ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)
Sounds of Love and Sorrow เป็นภาพยนตร์ที่ปล่อยให้เราได้ยินเสียงแปล่งหูของขลุ่ยไป่วัน (Paiwan) ซึ่งหมายรวมถึงขลุ่ยที่เป่าด้วยจมูก ทั้งนี้ คล้องกับตำนานของงอสรพิษยาวร้อยก้าว เนื้อหาของภาพยนตร์ยังบอกเล่าถึงชีวิตคนสูงวัยของกลุ่มชน และเรื่องเล่าจากอดีตที่สะท้อนให้เห็นความรุ่มรวยของชีวิตชนชาวไป่วันในไต้ หวั่น ผู้อาวุโสของกลุ่มย้อนให้เห็นวันชื่นคืนสุขในวัยเยาว์และช่วงเวลาแห่งความรัก
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ่ายทำเมื่อ ค.ศ. 1952-53 ได้บันทึกพิธีสักร่างซึ่งเรียกว่า "การทำร่องรอย" สำหรับเด็กชายของกลุ่ม Ju/'hoan หลังจากที่พวกเขาได้ฆ่าสัตว์ใหญ่เป็นครั้งแรก ในเนื้อเรื่อง /Ti!kay เด็กน้อยวัยสิบสามปี ยิ่งสัตว์ด้วยธนูเป็นครั้งแรก Kan//a, พ่อของ /Ti!kay และ Crooked /Qui ช่วยเด็กน้อยในการติดตามร่องรอย ถลกหนัง และชำแหละเนื้อสัตว์ จากนั้น จะนำเนื้อสัตว์กลับมายังหมู่บ้าน และมีการประกอบพิธีสักร่างกาย พิธีกรรมดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการล่า และการเปลี่ยนผ่านทางสังคมสู่ความเป็นชาย เมื่อผ่านพิธีกรรมดังกล่าว /Ti!kay ได้รับการยอมรับจากพ่อตาแม่ยายของสาวน้อยที่เขาได้หมั้นหมายไว้