ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มวัยรุ่นนักวาดภาพ ที่เรียกว่า Graffiti ในนิวยอร์กซิตี้และกลุ่มนักเต้นแนวใหม่ประเภท hip-hop, b-boys พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงออกในกิจกรรมที่พวกเขามีความสามารถ แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน Graffiti ในพื้นที่โดยรอบนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งทำให้เกิดข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมและความสวยงามของศิลปะประเภทดังกล่าว มีความขัดแย้งกันระหว่าง Graffitists และฝ่ายผู้ปกครอง รวมทั้งกลุ่ม Graffitists ด้วยกันเอง การหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ด้วยความยิ่งใหญ่ของงาน Graffiti, b-boys และ hip-hop จากนิวยอร์กจึงทำให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นอกจากนี้ภาพยนตร์ได้นำเสนอผลงาน Graffiti รูปแบบ Style wars และบทสัมภาษณ์ด้วย
เซวันนาทหารปลดประจำการได้เดินทางกลับบ้านที่ยังกรุงพนมเปญเขาเป็นหนึ่งใน ทหารที่รอดชีวิตกลับมาได้จาการสู้รบเมื่อต้องกลับมาสู่สังคมอีกครั้งก็ต้อง ต่อสู้ดิ้นรนกับสภาพการณ์ของความเป็นจริงของชนชั้นทางสังคมที่กลุ่มชนชั้น ล่างยังต้องต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันต่อไป Savannah ได้พบหญิงสาวที่ทำงานในบาร์ชื่อ Srey Poeuv และเกิดความหลงรักอีกทั้งได้เห็นถึงการถูกเอาเปรียบต่างๆ นานาจึงคิดที่จะช่วยดึงเธอออกมาจากสิ่งเลวร้ายทั้งปวง แต่สุดท้าย Savannah เองกลับเดินทางเข้าสู่ความเลวร้ายของสังคมเอง และสุดท้ายเขาก็จบชีวิตลงทิ้งให้ความฝันและความรักที่เขามีเป็นเสมือนฝุ่น ละอองที่ล่องลอยไป
ดำเนินเรื่องที่เมืองโอคแลนด์ (นิวซีแลนด์) ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของครอบครัว Heke ซึ่งเป็นชาวเมารี โดยมี Jake Heke เป็นหัวหน้าครอบครัวที่มักใช้ความรุนแรงทำร้ายภรรยาของเขาบ่อยครั้งเมื่อเมา หนังดำเนินเรื่องต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ให้เห็นชีวิตครอบครัวของ Jake และการใช้ความรุนแรงของ Jake ผลกระทบของการเห็นความรุนแรงทำให้ลูกชายคนเล็กจะมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาจจะถูกเข้าบ้านเยาวชน ส่วนบุตรชายคนโตก็จะเข้าร่วมแก๊งข้างถนน ส่วนลูกสาวก็มีปัญหาถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งหมดติดตามได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
Set in urban Auckland (New Zealand) this movie tells the story of the Heke family. Jake Heke is a violent man who beats his wife frequently when drunk, and yet obviously loves both her and his family. The movie follows a period of several weeks in the family's life showing Jake's frequent outburst of violence and the effect that this has on his family. The youngest son is in trouble with the police and may be put into a foster home while the elder son is about to join a street gang. Jake's daughter has her own serious problems which are a key element in the plot.
Mr Xie ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมือง Dwan ซึงเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านไตในจังหวัด Dehong ซึงอยู่ในเส้นทางลักลอบค้ายาเสพติดจากพม่า ในปี 2002 ลูกชายของเขาได้ถูกจำกุมโดยรัฐบาลและถูกส่งไปยังสถานบำบัดยาเสพติดใน Chuxiong ทิ้งให้ Xie ต้องอยู่ลำพังกับภรรยาที่เจ็บป่วยโดยไม่มีเงินรักษาพยายาล ส่วนพืชผลที่ปลูกไว้ที่จะเก็บเกี่ยวก็เสียหายอีก ติดตามเรื่องราวชีวิตของพวกเขาได้จากภาพยนตร์
Mr. Xie lives in Dawan, a typical Dai village in province of Dehong that is part of a drug-smuggling route from Myanmar. In Spring 2002, the authorities sent his son to a drug rehabilitation center in Chuxiong, leaving Mr. Xie and his wife to care for themselves. Although he battles illness, he has no money for hospital treatment. Meanwhile, harvest season approaches, but the sugar cane and corn crops are left untouched in the fields.
Dennis O'Rourke ได้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องด้วยกล้องขนาดเล็กที่ติดตัวไปยังเมือง Cunnamulla ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ แห้งแล้งตั้งอยู่สุดทางรถไฟสายรัฐควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย เขาได้บันทึกข้อมูลของผู้คนที่หลากหลายที่ได้ไปพบมา อาทิ Arthur คนขับแท็กซี่ ภรรยาของ Arthur ที่สูบบุหรี่จัด Herb คนขายของเก่าที่ขี้เมา Marto นักดนตรีดิสโก แจ็คข้าราชการบำนาญที่เลี้ยงแจ็คเป็นบุตร ผู้คนชุมชนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทั้งชาวอะบอริจินที่อาศัยอยู่ Paul ที่เป็นตัวปัญหาของตำรวจ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเหมือนการเปิดหน้าต่างบ้านคนเหล่านั้นที่ล้วนแล้วแต่ มีปัญหาคนละแบบลองติดตามศึกษาข้อมูลจากภาพยนตร์เรื่องนี้ได้
DAO Yaodong เด็กหนุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ Huayao Dai (Thai) อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจังหวัด Xinping ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนมีชีวิตอยู่กับสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากโทรทัศน์ ภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆที่เข้ามากับคนงานโรงงาน น้ำตาลที่อยู่ใกล้เคียง ชีวิตของเขาก้าวเข้าไปรับอิทธิพลของสิ่งเหล่านั้นรวมทั้งชีวิตความเป็นเมือง รูปลักษณ์ใหม่ เช่นการสวมแว่นกันแดดใส่เสื้อแจ็คเก็ตหนัง ซึ่งมาจากอิทธิพลของภาพยนตร์ที่เขาดู แต่ในขณะที่ผู้สูงอายุก็พยายามต่อสู้เอาสิ่งเก่าๆคืนมา Dao ซึ่งมีฉายาคือ Mr. Cool ก็เจริญรอยตามพี่ชายของเขาที่ไปทำงานในเมือง โดยละทิ้งชีวิตเกษตรกรและย้ายไปอยู่ในเมือง จากการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ พบว่าสังคมได้รับผลกระทบจากความทันสมัยและสื่อที่เข้ามาคุกคามวิถีความเป็น อยู่ของหมู่บ้านเป็นอย่างมาก
Celso and cora เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องราวของครอบครัววัยรุ่นที่มีบุตรด้วยกัน 2 คน อาศัยอยู่ในย่านชุมชนแออัดกลางกรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง Cora และ Celso หาเลี้ยงชีพด้วยการขายบุหรี่ตามย่านโรงแรมและสถานบันเทิงในยามค่ำคืน การบันทึกเรื่องราวของบุคลทั้ง 2 นี้ ติดตามความเป็นอยู่อย่างใกล้ชิด ตลอดระยะเวลา 3 เดือน พบการดิ้นรนของชีวิตความเป็นอยู่ในเรื่องของการทำมาหากิน เช่นการห้ามขาย ชีวิตครอบที่มีการกระทบกระทั่งกันจากความกดดันในชีวิตประจำวัน การต่อสู้กับความยากจนเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวและบุตรทั้ง 2 คน โดยที่ไม่รู้อนาคตข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นแถบพื้นที่ของรัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา ซึ่งพื้นที่ยังคงเป็นหนองบึงขนาดใหญ่ เต็็มไปสัตว์ป่าต่างๆ โดยเฉพาะจระเข้ เจ้าหนุ่มน้อยเคจันดำรงชีวิตกับครอบครัวในพื้นที่นี้และอาศัยการล่าสัตว์ เพื่อดำรงชีวิต ต่อมามีบริษัทขุดเจาะน้ำมันเข้ามาดำเนินกิจการ ซึ่งได้สร้างความแปลกตาแก่เจ้าหนุ่มน้อยอย่างมาก แต่เขาก็ต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ต่อไปแม้พื้นที่จะเปลี่ยนแปลงไป ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแนวกึ่งสารคดีซึ่งชวนให้ติดตามเป็นอย่างมาก
A young Cajun boy named Alexander Napolean Ulysses Latour (Joseph Boudreaux) spends his time on a Louisiana bayou. There he plays, fishes and hunts, worrying only about the alligators which infest its waters. The boy's innocent routine changes forever when his father (Lionel Le Blanc) signs a lease agreement with an oil company which brings a derrick into their corner of the bayou.
At the beginning of the 80s, young students from the Maghreb put the first ranging-poles of the Movement Beur. Bathed by the leftist sphere of influence, this Second Generation tries to become emancipated and to go out of the social and mental ghetto in which it survives for a long time. This movement is 20 years old today: what is its inheritance? These "walkers" of the 80s didn't manage to pass on this need, this will to involve in the social, political and cultural world. Today, they tell us their feelings, their hopes, their regrets, concerning a critical and subjective glance this movement and the political and social disengagement of the 3rd generation. Many young people from immigration have difficulty in finding their place as citizen. 20 years later persist a feeling of faintness and a distrust towards the also perceptible political. Faintness also perceptible with the former of the Beur Movement who regret this absence of political transmission between the generations.
ภาพยนตร์เรื่องนี้เนื้อหากึ่งท่องเที่ยวและสอดแทรกด้วยเรื่องจริงจากสารคดี เดิม โดยได้จัดให้มีการท่องเที่ยวไปยังดินแดนที่ครั้งหนึ่งเป็นที่อาศัยของมนุษย์ กินคนของกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่จะค่อนข้างมีฐานะ และใช้การเดินทางโดยเรือสำราญไปตามแน่น้ำ Sepik ในประเทศปาปัวนิวกินี มันเป็นความพยายามที่จะนำไปสู่สถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอารยะธรรมของมัน อยู่ แต่ทว่าปัจจุบันความเจริญเริ่มเข้าไปถึง คุณค่าของวัฒนธรรมเดิมเหล่านั้นก็จะสูญหายไปเหลือแต่เพียงการแสดง และการขายของเพื่อแลกกับเงินตราที่จะได้มาแทน