ภาษาจีน ภาษาใจ: วิทยุส่งเสียงทางสายกับคนจีนในกรุงเทพหลังสงครามโลก

รับชมวิดีโอย้อนหลัง

บรรยายวิชาการออนไลน์ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.8 หัวข้อ ภาษาจีน ภาษาใจ: วิทยุส่งเสียงทางสายกับคนจีนในกรุงเทพหลังสงครามโลก

กิจกรรม | บรรยายวิชาการสาธารณะ
รับชมวิดีโอย้อนหลัง
26 เมษายน 2567
13:00 - 15:00 น.

ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังบรรยายวิชาการ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.8
หัวข้อ ภาษาจีน ภาษาใจ: วิทยุส่งเสียงทางสายกับคนจีนในกรุงเทพหลังสงครามโลก
 
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยในฐานะรัฐเอกราชพยายามสงวนรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความเป็นไทย อย่างไรก็ตาม การกระจายเสียงภาษาจีนที่เรียกว่า “ส่งเสียงทางสาย” (ลี่ตีฮูเชิง หมายถึง เสียงอันไพเราะ) ซึ่งได้รับอนุญาตให้กระจายเสียงเป็นภาษาจีนกลับเป็นที่นิยมอย่างมาก เกิดเป็นคำถามว่าเสียงต่างด้าวปรากฏในทุกหนแห่งของชุมชนเมืองในประเทศไทยและเข้าไปเกี่ยวพันกับการก่อร่างสร้างรัฐไทยในช่วงเวลานั้นได้อย่างไร
 
การบรรยายนี้มุ่งอธิบายให้เห็นการเข้ามาของเทคโนโลยีการกระจายเสียงแบบตะวันตกโดยเฉพาะการส่งเสียงทางสายและการนำเสนอประสบการณ์ทางเสียงอันหลากหลายแก่ชาวจีนในกรุงเทพ ตลอดจนแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการได้ยินหรือการฟังของชาวจีนในกรุงเทพระหว่างทศวรรษที่ 1950-1970 นั้นถูกปั้นแต่งจากเทคโนโลยีเสียงที่เดินทางข้าม/ภายในขอบเขตเชิงพื้นที่ได้อย่างไร 
     
วิทยากร ผศ.ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ และจารุวรรณ ด้วงคำจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการ วิสุทธิ์ เวชวราภรณ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
 
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567
เวลา 13.00-15.00 น.
รับชมถ่ายทอดสดทาง Facebook Fanpage: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC 

กำหนดการ
13:00 น. - 15:00 น.

บรรยายวิชาการ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.8 หัวข้อ ภาษาจีน ภาษาใจ: วิทยุส่งเสียงทางสายกับคนจีนในกรุงเทพหลังสงครามโลก


           หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยในฐานะรัฐเอกราชพยายามสงวนรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความเป็นไทย อย่างไรก็ตาม การกระจายเสียงภาษาจีนที่เรียกว่า “ส่งเสียงทางสาย” (ลี่ตีฮูเชิง หมายถึง เสียงอันไพเราะ) ซึ่งได้รับอนุญาตให้กระจายเสียงเป็นภาษาจีนกลับเป็นที่นิยมอย่างมาก เกิดเป็นคำถามว่าเสียงต่างด้าวปรากฏในทุกหนแห่งของชุมชนเมืองในประเทศไทยและเข้าไปเกี่ยวพันกับการก่อร่างสร้างรัฐไทยในช่วงเวลานั้นได้อย่างไร
 
           การบรรยายนี้มุ่งอธิบายให้เห็นการเข้ามาของเทคโนโลยีการกระจายเสียงแบบตะวันตกโดยเฉพาะการส่งเสียงทางสายและการนำเสนอประสบการณ์ทางเสียงอันหลากหลายแก่ชาวจีนในกรุงเทพ ตลอดจนแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการได้ยินหรือการฟังของชาวจีนในกรุงเทพระหว่างทศวรรษที่ 1950-1970 นั้นถูกปั้นแต่งจากเทคโนโลยีเสียงที่เดินทางข้าม/ภายในขอบเขตเชิงพื้นที่ได้อย่างไร 
     
วิทยากร
ผศ.ดร.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ และจารุวรรณ ด้วงคำจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 

ดำเนินรายการ
วิสุทธิ์ เวชวราภรณ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
 

Share