Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
Posthumanism | Nayar, Pramod K | Cambridge : Polity, 2014 | Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097258 | Prof. Pramod K Nayar เป็นศาสตราจาร์ผู้สนใจ ทฤษฎีวรรณกรรมและทฤษฎีวัฒนธรรม เคยได้รับรางวัล Visitor's Award for the Best Research ในประเภท Humanities, Arts and Social Sciences ประจำปี 2018 หนังสือนำเสนอและวิเคราะห์แนวความคิดหลังมนุษย์ ครอบคลุมประเด็นพ้นมนุษย์ เริ่มจากการวิพากย์ปรัชญาลัทธิมนุษยนิยมแบบดั้งเดิม จริยธรรมมนุษยนิยม ที่มองว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของโลก มองความเป็นมนุษย์อยู่เหนือสรรพสิ่ง จากนั้นนำเสนอพัฒนาการของแนวคิดหลังมนุษย์โดยอธิบายในบริบทของการศึกษาทางชีวการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโน-วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับร่างกาย/รูปร่างมนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติ เน้นการศึกษาความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันของมนุษย์ที่ถูกพัฒนาและมีวิวัฒนาการร่วมกับกับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ นักศึกษาด้านวัฒนธรรมศึกษา วรรณกรรมสมัยใหม่และร่วมสมัยที่สนใจในประเด็น Posthumanism |
Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation | Thongchai Winichakul | Honolulu : University of Hawaii Press, 1994 | Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001337 | ดร. ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน หนังสือ Siam Mapped นำผู้อ่านย้อนกลับไปสำรวจประวัติศาสตร์ของภูมิศาสตร์ และศึกษาความเปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิดทางภูมิศาสตร์ ที่ก่อให้กำเนิดสยามประเทศจากหลากหลายประดิษฐกรรม เช่น การสร้างเขตแดนและการทำแผนที่ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สยามเริ่มสร้างจินตนาการเกี่ยวกับตนเอง ที่แตกต่างจากคนอื่นขึ้นมา นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการศึกษาพลวัตของประวัติศาสตร์สยาม/ไทยในศตวรรษที่ 19 และ 20 โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศตามช่วงเวลา ศึกษาข้อถกเถียแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาจักรสยามให้กลายเป็นลัทธิชาตินิยมและชาตินิยมสมัยใหม่ ซึ่งชาติ เป็นส่วนสำคัญของทุกชีวิต ชาติ มีรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจ สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อปัจเจกบุคคล ความเป็นชาติมีพลังยึดโยงชุมชนไว้ด้วยกันทั้งๆ ที่สมาชิกของชาติอาจไม่มีวันรู้จักหน้าค่าตากันเลย ทรงพลังถึงขนาดที่หลายชีวิตยอมเสียสละให้ชาติได้ เป็นแรงบันดาลใจผู้คนมาหลายชั่วคนให้ทุ่มเทเพื่อบรรลุผลสำเร็จอันริเริ่มสร้างสรรค์แก่ชาติ ความเป็นชาติเป็นสิ่งปรารถนารวมทั้งในหมู่พวก Radical ในหลายๆ ประเทศซึ่งจงรักภักดีต่อประเทศของตนไม่น้อยไปกว่าที่ศัตรูของพวกเขาภักดีต่อประเทศของตนเอง |
The Taste of Ethnographic Things : The Senses in Anthropology | Paul Stoller | Philadelphia : University of Pennsylvania Press, c1989. | Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037882 | พอล สโตลเลอร์ (Paul Stoller) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน หนึ่งในนักมานุษยวิทยาผู้บุกเบิกงานวิจัยในสนามของมานุษยวิทยาว่าด้วยผัสสะ หนังสือ The Taste of Ethnographic Things: The Senses in Anthropology เป็นผลงานที่สร้างชื่อให้กับ Stoller เขาได้วิจารณ์ว่ารูปแบบการเขียนทางชาติพันธุ์วรรณาที่ซึ่งเน้นเสนอตามข้อเท็จจริง(in fact) ว่าเป็นสิ่งที่ไร้รสชาติจืดชืด (tasteless) เพราะว่านักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักจะไม่นำเสนอเกี่ยวกับ กลิ่น(the smells) รสชาติ(the tastes) และเสียง(the noises) ที่ซึ่งพวกเขามีประสบการณ์ในสนาม Stoller ชี้ว่าผัสสะมีความสำคัญมากกว่าข้อมูลวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ การที่นักมานุษยวิทยาไม่นำเสนอบริบทรอบๆสนามอันประกอบด้วย กลิ่น ทัศนียภาพของเสียง (Soundscape) และรสชาติ ขณะที่กำลังสังเกตและเก็บข้อมูล เป็นสิ่งที่ขาดหาย และน่าเสียดายสำหรับงานวิจัย หรือ ผลงานของพวกเขา Stoller นำข้อมูลการทำงานภาคสนามมากกว่าเจ็ดปี รวบรวมเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ทั้งชุดภาพที่น่าสนใจ เสียง และกลิ่นที่ปรุงแต่งให้กับโลกภายในของกลุ่มชาติพันธุ์ Songhay สาธารณรัฐไนเจอร์ Stoller พบว่าชาว Songhay นั้น การทำอาหารหรือซอสที่ดีที่สุด เป็นการแสดงถึงการต้อนรับของเจ้าบ้านแก่ผู้มาเยือน ความเป็นเจ้าบ้านที่ดี ความสัมพันธ์ทางสังคม และอารมณ์ความรู้สึก การที่ผู้มาเยือนได้ลิ้มรสชาติซอสที่ไม่อร่อยสร้างความอับอายให้แก่เจ้าบ้าน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมของชาว Songhay ที่จะถ่ายทอดสูตรอาหารและสูตรซอสจากรุ่นสู่รุ่นภายในครอบครัวและชาว Songhay ด้วยกัน การที่สมาชิกในครอบครัวไม่ได้รับการเรียนรู้กระบวนการทำอาหารสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะความสัมพันธ์เชิงลบของสมาชิกในครอบครัวและการแบ่งแยกทางชาติพันธุ์ นอกจากนี้การปรุงซอสที่มีรสชาติแย่ให้แก่แขกผู้มาเยือนก็ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแสดงความไม่พอใจของผู้ที่ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของสังคม หนังสือแบ่งเป็น 4 ภาคคือ รสชาติทางมานุษยวิทยา ภาพในสนาม เสียงในประสบการณ์วัฒนธรรม และความรู้สึกในงานมานุษยวิทยา เหมาะสมหรับนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาที่สนใจศึกษาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่เกี่ยวกับผัสสะ |
Material culture and mass consumption | Daniel Miller | Oxford, OX, UK ;Cambridge, Mass., USA : B. Blackwell, 1987 | Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032347 | Daniel Miller นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งต่างๆ ผู้พัฒนาทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงวัตถุ การบริโภค และเป็นผู้บุกเบิกศึกษามานุษยวิทยาดิจิทัลโดยเฉพาะการวิจัยชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับการใช้และผลที่ตามมาของโซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนซึ่งเป็นวิธีชีวิตปกติคนทั่วไปทั่วโลก หนังสือ Material Culture and Mass Consumerism นำเสนอผลงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมเชิงวัตถุ การศึกษาวัตถุผ่านรสนิยมในการบริโภค และทฤษฎีการบริโภค จากงานของนักคิดคนสำคัญเช่น Hegel, Marx, Munn และ Simmel โดยการอภิปรายความสัมพันธ์ของมนุษย์กับวัตถุที่มีผลต่อวัฒนธรรม แทรกซึมเข้าสู่วิถีชีวิตมนุษย์ผ่านระบบทุนนิยม (ผ่านวัตถุที่เรียกว่าสินค้า) เป็นภาพสะท้อนความหมายในกระบวนการบริโภควัตถุ Miller มองว่าการศึกษา “มนุษย์” ไม่สามารถเกิดขึ้นภายนอก “โลกของวัตถุ” ได้ กล่าวคือ ทุกปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ต้องมีสิ่งของเกี่ยวข้องอยู่ในนั้นด้วย |
The buddhist saints of the forest and the cult of the amulets : a study in charisma, hagiography, sectarianism, and millennial buddhism | Tambiah, Stanley jeyaraja, 1929- | Cambridge : Cambridge University Press, 1984 | Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000047 | Stanley J. Tambiah เป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งมีผลงานเกี่ยวกับประเทศไทย ศรีลังกา ชนชาติทมิฬ เกี่ยวกับศาสนาและการเมือง งานชื้นสำคัญของ สแตนลีย์ เจ. ทัมไบห์ (Stanley J. Tambiah) เรื่อง The Buddhist Saints of the Forest and the cult of amulets (1984) ซึ่งกล่าวถึงแนวคิดเรื่องอรหันต์ การปฏิบัติบำเพ็ยเพียร การทำสมาธิวิปัสสนาธุระ หรือพระป่าสายปฏิบัติ และธรรมเนียมเรื่องพระป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงประวัติความเป็นมา โดยกล่าวถึงภายในองค์กรสงฆ์ที่แบ่งเป็นอรัญวาสีและคามวาสี และกว่าวถึงการเข้ามาของอรัญวาสีในสายลังกาวงศ์ที่ทำให้เข้าใจว่าพระสายอีสานนั้นรับแนวคิดมาจากอรัญวาสีที่สุโขทัย แต่หลักฐานในปัจจุบันทำให้เราทราบว่า อรัญวาสีในท้องถิ่นอีสานนั้นเก่าแก่ก่อนลังกาวงศ์ที่สุโขทัยกว่า 300-400 ปีมาแล้ว งานของทัมไบห์นับเป็นต้นแบบที่ใช้อ้างอิงในกรณีการกล่าวถึงพระป่าหรือพระธุดงค์ โดยเฉพาะในเรื่องประวัติวความเป็นมาที่อ้างอิงถึงชุมชนพระป่าในยุคต้นพุทธกาล ในศรีลงกา พระป่าที่พม่าและไทย โดยโยงถึงนิกายสิงหลในศรีลังกาที่มีอิทธิพลต่อพระฝ่ายอรัญวาสีในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงปาฏิหาริย์ เครื่องรางของขลังของพระเกจิอาจารย์ในภาคอีสานด้วย |
Outline of a Theory of Practice | Pierre Bourdieu | Cambridge ; New York : Cambridge University Press, 1977. | Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001099 | ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) เป็นนักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยาและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้พัฒนาทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ หนังสือ Outline of a theory of practice เป็นหนังสือทฤษฎีมานุษยวิทยาและสังคมวิทยาที่สำคัญมากเล่มหนึ่ง บูร์ดิเยอ ผู้การวางรากฐานทฤษฎีว่าด้วยการปฎิบัติ หรือทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ (theory of practice) เป็นแนวคิดที่อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในเชิงอำนาจ ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดเรื่อง ฮาบิทัส (Habitus) สนาม (Field) “ทุน” (capital) (ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนทางสัญลักษณ์ และทุนทางเศรษฐกิจ) Bourdieu ใช้งานชาติพันธุ์วรรณาที่แอลจีเรีย(Algeria) (สงครามแห่งการปลดปล่อยของชาวแอลจีเรีย) เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อใช้ในการอธิบายทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ งานขิ้นนี้เป็นงานศึกษาทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และวัฒนธรรมศึกษา เหมาะสำหรับนักศึกษา นักวิจัยที่สนใจแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาโดยเฉพาะประเด็น ฮาบิทัส (Habitus) สนาม (Field) “ทุน” (capital) |