สำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม

รับชมวิดีโอย้อนหลัง

บรรยายวิชาการสาธารณะออนไลน์ หัวข้อ “สำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม”

กิจกรรม | บรรยายวิชาการสาธารณะ
รับชมวิดีโอย้อนหลัง
19 กันยายน 2567
13:00 - 15:00 น.

ขอเชิญผู้สนฟังบรรยายวิชาการออนไลน์สาธารณะ

หัวข้อ “สำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม”

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567
เวลา 13.00-15.00 น.
 

วิทยากร

นวพรรณ ภัทรมูล นักวิชาการคลังข้อมูล

นิสา เชยกลิ่น  นักวิชาการคลังข้อมูล

วิทยากรและดำเนินรายการ

สุนิติ จุฑามาศ นักวิจัย

        เปิดประสบการณ์การทำงานภาคสนามเพื่อสำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม โดย นักวิชาการฝ่ายคลังข้อมูลวิชาการ ศมส. ขยายขอบเขตการศึกษาไปยังชุมชนชาวมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ ในการทำงานระยะที่ 1 เป็นการสำรวจสถานภาพ ศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น และแสวงหาเครือข่ายการศึกษาเอกสารโบราณและจารึกในพื้นที่ชุมชนชาวมุสลิม 5 แห่ง ได้แก่ ชุมชนมัสยิดต้นสน ชุมชนมัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) ชุมชนมัสยิดหลวงอันซซอริซซุนนะห์ (บางกอกน้อย) ชุมชมสุเหร่าบ้านดอน และศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช บ้านมลายูปากลัด

         โดย ศมส. ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากเจ้าของพื้นที่เป็นอย่างดี และได้พบเอกสารโบราณของมุสลิมที่มีความสำคัญยิ่ง ประกอบด้วยพระคัมภีร์อัล-กุรอานโบราณเขียนด้วยมือที่ประดับตกแต่งอย่างประณีตสวยงาม ตำราทางศาสนาต่าง ๆ ในรูปแบบสมุดไทยและสมุดฝรั่ง ทั้งภาษาอาหรับ ภาษามลายู และภาษาไทย อาทิ คู่มือหลักศรัทธา-หลักปฏิบัติ ตำราวิชาฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) วิชาตะเศาวุฟ (ศูฟีย์) ตำราชีวประวัติและบทกลอนสรรเสริญนะบีมุฮัมมัด ฯลฯ ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึงจารีตการจดบันทึกและพัฒนาการของแนวคิดทางศาสนาและการศึกษาของชาวมุสลิมในประเทศไทย

          นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มจารึกต่าง ๆ ในมัสยิดและสุสาน (กุโบร์) ที่ล้วนเป็นมรดกความทรงจำที่สะท้อนให้เห็นพลวัตการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ของชุมชน ให้เห็นถึงความสำคัญในกระบวนการอนุรักษ์และจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และการศึกษาต่อยอดองค์ความรู้จากมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้สืบไป

รับชมถ่ายทอดสดทาง Facebook Fanpage: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC

 

 

กำหนดการ
13:00 น. - 15:00 น.

บรรยายวิชาการออนไลน์สาธารณะ หัวข้อ “สำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม”

วิทยากร

นวพรรณ ภัทรมูล นักวิชาการคลังข้อมูล

นิสา เชยกลิ่น  นักวิชาการคลังข้อมูล


วิทยากรและดำเนินรายการ

สุนิติ จุฑามาศ นักวิจัย

 

           เปิดประสบการณ์การทำงานภาคสนามเพื่อสำรวจสถานภาพเอกสารโบราณและจารึกในชุมชนมุสลิม โดย นักวิชาการฝ่ายคลังข้อมูลวิชาการ ศมส. ขยายขอบเขตการศึกษาไปยังชุมชนชาวมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ ในการทำงานระยะที่ 1 เป็นการสำรวจสถานภาพ ศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น และแสวงหาเครือข่ายการศึกษาเอกสารโบราณและจารึกในพื้นที่ชุมชนชาวมุสลิม 5 แห่ง ได้แก่ ชุมชนมัสยิดต้นสน ชุมชนมัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) ชุมชนมัสยิดหลวงอันซซอริซซุนนะห์ (บางกอกน้อย) ชุมชมสุเหร่าบ้านดอน และศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช บ้านมลายูปากลัด

           โดย ศมส. ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากเจ้าของพื้นที่เป็นอย่างดี และได้พบเอกสารโบราณของมุสลิมที่มีความสำคัญยิ่ง ประกอบด้วยพระคัมภีร์อัล-กุรอานโบราณเขียนด้วยมือที่ประดับตกแต่งอย่างประณีตสวยงาม ตำราทางศาสนาต่าง ๆ ในรูปแบบสมุดไทยและสมุดฝรั่ง ทั้งภาษาอาหรับ ภาษามลายู และภาษาไทย อาทิ คู่มือหลักศรัทธา-หลักปฏิบัติ ตำราวิชาฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) วิชาตะเศาวุฟ (ศูฟีย์) ตำราชีวประวัติและบทกลอนสรรเสริญนะบีมุฮัมมัด ฯลฯ ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึงจารีตการจดบันทึกและพัฒนาการของแนวคิดทางศาสนาและการศึกษาของชาวมุสลิมในประเทศไทย

           นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มจารึกต่าง ๆ ในมัสยิดและสุสาน (กุโบร์) ที่ล้วนเป็นมรดกความทรงจำที่สะท้อนให้เห็นพลวัตการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ของชุมชน ให้เห็นถึงความสำคัญในกระบวนการอนุรักษ์และจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และการศึกษาต่อยอดองค์ความรู้จากมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้สืบไป

Share
Facebook Messenger Icon คลิกที่นี่เพื่อสนทนา