ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์โดย ชนสรณ์ แวหะมะ, ณัฐริณีย์ สุหลง, วิภาวนี อักษรชู
ระยะเวลา 10 นาที
การพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้คนในครอบครัวและสังคมยอมรับในการเป็นเพศทางเลือกของตัวเอง เป็นประเด็นหลักที่หนังเลือกหยิบมานำเสนอ รวมไปถึงทุกข์และสุข ความกดดัน การยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อเพศทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้จะถูกพิสูจน์ หรือเสนอผ่านเงื่อนไขอะไร ต่างหรือเหมือนกับที่อื่นหรือไม่อย่างไร
หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่
เรื่องราวในโรงเรียนสุดวุ่นของเพื่อนร่วมห้องต่างศาสนา คนหนึ่งพุทธ อีกคนมุสลิม ที่ขัดแย้งกันด้วยเรื่องของภาษา เมื่อคนหนึ่งไม่พูดภาษาไทย อีกคนก็ฟังภาษามลายูไม่เข้าใจ ความขัดแย้งนี้บานปลายจนเกือบนำไปสู่การใช้ความรุนแรง
ชารีฟ นักเรียนชั้น ม.6 จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางมาสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ระหว่างรอสัมภาษณ์ เขาได้พบกับแทนไทเพื่อนสมัยเด็ก ที่ย้ายออกจากพื้นที่ไปเมื่อหลายปีก่อน แทนไทมาสอบสัมภาษณ์เช่นกัน บทสนทนาของเพื่อนเก่าต่างพื้นที่ ต่างศาสนาจึงเริ่มต้นขึ้น กระทั่งมีสายโทรศัพท์ถึงชารีฟ ส่งข่าวสารที่เขาไม่คาดคิด ข่าวจากทางบ้าน และถ้อยคำจากใครบางคนอาจทำให้ชีวิตเขาพลิกผันไปตลอดกาล
ค.ศ. 1935 ภาพยนตร์ของวอล์ทดิสนีย์จัดฉายที่กรุงมอสโก Fyodor Chytruk ได้รับแรงบันดาลใจ และในเวลาต่อมา เข้าศึกษาต่อด้านศิลปะ และกลายเป็นนักสร้างภาพเคลื่อนไหวรัสเซียที่เป็นที่รู้จัก เรื่องราวที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉายให้เห็นศิลปะภาพเคลื่อนไหวที่ซ่อนอยู่
In 1935 three Walt Disney films were screened in Moscow. Fyodor Chytruk, then an art student, was convinced that he had seen a miracle unfolding before him. One day he himself would become one of the greats of Russian animation. Through his story, we discover a magical art form that remained closed behind the Iron Curtain for decades. The film reflects the difficulty of life in Soviet Russia though humor-filled Soviet experience as well as the rich cultural heritage of the country.
This film tells with verve and a touch of self-irony the history of research on the Dogon since the famous 1931 expedition of Marcel Griaule. The film establishes the original expedition in the context of French anthropology at the time. Jean Rouch, celebrated filmmaker and less known as an anthropologist on the Dogon, narrates part of the story, and interviews Dogon elders and veteran expedition-member, Germaine Dieterlen.
ในโลกนี้มีพื้นที่ที่วิกฤตจากการสู้รบมากมาย พื้นที่เหล่านั้นล้อมรอบด้วยความทุกข์ทรมานการเสียชีวิตความรุนแรงและความ วุ่นวาย ช่างภาพชื่อ James Nachtwey ได้ออกค้นหาและบันทึกภาพที่เขาต้องการเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของช่างภาพชาวอเมริกันที่ชื่อ James Nachtwey ได้เห็นแรงจูงใจในการและการทำงานและการเป็นช่างภาพสงครามโดย ผู้อำนวยการและผู้ผลิต Christian Frei ได้ติดตามการทำงานของ James Nachtwey ในช่วงเวลาสองปีในสงครามที่ประเทศอินโดนีเซีย, โคโซโว, ปาเลสไตน์ เป็นต้น Christian Frei ได้ใช้กล้องขนาดเล็กพิเศษแนบไปกับกล้องถ่ายภาพของ James Nachtwey เราจึงได้เห็นช่างภาพที่มีชื่อเสียงกำลังมองหามุมถ่ายภาพที่สำคัญๆ ได้ยินเสียงลมหายใจของช่างภาพทุกขณะ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์เกี่ยวกับช่างภาพ ที่ได้มีการใช้เทคนิคนี้โดยได้รับอนุญาตจากช่างภาพเพื่อให้มีความเข้าใจใน การทำงานจริงของนักข่าวและช่างภาพที่เกี่ยวข้อง
Nina Davenport เปลี่ยนมุมมองของบันทึกการเดินทาง ให้มาจากภายใน เธอพาเราไปยังประเทศอินเดีย และปล่อยเราไว้ที่นั่น ปล่อยให้เราเชื่อในสิ่งที่เราเห็นจากสายตาของเธอ ภาพยนตร์ของเธอจำลองประสบการณ์การเป็นนักเดินทาง และพวกถ้ำมอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของสิ่งที่เห็นเสมอไป
Nina Davenport turns the conventions of the travelogue inside out. She takes us to India and abandons us there, leaving us to believe what we see through her eyes. Her movie replicates the experience of being a traveller and thus a voyeur, of taking in sights without necessarily understanding their meaning.
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประชากรมากกว่า 4 ล้านคนที่ได้รับผลของสงคราม และ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดนั้นเป็นเด็กที่กำลังเรียนหนังสือ ... อดีตของพวกเขาตกอยู่ในความหวาดกลัวจากสงคราม จากช่วงเวลาอันหวาดกลัวพวกเขาเหล่านั้นได้เติบโตมาเป็น พ่อ เป็นลุง เป็นปู่ย่าตายาย ในช่วงเวลานั้นพวกเขามีเพียงดินสอ ปากกา เป็นอาวุธเท่านั้น เรื่องราวที่นำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มาจากข้อความที่อยู่ในไดอารี่ และประวัติส่วนบุคคลระหว่างปี 1914 – 1918 เขียนด้วยลายมือของผู้ที่เป็นพ่อที่มีต่อลูกๆของพวกเขา บอกเล่าถึงความหวัง ความหวาดกลัว ถ้อยคำแนะนำ ทั้งน้ำตาและรอยยิ้ม ความรักแท้และบริสุทธิ์ถูกเขียนลงบนบันทึกทุกๆวันระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เก็บไว้ด้วยความหวงแหนเหมือนกับสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่ง
เมื่อ ค.ศ. 1958 ด้วยความช่วยเหลือของคนในครอบครัว Marshalls กลุ่ม Ju/'hoansi เดินทางกลับบ้านใน Nyae Nyae ภายหลัง 7 ปีของการเป็นแรงงานที่โดนกักขังในฟาร์มแห่งหนึ่ง หญิงม่ายผู้ซึ่งอดีตสามีหนีรอดจากฟาร์ม มีลูกกับชายอีกคนหนึ่ง เมื่อเธอเดินทางกลับถึง Nyae Nyae เธอและสามีคนเก่าเกิดมีปากเสียงอย่างรุนแรง ภาพยนตร์เรื่อง An Argument About a Marriage นำไปสู่คำถามเกี่ยวกับการเพาะปลูกโดยนักลงทุนชาวยุโรปที่ส่งอิทธิพลต่อชีวิต ทางเศรษฐกิจและสังคมของคน Ju/'hoansi มากไปกว่านั้น นำไปสู่คำถามที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการแต่งงานและแรงงานของเจ้าสาวตามธรรมเนียม เครือญาติ รวมถึงข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่ม Ju/'hoansi นอกจากอารณ์ที่เกรียวกราดที่เราจะเห็นในภาพยนตร์ เรายังจะได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาที่ป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้น