ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสารคดีพิเศษที่มุ่งชี้ให้เห็นและเข้าใจเกี่ยวกับ วัฒนธรรมและศิลปะแบบอาฟริกัน ที่ถูกผลิตขึ้นใหม่ตามรูปแบบดั้งเดิมโดยการทำของใหม่ให้ดูเหมือนเก่าด้วย วิธีการดั้งเดิมแบบชาวบ้าน ศิลปะเหล่านี้ถูกนำออกขายแก่ผู้ชื่นชอบงานศิลปะทั้งในยุโรป อเมริกา รวมทั้งในอาฟริกาเอง ภาพยนตร์นำเสนอชีวิตของพ่อค้างานศิลปะจากไนเจอร์ชื่อ Gabai Barre เขารับงานจากชนบทของ Ivory Coast นำมันไปขายย่านคนรวยแถบ East Hampton, Long Island, มีการต่อรองราคาซื้อขาย งานศิลปะที่ถูกเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลง"ความหมาย" ของสิ่งที่เขาขายโดยการตีความระหว่างค่านิยมทางวัฒนธรรมของผู้ผลิตและผู้ บริโภคในแอฟริกาตะวันตก
หนังเรื่องนี้ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาไทยว่า “พวกเขาและฉัน” (Eux et moi) เป็นเรื่องของนักมานุษยวิทยาที่เดินทางกลับไปแค้มป์ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในนิวกินีซึ่งเป็นหมู่บ้านกลุ่มชนเผ่า เขาสามารถพูดภาษาของชนเผ่าได้จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ กลุ่มชนเผ่านี้เปลือยกายมีธนูเป็นอาวุธ มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายกับธรรมชาติหากินโดยการเก็บผัก ล่าสัตว์ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับภูตผี เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาโดยเฉพาะการเข้ามาของนักมานุษยวิทยาก็จะสนใจและ คอยจับตาดูด้วยความสนใจทั้งในสิ่งของและความเป็นอยู่และความต้องการสิ่งของ เครื่องใช้ พวกเขายังใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยน แต่ในอนาคตสังคมเจริญพวกเขาก็คงต้องพบกับสิ่งอื่นที่จะเข้ามาอีกมากต่อไป ภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งคือ Le Ciel dans Jardin เป็นเรื่องต่อเนื่องของกลุ่มชนเผ่าเดียวกันกับเรื่องแรก นำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิต เป็นอีกตอนหนึ่งที่น่าศึกษาค้นคว้า
ด้วยการใช้นวัตกรรมการนำเสนอผ่านฟีล์ม ผู้กำกับภาพยนตร์จำนวน 7 คน ได้ใช้เวลาประมาณคนละ 10 นาที ในการนำเสนอผลงานของแต่เอง โดยภาพยนตร์เรื่อง Ten Minutes Older เช่น เรื่อง The Trumpet นำเสนอเรื่องราว ประสบการณ์ของมนุษย์ ได้แก่ การเกิด ความตาย ความรัก เพศ ในช่วงเวลาหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังนำเสนอเรื่องราว ตำนานเก่าแก่จากสถานที่หลากหลายทั้งในป่าของทวีปอเมริกาใต้ไปจนสู่ท้องถนน ของมหานครนิวยอร์ก จนกระทั่งมารวมกันเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นสำหรับคอภาพยนตร์
นักสร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียที่เป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น Kildea, O'Rourke และ Connolly/Anderson เป็นกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์สารคดีที่ใช้ชีวิตอยู่ในเกาะปาปัวนิวกินี ภาพยนตร์ของพวกเขา เต็มไปด้วยเนื้อหาและมุมมอง ที่บอกเล่าพลังและความยอกย้อนของประเทศที่เปลี่ยนผ่านจากประเทศในอาณานิคม ไปสู่ความเป็นรัฐชาติในโลกสมัยใหม่ แต่เรื่องราวที่ปรากฏนั้นเป็นของใคร? เหล่านักสร้างภาพยนตร์เผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของชาติตะวันตกในการบอกเล่าเกี่ยวกับชนพื้นถิ่น ภาพยนตร์เรื่อง Taking Pictures จึงจุดประเด็นและชี้ให้เห็นกับดักของการถ่ายทำภาพยนตร์ข้ามวัฒนธรรม รูปแบบของการนำเสนอในภาพยนตร์อาศัยการพูดคุยกับนักสร้างภาพยนตร์ชาวออกสเตร เลีย และเลือกภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลและทรงอิทธิพล เกี่ยวกับปาปัวนิวกินี
Adela Peeva ตามค้นหาต้นกำเนิดที่แท้จริงของทำนองเพลง เธอเดินทางไปในตุรกี กรีซ มาเซโดเนีย อัลบาเนีย บอสเนีย เซอร์เบียร์ และบัลกาเรีย การเดินทางกลับเต็บไปด้วยอารมณ์ที่น่าขบขัน ความสงสัย เรื่องเศร้า และความประหลาดใจของพลเมืองในแต่ละประเทศที่ต่างก็อ้างอิงความเป็นเจ้าของ บทเพลง และบอกเล่าเรื่องราวอันเป็นที่มาของบทเพลงนั้น ทำนองได้รับการดัดแปลงเป็นบทเพลงหลากรูปแบบ ทั้งเพลงรัก บทสวดทางศาสนา บทเพลงปฏิบัติ หรือกระทั่งเพลงมาร์ชของทหารหาญ อารมณ์ที่ทรงพลังและความรู้สึกชาตินิยมที่แข็งกร้าวที่เกิดมาจากเพลงๆ เดียวนั้น บางครั้งดูน่าขบขัน แต่บางครั้งกลับดูน่าหวาดกลัว ในคาบสมุทรที่เป็นไปด้วยความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติและสงคราม จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการค้นหาความเป็นมา และบทบาทของทำนองเพลงต่อสังคม ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับชี้ให้เห็นรากของความเกลียดชังที่ฝั่งลึกบทดิแดนแห่ง นี้.
ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายให้เห็นชีวิตประจำวันของเหล่านางชีที่อาศัยอยู่ในวัด ออร์โธดอกซ์โรมาเนีย เมือง Varatec สมาชิกทั้ง 450 คนที่พำนักอยู่ในวัดแห่งนี้ อาศัยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ในบ้านเดี่ยว เหมือนกับในหมู่บ้านของคนทั่วป แตกต่างจากสภาพการอยู่อาศัยในวัดที่รวมกันอยู่อย่างในแบบที่เคยพบเห็น ตลอดทั้งปี เหล่านางชีจะปฏิบัติกิจในเคหะสถานพร้อมกับหน้าที่ทางศาสนา ทั้งต่อชุมชนและโบสถ์ หากเราเพ่งพินิจความงามที่ปรากฏภาพของศาสนมณฑลแล้ว ภาพยนตร์บอกเล่ากิจวัตรของเหล่านางชี ประสบการณ์ ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องราวศาสนกิจ ภาพยนตร์บันทึกความธรรมดาสามัญ สัมพันธภาพของเหล่านางชี กิจกรรมที่ปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และยังกล่าวถึงโดยย่นย่อถึงวิธีทางที่ก่อขึ้นเป็นตัวตนของพวกเธอในพื้นทีที่ เสมือนแบ่งแยกแต่ยังคงเกี่ยวพันระหว่างบ้านและโบสถ์
ลัทธิวิญญาณในของไซบีเรียตกอยู่ภายใต้การกดทับของหมอสอนศาสนา และการรณรงค์ต่อต้านศาสนาของโซเวียต ลัทธิดังกล่าวกลับปรากฏมากขึ้นภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเหล่าผู้ประกอบพิธีใหม่ๆ เหล่านี้ กลับแสดงตัวตนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้คนเหล่านี้เป็นใคร? พวกเขาเป็นพวกมิจฉาชีพ นักมายากล นักธุรกิจ หรือผู้ต่อสู้ทางวัฒนธรรม?
"ลูกสาวจากดานัง" บอกเล่าเรื่องราวและความเจ็บปวดของของการแยกจากระหว่างแม่และลูกสาว เมื่อ ค.ศ. 1975 อันเป็นช่วงสิ้นสุดสงครามเวียดนาม Mai Thi Kim หญิงสาวชาวเวียดนาม ส่งลูกสาววัย 7 ปีไปสหรัฐอเมริกาตามโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ในนาม "Operation Babylift" ภาพยนตร์ฉายให้เห็นการเดินทางของ Hiep จากเวียดนามสู่พูลัสกี (Pulaski) ในรัฐเทนเนสซี ที่ซึ่งหญิงโสดได้รับเลี้ยงเธอ และให้ชื่อใหม่ว่า ไฮดี (Heidi) ในละแวกบ้านของเธอมีผู้อาศัยเชื้อสายเอเชียจำนวนไม่มากนัก และยังมีความขัดแย้งระหว่างคนผิวขาว-ดำ แม่ใหม่ของเธอพยายามกลบเกลือนความเป็นเวียดนามในตัวเธอ และสร้างให้เธอเป็นสายเลือดอเมริกันแบบเกินร้อย อย่างไรก็ตาม ค.ศ. 1997 ไฮดีตัดสินใจเดินทางไปยังเวียดนามเพื่อตามหาแม่ของเธอ และนี่เองเป็นโอกาสที่ผู้สร้างภาพยนตร์ติดตามเธอในวาระดังกล่าว ทั้งแม่และลูกมีความหวังที่จะได้พบกันอีกครั้ง (...) หลายฉากในดานังนั้นงดงาม และแสดงให้เห็นช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่คนทั้งสองได้พบกัน ในขณะเดียวกัน ผู้ชมจะได้เห็นฉากตอนที่น่าเจ็บปวด ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมของคนทั้งคู่ กลับใหญ่มากกว่าจะคาดเดาได้ ซึ่งดูประหนึ่งว่า ยากที่จะสมานช่องว่างนั้น
เมื่อมาร์กาเร็ต มี้ด เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1978 อาจกล่าวได้ว่า เธอเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมาก ที่สุดคนหนึ่ง ภาพยนตร์ฉายให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องราวส่วนตัวกับคุณูปการทางวิชาการของเธอ โดยอาศัยการสนทนากับเธอก่อนการเสียชีวิต เกี่ยวกับครอบครัวและภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนาม นอกจากนี้ การพูดคุยยังเกี่ยวข้องกับเพื่อนพ้อง ครอบครัว และนักศึกษารุ่นต่างๆ Born in 1901 in Philadelphia, Mead เกิดเมื่อ ค.ศ. 1901 เมืองฟิลาเดลเฟีย เธอสนใจมานุษยวิทยาครั้งแรก เมื่อเป็นนักศึกษาที่ Barnard ในขณะนั้น เธอได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Franz Boas และ Ruth Benedict เมื่อ ค.ศ. 1925 เธอตัดสินใจออกเดินทางไปซามัว (Samoa) "ฉันเดินทางไปซามัวตามที่อาจารย์ของฉันบอกให้ออกเดินทางไปยังดินแดนที่มี เรือเข้าเทียบท่าทุกๆ สามสัปดาห์)
Wu Yii-Feng ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้พลังมหาศาลในการสร้างสรรค์ "Moon Children", ซึ่งเป็นการนำเสนอชีวิต "คนเผือก" ทั้งความเป็นอยู่ การทำงาน และการพักผ่อนในโลกไต้หวั่นสมัยใหม่ "เด็กแห่งจันทร์" เป็นฉายาที่คนอินเดีย San Blas เป็นผู้ขนานาม ในอดีต คนเผือกจะถูกแยกตัวจากสังคม และได้รับการอนุญาตให้ทำงานเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น แม้เมื่่อเวลาเปลี่ยน แต่อคติที่มีต่อพวกเขายังปรากฏอยู่ทั่วไป พวกเขายังคงต้องเผชิญหน้ากับการเลือกปฏิบัติและความทารุณ วู ฉายให้เราตระหนักถึงชีวิตของคนกลุ่มนี้ พวกเขาไม่ได้เพียงแต่ฉลาด แต่ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าเพื่อนร่วมชาติที่มีผิวเข้มกว่า อย่างไรก็ตาม เหตุที่เมลานินที่อยู่ใต้ผิวหนังอย่างจำกัด และสายตาที่ไม่ดีนัก ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พวกเขาถูกกีดกันจากสังคม เราจะตามชีวิตของชายเผือกคนหนึ่งที่แตก่างงาน และทำงานเป็น "หมอนวด" ในขณะนั้น เขาตั้งตารอลูกที่กำลังจะเกิดมา