Embodiment และ เขื่อนกับผลกระทบข้ามแดนลุ่มน้ำโขง

รับชมวิดีโอย้อนหลัง

บรรยายวิชาการออนไลน์ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.3 หัวข้อ "Embodiment และ เขื่อนกับผลกระทบข้ามแดนลุ่มน้ำโขง"

กิจกรรม | บรรยายวิชาการสาธารณะ
รับชมวิดีโอย้อนหลัง
20 ธันวาคม 2566
13:00 - 15:00 น.

ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังบรรยายวิชาการออนไลน์ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.3
หัวข้อ Embodiment และเขื่อนกับผลกระทบข้ามแดนลุ่มน้ำโขง
 
การสร้าง "เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ" ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 50 ปีในภูมิภาคแม่น้ำโขง เน้นให้ความสนใจประเด็นความรู้เทคนิกการสร้างเขื่อน ข้อมูลทางกายภาพและชีววิทยาของระบบนิเวศ และมอบอำนาจการตัดสินใจการออกแบบวาระการพัฒนากับรัฐและทุนมากกว่าให้ความสำคัญกับมิติจิตวิทยา จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความกดดัน วิตกกังวล และเจ็บช้ำที่สะสมทีละเล็กทีละน้อยผ่านกาลเวลามานานของคนริมน้ำ เนื่องจากเขาต้องดำรงชีวิตท่ามกลางซากปรักหักพังของระบบนิเวศแม่น้ำโขงที่ไม่สมบูรณ์จาก "เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ" ที่เพิ่มพูนขึ้นมาเรื่อย ๆ นับแต่อดีตจนปัจจุบัน และจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต
 
การนำเสนอ Embodiment และเขื่อนกับผลกระทบข้ามแดนลุ่มน้ำโขง ในครั้งนี้ผ่านแนวคิด Embodiment เพื่อชี้ให้เห็นว่าเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสั่นสะเทือนภูมิทัศน์ทางร่างกาย โลกทางสังคม และอารมณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่อย่างไร
 
วิทยากร รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ศูนย์วิจัยสังคม อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
ดำเนินรายการ ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและส่งเสริมวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
 
วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566
เวลา 13.00-15.00 น.
รับชมถ่ายทอดสดทาง Facebook Fanpage/Youtube: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC 
หรือ SAC Channel: https://channel.sac.or.th/th?tokens=
 
 

กำหนดการ
13:00 น. - 15:00 น.

บรรยายวิชาการออนไลน์ Memory, Mobility & Multiplicity: The 3M Series EP.3 หัวข้อ "Embodiment และ เขื่อนกับผลกระทบข้ามแดนลุ่มน้ำโขง"

การสร้าง "เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ" ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 50 ปีในภูมิภาคแม่น้ำโขง เน้นให้ความสนใจประเด็นความรู้เทคนิกการสร้างเขื่อน ข้อมูลทางกายภาพและชีววิทยาของระบบนิเวศ และมอบอำนาจการตัดสินใจการออกแบบวาระการพัฒนากับรัฐและทุนมากกว่าให้ความสำคัญกับมิติจิตวิทยา จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความกดดัน วิตกกังวล และเจ็บช้ำที่สะสมทีละเล็กทีละน้อยผ่านกาลเวลามานานของคนริมน้ำ เนื่องจากเขาต้องดำรงชีวิตท่ามกลางซากปรักหักพังของระบบนิเวศแม่น้ำโขงที่ไม่สมบูรณ์จาก "เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ" ที่เพิ่มพูนขึ้นมาเรื่อย ๆ นับแต่อดีตจนปัจจุบัน และจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต
 
การนำเสนอ Embodiment และเขื่อนกับผลกระทบข้ามแดนลุ่มน้ำโขง ในครั้งนี้ผ่านแนวคิด Embodiment เพื่อชี้ให้เห็นว่าเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสั่นสะเทือนภูมิทัศน์ทางร่างกาย โลกทางสังคม และอารมณ์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่อย่างไร
 
วิทยากร รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ศูนย์วิจัยสังคม อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
ดำเนินรายการ ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและส่งเสริมวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

Share