ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์เรื่อง Powaqqatsi เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ยึดติดกับการดำเนินเรื่องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ใช้วิธีเรียงร้อยทั้งภาพ เป็นข้อความ เป็นผู้คน และวัฒนธรรม ที่สามารถกระตุ้นความรู้สึกและเกิดการตีความได้จากผู้ชมเป็นอย่างดี และโดยเฉพาะการนำเสนอภาพของความกล้าหาญ ความตั้งใจ ความไม่ยอมแพ้ของผู้คนที่กำลังเสียเปรียบ จากหลายที่หลายแห่ง และหลายๆประเทศ
ภาพยนตร์ชุดนี้ของ Jean Rouch เป็นเรื่องราวในประเทศ กานา และไนเจอร์ซึ่งอยู่ทวีปอาฟริกา ภาพยนตร์มีความหลากหลายได้แก่ความเป็นอยู่ การเดินทาง ความรัก และความตาย การเรียนรู้และมิตรภาพ ประเพณีความเป็นอยู่ จัดเป็นข้อมูลที่ดีทางด้านมานุษยวิทยาและข้อมูลเชิงด้านประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ในชุดนี้ประกอบด้วยดีวีดี จำนวน 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1. Cine – Trance, 2. Cine – Plaisir, 3. Cine – Meet และ 4. Cine - Rouch
ABOUT: The Films of Jean Rouch, a unique archive on Africa, gems for moviegoers, are also stories that depict simple stories - hunting, travel, love and death, the learning and friendship - to the universal. Some films are pure anthropological tradition, others humorous fiction.
Le geste cinematographique : Robert Flaherty (Robert Flaherty : Nanouk l'esquimau, L'Homme d'Aran, Louisiana Story, The land)
ภาพยนตร์ชุดนี้มีจำนวน 4 เรื่อง ถ่ายทำโดย Robert Flaherty ได้แก่ 1. Nanouk l'esquimau 2. L'Homme d'Aran 3. Louisiana Story 4. The Land Robert เป็นนักสร้างภาพยนตร์สารคดีชาวอเมริกันเขากำกับและผลิตงานที่มีคุณภาพเช่น เรื่อง Nanook ซึ่งถ่ายทำในแคนาดาบริเวณพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง เราจะได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งหาดูไม่ ได้อีกแล้วในปัจจุบัน รวมทั้งเรื่องอื่นๆอีกในชุดเดียวกัน
ความสัมพันธ์ของมานุษยวิทยากับลัทธิล่าอาณานิคมมานุษยวิทยาได้มีการพูดถึง อย่างกว้างขวาง แต่กลุ่มคนในอาณานิคมส่วนใหญ่ยังมิได้สำรวจอย่างจริงจัง ในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งไม่ใช่ไม่ใช่ข้อสรุปของประเด็น ดังกล่าว เวลาผ่านไป 40 ปีในเคนยา พันเอก Hilary Hook Home from the hill เป็นเรื่องราวชีวิตของพันเอก Hilary Hook นายทหารชาวอังกฤษที่เกษียณราชการอาศัยอยู่ในประเทศเคนยาสุดท้ายเขาต้องกลับ มายังสหราชอาณาจักรบ้านเกิด ที่ชานกรุงลอนดอนที่นี่เขาต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่
ภาพยนตร์เรื่องนี้เนื้อหากึ่งท่องเที่ยวและสอดแทรกด้วยเรื่องจริงจากสารคดี เดิม โดยได้จัดให้มีการท่องเที่ยวไปยังดินแดนที่ครั้งหนึ่งเป็นที่อาศัยของมนุษย์ กินคนของกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่จะค่อนข้างมีฐานะ และใช้การเดินทางโดยเรือสำราญไปตามแน่น้ำ Sepik ในประเทศปาปัวนิวกินี มันเป็นความพยายามที่จะนำไปสู่สถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอารยะธรรมของมัน อยู่ แต่ทว่าปัจจุบันความเจริญเริ่มเข้าไปถึง คุณค่าของวัฒนธรรมเดิมเหล่านั้นก็จะสูญหายไปเหลือแต่เพียงการแสดง และการขายของเพื่อแลกกับเงินตราที่จะได้มาแทน
หนังเรื่องนี้ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาไทยว่า “พวกเขาและฉัน” (Eux et moi) เป็นเรื่องของนักมานุษยวิทยาที่เดินทางกลับไปแค้มป์ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในนิวกินีซึ่งเป็นหมู่บ้านกลุ่มชนเผ่า เขาสามารถพูดภาษาของชนเผ่าได้จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ กลุ่มชนเผ่านี้เปลือยกายมีธนูเป็นอาวุธ มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายกับธรรมชาติหากินโดยการเก็บผัก ล่าสัตว์ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับภูตผี เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาโดยเฉพาะการเข้ามาของนักมานุษยวิทยาก็จะสนใจและ คอยจับตาดูด้วยความสนใจทั้งในสิ่งของและความเป็นอยู่และความต้องการสิ่งของ เครื่องใช้ พวกเขายังใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยน แต่ในอนาคตสังคมเจริญพวกเขาก็คงต้องพบกับสิ่งอื่นที่จะเข้ามาอีกมากต่อไป ภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งคือ Le Ciel dans Jardin เป็นเรื่องต่อเนื่องของกลุ่มชนเผ่าเดียวกันกับเรื่องแรก นำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิต เป็นอีกตอนหนึ่งที่น่าศึกษาค้นคว้า
ด้วยการใช้นวัตกรรมการนำเสนอผ่านฟีล์ม ผู้กำกับภาพยนตร์จำนวน 7 คน ได้ใช้เวลาประมาณคนละ 10 นาที ในการนำเสนอผลงานของแต่เอง โดยภาพยนตร์เรื่อง Ten Minutes Older เช่น เรื่อง The Trumpet นำเสนอเรื่องราว ประสบการณ์ของมนุษย์ ได้แก่ การเกิด ความตาย ความรัก เพศ ในช่วงเวลาหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังนำเสนอเรื่องราว ตำนานเก่าแก่จากสถานที่หลากหลายทั้งในป่าของทวีปอเมริกาใต้ไปจนสู่ท้องถนน ของมหานครนิวยอร์ก จนกระทั่งมารวมกันเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นสำหรับคอภาพยนตร์
สารคดีนำเราไปรู้จักกับมุมมองจากท้องถิ่นในการถกเถียงถึงการขลิบอวัยวะเพศ หญิงในสังคมเคนยา Massai และ Somali เป็นสังคมของผู้นับถือมุสลิม และมีประชากรบางส่วนที่นับถือคริสต์เอวองจิล เพิ่งลงมติรับรองกฎหมายห้ามมิให้การขลิบอัวยวะเพศของเด็กหญิง ทั้งนี้ โดยปราศจากความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ภาพยนตร์เริ่มต้นเรื่องราวของ Fardhosa นางพยาบาลผู้รณรงค์ต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย ในการย้ำให้ผู้คนเห็นอันตรายอันเกิดจากขลิบ ที่มีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ จากนั้น เราจะไปฟังมุมมองของ Simalo เด็กหญิงชาวมาไซที่หนีจากไนโรบี เมื่อต้องเผชิญหน้ากับแม่ของเขาเองในการจัดการแต่งงานและทำร้ายเธอเมื่อเธอ ไม่ยินยอม ในช่วงท้าย ภาพยนตร์พาเราไปรู้จักกลุ่มเด็กนักเรียนหญิง Marakwet ที่ท้าทายกับพอ่แม่ในการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปีในชั้นศาล
The documentary explores the local dimensions of the female circumcision debate in Kenyan societies. In a region of Kenya that is home to Muslims, Massai and Somali and crosscut by Christian evangelists, recently passed legislation makes it illegal for a girl to be circumcised without first consenting to the procedure. The film begins with Fardhosa a nurse on a tireless campaign to open people's eyes to the dangers of circumcision, both physical and mental. Next, Simalo, a Maasai runaway girl returns from Nairobi to confront her mother, who was responsible for her mutilation and young marriage.
Caime ชนพื้นถิ่นชาว Xavante แสดงความเห็นไว้ที่ช่วงเกริ่นนำของวิดีโอเกี่ยวกับมูาบ้านของเขา Pimentel Barbosa ในเมือง Mato Grosso ประเทศบราซิล เขาได้เรียนรู้วิธีใช้กล้องวิดีโอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บภาพเพื่อการบันทึก กล้องของเขามีบทบาททางการศึกษา สำหรับสอนให้คนในหมู่บ้านรู้จักพิธีกรรม และการเดินทางออกล่าสัตว์ ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ กล้องยังเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง และบันทึกความทรงจำเพื่ออนุรักษ์ประเพณีสำคัญของชุมชน นอกจากนี้ วิดีโอยังทำหน้าที่สื่อสารสำหรับการพบปะในกลุ่มผู้นำ ซึ่งจัดในพื้นที่อันห่างไกล หรือใช้สำหรับบันทึกความพิลึกพิลันของวัฒนธรรมอื่น เช่นวงดนตรีเฮวี่เมทัลเข้ามาแสดงในหมู่บ้าน บทบาทของเขาในการถ่ายทำวิดีโอของ Caime ทำให้เขามีโอกาสเดินทางและหาประสบการณ์ในวัฒนธรรมอื่น
Caime, a Xavante Indian, comments on the introduction of video documentation to his village, Pimentel Barbosa in Mato Grosso, Brazil. He recalls learning to use video equipment and becoming more selective with the images he chooses to record. His camera fills an educational role, teaching the whole village about ceremonies and hunting trips in which not everyone may participate. It also functions as a tool for self-evaluation, and as a collective memory aid in preserving important traditions. Video can communicate meetings between leaders that take place far away or record the idiosyncrasies of other cultures when a heavy metal band comes to visit the village. His role as a video-maker has allowed Caime to travel and experience other cultures.
เป็นเรื่องของชนเผ่ามองโกลในประเทศจีน ภาพยนตร์มี 2 ตอน ตอนแรกนำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมองโกลที่เร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆตามความเหมาะสมของช่วงเวลา ตอนที่ 2 ก็ยังคงนำเสนอเรื่องราวของความเป็นอยู่ของชาวมองโกลที่เผชิญกับความ เปลี่ยนแปลงทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ แต่ความเป็นอยู่ก็ยังคงดำเนินต่อไปพร้อมกับความเชื่อที่มีอยู่
The film is in two parts and focuses on the Mongols living in the Inner Mongolia Autonomous Region of China. Part One (28 minutes) follows the life of a nomadic Mongol family on their yearly journey following their herds across north China. Part Two (28 minutes) gives a more contemporary view of the Mongols trying to reclaim the desert in a more sedentary lifestyle currently encouraged by the Chinese government. The second section highlights disturbing environmental issues regarding the destruction of these northern grasslands.