Title |
Author |
Imprint |
Collection |
Url |
Annotation |
พลวัตกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง (พ.ศ. 2475-2560) |
ชัยพงษ์ สำเนียง |
เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562 |
Books |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097066 |
หนังสือ “พลวัตกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง (พ.ศ. 2475-2560)” โดยชัยพงษ์ สำเนียง สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจภาคเหนือที่มีกลุ่มนายทุนเพิ่มมากขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจทางภาคเหนือ การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองทำให้กลุ่มนายทุนสนใจเข้าร่วมกับรัฐแปรเปลี่ยนจากกลุ่มนายทุนธรรมดาเป็นกลุ่มทุนทางการเมือง โดยใช้สิทธิทางการเมืองหรือทุนวัฒนธรรมเช่น ความเชื่อ จารีต ความสัมพันธ์คนในท้องถิ่น เพื่อช่วยขยายกิจการธุรกิจของตน และประเด็นสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ “การเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้คนรู้จักการปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่กับระบบนั้นได้” เช่นเดียวกับที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการปฏิวัติ 2475 ทำให้ผู้คนรู้จักการปรับตัว เพื่อให้สามารถอยู่รวมกับระบอบที่เปลี่ยนไปได้ และการเปลี่ยนแปลงนั้นได้พัฒนา ส่งผ่านความรู้ ความเข้าใจ ต่อพลวัตประวัติศาสตร์เศรษฐกิจภาคเหนือเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในมิติต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้นแล้วหนังสือเล่มนี้จึงตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการเพิ่มความรู้ทางด้านเศรษฐกิจในสังคมไทยในมิติกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มทุนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต |
จากป่าสู่ครัวไทด่าน |
เอกรินทร์ พึ่งประชา |
เลย : สำนักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย (สกว.). ฝ่ายเกษตร (ฝ่าย 2), 2557 |
Books |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084146 |
หนังสือเล่มนี้จะสะท้อนเรื่องราววิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของคนไทด่าน ผู้อ่านจะเห็นว่าสำรับไทด่านจานหนึ่ง ๆ นั้น สัมพันธ์กับเรื่องราวที่หลากหลายและซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นในด้านระบบนิเวศของชุมชน สังคมและวัฒนธรรม ความเชื่อ การแพทย์พื้นบ้าน โภชนาการ และประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หลาย ๆ สำรับของคนไทด่าน กลายเป็นเพียงเรื่องเล่าที่คนรุ่นใหม่ ๆ อาจหลงลืมและไม่รู้คุณค่าเชิงวัฒนธรรม ตลอดจนอัตลักษณ์ของตนเองที่แฝงมากับสำรับอาหาร ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายจึงเกิดขึ้นกับคนไทด่านด้วยว่า จะก้าวย่างอย่างไรต่อไปในโลกสมัยใหม่ ให้ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนดำรงอยู่อย่างยั่งยืน โดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์ของตนเองไป |
การสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
รัศมี ชูทรงเดช และคณะ |
[กรุงเทพฯ] : โครงการการสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวมจังหวัดแม่ฮ่องสอน, 2555 |
Books |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076776 |
หนังสือ มรดกวัฒนธรรมในอำเภอปาย ปางมะผ้า ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการของโครงการการสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2550-2552 เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยที่ต่อยอดจากโครงการวิจัยเดิม คือ โครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน และสังคม โดยโครงการได้พยายามเชื่อมโยงหลายศาสตร์อันประกอบด้วยโบราณคดี มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อค้นคว้าเรื่องราวภูมิหลังความเป็นมาของผู้คนและวัฒนธรรมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้คน สังคม และวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประมวลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากประวัติความทรงจำ/ประวัติศาสตร์บอกเล่า บูรณาการองค์ความรู้เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมในท้องถิ่น ทั้งด้านโบราณคดี วัฒนธรรม ประวัติสาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดำเนินการดูแล รักษา ถ่ายทอด และสืบทอดด้วยการพัฒนาเป็นฐานข้อมูลเพื่อการจัดการความรู้และการท่องเที่ยว พัฒนาหลักหลักสูตร พัฒนาแหล่งเรียนรู้ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และเชื่อมโยงเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน หนังสือมีความน่าสนใจตรงที่คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมาอย่างยาวนาน มีผลงานจากการวิจัยจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้เป็นปลายทางของผลงานเป็นแบบอย่างและแนวทางที่ดีในการศึกษาชุมชนท้องถิ่น ทั้งแง่การบริหารจัดการวิจัยโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม การศึกษาข้อมูลชุมชนจากปราชญ์ หรือผู้รู้ในท้องถิ่น เมื่อได้ข้อมูลวิชาการมาแล้ว ก็พยายามทำงานร่วมกับกับผู้คน ชุมชน และภาคีเครือข่ายในการนำเอาข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับผู้คน และชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม |
Culture for Sale จุดเปลี่ยน ทางกลับ วัฒนธรรมโลกาภิวัตน์ |
ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร |
กรุงเทพฯ : ทิปปิ้ง พอยท์, 2546 |
Books |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071537 |
หนังสือเล่มนี้ต้องการให้ผู้อ่านมองเห็นทิศทางการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรมของโลก ผ่านกระบวนการทุนนิยมโลกในมิติเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ จนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยหนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 20 บท และเคยตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ (ปีที่ 49 ฉบับที่ 29 -49/2546) รวมเป็นระยะเวลา 5 เดือนเต็ม โดยในแต่ละบทจะเชื่อมโยงกัน ทำให้สามารถอ่านต่อไปได้อย่างลื่นไหล ยกตัวอย่างในบทแรก ผู้เขียนเริ่มที่เรื่อง “เทคโนโลยีกับแรงกระเพื่อมทางวัฒนธรรม” ซึ่งในบทผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกัน คือ วัฒนธรรม อดีตได้กลายเป็นเครื่องนำทางความคิด ความต้องการ และการแสวงหาความเป็นไปต่าง ๆ ของอนาคต |