ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่นชาวฝรั่งเศส 3 คน ในย่านชานเมือง Ghetto โดยภาพยนตร์ได้ดำเนินเรื่องติดชีวิตของพวกเขาในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงว่าพวก เขาทำอะไรกันบ้าง Vinz เด็กหนุ่มชาวยิว Said เด็กหนุ่มชาวอาหรับ และ Hubert นักมวยผิวสี ทั้งหมดเติบโตขึ้นท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติและการกดขี่ ด้วยกำลังจากตำรวจ จุดแตกหักของเรื่องเกิดขึ้นเมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้นและปืนของเจ้าหน้าที่ ตำรวจหายไป ปรากฏว่า Vinz เก็บมันได้ และจากการปะทะกันเพื่อนของได้รับบาดเจ็บ Vinz จึงตั้งใจว่าจะฆ่าตำรวจถ้าเพื่อนของเขาเสียชีวิตจากฝีมือของตำรวจ
ภาพยนตร์เป็นการนำเสนอเรื่องจริงของสตรีชาวอิหร่านในกรุงเตหรานที่หนีออกจาก บ้านมาอาศัยอยู่ในบ้านพักพิงเพื่อนำพาตัวเองออกมาสู่ความเป็นอิสระจากการถูก ทารุณกรรมจากครอบครัวของตนเอง เช่น ถูกพ่อทำร้าย พี่ชายทำร้าย ผู้สร้างต้องการนำเสนอให้เห็นถึงลักษณะของครอบที่ผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งมักจะมี ผลต่อบุตรสาว รวมทั้งสตรีคนอื่นในครอบครัว ในภาพยนตร์เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในสังคมชนบทของประเทศน่าจะมีปัญหามากกว่าที่เห็นก็ได้
ในเมือง Japigia ตั้งอยู่ปริมณฑลของบาริ ประเทศอิตาลี ชุมชนโรมา (ยิปซี - ชนเร่ร่อน) เผยให้เห็นสถานพักพิงที่ผิดกฏหมายและไร้เสถียรภาพ โบสถ์ท้องถิ่นเปิดให้พวกเขาพักพิงบางส่วน ในขณะที่ ศาลาว่าการของเมืองกลับปฏิเสธความช่วยเหลือเช่นนั้น จากเหตุของโครงการพัฒนาสถานีรถไฟในอนาคต อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกเขายังตกอยู่ในอันตรายทุกขณะด้วยนโยบายของการไล้รื้อ และยังชีพอยู่ได้เพียงการเร่ร่อนของทาน ชุมชนโรมาก็รวมพลังต่อสู้ และแสดงให้เห็นถึงพลังทางสังคมที่มีชีวิตอย่างยิ่ง
In Japigia, a neighborhood in the periphery of Bari, Italy, a small community of Roma (Gypsies) carve out an existence in an illegal, ramshackle encampment. The local church has offered them a piece of land with prefabricated houses, but the town hall is preventing this offer due to their own plans for a future a railway station. Continually in danger of evacuation and making a living primarily by begging for money, the Roma still manage to foster a strong community and lively social atmosphere.
โครงการประกวดภาพยนตร์สั้นชุด “ บ้านใกล้เรืองเคียง“ ในหัวข้อ “ใต้ร่มเงาสมานฉันท์” ที่ทางนิตยสาร “BIOSCOPE” (ไบโอสโคป) ร่วมกับมือ “คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ” , “คณะอนุกรรมการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี” , “กลุ่มสี่มุมเมือง” (Urban Media Society – UMS) และ “องค์กรแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย” โครงการนี้เปิดโอกาสให้กับนักเรียน , นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ใช้หนังสั้นมาเป็นสื่อ เพื่อร่วมสร้างสังคมให้มีความเข้าในเรื่องการอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี ระหว่างผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงมุมมอง และการรับรู้ของผู้คนในสังคมไทยที่มีต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ผู้สนใจติดตามภาพยนตร์ทั้งหมดได้
ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเผยสังคมอีกด้านหนึ่งของคนออสเตรเลียพื้นเมืองหรือที่รู้จักกันทั่วไปคือ Aborigin ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในออสเตรเลียท่ามกลางชนผิวขาว คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากปัญหาพิษสุราเรื้อรัง ความรุนแรงทางเชื้อชาติ การกดขี่ทางการเมืองโดยชาวออสเตรเลีย ด้วยการเลือกใช้ภาพยนตร์นำเสนอสภาพปัญหาของการละเมิดกับชนพื้นเมือง จึงเป็นข้อมูลที่มีชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้น
"Couldn't Be Fairer" is an extraordinary depiction of a side of Australian aboriginal society which is hidden from the eyes of most white people. With unflinching honesty, it depicts the problems of alcoholism, racial violence and political oppression still faced today by the first Australians. Using astutely selected archival footage to give historical depth to scenes of contemporary desolation and abuse, the film is a hard-hitting statement about racial conflict.
ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวของ Shah อดีตทหารมูจาฮีดีน และ Habiba หญิงสาวชาวอาฟกันที่ได้รับบาดเจ็บจากกับระเบิดของโซเวียตเมื่อครั้งที่เข้ามายึดครองอัฟกานิสถาน Shah ประกอบอาชีพเป็นช่างซ่อมรองเท้าในย่านตลาดสดขณะที่ Habiba ต้องประกอบอาชีพขอทานเพื่อช่วยเหลือครอบครัวในกรุงคาบูล ทั้ง 2 คน อยู่กินด้วยกัน ทั้งคู่เอาชนะอุปสรรคทางศาสนาและประเพณีด้วยความรักของทั้ง Habiba และ Shah ทั้งคู่แสดงออกถึงความกล้าหาญและความมีคุณธรรมท่ามกลางโลกที่มีความรุนแรงและเรื่องหลอกลวง ติดตามเรื่องราวได้จากภาพยนตร์
This new documentary by Dennis O'Rourke tells the story of Shah, a former Mujahideen soldier, and Habiba, a young Afghan woman injured by a Russian land mine following the Soviet occupation of Afghanistan. Shah, a cobbler, fixes shoes in a crowded bazaar while Habiba begs to support her family. There, amid the ruined city of Kabul, they meet and embark on an unlikely courtship. Overcoming the obstacles of religion and tradition in their search for love, Habiba and Shah display extraordinary bravery and morality in their world of sanctioned violence and lies.
Abbas Kiarostami และผู้ช่วย Seifollah Samadian ได้เดินทางไปยังกรุงกัมปาลา ประเทศอูกันดาตามคำขอของสหประชาชาติกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการ เกษตร ในเวลา 10 วันที่อยู่ในอูกันดาเขาได้ประเวณไปพร้อมกับกล้องเพื่อบันทึกภาพของเด็ก จำนวนนับพันคนทั้งหมดเป็นกำพร้าที่พ่อแม่ได้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ เขาได้บันทึกภาพของน้ำตา เสียงหัวเราะดนตรีและความเงียบ ชีวิตและความตาย, ภาพยนตร์ได้บันทึกภาพของอาฟริกาที่มีใบหน้าที่สดใสของเด็กซึ่งอยู่ท่ามกลาง ความยากจนและโรคภัยไข้เจ็บ