Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
มอแกลน : ชาติพันธุ์ในประสบการณ์ของข้าพเจ้า | รุ่งโรจน์ ตั้งสุรกิจ | กรุงเทพฯ : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกยุติธรรมและสันติ(ยส.), 2559 | Sac Journal | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068002 | การบอกเล่าถึงเรื่องราวของเหตุการณ์การสนทนาระหว่างหญิงสาวชาวมอแกลนคนหนึ่ง ซึ่งพบเจอระหว่างการประชุมสรุปบทเรียนเรื่องการป้องกันและการเตรียมรับมือภัยธรรมชาติ หลังการเกิดภัยธรรมชาติ สึนามิ 2 - 3 ปี เป็นการพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวมอแกลน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมและประเพณีทางความเชื่อของชาวมอแกลนที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงเรื่องราวของมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ซึ่งชาวไทยอื่น ๆ มักจะเรียกพวกเขาว่า “ชาวเล” ชื่อที่เป็นทางการ คือ “ไทยใหม่” แต่อย่างไรก็ตามชาวมอแกลนจะเรียกตนเองว่า “มอแกลน” เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ไม่เรียกตนเองว่าชาวเล หรือไทยใหม่ |
มารู้จักเรา-เด็กเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย | นฤมล อรุโณทัย...[และคณะ], บรรณาธิการ | กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2559 | online | https://issuu.com/chaolaynews/docs/____________________________________7c2679c31a0a36 | หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับเด็ก ๆ ชาวมอแกน ชาวมอแกลน และชาวอูรัก ลาโว้ย ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่อาศัยและมีวิถีชีวิตอยู่ตามชายฝั่งและอยู่ในหมู่เกาะอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายคือเด็ก ๆ ที่ไม่คุ้นเคยกับกลุ่มชนพื้นเมืองในไทยมากนัก และยังมีภาพประกอบจากฝีมือการวาดของเด็กชาวเลที่ร่วมด้วยช่วยกันสื่อสารออกมาเป็นภาพให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของตน ที่แม้จะมีสิ่งแวดล้อม ภาษา วัฒนธรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ แต่เด็ก ๆ เหล่านี้ก็มีบ้าน มีครอบครัวเครือญาติ การทำมาหากิน การทำอาหาร ศิลปะ ดนตรี งานฝีมือและการละเล่นต่าง ๆ ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป |
ประวัติชุมชนและเส้นทางเรียนรู้วัฒนธรรมบ้านบางสัก ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. | นฤมล อรุโณทัย, อุษา โคตรศรีเพชร, กิ่งแก้ว บัวเพชร และพลาเดช ณ ป้อมเพชร | กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | SAC Library-Books-DS570.ช67 น444 2549 and online | https://andamanproject.org/wp-content/uploads/2017/07/ประวัติและเส้นทางบางสัก-ปก-สารบัญ.pdf | อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลประวัติชุมชน และเส้นทางเรียนรู้วัฒนธรรมของบ้านบางสัก ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยเนื้อหาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ประวัติชุมชนบ้านบางสัก ได้แก่ พัฒนาการของชุมชน ภูมินิเวศ ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทางจิตวิญญาณ นิเวศวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การทำเหมือง การเปลี่ยนแปลงของชุมชน ชุมชนมอแกนหลังภัยพิบัติสีนามิ และคลื่นการท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 คือ เส้นทางการเรียนรู้วัฒนธรรมบ้านบางสัก ทั้ง 13 เส้นทาง ข้อมูลดังกล่าวได้เพื่อสร้างความภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนที่กำลังเผชิญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อชุมชน ระบบนิเวศท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น รวมถึงเสริมสร้างการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านนิเวศวัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย |
ทักษะวัฒนธรรมชาวเล : ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน | นฤมล อรุโณทัย…[และคนอื่นๆ] | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2557 | SAC Library-Books-DS570.ช67ท62 2557 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088242 | หนังสือเล่มนี้เป็นงานศึกษาที่ได้จากการสัมภาษณ์ผ่านแบบสอบถามจำนวน 100 ข้อ โดยกลุ่มชาวเลที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งและอยู่ในหมู่เกาะอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทยมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มชาวมอแกน กลุ่มชาวมอแกลน และกลุ่มชาวอูรัก ลาโว้ย เนื้อหาในการศึกษาครอบคลุมทั้งทางด้านที่มา ประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต การทำมาหากิน ประเพณี ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเลในแต่ละด้านตั้งแต่อดีตมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวเลในปัจจุบัน ซึ่งกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ชาวเลในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ |
วิกฤตชาวเล ใต้วิถีอันดามัน | ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล | กรุงเทพฯ : สารคดี, 2556 | SAC Journal | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00060237 | เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ทั้งมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้ซึ่งดำรงวิถีชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเล หรือตามหมู่เกาะต่างๆ เกิดผลกระทบในการดำรงชีพด้วยวิธีจับปลา หรือสัตว์น้ำต่างๆ ต้องประสบปัญหาทั้งในเรื่องการประกาศเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล การรุกล้ำของกลุ่มนายทุนหรือกลุ่มเอกชน จนกระทั้งการท่องเที่ยวที่กำลังจะทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ชาวเลในแถบทะเลอันดามันกำลังจะหดหายไป ซึ่งส่งผลให้กลุ่มชาวเลในแถบทะเลอันดามันจำเป็นที่จะต้องดิ้นรนออกไปในพื้นที่ที่ใกล้จากชายฝั่งมากยิ่งขึ้น จำเป็นที่จะต้องดำน้ำในระดับความลึกที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อจำเป็นต่อการหาปลาหรือสัตว์ทะเล ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาทางสุขภาพนั้นคือ โรคน้ำหนีบ อีกทั้งบางรายจำเป็นที่จะต้องละทิ้งอาชีพประมงและหันมาทำอาชีพด้านการท่องเที่ยวเสียส่วนใหญ่ |
วันรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ปีที่ 3 : งานเสวนา กิจกรรม และสรุปความคิดเห็นต่องาน | น้ำมล อรุโณทัย, นุชรี วงศ์สมุทร, อุษา โคตรศรีเพชร และ นฤมล อินทสร. | กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | SAC Library-Books-DS570.ช67ว63 2556 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081112 | หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกและสรุปผลการจัดเวทีเสวนาวิชาการ “วิกฤต วิถีชาวเล” ที่จัดขึ้นเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อปัญหาที่เป็นวิกฤตของชาวเลโดยองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลประกอบไปด้วย ชาวมอแกน ชาวมอแกลนและชาวอูรัก ลาโว้ย พวกเขาเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งและในเกาะฝั่งทะเลอันดามันมาช้านาน และยังมีการสรุปบรรยากาศและกิจกรรมภายในงานวันรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ 2555 ณ ชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ให้พี่น้องชาวเลทั้ง 3 กลุ่มได้มีโอกาสมาพบปะญาติพี่น้องและเพื่อนชาวเลด้วยกัน รวมทั้งยังมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเพณีและวิถีชีวิตของชาวเล การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากหมู่บ้านชาวเล กิจกรรมการละเล่นแข่งขัน การขายของที่ระลึก และมีการจัดเสวนา “2 ปีมติครม. ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล: กับความจริงในพื้นที่”เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องชาวเล และมีการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับงานวันรวมญาติฯ เพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องนำไปวิเคราะห์และปรับใช้ในการจัดงานวันรวมญาติฯ ครั้งต่อไป |
วิกฤติ วิถีชาวเล | ปรีดา คงแป้น, บรรณาธิการ | กรุงเทพฯ: มูลนิธิชุมชนไท, 2555 | SAC Library-Books-DS570.ช67ว633 2555 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00082819 | กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทยประกอบไปด้วย กลุ่มมอแกน, กลุ่มมอแกลน และกลุ่มอูรักราโว้ย ทั้งสามกลุ่มกำลังได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่อันดามันให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงคนพื้นเมืองดั้งเดิม ชาวเลถูกบีบให้ออกจากที่อยู่อาศัยรวมไปถึงการใช้ทรัพยากรจากทะเล แม้จะมีการศึกษาวิจัยรองรับว่าชาวเลอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพราะชาวเลถูกปฏิบัติเสมือนเป็นพลเมืองชั้นสองในประเทศไทย เช่น การที่ต้องจ่ายค่าสาธารณูปโภคที่แพงกว่าถึง 2-3 เท่า นอกจากนี้ชาวเลยังถูกบุกรุกพื้นที่ทางจิตวิญญาณด้วยการถูกอ้างสิทธิ์ครอบครองโดยนายทุนเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว การจะประกอบพิธีกรรมใด ๆ จะต้องทำการขออนุญาตผู้อ้างสิทธิ์ครอบครองที่ดินเสียก่อน ทำให้ชาวเลต้องเผชิญความรู้สึกไม่มั่นคงในการดำรงชีวิตจากอคติของคนในสังคม |
มติ ครม. ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล: สิ่งท้าทายบนเส้นด้ายแห่งความเข้าใจ | จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์. | กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | SAC Journal | http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063343 | กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไป ได้แก่ “มอแกน” กลุ่มชาวเลที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะเหลา เกาะพยาม เกาะช้างในจังหวัดระนอง และหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต “มอแกลน”กลุ่มชาวเลที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะพระทองและหมู่บ้านชายฝั่งทะเลพังงาและภูเก็ต “อูรักลาโว้ย” กลุ่มที่อาศัยอยู่บนบริเวณเกาะและริมชายฝั่งทะเลอันดามัน ด้วยสภาพปัญหาที่ชาวเลต้องประสบพบเจอทั้งในเรื่องของที่ดินทำกิน การถูกกีดกันออกจากสิทธิเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ การไร้สัญชาติ ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับและการคุ้มครองทางกฎหมาย เหตุนี้จึงมีการรวมกลุ่มเครือข่ายนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้แทนชาวเลสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น จนกระทั้งได้รับความเห็นชอบเป็นมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล เพื่อเป็นสิทธิคุ้มครองที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลควรจะได้รับ ในบทความนี้จึงกล่าวถึงข้อปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตการทบทวนปัญหาในอดีต ข้อเสนอแนะเพื่อขับเคลื่อนงานฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเพื่อสิทธิที่ชาวเลควรจะได้รับอย่างเหมาะสม |
การวิจัยเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรีชาวเลมอแกนและมอแกลนในประเทศไทย | หน่วยปฏิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย | โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย เสนอต่อองค์กรแพลน (ประเทศไทย) | online | https://andamanproject.org/wp-content/uploads/2017/07/SRH-Report-th-ปก-สารบัญ.pdf | วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเลมีทั้ง 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ อุรักละโว้ย มอแกนและมอแกลน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเร่ร่อนมาจากมาฝั่งทะเลอันดามันและกระจัดกระจายกันอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ชาวเลความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งยังมีการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเลนั้นมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน วิจัยเล่มนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศและนามัยเจริญพันธุ์ของสตรีชาวมอแกนและมอแกลนในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ชุมชนคือ ชุมชนเกาะเหลาและเกาะช้างในจังหวัดระนอง ชุมชนบ้านน้ำเค็ม ทับตะวันและทุ่งหว้าในจังหวัดพังงา รวมถึงประเด็นและอุปสรรคต่างๆเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและความกังวลด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของชาวเลมอแกนและมอแกลนในการค้นหาข้อเสนอแนะและแนวนโยบายในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมกับวิถีวัฒนธรรมของชาวมอแกนและมอแกลน |
ความทุกข์ทางสังคมและการปรับตัวของผู้หญิงมอแกลนหลังภัยพิบัติสึนามิ | วรัญญา เกื้อนุ่น | ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | Thailis | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=303906&query= | วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเลหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่ม “มอแกลน” เป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเร่ร่อนมาจากฝั่งทะเลอันดามันเข้ามาปักหลักอยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณของบรรพชนและมีประเพณีใหญ่ที่เรียกว่า “ขอบุญหรือกินบุญเดือนสิบ” แต่กลับถูกกลบทับด้วยวัฒนธรรมของคนเชื้อสายไทยที่นับถือพุทธ คนเชื้อสายจีนและศาสนาอิสลามที่เป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอตะกั่ว จังหวัดพังงา จะเห็นได้จากเทศกาลกินเจ ศาลเจ้า วัดและมัสยิด จากกรณีศึกษาเกี่ยวกับ “ความทุกข์ทางสังคมและการปรับตัวของผู้หญิงมอแกลนหลังภัยพิบัติสึนามิ” พบว่ามีผู้หญิงมอแกลนจำนวนหนึ่งที่สูญเสียคนในครอบครัว ทรัพย์สินและที่อยู่อาศัย บางคนเมื่อสูญเสียลูกก็ได้เลิกรากับสามีไปเหมือนต่างใช้ต่างชีวิตและเลือกทางเดินของตนเองอีกครั้ง หลังจากเกิดภัยพิบัติใหญ่ในครั้งทำให้ผู้หญิงชาวมอแกลนรู้สึกเป็นทุกข์และท้อใจเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนานในการตั้งหลักและปรับตัวใหม่จนไม่มีใครที่อยากจะกล่าวถึงความสูญเสียในครั้งนั้นอีก |
การศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนหาของป่าล่าสัตว์ในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นฐาน: กลุ่มมานิ (ซาไก), มลาบรี (ตองเหลือง) และมอเกล็น | อิสระ ชูศรี | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.), 2553 | Online elibrary | https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG53H0003 | วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ กลุ่ม “มานิ” ในประเทศไทย ซึ่งส่วนมากคนไทยจะเรียกกันว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” เป็นกลุ่มชนเล็กกลุ่มหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยดำรงชีพโดยการหาของป่า ล่าสัตว์ หาหัวมันป่า กล้วยป่า ผลไม้ป่า จับปลาตามลำธารและล่าสัตว์เล็ก ชนกลุ่มนี้จะสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวด้วยพืชตระกูลปาล์มและอพยพถิ่นฐานไปในพื้นที่ที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ เงาะป่าหรือซาไกจะเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะผิวคล้ำ ริมฝีปากหนา ตาโต ผมหยิกหยอยและขมวดเป็นก้นหอย ภาษาที่ใช้จะเป็นภามอญ กลุ่มที่สองกลุ่ม “มลาบรี” หรือ ตองเหลือง คือคนป่าอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยโดยจังหวัดแพร่ น่าน ชนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตโดยการหาของป่า เช่น ผลไม้ หัวเผือก หน่อไม้ ฯลฯ และพักอาศัยอยู่ในเพิงที่มีแค่หลังคาไว้กันแดดกันฝนที่ทำจากใบไม้ขนาดใหญ่ มีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่เคยปรากฏเป็นตัวอักษร และกลุ่มที่สามกลุ่ม “มอแกล็น” อาศัยอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มชนอุรักละโว้ย ส่วนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันภายในพื้นที่มีทั้งภาษาไทย ภาษามอเก็น และภาษาอุรักละโว้ย |
การประชุมวิชาการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามมติคณะรัฐมนตรี “หลากหลายเรื่องชาวเล” | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ (องค์การมหาชน) | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ (องค์การมหาชน) | SAC Library-Audio Visual Materials-DVD-SAC 000700 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00080217 | การประชุมกล่าวถึงวิถีชีวิตทั่วไปของชาวเลที่กระจายตัวอยู่ตามชายฝั่งหรือเกาะอันดามัน มีวิถีชีวิตเคลื่อนย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาล และกล่าวถึงปัญหานายทุนที่เข้ามาในพื้นที่ และปัญหาต่างๆ ที่ทำให้วัฒนธรรมของชาวเลกลายไปเป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์อาจทำให้พวกเขากลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้นจนสูญเสียวัฒนธรรมพื้นเมืองเหล่านี้ไป จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูเพื่อรักษาชุมชนชาวเลไว้ ซึ่งการให้ชาวเลเรียนรู้ถึงความสำคัญของอัตลักษณ์ของตัวเองและนำความรู้มาพัฒนาในวิถีชีวิตประจำวันทำให้ยังตระหนักถึงตัวตนของกลุ่มตัวเองได้ และที่สำคัญคือคนภายนอกควรที่จะทำความเข้าใจชาวเลมากกว่าการตัดสินพวกเขาด้วยอคติ เพื่อให้เข้าใจชาวเลในหลากหลายมิติเพื่อให้และเพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับความต้องการของชาวเล แต่ละฝ่ายทั้งรัฐบาลและชุมชนชาวเลจะต้องทำงานประสานกัน และทำงานด้วยความเข้าใจเพื่อให้การพัฒนาและฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลนั้นสามารถทำได้อย่างราบรื่น |
พลวัตชาติพันธุ์ภาคใต้: ผู้คนและชุมชนบริเวณเกาะและชายฝั่งอันดามัน = Southern ethic dynamism: the Andaman littoral and marine populations :รวมบทความจากการเสวนา 28 พฤศจิกายน 2551 ณ ห้องประชุมชั้น 4 ตึกวิศิษฐ์ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | การเสวนาพลวัตชาติพันธุ์ภาคใต้: ผู้คนและชุมชนบริเวณเกาะและชายฝั่งอันดามัน (2551 : กรุงเทพฯ) | สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | SAC Library-Books-GN635.ท9ก65 2551 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063985 | เอกสารชิ้นนี้เป็นการรวบรวมบทความวิจัยจากเวทีสัมมนาเรื่อง “พลวัติชาติพันธุ์ภาคใต้: ผู้คนและชุมชนบริเวณเกาะและชายฝั่งอันดามัน” ซึ่งจัดขึ้นในปี พ.ศ 2552 โดยนักวิชาการจากสถาบันวิจัยเอเชียอาคเนย์ร่วมสมัย (IRASEC) ร่วมกับนักวิชาการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบทความวิจัยที่ถูกรวบรวมมา อาทิ งานศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนชาวมอแกนที่หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา งานศึกษาประเพณี พิธีกรรมในชุมชนมอแกลน หรืองานศึกษาพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น ล้วนมุ่งเน้นการศึกษาการให้ความหมายของความเป็นชาติพันธุ์ที่ยืดหยุ่นเป็นพลวัต โดยในอดีต กลุ่มชาวเลซึ่งอาศัยอยู่ริมชายฝั่งและในหมู่เกาะอันดามันนั้นไม่มีการปักหลักถิ่นฐานที่อยู่อาศัยที่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่อยู่อาศัยไปตามสภาพแวดล้อม ต่างจากในปัจจุบันที่การสร้างรัฐชาติได้พยายามที่จะกีดกัน ผสมผสานและกลืนกลายความเป็นชาติพันธุ์ดังกล่าวจนทำให้กลุ่มชาวเลเริ่มปักหลักสร้างถิ่นฐานที่อยู่อย่างถาวร อันนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงและปัญหาหลายประการ |
สิทธิและผลประโยชน์ของชุมชนในสังคมไทย: กรณีศึกษากรรมสิทธิ์ที่ดินหลังสึนามิของชาวมอแกลนหมู่บ้านทุ่งหว้า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา | เกศินี ทองทวีวิวัฒน์ | เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์การเมือง | Online Thailis | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=114517&query= | วิจัยเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ชาวเล หรือ “ชาวมอแกลน” ซึ่งเป็นคนกลุ่มหนึ่งใน 3 กลุ่มของชาวเลประกอบด้วย อูรักลาโว้ย มอแกนและมอแกลน ชาวมอแกลนเป็นกลุ่มคนที่อพยพเร่ร่อนมาจากทางฝั่งทะเลอันดาและได้ปักหลักอาศัยแถบฝั่งตะวันตกของประเทศไทยในจังหวัดพังงา มีวิถีที่ผูกพันกับทะเลและมีภาษาพูดเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน ชาวเลกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่องวิญญาณในธรรมชาติ ปัจจุบันกลุ่มคนนี้มีประเพณีวัฒนธรรมที่สามารถผสมผสานเข้ากับคนพื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นและยังได้รับสัญชาติไทยและมีบัตรประชาชน จากกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจากการเกิดสึนามิครั้งใหญ่ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547ของชาวมอแกลนหมู่บ้านทุ่งหว้า ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิตและได้รับความเสียหาย ปัญหาที่ชาวมอแกลนได้รับหลังจากภัยพิบัติครั้งนี้ คือ ชาวเลกลุ่มนี้ไม่สามารถกลับไปสร้างบ้านในที่ดินเดิมได้เพราะองค์กรบริหารส่วนตำบลไม่อนุญาตโดยชี้แจ้งว่าจะใช้พื้นที่ในการก่อสร้างโรงพยาบาลที่ได้รับเงินบริจาคจากรัฐบาลเยอรมัน |
คลื่นแห่งความยุ่งยากบนเกาะพระทอง | โอลิเวียร์ แฟร์รารี, นฤมล หิญชีระนันทน์, กุลทรัพย์ อุดพ้วย และจ๊าค อีวานอฟ. | กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง, 2549 | SAC Library-Research and Thesis-DS570.ช67ฟ84 2549 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051994 | นำเสนอผลการวิจัยชุมชนชาวเลมอแกลน เกาะพระทอง จังหวัดพังงา เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ การทำมาหากิน การถือครองที่ดิน วัฒนธรรม พิธีกรรม การศึกษาเรียนรู้ของชุมชนก่อนที่จะลงมือดำเนินงานฟื้นฟูหลังเหตุภัยพิบัติสึนามิ เนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องแผนภูมิลำดับญาติวงศ์ ประวัติความเป็นมาและวิถีปัจจุบัน พลวัตทางเศรษฐกิจสังคมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ คำบอกเล่า กลุ่มชนพม่าที่ท่าแป๊ะโย้ย ส่วนที่สองเป็นเรื่องสิทธิ์ในที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์และการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน และส่วนที่สาม เป็นเรื่องความต้องการเกี่ยวกับการศึกษาและเรียนรู้สำหรับชุมชน ซึ่งมีทั้งเรื่องโรงเรียน ครู ทุนการศึกษา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโรงเรียน การศึกษานอกระบบ ความรู้พื้นบ้านและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ |
เอกสารหมายเลข 2 โครงการต้อยติ่ง: แนวทางแก้ไขปัญหาความมั่นคงของมนุษย์และชุมชน – พื้นที่นำร่องของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล | นฤมล อรุโณทัย, พลาเดช ณ ป้อมเพชร, อรุณ แถวจัตุรัส ฟาเทอร์, และจีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ | โครงการนำร่องอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | online | https://andamanproject.org/wp-content/uploads/2017/07/เอกสารต้อยติ่ง2.pdf | โครงการต้อยติ่ง เป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์และคนชายขอบให้กับบุคคลทั่วไป เอกสารเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาของรัฐไทยเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐและเศรษฐกิจระดับประเทศมากเกินไป จนทำให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ชนบทและการเกษตรกรรมถูกละเลย เป็นผลให้สังคมโดยรวมสั่นคลอน แม้กระทั่งสังคมคนชายขอบอย่างชุมชนชาวเล ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งและอยู่ในหมู่เกาะอันดามันทางภาคใต้ของไทยต่างล้วนประสบปัญหาความไม่มั่นคงของชุมชนเช่นเดียวกัน ทั้งปัญหาการไร้รัฐ การเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน/การรักษาพยาบาล และความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ทว่าบางปัญหาก็ยังคงอยู่ โครงการต้อยติ่งจึงมีข้อเสนอให้ใช้แนวคิดความมั่นคงของมนุษย์และชุมชนมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวแทน อาทิ แนวคิดเรื่องบัตรรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน กองทุนเสริมสร้างความมั่นคง และแนวคิดการจัดตั้งเขตสังคมและวัฒนธรรมพิเศษ |
คนพื้นเมืองกับพื้นที่อนุรักษ์ โครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์ | โครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์ | กรุงเทพฯ :สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2546. | SAC Library-Books-DS570.ช67ค49 2546 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036699 | หนังสือ "คนเมืองกับพื้นที่อนุรักษ์" เป็นการสรุปย่อโครงการนำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์ ที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาทางเลือกการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้การดำรงอยู่ของชุมชนและวัฒนธรรมมอแกนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและบ้านของมอแกน โดยเนื้อหาในหนังสือเป็นการสรุปกิจกรรมที่ทางโครงการฯได้ดำเนินการไปหลายโครงการ และมีเนื้อหาในแง่มุมต่างๆ ของมอแกนสอดแทรกอยู่ในหนังสือด้วย ทั้งประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต สุขภาพ ศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพสังคมของมอแกนที่เปลี่ยนแปลงไป ชาวเล (มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย) ทั้ง 3 กลุ่มพูดภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน แต่ละกลุ่มจะมีภาษาย่อยของตนเองที่เป็นภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนหรือการบันทึกที่เป็นตัวอักษร เมื่อชาวเลตั้งถิ่นฐานถาวรจึงหันมาซึมซับวัฒนธรรมและภาษาไทยมากขึ้น เด็กชาวเลอูรักลาโว้ยรุ่นใหม่ในชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต เปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยปักษ์ใต้ในการติดต่อสื่อสาร ส่วนเด็กมอแกนเองเมื่อเข้ามาสู่การเรียนการสอนในระบบโรงเรียนก็หันมาใช้ภาษาไทย และเปลี่ยนจากที่เคยร้องเพลงมอแกนมาร้องเพลงยอดนิยมภาษาไทยแทน |
สารนิพนธ์เอกสารรายงานภาคสนามเรื่องประวัติความเป็นมาและแนวทางการพัฒนาอาชีพชาวไทยใหม่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา | ผ่อง กำลังดัสนะ | กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, 2529 | SAC Library-Research and Thesis-DS570.ช67ผ5 2529 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046432 | ศึกษาถึงประวัติความเป็นมา สภาพวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงความต้องการและแนวทางการพัฒนาด้านอาชีพของชาวไทยใหม่ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ชาวไทยใหม่ในตำบลเกาะพระทองนั้น เป็นชาวไทยใหม่พวก "มาซิง" หรือเผ่าสิงห์ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตั้งแต่หมู่ที่ 1- 4 คือ บ้านทุ่งดาบ บ้านท่าแป๊ะโย้ย บ้านเกาะระ และบ้านปากจก มีวิถีชีวิตเร่ร่อนในเรือผูกพันกับทะเลมาแต่ในอดีต แม้จะขึ้นมาตั้งบ้านเรือนบนก็ยังคงดำรงชีพด้วยการหาของจากทะเลไปขายหรือแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าสิ่งของ แม้จะขึ้นมาอยู่บนบกแล้วก็ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งด้านค่านิยม คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ยกเว้นรูปแบบบางอย่างที่ได้รับอิทธิพลจากสังคมและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองเข้ามามีบทบาทชาวไทยใหม่มีอาชีพหลักซึ่งชายหญิงแบ่งหน้าที่กันชัดเจนคือ ผู้ชายตกปลาวางราวเบ็ด ผู้หญิงเก็บหอยชักตีน หาปลิงทะเลมาทำแห้งขาย สำหรับการส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพ ผู้ชายอยากให้ส่งเสริมอาชีพการวางราวเบ็ดตกปลา ส่วนผู้หญิงอยากให้ส่งเสริมอาชีพการทำปลิงทะเลแห้งขาย ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำอยู่แล้วและมีความชำนาญถนัดในเรื่องดังกล่าว แนวทางการส่งเสริมพัฒนาอาชีพชาวไทยใหม่ กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้ 1 ส่งเสริมด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น พัฒนาเรือหางยาวในการวางราวเบ็ดตกปลา ส่งเสริมโรงเรือนหุงต้มปลิง 2. ส่งเสริมกรรมวิธีการผลิตให้สะอาด ถูกสุขอนามัย พร้อมจัดหาภาชนะกองกลางแบบอุตสาหกรรมขนาดย่อม 3. ส่งเสริมด้านเงินทุน จัดให้มีสหกรณ์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ (เพื่อการผลิต) การจัดตั้งกลุ่มอาชีพชาวไทยใหม่ควบคู่กัน รวมถึง การจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านหรือกลุ่มสตรีอาสาพัฒนา |