![](https://www.sac.or.th/activity/uploads/activity/20250211094427bIoZJGKvUF.png)
เสวนาออนไลน์ Series Anthropology in Focus EP.5 หัวข้อ การสร้างระเบียบและการตอบโต้วาทกรรมว่าด้วยที่ดินระหว่างรัฐและขบวนการเกษตรกรรายย่อย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เชิญผู้สนใจฟังเสวนาออนไลน์
Series Anthropology in Focus EP.5
หัวข้อ การสร้างระเบียบและการตอบโต้วาทกรรมว่าด้วยที่ดินระหว่างรัฐและขบวนการเกษตรกรรายย่อย
งานศึกษาการผลิตสร้าง กำหนดนิยามความหมายและการกลายเป็นตัวแทนของวาทกรรมสิทธิในที่ดินของภาครัฐและเพื่อศึกษาปฏิบัติการปะทะประสาน ช่วงชิงนิยามความหมายวาทกรรมสิทธิในที่ดินระหว่างรัฐกับขบวนการเกษตรกรรายย่อย โดยวิธีการศึกษาการเคลื่อนไหวสนามวาทกรรม ที่ปะทะประสานกันผ่านผู้แสดง ผลการศึกษาพบว่ารัฐกำหนดนิยามที่ดินผ่านระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเน้นผลตอบแทนสูงสุดจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการวางแผนผังกำหนดเขตที่ดินเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งส่งผลให้ที่ดินกลายเป็นสินค้าในการเก็งกำไร และกีดกันเกษตรกรรายย่อยออกจากที่ดินอย่างเป็นระบบ
ในขณะที่ขบวนการเกษตรกรรายย่อยตอบโต้ด้วยการรวมตัวเคลื่อนไหวทางสังคม ตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเรียกร้องการ "ปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน" ผ่านการใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญในการจัดสรรที่ดินใหม่ด้วยระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในรูปแบบ"โฉนดชุมชน" โดยใช้นิยาม "ผืนดินคือชีวิต" เป็นวาทกรรมตอบโต้ ที่เน้นความสำคัญของที่ดินต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงที่ดินของทุกคน
ผู้ร่วมเสวนา
เฉลิมชัย วัดจัง (Land Watch Thai)
ดำเนินการเสวนาโดย
อาทิตย์ ภูบุญคง นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568
เวลา 13.00-15.00 น.
รับชมถ่ายทอดสดทาง facebook Fanpage: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC
เสวนาออนไลน์ Series Anthropology in Focus EP.5
หัวข้อ การสร้างระเบียบและการตอบโต้วาทกรรมว่าด้วยที่ดินระหว่างรัฐและขบวนการเกษตรกรรายย่อย
งานศึกษาการผลิตสร้าง กำหนดนิยามความหมายและการกลายเป็นตัวแทนของวาทกรรมสิทธิในที่ดินของภาครัฐและเพื่อศึกษาปฏิบัติการปะทะประสาน ช่วงชิงนิยามความหมายวาทกรรมสิทธิในที่ดินระหว่างรัฐกับขบวนการเกษตรกรรายย่อย โดยวิธีการศึกษาการเคลื่อนไหวสนามวาทกรรม ที่ปะทะประสานกันผ่านผู้แสดง ผลการศึกษาพบว่ารัฐกำหนดนิยามที่ดินผ่านระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเน้นผลตอบแทนสูงสุดจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการวางแผนผังกำหนดเขตที่ดินเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งส่งผลให้ที่ดินกลายเป็นสินค้าในการเก็งกำไร และกีดกันเกษตรกรรายย่อยออกจากที่ดินอย่างเป็นระบบ
ในขณะที่ขบวนการเกษตรกรรายย่อยตอบโต้ด้วยการรวมตัวเคลื่อนไหวทางสังคม ตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเรียกร้องการ "ปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน" ผ่านการใช้สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญในการจัดสรรที่ดินใหม่ด้วยระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในรูปแบบ"โฉนดชุมชน" โดยใช้นิยาม "ผืนดินคือชีวิต" เป็นวาทกรรมตอบโต้ ที่เน้นความสำคัญของที่ดินต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงที่ดินของทุกคน
ผู้ร่วมเสวนา
เฉลิมชัย วัดจัง (Land Watch Thai)
ดำเนินการเสวนาโดย
อาทิตย์ ภูบุญคง นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)