Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
ลายโบราณผ้าเมืองลอง = Ancient Patterns of Mueang Long Fabrics | โกมล พานิชพันธ์ และ เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ | พะเยา : นครนิวส์การพิมพ์, 2563 | Books GT1520 .ก94 2563 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00098259 | หนังสือ “ลายโบราณผ้าเมืองลอง” เล่มนี้ ได้รวบรวมสาระครอบคลุมในเรื่องประวัติศาสตร์เมืองลอง วิถีชีวิตชุมชน ขั้นตอนการผลิตผ้า การสร้างสรรค์ลายผ้าเมืองลอง โดยจะไม่เน้นถึงเทคนิคหรือกรรมวิธีต่าง ๆ ในการทอ แต่จะเป็นหนังสือที่เน้นเล่าเรื่อง “ลายโบราณผ้าเมืองลอง” ซึ่งจะแบ่งตามประเภทต่าง ๆ เช่น ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าตุ๊ม ผ้าปกสะลี และผ้าพิเศษ ผ้าที่ได้รับรางวัลในระดับชาติและระดับอาเซียนในพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ รวมทั้งยังกล่าวถึงประวัติของโกมล พานิชพันธ์ และพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ |
พิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม : รวมบทความคัดสรรจากโครงการประชุมวิชาการพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 | พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2563 | Books AM71 .พ646 2563 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00098198 | โครงการประชุมวิชาการพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสให้นักศึกษา อาจารย์ นักปฏิบัติการ ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นทางวิชาการกับบุคลากรต่างจังหวัด และเป็นการเปิดพื้นที่การศึกษาเรื่องพิพิธภัณฑ์ศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสือพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรมเล่มนี้ โดยภายในเล่มจะประกอบด้วย 7 บทความ ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในเรื่องพิพิธภัณฑ์ศึกษาและมรดกวัฒนธรรมศึกษา |
Food Design จากวัฒนธรรมสู่นวัตกรรม | อนุสรณ์ ติปยานนท์ | นนทบุรี : อินี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล, 2563 | Books TX724.5.ท9 อ372 2563 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097597 | หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของอาหารที่ไม่เคยถูกบันทึกไว้เป็นตำราและไม่เคยนำมาถ่ายทอดผ่านการศึกษา ไม่เคยมีการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอาหาร ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องของอาหารน้อยมาก หนังสือได้กล่าวถึงนวัตกรรมซึ่งคือการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหรือออกแบบอาหารในแต่ละภูมิภาคได้ เพียงเข้าใจในวัตถุดิบของแต่ละฤดูกาลและภูมิภาค ก็จะสามารถรังสรรค์เมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย |
ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ สู่วิถีชีวิตชาวล้านนา | อนุกูล ศิริพันธ์, นวลพรรณ บุญธรรม และ รุ่งตะวัน อ่วมอินทร์. | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2562 | Books DS588.ห7 อ472 2562 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00096969 | หนังสือ “ศรัทธา สักการะ ความเชื่อ ภูมิปัญญา สู่วิถีล้านนา” เป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาจากการจัดกิจกรรมโดยให้สมาชิกเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือได้นำเอาของดีของตนเองมาจัดแสดง พร้อมกับการบรรยายเรื่องราวพิพิธภัณฑ์ การเสวนา การแสดงที่หลากหลายประเด็น ได้แก่ วิถีล้านนา ศรัทธาเหนือธรรมชาติ ปราดเปรื่องเรื่องพิธีกรรม และเลิศล้ำศรัทธา |
อาณาจักรผักพื้นถิ่น จากวัฒนธรรมสู่นวัตกรรมการกิน | โสภา ศรีสำราญ | นนทบุรี : อินี่เครือข่ายนวัตกรรมสากล, 2562 | Books TX557 .ส94 2562 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00096177 | หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความตระหนักว่าการกินทุกวันนี้ นิยมบริโภคอาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูปซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือดอุดตัน รวมเรียกว่าโรคจากการใช้ชีวิต (Non-Communicable disease) ด้วยเหตุนี้การสํารวจพืชผักทั้งสี่ภาคจึงเกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้เป็นการเดินทางสํารวจระบบนิเวศอาหารของสังคม เพื่อแสดงให้เห็นว่าพืชผักบ้านๆ ที่มีคุณค่าสารอาหารและความหลากหลายของพืชผักยังมีอยู่แม้จะลดน้อยลงตามสภาพการพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม |
มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพกับพิพิธภัณฑ์ : มุมมองใหม่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม | Marilena Alivizatou | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2561 | Books CC135 .ม64 2561 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094144 | หนังสือ “มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพกับพิพิธภัณฑ์ : มุมมองใหม่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม” เล่มนี้ เป็นหนังสือแปลมาจากหนังสือเรื่อง Intangible Heritage and the Museum : New Perspectives on Cultural Preservation ซึ่งเขียนโดย ดร. มาริเลน่า อลิวิซาโต (Marilena Alivizatou) โดยหนังสือเล่มนี้พยายามแสดงให้เห็นข้อพิจารณาสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหรือมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ โดยอาศัยข้อมูลจากการทำงานภาคสนามของผู้เขียน โดยคัดเลือกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ทั้งพิพิธภัณฑสถานขาดเล็กของชนเผ่าและพิพิธภัณฑสถานขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกา และยุโรป |
โอชากาเล | กฤช เหลือลมัย | กรุงเทพฯ : Way of Book, 2561 | Books TX724.5.ท9 ก422 2561 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095410 | หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดยผู้เขียนคือ กฤช เหลือลมัย โดยมีแนวคิดที่ว่าอาหารคือศิลปศาสตร์ คือประวัติศาสตร์ คือสังคมวิทยา คือมานุษยวิทยา และเป็นไทยศึกษาแขนงหนึ่ง ผู้เขียนถ่ายทอดเนื้อหาออกมาด้วยความหฤหรรษ์ในการตั้งประเด็นคิดเป็นเมนูเรื่อง ความพยายามในการเสาะแสวงหาวัตถุดิบชั้นดีเพื่อมาเป็นหลักฐานการอภิปราย การใช้ถ้อยคำภาษาที่ทำให้เกิดจินตนาการ หนังสือเล่มนี้คือความพยายามที่จะบอกว่า รสชาติ วัตถุดิบ หรือวิธีการประกอบอาหารแต่ละสำรับ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพสังคมในแต่ละยุค ไม่มีรสชาติใดเป็นที่สุด สูตรในการปรุงอาหารเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้อยู่เสมอ |
เทศกาล การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทั่วไทย 2561 | กลุ่มสืบสานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2561 | Books DS568 .ท752 2561 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094313 | หนังสือเรื่อง เทศกาล การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทั่วไทย 2561 เล่มนี้ เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เทศกาล ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ของแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ให้ประชนมีส่วนร่วมเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นและร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชนในแต่ละท้องถิ่นมีรายได้จากการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย |
อาหารไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์, [2561] | Books TX724.5.ท9 ก46 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094318 | หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ร่วมกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั้ง 76 แห่ง ได้รวบรวมข้อมูลอาหารไทยในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องรสชาติ ความพิถีพิถันและความหลากหลายของอาหารที่มีเอกลักษณ์จนได้รับความสนใจจากทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจมากขึ้นไปอีก จึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านอาหารและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านอาหารไทย และช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ |
ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย | ธนิก เลิศชาญฤทธ์ | นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2560 | Books NK4225 .ธ36 2560 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092646 | หนังสือเล่มนี้ ได้เล่าถึงภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยในบทบาทต่าง ๆ อย่างละเอียด โดยเริ่มตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีก่อนได้ริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้น และมีการพัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน นักโบราณคดีได้พบว่ามนุษย์โบราณได้ใช้ภาชนะดินเผามาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5,000 ปีมาแล้ว และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมยุคแรกในสยาม โดยพบว่าภาชนะดินเผาเหล่านี้ ถูกผลิตขึ้นด้วยรูปทรงที่แตกต่างหลากหลาย เช่น ภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง นักโบราณคดียังพบว่า ภาชนะดินเผาเหล่านี้ นอกจากจะถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในครัวเรือน เป็นภาชนะบรรจุอาหารแล้ว ยังถูกใช้งานในพิธีกรรม ต่าง ๆ รวมทั้งยังถูกใช้เป็นเสมือน "โลงศพ" ด้วยการบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ แล้วฝังไว้ใต้ดิน ซึ่งคาดว่าได้รับการพัฒนารูปแบบต่อมาเป็น "โกศ" ดังที่รู้จักกันในปัจจุบัน |
เทพเจ้าในศาลเจ้าจีนกรุงเทพมหานคร : รูปแบบ คติการสร้าง และความสัมพันธ์กับชุมชนชาวจีน = Gods in the Chinese shrines of Bangkok : their styles, related beliefs and relationship with the Chinese communities | อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช | นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560 | Books BL1812.ท7 อ26 2560 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00098213 | งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบเทพเจ้าที่ปรากฏในศาลเจ้าจีนของกรุงเทพฯ ว่ามีความสัมพันธ์หรือมีพัฒนาการจากต้นแบบในวัฒนธรรมจีนมากน้อยเพียงใด อีกทั้งศึกษาความเชื่อ แนวคิด และมูลเหตุที่มีผลต่อการเลือกสถาปนาเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ในชุมชนชาวจีนของกรุงเทพฯ |
วรรณกรรมการแสดง = Performance literature | มนตรี มีเนียม | กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, 2560 | Books PN2891 .ม33 2560 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094336 | วรรณกรรมการแสดง เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับการแสดงละครในลักษณะของตัวบทที่ใช้แสดงบทละคร โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย พัฒนาการการแสดงละครของไทย ลักษณะเฉพาะของการแสดงละครและบทละครบางประเภทที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมในแต่ละช่วงเวลา แนวทางและตัวอย่างในการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมการแสดงหรือบทละครประเภทต่างๆ การดัดแปลงหรือการแปรรูปวรรณกรรมเพื่อการอ่านเป็นวรรณกรรมเพื่อการแสดง รวมทั้งแนวทางในการศึกษาวิจัยวรรณกรรมการแสดงหรือบทละครที่ผู้ศึกษาวิจัยจะค้นพบองค์ความรู้ใหม่ทางวรรณกรรมได้ด้วยตนเอง |
ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ? | คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง | กรุงเทพฯ : มติชน, 2560 | Books BL1165.ท92 ค42 2560 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094603 | หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความชวนคิดชวนถกเถียงที่มาของ “ความเชื่อแบบไทยๆ” ว่าเราเป็นแบบไหน เป็นสังคมเชื่อผี? สังคมนับถือพราหมณ์? หรือสังคมเมืองพุทธ? และหาที่มาของประเพณีบางอย่างที่บางทียังไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่านี่ไม่ใช่ของไทยอย่างที่เราเข้าใจ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ผู้เขียน" คือผู้ที่สนใจศึกษาประเพณีและความเป็น "แขกภารตะ"ทั้งด้วยการค้นคว้าและการสัมผัสจากประสบการณ์จริง และจะพาเราไปสำรวจหา "รากทางวัฒนธรรม" ที่แท้จริงของสิ่งที่เราเป็น รวมถึงตั้งคำถามว่า หรือแท้จริงแล้ว รากที่ว่านั้นก็คือการหลอมรวมของความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีที่ผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน โดยที่ไม่เคยมีสิ่งใดอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเอกเทศโดยไม่ยึดโยงกับอะไรเลย |
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน = Heritage of the nations : Lessons learned from the neighboring countries | สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2560 | Books CC135 .ม432 2560 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093713 | หนังสือเรื่อง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน จัดพิมพ์ขึ้นโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ตาม “อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546” ขององค์การยูเนสโก ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก เนื้อหาในเล่มจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ 1 จะชี้ให้เห็นภาพรวมของความเป็นมาเชิงประวัติของอนุสัญญา ที่มาและพัฒนาการภายใต้การดำเนินงานขององค์การยูเนสโกรวมถึงความเป็นมาและการดำเนินงานของประเทศไทยภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมในส่วนที่สอง ประกอบด้วยบทความแปลจำนวนหกบทที่ว่าด้วยหลักการและข้อปฏิบัติของอนุสัญญาฯ ผ่านกรณีตัวอย่างของประเทศเพื่อนบ้านและจากประเทศในภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดหวังว่า จะช่วยขยายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการกระบวนการ ข้อปฏิบัติรวมถึงข้อถกเถียงที่เกี่ยวเนื่องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ”ที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมที่หลากหลายซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนที่จำเป็นในฐานะที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกโดยสมบูรณ์ของอนุสัญญา |
ต้ม ... ยำ...ตำ...แกง ย่างและหมก อร่อยอย่างลิ้นไทย | สันติ เศวตวิมล | - | Journal: ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 68 (ธ.ค. 2560), หน้า 74-77 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068063 | บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการปรุงอาหารคาวหวานของคนไทย ซึ่งคนไทยมีวิธีการปรุงอาหาร 6 ลักษณะด้วยกัน คือ ต้ม ยำ ตำ แกง ย่าง และหมก ซึ่งทำกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมในการปรุงอาหารของคนไทยในปัจจุบัน |
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Books TT113.ท9 ก44 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090757 | หนังสือ “งานช่างฝีมือดั้งเดิม : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” เป็น 1 ใน 7 เล่ม ของชุดหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งงานช่างฝีมือดั้งเดิมได้ปรากฏเป็นรูปธรรมในการสร้างบ้าน แปงเมืองมาทุกยุคทุกสมัย งานช่างเหล่านั้นแฝงด้วยภูมิปัญญาที่แยบยล ตั้งแต่การเลือกคัดสรรวัสดุให้เหมาะสมกับงานช่างแต่ละประเภท เช่น การใช้กาบหอยมุกมาสร้างงานประดับมุก การใช้ยางรักมาทำเครื่องรัก นำใยฝ้ายและเส้นไหมมาทอผ้า จนถึงการใช้ไม้ไผ่มาทำเครื่องจักสาน กลวิธีการออกแบบสอดคล้องกับการใช้สอย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานช่างฝีมือดั้งเดิมได้ผ่านกระบวนการทางความคิด แก้ไข ดัดแปลง จนมีความสมบูรณ์ทั้งรูปแบบ การใช้สอย และมีเอกลักษณ์ชัดเจน ดังนั้น การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติด้านงานช่างฝีมือ จึงเป็นการรักษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชาติเอาไว้ |
กีฬาภูมิปัญญาไทย : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | [กรุงเทพฯ] : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Books GV663.ท9 ก44 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090762 | หนังสือ “กีฬาภูมิปัญญาไทย : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” เป็น 1 ใน 7 เล่ม ของชุดหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งกีฬาไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของ ชาติไทยสาขาหนึ่ง หมายถึง การเล่ม เกม กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันอยู่ในประเทศไทยและมีเอกลักษณ์สะท้อนวิถีไทยตามลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งอาจมีรูปแบบที่ไม่มุ่งเน้นการแข่งขันและไม่หวังผลแพ้ชนะ หรือมีลักษณะของการแข่งขัน มีกฎกติกา รวมถึงการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายหรืออุปกรณ์ โดยได้รับการฝึกฝนตามวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมา กีฬาภูมิปัญญาไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และเป็นมรดกภูมิปัญญา อันทรงคุณค่า สมควรได้รับการปกป้องคุ้มครองให้มีการสืบทอดไม่ให้สูญหายไปจากสังคมและวิถีชีวิตไทย |
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Books DS568 .ก444 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090764 | หนังสือ “ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” เป็น 1 ใน 7 เล่ม ของชุดหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยได้รวบรวมรายการมรดกภูมิปัญญาทางด้านความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาลของไทย 4 ประเภท ได้แก่ อาหารและโภชนาการ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน โหราศาสตร์และดาราศาสตร์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งหมด 40 รายการ ที่ได้คัดสรรจากคณะกรรมการฯ เสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาต |
วรรณกรรมพื้นบ้าน : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Books GR312 .ก443 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090760 | หนังสือ “วรรณกรรมพื้นบ้าน : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” เป็น 1 ใน 7 เล่ม ของชุดหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ได้รวบรวมรายการวรรณกรรมพื้นบ้านที่รู้จักแพร่หลาย ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงมีการนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน รวมมีวรรณกรรมพื้นบ้านที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 58 รายการ แบ่งเป็นนิทาน 14 เรื่อง ตำนาน 29 เรื่อง บทร้องพื้นบ้าน 2 บท บทสวดในพิธีกรรม 5 รายการ สำนวนภาษิต 1 รายการ และตำรา 7 เรื่อง |
ศิลปะการแสดง : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Books GV1703.ท9 ก44 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090759 | หนังสือเรื่อง "ศิลปะการแสดง : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” เป็น ๑ ใน ๗ เล่มชุดหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม รวบรวมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ซึ่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครอบคลุมด้านความคิด ความเชื่อ พิธีกรรม การแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับวิถีผู้คนในสังคม ทั้งระดับกลุ่มชาติพันธุ์ ระดับชุมชนที่เป็นพื้นถิ่นวัฒนธรรม ระดับภูมิภาค จนถึงระดับความเป็นชาติ โดยหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงศิลปะการแสดง ตามนิยามคือ เรื่องราวของศิลปะด้านดนตรี ฟ้อน รำ ระบำ เต้น ที่เป็นไปอย่างเอกเทศและดำเนินอย่างเป็นเรื่องราว มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสุข ความบันเทิง หรือเพื่อประกอบไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรม โดยนำสารัตถะของศิลปะการแสดงดังกล่าวมาเรียบเรียงจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม เพื่อให้คนไทยได้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกภูมิปัญญาทางด้านศิลปะการแสดงร่วมกัน |
ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การส่งเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Book P121 .ก44 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090758 | หนังสือ ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ จัดพิมพ์ขึ้นโดยรวบรวมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว โดยหนังสือเล่มนี้เป็น 1 ใน 7 เล่ม ในชุดหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ทางด้านภาษาที่พยายามศึกษา อนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูภาษาของกลุ่มชาติพันธ์หลาย ๆ กลุ่มในประเทศไทย และนำมาเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจและตระหนักถึงความสำคัญในการที่จะส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงอยู่สืบไป |
แนวปฏิบัติทางสังคมพิธีกรรมและงานเทศกาล : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ | กรมส่งเสริมวัฒนธรรม | กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การส่งเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559 | Book DS568 .ก443 2559 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090763 | หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล ได้ช่วยกันรวบรวมศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ความเป็นอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ รูปแบบวิธีการของการประพฤติปฏิบัติและการกระทำกิจกรรม การสืบสานประเพณีวัฒนธรรม พิธีกรรมงานเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งจัดให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้ศึกษาและมีส่วนร่วมในการประพฤติปฏิบัติกิจกรรมในงานประเพณีของชุมชนแต่ละแห่งอย่างถูกต้องและก่อให้เกิดคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อวิถีชีวิต สังคมและประเทศชาติสืบไป |
ตามรอยเส้นทางวัฒนธรรม พระปาจิต นางอรพิม | รังสิมา กุลพัฒน์ | - | Journal: ทางอีศาน. ปีที่ 4, ฉบับที่ 46 (ก.พ. 2559), หน้า 24-30 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00042147 | เส้นทางสายวัฒนธรรมพระปาจิต นางอรพิม เป็นงานวิทยานิพนธ์ ระดับดุษฎีบัณฑิต จากภาควิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรม และการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในชื่อเรื่องว่า มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิตผ่านวรรณกรรม : พัฒนาการเส้นทางสายวัฒนธรรมปาจิต-อรพิม (Living Heritage through Literature: The Development of Pachit – Oraphim Cultural Routes) และได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นสาขาปรัชญา จากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ในพ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากความขัดแย้งเรื่องพรมแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา จึงก่อให้เกิดประเด็นเรื่องการสัญจรและเดินทางของผู้คนในสมัยโบราณในยุคที่ยังไม่ได้มีแผนที่มากําหนดพรมแดน ว่ามีการเดินทางติดต่อกันไปมาอย่างไร โดยทำการศึกษาวิจัยจากนิทานท้องถิ่นในรูปแบบของวรรณกรรมมุขปาฐะ และงานวรรณกรรมที่มีการบันทึกถึงการเดินทางของตัวละครหลักคือ ท้าวปาจิตและนางอรพิม รวมถึงบอกเล่าที่มาของชื่อบ้านนามเมืองในเขตชายแดนไทย ลาว และเขมร |
เรื่องเล่าพื้นบ้านไทย ในโลกที่เปลี่ยนแปลง | ศิราพร ณ ถลาง | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558 | Books GR312 .ศ643 2558 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090730 | “เรื่องเล่าพื้นบ้านไทย ในโลกที่เปลี่ยนแปลง” เป็นหนังสือรวมบทความวิจัย 3 เรื่อง จากโครงการวิจัย 3 โครงการที่วิจัยโดยใช้ข้อมูลคติชนประเภทนิทานพื้นบ้าน / เรื่องเล่าพื้นบ้านเป็นหลัก โดยความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่ข้อมูลใหม่และประเด็นใหม่ในการศึกษาวิจัยทางคติชนวิทยา คือ เป็นการศึกษาการประยุกต์นิทานพื้นบ้านที่สืบทอดมาในสังคมและประเพณีที่มีการนำมาใช้ในบริบทใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น บริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บริบทการท่องเที่ยว วงการพุทธพาณิชย์ / เครื่องรางของขลัง วงการหนังสือวรรณกรรมเด็ก ทำให้สรุปได้ว่า นิทานพื้นบ้านไทยซึ่งน่าจะสูญสลายไปตามกาลเวลากลับกลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ มีบทบาทและยังดำรงอยู่ได้อย่างน่าสนใจในบริบทสังคมในปัจจุบันท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง |
เครื่องเขินล้านนา: มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สารสนเทศดิจิทัล | ษณีย์ ธงไชย และ วรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ์ | เชียงใหม่ : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558 | Books NK9900.7.ห7 ค84 2558 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095312 | เครื่องเขินล้านนา เป็นงานหัตถกรรมของล้านนาที่ควรรวบรวมและเผยแพร่ในรูปแบบสารสนเทศดิจิทัลผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า วิจัย และการอนุรักษ์สืบสานงานหัตถกรรมที่มีคุณค่าให้กับท้องถิ่นล้านนาได้อย่างกว้างขวาง สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา โดยคณะทำงานได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลจากแหล่งสะสมในพิพิธภัณฑ์ของวัดต่าง ๆ และชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และน่าน นอกจากนี้ยังได้เก็บรวบรวมข้อมูลในรัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งเป็นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่มีความเกี่ยวโยงกันในด้านศิลปหัตถกรรมเครื่องเขินในล้านนา และนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ศึกษาได้มารวบรวมและเรียบเรียงให้นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนผู้ที่สนใจได้เข้าถึงได้ที่เว็บไซต์สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่หรือใช้ผ่านโปรแกรมค้นหา (search engine) |
ปี่พาทย์มอญรำ | พิศาล บุญผูก | นนทบุรี : สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2558 | Book ML525 พ65 2558 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097219 | หนังสือ “ปี่พาทย์มอญรำ” เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ซึ่งภายในเล่มประกอบด้วยเรื่องราวที่เริ่มจากแหล่งศิลปวัฒนธรรมการดนตรี ขับร้องฟ้อนรำของมอญที่ปรากฏหลักฐานในพื้นที่เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และได้ขยายเนื้อหาไปยังชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรมมอญร่วมกัน โดยครอบคลุมประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดเรื่องราวการดนตรี ขับร้องฟ้อนรำของมอญบ้านเกาะเกร็ด เครื่องดนตรีมอญ ทั้งดีด สี ตี เป่า เพลงปี่พาทย์มอญ การขับลำนำของมอญ นาฏลีลาระบำรำฟ้อนของมอญ นาฏกรรมประจำชาติมอญที่อยู่ในวิถีชีวิต ประเพณี พิธีการ และพิธีกรรมของชุมชนมอญ รวมทั้งแม่บทมอญรำจากแม่ครูมะลิ วงศ์จำนงค์ แห่งบ้านเกาะเกร็ด ผู้สืบทอดนาฏศิลป์มอญรำจากบรรพชนให้อนุชนผู้สนใจรุ่นแล้วรุ่นเล่า |
ประยูรนิทรรศน์ : ร้อยเรื่องลำตัดผ่านชีวประวัติแม่ประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาต ชาวศาลายา | อภิลักษณ์ เกษมผลกูล | นครปฐม : ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา, 2556 | Books ML3758.ท9ป464 2556 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00083935 | นางประยูร ยมเยี่ยม เป็นศิลปินนักแสดงลำตัดระดับตำนาน ชื่อเสียงของท่านโด่งดังไปทั่วประเทศไทยควบคู่กับลำตัดคณะหวังเต๊ะ นอกจากจะชำนาญทางด้านลำตัดแล้ว ท่านยังมีความสามารถในเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ และเพลงขอทาน เป็นต้น โดยหนังสือ “ประยูรนิทรรศน์ : ร้อยเรื่องลำตัดผ่านชีวประวัติแม่ประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาต ชาวศาลายา” เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องราวของแม่ประยูร พร้อมทั้งเรื่องราวเพลงพื้นบ้านที่แม่ประยูรได้สร้างสรรค์และอนุรักษ์มายาวนานเท่าชีวิตของท่าน และด้วยเหตุนี้ แม่ประยูรจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) พุทธศักราช 2537 |
วรรณกรรมพื้นบ้านไทย: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2553 - 2556 | กลุ่มบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสถาบันวัฒนธรรมศึกษา | กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, 2556 | Books PL4221.ก46 2556 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081619 | “วรรณกรรมพื้นบ้านไทย: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติที่ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2553 - 2556” เป็นหนังสือที่รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งคัดสรรจากเรื่องที่รู้จักแพร่หลายในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญและมีบทบาท ในวิถีชีวิตวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และมีการนำมาผลิตซ้ำในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยการขึ้นทะเบียนรายการวรรณกรรมพื้นบ้านในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 นับจนถึง พ.ศ. 2556 รวมมีวรรณกรรมพื้นบ้านที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 43 รายการ แบ่งเป็นนิทาน 12 เรื่อง ตำนาน 21 เรื่อง ตำรา 5 เรื่อง บทสวดในพิธีกรรม 4 รายการ และสำนวนสุภาษิต 1 รายการ |
ฮีตฮอยหมอลำ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม | - | กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, 2555? | Books ML3758.ท9ฮ63 2555 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077744 | หนังสือ “ฮีตฮอยหมอลำ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” เล่มนี้ ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนแรก เป็นบทความพิเศษว่าด้วยหมอลำกับแนวคิดทุนทางวัฒนธรรมในบริบทโลกาภิวัฒน์ บทบาทของหมอลำมรดกทั้งในด้านคดีโลกและคดีธรรม รวมทั้งบทความทางวิชาการที่มุ่งวิเคราะห์ภูมิปัญญาเชิงคีตศิลป์ของศิลปินหมอลำและหมอแคน ส่วนที่สอง เป็นการรวมตัวอย่างการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำพญา พร้อมทั้งผนวกผลการศึกษาหมอลำผีฟ้าในมิติการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านของนักวิชาการชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาศึกษาวิจัยในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น และส่วนที่สาม เป็นบทสัมภาษณ์นายแพทย์สุชาติ ทองแป้น คุณหมอแผนใหม่ที่นำหมอลำมาประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสารและเยียวยาจิตวิญญาณของผู้ป่วยไปพร้อมกัน |
แนวทางการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ด้านวรรณกรรม | ประคอง นิมมานเหมินท์ | - | Journal: วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 49, ฉบับที่ 9 (ก.ย. 2553), หน้า 25-29 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00045303 | บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการอนุรักษ์วรรณกรรม 2 ประเภทที่มีการสร้างสรรค์และสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ได้แก่ วรรณกรรมมุขปาฐะ คือ วรรณกรรมที่ถ่ายทอดกันด้วยการบอกเล่าหรือขับเป็นทำนอง ได้แก่ ตำนาน นิทาน ภาษิต ปริศนาคำทาย บทสวดในพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่เป็นลายลักษณ์ที่มีอยู่ในรูปเอกสารตัวเขียน ได้แก่ คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย สมุดสาและเปลือกไม้ไผ่ เป็นต้น เอกสารตัวเขียนดังกล่าวนี้พบทั่วประเทศและมีเนื้อหาหลากหลาย เช่น บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเชื่อพื้นบ้าน ชาดกพื้นบ้าน ตำราโหราศาสตร์ ตำราเกี่ยวกับการทำมาหากิน เป็นต้น ซึ่งวรรณกรรมทั้ง 2 ประเภทนี้ ถ้าหากขาดการดูแลรักษาอย่างดี ก็อาจเสื่อมสูญไปตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย |
ภาษาไทย ภาษาถิ่น มรดกแห่งภูมิปัญญาของชาติไทย | กิ่งทอง มหาพรไพศาล | - | Journal: วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 47, ฉบับที่ 8 (ก.ค. 2551), หน้า 4-5 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00044239 | ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันกำหนดให้ ใช้ภาษาไทยมาตรฐานเป็น “ภาษากลาง” เรียกอีกอย่างว่าเป็นภาษาหนังสือ สำหรับใช้ในหลักสูตรการศึกษาและใช้ในการสื่อสารของคนไทยในทุกภาค ทำให้ภาษาถิ่นของแต่ละภูมิภาคกลายเป็นเพียงภาษาของผู้เฒ่าผู้แก่หรือเป็นภาษาที่ใช้ในประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นและในการแสดงพื้นบ้านเท่านั้น ด้วยสภาพของการใช้ภาษาถิ่นในปัจจุบันนี้เอง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงมีนโยบายที่ต้องการส่งเสริมการใช้ภาษาถิ่นเพื่อให้เยาวชนและประชาชนใช้ภาษาถิ่นได้อย่างถูกต้องและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น |
การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับอนุภูมิภาคเอเชีย เรื่องมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ = Sub -regional Workshop on Common Intangible Cultural Heritage | กิตติพร ใจบุญ | - | Journal: วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 47, ฉบับที่ 6 (พ.ค. 2551), หน้า 8-11 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00044220 | ในปี พ.ศ. 2551 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเนสโก ในการจัดประชุมเชิงประบัติการระดับอนุภูมิภาคเอเชีย เรื่อง มรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Sub-regional Workshop on Common Intangible Culture Heritage) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และแสวงหาแนวทางการร่วมมือเพื่อคุ้มครองและจัดทำฐานข้อมูลด้านมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในกลุ่มอนุภูมิภาคเอเชีย การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 - 30 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้แทนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในสาขาศิลปะการแสดงและงานช่างฝีมือ จากประเทศบรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมทั้งประเทศที่มี |
ร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ | รูปินา (กรัยวิเชียร) สุวรรณพงษ์ | - | Journal: วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 47, ฉบับที่ พิเศษ (เม.ย. 2551), หน้า 27-28 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00044217 | บทความนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชิญชวนให้ร่วมกันอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้อันทรงคุณค่าของประเทศไทยไว้ เนื่องจากองค์การยูเนสโก อันประกอบด้วยภาคีสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาเพื่อการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ที่กรุงปารีส เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวได้ระบุถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ว่า เกิดจากภูมิปัญญาและเป็นบ่อเกิดของความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเป็นหลักประกันสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน |
การปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของไทย | กิตติพร ใจบุญ | - | Journal: วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 47, ฉบับที่ 1 (ธ.ค. 2550), หน้า 36-37 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00044170 | ประเทศไทยอยู่ในสภาพปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ผันผวน โดยการนำมรดกทางวัฒนธรรมไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือด้วยความเข้าใจที่พลิกผันไปจากคุณค่าที่สืบทอดต่อกันมา ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) จึงเห็นความสำคัญในการผลักดันให้เกิดกระบวนการในการปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรม โดย สวช. ได้เล็งเห็นว่า ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสำคัญยิ่งในการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน และปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม จึงมีนโยบายมอบหมายบทบาทและหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้บริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญในท้องถิ่นของตนเอง |
ผีไซ : มรดกสงกรานต์พื้นบ้าน | แสนประเสริฐ ปานเนียม | - | Journal: เมืองโบราณ : 32,1 (ม.ค.-มี.ค. 2549) : หน้า 110 - 114 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00009981 | สังคมไทยแต่โบราณเป็นสังคมชาวนา สงกรานต์จึงเป็นช่วงเวลาอันเหมาะสมสำหรับการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพราะเป็นช่วงที่ว่างจากการเพาะปลูก ผู้คนสนุกสนานรื่นเริงได้เต็มที่ โดยประเพณีที่ยึดถือปฏิบัตินั้นประกอบด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษ สรงน้ำพระ ตลอดจนรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำอย่างสนุกสนาน บางแห่งจะมีการละเล่นที่เรียกว่า เข้าทรงผี หรือ การเล่นผีไซ ซึ่งเป็นการละเล่นที่นิยมในเทศกาลสงกรานต์ เช่น ที่บ้านหาด ในเขตตำบลท่าช้าง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ที่ยังคงเป็นอีกแห่งหนึ่งทียังนิยมเล่นผีไซในเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี ซึ่งการเล่นผีไซเป็นการละเล่นที่แฝงไว้ด้วยความเชื่อของชุมชนที่มีต่อวิถีชีวิตพื้นบ้าน อันก่อให้เกิดประเพณีแห่งความสนุกสนานและสามัคคีในทุก ๆ ปี |
การจัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมไทย | รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์ | - | Journal: จดหมายข่าวสารไทยศึกษา. ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (ต.ค./ธ.ค. 2549), หน้า 26-28 | http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00053667 | หลังจากที่องค์การยูเนสโกได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ยูเนสโกจึงได้ส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีการสำรวจขึ้นทะเบียนและประกาศเพื่ออนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิต ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ให้ทุนสนับสนุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพื่อดำเนินโครงการ “การจัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมเพื่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมไทย” โดยสำรวจและจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรมในประเทศไทยให้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นหลักฐานในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และแบ่งหมวดขอมูลวัฒนธรรมออกเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ หมวดมุขปาฐะ หมวดศิลปะการแสดง หมวดประเพณีและขนบธรรมเนียมไทย หมวดภูมิปัญญาเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และหมวดงานช่างพื้นบ้าน |
สารนิเทศจากคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา | ก่องแก้ว วีระประจักษ์ | กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545 | Books DS578.1.ก52 2545 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078208 | มภีร์ใบลาน เป็นหนังสือประเภทหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยโบราณ ขั้นตอนการสร้างคัมภีร์ใบลานมีวิธีการเฉพาะ ซึ่งน่าสนใจและควรศึกษาอย่างยิ่ง กรมศิลปากรจึงได้ตระหนักถึงคุณค่าของหลักฐาน และข้อมูลที่มีอยู่ในคัมภีร์ใบลานเหล่านั้น จึงมอบหมายให้ นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ นักอักษรศาสตร์ 9 ชช. ศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงสหวิทยาการ เรื่อง สารนิเทศจากคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา เพื่อบันทึกความรู้เกี่ยวกับลักษณะพิเศษของหนังสือตัวเขียนประเภทคัมภีร์ใบลาน และวิวัฒนาการของรูปอักษรขอมที่ใช้ในคัมร์ภีใบลานสมัยอยุธยา |
ไข่เค็มไชยากับภูมิปัญญาสุราษฎร์ธานี | เบญจวรรณ จันทร์พลูหลวง | กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2545 | Books DS589.ส7.บ72 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00029503 | สุราษฎร์ธานี เป็นหนึ่งในดินแดนเก่าแก่ทางภาคใต้ของไทย อารยธรรมของมนุษยชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยมีจุดกำเนิดและแพร่หลายอยู่ในดินแดนแห่งนี้ โดยมีหลักฐานจากศิลาจารึก โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า สุราษฎร์ธานี เคยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยศรีวิชัย และร่องรอยแห่งความเจริญนั้นยังปรากฏเป็นหลักฐานให้คนในรุ่นปัจจุบันได้พบเห็นอย่างมากมาย โดยหนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวความชาญฉลาดและภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวสุราษฎร์ธานีที่ได้สืบทอดต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน |
ผ่อล้านนา : มองวิถีวัฒนธรรมล้านนาโดยสังเขป | เกรียงไกร เกิดศิริ | กรุงเทพฯ : อุษาคเนย์, 2554 | Book DS576.71.ก74 2554 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081227 | หนังสือ “ผ่อล้านนา : มองวิถีวัฒนธรรมล้านนาโดยสังเขป” เล่มนี้ จัดพิมพ์ขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2553 โดยมอบหมายให้จังหวัดลำปางเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดทำ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนานของดินแดนล้านนา อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นมรดกโลกของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน โดยได้รวบรวมประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณีของจังหวัด ในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 |
มรดกวัฒนธรรมพื้นบ้าน | วิบูลย์ ลี้สุวรรณ | กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ 1999, 2542 | Books DS568.ว637 2542 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00020918 | หนังสือ “มรดกวัฒนธรรมพื้นบ้าน” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยที่เขียนไว้ในหนังสือต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ซึ่งผู้เขียนได้นำมาแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาให้ถูกต้องมากขึ้น และนอกจากจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอแนวคิดในการศึกษาวัฒนธรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป |
ช้างราชพาหนะ | ณัฏฐภัทร จันทวิช | กรุงเทพฯ : โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย, 2542 | Books SF401.ช6ณ62 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019539 | หนังสือชุดมรดกไทยเรื่อง “ช้างราชพาหนะ” เล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย โดยภายในเล่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “ช้าง” สัตว์มงคล 1 ใน 4 ชนิด ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งสายน้ำในจักรวาล ซึ่งประกอบด้วย ช้าง ม้า วัว และราชสีห์หรือสิงห์ และมีความเชื่อเกี่ยวกับช้างเผือกว่าเป็นเครื่องหมายมงคลหนึ่งในเจ็ดอย่างที่ถือเป็นคู่บุญบารมีแห่งพระจักรพรรดิ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของอินเดีย ที่ไทยเรารับเข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ กล่าวได้ว่าช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของไทยมาแต่โบราณ คนไทยจึงมีความสัมพันธ์และคุ้นเคยกับช้างมานาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน สภาพสังคมและสภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ความเชื่อและความชื่นชอบของคนไทยที่มีต่อช้างนั้น ก็ยังคงอยู่ในความรู้สึกของคนไทยไม่เปลี่ยนแปลง |
ตำรามรดกอีสานหรือมูลมังอีสาน | สวิง บุญเจิม | อุบลราชธานี : สำนักพิมพ์มรดกอีสาน, 2539 | Books DS588.ต5ส56 2539 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033625 | คนเรานับตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตจะเกี่ยวพันเป็นพิธีอยู่กับสองอย่าง คือ ศาสนากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในด้านจริยธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ทำบุญวันเกิด สู่ขวัญเด็ก ทำบุญเลี้ยงพระ วันแต่งงาน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดมาติกาเวลามีคนตาย เป็นต้น จึงเห็นได้ชัดว่า พระพุทธศาสนากับขนบธรรมเนียมประเพณีได้ดำเนินควบคู่กันมาในชีวิตประจำวันของชาวบ้านอย่างแนบแน่น ด้วยเหตุนี้ อาจารย์สวิง บุญเจิม จึงได้เขียนหนังสือ “ตำรามรดกอีสาน หรือมูลมังอีสาน” เล่มนี้ขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระครอบคลุมถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิตและสังคมของคนไทย – ลาว แห่งลุ่มน้ำโขง นับตั้งแต่เรื่องสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล เรื่องของครอบครัว การทำมาหากิน การครองตนและการอยู่ร่วมกันในสังคม การปฏิบัติศาสนกิจและพิธีกรรมตามประเพณี รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งสิ้น 22 บท โดยแยกเป็นเรื่องย่อย ๆ กว่า 350 เรื่อง |
มรดกอีสาน | ศูนย์รวมสงฆ์ชาวอีสาน | กรุงเทพฯ : ศูนย์, 2533 | Books DS588.ต5ศ73 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000278 | ศูนย์รวมสงฆ์ชาวอีสาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม จึงได้รวบรวมจัดพิมพ์หนังสือ “มรดกอีสาน” เล่มนี้ขึ้น โดยมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอีสานมีมากมายหลายอย่าง เช่น ภาษา อาหาร การฟ้อนรำ ศิลปหัตถกรรม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวอีสานที่ได้สั่งสมและอนุรักษ์ไว้แล้วถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดประสงค์ในการพิมพ์ คือ เพื่อฟื้นฟูและเผยแพร่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาวอีสานสืบต่อไป |
การทดลองการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นแก่เด็กวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา | จุไร รังสิกรรพุม | กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2524 | Research and Thesis DS568.จ79 2524 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019128 | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งถ่ายทอดด้วยวิธีการสอน 3 แบบ คือ อยู่ค่ายพักแรม สอนในห้องเรียน และสอนแบบควบคุม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความรู้และแบบสอบถามทัศนคติต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่า การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้ง 3 วิธี ทำให้ความรู้และทัศนคติต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของกลุ่มตัวอย่างมีค่าแตกต่างกัน โดยวิธีการสอนโดยการอยู่ค่ายพักแรม ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทัศนคติต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีสอนในห้องเรียนและกลุ่มสอนแบบควบคุม และวิธีการสอนในห้องเรียน ทำให้มีความรู้และทัศนคติต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่ากลุ่มควบคุม |
การทดลองการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นแก่เด็กวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ | ชนิดา วัยวุฒิเกียรติ | กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2524 | Research and Thesis DS568.ช36 2524 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019555 | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งถ่ายทอดด้วยวิธีการสอน 3 แบบ คือ อยู่ค่ายพักแรม สอนในห้องเรียน และสอนแบบควบคุม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ และใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความรู้ในมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นและแบบสอบถามวัดทัศนคติต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลการศึกษาพบว่า การถ่าทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยวิธีสอนโดยการอยู่ค่ายพักแรม ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และมีทัศนคติที่ดีต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นสูงกว่าทุกกลุ่ม และการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยวิธีสอนแบบควบคุม ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และมีทัศนคติที่ดีต่อมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นน้อยกว่าทุกกลุ่ม |
วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปวรรณคดีอีสาน : นิทรรศการวัฒนธรรม ประเพณี มรดกอีสาน ครั้งที่ 2 ชุดความรู้ ณ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 12-15 สิงหาคม 2520 | วิทยาลัยครูมหาสารคาม | มหาสารคาม : วิทยาลัยครูมหาสารคาม, 2520 | Books DS588.ต5ม56 2520 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084748 | วิทยาลัยครูมหาสารคาม ร่วมกับจังหวัดมหาสารคาม ได้กำหนดให้จัดงานนิทรรศการ “มรดกอีสาน” ครั้งที่ 2 ขึ้นในวันที่ 12 – 15 สิงหาคม 2520 ณ วิทยาลัยครูมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูและรักษาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมของภาคอีสานให้แพร่หลายและอยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยต่อไป โดยได้รวบรวมสิ่งที่น่าสนใจต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาคอีสานมาจัดเป็นหมวดหมู่ เช่น พืชกินได้ในภาคอีสาน ยาสมุนไพรในภาคอีสาน การละเล่นพื้นเมือง เป็นต้น และนำมาจัดแสดงให้ผู้ที่สนใจได้รับชมในรูปแบบของนิทรรศการ การสาธิต การอภิปราย และการแสดงบนเวที ทำให้ผู้เข้าชมได้รับทั้งความรู้และความบันเทิงในเวลาเดียวกัน |
Museums and anthropology in the age of engagement | Christina F. Kreps. | New York, NY: Routledge, 2020 | Books GN35 .K74 2020 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097787 | หนังสือเล่มนี้เขียนโดย คริสตินา เอฟ. เครปส์ (Christina F. Kreps) ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่เชี่ยวชาญในการศึกษาพิพิธภัณฑ์และแนวปฏิบัติเชิงพิพิธภัณฑ์ข้ามวัฒนธรรม โดยเขียนขึ้นมาจากการศึกษาวิจัยของผู้เขียนเอง ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มมีทั้งหมด 7 บท กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านมานุษยวิทยาพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม นำเสนองานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์และมานุษยวิทยาในยุคอาณานิคมและหลังอาณานิคมในประเทศสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และอินโดนีเซีย หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้สอน และผู้ที่สนใจในการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และเชิงเปรียบเทียบของพิพิธภัณฑ์และมานุษยวิทยา รวมถึงผู้ที่ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ |
Milk! : A 10,000-year food fracas | Mark Kurlansky | New York: Bloomsbury Publishing, 2019 | Books SF250.5 .K87 2019 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097854 | หนังสือเล่มนี้เขียนโดย มาร์ก เคอร์แลนสกี้ (Mark Kurlansky) ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนสารคดีทั่วไปชาวอเมริกัน มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ “นม” ครอบคลุมในเรื่องของวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการทำอาหารจากนมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ซึ่งก่อนที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นเรื่องปกติที่แต่ละครอบครัวจะเลี้ยงโคนมและผลิตน้ำนมด้วยตนเอง แต่ในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการผลิตนมจำนวนมาก ทำให้ความปลอดภัยของนมกลายเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากโรคที่เกิดจากนมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อย ทำให้เกิดกระบวนการพาสเจอร์ไรส์นมก่อนนำมาบริโภค และเกี่ยวโยงไปถึงอุตสาหกรรมการผลิตนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต ไอศกรีม เป็นต้น |
Far & near: selections from the Peabody Museum of Archaeology & Ethnology | Pamela Gerardi, general editor | Cambridge, Massachusetts: Peabody Museum Press, Harvard University, [2019] | Books GN36.U62 P43 2019 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097706 | หนังสือเล่มนี้นำเสนอโบราณวัตถุมากกว่า 90 ชิ้น จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเกียรติในวันครบรอบ 150 ปีของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยา Peabody Museum of Archaeology & Ethnology แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นหนังสือที่มีภาพประกอบสวยงามทั้งเล่ม ซึ่งโบราณวัตถุที่คัดเลือกมานำเสนอนั้น ได้รับการคัดเลือกโดยภัณฑารักษ์และเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และเป็นเพียงเศษเสี้ยวของ 1.25 ล้านชิ้นในคอลเล็กชันของพิพิธภัณฑ์เท่านั้น |
Beer culture in theory and practice: understanding craft beer culture in the United States | Adam W. Tyma | Lanham, Maryland : Lexington Books, an imprint of The Rowman & Littlefield Publishing Group, Inc., [2017] | Books GT2890 .B44 2017 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00096113 | หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเบียร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่การผลิตเบียร์ภายในครัวเรือน การขยายตัวของวัฒนธรรมเบียร์ทั้งในเชิงสังคมและ เชิงพาณิชย์ ความหมายของแบรนด์เบียร์ และข้อบกพร่องที่มีอยู่ในเบียร์และชุมชนการผลิตเบียร์ แสดงให้เห็นว่าเบียร์เชื่อมโยงกับชุมชนและวัฒนธรรมในสหรัฐอเมริกาอย่างไร |
Food and Museums | Nina Levent | London ;New York : Bloomsbury Academic, an imprint of Bloomsbury Publishing, Plc, 2017 | Books GT2855 .F653 2017 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095634 | “อาหารและพิพิธภัณฑ์” เป็นหนังสือเล่มแรกที่สำรวจความสัมพันธ์อันหลากหลายและซับซ้อนระหว่างพิพิธภัณฑ์และอาหาร โดยนำเสนอผ่านนิทรรศการเรื่องราวเกี่ยวกับการผลิตอาหาร การบริโภคอาหาร ประวัติศาสตร์อาหาร รวมถึงศิลปะของอาหาร โดยมีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ ศิลปิน และเชฟ อีกทั้งยังมีการรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษาที่สำคัญจากสถาบันทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง เพื่อสร้างกรอบการวิเคราะห์บทบาทของอาหารในพิพิธภัณฑ์ และมีการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีจากนักประวัติศาสตร์วัฒนธรรม นักมานุษยวิทยา นักประสาทวิทยา และนักวิชาการด้านอาหาร เพื่อแสดงให้เห็นว่าอาหารกำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันอย่างไร เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์และอาหาร |
The Routledge companion to intangible cultural heritage | Michelle L. Stefano | London : Routledge, 2017 | Book CC135 .R68 2017 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093676 | หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแนวคิดของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (intangible cultural heritage) เขียนโดย มิเชลล์ แอล. สเตฟาโน (Michelle L. Stefano) ผู้เขียนได้พิจารณามุมมองที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยศึกษาจากผลงานวิชาการที่เป็นที่ยอมรับ ประกอบกับการใช้ทฤษฎีและแนวปฏิบัติของการศึกษามรดกและพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา การศึกษาคติชนวิทยาชาติพันธุ์วิทยา รวมถึงการศึกษานโยบายวัฒนธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอภาพรวมครอบคลุม ในบริบททางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ผู้อ่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับทฤษฎี แนวปฏิบัติ และการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หนังสือเล่มนี้จึงถือเป็นแหล่งความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สอน นักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานในด้านนี้ |
Intangible heritage and the museum : new perspectives on cultural preservation | Marilena Alivizatou | Walnut Creek, Calif. : Left Coast Press, c2012 | Books GN35 .A48 2012 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00088743 | หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับแนวคิดของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยใช้วิธีการทางชาติพันธุ์วรรณนาที่มีพื้นฐานมาจากการตรวจสอบมรดกที่จับต้องไม่ได้ในท้องถิ่นของภูมิภาคโอเชียเนีย อเมริกา และยุโรป นำเสนอมุมมองใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนและมีหลักฐานที่เป็นประโยชน์สำหรับนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และผู้ที่ปฏิบัติงานด้านมรดกทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ |
Safeguarding intangible cultural heritage | Michelle L. Stefano | Woodbridge, Suffolk : Boyell Press, 2012 | Books CC135.S24 2012 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081025 | ในปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) ยูเนสโกได้ประกาศอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองและสนับสนุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมถึงเพื่อให้เกิดความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ หนังสือเล่มนี้ให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ และเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และผู้ที่ปฏิบัติงานด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ |
Course materials intangible cultural heritage and museums | Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre | Bangkok : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre, 2010 | Book AM79.T5 C68 2010 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00092266 | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับ Asian Academy for Heritage Management (AAHM) เป็นเครือข่ายของสถาบันทั่วเอเชียและภูมิภาคแปซิฟิกที่เปิดสอนการฝึกอบรมในสาขาการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม และ องค์การยูเนสโก (ประเทศไทย) ได้ร่วมกันจัดโครงการโรงเรียนภาคสนามเกี่ยวกับเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยได้ร่วมมือกับชุมชนในท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า งานฝีมือ งานเทศกาล พิธีกรรม การแสดง และความรู้ดั้งเดิมในรูปแบบอื่น ๆ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ทั้งจากการบรรยายและการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งโครงการนี้ได้จัดขึ้นที่จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม – 5 กันยายน 2553 |
Intangible heritage embodied | D. Fairchild Ruggles | Dordrecht ; New York : Springer, c2009 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00080151 | ในปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546) ยูเนสโกได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ประเพณี การแสดงออกของมุขปาฐะ (การบอกเล่าต่อๆ กันมาด้วยปากเปล่า) ภาษา ศิลปะการแสดง (เช่น ดนตรีพื้นเมือง การเต้นรำ การละคร) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม งานเทศกาลต่าง ๆ ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และงานฝีมือแบบดั้งเดิม และหลังจากมีการรับรองอนุสัญญานี้ นักวิชาการและนักอนุรักษ์จึงพยายามหาวิธีในการเข้าถึงและสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอกรณีศึกษาจากทั่วโลกเกี่ยวกับการตรวจสอบปัญหาและความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามอนุสัญญายูเนสโก ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งนักวิชาการด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ การศึกษาพิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรม และผู้ที่ปฏิบัติงานด้านมรดกทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์ |
|
Intangible heritage | Laurajane Smith | Milton Park, Abingdon, Oxon ; New York, NY : Routledge, 2009 | Books CC135.I56 2009 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061821 | หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันระหว่างประเทศเกี่ยวกับความหมาย ลักษณะ คุณค่า และกระบวนการจัดการเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ รวมไปถึงมรดกทางวัฒนธรรมอื่น ๆ อีกด้วย หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในพื้นที่จากหลายประเทศ ได้แก่ ซิมบับเว โมร็อกโก แอฟริกาใต้ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอินโดนีเซีย |
Safeguarding intangible heritage and sustainable cultural tourism: opportunities and challenges | UNESCO | Bangkok : UNESCO Bangkok : Establishment Initiative for the Intangible Heritage Centre for Asia-Pacific, 2008 | Books DS12.C85U82 2008 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00082987 | ในปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546) ยูเนสโกได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ประเพณี การแสดงออกของมุขปาฐะ (การบอกเล่าต่อๆ กันมาด้วยปากเปล่า) ภาษา ศิลปะการแสดง (เช่น ดนตรีพื้นเมือง การเต้นรำ การละคร) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม งานเทศกาลต่าง ๆ ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และงานฝีมือแบบดั้งเดิม ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ จะช่วยให้ชุมชนและบุคคลมีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในการปกป้องรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยหนังสือเล่มนี้จะนำเสนอการปกป้องรักษามรดกที่จับต้องไม่ได้และความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ จนนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน |
Museums in the material world | Simon Knell | London : Routledge, 2007 | Books AM111.K58 2007 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057101 | หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางวัตถุ คือ วัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรมทางวัตถุจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคติแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น เช่น เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ศาสนา ความรู้สึกนึกคิด หรือค่านิยมของคนในชุมชน เป็นต้น โดยภายในเล่มจะนำเสนอโบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และผลงานทางศิลปะของมนุษย์ พร้อมทั้งศึกษาถึงประวัติศาสตร์ แนวคิด และการตีความสิ่งของต่าง ๆ เหล่านั้นว่าของแต่ละชิ้นต้องการสื่อความหมายถึงอะไร มีความเกี่ยวข้องกับชุมชนอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักศึกษา ผู้สอน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางวัตถุในพิพิธภัณฑ์ |
Inventory of Intangible Cultural Heritage of Cambodia | Phnom Penh | Ministry of Culture and Fine Arts and UNESCO, 2004 | Books PN1582.C36I68 2004 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044642 | หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศกัมพูชา โดยเน้นไปที่ละครโขล (Lakhaon Khaol) เป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะการแสดงที่เก่าแก่ที่สุดของกัมพูชา ซึ่งเป็นนาฏกรรม สวมหน้ากากที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโขนของประเทศไทย และยูเนสโกได้พิจารณาขึ้นทะเบียนละครโขล วัดสวายอันแดต เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นอกจากละครโขล (Lakhaon Khaol) แล้ว หนังสือเล่มนี้ ยังกล่าวถึงมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้อื่น ๆ ของประเทศกัมพูชาอีกด้วย |
The subtle power of intangible heritage : legal and financial instruments for safeguarding intangible heritage | Deacon, Harriet | Cape Town, South Africa : HSRC Publishers, 2004 | Books CC135.D43 2004 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059384 | หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเครื่องมือทางกฎหมายและการเงินที่แต่ละประเทศและแต่ละภูมิภาคนำมาใช้เพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นของตน และแสดงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค โดยจะศึกษาในประเด็นที่สำคัญ ๆ เช่น เครื่องมือทางกฎหมายและการเงินจะช่วยปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ได้อย่างไร? มีแนวทางที่จะสามารถพัฒนาเครื่องมือเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร? เป็นต้น และมีการวิเคราะห์วิธีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศต่าง ๆ รวมถึงเสนอแนวคิดและคำแนะนำสำหรับผู้กำหนดนโยบายเพื่อปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม |
Folklore, cultural performances, and popular entertainments : a communications-centered handbook | Richard Bauman | New York : Oxford University Press, 1992 | Books GR35.F64 1992 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00007996 | หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงเรื่องคติชนวิทยา คือ ศึกษาข้อมูลทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นตำนาน นิทาน นิยายประจำท้องถิ่น เพลง ปริศนาคำทาย สำนวนภาษิต คำพังเพย การละเล่น การแสดง เครื่องมือเครื่องใช้ อาหารการกิน ยาพื้นบ้าน ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม โดยจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเรื่องการแสดงออกทางวัฒนธรรมและความบันเทิงที่เป็นที่นิยม เช่น ละครใบ้ ละครพื้นบ้าน การเชิดหุ่นกระบอก การแสดงดนตรีพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องคติชนวิทยาและการศึกษาวัฒนธรรม |
เรื่องเก่าเล่าขาน...บ้านบางเหนียว | ฤดี ภูมิภูถาวร | สงขลา : เอสพริ้นท์ (2004), [ม.ป.ป.] | Books DS589.ภ7 ฤ362 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094979 | หนังสือ “เรื่องเก่าเล่าขาน...บ้านบางเหนียว” เขียนโดย อาจารย์ฤดี ภูมิภูถาวร เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านบางเหนียว จังหวัดภูเก็ต โดยชุมชนแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ยาวนานมากกว่าร้อยปี มีประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจ โดยเนื้อหา ได้กล่าวถึงถิ่นฐานการตั้งชุมชนในอดีต ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งอาหารพื้นเมือง จนมาถึงเรื่องราวจากปากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนบ้านบางเหนียว ตลอดจนกล่าวถึงความเชื่อ ความศรัทธา และค่านิยมของชุมชน |
เล่าขานผ่านงิ้ว | ดนุพล ศิริตรานนท์ | [ม.ป.ท.] : ส.เอเชียเพรส 1989, [ป.ป.ป.] | Books GV1691.ง6 ด37 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097114 | “เล่าขานผ่านงิ้ว” เล่มนี้ ผู้เขียนได้หยิบยกความเป็นมา ตำนาน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ “งิ้ว” เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าการดูงิ้วได้อะไรมากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่แฝงไปด้วยความหมายมากมาย และมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่กำลังเรียนภาษาจีน โดยนอกจากจะได้รู้ศัพท์และสำนวน ต่าง ๆ แล้ว ท้ายเล่มยังมีเชิงอรรถชื่อตัวละครและบุคคลต่าง ๆ ไว้สำหรับค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย ซึ่งการเรียนภาษาให้ถึงแก่นนั้น ควรจะต้องเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของเจ้าของภาษา และงิ้วก็เป็นเครื่องมืออย่างดีที่จะทำให้ ทุกคนได้เรียนรู้ทั้งภาษา ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งผู้อ่านจะได้ทั้งความบันเทิงและสาระในเวลาเดียวกัน |
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตำบลคลองแห | ประเสริฐ รักษ์วงศ์ | สงขลา: ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช คลองแห, 2556 | Books DS589.ส2 ม43 2556 | http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090507 | ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช คลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมพื้นบ้าน ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล เป็นต้น จึงได้จัดให้มีการรวบรวม และเก็บบันทึกองค์ความรู้ต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ได้ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะคุ้มครองให้มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้คงอยู่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป |