• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1634 times Read more...

หนังสั้นที่ชวนผู้ชมตั้งคำถามเกี่ยวกับ “มลายูมุสลิม” ผ่านวิถีอิสลาม ที่มีฉากหลังเป็นเรื่องราวและบรรยากาศในพื้นที่ที่งดงามชวนให้ติดตาม และชวนสำรวจว่าสิ่งที่เราได้รับรู้และได้ยินเกี่ยวกับมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แท้จริงแล้วเป็น “ความเห็น” หรือ “ข้อเท็จจริง” กันแน่

เรื่องราวในโรงเรียนสุดวุ่นของเพื่อนร่วมห้องต่างศาสนา คนหนึ่งพุทธ อีกคนมุสลิม ที่ขัดแย้งกันด้วยเรื่องของภาษา เมื่อคนหนึ่งไม่พูดภาษาไทย อีกคนก็ฟังภาษามลายูไม่เข้าใจ ความขัดแย้งนี้บานปลายจนเกือบนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

Tuesday, 20 March 2018 14:20

ฮิญาบ (Hijab)

หญิงสาวชาวพุทธ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปัตตานีในช่วงพลบค่ำ ท่ามกลางผู้โดยสารมุสลิม ความมืดมิด และเสียงสื่อสารด้วยภาษาที่เธอไม่เข้าใจ รวมกันเป็นความหวาดระแวง และหวาดกลัวอันตรายจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้น เธอจะจัดการความรู้สึกและแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไร

Tuesday, 20 March 2018 14:04

Final Lunch

เรื่องราวเกิดขึ้นที่โรงอาหารในโรงเรียนแห่งหนึ่ง หลังจากที่เพื่อนๆ  ในกลุ่มนัดกันนำข้าวกลางวันจากบ้านมากินที่โรงเรียน เรื่องน่าจะจบลงด้วยดีที่โรงอาหาร ถ้าแก้มอุ่นไม่ลืมเอาช้อนมาจากบ้าน! เมื่อเพื่อนมุสลิม “ไม่โอเค” ที่แก้มอุ่นแอบเอาช้อนโรงเรียนมากินกับข้าวห่อของเธอ เพื่อน คุณครู และแก้มอุ่นจะจัดการเรื่องราวบานปลายครั้งนี้อย่างไร

นิด เด็กสาววัยรุ่นได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้งขณะที่เธอออกกำลังกายอยู่ในสวนสาธารณะ พี่หน่อย พี่สาวของนิดพยายามตามหาและรั้งตัวเธอไว้ ไม่ให้กลับบ้าน แต่ด้วยความเป็นห่วงใครบางคน นิดจึงดึงดันที่จะกลับบ้านให้ได้ ท่ามกลางเส้นทางอันตราย ไม่มีใครรู้ว่านิดรู้สึกอย่างไร และใครกันที่รอคอยเธออยู่ที่บ้าน

Thursday, 19 September 2013 14:52

The good wife of Tokyo

จากภาพยนตร์เรื่องนี้ขอให้ผู้ชมลืมภาพผู้หญิงญี่ปุ่นที่ทำท่าเอียงอายมือถือ พัดบังหน้า เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอนี้เป็นเรื่องราวของผู้หญิงญี่ปุ่นในยุคสมัย ใหม่ Kazuko Hohki เป็นชาวญี่ปุ่นที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นเวลา 15 ปี ได้กลับมายังญี่ปุ่นพร้อมวงดนตรี Frank Chickens เธอต้องกลับมาเรียนรู้เรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆใหม่หลังจากที่จากไปนาน รวมทั้งได้ศึกษาทัศนคติดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นรวมทั้งเพื่อนๆของเธอด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีความโดดเด่นที่จะดึงดูดผู้ชมทั่วไปให้ได้ศึกษาเรียน รู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนเกี่ยวกับสตรีและครอบครัวในสังคมญี่ปุ่นร่วมสมัย

Thursday, 19 September 2013 14:26

Thilashins

เรื่องราวของ Daw Mya Thi Na เด็กหญิงที่บวชชีเรียกว่า Thilashin (เป็นชื่อของโครงการคุณธรรมของพุทธศาสนา) ในพระอาราม กรุงย่างกุ้งประเทศพม่าเป็นกิจกรรมที่ร่วมกันระหว่างการศึกษาการทำสมาธิและ กิจกรรมอื่นๆในวัด ในระหว่างการชีผู้หญิงต้องโกนผมและสวมใส่ชุดที่จัดไว้เท่านั้น พวกเธอจะต้องละทิ้งความเกลียดชังริษยาและความไม่รู้ ต้องท่องจำบทสวดต่างๆ ทุกเช้าแม่ชีจะต้องเรียนพระคัมภีร์ ต้องสวดออกเสียงในการเรียนรู้ด้วยหัวใจ และทำงานอื่นๆภายในวัด บางวันแม่ชีจะต้องออกไปบิณฑบาตนอกวัดได้ข้าวสารมาก็จะต้องจัดเตรียมไว้ สำหรับกินและถวายพระสงฆ์ (มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างสภาพของพระสงฆ์และแม่ชี) หลังจากผ่านการบวชและมีการสอบแล้ว Daw Mya Thi Na จะได้รับใบประกาศในวันเดียวกันพร้อมกับสิ่งของบริจาคและพวกเธอก็ไม่ลืมที่จะ ไปเยี่ยมเยียนครูอาจารย์ที่สอนพวกเธอมาที่วัดบนภูเขา เสร็จแล้วจึงเดินกลับไปย่างกุ้งเพื่อร่วมพิธีเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่ พวกเธอ และที่ขาดไม่ได้คือต้องไปกราบที่เจดีย์ชะเวดากองด้วย

Thursday, 19 September 2013 14:20

Surviving Chau

สารคดีเรื่องนี้ฉายให้เห็นพัฒนาการศิลปะการร่ายรำของกลุ่มชาติพันธุ์ Chhau การร่ายรำที่ผู้ชายผู้สวมหน้ากากเป็นผู้แสดง และเป็นเกมการแข่งขัน ภาพยนตร์ยังให้รายละเอียดของความงดงามในศิลปะ พร้อมไปกับการสัมภาษณ์นักเต้นของ Ustad ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่ม นอกจากนี้ เรื่องยังพาเราไปสังเกตศิลปินและการแสดงในระหว่างการซ้อม และระหว่างการพูดคุยอย่างมีชีวิตชีวา

Wednesday, 18 September 2013 23:10

Blunden Harbour

Robert Gardner กล่าวว่า "ในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 Blunden Harbour เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ทางชายฝั่งของเกาะแวนคูเวอร์ (Vancouver Island) ในบริติช โคลัมเบีย (British Columbia) สถานที่ดังกล่าวเป็นที่พำนักของชนอินเดียนกลุ่ม Kwakiutl ที่ยากจน โดยยังชีพจากการตกปลาและเก็บของป่า" ผลงานนี้เป็นงานอันดับต้นๆ ของการ์ดเนอร์ที่พยายามถ่ายทอดจังหวะชีวิตและบรรยากาศของสถานที่และผู้คน

Wednesday, 18 September 2013 21:31

Un jour a Panaoti

วันหนึ่งของการเดินในหมู่บ้าน Newar ของ Panaoti ประเทศเนปาล ได้พบเห็นการดำเนินชีวิตของผู้คนในหมู่บ้าน อาทิ การใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ความศรัทธา ภาพยนตร์นำเสนอภาพที่เป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องมีคำบรรยาย แต่ก็สามารถเข้าใจกับวิถีความเป็นอยู่ได้อย่างดี

One day of walking in the village of Newar Panaoti Nepal being a witness to the lives of people in the village, such as daily use. Occupational faith belief that the film is presented without subtitles. I can understand the way as well.

Page 2 of 5