ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่
หญิงสาวชาวพุทธ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปัตตานีในช่วงพลบค่ำ ท่ามกลางผู้โดยสารมุสลิม ความมืดมิด และเสียงสื่อสารด้วยภาษาที่เธอไม่เข้าใจ รวมกันเป็นความหวาดระแวง และหวาดกลัวอันตรายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้น เธอจะจัดการความรู้สึกและแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร
เรื่องราวของสามีภรรยาสูงอายุคู่หนึ่ง ฝ่ายภรรยาต้องรับมือกับภาวะความจำเสื่อมของสามีที่ขาดหายไปนานเท่ากับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นานเท่ากับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของเขาและเธอ
เรื่องราวเกิดขึ้นที่โรงอาหารในโรงเรียนแห่งหนึ่ง หลังจากที่เพื่อนๆ ในกลุ่มนัดกันนำข้าวกลางวันจากบ้านมากินที่โรงเรียน เรื่องน่าจะจบลงด้วยดีที่โรงอาหาร ถ้าแก้มอุ่นไม่ลืมเอาช้อนมาจากบ้าน! เมื่อเพื่อนมุสลิม “ไม่โอเค” ที่แก้มอุ่นแอบเอาช้อนโรงเรียนมากินกับข้าวห่อของเธอ เพื่อน คุณครู และแก้มอุ่นจะจัดการเรื่องราวบานปลายครั้งนี้อย่างไร
นิด เด็กสาววัยรุ่นได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้งขณะที่เธอออกกำลังกายอยู่ในสวนสาธารณะ พี่หน่อย พี่สาวของนิดพยายามตามหาและรั้งตัวเธอไว้ ไม่ให้กลับบ้าน แต่ด้วยความเป็นห่วงใครบางคน นิดจึงดึงดันที่จะกลับบ้านให้ได้ ท่ามกลางเส้นทางอันตราย ไม่มีใครรู้ว่านิดรู้สึกอย่างไร และใครกันที่รอคอยเธออยู่ที่บ้าน
ชารีฟ นักเรียนชั้น ม.6 จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางมาสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ระหว่างรอสัมภาษณ์ เขาได้พบกับแทนไทเพื่อนสมัยเด็ก ที่ย้ายออกจากพื้นที่ไปเมื่อหลายปีก่อน แทนไทมาสอบสัมภาษณ์เช่นกัน บทสนทนาของเพื่อนเก่าต่างพื้นที่ ต่างศาสนาจึงเริ่มต้นขึ้น กระทั่งมีสายโทรศัพท์ถึงชารีฟ ส่งข่าวสารที่เขาไม่คาดคิด ข่าวจากทางบ้าน และถ้อยคำจากใครบางคนอาจทำให้ชีวิตเขาพลิกผันไปตลอดกาล
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประชากรมากกว่า 4 ล้านคนที่ได้รับผลของสงคราม และ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดนั้นเป็นเด็กที่กำลังเรียนหนังสือ ... อดีตของพวกเขาตกอยู่ในความหวาดกลัวจากสงคราม จากช่วงเวลาอันหวาดกลัวพวกเขาเหล่านั้นได้เติบโตมาเป็น พ่อ เป็นลุง เป็นปู่ย่าตายาย ในช่วงเวลานั้นพวกเขามีเพียงดินสอ ปากกา เป็นอาวุธเท่านั้น เรื่องราวที่นำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มาจากข้อความที่อยู่ในไดอารี่ และประวัติส่วนบุคคลระหว่างปี 1914 – 1918 เขียนด้วยลายมือของผู้ที่เป็นพ่อที่มีต่อลูกๆของพวกเขา บอกเล่าถึงความหวัง ความหวาดกลัว ถ้อยคำแนะนำ ทั้งน้ำตาและรอยยิ้ม ความรักแท้และบริสุทธิ์ถูกเขียนลงบนบันทึกทุกๆวันระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เก็บไว้ด้วยความหวงแหนเหมือนกับสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่ง
Pierre Perrault เกิดที่เมือง Montreal รัฐ Quebec ประเทศแคนาดา Pierre เรียนหนังสือทางด้านกฎหมายก่อนที่จะผันตัวเองไปสร้างภาพยนตร์และเขียน หนังสือตามที่ตัวเองชอบ เขาสนใจเรื่องราวที่เป็นความจริงมากกว่าลักษณะของนิยาย ดังนั้นภาพยนตร์ที่เขาสร้างจึงเป็นเรื่องราวจริงของผู้คนที่เกิดขึ้น และจากการที่เขาได้พบกับชาวบ้านที่ IIe-aux-Coudres และได้สัมผัสกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ได้เห็นการเรียนรู้การใช้ชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งต่างจากพวกเราที่ต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยการอ่าน Pierre มีผลงานภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นหลายเรื่องด้วยกันได้ อาทิ "For the rest of the world" ในปี 1963 ซึ่งเป็นเรื่องราวของชาวประมงที่พยายามจะช่วยกันรื้อฟื้นการประมงบริเวณ ท่าเรือที่ถูกละทิ้งมาเป็นเวลานาน "The Reign of the Day" ในปี 1967 เป็นเรื่องของการเดินทางในยุโรป และเรื่อง "water cars" ในปี 1968 เป็นต้น ติดตามประวัติพร้อมผลงานของเขาได้
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้สร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง King Kong เป็นภาพยนตร์ขาวดำ เกี่ยวกับเรื่องราวการเดินทางของชนเผ่า Bakhtiari ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่ยากจนในประเทศอิหร่าน มีอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์ซึ่งต้องเร่ร่อนพาฝูงปศุสัตว์เดินทางผ่านขึ้นภูเขาสูง ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ การเดินทางด้วยเท้าเปล่า เพื่อไปหาดินแดนปศุสัตว์ใหม่สำหรับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาที่จะได้อาหารจาก ทุ่งหญ้าสีเขียวก่อนที่ปศุสัตว์ของเขาจะตายจากความหิว ระหว่างการเดินทางท่านจะได้พบกับ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าเร่ร่อนนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อมโยงกับภาพยนตร์เรื่อง People of the wind ซึ่งเป็นเรื่องราวของชนเผ่ากลุ่มเดียวกันแต่ต่างยุคสมัย ซึ่งยังคงมีเรื่องราวการเดินทางที่ไม่แตกต่างกัน
This documentary follows the journey of the Bakhtiari, a poor nomadic tribe in Iran, as they herd their livestock up snow-covered mountain passes--barefoot--to get to the grazing lands on the other side of the mountains before their animals die from hunger.
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับการแสดงโดยผู้กำกับชาวกัมพูชาชื่อ Rithy Panh เขามีผลงานซึ่งเคยได้รับรางวัลมาแล้วจากเรื่อง S21 : The Khmer Rouge Killing Machine. Panh เป็นผู้ที่หนีรอดความตายจากค่ายแรงงานเขมรแดงในปี 1979 ภาพยนตร์เรื่อง Rice people นำเสนอเรื่องราวของการต่อสู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของเกษตรกรชาวกัมพูชา ต้องต่อสู้กับความยากจน อันตรายจากธรรมชาติ ความเจ็บป่วย กว่าจะได้ผลผลิตข้าว ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของการต่อสู้ของครอบครัว Poeuv และ Om ที่ต้องเริ่มต้นต่อสู้กับอันตรายที่อยู่ในท้องทุ่งนา อย่างเช่น งูเห่า น้ำท่วม การเกิดโรคต่อต้นข้าวที่กำลังเติบโต เมื่อ Poeuv ตายจากการติดเชื้อที่เกิดจากการเหยียบหนามในขณะไถนา Om ต้องรับภาระในการเลี้ยงดูลูกสาวทั้งเจ็ดคนปัญหาที่ตามมาอย่างหนักหน่วงคือ ไม่มีเงินเลี้ยงดูบุตร ภาพยนตร์พาเราเข้าไปสู่การต่อสู้ปัญหาซึ่งเสมือนได้เข้าอยู่ท่ามกลางดินโคลน ในท้องนาด้วย ซึ่งชีวิตที่เหลืออยู่ถูกผูกมัดแนบแน่นกับการมีชีวิตรอดของข้าวในนา ซึ่งหากไม่ได้ผลผลิตก็เหมือนกับสูญสิ้นชีวิตไปด้วย