ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
Pierre Perrault เกิดที่เมือง Montreal รัฐ Quebec ประเทศแคนาดา Pierre เรียนหนังสือทางด้านกฎหมายก่อนที่จะผันตัวเองไปสร้างภาพยนตร์และเขียน หนังสือตามที่ตัวเองชอบ เขาสนใจเรื่องราวที่เป็นความจริงมากกว่าลักษณะของนิยาย ดังนั้นภาพยนตร์ที่เขาสร้างจึงเป็นเรื่องราวจริงของผู้คนที่เกิดขึ้น และจากการที่เขาได้พบกับชาวบ้านที่ IIe-aux-Coudres และได้สัมผัสกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ได้เห็นการเรียนรู้การใช้ชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งต่างจากพวกเราที่ต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยการอ่าน Pierre มีผลงานภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นหลายเรื่องด้วยกันได้ อาทิ "For the rest of the world" ในปี 1963 ซึ่งเป็นเรื่องราวของชาวประมงที่พยายามจะช่วยกันรื้อฟื้นการประมงบริเวณ ท่าเรือที่ถูกละทิ้งมาเป็นเวลานาน "The Reign of the Day" ในปี 1967 เป็นเรื่องของการเดินทางในยุโรป และเรื่อง "water cars" ในปี 1968 เป็นต้น ติดตามประวัติพร้อมผลงานของเขาได้
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้สร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง King Kong เป็นภาพยนตร์ขาวดำ เกี่ยวกับเรื่องราวการเดินทางของชนเผ่า Bakhtiari ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ยากจนในประเทศอิหร่าน มีอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งต้องเร่ร่อนพาฝูงปศุสัตว์เดินทางผ่านขึ้นภูเขาสูง ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ การเดินทางด้วยเท้าเปล่า เพื่อไปหาดินแดนปศุสัตว์ใหม่สำหรับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาที่จะได้อาหารจาก ทุ่งหญ้าสีเขียวก่อนที่ปศุสัตว์ของเขาจะตายจากความหิว ระหว่างการเดินทางท่านจะได้พบกับ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าเร่ร่อนนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อมโยงกับภาพยนตร์เรื่อง People of the wind ซึ่งเป็นเรื่องราวของชนเผ่ากลุ่มเดียวกันแต่ต่างยุคสมัย ซึ่งยังคงมีเรื่องราวการเดินทางที่ไม่แตกต่างกัน
This documentary follows the journey of the Bakhtiari, a poor nomadic tribe in Iran, as they herd their livestock up snow-covered mountain passes--barefoot--to get to the grazing lands on the other side of the mountains before their animals die from hunger.
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับการแสดงโดยผู้กำกับชาวกัมพูชาชื่อ Rithy Panh เขามีผลงานซึ่งเคยได้รับรางวัลมาแล้วจากเรื่อง S21 : The Khmer Rouge Killing Machine. Panh เป็นผู้ที่หนีรอดความตายจากค่ายแรงงานเขมรแดงในปี 1979 ภาพยนตร์เรื่อง Rice people นำเสนอเรื่องราวของการต่อสู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของเกษตรกรชาวกัมพูชา ต้องต่อสู้กับความยากจน อันตรายจากธรรมชาติ ความเจ็บป่วย กว่าจะได้ผลผลิตข้าว ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของการต่อสู้ของครอบครัว Poeuv และ Om ที่ต้องเริ่มต้นต่อสู้กับอันตรายที่อยู่ในท้องทุ่งนา อย่างเช่น งูเห่า น้ำท่วม การเกิดโรคต่อต้นข้าวที่กำลังเติบโต เมื่อ Poeuv ตายจากการติดเชื้อที่เกิดจากการเหยียบหนามในขณะไถนา Om ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูลูกสาวทั้งเจ็ดคนปัญหาที่ตามมาอย่างหนักหน่วงคือ ไม่มีเงินเลี้ยงดูบุตร ภาพยนตร์พาเราเข้าไปสู่การต่อสู้ปัญหาซึ่งเสมือนได้เข้าอยู่ท่ามกลางดินโคลน ในท้องนาด้วย ซึ่งชีวิตที่เหลืออยู่ถูกผูกมัดแนบแน่นกับการมีชีวิตรอดของข้าวในนา ซึ่งหากไม่ได้ผลผลิตก็เหมือนกับสูญสิ้นชีวิตไปด้วย
นี่เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ ด้วยเส้นทางที่ยาวไกลมากกว่าสองร้อยไมล์ของแม่น้ำสายยาว ภูเขาสูงที่แทบจะหาทางไปไม่ได้เลย ที่นี่มีเมืองแต่ไม่มีถนน ไม่มีสะพานข้ามลำน้ำ เมื่อเข้ามาแล้วเหมือนจะไม่มีทางกลับไปได้เลย กลุ่มคนที่มีชื่อเรียกว่า Bakhtiari เป็นชนเผ่าเร่ร่อน ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความทรหดอดทน พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่อันแสนไกลและอันตราย ในทุกๆ ปีประชากรของกลุ่มชนพื้นเมืองนี้ทั้งหญิงชายและเด็ก ประมาณ 500,000 คน พร้อมปศุสัตว์มากกว่าล้านตัว ต้องต่อสู้กับสภาพอากาศอันหนาวเย็นและโหดร้ายตลอดเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งความหนาวเย็นนี้พอๆกับบนเทือกเขาแอลป์และในพื้นที่ของสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อรอเวลาให้ฤดูร้อนและทุ่งหน้าปศุสัตว์กลับมาอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำได้สวยงาม การนำเสนอภาพในมุมกว้างที่ตื่นตา การบันทึกเสียงที่ยอดเยี่ยม พบกับความตื่นตาในการเดินทางย้ายถิ่นผ่านภูเขา Zardeh Kuh ลำธารน้ำแข็งอันเย็นเฉียบ ทั้งหมดติดตามได้จาก People of the Wind
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 12 ปี โหลใน Kerala (ในภาคใต้ของอินเดีย), มีการซื้อขายวัวกันมากเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร การซื้อขายนี้มีตลาดใหญ่อยู่ที่ชายแดนรัฐทมิฬนาดู และในภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ โอริสสา, มัธยประเทศ, ฯลฯ เป็นต้น ทุกวันนี้การซื้อขายน้อยลงและราคาก็ถูกลงมากเนื่องจากมีกฏเข้มงวดห้ามการรับ ประทานอาหารที่มีเนื้อวัว ในการขนส่งวัวไปขายจะมี 2 ทาง คือ การลำเลียงโดยรถบรรทุก และการเดินทางเท้าในภาพยนตร์จะได้พบกับรายละเอียด ฉากของชีวิตประจำวันอื่น ๆ ที่มีฉากของขบวนวัวที่ถูกส่งไปขาย
During the past dozen years in Kerala (in southern India), cattle have been primarily sold for beef. The animals are bought in the neighboring state of Tamil Nadu and also in northern India (Orissa, Madhya Pradesh, etc.) where the prices are lower because prohibitions against eating beef are stricter. The two ways in which the cattle are transported, by truck or driven on foot, are described in detail. Scenes of everyday life alternate with scenes of the cattle convoys.
เป็นเรื่องราวของการใช้ชีวิตประจำวันของชนเผ่าเร่ร่อน Tiaha ที่สืบเชื้อสายมาจาก Ismaël พวกเขาอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายไซนาย (Sinai) พบกับช่วงชีวิตในเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ ประเพณีการต้อนรับ การตัดเย็บและการทอผ้าไว้ใช้ การติดต่อค้าขาย และงานเทศกาลของชาวมุสลิม จากภาพยนตร์เรื่องนี้
Aspects of daily life among the nomadic Tiaha, descendants of Ismaël, in the northern Sinai desert : a spring festival, a reception, shearing and weaving, a market and a Muslim festival.
ภาพยนตร์สารคดีการเยือนสาธารณรัฐเยเมนเริ่มตั้งแต่กรุง Sanaa ถึง Taez ในการนี้ได้เดินทางผ่าน Wadi Dhar, Amrân, Khamir, Zafar, Sader Faz และ Jiblah ตลอดระยะทางจะได้พบเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศแต่ละท้องถิ่นแตก ต่างกันไป
A tour of the Yemen Arab Republic, from Sanaa to Taez the capital, via Wadi Dhar, Amrân, Khamir, Zafar, Sader Faz and Jiblah.
ภาพยนตร์สารคดีนำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้หญิงอินเดียที่ปรากฏผ่านคำ อธิบายทางภาพที่เห็น พวกเธอทั้งหลายในหมู่บ้านของหมู่บ้าน Piparsod ในมัธยประเทศ ต่างมีหน้าที่ปฏิบัติทั้งงานบ้านและการประกอบอาชีพ
Indian women's lives are shown through a description of specifically female tasks in the village of Piparsod in Madhya Pradesh.
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2000 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ Yakutia, ไม่ไกลจากปากของแม่น้ำ Kolyma ที่บริเวณนี้มีกวางขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในที่ซึ่งพวกมันพยายามที่จะหาวิธีอยู่ อย่างอิสระ ภาพยนตร์แสดงให้เห็นสมาชิกของชุมชนในสามสถานที่ที่อาศัยและประกอบอาชีพ ได้แก่ ในทุ่งหญ้าทุนดรา ซึ่งกลุ่มคนในส่วนนี้ทำหน้าหน้าดูแลกวางในพื้นที่ จำนวนประมาณ 2,000 ตัว มีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม กลุ่มที่ 2 อาศัยอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำทำอาชีพการประมง และกลุ่มที่ 3 ตั้งรกรากอาศัยอยู่ที่บริเวณพื้นที่ทางภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งถาวรของบร รพบุรษพวกเขาทั้ง 2 กลุ่มคือ Egor และ Akoulina โดยตั้งใจให้พื้นที่นี้รองรับญาติของพวกเขาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมไปยัง เยาวชนรุ่นลูกหลานในขณะที่มีการคุกคามทางวัฒนธรรมมากขึ้นๆ เรื่อยๆ
มันเป็นเรื่องราวระหว่างเขตแดนยุโรปและ Maghreb ซึ่งถูกแบ่งโดยทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีผู้คนจำนวนมากที่เดินทางมาพร้อมสัมภาระพร้อมเรื่องราวต่างๆมากมายกับการ เดินทางผ่านเข้าออกระหว่าง Marseille ของฝรั่งเศส และ Algiers ประเทศแอลจีเรีย ผู้สร้าง Elizabeth Euvrey เป็นหนึ่งในจำนวนคนจำนวนมายที่ได้เดินทางผ่านเส้นทางดังกล่าวหลายครั้งด้วย กัน ได้พบเห็นและเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เดินและได้นำมาบอกเล่าให้เราได้ฟัง โดยการสัมภาษณ์ผู้คนระหว่างการเดินทางซึ่งมีเรื่องราวที่หลากหลายในแต่ละ ผู้คนที่เดินทางติดตามได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้