ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
พิธีกรรมฝังศพเด็กจะเริ่มขึ้นในช่วงก่อนตะวันจะตกดินในบริเวณท้ายบ้าน ร่างของเด็กน้อยถูกวางลงในเปลสนาม สมาชิกในครอบครัวร่วมแสดงความอาลัยครั้งสุดท้ายระหว่างที่นักดนตรีบรรเลง เพลงระหว่างพิธี วัวรุ่นตัวหนึ่งจะถูกผูกโยงเข้ากับร่างของเด็ก จากนั้น เป็นการเลี้ยงอาหารสัตว์มื้อสุดท้ายก่อนที่จะถูกสังเวย เมื่อหลุมที่ใช้ในการฝั่งร่างของเด็กได้รับการขุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการใช้แผ่นไม้บุโดยรอบผนังหลุม ร่างของเด็กที่อยู่ในโรงไม้จะถูกหย่อนลงในหลุม และมีการโยนไม้ที่ใช้ประกอบพิธีลงในหลุมอีกคำรบหนึ่ง จากนั้น เป็นการใช้ดินกลบปากหลุมและกิ่งไม้สุมทับอีกชั้นหนึ่ง ผู้ที่ร่วมในพิธีจะต้องชำระร่างกายก่อนกลับเข้าหมู่บ้าน
ภาพยนตร์เรื่องถ่ายทำในช่วงฤดูร้อน ปี 1960 โดยนักสังคมวิทยา Edgar Morin และ ethnographer ชื่อ Jean Rouch, โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นภาพยนตร์สารคดีที่นำเสนอความจริง แต่นำเสนอเนื้อหาในเชิงนวนิยาย ถ่ายทำโดยใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. ด้วยกล้องแบบมือถือ ซึ่งถือว่าเป็นการบุกเบิกการถ่ายภาพยนตร์ที่ได้เห็นความงดงามของชีวิตจริง ได้ถึงการแสดงออก ด้วยการพูดคุยโดยตรงเกี่ยวกับประสบการณ์และความภาคภูมิใจอย่างยิ่งยวด หรือได้เห็นความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องของความสุข และการที่ไม่มีความสุขจากคำตอบจริงของผู้คนที่ถูกสอบถาม
Jean Rouchได้เดินทางติดตามนักล่าสัตว์ไปยังอาฟริกาตะวันตก กลุ่มนายพรานเตรียมการล่าสิงโตพวกเขาต้องเตรียมลูกธนูอาบยาพิษซึ่งกว่าจะ เตรียมการได้เสร็จก็จะต้องมีพิธีกรรมตามความเชื่อก่อนล่าสัตว์ด้วย นอกจากนี้ยังจะต้องมีเครื่องมืออื่นอีก เช่นกับดัก เมื่อทั้งหมดพร้อมก็เป็นเวลาที่จะออกตามล่าสิงโตกันต่อไป เรื่องราวทั้งหมดเป็นวัฒนธรรมของการล่าที่ปฏิบัติกันมา
Director Jean Roche follows bow hunters in West Africa as they track down lions in this informative documentary. The hunters prepare arrows, poison, and the traps that will catch the king of the beasts before the kill. Before the animal is skinned and eaten, Natives exorcise the soul of the lion. As with any cultural group of hunters, stories of previous hunts and tall tales abound.
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการศึกษากลุ่มแรงงานข้ามชาติตัวเอกเป็นเด็กหนุ่มชาว ไนจีเรียชาวเมือง Treichville, ชานกรุง Abidjan การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ตัวแสดงจะแสดงพฤติกรรมที่เป็นอิสระและใช้การ บรรยายเนื้อหาเป็นแบบกลอนสดRouch ใช้เวลาครึ่งปีในการสังเกตเรื่องราวจากนั้นจึงได้ทำบทและถ่ายทำชิวิตจริงของ หนุ่มชาวไนจีเรียซึ่งต้องต่อสู้เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพในภาพยนตร์เรื่องนี้
With this film, Jean Rouch leaves quite the traditional field of ethnology. "I followed a small group of young Nigerian migrants in Treichville, a suburb of Abidjan. I offered to do a movie where they had the right to do anything and everything. So we improvised a movie. "Improvisation was not spontaneous. Rouch had spent half a year to observe his characters. Agree with them and leu collaboration, he then agreed to a script, or rather a canvas unwritten changed during filming. "I thought we could go read further in the truth so instead of taking the actors and leu to interpret a role, we asked men to play their own lives.
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ถ่ายทำในระหว่างการทำวิจัยภาคสนามทางด้าน มานุษยวิทยา ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของบุคคลที่เป็นตัวละครเอกจำนวน 3 คนในประเทศอินเดีย คนแรก Mala ช่างทอผ้าสาวที่อาศัยร่วมกับพี่น้องเก้าคนในห้องๆเดียวในบ้านกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ประจำ คนที่ 2 Santa Cruz ซึ่งเคยเป็นนายหน้าขายปลาแต่ปัจจุบันเป็นหมอพื้นบ้านรักษาคนทั่วไป และคนที่ 3 Muthiah ช่างภาพวิดีโองานแต่งงาน ทั้งหมดอาศัยอยู่ในเมือง Nagercoil, เมืองทางตอนใต้ของอินเดีย โดยจุดมุ่งหมายของวิดีโอเรื่องนี้ต้องการนำเสนอเรื่องราวของบุคคลที่มีความ เป็นอยู่หลากหลายแตกต่างแต่ละอาชีพ แต่ความรู้ของพวกเขาแต่ละคนช่วยเยียวยากลุ่มคน บุคคลที่อาจมีความเจ็บป่วย หรือเป็นอยู่ที่แตกต่างกันในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ ตัวละครเอกเหล่านี้จึงออกมาแสดงซึ่งความสามารถและบทบาทของเขาให้เห็น
หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขาทาพรัง (Taprang) บ้านของคนเก็บน้ำผึ้งชาวเนปาล เชิญสัมผัสการเดินทางไปเยือนหน้าผาซึ่งมีผึ้งยักษ์อาศัยอยู่ พบผึ้งยักษ์ขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของผึ้งยุโรป พบกับความเชื่อเรื่องโชคลางของนักเก็บน้ำผึ้งชาวเนปาลที่จะไม่เก็บน้ำผึ้งใน วันพระจันทร์เต็มดวง ชมวิธีการเก็บน้ำผึ้งแบบดั้ง เดิมที่มีเพียงแค่บันไดเชือก ตะกร้าและไม้ยาวสำหรับแคะรังผึ้ง ด้วยความสามารถนักเก็บน้ำผึ้งชาวเนปาลไม่ได้สวมชุดป้องกันอะไรเลยในการเก็บ น้ำผึ้ง พบภารกิจเสี่ยงตายและท้าทายในการปีนหน้าผาเพื่อขึ้นไปเก็บน้ำผึ้ง โดยตัดส่วนสีเหลือง ซึ่งเป็นตัวอ่อนของผึ้งออก แล้วค่อยเก็บน้ำผึ้งได้ที่ส่วนบนของรังจากนั้นต้องวางตำแหน่งตะกร้ารองน้ำ ผึ้งให้ได้พอดีจึงจะสามารถทำให้ภาระกิจลุล่วงไปด้วยดี
เป็นเรื่องราวของสตรีชาวอีสานชื่ออ้อย ซึ่งเป็นชื่อสมมุติในการทำงานขายบริการทางเพศในกรุงเทพฯย่านพัฒพงษ์เพื่อ หาเงินเลี้ยงตัวเองและครอบครัวที่ยากจน อ้อยทำงานขายบริการทางเพศจนคิดว่าไม่มีความรักจากผู้ชายที่แท้จริงอีกต่อไป พบกับเรื่องราวชีวิตของเธอได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
The Good Woman of the story is Aoi. In Thai, her name means 'sugar cane' or 'sweet' - not her real name but the one she uses. She works as a prostitute, catering to the male tourists who crowd the girlie bars of Patpong. "They stayed at a seedy hotel in the red-light district. Much of the filming and video recording took place there, and in the months that followed he fell in love with her." "He paid and was her customer. She became the subject of his film." Starting from this worst-possible condition, Aoi's life is described and their relationship is recorded: its evolution from fake sexual intimacy to collusion in the process of making the film and, finally, to difficult friendship and a kind of love.
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์นักล่าที่ต้องเสี่ยงกับ ความตายในการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าเพื่อการดำรงอยู่ ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของนักล่า 2 ดินแดนที่อยู่ห่างไกลกัน นักล่ากลุ่มแรกที่ประเทศเนปาลได้ออกดั้นด้นตามหาน้ำผึ้งป่าในป่าแถบเทือกเขา หิมาลัย พวกเขาต้องออกไปห้อยโหนอยู่บนบันไดเชือกตามหน้าผาสูงชันเพื่อเอาน้ำผึ้งจาก รังผึ้งป่าที่ทำรังอยู่ตามหน้าผา ความสามารถพิเศษของนักล่าคือการเอาชนะพิษจากผึ้งยักษ์ได้โดยไม่มีการป้องกัน อันตรายจากพิษของผึ้งและไม่กลัวความสูงชันระหว่างการทำงาน และสำหรับอีกเรื่องหนึ่งคือนักล่าแห่งความมืดเป็นเรื่องราวในประเทศไทยของ กลุ่มนักเก็บรังนกนางแอ่นซึ่งถือว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ และมีราคาแพงคุ้มค่าต่อการเสี่ยงเพื่อการค้นหาที่ซ่อนของรังนกนางแอ่นตามถ้ำ ที่มืดมิดและสูงชั้นเพื่อเก็บรวบรวมรังซึ่งมีค่าเสมือนทองคำสีขาวที่ส่งไป ขายที่ประเทศจีน นักล่าเหล่านี้ปีนนั่งร้านไม้ไผ่ที่เปราะบางสูงกว่า 100 เมตรเหนือพื้นดินเพื่อตามหารังนกและกับมันในที่สุด ภาพยนตร์สารคดีทั้งสองเรื่องนี้ได้รับรางวัลจากการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออ สการ์และรางวัลเอ็มมี่จากทั้งหมด 35 เรื่องที่เสนอชื่อเข้ามา
ภาพยนตร์สารคดีความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอัฟกานิสถานที่แสดง ให้เห็นถึงการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันในการนำขนแกะที่ได้จากการเลี้ยงมาทำ เป็นสิ่งของเครื่องใช้นั้นคือการทำพรม จะได้เห็นขั้นตอนการผลิตแบบดั้งเดิม รวมทั้งการออกแบบสีและลวดลาย จนกระทั่งออกมาเป็นพรม 1 ผืน
A documentary film of the ethnic groups in Afghanistan to demonstrate the existence of daily life in the wool from the farm to make use of such items is to make carpets. Will see the traditional production process. Including design, color and pattern. Until it comes out as a piece of carpet.
Nina Davenport เปลี่ยนมุมมองของบันทึกการเดินทาง ให้มาจากภายใน เธอพาเราไปยังประเทศอินเดีย และปล่อยเราไว้ที่นั่น ปล่อยให้เราเชื่อในสิ่งที่เราเห็นจากสายตาของเธอ ภาพยนตร์ของเธอจำลองประสบการณ์การเป็นนักเดินทาง และพวกถ้ำมอง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของสิ่งที่เห็นเสมอไป
Nina Davenport turns the conventions of the travelogue inside out. She takes us to India and abandons us there, leaving us to believe what we see through her eyes. Her movie replicates the experience of being a traveller and thus a voyeur, of taking in sights without necessarily understanding their meaning.