ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
Wu Yii-Feng ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้พลังมหาศาลในการสร้างสรรค์ "Moon Children", ซึ่งเป็นการนำเสนอชีวิต "คนเผือก" ทั้งความเป็นอยู่ การทำงาน และการพักผ่อนในโลกไต้หวั่นสมัยใหม่ "เด็กแห่งจันทร์" เป็นฉายาที่คนอินเดีย San Blas เป็นผู้ขนานาม ในอดีต คนเผือกจะถูกแยกตัวจากสังคม และได้รับการอนุญาตให้ทำงานเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น แม้เมื่่อเวลาเปลี่ยน แต่อคติที่มีต่อพวกเขายังปรากฏอยู่ทั่วไป พวกเขายังคงต้องเผชิญหน้ากับการเลือกปฏิบัติและความทารุณ วู ฉายให้เราตระหนักถึงชีวิตของคนกลุ่มนี้ พวกเขาไม่ได้เพียงแต่ฉลาด แต่ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าเพื่อนร่วมชาติที่มีผิวเข้มกว่า อย่างไรก็ตาม เหตุที่เมลานินที่อยู่ใต้ผิวหนังอย่างจำกัด และสายตาที่ไม่ดีนัก ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พวกเขาถูกกีดกันจากสังคม เราจะตามชีวิตของชายเผือกคนหนึ่งที่แตก่างงาน และทำงานเป็น "หมอนวด" ในขณะนั้น เขาตั้งตารอลูกที่กำลังจะเกิดมา
DVD แผ่นนี้ บันทึกเรื่องราวจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ทิวทัศน์ ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน ความเจริญ ความสงบ ความเสื่อม มลภาวะ โดยการนำเสนอภาพประกอบเพลงทั้งบรรเลง และเพลงร้องที่สอดรับกับเนื้อหาทั้งเรื่อง ทำให้ชวนติดตาม
The word Baraka means "blessing" in several languages; watching this film, the viewer is blessed with a dazzling barrage of images that transcend language. Filmed in 24 countries and set to an ever-changing global soundtrack, the movie draws some surprising connections between various peoples and the spaces they inhabit, whether that space is a lonely mountain top or a crowded cigarette factory. Some of these attempts at connection are more successful than others: for instance, an early sequence segues between the daily devotions of Tibetan monks, Orthodox Jews, and whirling dervishes, finding more similarity among these rituals than one might expect. And there are other amazing moments, as when sped-up footage of a busy Hong Kong intersection reveals a beautiful symmetry to urban life that could only be appreciated from the perspective of film. The lack of context is occasionally frustrating--not knowing where a section was filmed, or the meaning of the ritual taking place--and some of the transitions are puzzling. However, the DVD includes a short behind-the-scenes featurette in which cinematographer Ron Fricke (Koyaanisqatsi) explains that the effect was intentional: "It's not where you are that's important, it's what's there." And what's here, in Baraka, is a whole world summed up in 104 minutes.
"ภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับชนเผ่า Dani ที่อาศัยในหุบเขา Baliem ในบริเวณเทือกเขาทางไอเรียนตะวันตก เมื่อผม (โรเบิร์ต การ์ดเนอร์) ถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อ ค.ศ. 1961 ชน Dani ยังคงแบบแผนวัฒนธรรมในแบบกลุ่มชนยุคหินใหม่ พวกเขายังให้คุณค่าตามระบบสงครามและการแก้แค้นระหว่างเผ่า กลุ่มที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับโคตรตระกูลของ Dani อันเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก เข้าร่วมสงครามบ่อยครั้ง เมื่อนักรบคนหนึ่งตายในสนามรบ หรือตายจากบาดแผล หรือกระทั่งเด็กและผู้หญิงที่สูญเสียชีวิตจากการรุกรานของศัตรู ผู้กำชัยชนะจะเฉลิมฉลอง และผู้พ่ายแพ้จะไว้อาลัย เพราะการตายแต่ละครั้ง คือการล้างแค้น ความสมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อวิญญาณที่ทนทุกข์จากการตาย และบรรดาจากการฆาตกรรมจะพึงใจเมื่อได้ล้างผลาญวิญญาณของศัตรู ในโลกของ Dani ไม่มีความคิดว่าสงครามจะจบลงเมื่อไร นอกจากว่า ฝนตกหรือฟ้านั่้นมืดค่ำลง หากปราศจากสงคราม ก็ไม่มีทางที่จะทำให้ผีเหล่านั้นพอใจ"