ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
วิดีโอนี้ถ่ายทำในเขตภาคกลางของคาบสมุทร Kamchatka ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2004 ในระหว่างโครงการวิจัยหลายทางวินัยเรื่อง"Reindeer ระบบ : การปรับตัวทางชีวภาพและวัฒนธรรม" จุดมุ่งหมายของการเดินทางด้านนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมและวิถี ชีวิตของ Reindeers ซึ่งแม้แต่กวางขนาดใหญ่ของ Kamchatka, ที่อาศัยอยู่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและการถูกคุกคาม ภาพยนตร์แสดงให้เห็นแง่มุมของชีวิตร่วมสมัยในหมู่ชนกลุ่มน้อยนี้มีสมาชิก เดินทางมาถึงครั้งแรกใน Kamchatka ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19, และแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งที่เกิดขึ้นในชีวิตตั้งแต่ช่วงต้น ทศวรรษ 1990 เมื่อกวางขนาดใหญ่ได้ลดลงเช่นเดียวกับการตกลงของสหภาพโซเวียต แต่ก็มีความกังวลเพียงส่วนเล็ก ๆ ของประชากรพื้นเมืองของภูมิภาคนี้ ฟิล์มถูกถ่ายในสถานที่ที่แตกต่างกัน บริษัทน้ำมัน ฝูงกวางขนาดใหญ่ หมู่บ้านพื้นเมืองของ Anavgai และสุดท้ายใน Bystrya, หมู่บ้านเก่าที่ถูกปิดตัวลงจากหน่วยงานในปี 1974 เป็นต้น
เมล็ดพันธุ์บนโลกเป็นหนังเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในชนบทของบังคลาเทศ (หมู่บ้าน Janta ใกล้เมือง Bishnupur) ภาพยนตร์นำเสนอชีวิตประจำวันของสองครอบครัว พร้อมทั้งได้สังเกตชีวิตความเป็นอยู่ที่แต่งต่างกันของเพศและกิจกรรมที่แตก ต่างกัน เช่นกิจกรรมทางศาสนา การพักผ่อนของชายและหญิง, เด็กและผู้ใหญ่ ภาพยนตร์เผยให้เห็นการเคารพต่อกันในสังคม ทั้งเหตุการณ์และความคิดของครอบครัว การเพาะปลูกและการเคารพบูชา เป็นต้น วิถีชีวิตของพวกเขาถูกนำเสนอผ่านกิจกรรมที่เขาทำเป็นประจำวัน และคำพูดจาที่เป็นธรรมชาติของเขาเหล่านั้นนั่นเอง
Seed on Earth is a film about everyday life in rural Bangladesh (village of Janta, near Bishnupur town). It follows the daily schedule of two families and observes the complementary and difference of gender and generation in work, ritual and leisure activities of men and women, adults and children. The film reveals the strong links between the sacred and social life, the events and ideas of family, cultivation and worship. Village life and people are presented through their own activities in their own words in naturally occurring situations.
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราว ชีวิตของผู้คนบนเกาะมุก หลังจากที่เกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถาโถมเข้าใส่เมื่อครั้งเกิดสึนามิครั้ง ใหญ่ที่ภาคใต้ของไทย ผู้คนต่างดำเนินชีวิตไปตามวิถีความเป็นอยู่เช่นเดิม แต่ทั้งนี้ก็ยังมีความทรงจำแต่เก่าก่อนทั้งเรื่องราวแต่หนหลังเมื่อครั้ง เข้ามาบุกเบิกพื้นที่บนเกาะ เด็กยังจำครั้งเกิดสึนามิได้ หลายคนเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือพวกเขาเมื่อคราวเกิดคลื่นยักษ์
Mr Xie ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมือง Dwan ซึงเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านไตในจังหวัด Dehong ซึงอยู่ในเส้นทางลักลอบค้ายาเสพติดจากพม่า ในปี 2002 ลูกชายของเขาได้ถูกจำกุมโดยรัฐบาลและถูกส่งไปยังสถานบำบัดยาเสพติดใน Chuxiong ทิ้งให้ Xie ต้องอยู่ลำพังกับภรรยาที่เจ็บป่วยโดยไม่มีเงินรักษาพยายาล ส่วนพืชผลที่ปลูกไว้ที่จะเก็บเกี่ยวก็เสียหายอีก ติดตามเรื่องราวชีวิตของพวกเขาได้จากภาพยนตร์
Mr. Xie lives in Dawan, a typical Dai village in province of Dehong that is part of a drug-smuggling route from Myanmar. In Spring 2002, the authorities sent his son to a drug rehabilitation center in Chuxiong, leaving Mr. Xie and his wife to care for themselves. Although he battles illness, he has no money for hospital treatment. Meanwhile, harvest season approaches, but the sugar cane and corn crops are left untouched in the fields.
Dennis O'Rourke ได้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องด้วยกล้องขนาดเล็กที่ติดตัวไปยังเมือง Cunnamulla ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ แห้งแล้งตั้งอยู่สุดทางรถไฟสายรัฐควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย เขาได้บันทึกข้อมูลของผู้คนที่หลากหลายที่ได้ไปพบมา อาทิ Arthur คนขับแท็กซี่ ภรรยาของ Arthur ที่สูบบุหรี่จัด Herb คนขายของเก่าที่ขี้เมา Marto นักดนตรีดิสโก แจ็คข้าราชการบำนาญที่เลี้ยงแจ็คเป็นบุตร ผู้คนชุมชนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทั้งชาวอะบอริจินที่อาศัยอยู่ Paul ที่เป็นตัวปัญหาของตำรวจ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเหมือนการเปิดหน้าต่างบ้านคนเหล่านั้นที่ล้วนแล้วแต่ มีปัญหาคนละแบบลองติดตามศึกษาข้อมูลจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้
DAO Yaodong เด็กหนุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ Huayao Dai (Thai) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจังหวัด Xinping ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนมีชีวิตอยู่กับสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากโทรทัศน์ ภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆที่เข้ามากับคนงานโรงงาน น้ำตาลที่อยู่ใกล้เคียง ชีวิตของเขาก้าวเข้าไปรับอิทธิพลของสิ่งเหล่านั้นรวมทั้งชีวิตความเป็นเมือง รูปลักษณ์ใหม่ เช่นการสวมแว่นกันแดดใส่เสื้อแจ็คเก็ตหนัง ซึ่งมาจากอิทธิพลของภาพยนตร์ที่เขาดู แต่ในขณะที่ผู้สูงอายุก็พยายามต่อสู้เอาสิ่งเก่าๆคืนมา Dao ซึ่งมีฉายาคือ Mr. Cool ก็เจริญรอยตามพี่ชายของเขาที่ไปทำงานในเมือง โดยละทิ้งชีวิตเกษตรกรและย้ายไปอยู่ในเมือง จากการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ พบว่าสังคมได้รับผลกระทบจากความทันสมัยและสื่อที่เข้ามาคุกคามวิถีความเป็น อยู่ของหมู่บ้านเป็นอย่างมาก
Celso and cora เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องราวของครอบครัววัยรุ่นที่มีบุตรด้วยกัน 2 คน อาศัยอยู่ในย่านชุมชนแออัดกลางกรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง Cora และ Celso หาเลี้ยงชีพด้วยการขายบุหรี่ตามย่านโรงแรมและสถานบันเทิงในยามค่ำคืน การบันทึกเรื่องราวของบุคลทั้ง 2 นี้ ติดตามความเป็นอยู่อย่างใกล้ชิด ตลอดระยะเวลา 3 เดือน พบการดิ้นรนของชีวิตความเป็นอยู่ในเรื่องของการทำมาหากิน เช่นการห้ามขาย ชีวิตครอบที่มีการกระทบกระทั่งกันจากความกดดันในชีวิตประจำวัน การต่อสู้กับความยากจนเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวและบุตรทั้ง 2 คน โดยที่ไม่รู้อนาคตข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียโดยนำเสนอผ่าน เรื่องราวของ Diya ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสำหรับใส่น้ำมันและจุดไฟในเทศกาลเกี่ยวกับไฟของ อินเดีย เริ่มต้นที่ครอบครัวของช่างปั้น จนไปสู่ตลาดการค้าที่นำ Diya ไปขาย จนไปสู่การนำเอาไปใช้จริงในเทศกาลเฉลิมฉลอง ซึ่งทั้งหมดเป็นวิถีชีวิตประจำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหมุนเปลี่ยน เวียนไป สุดท้ายภาพยนตร์ก็มาจบลงที่ครอบครัวของช่างปั้นเมื่อทุกอย่างผ่านไปวิถี ชีวิตก็กลับมาสู่แบบเดิมต่อไป
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอเกี่ยวกับพิธีการแต่งงานของชาวอินโดนีเซียทาง สุมาตราตะวันออก ภาพยนตร์นำเสนอตั้งแต่การเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ก่อนงานแต่งจะเริ่มขึ้น โดยเฉพาะการเตรียมตัวของเจ้าสาวซึ่งมีขั้นตอนค่อนข้างมาก และพิธีการของงานแต่งงานทั้งหมด
This film records the preparations for the wedding of two sisters in eastern Sumatra in December 1996. There is an emphasis on the importance of the role of women in the village. Ritual exchanges of textiles and cakes, and a series of purification rituals are shown.
กลุ่มชาติพันธุ์ Na เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบสูงเทือกเขา หิมาลัย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ หลังจากที่ไม่มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นเวลานาน ผู้ที่ทำพิธีกรรมเรียกว่า Daba ปัจจุบันยังมีชายชราชื่อ Dafa Luzo ทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของขายชราคนนี้และพิธีกรรมที่เกิดขึ้นให้ เห็น
After more than a quarter of a century without any form of religious ceremony, the Na, an ethnic group living on the Himalayan plateau, began openly practising their religion again in the early 1990s. Their priests are called daba. Among the few old shamans who are still living today, Dafa Luzo is the most remarkable. As the main character in the film, we see him looking after his farm and his family, as well as performing rituals to expel all unclean spirits and demons and honour his ancestors. His main worry, and his greatest hope, is to make sure his knowledge is safely handed down to the next generation.