• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1635 times Read more...
Friday, 18 January 2019 14:53

ONE MORE TIME

ภาพยนตร์โดย ทรงพล สุทธิกานต์ พูลทวี, สกาวรัตน์ วีรวุฒิไกร, เจ๊ะฟาเดีย เจ๊ะอาแว

ระยะเวลา 10.20 นาที

 

ภาพยนตร์แนว Yuri (ยูริ) หรือหญิงรักหญิง ใสๆ หวานๆ เรื่องนี้ แทบจะไม่กล่าวถึงความรุนแรงจากสถานการณ์ชายแดนใต้เลย น่าสนใจว่าความรักของคนเพศเดียวกันในพื้นที่ชายแดนใต้ เกิดขึ้น ดำรงอยู่หรือถูกพัฒนาความสัมพันธ์ไปในรูปแบบใด เรื่องราวของเธอและเธออาจทำให้เราได้มองเห็น “ความหลากหลายของความรัก” มากขึ้นกว่าที่เคย

 

Friday, 18 January 2019 14:46

LINE (เพศทางเลือก)

ภาพยนตร์โดย ชนสรณ์ แวหะมะ, ณัฐริณีย์ สุหลง, วิภาวนี อักษรชู

ระยะเวลา 10 นาที

 

การพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้คนในครอบครัวและสังคมยอมรับในการเป็นเพศทางเลือกของตัวเอง เป็นประเด็นหลักที่หนังเลือกหยิบมานำเสนอ รวมไปถึงทุกข์และสุข ความกดดัน การยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อเพศทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้จะถูกพิสูจน์ หรือเสนอผ่านเงื่อนไขอะไร ต่างหรือเหมือนกับที่อื่นหรือไม่อย่างไร

ภาพยนตร์โดย นูรฮายาตี ยูโซ๊ะ, คัสมีนี วานิ, ไซนับ มามะ

ระยะเวลา 10.20 นาที

 

หนังเล่าเรื่องของเด็กผู้หญิงมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้คนหนึ่ง ที่มีความชอบและอยากเล่นกีฬาฟุตบอลไปช่วยกันลุ้นว่าผู้หญิงคนหนึ่งจะเข้าถึงฟุตบอล กีฬาที่เชื่อว่าเป็นของผู้ชาย ในแผ่นดินที่มีข้อกำหนดเรื่องเพศสภาพอย่างเข้มข้น ได้หรือไม่อย่างไร

อัดและเฟีย หนุ่มสาวชาวมุสลิม ทั้งสองเป็นคนรักกัน ความรักที่กำลังหวานชื่นต้องสั่นคลอน  เมื่อเพื่อนของอัดเล่าเรื่องบางอย่างของเฟียให้เขาฟัง เรื่องที่เขายากจะยอมรับหญิงสาวได้ แม้หญิงสาวจะยืนยันว่าเธอไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไปแล้วก็ตาม เขาทั้งคู่จึงต้องเผชิญหน้าและพยายามจัดการกับความสัมพันธ์ครั้งนี้

Wednesday, 18 September 2013 16:41

The good women of Bangkok

เป็นเรื่องราวของสตรีชาวอีสานชื่ออ้อย ซึ่งเป็นชื่อสมมุติในการทำงานขายบริการทางเพศในกรุงเทพฯย่านพัฒพงษ์เพื่อ หาเงินเลี้ยงตัวเองและครอบครัวที่ยากจน อ้อยทำงานขายบริการทางเพศจนคิดว่าไม่มีความรักจากผู้ชายที่แท้จริงอีกต่อไป พบกับเรื่องราวชีวิตของเธอได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้

The Good Woman of the story is Aoi. In Thai, her name means 'sugar cane' or 'sweet' - not her real name but the one she uses. She works as a prostitute, catering to the male tourists who crowd the girlie bars of Patpong. "They stayed at a seedy hotel in the red-light district. Much of the filming and video recording took place there, and in the months that followed he fell in love with her." "He paid and was her customer. She became the subject of his film." Starting from this worst-possible condition, Aoi's life is described and their relationship is recorded: its evolution from fake sexual intimacy to collusion in the process of making the film and, finally, to difficult friendship and a kind of love.

Wednesday, 18 September 2013 11:21

The Nuer

ภาพยนตร์ที่งดงามเรื่องนี้ ฉายให้เห็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจเกี่ยวกับกลุ่มชน Nuer ที่อาศัยในเอธิโอเปีย เรื่องราวแสดงให้เห็นผู้คน สัตว์เลี้ยง สิ่งประดิษฐ์ และผืนดินของพวกเขา ในขณะเดียวกัน ผู้ชมจะได้รับความรู้ในเชิงมานุษยวิทยาจากคำบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การต่อรองค่าสินสอดเจ้าสาว การแต่งงานกับผี พิธีปลุกชีพในการต่อสู้กับโรคฝีดาษ และในช่วงท้ายเรื่องจะได้เห็นพิธีการเปลี่ยนผ่านของชีวิตเด็กชายสองคน ในการเข้าร่วมพิธีกรรมแสดงความเป็นชาย

Monday, 16 September 2013 20:23

An Argument About a Marriage

เมื่อ ค.ศ. 1958 ด้วยความช่วยเหลือของคนในครอบครัว Marshalls กลุ่ม Ju/'hoansi เดินทางกลับบ้านใน Nyae Nyae ภายหลัง 7 ปีของการเป็นแรงงานที่โดนกักขังในฟาร์มแห่งหนึ่ง หญิงม่ายผู้ซึ่งอดีตสามีหนีรอดจากฟาร์ม มีลูกกับชายอีกคนหนึ่ง เมื่อเธอเดินทางกลับถึง Nyae Nyae เธอและสามีคนเก่าเกิดมีปากเสียงอย่างรุนแรง ภาพยนตร์เรื่อง An Argument About a Marriage นำไปสู่คำถามเกี่ยวกับการเพาะปลูกโดยนักลงทุนชาวยุโรปที่ส่งอิทธิพลต่อชีวิต ทางเศรษฐกิจและสังคมของคน Ju/'hoansi มากไปกว่านั้น นำไปสู่คำถามที่ซับซ้อนเกี่ยวกับการแต่งงานและแรงงานของเจ้าสาวตามธรรมเนียม เครือญาติ รวมถึงข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่ม Ju/'hoansi นอกจากอารณ์ที่เกรียวกราดที่เราจะเห็นในภาพยนตร์ เรายังจะได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาที่ป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้น

Monday, 16 September 2013 19:54

Deep Hearts

Deep Hearts เป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่อกลุ่มชน Bororo Fulani ซึ่งเป็นกลุ่มคนเร่ร่อนในแถบตอนกลางของประเทศไนเจอร์ ชื่อของภาพยนตร์มีนัยสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดและการวางตัวของผู้คนใน กลุ่มสังคม Deep Hearts อธิบายถึงพิธีกรรม Gerewol อันเป็นพิธีที่จัดขึ้นในฤดูฝน เมื่อสายตระกูล 2 สายมาประชันขันแน่ง เพื่อเลือกชาย โบโรโร ที่สมบูรณ์แบบที่สุด นั่นหมายถึงการพิจารณาความงดงามทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ชนะจะเลือกหญิงสาวของอีกสายตระกูลหนึ่ง และมีการโห่ร้องด้วยน้ำเสียงของความเป็น "วัวฉกรรจ์" ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นความพยายามในการตั้งคำถามจากพิธีกรรมของโบโรโร ที่มีต่อมนุษยชาติทั้งมวล

Monday, 16 September 2013 17:08

Rivers of Sand

ชน Hamar อาศัยในพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเอธิโอเปีย พวกเขาอยู่อย่างโดดเดี่ยว และสภาพดังกล่าวนี้กลายเป็นเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ ส่งผลต่อการจัดระเบียบทางสังคมที่ไม่เหมือนใคร และสืบต่อมา วิถีชีวิตแบบฉบับดังกล่าวย้ำถึงสถานภาพของชายที่เหนือกว่า ชายชาว Hamar เป็นเหมือนนาย และหญิงเป็นเหมือนบ่าว ภาพยนตร์จึงไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นกิจกรรมทางสังคม แต่ยังถ่ายทอดความรู้สึกของอารมณ์และพฤติกรรมของความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ

Sunday, 15 September 2013 21:31

The Day I Will Never Forget

สารคดีนำเราไปรู้จักกับมุมมองจากท้องถิ่นในการถกเถียงถึงการขลิบอวัยวะเพศ หญิงในสังคมเคนยา Massai และ Somali เป็นสังคมของผู้นับถือมุสลิม และมีประชากรบางส่วนที่นับถือคริสต์เอวองจิล เพิ่งลงมติรับรองกฎหมายห้ามมิให้การขลิบอัวยวะเพศของเด็กหญิง ทั้งนี้ โดยปราศจากความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ภาพยนตร์เริ่มต้นเรื่องราวของ Fardhosa นางพยาบาลผู้รณรงค์ต่อสู้อย่างไม่ท้อถอย ในการย้ำให้ผู้คนเห็นอันตรายอันเกิดจากขลิบ ที่มีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ จากนั้น เราจะไปฟังมุมมองของ Simalo เด็กหญิงชาวมาไซที่หนีจากไนโรบี เมื่อต้องเผชิญหน้ากับแม่ของเขาเองในการจัดการแต่งงานและทำร้ายเธอเมื่อเธอ ไม่ยินยอม ในช่วงท้าย ภาพยนตร์พาเราไปรู้จักกลุ่มเด็กนักเรียนหญิง Marakwet ที่ท้าทายกับพอ่แม่ในการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาหลายร้อยปีในชั้นศาล

The documentary explores the local dimensions of the female circumcision debate in Kenyan societies. In a region of Kenya that is home to Muslims, Massai and Somali and crosscut by Christian evangelists, recently passed legislation makes it illegal for a girl to be circumcised without first consenting to the procedure. The film begins with Fardhosa a nurse on a tireless campaign to open people's eyes to the dangers of circumcision, both physical and mental. Next, Simalo, a Maasai runaway girl returns from Nairobi to confront her mother, who was responsible for her mutilation and young marriage.

Page 1 of 2