Title Author Imprint Collection Url Annotation
แอนโทรโปซีน บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤตสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, บรรณาธิการ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564 Books (7th floor) https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00098951 หนังสือแอนโทรโปซีน บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤตสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เนื้อหากล่าวถึงแนวคิดทางธรณีวิทยาที่ใช้ในการเรียกยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนี้จึงต้องอาศัยการศึกษาจากหลากหลายสาขา เนื่องจาก Anthropocence มีความสัมพันธ์ซ้อนทับกับทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ พฤติกรรม และสังคมชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์
มานุษยวิทยานิเวศ : พัฒนาการ แนวคิดและข้อถกเถียง : Ecological Anthropology : Development, Concepts, and Debates อรัญญา ศิริผล เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2564 Books (7th floor) https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00099047 หนังสือมานุษยวิทยานิเวศ : พัฒนาการ แนวคิดและข้อถกเถียง : Ecological Anthropology : Development, Concepts, and Debates เขียนโดย ผศ.ดร.อรัญญา ศิริผล อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนที่มาจากประสบการณ์การทำงานของอาจารย์โดยตรงมุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจปัญหาระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และการชวนให้ขบคิดคำว่า มานุษยวิทยานิเวศในบริบททางด้านมานุษยวิทยา และบริบทสังคมวัฒนธรรมมนุษย์
มายาคติพลังงาน สฤณี อาชวานันทกุล กรุงเทพฯ : ป่าสาละ, 2559 Books (7th floor) https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097324 หนังสือ “มายาคติพลังงาน” โดย สฤณี อาชวานันทกุล ณัฐเมธี สัยเวช และสุณีย์ ม่วงเจริญ จึงเป็นหนังสือจะเชิญชวนผู้อ่านร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับพลังงาน โดยผู้เขียนรวบรวม 30 คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นของพลังงานทั้งแวดวงวิชาการ และบนโลกออนไลน์ที่ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่อย่างเบาบางในประเทศไทยออกมาในรูปแบบของคำถาม-คำตอบสั้นๆ ง่าย ๆ โดยมุ่งหวังว่าจะช่วยทลายมายาคติพลังงานให้ผู้อ่าน เพื่อจุดประกายการถกเถียงเรื่องพลังงานในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่มีประเด็นกว้างและเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ซึ่งคำว่า "พลังงาน" หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวสิ่งที่อาจให้งานได้ ได้แก่ พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสิ้นเปลือง และให้หมายความรวมถึงสิ่งที่อาจให้งานได้ เช่น เชื้อเพลิง ความร้อน และไฟฟ้าที่ได้มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น การแสวงหาพลังงานของมนุษย์จึงสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาวหากมนุษย์ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม โสภารัตน์ จารุสมบัติ กรุงเทพฯ : โครงการตำราและสิ่งพิมพ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551 Books (7th floor) https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061586 หนังสือนโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม เขียนโดย โสภารัตน์ จารุสมบัติ เป็นหนังสือที่จะพาผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจความสำคัญของนโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่ (ไม่) ใหม่แต่ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะพลาสติก ปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย หรือแม้แต่ปัญหาฝุ่น PM 2.5 มลภาวะทางอากาศภัยเงียบที่เกิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้เคยแวะมาทักทายก่อนสถานการณ์โควิด-19 จะแพร่ระบาด และกำลังหวนกลับมาทักทายอีกครั้ง โดยมีข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาแจ้งเตือนว่าในช่วงฤดูหนาวในปลายปีนี้ของประเทศไทยไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือกับฝุ่น PM 2.52 อีกครั้ง เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จึงจะช่วยให้ผู้อ่านเห็นถึงนโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในประเทศไทย

 
เพชฌฆาตอารยธรรม : ชะตากรรมมนุษยชาติ ภายใต้บงการภูมิอากาศ = The windsof change : climate, weather, and the destruction of civilizations ยูจีน ลินเดน กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. Books (7th floor) https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057645 เพชฌฆาตอารยธรรม : ชะตากรรมมนุษยชาติ ภายใต้บงการภูมิอากาศ = The windsof change : climate, weather, and the destruction of civilizations เขียนโดย Eugene Linden เป็นนักเขียนชาวอเมริกันที่มีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์ของมนุษยชาติกับธรรมชาติ หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหัวข้อของวิกฤตสิ่งแวดล้อมทางอากาศที่ส่งผลต่ออารยธรรมของมนุษย์ ภายในเล่มได้รวบนวมเหตุการณ์ หลักฐาน บันทึกเกี่ยวกับกระทำของมนุษย์ในประวัติศาสตร์ เช่น การปล่อยสารเคมีทำลายสมดุลอากาศ