การประชุมวิชาการ มานุษยวิทยา 66 ห้วข้อ "ชีวิตภาคสนาม (life, ethnographically!)"

การประชุมวิชาการ มานุษยวิทยา 66 ห้วข้อ "ชีวิตภาคสนาม (life, ethnographically!)"

กิจกรรม | ประชุมวิชาการ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
12 กรกฎาคม 2566 - 14 กรกฎาคม 2566
09:00 - 17:15 น.

           ชีวิตภาคสนามเป็นเวทีเพื่อการบอกเล่าเรื่องราวที่ถูกค้นพบในการทำงานภาคสนาม เรื่องราวของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงและเรื่องราวที่เปลี่ยนแปลงโลก เรื่องราวชีวิตของสรรพสิ่งและเรื่องราวของสรรพชีวิตในโลกที่ประกอบขึ้นเป็น “ชีวิตภาคสนาม” ของเรา

           การประชุมทางวิชาการมานุษยวิทยา 66 ชีวิตภาคสนาม หรือ Life, Ethnographically! ในปีนี้ จะนำเสนอให้เห็นว่ารูปแบบ ขั้นตอน วิธีการเก็บข้อมูล และการตรวจสอบสนามได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากในอดีตที่ใช้การเขียนบันทึก การสเก็ตภาพ มาถึงการใช้อุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ และแอพพลิเคชั่น รวมถึงการนำเสนอและถ่ายทอดเรื่องราวจากภาคสนามต่างมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วรรณกรรม เรื่องสั้น งานศิลปะ สื่อผสมผสาน เป็นต้น นอกจากนั้น พื้นที่และสนามที่นักมานุษยวิทยาเข้าไปศึกษา มิได้มีเพียงพื้นที่กายภาพ หรือเป็นภูมิประเทศที่แตกต่างหลากหลายเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ออนไลน์ สื่อสมัยใหม่ และพื้นที่เสมือนจริง (virtual space) ที่สร้างประสบการณ์ต่างไปจากเดิม วิธีการทำงานภาคสนามในพื้นที่ที่แตกต่างกันนี้ล้วนอาศัยเทคนิค ขั้นตอน วิธีปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงประเด็นที่ศึกษามีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระบอบอำนาจที่มีอิทธิพลข้ามเขตแดนของรัฐ ข้ามภูมิภาค การทำงานภาคสนามจึงเคลื่อนย้ายไปตามสถานการณ์ และเกี่ยวข้องกับวิธีจัดการกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่เคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น นักมานุษยวิทยาต้องตระหนักถึงเงื่อนไข ความไม่แน่นอน ข้อจำกัด ความยาก ความท้าทายของพื้นที่และสนามที่ตนเองเข้าไปศึกษาและใช้ชีวิตอยู่

           ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดการประชุมวิชาการมานุษยวิทยาประจำปี 2566 หัวข้อ “ชีวิตภาคสนาม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และประสบการณ์ของการทำงานภาคสนามที่แตกต่างหลากหลายและไม่หยุดนิ่ง  ซึ่งจะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ที่นักมานุษยวิทยาปฏิบัติตัวในฐานะเป็นผู้ศึกษา ผู้ต่อรอง ผู้เรียนรู้ชีวิตคนอื่น ผู้เดินทาง ผู้สื่อสารความรู้ และผู้เห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่รู้จบ


เปิดลงทะเบียน

           - Early Bird ระหว่างวันนี้ – 30 มิถุนายน 2566 ค่าลงทะเบียน 500 บาท ชำระเงินภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2566 ไม่เกินเวลา 23.59 น.

           - วันที่ 1-10 กรกฎาคม 2566 ค่าลงทะเบียน 800 บาท ชำระเงินภายในวันที่ 10 ก.ค. 2566 ไม่เกินเวลา 23.59 น.


ปาฐกถา

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 

ภววิทยาสนาม: ประวัติศาสตร์การวิจัยสนามในมานุษยวิทยา

โดย รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วันที่ 13 กรกฎาคม 2566

คุยกับวัตถุ: ประสบการณ์สนามต่างแดนจากพุกาม

โดย ศ.ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 

โบราณคดีสนามในฐานะของงานชาติพันธุ์วิทยาระยะยาว

โดย ศ.ดร.รัศมี  ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

 

กำหนดการ
09:00 น. - 09:15 น.
ผู้อำนวยการ กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม
09:15 น. - 10:15 น.

ปาฐกถา ภววิทยาสนาม: ประวัติศาสตร์การวิจัยสนามในมานุษยวิทยา

โดย  รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร

10:30 น. - 12:00 น.

งานภาคสนาม ตามรอยมานุษยวิทยา ของ ชาร์ล เอฟ คายส์

ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

ดร.แก้วตา จันทรานุสรณ์

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ

รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว

ดำเนินรายการโดย  ดร.เบญจพร ดีขุนทด

งานภาคสนาม: ความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ

รศ.ดร.เอกรินทร์ พึ่งประชา  

ผศ.ดร.ปรารถนา จันทรุพันธุ์

อ.ดร.นัฐวุฒิ สิงห์กุล 

อ.ดร.ณีรนุช แมลงภู่ 

ดำเนินรายการโดย  ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง

ชาติพันธุ์วรรณนาการติดตาม ในการศึกษาความทรงจำและเรื่องเล่า ในภาคสนามข้ามพรมแดน

อ.กฤษณะ โชติสุทธิ์

ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

รศ.ดร.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ

ผศ.กุลธิดา ศรีวิเชียร

ดำเนินรายการโดย  อ.ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง

งานสนามจากภาพถ่าย

วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์

ชุตินันท์ มาลาธรรม

สาธิตา ธาราทิศ

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์

ดำเนินรายการโดย  ธนพล เลิศเกียรติดำรงค์

13:00 น. - 15:00 น.

ภาคสนามในประเด็นความยากจน

ผศ.ดร.ฐานิดา บุญวรรโณ 

อ.ธวัช มณีผ่อง          

ผศ.ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ

อ.กิติมา ขุนทอง

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ 

วัฒนธรรมชาติพันธุ์ในงานภาคสนาม

อ.ดร.พุทธิดา กิจดำเนิน

นวพร สุนันท์ลิกานนท์

อุไร ยังชีพสุจริต

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  ผศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา

เพศและตัวตนของผู้วิจัย ในสนาม “อารมณ์”

ชนาธิป สุวรรณานนท์

ลิลิต วรวุฒิสุนทร

ผศ.ดร.วิจิตร ประพงษ์

ดร.ชีรา ทองกระจาย

ดำเนินรายการโดย  ผศ.ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

งานสนามกับภาพยนตร์

น.สพ.สุริยาวุฒิ เกตุ้ย

พิชญาภา ทองวิจิตร

อรัชพร บุญเพ็ญ

ณัฐการณ์ รัตตะกุญชร

ดำเนินรายการโดย  ยิ่งพงศ์ มั่นทรัพย์

15:15 น. - 17:15 น.

อยู่ที่นั่นและท่องไปกับผู้คนและวัตถุ ที่กำลังเคลื่อนย้ายในบริบทเมือง

ผศ.ดร.วศิน วิเศษศักดิ์ดี

ชัยพร สิงห์ดี

รศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา 

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  ผศ.ดร.ประเสริฐ แรงกล้า 

งานภาคสนามสำหรับผู้ที่ถูกกดขี่

ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร

ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร

อ.ดร.ปิยรัตน์ ปั้นลี้

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์

เรื่องเล่าจากโรงพยาบาลในฐานะสนามวิจัย

ชัชชล อัจนากิตติ

ผศ.ดร.ปาณิภา สุขสม

อ.ดร.ประชาธิป กะทา

ดำเนินรายการโดย  ณัฐนรี ชลเสถียร

เสียงในสนาม

อ.อานันท์ นาคคง

ศิรษา บุญมา

ดำเนินรายการโดย  อภินันท์ ธรรมเสนา

09:00 น. - 10:00 น.

ปาฐกถา คุยกับวัตถุ: ประสบการณ์สนาม ต่างแดนจากพุกาม

โดย  ศ.ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ

10:15 น. - 12:00 น.

พลวัตของชาติพันธุ์ใน ‘สนาม’

อ.ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี 

อ.ดร.สุริยา คำหว่าน 

ผศ.ดร.โสรัจจ์ ประวีณวงศ์วุฒิ

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์

พหุภาคสนามทางมานุษยวิทยา ในภาคอีสานของอินเดีย

ดร.กนกวรรณ ชัยทัต

อ.ดร.วัลยา นามธรรม

อ.จักรวัฒน์ โพธิมณี

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  ผศ.ดร.ดำรงพล อินทร์จันทร์ 

เปิดสมอง นักวิจัยรุ่นใหม่ในสนามชุมชน

นิฌามิล หะยีซะ

ธนพล เลิศเกียรติดำรงค์

กฤชกร กอกเผือก

ชาคริต พลีตา

ดำเนินรายการโดย  ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

งานสนามในวรรณกรรม

สุพัตรา กิจวิสาละ

ปิยนันท์ จินา

พลอยสิรินทร์ แสงมณี

สรพจน์ เสวนคุณากร

ดำเนินรายการโดย  ชัชชล อัจนากิตติ

13:00 น. - 15:00 น.

กลับสู่สนาม: มานุษยวิทยาในภาวะความไม่แน่นอน

อ.ดร.ณีรนุช แมลงภู่

อ.ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง

การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์

กัมปนาท เบ็ญจนาวี

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

ศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ผศ.ดร.ประกีรติ สัตสุต

ผศ.ดร.อัมพร หมาดเด็น

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  อ.ดร.คัคณางค์ ยาวะประภาษ 

พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์”: สนามของปฏิบัติการทางมานุษยวิทยา สู่การกำหนดนโยบายสาธารณะ

อภินันท์ ธรรมเสนา

ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์

รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง

ดำเนินรายการโดย  ดร.เจษฎา เนตะวงศ์

สนามค้นหา สนามตรวจสอบ: แง่มุมหนึ่งของงานเอกสารโบราณ

ดอกรัก พยัคศรี

นวพรรณ ภัทรมูล 

ดร.ตรงใจ หุตางกูร 

สุนิติ จุฑามาศ

ดำเนินรายการโดย  ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

15:15 น. - 17:15 น.

ถนนทุกสายมุ่งสู่ความหิวโหย : การเดินทางของวัวข้ามแดน และการพัวพันของหลากชีวิตในสนามที่มีมากกว่ามนุษย์

อ.ดร.จิราพร เหล่าเจริญวงศ์

ผศ.เทิดศักดิ์ ญาโน

ชัชชล อัจนากิตติ

ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ บุษบงก์

ดำเนินรายการโดย  รศ.ดร.จักรกริช สังขมณี 

 

เมื่อให้สิ่งของลองพูด: สนามของวัตถุศักดิ์สิทธิ์ วัตถุโบราณ สายมู และพญานาค

ผศ.ดร.ปุรินทร์ นาคสิงห์

ผศ.พวงทิพย์ เกิดทรัพย์

อ.ดร.ฐิติรัตน์ เวทย์ศิริยานันท์

ผศ.สุวัฒชัย พ่อเกตุ

ดร.สุรเชษฐ์ อินธิแสง

ดำเนินรายการโดย  ผศ.อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์

คน ช้าง แรงงาน สรรพสัตว์ งานสนามข้ามพื้นที่

รศ.ดร.พลวัฒน์ ประพัฒน์ทอง

Rebecca Winkler

อ.สืบสกุล กิจนุกร

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  รศ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว

ก้าวแรกสู่สังเวียน: ร่างกายของศิลปินกับการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมของนักมานุษยวิทยา

กษมาพร แสงสุระธรรม

อ.อาจินต์ ทองอยู่คง

จุฬญาณนนท์ ศิริผล

ดำเนินรายการโดย  อภินันท์ ธรรมเสนา  

 

09:00 น. - 10:00 น.

ปาฐกถา โบราณคดีสนาม ในฐานะของงานชาติพันธุ์วิทยาระยะยาว

โดย  ศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช

10:15 น. - 12:00 น.

ปลดแอกและรื้อถอนสภาวะอาณานิคมด้วยความคิดเชิงนิเวศ: สนามในเรื่องเล่าและวรรณกรรมเชิงนิเวศ

รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

พนา กันธา

อ.ดร.นันทนุช อุดมละมุล

ดำเนินรายการโดย  ผศ.ดร.ฐานิดา บุญวรรโณ

ทวนสอบสนามของชาติพันธุ์นิพนธ์เสียง

อรดี อินทร์คง

มุขธิดา เองนางรอง

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร

การวิจัยภาคสนามในพื้นที่ศาสนา: ความทับซ้อนและการต่อรองพรมแดนเพศสภาพและชาติพันธุ์ในห้วงวิกฤติ

สมัคร์ กอเซ็ม

พิทธิกรณ์ ปัญญามณี

Wonseon PARK

วิทยากรและดำเนินรายการโดย  รศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง

13:00 น. - 15:00 น.

การแสดงสื่อผสม เรื่อง The Soul

การแสดงสื่อผสมเชิงสัญลักษณ์ เทคนิคแสงและเงา หุ่นเชิด นักแสดง ประกอบดนตรี สะท้อนการเดินทาง ค้นหาและการค้นพบภายใน ผ่านชีวิตการทำงานภาคสนาม 

โดย   คณะละครหุ่นพระจันทร์พเนจรและการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด เชียงใหม่

การประชุมวิชาการ มานุษยวิทยา 66 ห้วข้อ "ชีวิตภาคสนาม (life, ethnographically!)"

 

มานุษยวิทยา 66

หัวข้อ ชีวิตภาคสนาม Life, Ethnographically!

12 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร


           การทำงานของนักมานุษยวิทยาคือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ โลกทัศน์ ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ความรู้สึก และวิธีการปฏิบัติทางสังคมของคนที่ถูกศึกษาอย่างละเอียด สิ่งนี้เรียกว่า “การทำงานภาคสนาม” (fieldwork) อย่างไรก็ตาม ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นระยะแรก ๆ ที่ชาติพันธุ์วิทยา (ethnology) ถือกำเนิดขึ้น ชาวตะวันตกที่เป็นนักเดินทางและสนใจเปรียบเทียบความแตกต่างทางสรีระ ภาษา และวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ ประเพณี พิธีกรรม การแต่งกาย การกินอยู่หลับนอน และวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองที่ตนไม่รู้จัก อันเป็นเรื่องสำคัญของนักชาติพันธุ์ในยุคบุกเบิก นักชาติพันธุ์ เช่น James G. Frazer อ่านบันทึกของนักเดินทางและมิชชันนารีเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ ทำให้การศึกษาแนวนี้ถูกขนานนามว่า armchair anthropology หรือก็คือการศึกษาที่อาศัยการอ่านบันทึกและข้อเขียนต่าง ๆ บนโต๊ะทำงาน โดยไม่ต้องเดินทางไปพบเห็นของจริงในพื้นที่

           จนกระทั่งในปี ค.ศ.1863 เกิดสมาคมมานุษยวิทยาแห่งลอนดอน ก่อตั้งโดย Richard Francis Burton ความสนใจดั้งเดิมนั้นเปลี่ยนไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ โดยอาศัยทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin เป็นกรอบในการอธิบาย ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา  นักมานุษยวิทยาเช่น Edward Burnett Tylor เดินทางไปศึกษาวัฒนธรรมเม็กซิโก และ Lewis Henry Morgan ศึกษาระบบเครือญาติและชีวิตชนพื้นเมืองหลายเผ่าในประเทศสหรัฐอเมริกา ล้วนสนใจลำดับขั้นทางวัฒนธรรมจากความเรียบง่ายไปสู่ความซับซ้อน ในขณะที่ Franz Boas ทำงานสนามในพื้นที่อาศัยของชนพื้นเมืองในแคนาดา เขาสนใจวัฒนธรรมในฐานะเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง โดยใช้แนวคิดสัมพัทธ์นิยมทางวัฒนธรรม (cultural relativism) ซึ่งมิได้เปรียบเทียบว่าวัฒนธรรมไหนจะก้าวหน้าหรือล้าหลัง ทำให้เกิดการโต้แย้งกับทฤษฎีวิวัฒนาการ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการทำงานสนามที่เป็นระบบเริ่มต้นโดย Bronislaw Malinowski ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาเชื้อสายโปแลนด์ที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษ เขาคือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของชนพื้นเมืองในเกาะ Trobriand ในมหาสมุทรแปซิฟิกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 การใช้เวลาอยู่ที่นั่นยาวนาน 2 ปี ทำให้เขาวางแนวปฏิบัติของการทำงานสนามจนกลายเป็นวิธีวิทยาสำคัญของมานุษยวิทยา

           การอาศัยคลุกคลีและมีส่วนร่วมในการทำสิ่งต่าง ๆ กับชนพื้นเมืองเป็นเวลานานกลายเป็นหัวใจหลักของมานุษยวิทยาซึ่งดำเนินไปพร้อมกับเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม และโลกทัศน์ของคนพื้นเมือง วิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) จึงเป็นบรรทัดฐานสำหรับนักมานุษยวิทยาที่เข้าไปอาศัยอยู่กับชนพื้นเมือง ลูกศิษย์ของ Malinowski ต่างดำเนินรอยตามวิธีทำงานของเขาและทุ่มเทกับการเก็บข้อมูลทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับชีวิตของชนพื้นเมือง ซึ่งรู้จักในนามการศึกษาแบบองค์รวม (holistic study) การเก็บข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านจึงเป็นเป้าหมายของนักมานุษยวิทยาที่อยากรู้จักชีวิตของคนต่างวัฒนธรรม แต่เมื่อมีการค้นพบว่าบันทึกส่วนตัวของ Malinowski แสดงทัศนคติและความรู้สึกที่ต่างไปจากการเขียนในหนังสือ ทำให้วงการมานุษยวิทยาตั้งคำถามว่าข้อมูลที่เขียนในหนังสือกับตัวตนของนักมานุษยวิทยาเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ประเด็นนี้ทำให้เกิดการสงสัยต่อวิธีทำงานภาคสนามที่เลือกปกปิดและเปิดเผยข้อมูลบางอย่าง ซึ่งสะท้อนบทบาทของนักมานุษยวิทยาในฐานะเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดและนำเสนอความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม

           หลังจากนั้น ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา การทำงานของนักมานุษยวิทยาถูกทบทวนและวิพากษ์วิจารณ์มาเป็นลำดับ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับอำนาจที่ไม่เท่ากันของผู้ศึกษากับผู้ถูกศึกษา มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวตนของนักมานุษยวิทยาและการสร้างภาพแทนให้กับคนอื่น รวมทั้งอำนาจของภาษาและวาทกรรมที่ถูกใช้ในงานเขียนทางชาติพันธุ์ คำถามเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของนักมานุษยวิทยาซึ่งอาจไม่มีความเป็นกลางและใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนแนวคิดทฤษฎีบางอย่าง James Clifford และ George E Marcus วิจารณ์สิ่งนี้ในหนังสือ Writing Culture (1986) โดยชี้ว่างานเขียนของนักมานุษยวิทยาเปรียบเป็นเรื่องแต่งประเภทหนึ่ง ทำให้มีความพยายามที่จะสะท้อนความคิดของผู้ถูกศึกษาและประสบการณ์ทำงานของนักมานุษยวิทยาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในงานเขียน เพื่อทำให้เห็นตัวตนของคนกลุ่มต่าง ๆ ภายใต้บริบทของการสร้างปฏิสัมพันธ์และอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อกัน ปัจจุบันการทำงานของนักมานุษยวิทยามิได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ของคนต่างวัฒนธรรม แต่รวมเอาการศึกษาคนในวัฒนธรรมของตัวเอง เช่น คนอพยพ แรงงานข้ามชาติ คนชายขอบ และกลุ่มคนที่มีบรรทัดฐานต่างไปจากสังคม 

           รูปแบบ ขั้นตอน วิธีการเก็บข้อมูล และการตรวจสอบสนามได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากในอดีตที่ใช้การเขียนบันทึก การสเก็ตภาพ มาถึงการใช้อุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ และแอพพลิเคชั่น รวมถึงการนำเสนอและถ่ายทอดเรื่องราวจากภาคสนามต่างมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วรรณกรรม เรื่องสั้น งานศิลปะ สื่อผสมผสาน เป็นต้น นอกจากนั้น พื้นที่และสนามที่นักมานุษยวิทยาเข้าไปศึกษา มิได้มีเพียงพื้นที่กายภาพ หรือเป็นภูมิประเทศที่แตกต่างหลากหลายเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ออนไลน์ สื่อสมัยใหม่ และพื้นที่เสมือนจริง (virtual space) ที่สร้างประสบการณ์ต่างไปจากเดิม วิธีการทำงานภาคสนามในพื้นที่ที่แตกต่างกันนี้ล้วนอาศัยเทคนิค ขั้นตอน วิธีปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงประเด็นที่ศึกษามีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระบอบอำนาจที่มีอิทธิพลข้ามเขตแดนของรัฐ ข้ามภูมิภาค การทำงานภาคสนามจึงเคลื่อนย้ายไปตามสถานการณ์ และเกี่ยวข้องกับวิธีจัดการกับความสัมพันธ์ของมนุษย์และสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่เคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น นักมานุษยวิทยาต้องตระหนักถึงเงื่อนไข ความไม่แน่นอน ข้อจำกัด ความยาก ความท้าทายของพื้นที่และสนามที่ตนเองเข้าไปศึกษาและใช้ชีวิตอยู่

           ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดการประชุมวิชาการมานุษยวิทยาประจำปี 2566 หัวข้อ “ชีวิตภาคสนาม” เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และประสบการณ์ของการทำงานภาคสนามที่แตกต่างหลากหลายและไม่หยุดนิ่ง  ซึ่งจะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ที่นักมานุษยวิทยาปฏิบัติตัวในฐานะเป็นผู้ศึกษา ผู้ต่อรอง ผู้เรียนรู้ชีวิตคนอื่น ผู้เดินทาง ผู้สื่อสารความรู้ และผู้เห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่รู้จบ 

           มีการจัดวงเสวนาแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น 32 วงเสวนา รับชมวิดีโอบันทึกการเสวนาได้ที่ SAC Channel  https://channel.sac.or.th/th/vdo/playlist/aEF1VGdKODhiWi85RjdDTnBPamF2Zz09/dmVDQ0EyVFVZOE5wR1NFM0Q4SFpSdz09

           หรือจะเลือกชมหัวข้อที่คุณสนใจ ดังนี้

           EP.1 พิธีเปิด https://shorturl.asia/iXbKR

           EP.2 ปาฐกถาภววิทยาสนาม  https://shorturl.asia/2Rv6o

           EP.3 ตามรอยมานุษยวิทยาของ ชาร์ล เอฟ คายส์  https://shorturl.asia/KPMkw

           EP.4 ความเชื่อและสิ่งเหนือธรรมชาติ  https://shorturl.asia/DuYOm

           EP.5 ชาติพันธุ์วรรณนาการติดตาม  https://shorturl.asia/SgleB

           EP.6 งานสนามจากภาพถ่าย  https://shorturl.asia/RDqCu

           EP.7 ภาคสนามในประเด็นความยากจน  https://shorturl.asia/qDuAc

           EP.8 วัฒนธรรมชาติพันธุ์ในงานภาคสนาม  https://shorturl.asia/gDl6F

           EP.9 เพศและตัวตนของผู้วิจัยในสนามอารมณ์  https://shorturl.asia/MBoIA

           EP.10 งานสนามกับภาพยนตร์  https://shorturl.asia/Sn9JP

           EP.11 อยู่ที่นั่นและท่องไปกับผู้คนและวัตถุ  https://shorturl.asia/lmDPG

           EP.12 งานสนามสำหรับผู้ถูกกดขี่  https://shorturl.asia/zlR7V

           EP.13 เรื่องเล่าจากโรงพยาบาลในฐานะสนามวิจัย  https://shorturl.asia/wKuIE

           EP.14 เสียงในสนาม  https://shorturl.asia/NQPJ5

           EP.15 ปาฐกถาคุยกับวัตถุ: ประสบการณ์สนามต่างแดน  https://shorturl.asia/75hjK

           EP.16 พลวัตของชาติพันธุ์ในสนาม  https://shorturl.asia/0HbTM

           EP.17 พหุภาคสนามในภาคอีสานของอินเดีย  https://shorturl.asia/2HnFs

           EP.18 เปิดสมองนักวิจัยรุ่นใหม่ในสนามชุมชน  https://shorturl.asia/jSaJR

           EP.19 งานสนามในวรรณกรรม  https://shorturl.asia/892Cb

           EP.20 กลับสู่สนาม  https://shorturl.asia/tJr0a

           EP.21 ศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ https://shorturl.asia/jC9ad

           EP.22 พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์  https://shorturl.asia/QDUA3

           EP.23 แง่มุมหนึ่งของงานเอกสารโบราณ  https://shorturl.asia/d4krl

           EP.24 ถนนทุกสายมุ่งสู่ความหิวโหย  https://shorturl.asia/IH8nE

           EP.25 เมื่อให้สิ่งของลองพูด  https://shorturl.asia/me0aE

           EP.26 คน ช้าง แรงงาน สรรพสัตว์  https://shorturl.asia/YlX6G

           EP.27 ก้าวแรกสู่สังเวียน  https://shorturl.asia/IKtSl

           EP.28 ปาฐกถาโบราณคดีสนาม  https://shorturl.asia/IUaoC

           EP.29 ปลดแอกและรื้อถอนสภาวะอาณานิคมด้วยความคิดเชิงนิเวศ  https://shorturl.asia/SrayH

           EP.30 ทวนสอบสนามของชาติพันธุ์นิพนธ์เสียง  https://shorturl.asia/2l5Ec

           EP.31 การวิจัยภาคสนามในพื้นที่ศาสนา  https://shorturl.asia/WTIDO

           EP.32 การแสดงสื่อผสมเรื่อง The Soul  https://shorturl.asia/tMp6R

Share
Facebook Messenger Icon คลิกที่นี่เพื่อสนทนา