Title Author Imprint Collection Url Annotation
สารคดีภาพ บันทึกเมืองไทยไว้ในภาพ. สารคดี กรุงเทพฯ : สารคดี, [254?] SAC library- Books (7th floor) - D843.ส64 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019308             มลาบรี หรือเป็นที่เข้าใจกันผิดว่าชื่อ ผีตองเหลืองนั้น เป็นอิสระชนที่ในปัจจุบันมีจำนวน 180 คน โดยอยู่กระจัดกระจายกันเป็น 3-4 กลุ่ม ในเขตอำเภอเวียงสา กิ่งอำเภอเมืองหลวง จังหวัดน่าน และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากประเทศลาว มีลักษณะทั่วไปและภาษาใกล้เคียงกับชาวเขมร ขมุหรือลั๊วะ เดิมพวกเขาจะนุ่งผ้าเตี่ยวหรือไม่ใส่เสื้อผ้า พวกเขาจะย้ายที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆและสร้างบ้านอย่างง่ายจากวัสดุที่หาได้ตามสภาพแวดล้อมทั่วไป พวกเขามีความสามารถในการหาหัวเผือกและกลอยอาหารเหล่านี้จึงเป็นอาหารของพวกเขา ต่อมาพวกเขาได้รับจ้างทำไร่เพื่อแลกกับที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม อีกทั้งวิถีชีวิตของพวกเขานั้นอยู่กันอย่างเรียบง่ายทั้งการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ไม่ต้องจัดพิธีให้ยุ่งยาก การรักษาอาการเจ็บป่วยจากสมุนไพรที่หาได้ตามธรรมชาติเมื่อมีคนตายก็เพียงขุดหลุมฝังแบบธรรมดาๆ แต่เคร่งครัดอย่างมากในการปฏิบัติตัวของผู้หญิงและต่อผู้หญิง รวมไปถึงการนับถือผีที่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ และเซ่นผีที่พวกเขานับถืออย่างเคร่งครัด ในปัจจุบันวิถีชีวิตของพวกเขาต้องปรับเปลี่ยนไป เช่น สร้างบ้านพักพิงอย่างถาวร หรือยอมรับสภาพการเป็นลูกจ้างอย่างเคยชิน 
ผีตองเหลือง สุรินทร์ ภู่ขจร ภัทรวดี กุลแก้ว, ชนัญ วงษ์วิภาค [ม.ป.ท., ม.ป.พ.], [252-?] SAC Library--Books (7th floor)--DS570.ผ6ส75 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030144              ผีตองเหลือง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามภาคเหนือของประเทศไทย มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ข่าตองเหลือง ยุมบรี มราบรี และมลาบรี ภายในกลุ่มมักจะเรียกแทนตัวเองด้วยคำว่า มลาบรี ที่แปล่า คนป่า ใช้ภาษาม้งหรือแม้วในการติดต่อสื่อสารระหว่างชนเผ่า มีลักษณะเฉพาะ การแต่งกายมักใช้ใบไม้และเปลือกไม้มาปกปิดร่างกาย คำว่า ผีตองเหลือง เป็นคำเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้โดยบุคคลนอกที่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปในที่อาหารเพียงพอสำหรับกลุ่มและมักจะเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาเช้า  การสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะที่เรียบง่าย ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มผีตองเหลืองมักจะเป็นไปในลักษณะการหาของป่าล่าสัตว์ ความรู้ในการนำพืชพันธุ์ไม้ป่ามาใช้เป็นยารักษาโรค กล่าวถึงสังคมที่เป็นไปในลักษณะเครือญาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ อันได้แก่ การเกิด การตั้งชื่อ การแต่งงาน การหย่าร้าง และการตาย รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับจากสังคมภายนอกที่กลุ่มผีตองเหลืองจำต้องปรับเปลี่ยนมีการติดต่อกับคนภายนอกมาขึ้น
ประวัติการสืบเชื้อสายของกลุ่มประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์ในประเทศไทย วิภู กุตะนันท์, ดาวรุ่ง กังวานพงศ์, Mark Stoneking สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2559 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=MRG5980146             โครงการประวัติการสืบเชื้อสายของกลุ่มประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์ในประเทศไทย เป็นการศึกษาความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่ม คือกลุ่มมานิและกลุ่มมลาบรี ผ่านการศึกษาจากรหัสทางพันธุกรรมของทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างพบว่า กลุ่มของมานิมีความหลากหลายทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอและโครโมโซมวายมีความแตกต่างกันโดยมีดีเอ็นเอสูงกว่าโคโมโซมวาย เป็นลักษณะที่พบได้ในประชากรนิโกรโตในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับชาวมานิซึ่งเป็นประชากรดั้งเดิมที่มีการผสมผสานกับประชากรกลุ่มอื่น ในขณะที่กลุ่มของประชากรชาวมลาบรีจะมีโครโมโซมวายจะสูงกว่าดีเอ็นเอ และมีชุดดีเอ็นเอเพียง 2 ชนิดซึ่งน้อยกว่ากลุ่มมานิ จากการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบได้ว่ากลุ่มชาวมลาบรีมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับชาวถิ่นและขมุที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของไทยและสรุปได้ว่ากลุ่มมลาบรีไม่ใช่ประชากรนิกริโตแต่น่าจะเป็นกลุ่มที่ทำเกษตรกรรมและมีเกิดการลดลงของจำนวนประชากรภายในกลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากลักษณะทางพันธุกรรมดีเอ็นเอและโครโมโซมวายที่มีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มของชาวมานิ 
ศึกษาความสัมพันธ์ของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดการตนเองของชนเผ่ามลาบรี จังหวัดน่าน เชษฐ์ นิมมาทพัฒน์ น่าน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2558 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=517909&query=             การบังคับใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีความสุขอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาดังกล่าวจึงส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของชนเผ่ามลาบรีมีการเปลี่ยนแปลงไป พบว่าการเรียนรู้ของชนเผ่ามลาบรีมีรูปแบบการเรียนรู้แบบสั่งสมประสบการณ์ และการเรียนรู้แบบรูปแบบการทดลองการประยุกต์แนวคิด ดังนั้นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็นไปในลักษณะของการเป็นการมีส่วนร่วม และการให้อิสระแก่ชุมชนในการปกครองกันเองโดยองค์กรการปกครองจะคอยให้คำปรึกษา ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
From Interacting to Accessing: On Relationship between the Mlabri and the Forest = จากปฏิสัมพันธ์สู่ Nimonjiya Shu วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 38, ฉบับที่ 1(2558), หน้า 137-170 : ill วารสารวิจัยสังคม. ปีที่ 38, ฉบับที่ 1(2558), หน้า 137-170 : ill http://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00063486             ภายใต้โครงการพัฒนาจากภาครัฐต่อกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี หรือที่รู้จักกันว่า “ผีตองเหลือง” ในพื้นที่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวในหลายด้านๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างมลาบรีกับป่า ซึ่งจากการที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2555-2557 (ค.ศ. 2012-2014) วิถีชีวิตแบบใหม่ตามโครงการพัฒนาจากภาครัฐ เช่น การตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร การทำงานรับจ้างเพาะปลูกพืชเชิงพาณิชย์และการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แม้จะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีมีโอกาสในดำรงชีวิตตามวิถีสมัยใหม่แต่ก็ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับป่าอย่างแนบแน่นตามวิถีดั้งเดิมนั้นหายไป ซึ่งอย่างไรก็ตามวิถีบรรพบุรุษที่ป่าคือบ้าน ถือเป็นอัตลักษณ์ที่ยังคงถูกรำลึกถึงอยู่เสมอผ่านรุ่นสู่รุ่น
การเล่าเรื่องและการรับรู้ความหมายของภาพตัวแทนมลาบรีในภาพยนตร์ ฉันทนา คำนาค นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=520645&query=             ภาพยนตร์และการเล่าเรื่อง เป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบสร้างความหมาย ทำหน้าที่เป็นคำอธิบาย และประกอบสร้างความจริงเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของสรรพสิ่ง รวมไปถึงการสร้างภาพแทนให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย การศึกษานี้จึงได้ยกกรณีศึกษาเป็นภาพยนตร์ชาติพันธุ์ 2 เรื่องได้แก่ ภาพยนตร์เรื่องผีตองเหลือง และภาพยนตร์เรื่องมลาบรีข้าคือคน มาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดภาพตัวแทน แนวคิดการรับรู้ และแนวคิดมานุษยวิทยาทัศนา เพื่อเผยให้เห็นถึงอคติแฝง และความหมายที่คลาดเคลื่อนบางอย่าง ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ในการปรับปรุงภาพยนตร์ชาติพันธุ์ให้กลายเป็นเครื่องมือที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มากกว่าการเป็นสื่อแฝงอคติ และผลักดันกลุ่มชาติพันธุ์สู่ความเป็นอื่น
Suicide among the Mla bri hunter-gatherers of northern Thailand. Long, Mary. Long, Eugene Robert. Waters, Tony The journal of the Siam Society. vol. 101(2013), p.155-176 -- 0857-7099 Journal of the Siam Society (JSS), Vol. 101, 2013, pp.155-176. http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00057363             การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามรูปแบบการพัฒนาสังคมสมัยใหม่ที่เข้ามาสู่กลุ่มชาติพันธุ์
มลาบรี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของพวกเขาในหลายๆด้าน จากการใช้ชีวิตเร่ร่อนในผืนป่ามาใช้ชีวิตที่เริ่มมีการตั้งหลักปักฐานถาวร ได้รับการศึกษา การบริการทางสุขภาพ และเกิดกระบวนการเข้าสู่ความเป็นพลเมืองไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตตามแบบสังคมสมัยใหม่ ซึ่งในขณะเดียวกันได้ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มคนเหล่านี้ โดยเฉพาะวิถีที่เรียกว่า “Paluh” อันเป็นรูปแบบของวิถีชีวิตที่ช่วยจัดระเบียบควบคุมคนในกลุ่ม โดยการแยกตัวออกมาจากกลุ่มเดิมเมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งภายในกลุ่ม ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้เมื่อมีวิถีชีวิตแบบตั้งหลักปักฐาน วิถี  “Paluh” ที่ช่วยลดความขัดแย้ง ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนก่อให้เกิดการกระจายตัวและเกิดการรวมตัวเพื่อตั้งเป็นกลุ่มใหม่อีกกลุ่มจึงได้เลือนหายไป วิถีชีวิตแบบสังคมสมัยใหม่ในด้านหนึ่งจึงส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี อย่างภาวะการติดสุราเรื้อรัง (Alcoholism) การหย่าร้าง ความรุนแรงต่อผู้หญิง และการฆ่าตัวตาย
มลาบรี บนเส้นทางการพัฒนา ศักรินทร์ ณ น่าน เชียงใหม่ : ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555 SAC Library--Books (7th floor)--DS570.ม46ศ62 2555 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076211              งานศึกษากลุ่มชาวชาติพันธุ์ชาวมลาบรีที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมสมัยใหม่ กล่าวถึงการนิยามชื่อเรียกระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในการนิยามชื่อของตน จนถึงการถูกให้คำนิยามผ่านสังคมภายนอก และศึกษาถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และทัศนคติที่มีต่อระบบนิเวศของชาวมลาบรีที่สะท้อนให้เห็นผ่านวิถีการผลิต การเลือกทำเลที่อยู่อาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างชาวมลาบรีกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีการศึกษาถึงสังคมชาวมลาบรีที่มีการแบ่งทรัพยากรภายในกลุ่ม จำนวนประชากรชาวมลาบรีที่อาศัยในประเทศไทย ตลอดจนศึกษาถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงของชาวมลาบรีและสถานภาพความเป็นพลเเมืองไทยผ่านการพัฒนาโดยรัฐ โครงการที่รัฐจัดหาพื้นที่ตั้งให้แก่ชาวกลุ่มมลาบรี โดยศึกษาผ่านกรณีชาวมลาบรีบ้านดอนไพรวัลย์ จังหวัดน่าน สถานภาพการรับสัญชาติสวัสดิการที่ควรได้รับจากการเป็นพลเมืองสภาพเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มชาวมลาบรีที่มีการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญามลาบรี ทีวีไทย. ทีวีไทย กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2554] Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000310 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079148             ชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของชาติพันธุ์มลาบรีในประเทศไทย ณ ห้วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งจากปัจจัยด้านการเมืองความไม่สงบในภูมิภาคอินโดจีน ปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลง และการพัฒนาแบบสังคมเมืองภายใต้นโยบายการพัตนาของรัฐแบบสมัยใหม่ ส่งผลให้วิถีดั้งเดิมแบบล่าสัตว์หาของป่าเปลี่ยนแปลงไป ในปัจจุบันนี้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร รวมตัวอยู่กันเป็นหมูบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดแพร่และน่าน มีการปรับตัวให้เข้ากับวิถีสมัยใหม่ เช่น การเข้าสู่ระบบการศึกษาของคนรุ่นใหม่  การรับจ้างทำงาน และการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนี้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรียังคงยึดถือวิถี “การแบ่งปัน” เป็นปรัชญาที่สำคัญในการดำรงชีวิต
การศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนหาของป่าล่าสัตว์ในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นฐาน : กลุ่มมานิ (ซาไก), มลาบรี (ตองเหลือง) และมอเกล็น อิสระ ชูศรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG53H0003             โครงการวิจัยเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณา โดยการสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ทำวิจัยและกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งในการร่วมคิดและร่วมปฏิบัติการกับเจ้าของภาษา รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ 15 กลุ่มภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤตใกล้สูญ ได้แก่ กลุ่มชอง, ชุอุ้ง, ซัมเร, กะซอง, ญัฮกุร, โซ่ (ทะวืง), ก๋อง, ละเวือะ, อึมปี้, บีซู, อุรักละโวจ, มลาบรี (ตองเหลือง), มานิ (ซาไก), มอเกล็น และแสก ซึ่งใช้ลักษณะในการจำแนกเป็นสองลักษณะ คือ การฟื้นฟูภาษา และการสืบค้นเพื่อบันทึกข้อมูลและพรรณนาภาษาอย่างเป็นระบบ โดยเป้าหมายของโครงการ คือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการคงอยู่ของภาษาท้องถิ่น หรือช่วยในการชะลอการสูญสลายของภาษากลุ่มชาติพันธุ์เล็ก ๆ ให้คงอยู่ตลอดไป
การเต้นจะคึของลาหู่นะ (มูเซอดำ) กรณีศึกษา ตำบลด่านแม่ละเมาะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สุนิษา สุกิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=368487&query=             คำว่า “จะคึ” ในภาษามูเซอแปลว่าการเต้น การเต้นจะคึของชาวลาหู่ในตำบลด่านแม่ละเมาะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นการเต้นที่เกิดจากความเชื่อความศรัทธาของชาวลาหู่ที่มีต่อผีและพระเจ้ากือซ่าตามความเชื่อของคนในชุมชน เพื่อประกอบในพิธีบวงสรวง และพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติตามปฏิทินของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลอง การเรียกขวัญรักษาโรค หรือพิธีกรรที่เกี่ยงข้องกับเกษตรกรรม กล่าวได้ว่าการจะคึ และดนตรีนั้นมีความสำคัญและผูกโยงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างสิ้นเชิง การศึกษาเกี่ยวกับการเต้นจะคึจึงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวของความเชื่อ ระบบเครือญาติ การปกครอง เศรษฐกิจ และการแต่งกายของลาหู่ในตำบลด่านแม่เมาะออกมาได้เป็นอย่างดี
มลาบรีกับการช่วงชิงทรัพยากรในบริบทของการพัฒนาโดยรัฐ ศักรินทร์ ณ น่าน เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548 SAC Library-Research and Thesis-DS570.ผ6ศ62 2548 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00050404             วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ศึกษาเน้นศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของชุมชนมลาบรีบ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และบ้านบุญยืน ตำบลห้วยห้อย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ผู้วิจัยใช้แนวคิดนิเวศวิทยาการเมือง เข้ามาเป็นแนวคิดหลักเพื่อช่วยวิเคราะห์การต่อสู้ดิ้นรนของชาวมลาบรี 
ในบริบทการพัฒนาของรัฐผ่านประเด็นการช่วงชิงทรัพยากร ทำให้มลาบรีถูกผลักใสให้ตกอยู่ในสภาวะชายขอบของสังคม ความเป็นชาติพันธุ์กลายเป็นสินค้าในกระแสลัทธิบริโภคนิยมและการท่องเที่ยว แรงกดดันดังกล่าวทำให้มลาบรีต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อช่วงชิงทรัพยากร
            โครงการพัฒนาทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เข้ามามีบทบาทจัดการกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของมลาบรี ด้วยการใช้อำนาจรัฐให้สิทธิจัดสรรที่ดินในชุมชนม้งบ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้มลาบรีเข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร โดยการจัดตั้งเป็น "ชุมชนตองเหลือง" การจำกัดพื้นที่เฉพาะ ทำให้การเข้าถึงทรัพยากรและพื้นที่ป่าของมลาบรีเป็นไปอย่างยากลำบาก มลาบรีจำต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการยังชีพจากที่เคยหาของป่าล่าสัตว์ สู่การเป็นแรงงานรับจ้างทำไร่ในชุมชนม้ง ซ้ำยังตกเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน มีการนำมลาบรีที่แต่งกายด้วยการนุ่งตะแยด ซึ่งถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียงสัญญะที่สำคัญในการจัดแสดงวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมแบบชนเผ่าดั้งเดิม มาใช้สร้างจุดขายเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัด แทนที่จะวางแผนพัฒนาวิถีชีวิตบนรากฐานที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และตัวตนของมลาบรีอย่างแท้จริง แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรม ระบบคุณค่าและโครงสร้างความเชื่อของสังคมชนเผ่ามลาบรี การพัฒนาได้ส่งผลให้มลาบรีมีตัวตนทางสังคมที่ปรากฏต่อสังคมภายนอกไม่ต่างจาก "คนชายขอบของสังคม" ภายใต้การจัดการโดยกลุ่มอำนาจต่าง ๆ 
เงื่อนไขในการอนุรักษ์ดินและน้ำของเกษตรกรบนที่สูง จังหวัดแพร่ มะลิวัลย์ โสภา เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - S938 .ม64 2545 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00039140             งานวิจัยในหัวข้อเงื่อนไขในการอนุรักษ์ดินและน้ำของเกษตรกรบนที่สูงเป็นการศึกษาเงื่อนไขที่สัมพันธ์กับการอนุรักษ์กินและน้ำของครัวเรือนเกษตรกร เงื่อนไขที่สัมพันธ์กับการแผ้วถางป่าเพื่อขยายพื้นที่และการประยุกต์ใช้สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลระยะไกลสำหรับการจัดการที่ดินระดับท้องถิ่นของเกษตรผ่านชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตป่าต้นน้ำจังหวัดแพร่ โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง มลาบรี และคนเมือง ผ่านกรอบแนวคิดเรื่อง แรงกดดันของประชากรต่อที่ดินทำกินในป่า การถือครองที่ดินกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ การตัดสินใจยอมรับการอนุรักษ์ดินและน้ำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ในการศึกษาใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและการสัมภาษณ์เชิงลึก นอกจากนี้ยังใช้การวิเคราะห์สถิติทดสอบแบบไควสแควร์และถดถอยแบบโลจิสติก ในการศึกษาพบว่าชุมชนที่ถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงพยายามตอบโต้ว่าภายในกลุ่มมีความสามารถอนุรักษ์ดินและน้ำได้หลายรูปแบบเพื่อตอบโต้จากภาครัฐ โดยภายในกลุ่มถือว่าการทิ้งพื้นที่ให้เป็นไร่ร้างเป็นรูปแบบหนึ่งของการอนุรักษ์ โดยวิเคราะห์ได้ทั้งในระดับชุมชน ครัวเรือน และแปลงเพาะปลูกของกลุ่มเกษตรกรบนพื้นที่สูง
มลาบรี ถวัลย์ มาศจรัส. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2545 Sac Library - Books (7th floor) - PZ90.ถ56 ม46 2545 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046071             วรรณกรรมเยาวชนที่บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีหรือที่รู้จักกันในนามผีตองเหลืองโดยเนื้อหามีการดำเนินเรื่องผ่านตัวละคร “กุนโฮะ” และครอบครัวของเขาในการเสนอเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การอพยพเคลื่อนย้ายถิ่น การให้ความหมายของบ้านหรือที่พักอาศัยหรือแม้กระทั่งธรรมชาติล้วนเป็นสิ่งที่ตัวละครในเรื่องพยายามถ่ายทอดออกมา การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น การดำเนินเรื่องที่เกิดขึ้นจากสังคมภายนอกที่เข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตของครอบครัวกุนโฮะผู้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมลาบรีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเนื้อหาที่น่าติดตาม ทำให้สามารถจินตการและทำความเข้าใจต่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มมลาบรีมายิ่งขึ้น
ทรัพยากรอำนาจและตัวตนของสังคมผู้เก็บของป่าล่าสัตว์ กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มลาบารีในจังหวัดน่าน ศักรินทร์ ณ น่าน. น่าน : ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ในเครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน จ.น่าน, [ม.ป.ป.]. Sac Library - Pamphlet (Contact Counter Service 8th floor) - จุลสาร 00557 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061397             นับตั้งแต่อดีตสังคมมลาบรีนั้นไม่ได้ตัดขาดจากสังคมอื่นๆ มีความสัมพันธ์กลุ่มคนอื่นๆเรื่อยมา ยิ่งภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจต่อสังคมเกษตรกรรม รัฐ ระบบทุนนิยมและโลกาภิวัฒน์ ผู้เขียนได้ศึกษาผ่าชุมชนมลาบรี ในเขตบ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าวก่อให้กลุ่มคนมลาบรีประสบกับภาวะชายขอบของสังคม ภายในพื้นที่ปิดล้อมของการพัฒนา ทั้งการปิดล้อมเชิงกายภาพ ซึ่งเป็นการกีดกันการเขาถึงทรัพยากรธรรมชาติ อย่างป่าไม้และที่ดินทำกิน และการปิดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่ถูกควบคุมอัตลักษณ์ทางสังคม  อย่างการถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามกลุ่มคนมลาบรีนั้นมีการต่อสู้ดิ้นรนและต่อรองกับสถานการณ์เช่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของสังคมผู้เก็บของป่าล่าสัตว์ในปัจจุบัน
The Mrabri in Laos : A World under the Canopy Chazee Laurent Bangkok : White Lotus Press, c2001 SAC Library Books (7th floor) DS570.P48C53 2001 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028747             กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีนั้นถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ระหว่างภาคเหนือของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวมีมาอย่างต่อเนื่องในฝั่งประเทศไทย การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในพื้นที่ป่าจังหวัดไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในงานศึกษาชิ้นนี้ จึงถือเป็นการศึกษาที่ทำให้เข้าใจวัฒนธรรม วิถีชีวิตและจิตวิญญาณที่มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับผืนป่าของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีมากยิ่งขึ้น เกิดความเชื่อมโยงความรู้เข้าใจต่อกลุ่มชาติพันธุ์ดั่งกล่าวในประเทศไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้นต่อวิถีดั้งเดิมแบบเร่ร่อนล่าสัตว์หาของป่า อันเกิดจากสังคมภายนอกที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขา เช่น สงครามความขัดแย้ง อคติเชิงชาติพันธุ์ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงการอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในปัจจุบัน มีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนรู้ที่เอื้อตอ่การดำรงชีวิตของชนเผ่าตองเหลือง บ้านท่าวะ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ยอดขวัญ บุญซ้อน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2543 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG43N0029             โครงการการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของ “ชนเผ่าตองเหลือง (ชื่อเรียกตามโครงงานวิจัย)” บ้านท่าวะ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการให้เด็กชนเผ่าตองเหลือง ผ่านกิจกรรมทำไร่ข้าว เพื่อเป็นเครื่องมือที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของชนเผ่าตองเหลืองบ้านท่าวะ จากปัญหาการขาดแขลนโภชนาการทางอาหารของเด็กในพื้นที่  ซึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากพื้นที่ป่าไม้ทำกินที่ลดลง ทำให้ชนเผ่าตองเหลืองต้องออกมารับจ้างเพื่อแลกกับเงินหรืออาหาร แต่กลับประสบพบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ โครงการดังกล่าวนี้ได้เน้นการดำเนินงานการมีส่วนร่วมระหว่างฝ่ายต่างๆ ประกอบไปด้วย คณะนักวิจัย ชาวบ้านกลุ่มผู้ทำไร่ข้าว เด็กและผู้ปกครองชนเผ่าตองเหลือง รวมไปถึงหน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้อง ผลจากการทำโครงการพบว่าเด็กๆและผู้ปกครองชนเผ่าตองเหลืองได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำไร่ข้าว เกิดการถ่ายโอนความรู้ สามารถวางแผนและขอคำปรึกษาในการทำไร่ข้าวในขั้นต่อไป
ระบบเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชนเผ่าผีตองเหลืองในสังคมไทย วิสุทธิ์ ศรีวิศาล [12], 197, 7 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ SAC Library-Research and Thesis-DS570.ผ6ว65 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018073             งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตในสังคมชนเผ่ามลาบรี ณ บ้านบ่อหอย ต.ยาบหัวนา อ.เวียงสา จ.น่าน และ บ้านบุญยืน ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ โดยอาศัยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของชนเผ่ามลาบรี ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ระบบครัวเรือน การเมืองการปกครอง การจัดการกับสิ่งแวดล้อม ความเชื่อและศาสนา 
            ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองมี คือจำนวนป่าไม้ที่ลดลงมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะถ้าป่าไม้ลดลง วิถีชีวิตของผีตองเหลืองจะเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ดินที่จำกัดก็มีผล กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะที่ดินที่สมบูรณ์จะทำให้ผีตองเหลืองมีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะผีตองเหลืองอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร การติดต่อวัฒนธรรมระหว่างผีตองเหลือง และม้งก็มีส่วนทำให้ระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองเปลี่ยนแปลง เพราะมีการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากการค้าเงียบไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบขายแรงงาน ส่วนการรับกระแสวัฒนธรรมเมือง พบว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องแต่งกายของผีตองเหลืองเห็นได้ชัดที่สุด 
ขมุ ลัวะ / ถิ่นและมลาบรี(ผีตองเหลือง) ในจังหวัดน่านและปัญหาในการเรียกชื่อ สุวิไล เปรมศรีรัตน์ [ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2537?] Books DS589.น9ส75 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061056             หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลของการศึกษา และสำรวจด้านภาษาศาสตร์ของชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มขมุ กลิ่นถิ่นหรือลัวะ และกลุ่มมลาบรี หรือผีตองเหลือง ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร ทำให้เข้าใจภาษาศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีความเหมือนและเหลื่อมซ้อนกัน และเป็นแนวทางไปสู่ทางออกของปัญหาการเรียกชื่อที่ยังมีความสับสนอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งอาจมีชื่อเรียกหลายชื่อ หรือชื่อหนึ่งอาจเป็นชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งกลุ่มซึ่งเป็นเหตุให้ผู้คนภายนอกเกิดความสับสนและความเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสามกลุ่มปะปนกันอาทิ ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มถิ่น หรือลัวะ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละชื่อมาจากเหตุและผลที่ต่างกัน เช่น ชื่อพื้นบ้าน คือ ชื่อที่กลุ่มนี้เรียกตนเอง ชื่อพื้นเมือง คือ ชื่อที่ชาวน่านใช้เรียกกลุ่มชนนี้ และชื่อราชการ คือชื่อที่ทางราชการใช้เรียกกลุ่มชนนี้
การศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ภาษามลาบรี (ผีตองเหลือง) คารม ไปยะพรหม นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล SAC Library-Research and Thesis- P35.K53 1990 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046375             วิทยานิพนธ์เน้นวิจัยจากเอกสาร และการลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2529 ถึงปีพ.ศ. 2532 ใน 3 ประเด็นหลักคือ ประเด็นแรก เกี่ยวกับระบบเสียง ซึ่งประกอบด้วย ทำนองเสียง คำ พยางค์ และหน่วยเสียง ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับลักษณะทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งประกอบด้วย ระบบเครือญาติ บ้าน ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรคและเพลง ประเด็นที่สาม เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างภาษาและมานุษยวิทยา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการสร้างคำ โดยอาศัยแนวเทียบกับสภาพแวดล้อมทางมานุษยวิทยาและสังคม
ผลการวิเคราะห์กลุ่มสังคมล่าสัตว์ : ชนกลุ่มน้อยเผ่าตองเหลืองในประเทศไทย สุรินทร์ ภู่ขจร กรุงเทพฯ : กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2531 Sac Library - Books (7th floor) - DS570.ผ6 ส74 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004807             รายงานการศึกษาผีตองเหลืองแบบสหวิทยาการ ได้แก่ การศึกษาภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การวิเคราะห์ดนตรีซึ่งพบว่าได้รับอิทธิพลจากลาว การศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ การศึกษาพันธุกรรมและการวิเคราะห์โภชนาการ ทั้งหมดนี้เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา และนำข้อมูลด้านต่าง ๆ มาช่วยในการศึกษาตีความถึงกลุ่มสังคมล่าสัตว์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ข้อมูลสำคัญพบว่าผีตองเหลืองได้รับผลกระทบจากการถางป่าเพื่อทำไร่จากกลุ่มชนอื่นที่เป็นกลุ่มสังคมเกษตรกรรม ทำให้ขาดแคลนทรัพยากรและอาหาร จึงทำให้ผีตองเหลืองต้องออกมาติดต่อกับกลุ่มชนอื่น เช่น ม้ง และเกิดการรับอิทธิพลทางเทคโนโลยีและวิถีชีวิตจากวัฒนธรรมเหล่านั้น
ชาวน่าน : คนหมู่มาก และคนกลุ่มน้อยในเมืองน่าน / ชนัญ วงษ์วิภาค. ชนัญ วงษ์วิภาค. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530 Sac Library - Books (7th floor) - DS589.น9 ช36 2530 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012371             เรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในจังหวัดน่านโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นเป็นหลักผ่านมุมมองจากการเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่าของกลุ่มตัวอย่างผู้คนในจังหวัด อำเภอเมือง อำเภอแม่จริม อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้าและอำเภอท่าวังผา โดยมีรายละเอียดตั้งแต่สภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ลักษณะการอยู่อาศัย พิธีกรรมความเชื่อ เศรษฐกิจอาชีพ และความเปลี่ยนแปลง มีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกสังคมและเศรษฐกิจของประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัด ส่วนสองเป็นแบบแผนดำเนินชีวิตของชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ลื้อ ขมุ ถิ่น ผีตองเหลือง ม้งและเมี้ยน ส่วนที่สามคือการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม หรับชนกลุ่มผีตองเหลืองซึ่งเป็นกลุ่มที่อาศัยเขตชุ่มชื่น อยู่ในพื้นที่สูง มีการกล่าวถึงการดำเนินชีวิตของผีตองเหลืองที่อาศัยอยู่กับครอบครัวขนาดใหญ่ การสร้างที่พักอาศัยในลักษณะที่ไม่ถาวร การเปลี่ยนที่อยู่ไปตามแหล่งต่าง ๆ ความเชื่อในเรื่องภูตผี ลักษณะการออกหาอาหารดำรงชีวิต การใช้เครื่องมือที่มีเรียบง่าย นอกจากนี้ผีตองเหลืองมีการติดต่อกับบุคคลนอกกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เช่น ชาวม้ง ในรูปแบบของการเป็นลูกจ้างและนายจ้าง
นิเวศน์วิทยาวัฒนธรรม ชนัญ วงษ์วิภาค นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2529 Sac Library - Books (7th floor) - GN316.ช35 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019552             ผีตองเหลือง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสายะบุรี ประเทศลาว ปัจจุบันส่วนใหญ่อาศัยในพื้นที่จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน ผีตองเหลืองยังชีพด้วยการหาของป่า-ล่าสัตว์ และย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ วิถีชีวิตของเผ่าตองเหลืองมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างมาก เช่น การผลิตเครื่องใช้สอยส่วนใหญ่จากกระบอกไม้ไผ่ ส่วนของที่ทำจากโลหะจะได้จากการนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยนแล้วนำมาแปรรูปเอง แต่จากกรณีศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของผีตองเหลืองและม้งที่บ้านห้วยบ่อหอย จังหวัดน่าน พบว่า ผีตองเหลืองต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยต้องพึ่งพาอาศัยการจ้างงานจากเผ่าม้งมากขึ้น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าลดลงจากการตัดไม้ทำลายป่าของบริษัทป่าไม้ และการขยายพื้นที่เพาะปลูกของม้ง นอกจากนั้น จากการเข้ามาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่นทำให้ผีตองเหลืองรับวัฒนธรรมบางอย่างเข้ามาปรับใช้ เช่น การเรียนรู้วิธีหุงข้าวด้วยหม้อ ฟังวิทยุ หรือการแลกสิ่งของต่าง ๆ แทนการทำเองในอดีต เช่น แลกหม้ออะลูมิเนียมมาใช้แทนกระบอกไม้ไผ่ หรือแลกเครื่องประดับ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิถีชีวิตของ มละ บริที่อยู่ร่วมกับป่า : กรณีศึกษาศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อิสมา ซาร์วาร์ กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยชาติพันธุ์ทางโบราณคดี, 2526. ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=457871&query=             “มละบริ” เป็นชื่อเรียกและการออกเสียงเฉพาะตัวของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในศูนย์ภูฟ้าพัฒนา เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงหรือบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย มีวัฒนธรรม ภาษา และการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์ การศึกษานี้ได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบวิถีชีวิตของมละบริที่อยู่ร่วมกับป่าตั้งแต่ วิถีชีวิตแบบเร่ร่อน จนเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานถาวร และปัจจุบันที่ปัจจัยภายนอกด้านต่าง ๆ ที่ได้เข้ามามีผลต่อวิถีชีวิตของมละบริในศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม จากวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมสู่การประกอบอาชีพรับจ้างในพื้นที่ ผลิตหัตถกรรม และเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนในแต่ละช่วงเวลานี้ก็เพื่อความอยู่รอด ปรับตัวเข้ากับสังคม และเรียนรู้ที่จะต่อรองกับสังคมอื่น ๆ ผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางที่จะให้มละบริอยู่ร่วมกับป่าได้โดยยึดหลักการจัดการทรัพยากรฐานชุมชน ออกมาเป็น 3 แนวทางคือ การจัดการทรัพยากร การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการรักษาอัตลักษณ์ความเป็นมละบริ 
Invoking the spirits : fieldwork on the material and spiritual life of the hunter-gatherers Mlabri Trier, Jesper Hjbjerg : Jutland Archaeological Society, [2008?] SAC Library Books (7th floor) DS570.P48T75 2008 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072981             “มลาบรี” เป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในประเทศไทยทางตอนเหนือใช้เรียกตัวเอง อันหมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในป่า (People forest) เพื่อสะท้อนถึงวิถีของพวกเขาที่เป็น “มนุษย์” และอาศัยอยู่ในป่า ในขณะที่สังคมภายนอกรู้จักพวกเขาในนามว่า ผีตองเหลือง (Spirits of the Yellow Leaves) หรือ คนป่า (Khon Pa) เรื่องราวของพวกเขาได้ถ่ายทอดผ่านผู้เขียนซึ่งได้ลงพื้นที่ศึกษากับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับผืนป่าและหลบซ่อนห่างไกลจากผู้คนภายนอกนี้เป็นเวลา 7 เดือน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2520, 2521 และ 2523 (ค.ศ.1976-1977, 1978 และ 1980) ศึกษาและเก็บข้อมูลอย่างระเอียดในหลายๆด้าน เพื่อไขความลับการดำรงชีวิตเร่ร่อนอยู่ในป่าของคนกลุ่มนี้ โดยประกอบไปด้วยข้อมูลด้านลักษณะทางกายภาพและสังคมวัฒนธรรม ผ่านการศึกษา ภาษา การนับเครือญาติ ความเชื่อ เป็นต้น
The spirits of the yellow leaves : the enigmatic hunter-gathers of Northern Thailand Bernatzik, Hugo Adolf, 1897-1953 Bangkok, Thailand : White Lotus Press, 2005 SAC Library--Books (7th floor)--DS569.B413 2005 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062744             ผีตองเหลือง หรือกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า มลาบลี อาศัยอยู่ในป่าลึกบริเวณเทือกเขาของเอเชียกลาง ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักกันในชื่อผีตองเหลืองเนื่องจากไม่ปรากฏอะไรให้เห็นนอกจากการสร้างที่พักอย่างหยาบ ๆ เร่งรีบ ด้วยใบไม้ ใบตอง ไผ่ และในไม่ช้าก็ปล่อยทิ้งร้างไป โดยการเลือกพื้นที่อาศัยจะขึ้นอยู่กับแหล่งอาหารเช่นพืชผักที่สามารถกินได้ พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มักไม่ค่อยติดต่อกับบุคคลภายนอก ยกเว้นแต่ขาดแคลนอาหาร อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงการสร้างที่พักบริเวณต้นไม้ใหม่เพราะอาจจะล้มลงมาคร่าชีวิตพวกเขาได้และเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของวิญญาณ เครื่องมือเครื่องใช้มีไม่มาก เช่น ไม้ไผ่ลำเดียว ไม้ธรรมดาปลายแหลมที่ใช้สำหรับขุด และมีด ไม่มีช้อนส้อม และกินอาหารด้วยมือ สมัยก่อนผีตองเหลืองมักไม่สวมเสื้อผ้า จะส่วนแต่วัสดุที่ดึงผ่านระหว่างขาและมัดด้านหลัง ส่วนผู้หญิงมักสวมเสื้อผ้าเก่าๆหรือเศษผ้าที่ไม่ได้ทำความสะอาดเวลาต้องออกไปพบกับผู้คนภายนอก ผู้หญิงจะตื่นแต่เช้ามาเก็บไม้ไผ่และฟืน ส่วนคนอื่น ๆ จะกระจัดกระจายเข้าป่าเพื่อหาอาหาร 
Minor Mlabri : a hunter-gatherer language of northern Indochina Rischel, Jorgen Copenhagen : Museum Tusculanum Press, c1995 Sac Library - Books (7th floor) - PL4309.5.M55 R57 1995 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073453             มลาบรี เป็นชนเร่ร่อนเก็บของป่า-ล่าสัตว์ ภาษาที่ใช้จัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติค สาขามอญ-เขมร กลุ่มย่อยขมุอิค งานวิจัยชิ้นนี้อ้างอิงจากข้อมูลส่วนใหญ่จากการศึกษาเก็บข้อมูลกับชนมลาบรีกลุ่มน้อยในช่วงปี 1988 และจากข้อมูลภาคสนามของชนมลาบรีกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย ผู้วิจัยเสนอว่าภาษามลาบรีแบ่งออกเป็นสองแบบตามถิ่นฐานมลาบรีสองกลุ่ม โดยแบ่งเป็น α-Mlabri หรือชนมลาบรีกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย และ β-Mlabri หรือชนมลาบรีกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยกับลาว ทั้งสองกลุ่มนี้แม้จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็มีระบบเสียงและลักษณะโครงสร้างรูปร่างของคำพูดที่คล้ายกันมาก และจากการโอบล้อมเพื่อพัฒนาจากรัฐที่ทำให้มลาบรีต้องตั้งถิ่นฐานถาวร ส่งผลให้คนรุ่นหลังพูดภาษามลาบรีน้อยลง แต่กลับพูดภาษาไทยและม้งได้คล่องแคล่ว
The Phi Tong Luang (Mlabri) : a hunter-gatherer group in Thailand Surin pookajorn. Bangkok : Odeon Store, c1992 Sac Library - Books (7th floor) - DS570.P48 S87 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00016057             The Phi Tong Luang (Mlabri) ได้ให้ความหมายของชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย กล่าวถึงที่มาของกลุ่มผีตองเหลืองที่อพยพมาจากประเทศลาวก่อนที่จะเข้ามาในประเทศไทยในปี 1924 โดยเริ่มเข้ามาสู่จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทยและอพยพเข้ามาสู่พื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยเช่น ภูกระดึง จังหวัดเลย ดอยเวียงสา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดน่านและแพร่ นอกจากนี้วิถีชีวิตของผีตองเหลืองที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง มีการติดต่อกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น แม้ว เป็นต้น สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ไม้และใบตองเป็นหลัก ย้ายถิ่นไปตามพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีรูปแบบการใช้ชีวิตในลักษณะหาของป่า ล่าสัตว์ หรือเมื่อมีสมาชิกในกลุ่มเสียชีวิต มีการใช้ประโยชน์จากต้นไผ่ในการสร้างเครื่องมือทำมาหากิน เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น การทำอาหาร หรือแม้กระทั่งใช้เป็นที่สูบไปป์ที่มีชื่อเรียกว่า Tobacco pipes ความเชื่อในเรื่องภูตผี ประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น การแต่งงาน การหย่าร้าง ภาษามลาบรีที่มักจะใช้ในกลุ่มของตนเอง  
การศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ภาษามลาบรี (ผีตองเหลือง) Kharom Paiyaphrohm. Nakhonpathom : Mahidol University. Institute of Language and Culture for Rural Development, 2019 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - P35 .K53 1990 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046375             การศึกษาวิจัยจากเอกสารและการลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2529 ถึงปีพ.ศ. 2532 เพื่อศึกษาถึงภาษามลาบรีในสามประเด็น ได้แก่ ระบบเสียง ซึ่งประกอบด้วย ทำนองเสียง คำ พยางค์ และหน่วยเสียง ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับลักษณะทางด้านมานุษยวิทยา ประกอบด้วย ระบบเครือญาติ บ้าน ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรค และเพลง และในประเด็นที่สาม จะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและมานุษยวิทยา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการสร้างคำ โดยอาศัยแนวเทียบกับสภาพแวดล้อมทางมานุษยวิทยาและสังคม