ภาพถ่ายใช้เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรได้หรือไม่?

 |  การจัดการข้อมูลทางวัฒนธรรม
ผู้เข้าชม : 1040

ภาพถ่ายใช้เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรได้หรือไม่?

ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ “การเขียน” เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสาคัญที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา อะไรคือการเขียน? มนุษย์เราเขียนไปเพื่ออะไร? Barry B. Powell (2009, p.13) ได้ให้นิยามของการเขียนไว้ว่า “…ระบบของการทาเครื่องหมายบนวัสดุ เพื่อสื่อสารเนื้อหา…การเขียนเริ่มจากการทาเครื่องหมายบนวัสดุ…เครื่องหมายถูกสร้างขึ้นเป็นระบบ ตามแบบแผนที่สืบทอดกันมา เพื่อบอกเล่าและสื่อสารบางอย่างกับผู้อ่าน” ด้วยเหตุนี้ ความรู้ ความคิด และความรู้สึกของมนุษย์จึงถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านทางการเขียน (การทาเครื่องหมาย) บนวัสดุที่หลากหลาย เช่น แผ่นดินเหนียว กระดองเต่า กระดาษปาปิรุส (Papyrus) ฯลฯ อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา  การเขียนบนวัสดุมิใช่วิธีการเดียวในการบันทึกอีกต่อไป พัฒนาการทางเทคโนโลยีได้สร้างสรรค์สื่อชนิดใหม่เพื่อการบันทึกขึ้นมา เช่น ภาพนิ่ง (1830) แถบบันทึกเสียง (1857) ภาพเคลื่อนไหว (1880) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (1980) การอุบัติขึ้นของวัสดุเหล่านี้ ได้ท้าทายการทางานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดการเอกสารจดหมายเหตุและข้อมูลดิจิทัล (นักจดหมายเหตุ นักจัดการเอกสาร นักจัดการข้อมูล และนักสารสนเทศ) เพราะบนพื้นผิวของวัสดุเหล่านี้ ไม่ปรากฏเนื้อหาสาหรับการวิเคราะห์เพื่อวางแผนจัดการ หรือบันทึกบริบทการเกิดขึ้นของวัสดุ นอกจากนี้ ถ้าผู้ใช้งานไม่สามารถอ่านเนื้อหาผ่านสายตา เพื่อเข้าใจสารที่ถูกบันทึกบนวัสดุได้ด้วยตนเอง พวกเขาจะยังเชื่อถือในคุณค่าและใช้บันทึกเหล่านี้ในฐานะที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้หรือไม่?

อ่านบทความฉบับเต็ม : http://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/backend/resource/file/20160229image%20textual.pdf

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Share
Facebook Messenger Icon คลิกที่นี่เพื่อสนทนา