาสร้างประสบการณ์ให้ชีวิตในวัยเปลี่ยนผ่านนี้ “สัมผัสที่อบอุ่น” นำประสบการณ์นั้นมาถ่ายทอดไว้อย่างละมุนละไม
แบและสุฤทธิ์ เป็นเพื่อนรักกันแต่เด็ก เวลาทำให้พวกเขาห่างกัน แต่เวลาก็นำพาให้พวกเขากลับมาพบกันอีกครั้ง พร้อมกับจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของสุฤทธิ์
วันหนึ่งของการเดินในหมู่บ้าน Newar ของ Panaoti ประเทศเนปาล ได้พบเห็นการดำเนินชีวิตของผู้คนในหมู่บ้าน อาทิ การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ความศรัทธา ภาพยนตร์นำเสนอภาพที่เป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องมีคำบรรยาย แต่ก็สามารถเข้าใจกับวิถีความเป็นอยู่ได้อย่างดี
One day of walking in the village of Newar Panaoti Nepal being a witness to the lives of people in the village, such as daily use. Occupational faith belief that the film is presented without subtitles. I can understand the way as well.
เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอฉากชีวิตประจำของผู้คนในหมู่บ้านอาหรับ Ingishka ในภาคเหนือของอัฟกานิสถาน ที่ต้องเตรียมตัวกับการมาถึงของฤดูหนาว ชาว Yurts จะต้องเตรียมตัวอพยพจากพื้นที่เดิมโดยรื้อและขนย้ายบ้านของพวกเขาไปด้วย ซึ่งเป็นเื่องราวการฝช้ชีวิตปกติของพวกเขาที่ต้องย้ายถิ่นตามฤดูกาล
Scenes from daily life in the Arab village of Ingishka, in northern Afghanistan. With the coming of winter, the inhabitants leave their yurts and settle into their houses.
ที่หมู่บ้าน Langda ในนิวกินี ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่และมีอาชีพเลี้ยงสัตว์ และทำเกษตรกรรมยังคงทำเครื่องมือเพื่อใช้ในการตัดที่เรียกว่า adzes ซึ่งทำจากหินขัดด้วยมือของพวกเขาเอง ติดตามขั้นตอนกระบวนการได้จากภาพยนตร์
In the Langda valley in New Guinea, farming groups still make adzes of polished stone.
บนเกาะ Botel Tobago ประเทศใต้หวัน เมื่อตรงกับเดือนหนึ่งทางจันทรคติ (กรกฎาคม-สิงหาคม) ชาว Yami ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่นี้จะมีการรวมตัวกันเพื่อประกอบพิธีขอบคุณธรรมชาติ พวกเขาจะรวมตัวกันสวดมนต์สลับด้วยการตบมือตามเป็นจังหวะซึ่งเป็นรูปแบบที่ ปฏิบัติ การรวมตัวจะทำขึ้นภายในบ้านที่อยู่อาศัยของเขาเอง พิธีอีกส่วนหนึ่งจะจัดกันที่อาคารที่สร้างขึ้นตามรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ ใช้สำหรับประกอบพิธี ที่นี่มีการเฉลิมฉลองพิธีการเปิดตัวอาคารที่เรียกว่า Makaranga หลังจากพิธีจะมีแบ่งปันเผือกมัน เนื้อหมู และปลาซึ่งเชื่อว่าจะเป็นบรรณาการให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้มาช่วยปก ป้อง Makaranga ของพวกเขา
ภาพยนตร์สารคดีนำเสนอเรื่องราวกิจกรรมประจำวันและการปฏิบัติทางศาสนาของชาวเนปาลในหมู่บ้านของ Tarap
Daily and religious activities of the inhabitants of the Nepalese village of Tarap.
ภาพยนตร์สารคดีอธิบายเทคนิคของมารดาในการดูแลบุตรของครอบครัวฮินดู ซึ่งเป็นการปฏิบัติสืบต่อกันมาในครอบครัวของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู (Brahmans) ในแคว้นทมิฬของประเทศอินเดีย
Description of mothering techniques in an undivided family of Brahmans in Tamil country, India.
เกาะ Botel Tabogo ของประเทศไต้หวันมีประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้มีเรียกว่าพวก Yami ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำไร่ และประกอบอาชีพทางการประมง ผู้คนที่นี่อยู่กันด้วยการแบ่งปันอาหารซึ่งกันและกัน เมื่อมีผลผลิตทางการเกษตรก็จะนำมารวมกันประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อจากนั้น ก็แบ่งปันในจำนวนที่เท่าๆกัน เช่นเดียวกับการทำประมงเมื่อได้ปลาจากการออกทะเลก็นำมาแบ่งปัน ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้นำเสนอความเป็นอยู่ของชาว Yami ในหลายแง่มุมด้วยกัน อาทิ สภาพทั่วไปของความเป็นอยู่ สภาพบ้านเรือน รวมทั้งงานศิลปะ เป็นต้น