ดนตรีชาติพันธุ์: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

เสวนาออนไลน์ Series Anthropology in Focus EP.7 หัวข้อ ดนตรีชาติพันธุ์: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

กิจกรรม | บรรยายวิชาการสาธารณะ
ผ่านระบบออนไลน์
29 เมษายน 2568
13:00 - 15:00 น.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เชิญผู้สนใจฟังเสวนาออนไลน์

Series Anthropology in Focus EP.7

หัวข้อ ดนตรีชาติพันธุ์: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

          ดนตรีชาติพันธุ์ (Ethnomusicology) เดิมถูกนิยามให้เป็นศาสตร์ที่ศึกษาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเน้นบริบททางวัฒนธรรมและสังคม ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมโยงความเชื่อและประวัติศาสตร์ นักวิชาการตะวันตกในอดีตมองว่าดนตรีชาติพันธุ์เป็นดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าที่ไม่มีระบบบันทึกแบบตะวันตก และศึกษาผ่านมุมมองของคนนอกประสมกับมุมมองของผู้คนในวัฒนธรรมนั้น ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต พิธีกรรม ความเชื่อ และอัตลักษณ์ชุมชน การศึกษาดนตรีชาติพันธุ์เคยแบ่งออกเป็นแขนงย่อยตามภูมิภาค เครื่องดนตรี หน้าที่ทางสังคม โครงสร้างเสียง ระบบเสียง จังหวะ บทบาทในสังคม วิธีสืบทอด และวิวัฒนาการดนตรี

          ปัจจุบัน แนวคิดดนตรีชาติพันธุ์มีขอบเขตกว้างขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะดนตรีพื้นเมืองดั้งเดิม แต่ครอบคลุมการปรับตัวและการผสมผสานกับแนวดนตรีร่วมสมัย เช่น ป๊อป แจ๊ส หรืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเข้าถึงผู้ฟังรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์ยังคงแตกต่างกัน นักอนุรักษ์มองว่าควรรักษารูปแบบดั้งเดิม ขณะที่ศิลปินและอุตสาหกรรมดนตรีมองว่าเป็นพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ ส่วนผู้ฟังทั่วไปอาจมองว่าเป็นเพียงดนตรีพื้นบ้านจากวัฒนธรรมอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจบริบทเชิงลึก นักวิชาการจากหลากหลายสาขา เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ได้บูรณาการองค์ความรู้ของตนเพื่อศึกษาดนตรีชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ดนตรีชาติพันธุ์ยังขยายขอบเขตไปสู่การสำรวจความหลากหลายทางเสียงที่ท้าทายแนวคิดดนตรีแบบดั้งเดิม เช่น Sounds, Noise, Soundscape การสร้างสรรค์เสียงและการตีความเสียงในบริบทใหม่ ๆ

              ในอนาคต ดนตรีชาติพันธุ์จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการอนุรักษ์มรดกดนตรีของชนเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์อีกต่อไป แต่จะพัฒนาไปในเชิงสร้างสรรค์และผสมผสานกับแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในการบันทึก ถ่ายทอด และฟื้นฟูดนตรีชาติพันธุ์ ดนตรีชาติพันธุ์จะกลายเป็นพื้นที่สำหรับการศึกษาข้ามศาสตร์ และอาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลายเป็นสื่อที่สะท้อนอัตลักษณ์และพลวัตของสังคม AI และ VR จะเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับดนตรี ทำให้ดนตรีชาติพันธุ์ไม่เพียงเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกศึกษา แต่เป็นสิ่งที่มีชีวิต สามารถปรับตัวและดำรงอยู่ในโลกดิจิทัล ขยายการรับรู้ให้ไกลกว่าพรมแดนทางกายภาพและอัตลักษณ์แบบเดิม

ผู้ร่วมเสวนา

อานันท์ นาคคง นักมานุษยวิทยาดนตรี สมาชิกวงดนตรีฟองน้ำ-กอไผ่-ซีอาเซียนคอนโซแนนท์

ดำเนินการเสวนาโดย

ธนวัฒน์ รุ่งเรืองตันติสุข

วิมล โคตรทุมมี

นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วันอังคารที่ 29 เมษายน 2568

เวลา 13.00-15.00 น.

รับชมถ่ายทอดสดทาง facebook Fanpage: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC

กำหนดการ
13:00 น. - 15:00 น.

เสวนาออนไลน์ Series Anthropology in Focus EP.7 หัวข้อ ดนตรีชาติพันธุ์: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

           ดนตรีชาติพันธุ์ (Ethnomusicology) เดิมถูกนิยามให้เป็นศาสตร์ที่ศึกษาดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเน้นบริบททางวัฒนธรรมและสังคม ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมโยงความเชื่อและประวัติศาสตร์ นักวิชาการตะวันตกในอดีตมองว่าดนตรีชาติพันธุ์เป็นดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าที่ไม่มีระบบบันทึกแบบตะวันตก และศึกษาผ่านมุมมองของคนนอกประสมกับมุมมองของผู้คนในวัฒนธรรมนั้น ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต พิธีกรรม ความเชื่อ และอัตลักษณ์ชุมชน การศึกษาดนตรีชาติพันธุ์เคยแบ่งออกเป็นแขนงย่อยตามภูมิภาค เครื่องดนตรี หน้าที่ทางสังคม โครงสร้างเสียง ระบบเสียง จังหวะ บทบาทในสังคม วิธีสืบทอด และวิวัฒนาการดนตรี

           ปัจจุบัน แนวคิดดนตรีชาติพันธุ์มีขอบเขตกว้างขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะดนตรีพื้นเมืองดั้งเดิม แต่ครอบคลุมการปรับตัวและการผสมผสานกับแนวดนตรีร่วมสมัย เช่น ป๊อป แจ๊ส หรืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเข้าถึงผู้ฟังรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์ยังคงแตกต่างกัน นักอนุรักษ์มองว่าควรรักษารูปแบบดั้งเดิม ขณะที่ศิลปินและอุตสาหกรรมดนตรีมองว่าเป็นพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ ส่วนผู้ฟังทั่วไปอาจมองว่าเป็นเพียงดนตรีพื้นบ้านจากวัฒนธรรมอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจบริบทเชิงลึก นักวิชาการจากหลากหลายสาขา เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ได้บูรณาการองค์ความรู้ของตนเพื่อศึกษาดนตรีชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ดนตรีชาติพันธุ์ยังขยายขอบเขตไปสู่การสำรวจความหลากหลายทางเสียงที่ท้าทายแนวคิดดนตรีแบบดั้งเดิม เช่น Sounds, Noise, Soundscape การสร้างสรรค์เสียงและการตีความเสียงในบริบทใหม่ ๆ

           ในอนาคต ดนตรีชาติพันธุ์จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการอนุรักษ์มรดกดนตรีของชนเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์อีกต่อไป แต่จะพัฒนาไปในเชิงสร้างสรรค์และผสมผสานกับแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญในการบันทึก ถ่ายทอด และฟื้นฟูดนตรีชาติพันธุ์ ดนตรีชาติพันธุ์จะกลายเป็นพื้นที่สำหรับการศึกษาข้ามศาสตร์ และอาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลายเป็นสื่อที่สะท้อนอัตลักษณ์และพลวัตของสังคม AI และ VR จะเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับดนตรี ทำให้ดนตรีชาติพันธุ์ไม่เพียงเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่ถูกศึกษา แต่เป็นสิ่งที่มีชีวิต สามารถปรับตัวและดำรงอยู่ในโลกดิจิทัล ขยายการรับรู้ให้ไกลกว่าพรมแดนทางกายภาพและอัตลักษณ์แบบเดิม


ผู้ร่วมเสวนา

อานันท์ นาคคง นักมานุษยวิทยาดนตรี สมาชิกวงดนตรีฟองน้ำ-กอไผ่-ซีอาเซียนคอนโซแนนท์


ดำเนินการเสวนาโดย

ธนวัฒน์ รุ่งเรืองตันติสุข

วิมล โคตรทุมมี

นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

Share
Facebook Messenger Icon คลิกที่นี่เพื่อสนทนา