• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1626 times Read more...
Monday, 16 September 2013 13:38

Home from the hill

ความสัมพันธ์ของมานุษยวิทยากับลัทธิล่าอาณานิคมมานุษยวิทยาได้มีการพูดถึง อย่างกว้างขวาง แต่กลุ่มคนในอาณานิคมส่วนใหญ่ยังมิได้สำรวจอย่างจริงจัง ในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งไม่ใช่ไม่ใช่ข้อสรุปของประเด็น ดังกล่าว เวลาผ่านไป 40 ปีในเคนยา พันเอก Hilary Hook Home from the hill เป็นเรื่องราวชีวิตของพันเอก Hilary Hook นายทหารชาวอังกฤษที่เกษียณราชการอาศัยอยู่ในประเทศเคนยาสุดท้ายเขาต้องกลับ มายังสหราชอาณาจักรบ้านเกิด ที่ชานกรุงลอนดอนที่นี่เขาต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่

Monday, 16 September 2013 13:12

In the light of reverence

ภาพยนตร์เรื่อง In the light of reverence เป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมอเมริกันกับสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ จำนวนสามแห่งถือเคารพนับถือโดยคนพื้นเมือง ได้แก่ที่ราบสูงโคโลราโดในแถบตะวันตกเฉียงใต้ Mount Shasta ในแคลิฟอร์เนียและ Devils Tower ในไวโอมิง สถานที่ทั้งหมดอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้และ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นที่หวงแหนของชนพื้นเมือง พวกเขาพยามยามที่จะรักษาพื้นที่เหล่านี้ไว้จึงสร้างความขัดแย้งกับกลุ่มผล ประโยชน์ บรรดานักปีนเขา พบกับการต่อสู้ของกลุ่มพื้นเมืองที่จะพยายามรักษาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อ ไป

Monday, 16 September 2013 09:26

Eux et moi

หนังเรื่องนี้ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาไทยว่า “พวกเขาและฉัน” (Eux et moi) เป็นเรื่องของนักมานุษยวิทยาที่เดินทางกลับไปแค้มป์ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในนิวกินีซึ่งเป็นหมู่บ้านกลุ่มชนเผ่า เขาสามารถพูดภาษาของชนเผ่าได้จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ กลุ่มชนเผ่านี้เปลือยกายมีธนูเป็นอาวุธ มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายกับธรรมชาติหากินโดยการเก็บผัก ล่าสัตว์ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับภูตผี เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาโดยเฉพาะการเข้ามาของนักมานุษยวิทยาก็จะสนใจและ คอยจับตาดูด้วยความสนใจทั้งในสิ่งของและความเป็นอยู่และความต้องการสิ่งของ เครื่องใช้ พวกเขายังใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยน แต่ในอนาคตสังคมเจริญพวกเขาก็คงต้องพบกับสิ่งอื่นที่จะเข้ามาอีกมากต่อไป ภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งคือ Le Ciel dans Jardin เป็นเรื่องต่อเนื่องของกลุ่มชนเผ่าเดียวกันกับเรื่องแรก นำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิต เป็นอีกตอนหนึ่งที่น่าศึกษาค้นคว้า

Monday, 16 September 2013 08:42

Into the Field

ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายให้เห็นชีวิตประจำวันของเหล่านางชีที่อาศัยอยู่ในวัด ออร์โธดอกซ์โรมาเนีย เมือง Varatec สมาชิกทั้ง 450 คนที่พำนักอยู่ในวัดแห่งนี้ อาศัยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ในบ้านเดี่ยว เหมือนกับในหมู่บ้านของคนทั่วป แตกต่างจากสภาพการอยู่อาศัยในวัดที่รวมกันอยู่อย่างในแบบที่เคยพบเห็น ตลอดทั้งปี เหล่านางชีจะปฏิบัติกิจในเคหะสถานพร้อมกับหน้าที่ทางศาสนา ทั้งต่อชุมชนและโบสถ์ หากเราเพ่งพินิจความงามที่ปรากฏภาพของศาสนมณฑลแล้ว ภาพยนตร์บอกเล่ากิจวัตรของเหล่านางชี ประสบการณ์ ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องราวศาสนกิจ ภาพยนตร์บันทึกความธรรมดาสามัญ สัมพันธภาพของเหล่านางชี กิจกรรมที่ปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และยังกล่าวถึงโดยย่นย่อถึงวิธีทางที่ก่อขึ้นเป็นตัวตนของพวกเธอในพื้นทีที่ เสมือนแบ่งแยกแต่ยังคงเกี่ยวพันระหว่างบ้านและโบสถ์

Sunday, 15 September 2013 23:26

Daughter From Danang

"ลูกสาวจากดานัง" บอกเล่าเรื่องราวและความเจ็บปวดของของการแยกจากระหว่างแม่และลูกสาว เมื่อ ค.ศ. 1975 อันเป็นช่วงสิ้นสุดสงครามเวียดนาม Mai Thi Kim หญิงสาวชาวเวียดนาม ส่งลูกสาววัย 7 ปีไปสหรัฐอเมริกาตามโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ในนาม "Operation Babylift" ภาพยนตร์ฉายให้เห็นการเดินทางของ Hiep จากเวียดนามสู่พูลัสกี (Pulaski) ในรัฐเทนเนสซี ที่ซึ่งหญิงโสดได้รับเลี้ยงเธอ และให้ชื่อใหม่ว่า ไฮดี (Heidi) ในละแวกบ้านของเธอมีผู้อาศัยเชื้อสายเอเชียจำนวนไม่มากนัก และยังมีความขัดแย้งระหว่างคนผิวขาว-ดำ แม่ใหม่ของเธอพยายามกลบเกลือนความเป็นเวียดนามในตัวเธอ และสร้างให้เธอเป็นสายเลือดอเมริกันแบบเกินร้อย อย่างไรก็ตาม ค.ศ. 1997 ไฮดีตัดสินใจเดินทางไปยังเวียดนามเพื่อตามหาแม่ของเธอ และนี่เองเป็นโอกาสที่ผู้สร้างภาพยนตร์ติดตามเธอในวาระดังกล่าว ทั้งแม่และลูกมีความหวังที่จะได้พบกันอีกครั้ง (...) หลายฉากในดานังนั้นงดงาม และแสดงให้เห็นช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่คนทั้งสองได้พบกัน ในขณะเดียวกัน ผู้ชมจะได้เห็นฉากตอนที่น่าเจ็บปวด ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมของคนทั้งคู่ กลับใหญ่มากกว่าจะคาดเดาได้ ซึ่งดูประหนึ่งว่า ยากที่จะสมานช่องว่างนั้น

Sunday, 15 September 2013 21:07

Margaret Mead: Taking Note

เมื่อมาร์กาเร็ต มี้ด เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1978 อาจกล่าวได้ว่า เธอเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมาก ที่สุดคนหนึ่ง ภาพยนตร์ฉายให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องราวส่วนตัวกับคุณูปการทางวิชาการของเธอ โดยอาศัยการสนทนากับเธอก่อนการเสียชีวิต เกี่ยวกับครอบครัวและภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนาม นอกจากนี้ การพูดคุยยังเกี่ยวข้องกับเพื่อนพ้อง ครอบครัว และนักศึกษารุ่นต่างๆ Born in 1901 in Philadelphia, Mead เกิดเมื่อ ค.ศ. 1901 เมืองฟิลาเดลเฟีย เธอสนใจมานุษยวิทยาครั้งแรก เมื่อเป็นนักศึกษาที่ Barnard ในขณะนั้น เธอได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Franz Boas และ Ruth Benedict เมื่อ ค.ศ. 1925 เธอตัดสินใจออกเดินทางไปซามัว (Samoa) "ฉันเดินทางไปซามัวตามที่อาจารย์ของฉันบอกให้ออกเดินทางไปยังดินแดนที่มี เรือเข้าเทียบท่าทุกๆ สามสัปดาห์)

Sunday, 15 September 2013 19:55

Naata (The Bond)

Bhau Korde และ Waqar Khan ผู้เป็นทั้งเพื่อนและนักรณรงค์ ทำงานให้กับคณะกรรมการเพื่อสันติ ใน Dharavi, Mumbai เพื่อรณรงค์การหากทางออกให้กับความขัดแย้ง ด้วยการสร้างและใช้สื่อโสตทัศน์ Korde และ Khan อาศัยใน Dharavi เป็นเวลายาวนาน และเป็นผู้อพยกรุ่นแรกที่เข้ามาในเมืองมุมไบ Dharavi เป็นแหล่งชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีผู้อยู่อาศัยราวแปดแสนคน Dharavi คือแหล่งเสื่อมโทรม อาชญากรรม และความยากจน และเต็มไปด้วยคนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในเมือง หากแต่สิทธิ์ที่จะอยู่ในเมืองของพวกเขากลับถูกตั้งคำถามจาก คนเมือง และกลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวา อย่างไรก็ตาม เรื่องราวการอพยพของคนเหล่านี้ ได้กลายเป็นพื้นที่ที่มี "คุณ" ต่อเศรษฐกิจในเมือง เป็นแหล่งการขายสินค้านอกระบบขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน จนถึงการผลิตสินค้าประเภทหนังสำหรับการส่งออกสู่ตลาดนอกประเทศ

Sunday, 15 September 2013 19:35

Moon Children

Wu Yii-Feng ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้พลังมหาศาลในการสร้างสรรค์ "Moon Children", ซึ่งเป็นการนำเสนอชีวิต "คนเผือก" ทั้งความเป็นอยู่ การทำงาน และการพักผ่อนในโลกไต้หวั่นสมัยใหม่ "เด็กแห่งจันทร์" เป็นฉายาที่คนอินเดีย San Blas เป็นผู้ขนานาม ในอดีต คนเผือกจะถูกแยกตัวจากสังคม และได้รับการอนุญาตให้ทำงานเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น แม้เมื่่อเวลาเปลี่ยน แต่อคติที่มีต่อพวกเขายังปรากฏอยู่ทั่วไป พวกเขายังคงต้องเผชิญหน้ากับการเลือกปฏิบัติและความทารุณ วู ฉายให้เราตระหนักถึงชีวิตของคนกลุ่มนี้ พวกเขาไม่ได้เพียงแต่ฉลาด แต่ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าเพื่อนร่วมชาติที่มีผิวเข้มกว่า อย่างไรก็ตาม เหตุที่เมลานินที่อยู่ใต้ผิวหนังอย่างจำกัด และสายตาที่ไม่ดีนัก ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พวกเขาถูกกีดกันจากสังคม เราจะตามชีวิตของชายเผือกคนหนึ่งที่แตก่างงาน และทำงานเป็น "หมอนวด" ในขณะนั้น เขาตั้งตารอลูกที่กำลังจะเกิดมา

Sunday, 15 September 2013 17:18

L'exotique est quotidien : Retour a Sar Luk

ระหว่างปี 1948-1950, Georges Condominas ได้เข้าไปอาศัยอยู่ที่ Sar Luk กับกลุ่ม Mnong Gar กลุ่มประชากร Proto-Indo-Chinese เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ป่าบนเทือกเขา ตอนกลางของเวียดนาม เขาต้องทำตัวให้กลมกลืนกับชาวบ้านตามสภาพแวดล้อมจริง เขาสามารถปรับตัวเองได้ พูดภาษาของ Mnong Gar ได้ และศึกษาเรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ เขาร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวเหมือนอยู่ในครอบครัวเดียวกัน

From 1948 to 1950, Georges Condominas lived in Sar Luk in Mnong Gar, proto-Indo-Chinese population. To elucidate the interior lives of the men of the forest in the mountains of Central Vietnam, it was naturally integrated in an environment where, somehow, he found himself. Living alone, he speaks the language fluently soon Mnong Gar and performs all its investigations without an interpreter, what seemed more exotic quickly takes the flavor of the day, submitting to the season, linking it to the Vietnamese people that he shares joys and sorrows.

Friday, 13 September 2013 16:54

Depending on heaven

เป็นเรื่องของชนเผ่ามองโกลในประเทศจีน ภาพยนตร์มี 2 ตอน ตอนแรกนำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมองโกลที่เร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆตามความเหมาะสมของช่วงเวลา ตอนที่ 2 ก็ยังคงนำเสนอเรื่องราวของความเป็นอยู่ของชาวมองโกลที่เผชิญกับความ เปลี่ยนแปลงทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ แต่ความเป็นอยู่ก็ยังคงดำเนินต่อไปพร้อมกับความเชื่อที่มีอยู่

The film is in two parts and focuses on the Mongols living in the Inner Mongolia Autonomous Region of China. Part One (28 minutes) follows the life of a nomadic Mongol family on their yearly journey following their herds across north China. Part Two (28 minutes) gives a more contemporary view of the Mongols trying to reclaim the desert in a more sedentary lifestyle currently encouraged by the Chinese government. The second section highlights disturbing environmental issues regarding the destruction of these northern grasslands.