ประกาศรายชื่อหัวข้ออภิปรายเป็นหมู่คณะในการประชุมวิชาการมานุษยวิทยา 68 พหุปฏิสัมพันธ์: มนุษย์กับสิ่งไม่ใช่มนุษย์
ประกาศรายชื่อหัวข้ออภิปรายเป็นหมู่คณะในการประชุมวิชาการมานุษยวิทยา 68
พหุปฏิสัมพันธ์: มนุษย์กับสิ่งไม่ใช่มนุษย์ (Interactive Pluralism: Human-Nonhuman)
วันที่ 7-9 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
……………………………………………………………………………………………………………………
ตามที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้เปิดรับข้อเสนอสำหรับการอภิปรายเป็นหมู่คณะ (call for panel) ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อบรรจุในการประชุมวิชาการมานุษยวิทยา 68 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ภายใต้หัวข้อหลักของการประชุมคือ "พหุปฏิสัมพันธ์: มนุษย์กับสิ่งไม่ใช่มนุษย์" (Interactive Pluralism: Human-Nonhuman) นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการจัดการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอหัวข้ออภิปรายที่สอดคล้องกับหัวข้อหลักของการประชุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยรายชื่อหัวข้ออภิปรายเป็นหมู่คณะที่ได้รับการคัดเลือกมีดังต่อไปนี้
1. จาก ‘แอฟริกา’ ถึง ‘แม่น้ำโขง: ใช่ว่าจะสูญสิ้นการควบคุมไปทั้งหมด (คน สัตว์ ลมฟ้าอากาศ ผืนดินและผืนน้ำ)
2. ทัศนา อัตตาณัติ และผัสสะ: เครือข่ายอันคลุมเครือของหนังสือศักดิ์สิทธิ์
3. Becoming with: ชาติพันธุ์วรรณนาข้ามสปีชีส์ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่น
4. ความหนืดพรุนและพหุปฏิสัมพันธ์ของของไหลในเมือง
5. แคมปิ้ง สุสาน เชื้อโรค: ‘เส้นแบ่ง’ อันคลุมเครือระหว่างมนุษย์และ ‘พื้นที่โพ้นมนุษย์’ บริเวณชายแดน
6. ศิลปะการจัดวางจากแนวคิดพหุปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งไม่ใช่มนุษย์
7. ซึมผ่านและแผ่ขยาย: วัตถุภาวะของหนังสือข้ามกาลเวลา
8. เสียงในพหุปฏิสัมพันธ์: มนุษย์ สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ และเทคโนโลยีดิจิทัล
9. พิพิธภัณฑ์ในฐานะที่เป็นชานชาลาแห่งความรับผิดชอบชั่วดีของมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์
10. นิเวศสังคมและสัตวมานุษยวิทยา (1): นิเวศสังคม (socio-ecology) การเกษตร สันทนาการและศิลปะ
11. นิเวศสังคมและสัตวมานุษยวิทยา (2): สัตวมานุษยวิทยา (zooanthropology) ชุมชน ภาษาและเสียงแวดล้อม
12. มนุษย์กับเทคโนโลยี: บทเรียนจากนวนิยายวิทยาศาสตร์ดาวซานถี่ อุบัติการณ์สงครามล้างโลก ของหลิวฉือซิน
13. ช ช้างวิ่งหนี … ซ โซ่ล่ามที … ฌ เฌอ คู่กัน
14. ผี คน หมอเหยา และภูเขาศักดิ์สิทธิ์: การบรรจบกันของมนุษย์กับสิ่งอื่น
15. วัฒนธรรมของการ (ไม่) ตรวจตรา: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน รัฐ และธรรมชาติ
16. อุทกภัยในลุ่มเจ้าพระยา: ความผันผวนไม่แน่นอนของผู้คน สายน้ำ และวัตถุ
17. AI กับมนุษย์: อัตตาณัติ อำนาจกระทำการ การไว้วางใจ และความรับผิดชอบทางจริยธรรม
18. เทคโนกสิกรรม วัดร้าง ทัณฑสถาน และธนาคารหุ่นยนต์: บทบาทผู้กระทำการของเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร ธรรมชาติ และอสังหาริมทรัพย์
19. มานุษยวิทยาเสียง: เสียงหนังโป๊ เสียงกระซิบ เสียงห้องนอน การซึมผ่านและการบรรจบกันระหว่างมนุษย์กับเสียงในพื้นที่ส่วนตัว
20. ดอกไม้ มาสคอต คลื่นลม ละคอนหุ่น ความเป็นมนุษย์ในความไม่ใช่มนุษย์: ทบทวนขอบเขตการซึมผ่านและการบรรจบกัน
21. ความเป็นชายขอบของความตาย และความตายของคนชายขอบ
22. โลกอมนุษย์ เพศ ชราภาพ น้ำโคลน: ชีวิตเปราะบาง และการเคลื่อนย้ายไร้พรมแดน
23. จากผู้ควบคุมสู่ผู้ถูกคุกคาม: เขื่อนราษีไศล ภัยพิบัติปัตตานี และเหมืองทองคำ
24. มหาอุทกภัย: ความเปราะบางและการสูญเสียความสามารถในการจัดการภัยพิบัติของมนุษย์
25. มีม แฮชแท็ก และกระดาษ: วัตถุภาวะการเมืองไทยร่วมสมัย
26. เสียง เพลงและดนตรี กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในวิถีมนุษย์ไทยร่วมสมัย
27. บ้านร้าง วัตถุพยาน และสื่อศิลปะ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จะแจ้งรายละเอียดและข้อปฏิบัติสำหรับผู้อภิปรายที่ได้รับการคัดเลือกทางอีเมลในลำดับถัดไป ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจการประชุมวิชาการมานุษยวิทยา68 มา ณ โอกาสนี้