Title Author Imprint Collection Url Annotation
ด่านซ้ายกรีนเนท : ผู้หญิง เกษตรทางเลือกและปฏิบัติการทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอกรินทร์ พึ่งประชา...[และคนอื่นๆ]. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), 2562 Book: S494.5.S86 ด63 2562 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097650 หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากการทำวิจัยเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรในหมู่บ้านก้างปลาและบ้านนาหมูม่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในการทำเกษตรทางเลือกด้วยระบบเกษตรปลอดภัยควบคู่กับการปลูกไม้ผลยืนต้น การให้ความรู้ในการจัดการผลิต รวมถึงพัฒนาระบบตลาดพืชผักปลอดภัยมาตรฐานด่านซ้ายกรีนเนท โดยระบบประกันอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งจากผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างการทำงานเชิงบูรณาการในท้องถิ่นผ่านตลาดสีเขียวด่านซ้าย และบทบาทของผู้หญิงในการขับเคลื่อนชุมชนผ่านกระบวนการจัดการตลาดพืชผักปลอดภัย  ท้ายที่สุด คณะผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะจากการวิจัยปฏิบัติการเพื่อให้ชาวบ้านสามารถทำการเกษตรและพัฒนาผลผลิตได้อย่างยั่งยืน
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ว่าด้วยแนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน สุนทรชัย ชอบยศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, วิทยาลัยการเมืองการปกครอง, โครงการผลิตและเผยแพร่ตำราและผลงานวิชาการ , 2562 Book: DS589.พ65 ส73 2562 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097388

     หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและแนวทางการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน  โดยกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 
1. การสร้างความตระหนักและสำนึกรักท้องถิ่น และการต่อสู้กับอำนาจรัฐและทุนภายนอก
2. การใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการเสริมสร้างการท่องเที่ยวท้องถิ่น
3. การใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการเสริมสร้างการศึกษาของคนในท้องถิ่น 

ต่า เอาะ เลอะ คึ : อาหารในไร่หมุนเวียน สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2561 Book: S602.87 .ส46 2561 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094522

หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกิดขึ้นในไร่หมุนเวียนของชาวปกาเกอะญอ 3 ชุมชน ได้แก่ หมู่บ้านห้วยหินลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย หมู่บ้านแดลอ - เขล่อคี (แม่ลายเหนือ) อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหมู่บ้านแม่เหยาะคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนำเสนอเมนูอาหารโดยคนทำอาหารทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน รวมถึงนำเสนอความรู้ในการทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นการทำเกษตรกรรมรูปแบบหนึ่งที่ยั่งยืนและเกื้อกูลต่อระบบนิเวศตามความเชื่อของชาวปกาเกอะญอ ฤดูกาลในไร่หมุนเวียนนั้นจะสัมพันธ์กับฤดูกาลอาหารและฤดูกาลเพาะปลูกตามธรรมชาติ รวมถึงพิธีกรรมที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของธรรมชาติ อาหารในไร่หมุนเวียนจึงเป็นวัตถุดิบที่เสาะหาได้จากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบท้องถิ่นที่หาได้ตามฤดูกาล 

smart farmer : เกษตรทางเลือกและความมันคงทางอาหารหมู่บ้านก้างปลา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เอกรินทร์ พึ่งประชา. กรุงเทพฯ : บจก.รุ่งแสงธุรกิจการพิมพ์, 2560 Book: S544.5.ท9 อ72 2560 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094885

หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากการทำวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างศักยภาพของครัวเรือนในระบบการผลิตอาหารทางการเกษตร ตั้งแต่การออกแบบชีวิตในการทำการเกษตร การวางแผนเพาะปลูก การจัดการกับผลผลิตทางการเกษตร การกระจายสินค้าเกษตรและแนวทางการทำการตลาดที่เป็นธรรม ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อหาข้อสรุปเป็นเครื่องมือชี้วีดปัจจัยและเงื่อนไขของครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ก่อนพัฒนาสู่หมู่บ้านเกษตรต้นแบบ และการสร้างสมาร์ทฟาร์มเมอร์ โดยเลือกหมู่บ้านก้างปลา ตำบลด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นพื้นที่ในปฏิบัติการ 

แผนยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมันโดยเครือข่ายทางสังคม เอกรินทร์ พึ่งประชา...[และคนอื่น ๆ]. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2560 Book: TC513.ท9 อ72 2560 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095793

“ลุ่มน้ำหมัน” เป็นพื้นที่สำคัญทางการเกษตรและอุปโภคบริโภคของชาวบ้านในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยมีพื้นที่ราว 600 ตารางกิโลเมตร การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำหมันโดยเครือข่ายทางสังคมจึงจำเป็นต้องศึกษาความสำคัญของลุ่มน้ำหมัน ระบบนิเวศของลุ่มน้ำหมัน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำหมัน ทั้งนี้ จากการประชุมเพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำซึ่งสถานการณ์น้ำนั้นมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของป่าต้นน้ำ และเชื่อมโยงกับระบบนิเวศอื่น รวมถึงศักยภาพของชุมชนด้านการจัดการฐานทรัพยากรอาหารที่มีความสัมพันธ์กับวิธีคิดเรื่องการจัดการลุ่มน้ำในชุมชน ตลอดจนการจัดการป่านและป่าต้นน้ำที่มีส่วนสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารของชุมชนอีกด้วย 

 

วงศาวาทกรรมกับการเปลี่ยนผ่านของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง : การพัฒนาภาวะ ด้อยพัฒนากับการพัฒนาวิถีทางเลือกที่ยั่งยืน เกตุชพรรณ์ คำพุฒ - Journal: วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง ปีที่ 12, ฉบับที่ 3 (ก.ย./ธ.ค. 2559), หน้า 131-166 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067902

     บทความนี้ศึกษาบทบาทของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในฐานะองค์กรระหว่างรัฐแห่งภูมิภาคที่มีต่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงด้วยการอธิบายการจัดตั้ง โครงสร้าง บทบาท และผลกระทบจากการพัฒนา โดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงประกอบด้วยประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม
     ทิศทางการพัฒนาภายใต้บทบาทร่วมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจึงจำเป็นต้องทบทวนการขยายอำนาจต่อทิศทางการพัฒนาในอนุภาคแม่น้ำโขงรวมถึงเงื่อนไขสำคัญที่ควรคำนึงถึงได้แก่ บริบททางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ระเบียบวาระการพัฒนาขององค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ และประเด็นท้าทายของการพัฒนาร่วมสมัยทั้งในอนุภาคและระดับโลก ตลอดจนปฏิบัติการที่ฝังตัวกับทุกภาคส่วนของประเทศสมาชิกทั้งในระดับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่นในฐานะของผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและนิเวศวิทยา และในทุกมิติการพัฒนาต้องหนุนเสริมความเป็นธรรมทางสังคมเพื่อให้ทุกภาคส่วนไม่ถูกทิ้งไว้ในพื้นที่ชายขอบของการพัฒนา 

 

การเข้าให้ถึงสิทธิชุมชน : การมีสิทธิ มีเสียง และมีส่วนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนและประชาชน ปัทมา สูบกำปัง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2559 Book: JC571 .ป632 2559 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093734

     หนังสือเรื่องนี้เป็นรายงานการวิเคราะห์การเข้าถึงสิทธิชุมชนใน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดน่าน จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพะเยา โดยมีการทบทวนความรู้เรื่องสิทธิชุมชนตามที่กฎหมายกำหนดและบริบทในสังคมไทย รวมถึงวิเคราะห์การเข้าถึงสิทธิชุมชน ผ่านช่องทาง กลไกหรือมาตรการในการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน เพื่อการปกป้อง ดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
     ผลการศึกษาสามารถจำแนกการเข้าถึงสิทธิชุมชนออกเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่
1. สิทธิชุมชนซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าชุมชนศิลาแลง ในพื้นที่ชุมชนศิลาแลง จังหวัดน่าน, กว๊านพะเยา ในพื้นที่ชุมชนรอบกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา, และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรวมถึงสัตว์น้ำ ในพื้นที่ชุมชนท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การใช้สิทธิชุมชนในกลุ่มนี้มุ่งเน้นที่สิทธิในการบริหารจัดการและฟื้นฟูเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกของชุมชนและสังคมโดยรวมในระยะยาว ในลักษณะ “ความสมดุลและยั่งยืน”
2. สิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการ บำรุงรักษา คุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก ชุมชนเหนือเหมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อเข้าถึงสิทธิของประชาชนในชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม จากการประกอบการทางธุรกิจของภาคเอกชน 

หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จินตวีร์ เกษมศุข. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 Book: HN700.C6จ62 2557 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084115

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหลักการและรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงความหมายและหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนนำเสนอผลจากการสกัดบทเรียนในชุมชนบ้านจำรุง ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งมีความโดดเด่นในการนำหลักการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาชุมชน โดยจัดทำเป็นแบบจำลองการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านจำรุงเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน 

แนวทางการฟื้นฟูชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัญญา เทพสิงห์และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร - Journal: มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ปีที่ 30, ฉบับที่ 2 (พ.ค./ส.ค. 2556), หน้า 43-64 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00048029

     บทความนี้นำเสนอแนวทางการการฟื้นฟูชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกล่าวถึงการค้นหาคุณค่าและทุนชุมชนที่มีความหมายและสามารถนำมาใช้ได้ ได้แก่ ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนภูมิปัญญาแบะทุนทางสังคม ซึ่งทุนชุมชนเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันและเป็นปัจจัยช่วยเสริมสร้างความเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง การฟื้นฟูชุมชนจึงต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของทุนชุมชนทั้งระบบ
     นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันจึงนำไปสู่สภาพที่แตกต่างของชุมชน 3 ระดับ ได้แก่ ชุมชนดั้งเดิม ชุมชนสมัยใหม่หรือชุมชนทันสมัย และชุมชนหลังสมัยใหม่ การทำความเข้าใจรูปแบบชุมชนที่แตกต่างกันย่อมนำไปสู่แนวทางการพัฒนาชุมชนในรูปแบบที่เหมาสม โดยการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต้องพิจารณาในมิติที่หลากหลายทั้งเศรษฐกิจ ธรรมชาติ สังคม จิตสาธารณะ การศึกษาและเทคโนโลยี 

Governmentality ในวาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน : การบริหารจัดการชุมชน (เข้มแข็ง) ของรัฐไทยสมัยใหม่ รัชนี ประดับ - Journal: รัฐศาสตร์สาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 3 (ก.ย./ธ.ค. 2556), หน้า 188-245 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00048425

     บทความนี้กล่าวถึงการให้ความหมายของคำว่า “Governmentality” โดยศึกษาจากทัศนะของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นแนวคิดที่รัฐต้องบริหารจัดการชีวิตของประชาชนโดยอาศัยกลไกของอำนาจในการจัดการกับชีวิตและร่างกาย 
     การขยายบทบาทของประชาชนในรูปแบบรัฐสมัยใหม่ส่งผลให้เกิดความพยายามของรัฐไทยในการส่งเสริมบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ทั้งการกระจายอำนาจ, สิทธิชุมชน, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ในรูปแบบชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นวิทยาการอำนาจของรัฐสมัยใหม่ในการบริหารจัดการชีวิตของประชาชน อันเป็นแนวทางให้คนในชุมชนรับผิดชอบต่อครอบครัวและชุมชนของตนเอง จนกลายเป็นสำนึกและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเกิดขึ้น วาทกรรมการพึ่งตนเองของชุมชนในแง่สิทธิของชุมชน และความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาแบบเสรีนิยมใหม่จึงอาจตีความในฐานะวิธีการของรัฐที่บริหารจัดการชีวิตประชาชนภายใต้การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 

สิทธิชุมชน : สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น อภิชาติ ใจอารีย์. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์, 2556 Book: JC599.ท9อ46 2556 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00083327

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง “สิทธิชุมชน” ตามความหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ และแนวคิดที่กล่าวถึงสิทธิชุมชนในบริบทของสังคมไทย รวมถึงสิทธิชุมชนในการจัดการกับทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้กรณีศึกษาชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการป่าในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านพุเตย ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติสูงและชาวบ้านในชุมชนมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากป่าชุมชนทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ การจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตยเป็นการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สมาชิกในชุมชนตระหนักในการเป็นเจ้าของป่าชุมชนและทรัพยากรท้องถิ่น ตลอดจนได้รับการสนับสนุนและการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก 

ความมั่นคงทางอาหาร : แนวคิดและตัวชี้วัด ศจินทร์ ประชาสันติ์. นนทบุรี : มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI), 2555 Book: S544.5.ท9ศ26 2555 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077624

     หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อทบทวนวรรณกรรมว่าด้วยการพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากรอบแนวคิดและดัชนีความมั่นคงทางอาหารจากฐานความเข้าใจและบริบทของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) 
     เนื้อหาของหนังสือกล่าวถึงความหมายของความมั่นคงทางอาหารในมิติต่างๆ  เช่น ความมั่นคงทางอาหารในมิติจิตวิทยาและสังคม ความมั่นคงทางอาหารในมิติชุมชน ความมั่นคงทางอาหารในมิติสิทธิทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหารในมิติอธิปไตยทางอาหาร ความมั่นคงทางอาหารในมิติวัฒนธรรม และความไม่มั่นคงทางอาหาร รวมถึงกรอบการพัฒนาเครื่องมือและดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหารที่เหมาะสมในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน

นวัตกรสังคมคลองพน : ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถวิลวดี บุรีกุล, หัวหน้าคณะวิจัย ; สุธิดา แสงเพชร, นิติยา โพธิ์นอก, ชื่นจิตต์ ปัญจนุวัฒน์, นักวิจัย กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 2555 Book: HN700.55.Z9C6ถ56 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081591

หนังสือเรื่องนี้กล่าวถึงการศึกษาทุนทางสังคมของนวัตกรสังคม ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยจัดเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2553 มีการจัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์และจัดทำแผนที่เดินดิน ซึ่งช่วยให้เห็นทุนทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน ข้อมูลที่ได้จากนวัตกรสังคมนี้นำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคมที่สามารถนำมาเป็นฐานของการพัฒนาต่อไปได้ 

ปฏิรูปเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร : บทวิเคราะห์ และปฏิบัติทางนโยบาย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ กรุงเทพฯ : มูลนิธิชีววิถี, 2554 Book: S494.5.ว63 2554 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073885

รวมบทความจำนวน 21 เรื่อง ที่เกี่ยวเนื่องกับบทวิเคราะห์ทางเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร โดยผู้เขียนได้จัดกลุ่มของเนื้อหาและแบ่งได้เป็น 6 ภาค ได้แก่
1. พันธุ์พืชและทรัพยากรชีวภาพ รวมบทความ 4 เรื่องที่กล่าวถึงนโบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพันธุ์พืชและผลกระทบ
2. สารเคมีการเกษตร บทความจำนวน 2 เรื่องที่กล่าวถึงปัญหาจากการใช้สารเคมี การเคลื่อนไหว และการควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3. เอฟทีเอกับเกษตรกรรมไทย  รวมบทความจำนวน 6 เรื่อง ที่กล่าวถึงบทเรียนการต่อสู้และผลกระทบของภาคเกษตรกรรมและประชาชนภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี รวมถึงข้อตกลงอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. ทางเลือกเกษตรกรรมและอาหาร บทความจำนวน 2 เรื่องที่กล่าวถึง วิถีเกษตรกรรมความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนในยุคโลกาภิวัฒน์
5. ข้อเสนอทางนโยบาย  บทความจำนวน 5 เรื่อง ที่กล่าวถึงการเมืองและนโยบายสาธารณะที่มีต่อฐานทรัพยากร ระบบเกษตรกรรม และวิกฤตการณ์อาหาร
6. ขบวนการประชาชน บทความจำนวน 2 เรื่อง ที่กล่าวถึงการต่อสู้ของขบวนการเกษตรกรรมภาคประชาชนต่อสถานการณ์เกษตรกรรมและการค้าโลก 

พิธีเลี้ยงผีน้ำประปาภูเขา : การสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ใหม่ ภูมิปัญญาปกาเกอะญอ..ปัจจัยนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี - Journal: วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 31, ฉบับที่ 82 (ม.ค./เม.ย. 2553), หน้า 19-25 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00057750

     บทความนี้กล่าวถึงพิธีเลี้ยงผีน้ำของชาวปกาเกอะญอ บ้านดอกแดง ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงความเคารพ ขอบคุณ และอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ชาวปกาเกอะญอนั้นมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติและแสดงออกถึงความสัมพันธ์ต่ออำนาจเหล่านี้ผ่านพิธีกรรม ข้อห้าม ข้อปฏิบัติและการดำเนินชีวิตที่สืบทอดความเชื่อกันต่อมา
     พิธีเลี้ยงผีน้ำประปาภูเขาจึงเป็นการนำความเชื่อที่เคยปฏิบัติในการเลี้ยงผีน้ำตามธรรมชาติมาปรับใช้กับการทำน้ำประปาภูเขา ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของทรัพยากรชุมชนรวมทั้งขยายแนวคิดการให้คุณค่าและความหมายเพื่ออธิบายการปรับใช้พิธีกรรมและการดูแลรักษาธรรมชาติ นำไปสู่การสร้างพลังแห่งจิตวิญญาณและความเป็นหนึ่งเดียวกันในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นการสร้างแนวทางที่นำสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน 

Green life, green community ปฏิบัติการยิ่งใหญ่ในชุมชนเล็กๆ ชุมชนสีเขียวพึ่งตนเอง ภัทรพร อภิชิต กรุงเพทฯ : สวนเงินมีมา, 2553 Book: HN700.55.Z9R8ภ63 2553 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00071335

หนังสือแนะนำชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ บ้านเกาะปอ จังหวัดกระบี่ บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายจากภูผามหานที จังหวัดชุมพร บ้านจำรุง จังหวัดระยอง บ้านสลักคอก จังหวัดตราด บ้านวังน้ำมอก จังหวัดหนองคาย ไฮ่อุ๊ยต๋าคำปาย และบ้านแม่ละนา จังหวัดแม่ฮ่องสอน และวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิม ตลอดจนมีกิจกรรมในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ไว้รองรับผู้ที่มาเยี่ยมเยือน การจัดการท่องเที่ยวตามวิถีวัฒนธรรมและทรัพยากรชุมชนจึงช่วยให้การท่องเที่ยวในชุมชนเหล่านี้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน 

พลวัตและการต่อรอง สิทธิ ในการจัดการทรัพยากร: กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ บ้านหนองหลัก อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน หทัยกานต์ สังขชาติ - Journal: วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปีที่ 21, ฉบับที่ 2(2552), หน้า 179-210 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00052760

     บทความนี้กล่าวถึงการจัดการทรัพยากรของชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านหนองหลัก อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทำให้ไม่สามารถใช้พื้นที่ป่าในการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตดั้งเดิมได้อีกต่อไป
     ชาวบ้านในชุมชนกะเหรี่ยงโปว์แห่งนี้ได้มีการปรับตัวในกระบวนการต่อรอง “สิทธิ” ในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากร ไม่ยอมรับต่ออำนาจของรัฐและกลไกของตลาดตามระบบทุนนิยมแต่ใช้จารีตประเพณีและการรวมกลุ่มกันต่อรองเพื่อให้เกิดการจัดสรรอย่างเป็นธรรม โดยเกิดการสร้างสิทธิขึ้นใหม่ผ่านกระบวนการจัดตั้งป่าชุมชน ซึ่งทำให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิ์ที่ถือครองและยังใช้ประโยชน์จากพื้นที่ไร่หมุนวียนเดิม พื้นที่ไร่หมุนเวียนปีปัจจุบันและพื้นที่ป่าใช้สอย โดยต้องไม่กระทบกระเทือนต่อพื้นที่ป่าชุมชน 

คลังความรู้แห่ง--ทศวรรษใหม่ วิจัยเพื่อสังคม : เอกสารรวบบทความประกอบการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 30ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรณาธิการ ธนะจักร เย็นบำรุง ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552 Book: HN700.55.Z9C6ก65 2552 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00067766

     หนังสือรวมบทความประกอบการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยบทความ 42 เรื่องใน 6 ประเด็นใหญ่ ได้แก่
1. คุณภาพชีวิตและความมั่นคงของมนุษย์
    นำเสนอสถานการณ์ด้านสิทธิของสตรี สิทธิของเยาวชน และสิทธิของแรงงาน ที่ต่อสู้ภายใต้ปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคม ตลอดจนกฎหมายและกลไกต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
2. มานุษยวิทยาวัฒนธรรม
    นำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมในกระแสการพัฒนา ทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาชุมชนและการจัดการทรัพยากรของชุมชนท่ามกลางกระแสทุนนิยม รวมถึงนโยบายของรัฐที่มีผลต่อการผสานทางวัฒนธรรม
3. พลังชุมชนและการขับเคลื่อนทางสังคม
    นำเสนอกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อแสวงหาหนทางจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมในการสร้างสิทธิชุมชน เพื่อสร้างความชอบธรรมและความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน
4. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะ
    นำเสนอข้อมูลและผลกระทบของนโนบายรัฐในด้านระบบประกันสุขภาพ ด้านนโยบายการจัดการน้ำ และด้านนโยบายการพัฒนาอีสาน
5. เศรษฐกิจพอเพียงกับการพึ่งตนเองของชุมชน
    นำเสนอเนื้อหาหลายแง่มุมเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งการวิพากษ์บทบาทของรัฐ การพัฒนาปัจจัยในการทำการเกษตรที่เหมาะสมต่อชุมชน และความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน
6. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยท้องถิ่น
    นำเสนอสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยภูมิปัญญาของชุมชน รวมถึงการจัดการที่มีส่วนร่วมของประชาชนและประชาสังคม 

พลังชุมชน : การจัดการป่าชุมชนที่ยั่งยืนและเป็นธรรม. อุ่นเรือน เล็กน้อย - Journal: วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 31, ฉบับที่ 1/2 (- 2551), หน้า 93-112 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063314

     บทความนี้กล่าวถึงพลังของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าที่ถูกใช้เป็นกรณีศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนร่มโพธิ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งชาวบ้านอพยพออกมาจากป่าโดยได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน แต่เกิดความขัดแย้งและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างกลุ่มชาวบ้าน จนกระทั่งเกิดการริเริ่มกิจกรรมป่าชุมชนและให้ผู้นำกลุ่มของแต่ละ   ชุมชนเป็นกลไกในการสร้างความไว้ใจระหว่างกัน ในที่สุดชุมชนก็ได้ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมป่าชุมชนพลิกฟื้นป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความสมบูรณ์อีกครั้ง จนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งป่าชุมชนขึ้น  และชุมชนเขาพระพุทธบาทน้อย จังหวัดสระบุรี ที่ต้องต่อสู้กับรงกดดันจากการขอสัมปทานภูเขาพระพุทธบาทน้อยรวมถึงการตักตวงใช้ประโยชน์ของชาวบ้านโดยรอบจากการหาของป่าและล้อมต้นไม้ใหญ่ไปขาย จนกระทั่งชาวบ้านได้หันกลับมาสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าในภูเขาแห่งนี้ ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เป็น “ป่าพึ่งคน คนพึ่งป่า” จนในที่สุดได้รับอนุญาตให้จัดตั้งป่าชุมชนขึ้น
     จึงเห็นได้ว่าพลังของชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจและความสามัคคี รวมถึงการจัดทำโครงสร้าง เช่น การจัดตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ภูมิปัญญา วิถีชุมชน วิถีธรรมชาติ ศยามล ไกยูรวงศ์ และคณะ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการจัดการทางสังคม, 2551 Book: HC445.ฮ65ศ46 2551 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059963

     หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้ง 6 ภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการจัดการทรัพยากรของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้ลบล้างมายาคติว่าชุมชนเป็นผู้ทำลายธรรมชาติ 
     ภาคเหนือ นำเสนอเรื่องราวของชาวบ้านซึ่งเปลี่ยนความขัดแย้งการทำไร่หมุนเวียนของชาวปกาเกอะญอกับคนพื้นที่ราบ ให้เกิดเป็นการเรียนรู้และจัดการทรัพยากรร่วมกัน
    
ภาคตะวันตก  นำเสนอเรื่องราวของชาวบ้านเกาะบุกที่รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้วิถีชีวิตต้องเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียนมาเป็นการเพาะปลูกบนที่ดินทำกิน
    
ภาคอีสาน นำเสนอเรื่องราวการทำเกลือสินเธาว์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม อุดรธานี สกลนครและหนองคาย รวมถึงระบบชลประทานชุมชนที่บ้านหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
     ภาคกลาง นำเสนอการจัดการความรู้เกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในเครือข่าย “โรงเรียนชาวนา” เพื่อแก้ปัญหารการปลูกข้าวอย่างยั่งยืน
     ภาคตะวันออก นำเสนอการดำเนินงานของ “เครือข่ายลุ่มน้ำประแสร์” เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณปากน้ำ หลังจากได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม    
     ภาคใต้ นำเสนอการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลโดยใช้ลิเกฮูลูและชุดปฏิบัติการปราบปรามอวนรุนอวนลาก รวมถึงการฟื้นฟูป่าพรุคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธาน

ผมไม่มีคำตอบ : 60 ปี อานันท์ กาญจนพันธุ์ กับ 20 ปีขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อัจฉรา รักยุติธรรม บรรณาธิการ เชียงใหม่ : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2551 Book: HN700.55.Z9C6ผ44 2551 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068137 ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ เป็นนักวิชาการที่เพื่อเรียกร้องให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิชุมชน ป่าชุมชน และการจัดการทรัพยากรชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านที่ได้ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรเหล่านั้นสามารถบริหารจัดการทรัพยากรโดยชุมชนได้อย่างยั่งยืน ในโอกาสที่ท่านอายุครบ 60 ปี จึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อเขียน บทสัมภาษณ์และบันทึกการอภิปรายของศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ที่มีความเคลื่อนไหวในด้านสิทธิชุมชนและการทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ ตลอดจนเนื้อหาในส่วนที่เรียบเรียงภาพสะท้อนของการพัฒนาชุมชนที่เชื่อมโยงพลังของการทำงานวิชาการกับขบวนการทางสังคมเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคม
ชุมชนเข้มแข็งและประชาสังคม : 20 ปี มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา พลเดช ปิ่นประทีป : บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2551 Book: HM131.ช742 2551 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060741

     หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นในโอกาสที่ครบรอบ 20 ปีของมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานของมูลนิธิในดานการสร้างองค์ความรู้เรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร การจัดการชุมชนตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะ เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
     ส่วนแรก กล่าวถึงการเริ่มต้นดำเนินงานของมูลนิธิ แนวความคิดชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นโยบายสิทธิชุมชนบนฐานทรัพยากร เกษตรยั่งยืน และการเข้าสู่ขวบการประชาสังคม
     ส่วนที่สอง กล่าวถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวเนื่องกับประชาสังคม พลังท้องถิ่นและการวิจัยสาธารณะในประเด็นสิทธิชุมชน ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมเครือข่ายเทศบาล การบริหารจัดการองค์กรในสังคมร่วมสมัย ตลอดจนการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
     ส่วนที่สาม กล่าวถึงการทบทวนบทเรียน องค์ความรู้และประเมินสถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน การขับเคลื่อนพลังทางสังคม และแนวทางชุมชนท้องถิ่นเพื่อปฏิรูปสังคม

รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ระยะที่ 2 ปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กรุงเทพฯ : สำนักงาน, สถาบัน, 2550 Books: HC445.ร641 2550 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057544

รายงานการวิจัยเล่มนี้เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงดัชนีและตัวชี้วัดชุดที่ 1 ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2547 ซึ่งชุดตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมาในระยะที่ 1 นั้น สามารถนำไปใช้ในการติดตามผลการพัฒนาประเทศและเป็นแนวทางในการกำกับการดำเนินงาน โดยในระยะที่ 2 นี้จะเป็นการดำเนินการเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นรวมถึงการพัฒนากรอบแนวคิดและจัดทำตัวชี้วัดระดับภาคเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการระดับพื้นที่เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนามุ่งไปสู่ความยั่งยืนในทุกระดับ โดยมีการเก็บข้อมูลในระดับภาค จำนวน 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยกำหนด เป้าหมายนำร่อง 3 พื้นที่ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำมูล โดยผลการศึกษานำไปสู่แนวทางสำคัญในการพัฒนาในภาพรวมทั้งด้านมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละภาคและในแต่ละกลุ่มพื้นที่ลุ่มน้ำนำร่อง โดยชุดตัวชี้วัดประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ประเภท ได้แก่ 1) ตัวชี้วัดระดับประเทศ 2) ตัวชี้วัดที่พัฒนามาใช้กับทุกภาค และ 3) ตัวชี้วัดบริบทของแต่ละภาค ซึ่งตัวชี้วัดจะสะท้อนครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ มิติมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม โดยมีจำนวนตัวชี้วัดบริบทของแต่ละภาคตามความเหมาะสมที่จะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะในแต่ละภาค 

การพัฒนาวงจรอาหารที่ยั่งยืน ระยะที่ 4 สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์...[และคนอื่น ๆ]. นครปฐม : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , 2549 Books: SB950.3.T5ก64 2549 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048666 หนังสือเล่มนี้เป็นการสรุปข้อมูลจากงานวิจัยโครงการจัดการทรัพยากรเพื่อสันติภาพและความยั่งยืน  ลุ่มแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง (กลุ่มที่ 3 การพัฒนาวงจรอาหารที่ยั่งยืน) โดยในระยะที่ 4 นี้ ได้มีการขยายผลการศึกษาต่อไปในด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือนเกษตร การใช้ยาฆ่าแมลงกับสุขภาวะของเกษตรกร ศักยภาพด้านทรัพยากรอาหารและอุตสาหกรรมอาหารของลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง การใช้สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ของเกษตรกร การศึกษาตำนานของเป็ดไล่ทุ่งกับวงจรอาหารที่ยั่งยืน การบูรณาการเครือข่ายอาหารปลอดภัย      ที่ริเริ่มแห่งแรกที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และการถอดบทเรียนบูรณาการชุมชนการเกษตร สู่การลดใช้สารเคมีในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยกลุ่มผู้วิจัยคาดหวังให้องค์ความรู้เหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาแผนกลยุทธ์อาหารปลอดภัยทั้งในระดับชุมชนและจังหวัด และก่อให้เป็นเป็นนโยบายระดับประเทศ
การจัดการองค์ความรู้ในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. พัชรินทร์ สิรสุนทร - Journal: วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (ม.ค./มิ.ย. 2548), หน้า 59-78 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00025914

     บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านและกระบวนการจัดการองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน: กรณีศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง ใน 8 จังหวัด ได้แก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ มาวิเคราะห์ทิศทางการนำองค์ความรู้ในท้องถิ่นมาใช้เพื่อการพัฒนาในโครงการต่างๆ ของรัฐ
     จากการให้ความสำคัญกับการนำผลผลิตทางภูมิปัญญามาใช้ในรูปแบบสินค้าและบริการ ทำให้ทุนทางวัฒนธรรมและปราชญ์ท้องถิ่นกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อการจัดการความรู้ท้องถิ่น การเรียนรู้ในท้องถิ่นนั้นมักเป็นการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง ผสมผสานการเรียนรู้ทางวิชาการณ์และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นคือการกระจัดกระจายของข้อมูลและขาดการจัดการที่เป็นระบบ รวมถึงขาดการเชื่อมต่อของข้อมูลภูมิปัญญาส่งผลให้ความร่วมมือในเชิงบูรณาการเป็นไปอย่างจำกัด รวมถึงการที่ชาวบ้านไม่สามารถนความรู้เดิมที่มีอยู่ไปประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาในเชิงธุรกิจและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชน 

การพัฒนาวงจรอาหารที่ยั่งยืน ระยะที่ 3 : เครือข่ายการวิจัยบูรณาการลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง "พลิกฟื้นท่าจีน-แม่กลอง สู่สังคมภูมิปัญญา" สุริยพงศ์ วัฒนาศักดิ์, บรรณาธิการ นครปฐม : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล , 2548 Books: SB950.3.T5ก64 2548 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00053506 หนังสือเล่มนี้เป็นการสรุปข้อมูลจากงานวิจัย “โครงการจัดการทรัพยากรเพื่อสันติภาพและความยั่งยืน ลุมแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง” (กลุ่มที่ 3 การพัฒนาวงจรอาหารที่ยังยืน) โดยได้เริ่มการศึกษาวิจัยที่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี โดยในปีงบประมาณ 2547 คณะนักวิจัยในโครงการได้ดำเนินการศึกษาเรียนรู้ร่วมกับชุมชนในการศึกษาวิจัยวงจรอาหารที่ยั่งยืนโดยการการลด-ละ-เลิกการใช้สารเคมี ในวงจรอาหารเรียนรู้ความซับซ้อนของวงจรอาหารโดยเฉพาะวงจรอาหารผัก ซึ่งจากการศึกษาได้พบความซับซ้อนตั้งแต่วิธีการผลิตการใช้สารเคมีในการผลิตเกี่ยวเนื่องไปจนถึงระบบการตลาดและผู้บริโภครวมทั้งยังได้มีการขยายการศึกษาในเบื้องต้นของฐานทรัพยากรอาหารและความปลอดภัยของอาหารในกลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำท่าจีน-        แม่กลอง จำนวน 8 จังหวัด คือ ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรีและสมุทรสงคราม โดยองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแผนกลยุทธ์อาหารปลอดภัยทั้งในระดับชุมชนและจังหวัดรวมทั้งจะส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยของรัฐบาล ให้มีความชัดเจนและตรงจุดมุ่งหมายมากยิ่งขึ้น
การประชุมวิชาการประเพณีเกษตรศาสตร์-ธรรมศาสตร์-มหิดล-กองทัพเรือครั้ง10 เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชุนชนวันที่ 6-7 มกราคม 2548 ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2548 Books: HC445.Z9E5ก64 2548 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045351 หนังสือเล่มนี้เป็นการสรุปข้อมูลจากโครงการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กองทัพเรือ ภายใต้หัวข้อ การพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชุนชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและวิชาการระหว่าง 4 สถาบัน ในงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยประกอบไปด้วยการปาฐกถาพิเศษ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของชุมชน โดย ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งการเสวนาการบรรยายวิชาการ การเสนอผลงานวิจัย การเสนอบทความทางวิชาการ แตกต่างกันแต่ละห้องประชุมตามหัวข้อ ได้แก่ 1) ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2) ความยั่งยืนด้านสุขภาพและอนามัย 3) ความยั่งยืนด้านเทคโนโลยี และ 4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเสร็จสิ้นจากการประชุมก็นำมาซึ่งความร่วมมือทางด้านการวิจัยและวิชาการระหว่างสถาบัน เพื่อนำไปพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ด้านสุขภาพอนามัย ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
ปลาหายไปไหน : สาเหตุและผลกระทบจากการทำประมงเกินขีดจำกัด แปลและเรียบเรียง วิฑูรย์ ปัญญากุล. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, 2547 Books: SH328.ป46 2547 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040115

หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลและเรียบเรียงมาจากนิตยสาร “The Ecologist” ฉบับพิเศษ ในแต่ละบทความได้รวบรวมปัญหาด้านการประมงที่เกิดขึ้นในน่านน้ำของประเทศต่างๆ ได้แก่ นามีเบียร์ ชิลี อาร์เจนตินา แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีทั้งการทำประมงที่เกินขอบเขตหรือเกินกำลังผลิตของทะเล วิธีการประมที่ทำลายทรัพยากรมากขึ้น การขาดส่วนร่วมของท้องถิ่นในกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน การสูญพันธุ์ของสัตว์น้ำบางชนิด รวมถึงแนวคิดหรือนโยบายที่แตกต่างกันของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ นักวิชาการ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมประมงข้ามชาติ ตลอดจนชาวประมงในท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งบทความต้นฉบับได้มีการตีพิมพ์มาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2538 แต่ทั้งนี้ข้อมูลและบทวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ยังคงสามารถใช้ได้ในยุคสมัยปัจจุบัน รวมทั้งยังมีประโยชน์มากต่อผู้คนและองค์กรที่สนใจในเรื่องการจัดการทรัพยากรทางทะเลรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ 

รายงานสรุปชุดโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรือนชุมชนและนิเวศวิทยาวัฒนธรรมการอยู่อาศัยที่ยั่งยืนของคนไทยในภาคตะวันตก อรศิริ ปาณินท์. [กรุงเทพฯ] : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547 Books: NA7435.A1ร64 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040595 รายงานโครงการวิจัยเรื่องนี้ประกอบไปด้วยโครงการย่อย 8 โครงการ ซึ่งแสดงถึงศึกษาข้อมูลในพื้นที่บริเวณราบลุ่มริมแม่น้ำหลักของภาคตะวันตก ของ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรีและ จังหวัดนครปฐม จากการศึกษาพบว่า ความหลากหลายทางภูมิลักษณ์เป็นตัวเลือกในการก่อตั้งชุมชนตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เมื่อเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมกับกลุ่มชนแล้วก็ได้ผนวกเอาภูมิปัญญาในการยังชีพที่มาใช้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ โดยจะเห็นได้จากการประกอบอาชีพและการสร้างผลผลิต  เช่น การทำประมง การทำนาเกลือ การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำถ่านไม้โกงกาง ด้านของภูมิปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับการดำรงชีพของพื้นที่ที่ต่างภูมิลักษณ์จะไม่แตกต่างกันมากเนื่องจากลักษณะภูมิอากาศโดยรวมเหมือนกัน จึงทำให้มีทรัพยาการธรรมชาติบางประเภทที่เหมือนกัน เช่น ไม้และป่าไม้ ด้านเรือนและการดำรงชีพก็เป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากปัจจัยด้านระบบนิเวศน์ผสมผสานกับวัฒนธรรมทั้งสิ้น รวมทั้งยังให้เห็นว่าภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับนิเวศวัฒนธรรมมีทั้งวิวัฒนาการและสูญหายไปตามการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
องค์กรเข้มแข็ง เกษตรกรรมยั่งยืน : บทเรียนการบริหารจัดการโครงการนำร่อง เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยภูมินิเวศน์มหาสารคาม วลัยพร อดออมพานิช [มหาสารคาม] : โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย ภูมินิเวศน์มหาสารคาม, 2547 Books : S494.5.S86.ว46 2547 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051512

หนังสือเล่มนี้เป็นการถอดบทเรียนของเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอกันทรชัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอบรบือ อำเภอกุดรัง และอำเภอนาดูน ภายใต้การดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย ระหว่างปี 2544 - 2546 โดยมีการเสนอความเป็นมาของการเกิดเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน นำเสนอวิธีการบริหารจัดการโครงการนำร่องโดยเกษตรกรรายย่อย การพัฒนาระบบและเทคนิคเกษตรกรรมยั่งยืนที่เหมาะสม ตลอดจนการพัฒนากลไกสหกรณ์เกษตรกรรมยั่งยืนจำกัด เพื่อให้ทำงานควบคู่กับกองทุนพัฒนาเมืองมหาสารคาม โดยเป็นการสร้างทางเลือกและวิธีการในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 

สานสรรค์ความรู้ สู่เกษตรยั่งยืน : งานวิจัยที่ดำเนินการโดยเกษตรกร องค์กรชุมชน และภาคเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ชลิตา บัณฑุวงศ์ นนทบุรี : มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย), 2547 Books: S494.5.S86ส63 2547 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062633

หนังสือเล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเนื้อหาที่เกิดขึ้นจากการจัดงานสมัชชาวิชาการชาวบ้านเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “สานสรรค์ความรู้ สู่เกษตรยั่งยืน” โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลทั้งการปาฐกถา การอภิปรายการเสนอผลและประสบการณ์วิจัย และการนำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานวิจัยหมวดต่างๆ ได้แก่ การปรับปรุงบำรุงดิน, การจัดการพันธุกรรมพื้นบ้านในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน, ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน, การแปรรูปผลผลิตเกษตรกรรมยั่งยืนและตลาดทางเลือก, กระบวนการเข้าสู่เกษตรกรรมยั่งยืน หนี้สินเกษตรกรและการบริหารจัดการโดยองค์กรชาวบ้าน และ เกษตรกรรมยั่งยืนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 

สิทธิชุมชนท้องถิ่นชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย: อดีตและปัจจุบัน กรณีศึกษาและปัญหา รัตนาพร เศรษฐกุล กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2546 Research and Thesis: JC599.ท9ห746 2546 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036168

     งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน: การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยศึกษาผลของการพัฒนาและนโยบายของรัฐที่มีต่อชุมชนชาวเขา สภาพปัญหาสิทธิชุมชนชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย ใน 6 หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ 
1. หมู่บ้านชาวเมี่ยน บ้านห้วยกอก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา
2. หมู่บ้านชาวปะหล่อง บ้านปางแดง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
3. หมู่บ้านชาวละหู่ บ้านโป่งไฮ บ้านดอนแหลม และบ้านป่ากุ๋ย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านห้วยปง ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
4. หมู่บ้านชาวอะข่า บ้านจอมหด ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ บ้านแม่ตาแมว ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านแม่คำหล้า ตำบลบ้านส้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
5. หมู่บ้านชาวม้ง ตำบลคีรีราษฎร์ และตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
6. หมู่บ้านชาวลีซู บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
     ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่รัฐไม่ไว้ใจให้ชุมชนชาวเขาจัดการกับทรัพยากรบนพื้นที่สูงด้วยตนเองและพยายามแยกชาวเขาออกจากป่า รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนพยายามแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกินและสิทธิในการอยู่อาศัยของชาวเขาโดยที่ไม่เปิดโอกาสให้ชาวเขาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหรือวิธีการแก้ปัญหา และรัฐมักจะให้ความสำคัญกับนโยบายหลักของชาติและบีบบังคับให้ชาวเขาเป็นผู้เสียสละอัตลักษณ์และวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขา 

สิทธิชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ คณะผู้วิจัย เลิศชาย ศิริชัย, อุดม หนูทอง, สืบพงษ์ ธรรมชาติ, สมเจตนา มุนีโมไนย และนพดล กิตติกุล ; ชลธิรา สัตยาวัฒนา หัวหน้าโครงการ บรรณาธิการวิชาการ. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2546 Research and Thesis: JC599.ท9ต947 2546 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036166 งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน: การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยศึกษาชุมชนที่มีปัญหาจากการรุกรานสิทธิชุมชนจากการพัฒนาประเทศ จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก กรุงชิง กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช, บ้านเล อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา, บ้านโคกสัก อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา, บ้านเจ้าไหม อำเภอกันตัง จังหวัดตรีง และบ้านหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชุมชนหมู่บ้านดังกล่าวประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อรัฐเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากร ใช้กฎหมายบังคับในที่ดินทำกิน และประกาศนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนหมู่บ้านเหล่านี้ แต่ชุมชนก็พยายามตอบโต้เพื่อคงความอยู่รอดและรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการขยายเขตทำกิน การตอบโต้เชิงอำนาจ การดื้อแพ่ง การใช้กำลังตอบโต้ การชูธงขบวนการอนุรักษ์ กระบวนการตอบโต้นี้จะต้องอาศับการรวมพลังของชาวบ้านในชุมชนเพื่อทวงสิทธิ์ของชุมชนกลับคืน และถึงไม่อาจบอกได้ว่าขบวนการสิทธิชุมชนประสบผลสำเร็จ แต่ก็เห็นความกล้าแข็งที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถขยายพื้นที่แสดงตัวตนได้มากขึ้นซึ่งน่าจะส่งผลให้รัฐเข้าใจชุมชน เข้าใจสถานการณ์และเห็นความสำคัญในการคืนอำนาจในการดูและจัดการทรัพยาการให้เป็นสิทธิของชุมชน
สิทธิชุมชนท้องถิ่นพื้นเมืองดั้งเดิม ล้านนา : กรณีศึกษาชุมชนลัวะ ยวน ลื้อ ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในจังหวัดน่าน เชียงราย และเชียงใหม่ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2546 Research and Thesis: JC599.ท9ห754 2546 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036167

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน: การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยศึกษาสิทธิชุมชนจากกฎหมายและจารีตล้านนาผ่านเอกสารโบราณที่สะท้อนเรื่อง “สิทธิ” รวมถึงการนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มคน “ละว้า” ในไทยและอุษาคเนย์ ในฐานะชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม ตลอดจนการศึกษาสิทธิชุมชนของคนท้องถิ่นล้านนา ได้แก่ ชุมชนชาวไท-ยวน ชุมชนชาวกะเหรี่ยงหรือปกาเกอญอ และชุมชนชาวไทลื้อ ด้านการจัดการทรัพยากร จารีตประเพณี ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านทั้งสามกลุ่มซึ่งส่งผลถึงการเข้าถึงสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิในการตั้งถิ่นฐาน ส่วนสุดท้ายเป็นการนำเสนอประมวลความรู้เพื่อแสดงให้เห็นพลังของสิทธิชุมชนในการเปลี่ยนแปลงและเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาสังคมได้ 

ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทำการเกษตรยั่งยืนบนที่สูงของชาวอาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พงษ์ทร ชยาตุลชาต. [กรุงเทพฯ] : คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546 Research and Thesis: DS570.อ6พ24 2546 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038490 งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทำการเกษตรยังยืนบนที่สูงของชาวเขาเผ่าอาข่า ในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยมุ่งเน้นศึกษาในประเด็นการดำเนินวิถีชีวิต ระบบจารีตประเพณี ความเชื่อ ระบบคิดในการทำการเกษตรยังยืนบนที่สูง ใช้ระเบียบวิจัยด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบยั่งยืนแบบผสมผสาน จำนวน 20 ราย ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินชีวิตในการเกษตรแบบยั่งยืนของชาวเขาเผ่าอาข่าเป็นรูปแบบของการเกษตรแบบยังชีพ มีกระบวนการการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรจากจากบรรพบุรุษสู่รุ่นพ่อแม่ และถ่ายทอดสู่รุ่นลูก และมีการประยุกต์ระหว่างภูมิปัญญาที่มีอยู่ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่บ้าง เช่น การจัดการระบบน้ำ และการนำพันธุ์พืชจากภายนอกเข้ามาทดลองปลูกเพื่อมุ่งหวังผลด้านเศรษฐกิจ
ขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทยและการเมืองของงานเขียนเกษตรกรรม ยั่งยืน (ประเทศไทย) อนุสรณ์ อุณโณ. นนทบุรี : ฝ่ายสนับสนุนและประสานงานวิจัยมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย), 2546 Books: S494.5.ก65อ37 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036223

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลพัฒนาการและเงื่อนไขของขบวนการเคลื่อนไหวด้านเกษตรของไทย ตั้งแต่สมัยการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  สู่ระบอบประชาธิปไตย นยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงต้นทศวรรษ 2520 ที่มีการก่อตัวของขบวนการเกษตรกรรมยังยืนในสังคมไทยซึ่งแสดงให้เห็นปัญหาการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังแสดงถึงกระบวนการปรับตัวและการโต้กลับต่อขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่างๆ ของรัฐ หน่วยงานและองค์กรพิเศษ ภาคธุรกิจและสื่อมวลชนซึ่งเป็นฝ่ายเดิมที่ส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่มาโดยตลอด ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายต่างๆที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนต่อไปเป็นอย่างมาก 

สังคมไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เจษฎา โชติกิจภิวาทย - Journal: วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 23, ฉบับที่ 60 (ก.ย./ธ.ค. 2545), หน้า 14-18 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00057329

     บทความนี้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคนแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่เรียกได้ว่าไม่ยั่งยืนให้แก่สังคมไทยจึงตามมาด้วยผลกระทบจากการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ได้แก การเปลี่ยนแปลงการผลิตของชาวนาชาวไร่สู่การผลิตเพื่อขาย  การพัฒนาที่ต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สูงขึ้นนำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงอนาคต ตกอยู่ในมายาการวัฒนธรรมบริโภค และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
     นอกจากนี้ ผู้เขียนยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการธรรมชาติกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เกิดการเคลื่อนไหวที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลย์จากภาคประชาสังคมและรัฐมีบทบาทสนับสนุน โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงต้องเป็นการเคารพสิทธิชุมชนตามหลักประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ยศ สันตสมบัติ - Journal: วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 23, ฉบับที่ 60 (ก.ย./ธ.ค. 2545), หน้า 57-59 http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00057333
แนวคิดเมืองยั่งยืนกับอนาคตของเมืองเชียงใหม่ : สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ ; วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ณ ห้องประชุม อาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง, นงลักษณ์ ดิษฐวงษ์ บรรณาธิการ เชียงใหม่ : มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่, 2545 Books: HT169.ช9ม82 2545 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044528

หนังสือเล่มนี้เป็นการสรุป การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องแนวคิดเมืองยั่งยืนกับอนาคตของเมืองเชียงใหม่ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อนำเสนอพัฒนาการแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนส่งผลต่อความสำคัญในแนวการพัฒนาเมือง และศึกษาแนวความคิดเมืองยั่งยืนในบริบทของสังคมตะวันตก 2) เพื่อนำเสนอตัวอย่างการดำเนินงานของกรณีศึกษาเมืองยั่งยืน 2 แห่ง คือ เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอนประเทศสหรัฐอเมริกา และเมืองคูริติบา รัฐพารานา ประเทศบราซิล และ 3) เพื่อเปิดเวทีสำหรับระดมความคิดเห็นและเปิดโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชาวเชียงใหม่ที่มีต่อการพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นเมืองยั่งยืน โดยในช่วงท้ายของการประชุมมีการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างเจตนารมย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อมุ่งสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเมืองที่น่าอยู่และยั่งยืน เมืองที่มีสังคมดี คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน มีระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส เป็นเมืองที่เศรษฐกิจและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีการศึกษาที่เหมาะสม มีสุขภาพอนามัยที่ดีและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางราชการได้ 

บันทึกการสัมมนาทิศทางที่ยั่งยืนของสังคมไทยกับป่าชุมชน : มุมมองสหวิทยาการ สุริชัย หวันแก้ว , บรรณาธิการ กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาฯ, 2545 Books: SD657.ท9บ63 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040244

หนังสือเล่มนี้เป็นการบันทึกการสัมมนา เรื่อง “ทิศทาง ป่าชุมชนไทยหลังการประชุมสิ่งแวดล้อมโลก” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมรณรงค์สนับสนุนพระราชบัญญัติป่าชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพลังชุมชนท้องถิ่นที่ได้มีบทบาทหลักในการรักษาป่าในรูปแบบของการจัดการป่าชุมชน โดยมีรายละเอียดประกอบไปด้วย การปาฐกถาเรื่อง “ทิศทาง ป่าชุมชนไทยหลังการประชุมสิ่งแวดล้อมโลก” และการอภิปราย ของกลุ่มนักวิชาการในหัวข้อทิศทางที่ยั่งยืนของไทยกับป่าชุมชน โดยเป็นการอภิปรายในมุมมองของศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านนิเวศวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์ (ประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ) ด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา รวมไปถึงมุมมองชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของป่าชายเลนภาคใต้ 

การอนุรักษ์ของเก่ากับการพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีหอไตรวัดตะกาดเง้า จังหวัด จันทบุรี. แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย - Journal: เมืองโบราณ : 26, 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2543) ; หน้า 125-130 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00007310

     บทความนี้กล่าวถึงการอนุรักษ์หอไตรวัดตะกาดเง้า ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีการบูรณะภาพลายรดน้ำที่มีลวดลายทั้งภาพพุทธประวัติและชาดกต่างๆ รวมถึงการอนุรักษ์และเก็บรวมรวมเอกสารโบราณซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนสะท้อนความเป็นท้องถิ่น
     ผู้เขียนจึงได้ยกเอาใจความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอภิปรายการบูรณะหอไตรในครั้งนี้ โดยให้ความเห็นว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นการพัฒนาในลักษณะที่มีความต่อเนื่องและเห็นคุณค่า เช่นเดียวกับการบูรณหอไตรให้มีความสวยงาม แข็งแรง แล้วต้องตอบสนองการใช้ประโยชน์ของชุมชนได้ และส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ชุมชนตะกาดเง้า เพื่อให้เป็นการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนต่อไป 

การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดี จังหวัดขอนแก่น อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร ขอนแก่น : ศิริชัยการแพทย์, 2541 Books: HN700.592.พ6อ46 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017087

หนังสือเล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยได้มีการดำเนินการใน 18 หมู่บ้านหลัก และหมู่บ้านขยายอีก 34 หมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น รวมไปถึงโรงเรียนเครือข่าย 26 โรงเรียน โดยมูลนิธิและโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยังยืนได้มุ่งเน้นการทำงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญของการรวมกลุ่มของประชาชนในหมู่บ้าน การรวมกลุ่มประชาชนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในแนวราบ สานต่อกับแนวดิงในระบบราชการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการสร้างจินตนาการรวมกัน โดยจากการดำเนินงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สุขภาพ รวมไปถึงการจัดการศึกษาและสิทธิเด็ก 

สองแควเสวนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. ประเวศ วะสี ... [และคนอื่น ๆ]. พิษณุโลก : ชมรมศึกษาเพื่อการพัฒนา, 2540 Books: HN700.592.ส52 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00014668 หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมผลงานจากภาคประชาสังคมในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งความสำคัญของจังหวัดพิษณุโลกนั้น ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เปรียบเสมือนเป็นสี่แยกของคาบสมุทรอินโดจีน รวมทั้งนโยบายของประเทศในช่วที่มุ่งเน้นจะพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งแนวโน้มในการลงทุนต่างๆ ที่มีความชัดเจน และยังมีความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ดังนั้นกลุ่มนักวิชาการข้าราชการ ผู้นำชุมชน นักธุรกิจ และนักพัฒนาจากภาคเอกชนจำนวนหนึ่ง จึงได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาหาความรู้และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดสี่แยกอินโดจีน โดยในหนังสือนี้ได้รวบรวมบทความและการเสวนาของวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีเนื้อหาที่ประโยชน์แก่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนทั้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวมไปถึงที่อื่นๆ ในประเทศไทย
องค์กรชุมชนกับการจัดการป่าวัฒนธรรมที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 254-? Audio Visual Materials : VT 000193 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030242

สารคดีเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งจากกรณีศึกษาวิจัยของโครงการศึกษาและสำรวจการอนุรักษ์และคุ้มครองป่าวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ โดยได้กล่าวถึง ป่าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ป่าโคกหนองแม็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านเกาะ ตำบลแจนแวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ และป่าทาม ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านยางบ่อภิรมย์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี ซึ่งพื้นที่ป่าเหล่านี้ถูกราษฎรบางส่วนบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นที่ทำกินและทำการเกษตร และยังได้ยกตัวอย่างป่าช้าบ้านสำโรง ป่าตะโกร้างโคกระกา ป่าโคกอังกัน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านสำโรง ตำบลนาดี อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งป่าในพื้นที่เหล่านี้ ก็มีกลุ่มชาวบ้านที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าและความพยายามฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับมาเป็นสภาพป่าดังเดิม ด้วยการออกกฎระเบียบข้อบังคับห้ามปรามไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า รวมทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเพื่อดูแลพื้นที่ป่าไม่ให้ถูกบุกรุกทำลาย โดยมีกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่และเก่าที่เข้มแข็งในตำบล นำโดยกำนัน ร่วมกันดูแลพื้นที่ ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้ก็ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐในการร่วมกันดูแลด้วยเช่นกัน 

การประเมินการพัฒนามนุษย์และคุณภาพชีวิตในกระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน อมรา พงศาพิชญ์ [กรุงเทพฯ] : สมาคมวิจัยเชิงคุณภาพแห่งประเทศไทย, [2539?] Books: HN49.ก64อ44 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017092 บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายและข้อบ่งชี้ที่ใช้วัดการพัฒนาสังคม การพัฒนามนุษย์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งมีการเสนอมุมมองเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและความมั่นคงของชีวิตมนุษย์ (Human Security) และการพัฒนาสังคมด้วยการให้ความสนใจกับประเด็นความขัดแย้ง โดยผู้เขียนได้มีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตัวชี้วัดหรือดัชนีซึ่งทำให้ได้ข้อมูลในด้านสถานภาพของการพัฒนามนุษย์และสถานภาพของคุณภาพชีวิตในแต่ละช่วงเวลาที่ศึกษา และเมื่อได้มีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบทำให้เห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ และต้องนำแนวทางเชิงคุณภาพที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างความเป็นธรรมในเรื่องของสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนมาพิจารณาควบคู่กันในด้านการพัฒนามนุษย์และคุณภาพชีวิตในประเด็นที่เป็นนามธรรม
สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร. - - Journal: วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 18, ฉบับที่ 38 (ก.ย./ธ.ค. 2538), หน้า 30-34 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00057227

     บทความนี้กล่าวถึงสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าชุมชน หรือ “ป่าหน้าหมู่”  ตามคำเรียกขานของชาวบ้านในภาคเหนือ ซึ่งป่าชุมชนนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการอนุรักษ์ป่า เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการผลิต โดยมีจารีตประเพณีและความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพื้นฐานในการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างคน ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ
     แต่ในปัจจุบันศักยภาพของอุดมการณ์ป่าชุมชนเริ่มลดลงด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ ได้แก่ สิทธิชุมชนของชาวบ้านไม่ได้รับการยอมรับตามกฎหมาย และแรงกดดันของระบบเศรษฐกิจแบบการค้าจากภายนอก จากสาเหตุดังกล่าวนั้น ทำให้บางชุมชนละเลยประเพณีในการดูแลป่าเนื่องจากเกิดความรู้สึกว่าตนเองไร้อำนาจในการจัดการ แต่ก็มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ยังคงต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิชุมชนในการจัดการและปกป้องป่าจากบุคคลภายนอกที่พยายามเข้ามาหาผลประโยชน์จากป่า  

การศึกษาความยั่งยืนของระบบเกษตรที่สูง โดย ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2537 Research and Thesis: S471.ท9ก64 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00023539

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในที่สูง 2) เพื่อหาผลตอบแทนของการผลิตในที่สูงจากพืชชนิดต่างๆ 3) เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ที่จะมีผลต่อความยั่งยืนของระบบ และ 4) เพื่อหาแนวทางร่วม ในการพัฒนาชุมชนในที่สูง อย่างมีเอกภาพ และในขณะเดียวกัน สามารถรักษาสภาพแวดล้อม ไว้ให้ยั่งยืน โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูล ภาพรวมของโครงการพัฒนาที่สูงต่างๆ จำนวน 12 หมู่บ้าน จากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ โดยผลของการศึกษานี้ คณะผู้วิจัยได้รับข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการใช้ทรัพยากร ของระบบเกษตรกรที่สูง รวม ถึงรายได้ของระบบพืชต่างๆ รวมถึงลักษณะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงบทบาทขององค์กรในหมู่บ้านและปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก โดยจากการศึกษาพบว่าแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่สูงจำเป็นต้องมีการจัดการน้ำในเขตต้นน้ำลำธารให้มีความยั่งยืน รวมทั้งต้องให้ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดี โดยต้องมีการควบคุมจำนวนประชากรบนที่สูง ให้การสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการส่งเสริมการเกษตรที่สูงเชิงอนุรักษ์อย่างมีบูรณาการโดยหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน มีการวางกลยุทธ์กึ่งพาณิชย์ มีการรับรองการใช้ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายพัฒนาระบบการปลูกข้าวและพืชพาณิชย์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งมีตลาดและมีการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ 

การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทางเลือกหรือทางออกด่านสุดท้ายในการอยู่รอดของไทยในศตวรรษที่ 21 ชนัญ วงษ์วิภาค - Journal: วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 14, ฉบับที่ พิเศษ (มิ.ย./พ.ค. 2536/2537), หน้า 244-253 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00066977

     บทความนี้กล่าวถึงสาเหตุขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศไทยเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นปริมาณการผลิต การนำความรู้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาใช้ในการพัฒนารูปแบบต่างๆ จึงส่งผลให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไป รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวยังเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม คนวัยแรงงานจากท้องถิ่นชนบทอพยพเข้าเมืองเพื่อแสวงหาโอกาส จึงขาดแรงงานในการเพาะปลูกและประเพณีพื้นบ้านที่ค่อยๆ หายไปเนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด
     ผู้เขียนจึงกล่าวถึงแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งจะช่วยให้ความต้องการด้านการเกษตรและข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมมีความสมดุลกัน รวมถึงการปรับรูปแบบการพัฒนาแบบทุนนิยมให้เหมาะสมกับต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ การใช้เทคโนโลยีและความรู้ในการผลิตที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม และหันมาใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิวัฒน์ คติธรรมนิตย์, บรรณาธิการ กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2536 Books: QH75.ค54 2536 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00066419 หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมงานเขียนทางวิชาการซึ่งเป็นการสรุปข้อมูลจากการสัมมนา 2 ครั้ง โดยมีหัวข้อในการสัมมนาคือความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนา ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสัมมนาและการจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นภูมิประเทศในแถบเขตร้อนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งในเชิงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างจิตสำนึกแก่สาธารณชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในที่สุด
Cultural policies for sustainable development: four strategic paths in Cultural policies for sustainable development Duxbury, Nancy. Kangas, Anita and Beukelaer, Christiaan De Abingdon, Oxon : Routledge, 2018 Books Chapter: HC79.E5 .K36 2018 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094872

บทความนี้กล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) กําหนดในปี .. 2015 ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมในการพัฒนาที่ยั่งยืนและในนโยบายทางวัฒนธรรม และกล่าวถึงงานเขียนที่เกี่ยวกับแนวคิดและกรอบการทำงานในด้านนโยบายและวงวิชาการ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังกล่าวถึงบทบาททั้ง 4 ด้านของนโยบายทางวัฒนธรรมที่มีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ การป้องกันรักษาวิถีปฏิบัติทางวัฒนธรรมและสิทธิวัฒนธรรม ปฏิบัติการสีเขียวและผลกระทบที่มีต่อองค์กรทางวัฒนธรรมและอุสาหกรรม การสร้างความตระหนักและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ  ตลอดจนการอนุรักษ์ประชากรทางระบบนิเวศ  สิ่งที่ท้าทายสำหรับงานนโยบายทางวัฒนธรรมคือการสร้างความเปลี่ยนแปลงและให้แนวทางปฏิบัติเพื่อให้สิ่งเหล่านั้นยังคงอยู่ รวมไปถึงร่วมสร้างยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

Greening cultural policy in Cultural policies for sustainable development Maxwell, Richard and Miller, Toby Abingdon, Oxon : Routledge, 2018 Books Chapter: HC79.E5 .K36 2018 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094872

บทความเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับนโยบายทางวัฒนธรรมสีเขียวในบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการตอบสนองต่อนโยบายสาธารณะในวิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยาซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแนวคิดมนุษย์คือศูนย์กลางที่สะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของกลุ่มสิ่งแวดล้อมนิยมในเวทีนโยบายทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงภาพรวมของปัญหาสิ่งแวดล้อม บทบาทของงานวัฒนธรรมต่อการกำหนดนโยบายวัฒนธรรมสีเขียว การนำนโยบายไปปรับใช้ ปัญหาที่พบจากนโยบายวัฒนธรมสีเขียว ทุนนิยมดิจิทัลกับนโยบายทางวัฒนธรรม ความท้ายทายของการกำหนดนโยบายวัฒนธรรมสีเขียวและการสนับสนุนจากองค์กรที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ 

Cultural rights and their contribution to sustainable development: implications for cultural policy in Cultural policies for sustainable development Portoles, Jordi Balta and Sesic, Milena Dragicevic Abingdon, Oxon : Routledge, 2018 Books Chapter: HC79.E5 .K36 2018 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094872 บทความนี้วิเคราะห์การให้ความหมายของ “สิทธิทางวัฒนธรรม” ที่มีต่อนโยบายทางวัฒนธรรมในการพัฒนาที่ยั่งยืน ถึงแม้ว่าจะมีการอ้างถึงคำว่าสิทธิทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแพร่หลายในเอกสารนโยบายทางวัฒนธรรมในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่ความหมายที่แท้จริงและความหมายโดยนัยยะของ คำว่า “สิทธิทางวัฒนธรรม” และ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ยังคงกำกวม  ซึ่งโดยภาพรวมแล้วทั้งสองประเด็นอาจจะไม่ใช้สิ่งสำคัญในทางปฏิบัติแต่เป็นกลไกเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังพยายามที่จะวิเคราะห์การขับเคลื่อนนโยบายทางวัฒนธรรมด้วยการใช้หลักการ“สิทธิทางวัฒนธรรม” และ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ในบริบทที่จะช่วยเสริมแรงกัน พร้อมทั้งยกตัวอย่างนโยบายทางวัฒนธรรมและเครื่องมือที่ผลักดันประเด็น “สิทธิทางวัฒนธรรม”
`Culture', `sustainable development' and cultural policy: a contrarian view in Cultural policies for sustainable development Yudhishthir Raj Isar. B8 Abingdon, Oxon : Routledge, 2018 Books Chapter: HC79.E5 .K36 2018 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094872

บทความนี้กล่าวถึงประเด็นวัฒนธรรมกับการพัฒนาที่ยังยืนซึ่งถูกพูดถึงในหมู่นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและนโยบายทางวัฒนธรรม ผู้เขียนวิเคราะห์เรื่องความย้อนแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการอ้างถึงงานเขียนเกี่ยวกับ 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม) ที่เพิ่มเติมมิติทางวัฒนธรรมให้เป็นเหมือนเสาหลักที่ 4 รวมถึงความเคลื่อนไหวขององค์การนานาชาติที่ดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการดำเนินงานที่ปกป้องสิทธิทางวัฒนธรรม มรดกวัฒนธรรม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผู้เขียนยังมีข้อคิดเห็นในส่วนท้ายเกี่ยวกับความย้อนแย้งของประเด็นวัฒนธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า ถึงแม้หน่วยงานต่างๆ จะพยายามดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทางวัฒนธรรมแต่กลับมีการกระทำที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานและวัสดุที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ในสำนักงาน หรือพฤติกรรมของคนยุคใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 

Culturally sustainable development: theoretical concept or practical policy instrument? in Cultural policies for sustainable development Throsby, David. Abingdon, Oxon : Routledge, 2018 Books Chapter: HC79.E5 .K36 2018 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094872

     บทความเรื่องนี้กล่าวถึงทฤษฎีเรื่องความยั่งยืนและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งกลายมาเป็นเรื่องสำคัญที่ถูกพูดถึงในระยะเวลาไม่นานมานี้ สิ่งที่ผู้เขียนยกขึ้นมากล่าวเป็นประเด็นสำคัญคือการบูรณาการแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนกับงานด้านวัฒนธรรม ทั้งนี้ หากกล่าวถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนทางวัฒนธรรมมักจะมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องทุนวัฒนธรรม สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม หรือมูลค่าทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับแนวความคิดเรื่องมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผู้เขียนจึงกล่าวถึงสิ่งที่ควรตระหนักในการทำความเข้าใจหรือกำหนดแนวทางในการทำงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนกับงานด้านวัฒนธรรม ดังนี้
1. ความเท่าเทียมในแต่ละช่วงรุ่น เป็นแนวคิดการพัฒนาที่คำนึงถึงการพัฒนาในระยะยาวและคนรุ่นถัดไปยังสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมตามความต้องการได้  2. ความเท่าเทียมในช่วงรุ่นเดียวกัน เป็นแนวคิดการพัฒนาที่ให้ทุกคนในชุมชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอย่างทั่วถึง
3. การให้ความสำคัญกับความหลากหลาย เป็นการพัฒนาที่ได้แนวคิดมาจากการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในการปกป้องความหลากหลายทางธรรมชาติ จึงควรให้ความคุณค่ากับความหลากหลายทางวัฒนธรรมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม
4. หลักในการป้องกัน เป็นแนวคิดที่กล่าวถึงหลักการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่อลงมือปฏิบัติงานกับมรดกวัฒนธรรม
5. การเชื่อมโยงกับภายนอก การพัฒนาที่ยั่งยืนทางวัฒนธรรมควรถูกพิจารณาให้เกิดการบูรณาการความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เช่นการเชื่อมโยงกับความรู้ทางเศรษฐศาสตร

Introduction: cultural policies for sustainable development in Cultural policies for sustainable development Anita Kangas; Nancy Duxbury; Christiaan De Beukelaer. Abingdon, Oxon : Routledge, 2018 Books Chapter: HC79.E5 .K36 2018 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094872

บทความนี้กล่าวถึงภาพรวมการศึกษาที่ใช้นโยบายทางวัฒนธรรมในการช่วยผลักดันแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแนะนำนิยามและที่มาของแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปีค.ศ. 1980 ในการประชุมของ The International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources ซึ่งภายหลังการให้ความสนใจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้เชื่อมโยงไปยังมิติต่างๆ ที่หลากหลาย ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเท่าเทียม 

Cultural rights and their contribution to sustainable development: implications for cultural policy. Portoles, Jordi Balta - Journal: The international journal of cultural policy. vol. 23, no. 2 (Mar. 2017), p.159-173 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00056152

     บทความนี้กล่าวถึงสิทธิทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของสิทธิทางวัฒนธรรมที่มีต่อนโยบายทางวัฒนธรรมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
     ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงเรื่องสิทธิทางวัฒนธรรมกันแพร่หลายมากขึ้น แต่ยังไม่ได้มีการให้ความหมายที่แน่ชัด ผู้เขียนจึงกล่าวถึงการให้ความหมายของสิทธิทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความยั่งยืนทางวัฒนธรรมไว้ 5 ประเด็น ได้แก่
     - การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม
     - การมีส่วนร่วมในการตัดสินในทางนโยบายและการบริหารจัดการ
     - จัดการกับปัญหาซึ่งเป็นอุปสรรคในการมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรม
     - ปกป้องกลุ่มชาติพันธุ์และการคุกคามอัตลักษณ์
     - ปกป้องทรัพยากรวัฒนธรรม สิทธิทางวัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรมโดยอาจใส่เป็นความเสี่ยงเชิงนโยบาย 

Proceeding the 3rd international conference on sustainable development from local to asean community Graduate School, Chiang Mai Rajabhat University Chiang Mai : Chiang Mai Rajabhat University, 2012 Book: HN690.8.A7T56 2012 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084901

     หนังสือเล่มนี้รวบรมบทคัดย่อจากการประชุม International conference on sustainable development from local to asean community จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8-9 กันยายน พ.ศ. 2555 แบ่งประเด็นในการนำเสนอเนื้อหาเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สังคมกับการศึกษา และเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อม 
     บทคัดย่อในประเด็นสังคมกับการศึกษา นำเสนอเนื้อหาที่กล่าวถึงโอกาสและแนวทางในการพัฒนาโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การนำเสนอเรื่องความร่วมมือของเครือข่ายทางการศึกษาขององค์กรท้องถิ่นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ วัฒนธรรมอาหารและการเปลี่ยนแปลงของชาวไทลื้อในสังคมล้านนา การศึกษาด้านสังคมวัฒนธรรมของประเพณีปอยหลวงในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นต้น
     บทคัดย่อในประเด็นเศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อม นำเสนอเนื้อหาที่กล่าวถึงโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คุณภาพสิ่งแวดล้อมรวมถึงคุณภาพชีวิต ตัวอย่างเช่น การนำเสนอเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำในบริเวณลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายแรงงานอพยพจากรัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำในแม่น้ำสาลวิน 

Sustainable Cities in Chiang Mai : A case of a city in a valley Duongchan Apavatjrut Charoenmuang Chiang Mai : Chiang Mai Sangsilp, 2007 Book: HT169.T52 D96 2007 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090423

หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองยั่งยืน โดยนำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงการนำเสนอข้อมูลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเทียบกับแผนพัฒนาของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เห็นถึงการพัฒนาที่ความสอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีการวางแผนพัฒนาได้อย่างยั่งยืนภายในหนังสือเล่มนี้จึงได้รวบรวมปัญหาต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเยาวชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเสื่อมโทรมทางศิลปะและวัฒนธรรม ปัญหาการจราจร มลภาวะทางอากาศ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืนในทุกด้าน 

Conservation of Cultural Heritage As a Tool for Sustainable Development. Bose, Shivashish - Journal: SPAFA journal vol. 16, no. 1 (Jan./Apr. 2006), p.39-47 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00058897

      บทความนี้กล่าวถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสภาวะปัจจุบันทั้งการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองหรือการก่อสร้างที่ไม่คำนึงถึงความยั่งยืนในอนาคต การนำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ามีบทบาทในการพัฒนาจึงเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
     นอกจากนี้ผู้เขียนยังกล่าวถึงการใช้แนวคิดด้านการอนุรักษ์และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมาใช้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรที่ขาดแคลน ลดการใช้พลังงาน และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม การใช้พื้นที่อาคารต่างๆ และการออกแบบผังเมืองที่จะต้องคำนึงถึงการนำแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อลดการใช้พลังงานลง 

 

Local Knowledge, dynamism and the politics of struggle: A case study of the hmong in northern thailand. Knight, G.Roger - Journal: Journal of sotheast asian studies : 37, 1 (February 2006) : pp65-82 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00011573

     บทความนี้กล่าวถึงการปะทะกันระหว่างความรู้ท้องถิ่นและความรู้สมัยใหม่ ซึ่งผู้เขียนกล่าวถึงความสำคัญของความรู้ท้องถิ่นว่าเป็นเครื่องมือทางสังคมที่ใช้ต่อรองกับอำนาจ ในบทความศึกษาพลวัตของระบบความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย
     พลวัตของระบบความรู้ของชาวม้งที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษานั้นมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางเกษตรกรรม เป็นผลมาจากนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาวเขาซึ่งมีภาพลักษณ์ในการดำรงชีวิตด้วยการทำไร่เลื่อนลอยและเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติดให้เปลี่ยนเป็นการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก ด้วยการสร้างความรู้ในการทำสวนผลไม้ ความหลากหลายของพันธุ์พืช และการปกป้องป่า 

Moving Toward Sustainability in the Local Management of Floodplain ake Fisheries in the Brazilian Amazon Castro, Fabio de and Mcgrath, David G - Journal: Human organization vol. 62, no. 2 (Summer 2003), p. 123-133 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00029265

     บทความนี้กล่าวถึงระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่นเกี่ยวกับการทำประมงในที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำแอมะซอน ประเทศบราซิล ซึ่งประกอบไปด้วยชุมชนที่รวมกลุ่มกันสร้างระบบจัดการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงข้อตกลงของชุมชนในการทำประมงในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนล่าง จำนวน 77 ฉบับ ที่จัดทำขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1981 1997 อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
    ไม่เพียงแต่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำแอมะซอนที่ร่วมทำข้อตกลงในการบริหารจัดการทรัพยากร ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการด้วย โดยใจความสำคัญในข้อตกลงประกอบด้วย การจำกัดอุปกรณ์ทำประมง การจำกัดฤดูกาล วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ พื้นที่ในการทำประมง  

Sustainability and Livelihood Diversificationamong the Maasai of Northern Tanzania McCabe, J. Terrence - Journal: Human organization vol. 62, no. 2 (Summer 2003), p.100-111 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00029263

     บทความเรื่องนี้กล่าวถึงวิถีชีวิตของชนเผ่ามาไซที่อาศัยในตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย ซึ่งประสบปัญหาจากนโยบายจากภาครัฐที่กำหนดขอบเขตการอาศัยในพื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร ชาวมาไซจึงพยายามจะสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนเพื่อให้ตอบสนองการเพิ่มจำนวนประชากร ความผันผวนของจำนวนปศุสัตว์ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ที่ลดลง และความทันสมัยที่เข้ามาได้เพิ่มความสำคัญของระบบเงินตราอีกด้วย
     ผู้เขียนจึงวิเคราะห์แนวทางที่จะช่วยเกิดความยั่งยืนในการดำรงชีวิตของชาวมาไซด้วยการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสานด้วยการนำความรู้ทางด้านปศุศัตว์มาทำให้เกิดเป็นรายได้หลัก และเพิ่มเติมด้วยผลผลิตจากการเพาะปลูก 

Biodiversity local knowledge and sustainable development Yos Santasombat. Chiang Mai : Regional Center for Social Science and Sustainable Development, Faculty of Social Science,Chiang Mai University, c2003 Books: HN28.Y67 2003 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037117

หนังสือเล่มนี้ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นที่การจัดการความของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศ จำนวน 13 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ จีน ม้ง ลีซู เมี่ยน (เย้า) อ่าข่า ลาหู่ดำ ลาหู่แดง กะเหรี่ยง กะเหรี่ยงแดง (กะยา) ละว้า (ลั้วะ) ไทใหญ่ (ฉาน) ไทยวน (คนเมือง) ไทลื้อ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา และน่าน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลภาคสนามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 2000 โดยเนื้อหาได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางกายภาพและวัฒนธรรมของสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรม รวมถึงการแสดงให้เห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนนำเสนอความน่าสนใจของภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในรูปแบบการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ความรู้ในการหาอาหารและยาจากธรรมชาติ ระบบเพาะปลูกและผลผลิต ระบบการจัดการทรัพยากรในชุมชน รวมถึงความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกและการควบคุมทางสังคมซึ่งเป็นกระบวนการในการจัดการทรัพยากรอีกรูปแบบหนึ่ง 

Development and Tribal Agricultural Economy in a Yao Mountain Village in Northern Thailand. Jian, Li - Journal: Human organization vol. 60, no. 1 (Spring 2001), p.80-94 https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00029287

     บทความนี้นำเสนอผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกำหนดทิศทางด้านเกษตรกรรม ผลผลิต และการลงทุนในหมู่บ้านชาวเย้าจำนวน 8 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพะเยา ช่วงปีค.ศ. 1997 1998 ผ่านการศึกษาโครงการหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาซึ่งการพัฒนานี้มีส่วนช่วยให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวชนเผ่า 
     การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อการทำเกษตรกรรมของชาวเขา ภายหลังนโยบายการห้ามปลูกฝิ่น หน่วยงานด้านการพัฒนาทั้งจากรัฐบาลไทยและต่างประเทศได้แนะนำให้ชาวเขาพัฒนาเมล็ดข้าวโพดและปลูกลิ้นจี่ให้เป็นพืชเศรษฐกิจ การเปลี่ยนวิธีและเทคนิคการเพาะปลูกให้มีความทันสมัย เช่น การใช้รถแทร็คเตอร์ สารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช 
     ผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานควรนำไปใช้เป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยประกอบด้วยมิติการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และสังคม 

Data requirements for highland farming system development : proceedings of a workshop Workshop on Data Requirements for Highland Farming System Development (1986 : Payap University) Chiang Mai : Payap Research Center, [1986] Book: S602.87.W67 1986 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038465

หนังสือที่รวบรวมผลงานประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 15 รายการด้วยกัน โดยบทความที่นเสนอในครั้งนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบเกษตรกรรมในพื้นที่สูงของประเทศไทย ทั้งในประเด็นการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก การพัฒนาพืชเศษฐกิจที่สามารถนำมาเพราะปลูกในพื้นที่ได้ เช่น กาแฟ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม  บทบาทของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าว เช่น กรมป่าไม้ United Nation รวมถึงการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพของประชากร 

Farmers in the forest : economic development and marginal agriculture in northern Thailand edited by Peter Kunstadter, E. C. Chapman, Sanga Sabhasri. Honolulu : Published for the East-West Center by the University Press of Hawaii, c1978 Books: S602.87.F37 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036774

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวัฒนธรรมการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยศึกษาการเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนทั้งมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การป่าไม้ กฎหมาย การบริหารจัดการพื้นที่ ฯลฯ ผ่านวิธีการศึกษาทางมานุษยวิทยา  ในบทสรุปของหนังสือยังมีการนำเสนอข้อกังวลเรื่องการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัญหาการทำไร่หมุนเวียนที่ยังไม่มีขอบเขต ทั้งนี้ ยังมีการยกตัวอย่างการทำไร่หมุนเวียนของประเทศอินโดนีเซียมาร่วมอภิปราย 

Swidden society in North Thailand : a diachronic perspective emphasizing resource relationships Terry B. Grandstaff. Honolulu, H.I. : University of Hawaii, 1976 Research and Thesis: DS258.2.K35.G72 1976 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045977

     งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาการปรับตัวในการทำไร่หมุนเวียนของกลุ่มชาวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มแม้วและกะเหรี่ยง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ถึงความต้องการพื้นที่ ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการวิเคราะห์การใช้ป่าปฐมภูมิและป่าทุติยภูมิของกลุ่มชาวเขา
     ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าหมุนเวียนของชาวเขาทั้ง 2 กลุ่ม โดยพบว่า การทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงในอดีตนั้น เป็ฯการอาศัยอยู่ในป่าและจะเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปตามฤดูกาลหรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการทำกิจกรรมทางเกษตร ชาวกะเหรี่ยงได้อพยพจากป่าลงมาสู่ที่ราบและเข้าสู่ระบบเกษตรแบบที่ดินทำกิน ขณะกลุ่มชาวแม้วนั้นนอกจากใช้พื้นที่ป่าในการเกษตรกรรมแล้วยังมีการใช้พื้นที่ในการปลูกฝิ่น ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่ชาวแม้วจะได้รับผลกระทบภายหลังจากมีนโยบายยกเลิกการปลูกฝิ่นในประเทศไทย 

สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม - - https://greennews.agency/ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานที่ติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นมิติหนึ่งที่สำคัญในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
International Institute for Sustainable Development International Institute for Sustainable Development - - www.sdgmove.com องค์กรที่ดำเนินงานในทั้งเชิงวิชาการและสร้างความเคลื่อนไหวในการแก้ไขปัญหาด้านสภาพอากาศ ทรัพยากร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลักในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน ส่งเสริมใหเกิดความเท่าเทียมและยั่งยืนมากขึ้น
 
ป่าสาละ ป่าสาละ - - http://www.salforest.com/ ป่าสาละเป็นหน่วยงานเอกชนมุ่งจุดประกายและดำเนินวาทกรรมสาธารณะว่าด้วยธุรกิจที่ยั่งยืนในประเทศไทย ผ่านการจัดสัมมนา อบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ การผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์และออนไลน์ การจัดทำงานวิจัยเรื่องประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญในประเทศไทย ตลอดจนการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคม
 
มูลนิธิมั่นพัฒนา มูลนิธิมั่นพัฒนา - - http://tsdf.nida.ac.th/th/ มูลนิธิมั่นพัฒนา มีวิสัยทัศน์ในการเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ในงานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development SD) ทั้งในระดับประเทศและสากล รวมถึงงานพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ เพื่อนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน
 
UNITED NATIONS UNITED NATIONS - - https://www.un.org/sustainabledevelopment/ องค์การสหประชาชาติ เป็นหน่วยงานระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีประเทศสมาชิกได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 ประกอบด้วยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวน 17 เป้าหมาย ซึ่งมีการให้ความสำคัญกับ 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
 
ประเทศไทยกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - - https://sdgs.nesdc.go.th/ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อรวบรวมข้อมูลการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประประเทศไทย ในประเด็นการพัฒนาเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP for SDGs) การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment :SEA) และ การขับเคลื่อน SDGs ระดับพื้นที่ (SDG Localization)
 
OpenDevelopment Thailand - - - https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/ เว็บพอร์ทัลข้อมูลเปิดเพื่อให้บริการแก่ ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล ผู้ที่มีข้อมูลเพื่อแบ่งปัน ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสถิติ แผนที่ รายงาน ข่าว และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการพัฒนาที่สำคัญและเกิดขึ้นในปัจจุบัน
โดยข้อมูลส่วนหนึ่งที่สำคัญในฐานข้อมูลนี้คือการรวบรวมข้อมูลด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: เส้นทางสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย และตัวอย่างโครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
Sustainable Development Goals Online สำนักพิมพ์ Taylor & Francis สำนักพิมพ์ Taylor & Francis - https://www.taylorfrancis.com/sdgo/?context=sdgo ฐานข้อมูล Sustainable Development Goals Online จากสำนักพิมพ์ Taylor & Francis ซึ่งได้รวบรวมทั้งหนังสือ วารสาร วีดีโอและรูปภาพ ในรูปแบบออนไลน์