Title |
Author |
Imprint |
Collection |
Url |
Annotation |
หอสมุดดิจิทัลคัมภีร์ใบลานล้านนา |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://lannamanuscripts.net/th/ |
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการหอสมุดคัมภีร์ใบลานล้านนา ซึ่งได้เริ่มขึ้นในปี 2013 เป็นโครงการที่รวบรวมคัมภีร์ใบลาน ด้วยระบบออนไลน์ พร้อมคัมภีร์ใบลานที่ได้รับการบันทึกเป็นระบบดิจิทัล ได้ริเริ่มและระดมการสนับสนุนในการรวบรวมและจารคัมภีร์ใบลานในพื้นที่ต่างๆ ในปัจจุบันเป็นภาคเหนือของไทย และหลวงพระบาง ประเทศลาว ศูนย์รวมคัมภีร์ใบลานของวัดสูงเม่นนับว่าเป็นศูนย์คัมภีร์ใบลานใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของไทย ซึ่งมีคัมภีร์ใบลานถึง 1,700 ต้นฉบับ คัมภีร์ใบลานทั้งหมดได้ถ่ายเป็นไมโครฟิล์ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนา (PNTMP) และปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดดิจิทัลนี้ด้วย
|
ศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://www.culture.cmru.ac.th/openbiblio/home/index.php |
วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการให้บริการข้อมูลบริการสืบค้นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา โดยเปิดให้บริการกับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นักวิชาการทั่วไป ตลอดจนบุคคลภายนอกที่สนใจ ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ให้กับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ตลอดจนบุคคลภายนอก
|
ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital "วช." |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://dric.nrct.go.th/Index |
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบทคัดย่อ และ เอกสารฉบับเต็ม ทางด้านการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเป็นเอกสารสำหรับใช้งานเพื่อการศึกษาแสวงหาความรู้และเพื่อการวิจัย โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหาและต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้ สมาชิกสามารถดาวน์โหลดบทคัดย่อและเอกสารฉบับเต็มได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การดาวน์โหลด บทคัดย่อ และ เอกสารฉบับเต็มของสมาชิกจะมีการบันทึกสถิติไว้ทุกครั้ง เพื่อประมวลแนวโน้มความสนใจด้านการวิจัย
|
อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ |
มหาวิทยาลยเชียงใหม่ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
อาจารย์ วิถี พานิชพันธ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีล้านนา เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้อำนวยการสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมล้านนา (ไต) มหาวิทยาลัยพะเยา มีผลงานตีพิมพ์ เรื่อง ผ้าและสิ่งถักทอไท, วิถีล้านนา, จิตรกรรมเวียงต้า, หำยนต์ เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย และไทเขินแห่งเชียงตุง
|
อาจารย์ ดร.เบญจวรรณ สุขวัฒน์ |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
อาจารย์ ดร.เบญจวรรณ สุขวัฒน์ เป็นอาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นผู้วิจัยเรื่องการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน : การต่อรองสิทธิการเป็นพลเมืองทางวัฒนธรรม วิจัยเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินและการแสดงออกถึงจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์ผ่านการปลูกฝังให้กับคนในกลุ่ม ศึกษาความสัมพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน กับคนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุืไทเขินและปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิจัยเชิงมานุษยวิทยา
|
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน เป็นที่รู้จักกันในวงการสถาปนิกไทย มีความชำนาญระดับสูง ได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ มีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง เป็นผู้ที่อุทิศให้งานด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์พื้นถิ่น
|
พิพิธภัณฑ์ไทเขินวัดสันก้างปลา |
ไม่ระบุ |
หมู่ 6 ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 50130 |
ไม่ระบุ |
https://www.anurak.in.th/watsankangpla/site/theme/index.php |
อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยเขิน และเผยแพรให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชนให้มีความรักท้องถิ่น รวมไปถึงตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสมมาหลายชั่วอายุคน ภายในศูนย์วัฒนธรรมวัดสันก้างปลานี้ ประกอบด้วยนิทรรศการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาวไทยเขิน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบชาวไทยเขิน ทั้งที่เป็นของเก่าแก่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษและที่ตัดเย็บขึ้นมาใหม่โดยกลุ่มแม่บ้าน รวมถึงเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน การจัดตั้งและการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์เป็นความร่วมมือระหว่างวัดและชุมชน ศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่สำคัญของคนในชุมชนและชุมชนข้างเคียง วัดยังจัดกิจกรรมให้กับเยาวชน โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนธรรมะและส่วนวัฒนธรรม
|
Thai Journals Online (ThaiJO) |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
https://www.tci-thaijo.org/ |
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ThaiJO ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI) วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System) เดียวกันซึ่งพัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP)
|
ฐานข้อมูลเอกสารล้านนาภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาคดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://library.cmu.ac.th/lanna_ebook/ |
วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฐานข้อมูลคัมภีร์โบราณล้านนา เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมองค์ความรู้จากคัมภีร์โบราณล้านนาที่หน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รวบรวมไว้ ซึ่งในฐานข้อมูลได้จัดหมวดหมู่เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้น แยกตามหมวดเอกสารตัวเขียน อักษร ภาษา แหล่งจัดเก็บ ประเภท วัสดุ และผู้รวบรวม เป็นโครงการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลเอกสารล้านนาภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาคดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
|
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (Union Catalog of Thai Academic Libraries – UCTAL) |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://uc.thailis.or.th/main/index.aspx |
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายการบรรณานุกรมที่มีอยู่ในฐานข้อมูลห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยแต่ละแห่งเอาไว้ด้วยกัน มีการการจัดทำรายการสิ่งพิมพ์สำเร็จรูป การจัดการระเบียนบรรณานุกรม การควบคุมระเบียนรายการหลักฐาน และการใช้รายการร่วมกัน อันจะช่วยรองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดความซ้ำซ้อนในการจัดทำรายการบรรณานุกรม และใช้ประโยชน์ในการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดยที่ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด
|
ฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน พับสา และเอกสารอักษรตระกูลไท ศูนย์ใบลานศึกษา มหาวิทยาลัยราชฎัชเชียงใหม่ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://www.culture.cmru.ac.th/manuscript_database/ |
วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรวบรวมภาพถ่ายดิจิทัลคัมภีร์ใบลาน พับสาและเอกสารอักษรตระกูลไทจากสถานที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวิน (ภาคเหนือของไทย ภาคตะวันออกของเมียนมาร์ ภาคใต้ของจีน ปละภาคเหนือของลาว) ซึ่งเป็นเขตวัฒนธรรมอักษรไท คือมีการใช้อักษรไทยวน ไทลื้อ ไทขึน ไทใหญ่ ไทเหนือ และลาว เพื่ออนุรักษ์เผยแพร่องคืความรู้ท้องถิ่นให้สะดวกต่อการศึกษาและค้นคว้าของนักศึกษา นักวิชาการ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป สามารถดูตัวอย่างต้นฉบับและขอใช้บริการฉบับเต็มได้ดดยติดต่อกับผู้ดุแลฐานข้อมูล
|
ฐานข้อมูลงานวิจัย(ThaiLIS) |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php |
วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเต็มของ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก ดูรายละเอียดห้องสมุดสมาชิก ได้จากทางเลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน การดำเนินการในปัจจุบันได้ดำเนินการ migrate ข้อมูลจากระบบเดิม เข้าสู่ระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้มีการจัดอบรมการใช้งาน การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบให้กับสมาชิกใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเอกชน หน่วยงานอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้และต้องการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ ให้สังคม เพื่อให้สังคมได้นำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้เดิม และพัฒนาประเทศต่อไป
|
ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/index.php |
วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่เป็น หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ ซึ่งจะมีทั้งงานที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเวียดนาม เพื่อสรุปเรียบเรียงเนื้อหาสาระสำคัญ เป็นภาษาไทย ตามประเด็นวิชาการที่ตั้งไว้
|
การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง อลองเจ้าสามลอ |
ศิริวรรณ อ่อนเกตุ |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด |
Thesis : ว/ภน 895.919 ศ373ก |
https://dcms.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=84976&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง "อลองเจ้าสามลอ" ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ปรากฎแพร่หลายในกลุ่มของชาวไทเขิน ไทใหญ่ และไทลื้อ มีทั้งสำนวนที่ถ่ายทอดกันมาโดยทางมุขปาฐะและโดยทางลายลักษณ์ในรูปแบบของชาดก ความแพร่หลายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาช้านานเพื่อใช้สั่งสอนผู้อ่านและผู้ฟัง ความรักไม่ว่าจะเป็นความรักหนุ่มสาว หรือความรักระหว่างบิดามารดากับบุตร หากเกิดจากความหลงใหลจนไม่รู้จักพิจารณาถึงความถูกต้องย่ิมนำไปสู่ความพินาศ และยังสะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรม การค้าขาย การแต่งกาย ประเพณีการแอ่วสาว การสู่ขอ และงานศพ
|
จันทโสภา = Les douze orphelines the twelve orphan girls |
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
เชียงใหม่ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559 |
Books : BQ1029 .ป74 2559 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091289 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่น มีเนื้อความจากต้นฉบับอักษรไทขึนและปริวรรตเป็นอักษรไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ เพื่อให้วรรณกรรมนี้แพร่หลายและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้าง คือชาวไทขึน ล้านนา หรือลาว ที่ใช้อักษรธรรมเหมือนกัน และอ่านในส่วนที่เป็นภาษาของตนอันนำมาสู่การรับรู้เนื้อหาและสิ่งที่แฝงอยู่ในวรรณกรรม นิทานชาดกเรื่องจันทโสภาเป็นวรรณกรรมที่คล้ายกับรถเสนชาดก หรือ “นางสิบสอง” กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพสัตว์ สอดแทรกวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี หลักความเชื่อและปรัชญาพื้นบ้านของตน จะเน้นเรื่องของผลกรรม และความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
|
การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขิน : การต่อรองเพื่อสิทธิการเป็นพลเมืองทางวัฒนธรรม |
เบญจวรรณ สุขวัฒน์ |
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2558 |
Research and Thesis : DS576.61.ช8 บ72 2558 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095041 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินที่อพยพจากเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า เข้ามาอาศัยในพื้นที่บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา โดยส่วนมากไม่มีสถานะเป็นพลเมืองไทย ผู้เขียนมุ่งเน้นการอธิบายการแสดงออกถึงจิตสำนึกร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินผ่านการแสดงตัวตนและการเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสัมพันธ์กับแหล่งอพยพและสัมพันธ์กับการเป็นพลเมืองในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในพื้นที่เดียวกัน
|
อะลองพระโพธิสัตว์ไทขึน |
ณัฐพงศ์ ปื่นโมรา |
[ม.ป.ท : ม.ป.พ., 2558?] |
Books : PL4251.ข7ณ63 2558 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00086601 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมชาดกเชียงตุง มีเนื้อความจากอักษรไทขึนและปริวรรตเป็นอักษรไทย เชียงตุงเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง สะท้อนความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนากับสภาพวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ใช้วรรณกรรมในการกล่อมเกลอบรม และบ่มเพาะศีลธรรมจรรยาผ่านภาพเสนอของพระโพธิสัตว์ที่กระทำบุญบารมี อันเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมผู้คนในสังคมให้ปฏิบัติตามฮีต (จารีต) และประเพณีที่สังคมต้องการ ปริวรรตวรรณกรรมจาก อะลองขี้วัวแห้ง อะลองเขียวหอด อะลองต่อเท้าทอมด และอะลองมดส้ม |
แนวทางการออกแบบที่ว่างและการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารพักอาศัยที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ล้านนา (ไทเขิน) : จังหวัดเชียงใหม่ |
บรรเจิด ศรีมูล |
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง |
Thesis : วพ. บ153น 2557 |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=395661&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่ว่างและการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนา โดยศึกษาวิถีชีวิต ความเชื่อ พฤติกรรม และกิจกรรมที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรือนล้านนาไทเขินเดิมและเรือนล้านนาไทเขินประยุกต์ ซึ่งกิจกรรมและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้อาคารปัจจุบัน (เปลี่ยนจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมเมือง) มีผลต่อการจัดวางที่ว่างและพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร เนื่องจากมีความต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยตามความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท เอกลักษณืไทเขินที่สำคัญแบบไทเขินเดิมที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบ คือ เอกลักษณ์ของที่ว่าง การเปิดโล่งที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ที่ว่างที่เชื่อมระหว่างภายในกับภายนอก การยกใต้ถุนให้สูง และเอกลักษณ์เชิงพื้นที่ใช้สอยในเรือนไทเขินเดิม
|
เส้นร่างทางถิ่น = Tracing places |
อรศิริ ปาณินท์ |
กรุงเทพฯ : สถาบันอาศรมศิลป์, [2557?] |
Books : NA7435.ก1อ44 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084152 |
: อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ผ่านภาพสเกตช์ ซึ่งเป็นเส้นร่างจากกการได้ออกพื้นที่ไปสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อหาข้อมูลและพูดคุยกับชาวบ้าน ใช้การสเกตช์สิ่งที่ได้พบเห็นพร้อมประกอบเนื้อหา แทนการถ่ายภาพ การถ่ายทอดของสิ่งที่เห็นจากนามธรรมสู่รูปธรรม เรือนไทเขิน เชียงตุง ประเทศพม่า มีการสำรวจครั้งแรกเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบเรือนไทเขิน เชียงใหม่-เชียงตุง ในปี พ.ศ. 2547 เป็นการสำรวจเข้าพื้นที่ด้านตะวันตกของเชียงตุง ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2550 ผู้เขียนพาลูกศิษย์และอาจารย์ในหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไปศึกษาดูงานหมู่บ้านและเมืองทางย่านตะวันออกของเมืองเชียงตุง |
ลักษณะเรือนและความเชื่อเกี่ยวกับเรือนของชาวไทเขิน เมืองเชียงตุง |
ฐาปนีย์ เครือระยา |
ไม่ระบุ |
วารสารหน้าจั่ว สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. ฉบับที่ 26 (ก.ย. 2554 - ส.ค. 2555) : หน้า 161-177. |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=330262&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเรือนและความเชื่อเกี่ยวกับเรือนของชาวไทเขิน ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์และที่ตั้งของเมืองเชียงตุง อันมีที่ราบสลับกับเนินเขา ภูมิอากาศหนาวเย็นเกือบทั้งปี เป็นผลทำให้ชาวไทเขินสร้างเรือนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดความเชื่อในเรื่องผี ขวัญ และพุทธศาสนา เรือนไทเขินจึงมีลักษณะเป็นเรือนไม้ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ววางในแนวแกนเหนือใต้ ฝาเรือนผายออกเพื่อรองรับน้ำหนักหลังคาที่ลาดต่ำ ภายในเรือนประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน คือ นอก ใน และ ชาน ชาวไทเขินให้ความสำคัญกับทิศตะวันออกที่เป็นทิศมงคล และเชื่อว่าด้านหน้าเรือนต้องอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้เท่านั้น ดังนั้นเรือนของชาวไทเขินที่มีรูปแบบเฉพาะ เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสอดคล้องกับแนวคิดความเชื่อ เพื่อให้เรือนมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยุ่ของชาวไทเขิน
|
ไทเขินแห่งเชียงตุง = Tai Khun of Kengtung |
วิถี พานิชพันธ์ |
[พะเยา] : โครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) มหาวิทยาลัยพะเยา, 2556 |
Books : DS576.61.ช8ว65 2556 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081018 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินแห่งเชียงตุงนั้น มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ สังคม การเมือง และมีความคล้ายคลึงทางประเพณีวัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนแห่งเชียงใหม่ จากการมีพื้นที่ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันและจากการถูกปกครองโดยราชวงศ์มังรายในอดีต กาลเวลาผ่านไปในแต่ละยุคสมัยไทเขินแห่งเชียงตุง ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า อังกฤษ ไทย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉานประเทศพม่าในปัจจุบันนั้น ยังคงมีวิถีชีวิต เศรษฐกิจที่เรียบง่ายดั้งเดิม ในขณะที่เชียงใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกสมัยใหม่ ไทเขินแห่งเชียงตุงยังคงรักษาความร่ำรวยทางด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรม ผ่านเรื่องราวตำนาน ประวัติศาสตร์ อาหาร การแต่งกาย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความผูกพันของวิถีชีวิตกับพุทธศาสนา |
มาตลังกา = Pilgrimage to lanka |
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2555 |
Books : DS530.9.C45ป74 2555 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075361 |
: อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมร้อยกรองเรื่องหนึ่งของชาวไทขึนที่มีแบบแผนและ
ฉันทลักษณ์แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทอื่น ๆ เล่าถึงการเดินทางของคณะสงฆ์ชาวไทขึน เดินทางจาริกแสวงบุญจากเมืองเชียงตุงผ่านพม่าไปยังเมืองลังกา เพื่อสอบทานพระธรรมวินัยและสักการะปูชนียสถานต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ พระเขี้ยวแก้ว มีการพรรณาเหตุการณ์ที่พบเห็นระหว่างทางทั้งความยากลำบากและความปลื้มปิติ แสดงให้เห็นถึงศรัทธาและความมุ่งมั่นของคณะที่เดินทางไปในครั้งนั้น มีการแปลเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทขึน |
โครงสร้างชาดกพื้นบ้านของไทเขิน ใน ไวยากรณ์ของนิทาน : การศึกษานิทานเชิงโครงสร้าง |
ศิราพร ณ ถลาง |
กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Books : LB1042.ว94 2544 |
|
ธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานทั่วโลกมีลักษณะร่วมกัน 2 ประการ คือ นิทานเป็นผลผลิตทางปัญญาและจินตนาการของมนุษย์ และ นิทานเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของแต่ละวัฒนธรรม การค้นพบโครงสร้างนิทาน หรือ ไวยากรณ์ของนิทาน จึงเป็นการยืนยันว่านิทานดำเนินไปภายใต้ “ระบบคิด” ที่เป็นสากลของมนุษย์ โครงสร้างชาดกพื้นบ้านของไทเขิน ตัวละครเอกคือพระโพธิสัตว์ และสอดแทรกเนื้อหาและแนวคิดทางพุทธศาสนา โดยทั่วไปจำแนกออกเป็น นิบาตชาดกเป็นชาดกที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา และปัญญาสชาดก เป็นชาดกนอกคัมภีร์พระพุทธศาสนา
|
พัฒนาการของรูปแบบเรือนไม้พื้นถิ่นและความเชื่อเกี่ยวกับเรือนไทเขิน เปรียบเทียบระหว่างเมืองเชียงตุง สหภาพพม่ากับอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ |
ฐาปนีย์ เครือระยา |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด |
Thesis : ว/ภน 728.9536 ฐ255พ |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=100188&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับชาวไทเขินเมืองเชียงตุงและอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสัมพันธุ์ร่วมกันมาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทเขินอำเภอสันป่าตองจะมีวิถีชีวิตและสภาพสังคมที่แตกต่างไปจากชาวไทเขินเชียงตุง ผู้วิจัยศึกษารูปแบบเรือนและความเชื่อของชาวไทเขินอำเภอสันป่าตอง ในปัจจุบันทำให้ทราบว่ายังคงแฝงแนวคิด ความเชื่อ ประเพณีนิยมของชาวไทเขินไม่ต่างจากที่เมืองเชียงตุงมากนัก ความเชื่อเกี่ยวกับหอเทวดาเรือน ที่เป็นเหมือนอารักษ์คอยดูแลคนและเรือน รูปแบบเรือนไทเขินอำเภอสันป่าตองมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยเหมือนเมืองเชียงตุง มีบริเวณที่เรียกว่า "นอก" และ "ใน" อันเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยในเวลากลางวันและกลางคืน ปัจจุบันชาวไทเขินเมืองเชียงตุงมีค่านิยมใหม่ในการสร้างตามกระแสสังคมเมือง แต่ชาวไทเขินอำเภอสันป่าตอง กลับมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมประเพรีเดิม จึงต้องการเก็บรักษารูปแบบเรือนไทเขินให้คงไว้ดังเดิม จากการเปรียบเทียบในพื้นที่ทั้งสองแห่ง แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของสังคม เมื่อสังคมใดสังคมหนึ่งมีการพัฒนาจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วมักจะหวนกลับไปหารากเหง้าและอดีตของตน
|
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน |
พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.ห้องสมุด |
Thesis : วจ พ 756 ก 2554 |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=292048&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ามีเพียงที่เมืองเชียงตุงประเทศพม่าเท่านั้น นักท่องเที่ยวจึงหันไปท่องเที่ยวเมืองเชียงตุง แท้จริงแล้วกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนก็มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นกระบวนการสำคัญในการศึกษาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและดึงดูดใจ ทั้งยังหาแนวทางการฟื้นฟู อนุรักษ์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนด้านภาษาพูด วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน
|
กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทเขินในชุมชนนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
อิสราภรณ์ พัฒนวรรณ |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด |
Thesis : ว/ภน 303.49536 อ387ก |
https://dcms.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=100111&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนวัดนันทารามเป็นชุมชนเก่าแก่ทางชาติพันธุ์ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่มีลักษณะที่ผสมกลมกลืนกับคนเมืองมาก อพยพมาจากเชียงตุงประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2350 ตามนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เพื่อฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาลิวะ (พ.ศ. 2325-2358) และสืบเชื้อสายกันมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ นโยบายของเจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ปกครองชุมชนไทเขินแบบผสมกลมกลืน ในยุคที่เชียงใหม่ยังเป็นประเทศราชของสยาม และนโยบายจากรัฐบาลสยามหลังจากผนวกเชียงใหม่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสยามแล้ว ชาวไทเขินต้องปรับตัวให้อยู่ภายใต้กรอบของความเป็นพลเมืองรัฐชาติและระบบเศรษฐกิจนิยม ปัจจุบันชุมชนชาวไทเขินได้มีการผสมกลมกลืนด้านสังสมและวัฒนธรรมกับคนเชียงใหม่และภาคกลางเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันเกิดความพยายามจะรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมบางประการไว้ โดยรักษาชุมชนวัดนันทารามเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมหัตถกรรมเครื่องเขินให้สามารถสืบทอดยังชาวไทเขินรุ่นต่อไปได้
|
ไทเขิน เชียงตุง-เชียงใหม่ ทีวีไทย. |
ทีวีไทย |
กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] |
Audio Visual Materials : CDF 000580 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068542 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองเชียงตุง หนึ่งในนั้นคือคนไทขืน หรือ ไทเขิน ซึ่งกระจัดกระจายย้ายถิ่นไปหลายที่รวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานใหม่ในเมืองเชียงใหม่ ไทเขิน มีถิ่นกำเนิดที่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ไทเขินในประเทศไทยอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคเหนือ ชาวไทเขินมีภาษา การแต่งกาย บ้านเรือน และความเชื่อเป็นเอกลักษณ์ของตน เชียงตุง เชียงใหม่ และล้านนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ทำให้เกิดอัตลักษณ์ของคนไทเขินสองฝั่งเมืองเชียงตุงกับเชียงใหม่
|
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ : ภูมิปัญญา พัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างกันของเรือนพื้น ถิ่นไทยเขินเชียงใหม่-เชียงตุง |
อรศิริ ปาณินท์ |
นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550 |
Research and Thesis: NA7435.ท9อ45 2550 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057572 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนาของเมืองเชียงตุงมีการพัฒนาจากธรรมเนียมดั้งเดิมของการปกครองคณะสงฆ์ไท ซึ่งประกอบไปด้วยคณะบุคคลที่เป้นฝ่ายบรรพชิต และฆราวาส ได้ร่วมกันด้วยอุดมคติทางศาสนาและสังคม วัด มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของผู้คนโดยทั่วไปควบคู่กับการเป็นสถาบันทางศาสนา ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนะรรมพม่า หลังการตกเป้นอาณานิคมของอังกฤษมีผลกระทบต่อเรื่องการจำแนกคุณลักษระของผู้คนจากหลักการทาง "ชาติพันธุ์วิทยา" ทำให้เกิดพรมแดนทางสังคมวัฒนะรรมในพม่าอย่างถาวร กลุ่มไทเขิน เมืองเชียตุง มีความแตกต่างไปจากกลุ่มอื่น ๆ วัด สำคัญประจำเมืองเชียงตุง ได้กลายมาเป็นพืนที่ในการธำรงรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทเขิน โดยการนิยามความสำคัญของ "วัด สัญลักษณ์ และพิะกรรม" มาเป็นเครื่องมือในการต่อรองอำนาจและตอบโต้การถูกครอบงำททางสังคมและวัฒนะรรมจากพม่า
|
การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่อง "ก่ำกาดำ" ฉบับล้านนา อีสาน และไทเขิน |
สดศรี ดรน้อย |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด |
Thesis : ว/ภน 895.91 ส148ก |
https://dcms.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=84483&query=ʴ |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องก่ำก่ดำ 3 ฉบับ คือ ฉบับล้านนา อีสาน และไทเขิน ทั้ง 3 ฉบับมีแก่นเรื่องเดียวกันคือมุ่งแสดงคุณค่าของความดีงามและความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ด้านเนื้อเรื่อง กวีทั้ง 3 ฉบับมีการลำดับเนื้อเรื่องและการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของเนื้อเรื่อง อีกทั้งกำหนดลักษณะและบทบาทของตัวละครให้มีลักษระสอดคล้องกับท้องถิ่น การเปรียบเทียบลักษณะทางสังคม สถานภาพของบุคลลในวรรณกรรมทั้ง 3 ฉบับกวีกำหนดสถานภาพของตัวละครไว้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มชนชั้นปกครองกับกลุ่มชนชั้นผู้ถูกปกครอง และสะท้อนความเชื่อที่มาจากพุทธศาสนา ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ความเชื่อทางโหราศาสตร์ รวมถึงสะท้อนพิะกรรมต่าง ๆ คล้ายกัน ทั้งนี้เกิดจาการถ่ายทอดวัฒนธรรมและอิทธิพลความเชื่อทางพุทะศาสนา
|
การศึกษาการออกแบบและการก่อสร้างสถาปัตยกรรมหลองข้าวแบบไทเขิน บ้านต้นแหน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ |
อดุลย์ เหรัญญะ |
หาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด |
https://dcms.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=98761&query=ʹ |
|
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับศึกษาเนื้อหาและข้อมูลด้านนามธรรมที่ส่งผลต่อการออกแบบและการก่อสร้างสถาปัตยกรรมหลองข้าวแบบไทเขิน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อและการอนุรักษ์หลองข้าวแบบไทเขินที่มาจากความเชื่อว่าหลองข้าวเป็นที่อยู่อาศัยของข้าวซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่มีบุญคุณ ต้องมีสถานะอยู่เหนือกว่ามนุษย์ ความเชื่อรองคือ ทิศทางตำแหน่งการสร้างที่ในทิศตะวันออกของบ้าน การใช้ไม้ใหม่ในการนำมาสร้างสูงกว่าบ้าน การสร้างจำนวน 3 ห้อง รวมถึงการใช้ฤกษ์ยามและพิธีกรรมต่าง ๆ
|
ภาษิตตระกูลไท = Tai family proverbs |
อนาโต โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552 |
Books : PN6519.ท9ป75 2552 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063333 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับภาษิตตระกูลไทยวน (ล้านนา) ไทเขิน (เชียงตุง รัฐฉาน สหภาพพม่า) ไทใหญ่ (รัฐฉาน สหภาพพม่า) ไทลื้อ (สิบสองพันนา ประเทศจีน) ไทเหนือ (สิบสองพันนา ประเทศจีน) และลาว (ภาคอีสาน และประเทศลาว) ซึ่งมีความคล้ายคลึงในการใช้ตัวอักษร เนื้อหา และแนวคิดที่มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันด้วยความใกล้ชิดของที่ตั้งในเชิงภูมิศาสตร์ โดยเป็นข้อมูลที่น่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษิตแต่ละข้อพิมพ์ด้วยอักษรท้องถิ่น ปริวรรตเป็นภาษาไทย แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ หนังสือเล่มนี้จัดอยู่ในหมวดวรรณมุขปาฐะของประเทศไทยและเพื่อนบ้าน
|
ภูมิปัญญา พัฒนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างกันของเรือนพื้นถิ่นไทเขินเชียงใหม่ – เชียงตุง ใน เรือนพื้นถิ่นไทย - ไท |
อรศิริ ปาณินท์ |
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, 2551 |
Books : NA7435อ457 2551 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060515 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเรือนไทเขินเชียงใหม่
และเชียงตุง โดยกระบวนการวิจัยเน้นการสำรวจทางภาคสนามของหมู่บ้านไทเขิน อ.สันทราย ดอยสะเก็ด และสันป่าตอง ในจังหวัดเชียงใหม่ เปรียบเทียบกับหมู่บ้านไทเขิน อ.เชียงตุง ยางลอ และกาดฟ้า จังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า โดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับระบบนิเวศที่หมู่บ้านทั้งสองต่างมีร่วมกัน คือ การจัดการน้ำอันเป็นภูมิปัญญาระบบเหมืองฝายแบบบุพกาล ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังส่งผลไปถึงรูปแบบของผังเมืองและผังหมู่บ้าน
|
นิเวศวิทยา วัฒนธรรมซึ่งสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทเขิน : กรณีศึกษา บ้านต้นแหนน้อย |
ปิยกานต์ พานคำดาว |
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักหอสมุดกลาง |
Thesis : สถ.2/07 2549-001 |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=230168&query= |
ธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาระบบนิเวศวิทยา วัฒนธรรมซึ่งสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทเขิน เน้นระบบการวางผังบริเวณของหมู่บ้าน กรอบการศึกษาในพื้นที่เขต อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ชนชาติไทเขิน บ้านต้นแหนน้อย มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบการดำเนินชีวิต โดยเริ่มจากน้ำ คือหัวใจของระบบนิเวศ โดยบริเวณน้ำแม่ขาน ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการเลือกทำเลในการตั้งถิ่นฐาน และมีภูมิปัญญาซึ่งเกี่ยวกับระบบการจัดการน้ำ หรือระบบเหมืองฝาย ซึ่งส่งผลต่อสภาพกายภาพของผังหมู่บ้านจากการตั้งถิ่นฐานและการอพยพ อีกทั้งยังมีสังคมแบบเครือญาติ แต่ก็มีการแปรเปลี่ยนไปตามระบบโครงสร้างเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในยุคเฟื่องฟูจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงความเชื่อที่ส่งผลถึงตัวเรือนในการวางทิศทางเรือน
|
เรียบง่ายและเป็นสุขกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น |
อรศิริ ปาณินท์ |
กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550 |
Books : NA7435.A1อ447 2550 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060867 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจากประสบการณ์ภาคสนามอันยาวนานของผู้เขียนเกี่ยวกับหมู่บ้านและเรือนของไทยและของชาวไทนอกประเทศไทย จำเพาะกลุ่มชาติพันธุ์ไทนอกประเทศไทยนั้นเกี่ยวกับชาวไทเขินเมืองเชียงตุง และไทดำในเวียดนาม เรื่อง ญาติโยมไทในเชียงตุง เคยตีพิมพืเมื่อปี พ.ศ.2548 มีเนื้อหาอธิบายในลักษณะบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเดินทางไปศึกษาภูมิลักษณ์ของเชียงตุง โดยศึกษาลักษณะบ้านเรือนของหมู่บ้านไทเขิน 6 แห่ง ในอำเภอเชียงตุง อำเภอยางลอ และอำเภอกาดฟ้า อภิปรายลักษณะทางภายภาพในแง่ของระบบนิเวศกับการวางผังที่สัมพันธ์กับการจัดการน้ำของหมู่บ้าน โดยเฉพาะที่หมู่บ้านเหม้า อำเภอยางลอ แสดงถึงรูปลักษณ์ของเรือนของชาวไทเขินมีความคล้ายคลึงทางรูปทรงกับเรือนไทลื้อในสิบสองปันนา หากต่างกันที่เรือนไทลื้อนั้นมีชายคายื่นลงคลุมมากกว่า หรือบางเรือนมีชายคาสองตับทำให้ไม่สามารถมองเห็นผนังเรือนได้ นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดทางผังเรือน ภายในเรือน ทั้งข้อมูล ภาพประกอบเป็นทั้งภาพถ่ายและภาพลายเส้นที่สวยงาม
|
วิถีไทเขิน เชียงตุง |
e |
เชียงใหม่ : โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาประเทศเพื่อนบ้าน, 2550 |
Books : DS576.61.ช8ว63 2550 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073888 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตไทเขิน เมืองเชียงตุงนั้นมีความสัมพันธ์ เป็นดั่งบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองเชียงใหม่มานับตั้งแต่อดีต และท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่เมืองเชียงใหม่ได้เข้าโลกสู่โลกสมัยใหม่ เชียงตุงยังคงรักษา ห่อหุ้ม "วิถีไทเขิน เชียงตุง” อันมีความผูกพันกับพุทธศาสนา มีตำแหน่ง “ครูบา” เป็นดั่งศูนย์กลางจิตวิญญาณ ได้รับการยกย่องศรัทธาจากประชาชน และเป็นตำแหน่งสมณศักดิ์ที่เป็นทางการจากองค์กรคณะสงฆ์เชียงตุง นอกจากนี้ยังสามารถสัมผัส เรียนรู้ วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คนผ่าน อาหาร ศิลปะการขับขานเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “เสิน” และแม่หญิงเชียงตุง ผู้หญิงผู้มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับครัวเรือนและสังคมของเชียงตุง
|
ระบบนิเวศน์กับการวางผังหมู่บ้านพื้นถิ่นของไทเขินเชียงตุง |
อรศิริ ปาณินท์ |
ไม่ระบุ |
หน้าจั่ว. ฉบับที่ 21 (2547-2548) : หน้า 17-24 |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=229166&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาความสัมพันธุ์ระหว่างระบบนิเวศและวิถีชีวิต และสภาพของหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ไท กลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินเชียงตุงในบทความนี้จะเห็นได้ชัดว่า ผังกายภาพของหมู่บ้านสะท้อนให้เห็นแก่นของวัฒนธรรมสามประการ คือ การเคารพในธรรมชาติที่เชื่อมโยงจิตวิญญาณกับระบบนิเวศ การเคารพบรรพบุรุษและเครือญาติ ชุมชนไทเขินเชียงตุงยังถือว่า หมู่บ้านเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต มีร่างกาย และจิตใจ มีขวัญซึ่งเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณที่ให้กำลังใจแก่คนในหมู่บ้าน เมื่อมีสิ่งร้ายมาแผ้วพานจะมีพิธีสืบชะตาหรือต่อายุหมู่บ้าน พิธีเรียกขวัญหมู่บ้านเพื่อเป็นพลังให้แก่กลุ่มชน วิถีชีวิตที่มีความพอเพียงในตน สามารถผลิตอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้เองทั้งยังสามารถหากินจากธรรมชาติ
|
มัฆวา = Maghava |
อนาโตล โรเจอร์ เบ็ลติเยร์ |
พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2549 |
Books : PL4208.9.ห7บ74 2549 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00051112 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมพื้นบ้านเก่าแก่ ผ่านการคัดลอกมาหลายช่วงชั้น การปริวรรตจากอักษรไทขึนเป็นอัการไทยกลาง ใช้หลักการเดียวกันกับการปริวรรตอักษรล้านนา ซึ่งมีอักษรไทขึนแห่งเชียงตุงรวมอยู่ด้วย มัฆวา หรือตำนานพระอินทร์ นอกจากได้ศึกษาและรับรู้ประวัติของพระอินทร์ตามคติความเชื่อแบบพื้นบ้านแล้ว ยังด้สัมผัสกับคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนาที่แฝงไว้เป็นขั้นเป็นตอน เริ่มต้นด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การบริจาคทาน การมีสัจวาจา การรักษาศีล และการสร้างกำลังใจ ทำจิตใจให้แน่วแน่ แผ่เมตตาแก่ผู้อื่น ผลที่ตามมาทำให้มัฆวาเกิดเป็นพระอินทร์
|
เจ้าบุญหลง = Chao Bun Hlong |
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
เชียงใหม่ : ดาวคอมพิวกราฟิก, 2549 |
Books : BQ1467.ป76 2549 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00052150 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมชาดกที่ยกเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วย
คุณธรรมเพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ โดยมีการปริวรรตจากภาษาไทเขินมาเป็นภาษาไทย ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในกลุ่มชาวไทลื้อสิบสองพันนา และชาวไทเขินเมืองเชียงตุง นิยมใช้วรรณกรรมเรื่องเจ้าบุญหลงประกอบพิธีการทำ อ้อผยา อันเป็นการประกอบน้ำพระพุทธมนต์เพื่อนำมาให้ผู้คนได้ดื่ม โดยมีความเชื่อว่าจะเสริมสร้างสติปัญญาและก่อให้เกิดเมตตามหานิยม เนื่องจากตัวเอกของวรรณกรรมเรื่องนี้กินนกยูงคำจนมีสติปัญญาล้ำเลิศและมีสมบัติเกิดขึ้นในตัวตน
|
อรุณรุ่งฟ้า "ฉาน" เล่าตำนานคนไท |
บุญยงค์ เกศเทศ |
กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2548 |
Books : DS570.ท9บ723 2548 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044995 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ บ้านช่อง เรือนชาน กลุ่มเครือญาติ สถานศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้านต่างๆ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงความเชื่อของชุมชนคนไทในหมู่บ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเมืองตองยี เชียงตุง ท่าขี้เหล็ก พุกาม มัณฑะเลย์ ตามลำน้ำอิระวดี สาละวิน และสายน้ำสาขา เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทในการที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจในมิติวิถีชีวิตที่มีความหลากหลายของคนไทในเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า
|
นิเวศวิทยาวัฒนธรรมของหมู่บ้านไทเขิน : เชียงตุง |
อรศิริ ปาณินท์ |
ไม่ระบุ |
ารสารระแนง, ISSN 1513-2811, 2547-2548, ฉบับที่ 4, หน้า 136-147 |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=298515&query= |
บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศ วิถีชีวิต และเรือนไทเขินในเชียงตุง เพื่อที่จะได้คำตอบที่เชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมหรืออีกนัยหนึ่งคุณลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนของหมู่บ้านไทเขินในเชียงตุง ซึ่งจะเป็นผลต่อการพัฒนาแนวคิดในการออกแบบวางผังหมู่บ้านและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง จากการศึกษาซึ่งเน้นการสำรวจภาคสนามทางกายภาค โดยใช้กรอบความคิดในการศึกษาบริบทที่สัมพันธ์กับการศึกษาเฉพาะกรณีและการศึกษาเปรียบเทียบจากหมู่บ้านไทเขินที่บ้านหนองอ้อ อำเภอเชียงตุง บ้านเหม้า และบ้านยางลอ อำเภอยางลอ และบ้านเด่นช้าง บ้านล่าว บ้านเสี้ยว อำเภอกาดฟ้า จังหวัดเชียงตุง ผลการศึกษาพบว่าในหมู่บ้านที่มีอายุการสร้างเกินกว่า 100 ปี ยังมีลักษณะผังหมู่บ้าน วิถีชีวิต และสังคมแบบชุมชนบุพกาล ภูมิปัญญาในการจัดการน้ำเพื่อการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับระบบนิเวศ ยังเป็นปัจจัยหลักของการตั้งหมู่บ้านและการวางผังหมู่บ้านสังคมแบบเครือญาติและการเกื้อกูลยังคงอยู่อย่างเข้มข้น การวางผังหมู่บ้านสะท้อนให้เห็นชีวิตและสังคม
|
ารศึกษาพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขิน ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ |
อวยชัย ตั้งเตรียมใจ |
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี |
Thesis : ธบ072 ว2546 390 อ436ก |
https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=16298&query= |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขินในตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขิน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขินกลุ่มนี้ เมื่อมีคนตายไม่ว่าผู้ตายจะตายในลักษณะใดก็ตาม ชาวบ้านจะนำฟากหรือเสื่อไม้ไผ่มาห่อหุ้มศพ ใช้เถาวัลย์ หรือเชือกขาวรัดช่วงศรีษะ เอว และข้อเท้า แล้วนำไปฝังใกล้บริเวณบ้าน และชาวบ้านจะปลงศพแบบฝังกับผู้ตาย จะไม่มีพิธีกรรมทางศาสนา ต่อมาเมื่อมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินได้เข้ามาอาศัยอยู่พื้นที่เดียวกัน ทำให้ชาวบ้านรับเอาวัฒนธรรมของชาวไทเขินเข้ามา จนเกิดการเปลี่ยนแปลงประเพณีงานศพในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นประเพณีในปัจจุบันนี้
|
การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมไทเขินเรื่องอลองดินเหนียว = An analytical study of the Along Din Niaw : a Tai Khuenleteray work |
เกวลี แพ่งต่าย |
ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2546 |
Research and Thesis : PL4251.ข7 ก74 2546 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091784 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาวรรณกรรมเก่าแก่เรื่องอลองดินเหนียวของชาวไทเขิน ในการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องอลองดินเหนียวของชาวไทเขินในแง่ของคุณค่าด้านวรรณศิลป์และคุณค่าทางสังคม โดยใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมฉบับล้านนาเรื่องพระเจ้าดินเหนียว ในการศึกษาพบว่าวรรณกรรมประเภทนี้จัดอยู่ในวรรณกรรมประเภทนิทานชาดกพื้นบ้านที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นิทานชาดก และสอดแทรกไปด้วยสภาพทางสังคมที่ชาวไทเขินสืบทอดกันต่อมา โดยกล่าวถึงความเชื่อต่อบาป-บุญ ศีล 5 นอกจากนั้นกล่าวถึงวิถีชีวิตชีวิตความเป็นอยู่ในด้านต่างๆทางสังคม เช่น ประเพณี ค่านิยม สภาพบ้านเรือน อาชีพ ที่ชาวไทเขินและชาวล้านนามีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ส่วนคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์จะใช้วิธีการวิเคราะห์จากการเปรียบเทียบอักษรไทเขิน อักษรธรรมล้านนา อักษรไทยในปัจจุบัน เห็นได้ว่าภายในงานวรรณกรรมประเภทนี้มีการนำตัวอักษรของล้านนามาใช้ อีกทั้งพบการซ้อนคำทั้งจากภาษาบาลีและภาษาของชาวล้านนาที่ปรากฏให้เห็นในงานประพันธ์วรรณกรรมเรื่องอลองดินเหนียว
|
ไทเขิน ใน ชนชาติไทในนิทาน : แลลอดแว่นคติชนและวรรณกรรมพื้นบ้าน |
ศิราพร ณ ถลาง |
กรุงเทพฯ : มติชน, 2545 |
Books : GR312.ศ645 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028873 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางการปกครองอันยาวนานระหว่างเชียงตุงกับ
ล้านนาซึ่งเปรียบเสมือนบ้านพี่เมืองน้อง ที่ส่งผลต่ออิทธิพลทางพุทธศาสนา ลักษณะประเพณี พิธีกรรม วรรรกรรม ที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้การเดินทางของผู้วิจัยในเชียงตุงทำให้เห็นถึงจุดร่วมทางวัฒนธรรมของชาวไทเขินกับชนชาติอื่น ๆ ผ่านพิธีกรรมทำขวัญข้าว สู่ขวัญควาย พิธีแอกนา พีสิบสองเดือน และความเชื่อในเทวดาอารักษ์เมือง ซึ่งชาวไทเขินจะประกอบพิธีเลี้ยงผีเมืองในเดือน 8 ร่วมกับพิธีเลี้ยงกาดตุงหรือเลี้ยงเทวดาอารักษ์ตลาด เพราะระบบตลาดนัดถือเป็นศูนย์กลางทางการค้าสำคัญของเมืองเชียงตุง
|
ไทขึนเชียงตุง ใน กว่าจะรู้ค้า...คนไทในอุษาคเนย์ |
ธีรภาพ โลหิตกุล |
กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, 2544 |
Books : GN635.T4ธ64 2544 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028007 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับชาวไทขึน ดั้งเดิมมีศูนย์กลางอยู่ ณ เมืองเชียงตุง ได้รับสมญานามว่า “เขมรัฐตุงคบุรี” ด้วยความอุดมสมบูรณ์และแบบแผนการปกครองอย่างเป็นระบบ ประกอบกับขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เมืองแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งสถาปนาพระพุทธศาสนาอันมั่งคง และเปรียบเป็นป้อมปราการสุดท้ายในการอนุลักษณ์อักษรล้านนาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต แม้ในปัจจุบันจะถูกกำจัดสิทธิทางการเมืองการปกครองและแวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรมต่างถิ่น แต่ยังคงสามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวเองได้อย่างเหนียวแน่น
|
นิทานศีลห้า = a tale of the Five Precepts |
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2544 |
Books : PL4251.ข7ป74 2544 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028696 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมร้อยกรองคำสอนของไทขึน ชี้ให้เห็นความหมายและความสำคัญของศีลห้าหรือเบญจศีล ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์วรรณกรรมของกวีไทขึนสะท้อนถึงชาวไทขึนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ให้ความสำคัญในด้านการทำบุญทำทาน เป็นข้อคิดที่มีคุณค่าต่อทุกสังคมและทุกสมัย แต่งโดยคำประพันธ์ที่นิยมใช้ในท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือนิทานศีลห้า มีลักษณะเป็นบทพระธรรมเทศนาแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายโบราณ ส่วนที่สองคือมาตศีลห้า เป็นคำขับหรือบทขับร้อง แต่งด้วยคำประพันธ์ที่ต่างออกไป มีเนื้อหากล่าวถึงโทษของการละเมิดศีลซึ่งร้ายแรงถึงขั้นทำให้ผู้ละเมิดตกนรก
|
กาแลออกหน่อ = Kale Ok Hno / Anatole-Roger Peltier |
เป็ลติเยร์, อนาโตล โรเจอร์ |
กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2542 |
Books : GR312.2.N6ป74 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00017697 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมปริวรรตจากภาษาไทขึนที่ทรงคุณค่า โครงเรื่อง เนื้อเรื่องมีความสมบูรณ์ แพร่หลายในชนชาติที่อาศัยอยู่ภาคเหนือของไทย มีเนื้อเรื่องสะท้อนสภาพสังคมเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ ของผู้คนในกลุ่มล้านนา และเป็นวรรณกรรมชาดกที่สั่งสอนผู้ฟัง โดยแจกแจงให้เห็นชีวิตมนุษย์ 3 คนอย่างชัดเจนว่าเป็นไปด้วยกรรมหรือการกระทำของตนเอง ทั้งกรรมเก่า กรรมใหม่ และผู้ใช้สติปัญญาและธรรมะเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างประมาทขาดสติจะเป็นผู้ล้มเหลวในชีวิต
|
สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และหัตถกรรม : รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการประเมิน สถานภาพไทศึกษา |
อรศิริ ปาณินท์ |
รุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2541 |
Research and Thesis : NA7435.ท9อ45 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018407 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมิณสภาพไทศึกษาของสาขาเมืองและชุมชน สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และหัตถกรรม ในการศึกษาที่เน้นตามกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ศึกษาหลักคือนักวิชาการไทย รองลงมาคือนักวิชาการตะวันออก น้อยที่สุดคือกลุ่มนักวิชาการไท กรอบทฤษฎี ความคิด และวิธีการศึกษา ของทั้ง 4 สาขา มีความแตกต่างตามธรรมชาติของสาขาวิชา ผลสรุปที่ได้ การวิจัยซึ่งเน้นน้ำหนักของความสนใจหลักไปที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ไทเขิน ในกลุ่มภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย กลุ่มไทใหญ่ ไทลื้อ ยังปรากฎการศึกษา
|
วัฒนธรรมและการเมืองล้านนา |
สรัสวดี อ๋องสกุล |
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด, 2539 |
Books : DS588.ล6ส46 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005354 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการรวบรวมบทความทางประวัติศาสตร์ 8 เรื่องของผู้เขียนเกี่ยวกับท้องถิ่นล้านนาของไทย โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคแรกคือ สมัยเทศาภิบาล การจัดการปกครองของรัฐบาลกลางในการรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาไทยเข้าสู่ส่วนกลาง ช่วง พ.ศ.2427 – 2476 ภายใต้นโยบายรวมอำนาจสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ กบฏพระยาปราบสงครามแม่ทัพเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2432 การศึกษาของล้านนาในแง่ของการปฏิรูปการศึกษา อันส่งผลต่อความรู้ความคิด และศิลปวัฒนธรรมของล้านนาเลื่อมสลายไป ภาคที่สอง รปประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลของการพัฒนาประเทศตั้งแต่ยุคเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ ก่อปัญหาต่อโบราณสถานหลายแห่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ภาคสุดท้าย ว่าด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรัฐไทที่เกี่ยวข้องกับล้านนา ส่วนที่สามนี้เกี่ยวักบข้องกับประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาวไทลื้อและไทขึนหรือไตขึนหรือไทเขินในแถบเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองลูกหาง ของล้านนา ตั้งแต่พุทธศตรวรรษที่ 19 จนถึงยุคฟื้นฟูบ้านเมืองที่เรียกว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ผู้เขียนเรียบเรียงจากการสำรวจเมืองเชียงตุงเมื่อ ปี พ.ศ. 2536
|
เครื่องเขินเชียงใหม่ ใน ข่วงผญา : 7 ทศวรรษ กษัตราทรงครองไทยราชภัฏเชียงใหม่ เทิดไท้ ปิ่นราชัน และ 4 ทศวรรษ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
ปนัดดา โตคำนุช |
เชียงใหม่ : เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2559 |
Books : DS588.ห7 ข52 2559 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093083 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องเขินเชียงใหม่ ที่มีเส้นทางการขยายตัวของเครื่องเขินจากจีนลงมาถึงประเทศไทยทางตอนบน มีความเป็นมาจากชาวไทเขินหรือไทขืน ที่มีถิ่นฐานที่เมืองเชียงตุงและได้รับกรรมวิธีการผลิตมาจากจีน ผ่านน่านเจ้ามาเป็นเวลานานก่อนที่จะอพยพเข้ามาทางรัฐฉาน แยกเข้าพุกามและเชียงใหม่ เครื่องเขินทางภาคเหนือที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และได้รับความยกย่องว่าประณีตงดงาม คือเครื่องเขินเชียงใหม่ ในบทความนี้จะมีเนื้อหาถึงประวัติศาตร์เครื่องเขินเชียงใหม่ กระบวนการผลิตเครื่องเขินเชียงใหม่ และการเปลี่ยนแปลงของเครื่องเขินเชียงใหม่
|
รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ตำนานสร้างโลกของคนไท = An analysis of creation myths of the Tai speaking peoples |
ศิริพร ณ ถลาง |
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539 |
Research and Thesis : DS570.ศ64 |
|
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับรายงานวิจัยเรื่องตำนานสร้างโลกของคนไทเป็นการศึกษา
เปรียบเทียบข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์คนไทแต่ละกลุ่มต่างๆที่อาศัยอยู่ทั้งภายในและภายนอกประเทศไทย โดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาและทางด้านคติชนวิทยา (Folklore) เข้ามาวิเคราะห์จากเนื้อเรื่องและโครงสร้างของตำนานการสร้างโลก ในประเด็นความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ผ่านการเล่าขาน หรือจดบันทึกเป็นตำนาน และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มชาติพันธุ์คนไท อาทิ ไทอาหมในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ไทใหญ่ ไทเขินในรัฐฉาน ประเทศพม่าและในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย ไทลื้อ ไทดำ ไทขาว เป็นต้น ภายในรายงานวิจัยยังเล่าถึงตำนานการสร้างโลกของคนไทในเบื้องต้น ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในด้านของวัฒนธรรม ความเชื่อในเรื่องของเทพ เทวดา อีกทั้งสามารถอธิบายถึงโครงสร้างความแตกต่างในระดับย่อยจากตำนานของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์คนไท
|
เสียงเพรียกจากชาติพันธุ์ |
ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร |
เชียงใหม่ : ศูนย์ชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, [2539] |
GN635.ส8พ93 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005271 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราววิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มอญ ลัวะ ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน ไทยวน ปะด่อง ดาละอั้ง อารกัน อาข่า กะเหรี่ยง กะแวต ม้ง ลาฮู และขมุ โดยอาศัยอยู่ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ที่คนภายนอกไม่ได้รู้จักพบเห็นมากนัก ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่บางครั้งมีการต่อสู้แย่งชิง เพื่อดำรงไว้ซึ่งถิ่นที่อยู่ และประเพณีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน
|
แบบเรียนภาษาไทยขึน = Khun reader |
Anatole-Roger Peltier |
เชียงใหม่ : วัดท่ากระดาษ, 2539 |
Books : PL4251.K5ป84 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00009146 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีของชาติ เนื่องในการฉลองสมโภชเมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี จึงมีการจัดพิมพ์ตำราแบบเรียนไทขึนแห่งเชียงตุง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่และเชียงตุง และผู้ที่สนใจจะได้มีโอกาสเรียนรู้อักขระธรรมขึน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอักขระธรรมยวนแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งส่งเสิรมการเรียนการสอนหนังสือขึนที่นครเชียงตุง ที่มีการเรียนการสอนขึน โดยมีการเรียนตั้งแต่เด็กตัวเล็ ๆ ไปจนถึงวัยรุ่นหนุ่มสาวเพื่อศึกษาภาษาของบรรพบุรุษของตัวเอง
|
เรื่องเมืองเชียงตุง |
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว |
เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2538 |
Books : DS576.61.ร85 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004931 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเมืองเชียงตุง เป็นเมืองสำคัญในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ภายหลังจากการปิดประเทศเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในของเมียนมาร์ จึงได้มีการรวบรวมการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองเชียงตุงผ่านเรื่องเล่าวรรณกรรมพื้นบ้าน ตลาด และวัฒนธรรม เช่น ศิลปะตีกลองร้องรำ หรือประเพณีสักการะบูชาอารักษ์บ้านอารักษ์เมืองอันเป็นวัฒนธรรมนับถือเทวดาที่อารักษ์บ้านและเมืองที่มีร่วมกันของชนชาติไท สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ที่มีมาอย่างยาวนาน
|
ตำนานบรรพชน |
มาลา คำจันทร์ |
รุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2538 |
Books : PL4251.ม64 |
|
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานเกี่ยวกับบรรพชนของไทมานำเสนอในรูปแบบของนิทานพื้นเมืองเกี่ยวกับบุคคล 5 คนสองคนสองเรื่องแรกคือ อ้ายแมงเกลือกกล้า เจ้าบุญปัน ที่ผู้เขียนนำเค้าแนวมาจากตำนานพื้นเมืองหลายฉบับของไทลื้อแห่งเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีธรรมเนียมและประเพณีคล้ายคลึงกับชาวไทล้านนาของไทย และลาว ขณะที่อีกสามเรื่องเป็นนิทานเกี่ยวกับพญากาหาม เจ้าแสงต่อ และเจ้าอ้ายอ่อน ของชาวไทเขินแห่งแคว้นเชียงตุงและเมืองใกล้เคียงอื่น ๆ ในรัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ตำนานบรรพชนทั้งห้าเรื่องมีลักษณะเป็นงานวรรณคดีที่มีชั้นเชิงการเล่าเรื่องที่ชวนติดตามและสอดแทรกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บอกเล่าได้อย่างดี
|
เล่าเรื่องเมืองเชียงตุง ตอน สงกรานต์บนฝั่งแม่น้ำขึน |
ทวี สว่างปัญญางกูร |
ไม่ระบุ |
สยามอารยะ ปีที่ 2, ฉบับที่ 10 (ก.ค. 2536), หน้า 79-82 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067313 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์เป็นงานเฉลิมฉลองปีใหม่ของชนชาติไทยและไท(ไต) บางเผ่า อธิบายถึงประวัติศาสตร์ ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี อักษรและวัฒนธรรมของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำขึนและพี่น้องสายโลหิตชนชาติไท ดินแดนไทเขินแห่งเชียงตุง ชนชาติไทเขินเป็นชนชาติไทที่มีภาษาอักษรและวัฒนธรรมที่ผู้เขียนจัดให้อยู่ในกลุ่ม "ไทเมือง" ซึ่งมี 5 ชนชาติด้วยกันคือล้านนา อีสานไท ลาว เขิน ลื้อ 5 ชนชาตินี้ใช้ตัวอักษรชนิดเดียวกันคืออักษรที่เรียกว่า "ตัวอักษรเมือง" หรืออักษรล้านนา ชนชาติไทอื่น ๆ เช่น ไทใหญ่ ไทคำตี่ ไทมาวจะอยู่ในกลุ่ม “ไต” ดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทเขินคือแคว้นเชียงตุง
|
สุชวัณณะวัวหลวง = Sujavanna |
อนาโตล โรเจอร์ แบ็ลติเยร์ |
เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2536 |
Books : PL4251.ข7ส73 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000793 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาดกพื้นบ้านที่ชาวไทขึนศรัทธาเลื่อมใสอย่างยิ่ง จะมีการเทศนาธรรมเรื่องนี้และมีการเขียนภาพธรรม จัดทำปราสาทเสาเดียวตามแบบเนื้อเรื่องถวายเป็นทาน เป็นประจำทุกปี เนื้อเรื่องกล่าวถึงอดีตชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญเพียรบารมีด้วยการบริจาคเลือดเนื้อ และดวงตาให้แก่ผู้ที่มาขอ แต่ที่สำคัญที่สุดของธรรมชาดกนี้คือ การยกเอาหลักธรรมต่าง ๆ มาบรรยายสั่งสอน เน้นให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณ ความรักความผูกพันห่วงใยซึ่งกันและกัน การปฏิบัติตนให้ดีงาม การครองรักครองเรือน การรู้จักให้อภัยและมีน้ำใจระหว่างผู้คนในสังคม
|
การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องพระสุธน-นางมโนห์รา สำนวนท้องถิ่นล้านนาสิบสองพันนาและเชียงตุง |
จุฑามาศ สนกนก |
[กรุงเทพฯ] : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533 |
Research and Thesis : PL4204.9.จ74 2533 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019111 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องพระสุธน-นางมโนห์รา สำนาวนต่าง ๆ จาก ค่าวซอเรื่องธรรมเจ้าสุธน วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา คำขับค่าวเจ้าสุธน วรรณกรรมท้องถิ่นสิบสองพันนา และเรื่องสุทน วรรณกรรมท้องถิ่นเชียงตุง ทั้งนี้ได้ปริวรรตวรรณกรรมดังกล่าวจากอักษรธรรม อักษรไทลื้อ (ใหม่) และอักษรไทเขินตามลำดับภาษาไทย โดยใช้อักษรไทยกลางปัจจุบัน ใช้การศึกษาตามแนวทางการศึกษาวรรณคดีและคติชนวิทยา การเปรียบเทียบวรรณกรรมทั้ง 3 สำนวน มิได้เป็นเพียงการขยายวงการศึกษาวรรรกรรมท้องถิ่นให้กว้างขวางออกไปเท่านั้น ยังทำให้ประจักษ์ถึงการแพร่กระจายของวรรรกรรมชาดก และสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาของชนเผ่าไทที่มีต่อพระพุทธศาสนา
|
วรรณกรรมไทขึนเรื่อง กาลาซาเครือดอก |
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2533 |
Books : BQ1029.ก27 2533 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000755 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมไทขึนปริวรรตจากต้นฉบับสมุดข่อย จัดอยู่ในกลุ่มชาดกพื้นบ้าน ตัวเอกเป็นพระโพธิสัตว์ มีการบรรยายธรรมตลอดเป็นช่วง ๆ นำหลักธรรมมาผสมผสานกับเรื่องสนุก ๆ ให้ดูน่าสนใจ เป็นวิธีหนึ่งที่ชักชวนให้ชาวบ้านที่ชอบฟังเรื่องเหล่านี้ตั้งอยู่ในศีลและการทำบุญ ในอดีตมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชนชาติในภูมิภาคนี้ จึงไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าดั้งเดิมเป็นของใครกันแน่นักประพันธ์ชาวขึนได้ถอดและเรียบเรียงโดยเน้นความไพเราะของภาษา อาจจะพูดได้ว่าเป็นนวนิยายเรื่องแรกของชาวขึน การเรียบเรียงครั้งนี้นักประพันธ์พยายามที่จะรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชาวขึน
|
วรรณกรรมไทลื้อไทเขินเรื่องสุมังคละ ปทุมมุกขะ = Samangala Padummamukha |
อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์ |
[เชียงใหม่] : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532 |
Books : PL4251.ล7ว45 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001421 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมไทลื้อไทเขินมีความคล้ายคลึงกันเป็นอันมาก ใช้หลักการปริวรรตเดียวกับอักษรล้านนา จากการปรึกษากับผู้รู้หลายฝ่าย ทำให้ทราบว่า วรรณกรรม เรื่อง “สุมังคละ” เป็นวรรณกรรมไทลื้อ และวรรรกรรมไทเขินเรื่อง “ปทุมมุกขะ” เป็นวรรรกรรมไทเขิน เข้าใจว่าวรรณกรรมเดิมอาจจะเป็นนิทานพื้นบ้านที่ปรากฎทั่วไปในสุวรรณภูมิ ภายหลังเมื่อพระพุทะศาสนามีบทบาทมากขึ้นเรื่องเหล่านี้จึงกลายเป็นชาดกพื้นบ้านโดยมีพระเอกกลายเป็นพระโพธิสัตว์ไปในที่สุด
|
Inter-Ethnic Relations in the Making of Mainland Southeast Asia |
Hayashi Yukio |
Japan : Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, 2002 |
Books : DS523.3.Y85 2002 |
http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030246 |
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเอกสารฉบับนี้กล่าวถึงความเป็นมา ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี ความสัมพันธ์ และปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงของชาติพันธุ์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษาประวัติศาสตร์ ความเป็นมา วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ไทลื้อ ไตในบริเวณยูนนาน-พม่า คนลาว ไทดำ ชาติพันธุ์กลุ่มชนต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรและการเพาะปลูกเป็นส่วนมาก นอกจากที่เขตเชียงใหม่เท่านั้นที่มีอาชีพหลากหลาย เช่น ชาวไทเขิน ที่มีอาชีพทำเครื่องเงินและเครื่องเขิน และชาวจีนฮ่อที่นิยมทำการค้า
|