บรรยายวิชาการออนไลน์ Series Anthropology in Focus EP.2 หัวข้อ แก้มลิงกับชุมชน: ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เชิญผู้สนใจฟังบรรยายวิชาการออนไลน์
Series Anthropology in Focus EP.2
หัวข้อ แก้มลิงกับชุมชน: ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำที่ได้เริ่มใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นแก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ได้ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำบางบาลเกิดน้ำท่วมรุนแรงขึ้นอย่างผิดปกติ จึงก่อให้เกิดคำถามขึ้นว่าน้ำท่วมรุนแรงเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีความสัมพันธ์กับแก้มลิงบางบาลอย่างไร? ซึ่งนำไปสู่ความพยายามหาคำตอบในงานวิจัยนี้
การบรรยายกึ่งเสวนานี้จะเป็นการเล่าถึงงานวิจัยเรื่อง “แก้มลิงกับชุมชน: ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” จากการศึกษาทางมานุษยวิทยาในสนามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (STS) โดยการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางชลศาสตร์ ‘แก้มลิงบางบาล’ ในฐานะผู้กระทำที่มีบทบาทสำคัญต่อสภาพน้ำท่วมที่เกิดในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิทยากร ดร.คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ดำเนินการเสวนา อาทิตย์ ภูบุญคง นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567
เวลา 13.00-15.00 น.
รับชมถ่ายทอดสดทาง facebook Fanpage: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC
บรรยายวิชาการออนไลน์ Series Anthropology in Focus EP.2
หัวข้อ แก้มลิงกับชุมชน: ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จากปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำที่ได้เริ่มใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรมของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเป็นแก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ได้ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำบางบาลเกิดน้ำท่วมรุนแรงขึ้นอย่างผิดปกติ จึงก่อให้เกิดคำถามขึ้นว่าน้ำท่วมรุนแรงเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีความสัมพันธ์กับแก้มลิงบางบาลอย่างไร? ซึ่งนำไปสู่ความพยายามหาคำตอบในงานวิจัยนี้
การบรรยายกึ่งเสวนานี้จะเป็นการเล่าถึงงานวิจัยเรื่อง “แก้มลิงกับชุมชน: ภววิทยาของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” จากการศึกษาทางมานุษยวิทยาในสนามวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (STS) โดยการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางชลศาสตร์ ‘แก้มลิงบางบาล’ ในฐานะผู้กระทำที่มีบทบาทสำคัญต่อสภาพน้ำท่วมที่เกิดในพื้นที่ลุ่มต่ำบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วิทยากร ดร.คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ดำเนินการเสวนา อาทิตย์ ภูบุญคง นักวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร