ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
Deep Hearts เป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่อกลุ่มชน Bororo Fulani ซึ่งเป็นกลุ่มคนเร่ร่อนในแถบตอนกลางของประเทศไนเจอร์ ชื่อของภาพยนตร์มีนัยสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดและการวางตัวของผู้คนใน กลุ่มสังคม Deep Hearts อธิบายถึงพิธีกรรม Gerewol อันเป็นพิธีที่จัดขึ้นในฤดูฝน เมื่อสายตระกูล 2 สายมาประชันขันแน่ง เพื่อเลือกชาย โบโรโร ที่สมบูรณ์แบบที่สุด นั่นหมายถึงการพิจารณาความงดงามทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ชนะจะเลือกหญิงสาวของอีกสายตระกูลหนึ่ง และมีการโห่ร้องด้วยน้ำเสียงของความเป็น "วัวฉกรรจ์" ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นความพยายามในการตั้งคำถามจากพิธีกรรมของโบโรโร ที่มีต่อมนุษยชาติทั้งมวล
ชน Hamar อาศัยในพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย พวกเขาอยู่อย่างโดดเดี่ยว และสภาพดังกล่าวนี้กลายเป็นเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ส่งผลต่อการจัดระเบียบทางสังคมที่ไม่เหมือนใคร และสืบต่อมา วิถีชีวิตแบบฉบับดังกล่าวย้ำถึงสถานภาพของชายที่เหนือกว่า ชายชาว Hamar เป็นเหมือนนาย และหญิงเป็นเหมือนบ่าว ภาพยนตร์จึงไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นกิจกรรมทางสังคม แต่ยังถ่ายทอดความรู้สึกของอารมณ์และพฤติกรรมของความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ
เมื่อ ค.ศ. 1979 การปฏิวัติอิสลามในประเทศอิหร่าน ผลักดันชาวยิวต้องออกเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา และส่งผลให้ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าสองหมื่นห้าพันปีของพวกเขาบนดินแดน แห่งนี้มาถึงวาระสุดท้าย ความไม่แน่นอนในความปลอดภัย และความเกรงกลัวต่อประหัตประหารของกลุ่ม Khomeini อิสลามคลั่งศาสนา สารคดีเรื่องนี้กล่าวถึงชีวิตชาวยิว ผู้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ และรวมกลุ่มเครือญาติอย่างแนบแน่นที่ลอสแองเจลิส ครอบครัวชาวอิหร่านพูดถึงอดีตของพวกเขา เรื่องราวการอพยพด้วยเหตุความเกลียดชังจากบ้านเกิดเพื่อปกป้องอนาคตของลูก หลานของพวกเขา พวกเขายังบอกเล่าอุปสรรคและความยากลำบาก น้ำเสียงของพวกเขาแสดงความกลัวเกี่ยวกับเด็กๆ ที่กำลังเติมโตมาในสังคมต่างแดน และรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งไกลห่างจากรากเหง้าของตน ในอีกทางหนึ่ง ลูกหลานที่เติบใหญ่ กล่าวถึงความกดดันจากความคาดหวังของพ่อและแม่ ในอันที่จะคงไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรมยิวอิหร่าน และการสร้างความเป็นตัวเองในโลกใหม่ของสังคมอเมริกัน
Virtual borders (จินตบัญญัติ โดย มานู ลุกค์)
Virtual borders เป็นภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวของผู้นำชาวอาข่าชื่อ Abaw Buseuv ที่ได้เดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมของชาวอาข่า มีการกระจายเสียงและส่งข้อมูลไปยังชาวอาข่าที่อยู่ในประเทศไทย อาข่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ชายแดนของห้าประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า (เมียนมาร์), จีน, เวียดนาม และลาว นอกจาการชุมนุมแล้วภาพยนตร์ยังได้นำเสนอเรื่องราวชีวิตและความเป็นอยู่ของอา ข่าด้วย
ภาพยนตร์เรื่อง Tabu ถูกสร้างโดยผู้กำกับ 2 คน คือ F.W. Murnau ผู้สร้าง Nosferatu, Sunrise และ Robert Flaherty ผู้สร้าง Nanook of the North ภาพยนตร์เรื่อง TABU ถ่ายทำที่ตาฮิติ Tabu เป็นเรื่องราวของชาวเกาะและความรักของหนุ่มสาวชาวที่มีต่อกัน ภาพยนตร์นำเสนอวิถีชีวิตความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของชาวเกาะเรื่องราวดู เหมือนจะมีแต่ความสุข แต่ต่อมาหญิงสาวถูกคำสั่งจากหัวหน้าเผ่าให้เป็นหญิงสาวต้องห้ามสำหรับผู้ชาย ทุกคนทำให้ทั้งคู่ไม่สมหวังในความรัก Tabu เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ขาวดำที่งดงามที่สุด และเคยได้รับรางวัลออสการ์ในปี 1931
ภาพยนตร์เป็นการนำเสนอเรื่องจริงของสตรีชาวอิหร่านในกรุงเตหรานที่หนีออกจาก บ้านมาอาศัยอยู่ในบ้านพักพิงเพื่อนำพาตัวเองออกมาสู่ความเป็นอิสระจากการถูก ทารุณกรรมจากครอบครัวของตนเอง เช่น ถูกพ่อทำร้าย พี่ชายทำร้าย ผู้สร้างต้องการนำเสนอให้เห็นถึงลักษณะของครอบที่ผู้ชายเป็นใหญ่ซึ่งมักจะมี ผลต่อบุตรสาว รวมทั้งสตรีคนอื่นในครอบครัว ในภาพยนตร์เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในสังคมชนบทของประเทศน่าจะมีปัญหามากกว่าที่เห็นก็ได้
Bhau Korde และ Waqar Khan ผู้เป็นทั้งเพื่อนและนักรณรงค์ ทำงานให้กับคณะกรรมการเพื่อสันติ ใน Dharavi, Mumbai เพื่อรณรงค์การหากทางออกให้กับความขัดแย้ง ด้วยการสร้างและใช้สื่อโสตทัศน์ Korde และ Khan อาศัยใน Dharavi เป็นเวลายาวนาน และเป็นผู้อพยกรุ่นแรกที่เข้ามาในเมืองมุมไบ Dharavi เป็นแหล่งชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีผู้อยู่อาศัยราวแปดแสนคน Dharavi คือแหล่งเสื่อมโทรม อาชญากรรม และความยากจน และเต็มไปด้วยคนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในเมือง หากแต่สิทธิ์ที่จะอยู่ในเมืองของพวกเขากลับถูกตั้งคำถามจาก คนเมือง และกลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวา อย่างไรก็ตาม เรื่องราวการอพยพของคนเหล่านี้ ได้กลายเป็นพื้นที่ที่มี "คุณ" ต่อเศรษฐกิจในเมือง เป็นแหล่งการขายสินค้านอกระบบขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน จนถึงการผลิตสินค้าประเภทหนังสำหรับการส่งออกสู่ตลาดนอกประเทศ
Wu Yii-Feng ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้พลังมหาศาลในการสร้างสรรค์ "Moon Children", ซึ่งเป็นการนำเสนอชีวิต "คนเผือก" ทั้งความเป็นอยู่ การทำงาน และการพักผ่อนในโลกไต้หวั่นสมัยใหม่ "เด็กแห่งจันทร์" เป็นฉายาที่คนอินเดีย San Blas เป็นผู้ขนานาม ในอดีต คนเผือกจะถูกแยกตัวจากสังคม และได้รับการอนุญาตให้ทำงานเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น แม้เมื่่อเวลาเปลี่ยน แต่อคติที่มีต่อพวกเขายังปรากฏอยู่ทั่วไป พวกเขายังคงต้องเผชิญหน้ากับการเลือกปฏิบัติและความทารุณ วู ฉายให้เราตระหนักถึงชีวิตของคนกลุ่มนี้ พวกเขาไม่ได้เพียงแต่ฉลาด แต่ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าเพื่อนร่วมชาติที่มีผิวเข้มกว่า อย่างไรก็ตาม เหตุที่เมลานินที่อยู่ใต้ผิวหนังอย่างจำกัด และสายตาที่ไม่ดีนัก ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พวกเขาถูกกีดกันจากสังคม เราจะตามชีวิตของชายเผือกคนหนึ่งที่แตก่างงาน และทำงานเป็น "หมอนวด" ในขณะนั้น เขาตั้งตารอลูกที่กำลังจะเกิดมา
ในเมือง Japigia ตั้งอยู่ปริมณฑลของบาริ ประเทศอิตาลี ชุมชนโรมา (ยิปซี - ชนเร่ร่อน) เผยให้เห็นสถานพักพิงที่ผิดกฏหมายและไร้เสถียรภาพ โบสถ์ท้องถิ่นเปิดให้พวกเขาพักพิงบางส่วน ในขณะที่ ศาลาว่าการของเมืองกลับปฏิเสธความช่วยเหลือเช่นนั้น จากเหตุของโครงการพัฒนาสถานีรถไฟในอนาคต อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกเขายังตกอยู่ในอันตรายทุกขณะด้วยนโยบายของการไล้รื้อ และยังชีพอยู่ได้เพียงการเร่ร่อนของทาน ชุมชนโรมาก็รวมพลังต่อสู้ และแสดงให้เห็นถึงพลังทางสังคมที่มีชีวิตอย่างยิ่ง
In Japigia, a neighborhood in the periphery of Bari, Italy, a small community of Roma (Gypsies) carve out an existence in an illegal, ramshackle encampment. The local church has offered them a piece of land with prefabricated houses, but the town hall is preventing this offer due to their own plans for a future a railway station. Continually in danger of evacuation and making a living primarily by begging for money, the Roma still manage to foster a strong community and lively social atmosphere.
'นา' เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ลักษณะเฉพาะของพวกเขาคือ สมาชิกทุกคนในครัวเรือนเป็นเครือญาติสายเลือดเดียวกัน การจัดระเบียบทางสังคมจะยึดสายตระกูลมารดาเป็นสำคัญ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติที่ใกล้กันถือเป็นข้อห้ามสำคัญเช่นเดียวกับที่ ปรากฏในสังคมอื่นๆ หญิงและชายยังคงอาศัยการพบปะในยามค่ำคืนในการร่วมรักกัน
The Na are an ethnic group in south-east China. Their particularity is that all the members of each household are consanguineous relatives; their social organisation is absolutely matrilineal and as incest is prohibited, like elsewhere, their sexual life mainly takes the form of nocturnal visits of men to women