Title Author Imprint Collection Url Annotation
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องพลวัตทางชาติพันธุ์ ณ พรมแดนตะวันออก กรณีศึกษากลุ่มภาษากะซองและซำเร ดำรงพล อินทร์จันทร์ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2559 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.K36 ด64 2559 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00094809              ชาวกะซอง หรือ ชาวชอง และชาวซำเร คือกลุ่มภาษากะซองและซำเร อาศัยอยู่บริเวณชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่ 2 ตำบล คือบ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล บ้านมะม่วงและบ้านคลองโอน ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่มีชายแดนทางตะวันออกติดต่อกับประเทศกัมพูชา บ้านคลองแสงนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร การทำสวน และ รับจ้าง มีสำนักสงฆ์คลองแสงเป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านที่จะมารวมตัวและให้ความร่วมมือกันในวันหยุด วันพระ วันสำคัญทางศาสนา และประเพณีต่าง ๆ ในส่วนของบ้านมะม่วงและบ้านคลองโอน จะมีลักษณะคล้ายกันคือเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) ชุมชนบ้านมะม่วงส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวน รับจ้าง และเก็บของป่า แต่ลักษณะเด่นของบ้านคลองโอนจะเป็นการจักสานที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย การแบ่งงานส่วนใหญ่ผู้ชายจะมีหน้าที่ทำงาน ทำไร่ ทำสวน เก็บของป่า และรับจ้าง ส่วนผู้หญิงจะรับผิดชอบงานบ้าน ทำกับข้าว ทั้งชาวกะซองและชาวซำเร นับถือภูตผีวิญญาณ จึงมีประเพณีที่เกี่ยวกับความตายและประเพณีไหว้ผี เช่น ประเพณีไหว้ผีแม่มด เป็นต้น
กระวาน: ชีวิตชองเขาสอยดาว สุดารา สุจฉายา วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 44, ฉบับที่ 1 (ม.ค./มี.ค. 2561), หน้า 44-59 Sac Journal http://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00069390
พฤติกรรมการใช้สมุนไพรชองของประชาชนในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ชัยณรงค์ เพ็ชรศิริ จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2560 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=491348&query=                เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง โดยทำการศึกษาชาวชองเฉพาะในตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งยังมีวิธีการรักษาโรคแบบแผนโบราณหรือหมอพื้นบ้านโดยการใช้สมุนไพรในการรักษา เพราะลักษณะสภาพหมู่บ้านของชาวชองเป็นป่าทึบ หรือรักษาโรคโดยการใช้คาถาอาคม เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ชองยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องภูตผีปีศาจ ความเชื่อของชาวชองคือหมอแผนโบราณหรือหมอพื้นบ้านจะทำพิธีกรรมไหว้ครูทุกปี แต่เมื่อมีระบบการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาในชุมชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของชาวชอง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรกลับมาใช้ในทางสาธารณสุขมากขึ้น แม้จะพบปัญหาในการใช้สมุนไพรหลายประการ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการใช้สมุนไพรของประชาชนในการรักษาโรค ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง และเพื่อเป็นการคงดำรงไว้เป็นเอกลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยต่อไป
การสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวดำพื้นเมืองของคนชอง “ข้าวหอมแม่พญาทองดำ” เจตน์จรรย์ อาจไธสง และนฤดล รัตนบุญส่ง ชลบุรี : สาขาวิชาการจัดการ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 2560 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=530818&query=                 เป็นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์วรรณาและการดำเนินการอนุรักษ์ของชาวชอง ตั้งอยู่ที่ตำบลวังแข้ม หรือเดิมมีชื่อว่า “ตำบลวังจะอ้าย” อาชีพหลักในอดีตของชาวชอง คือ การทำนา ประเพณี ได้แก่ สงกรานต์ ประเพณีเกี่ยวกับข้าว ลอยกระทง งานแต่ง งานบวช วิธีการเดินทาง คือ การเดินทางด้วยเท้า อาหารพื้นบ้าน คือ ขนมจีน อาหารหวาน คือ ลอดช่อง และมีวิธีในการรักษาโรค คือ การใช้หมอพื้นบ้านและไสยศาสตร์ วิถีปัจจุบันของชาวชอง คือ การเลี้ยงสัตว์ชันโรงในสวนผลไม้ และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนโดยการสร้างบ้านชอง ปลูกพืชสมุนไพร เลี้ยงชันโรง แต่ในปัจจุบันอาชีพของชาวชองได้เปลี่ยนไปจากการทำนาคือการหันไปทำสวนผลไม้มากขึ้น และสิ่งที่หายไปพร้อมกับอาชีพหลักในอดีต คือ เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชาวชอง แต่ยังพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชาวชองที่ยังหลงเหลืออยู่ คือที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี คือ “ข้าวหอมแม่พญาทองดำ” หรือข้าวดำทำยา เดิมชาวบ้านเรียก “ข้าวญา” ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาวชอง จึงควรทำการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองนี้ให้อยู่คงคู่กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ชนเผ่าพื้นเมือง : ชอง มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส) เชียงใหม่ : มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส),[ม.ป.ป.] online download http://iwgia.org/images/publications/new-publications/Chong_report_Thailand_synthesis_report_Thai.pdf             กล่าวถึงประวัติของกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดจันทบุรี ตราด ระยองและฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวชอง โดยคำว่า “ชอง” แปลว่า “คน” พูดถึงความเป็นมาและหลักฐานที่ถูกค้นพบในประวัติศาสตร์ที่เป็นร่องรอยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ต่อมาได้ทราบถึงถิ่นกำเนิดของชาวชองจากบทกวีของนักปราญช์ บิดาประวัติศาสตร์ของไทย หรือนายแพทย์ ที่มีการค้นพบเกี่ยวกับชาวชองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา ลักษณะรูปลักษณ์ทางกายภาพที่แสดงถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แม้ในปัจจุบันจะมีการกลืนกันระหว่างชองกับเชื้อสายอื่น ๆ ลักษณะโครงสร้าง รูปร่างหน้าตา นิสัย การตั้งถิ่นฐานของชอง ลักษณะของสภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมและสถานการณ์ปัจจุบัน
กะซอง บ้านคลองแสง ทีวีไทย ทีวีไทย นิรมล เมธีสุวกุล กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2556] Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000314 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00079167             “คนกะซอง” บ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตผูกผันกับผืนป่าและมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง ในขณะที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤติที่อัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนเองเริ่มเลือนหายไป พร้อมกับการรับวัฒนธรรมอื่นที่ใหญ่กว่าเมื่อความเป็นเมืองขยายเข้ามา อัตลักษณ์และภูมิปัญญาต่างๆของคนกะซองในอดีต จึงมีเพียงกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ที่ยังคงจดจำไว้และไม่ได้รับการสืบสานไปยังกลุ่มชนรุ่นหลัง อย่างอัตลักษณ์ทางภาษาหรือภูมิปัญญาทางด้านสมุนไพรจากป่า
กลุ่มชาติพันธุ์ชอง : รูปแบบการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ จิรเดช อรชุน มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555. ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=366400&query=             กลุ่มชาติพันธุ์ “ชอง” มีพื้นที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่อุดมณ์สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรชาติและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม สิ่งหนึ่งคือภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ได้รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งภูมิปัญญาของการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ สะท้อนภาพของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชน คนกับสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ของคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติในระบบความเชื่อ ซึ่งในงานศึกษานี้จะบอกเล่าเรื่องราวรูปแบบของการดูแลสุขภาพ ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในบริเวณจังหวัดจันทบุรี เขตภาคตะวันออก ในช่วงปีพุทธศักราช 2555 ที่ถูกปรับให้เข้ากับวัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ “ชอง”
แนวทางการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เชษฐ์ณรัช อรชุน 2554 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG54M0010             งานวิจัยเกี่ยวกับบริบทชุมชน การใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะในการสร้างแหล่งเรียนรู้ของวัฒนธรรมชอง ที่มีเอกลักษณ์นี้ไม่ให้สูญหายไป ชาวชองคือกลุ่มที่อยู่บริเวณภาคตะวันออกมาเป็นเวลายาวนานโดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี นักมานุษยวิทยาจัดชาวชองอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic Language Family) ตระกูล มอญ-เขมร ชาวชองมีประเพณีความเชื่อเรื่องโชคลางของขลัง การดำเนินชีวิตประจำวันต่างๆ ของคนชาวชองนั้นส่วนใหญ่ก็จะคล้ายกับของคนไทยในชนบททั่วไป เรียบง่าย อยู่ตามธรรมชาติ ในอดีตภาษาชองมีแต่ภาษาพูด ไมมีภาษาเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง การเปลี่ยนแปลงเริ่มในยุคลัทธิชาตินิยมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ.2481-2487) เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้อัตลักษณ์ชอง เกิดการเปลี่ยนแปลง นโยบายการสร้างชาติเพื่อความมั่นคง ทำให้ชาวชองต้องปฏิบัติตาม ต้องละเลิก ลด ความเป็นท้องถิ่น ความเจริญทางด้านวัตถุทำให้ชาวชองต้องการสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น แต่รายไดก็ยังคงมาจากการทำการเกษตร ทำสวนผลไม้ ซึ่งยังเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางอยูเสมอ จนกระทั่งปัจจุบันในส่วนของการคงอยู่ของอัตลักษณ์ชอง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้ความเป็นชองดำรงอยู่ คือความสำนึกถึงคุณค่าเรื่องชาติพันธุ์ของชาวชอง
แหล่งการเรียนรู้ชุมชนกับการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวชอง ต.คลองพูล กิ่งอ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี สิริรัตน์ สีสมบัติ กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล,2552 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG49M0025             ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ ปัญหาของการธำรงอัตลักษณ์เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข ภายในงานศึกษาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนกับการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวชอง ใช้หลักการทางพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเข้ามาประยุกต์เพื่อหาแนวทางที่จะนำเสนออัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชองผ่านภาษา สัญลักษณ์ และประเพณีดั้งเดิมในบริบทของสังคมสมัยใหม่ และเผยแพร่ไปยังสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับความสำคัญกับอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ไปพร้อม ๆ กับการรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ดั้งเดิมของกลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับการร่วมมือแก้ไขกับคนในพื้นที่ และเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ เพื่อให้ได้แนวทางที่มีความยั่งยืน
ชึ่มช์อง คนชอง ทีวีไทย ทีวีไทย กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] Sac Library - Audio Visual Materials (8th floor) - CDF 000586 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068515             รายการพันแสงรุ้ง ตอน ชึ่มช์อง คนชอง เป็นรายการเชิงสารคดีที่นำเอาข้อมูลจากงานวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ออกมานำเสนอในรูปแบบของสื่อ โดยตอน ชึ่มช์อง เนื้อหาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชสติพันธุ์ชาวชอง ในจังหวัดจันทบุรี ผู้ซึ่งพยายามธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางด้านภาษา วัฒนธรรม และพิธีกรรมต่างๆ ผ่านการร่วมมือกับกลุ่มนักวิจัยและผู้คนในชุมชน  
รายงานผลการศึกษาชาวไทย พระมหาเรืองเดช ศรีประสม,สกนะ ภู่งามดี, สันติภาพ คำสะอาด กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552 SAC Library - Books (7th floor) - DS570.ก64 2552 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00064082             “คนชอง” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่นที่อาศัยในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านต่างๆ เช่น ภาษาชอง พิธีกรรมประเพณี การละเล่นและภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม สืบสานถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2490-2550 ภายใต้การพัฒนาจากภาครัฐก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตหลายๆด้าน การดำรงชีวิตที่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับวัฒธรรมจากภายนอกได้ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมหลายๆอย่างนั้นเลือนหายไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านภาษาที่นับวันนี้มีเพียงคนชองส่วนน้อยที่ยังสามารถสื่อสารได้
ชาติพันธุ์สัมพันธ์กับการปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี อเนก รักเงิน มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=71296&query=                เป็นการศึกษาความสัมพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันภายในท้องถิ่น ที่มีผู้คนหลายชาติพันธุ์ หลายเชื้อชาติ ได้แก่ คนไทย จีน ญวน เขมร และลาว กระจัดกระจายอยู่ในเขตจันทบุรี โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์เดิมที่อาศัยอยู่มาช้านานนั่นคือ กลุ่มชาติพันธุ์ชอง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มในเขตตำบลตะเคียนทอง คลองพลู และจันทเขลม กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มชาติพันธุ์ชองมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นระบบเครือญาติ โดยมีภาษา ความเชื่อ วัฒนธรรม และพิธีกรรม ที่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แต่เมื่อมีการพัฒนาของรัฐเข้ามาสู่ท้องถิ่นตามนโยบายต่างๆของรัฐ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในหลายด้านต่ออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชองซึ่งควรถูกอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย 
การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รุ่งเพชร ผันผาย กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2551 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG49M0002             การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม ถือเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูด้านภาษาและวัฒนธรรมชอง ในพื้นที่ชุมชนเขตตำบลคลองพลูและตำบลตะเคียนทอง อําเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี 9 เดือน ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2548 ถึง สิงหาคม 2551 ผ่านกิจกรรมต่างๆที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชนในพื้นที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมชอง เพื่อเป็นแนวทางนําไปสู่การสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ผลจากการศึกษาทางคณะทีมวิจัยพบว่ากิจกรรมที่ทำให้คนในชุมชนหรือคนทั่วไปเขามามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างมากนั่นคือกิจกรรมที่ก่อเกิดความสนุกสนาน เป็นกันเองระหว่างผู้ร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมการสอนผลิตหนังสือนิทานภาษาชอง กิจกรรมการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านและรำวงพื้นบ้าน กิจกรรมเพื่อฟื้นฟูประเพณีเชิงพิธีกรรมความเชื่อของชาวชองในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เป็นต้น
การสร้างหลักสูตรภาษาชอง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.คลองพลู และต.ตะเคียนทอง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี สุรพล ไชยพงษ์ กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2550 Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย https://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG49M0001             รายงานวิจัยศึกษาการสร้างหลักสูตรภาษาท้องถิ่น “ภาษาชอง” ในชุมชนชอง ที่ตำบลคลองพลูและตำบลตะเคียนทอง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี โดยการพัฒนาหลักสูตรภาษาท้องถิ่น ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มให้เข้ากับสาระเพิ่มเติมใน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดน้ำขุ่น โรงเรียนวัดทุ่งกบิล และโรงเรียนวัดตะเคียนทอง เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาท้องถิ่น โดยผู้ศึกษาใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 1 เมษายน 2551 ถึง 31 กรกฎาคม 2552
การศึกษาวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีของชนเผ่าชอง ตำบลตะเคียนทอง จังหวัดจันทบุรี ขนิษฐา หอมแช่ม กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549 ThaiLIS Digital Collection https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=220432&query=             ชนเผ่า “ชอง” บริเวณภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่ถือเป็นพื้นที่ที่มีชนเผ่าชองอาศัยอยู่มากที่สุด และพื้นที่ศึกษานตำบลตะเคียนทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตอนุรักษ์ของชอง ชุมชนนี้ยังคงปรากฏร่องรอยที่สำคัญทางด้านภาษาที่ถูกใช้ในการขับร้องบทเพลงต่าง ๆ โดยเฉพาะบทเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม และเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบ แม้ว่าปัจจุบันภาษาชองจะมีเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่ยังใช้อยู่ อีกทั้งภาษาดังกล่าวยังเป็นเพียงภาษาพูดเท่านั้น ประเพณี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์จึงง่ายต่อการสูญหายไปตามเวลา การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีจึงเป็นการศึกษาด้านหนึ่งที่สามารถบอกเล่าสภาพสังคมได้ จากเนื้อหาของเพลง ท่วงทำนอง เละเครื่องดนตรีที่ใช้ ซึ่งดนตรีเหล่านี้ถูกใช้ในบริบทต่าง ๆ ประกอบกับวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความบันเทิง การเรียกขวัญกำลังใจ และการรักษาโรค
สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : กะซองและซัมเร สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และ พรสวรรค์ พลอยแก้ว นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548 Sac Library - Books (7th floor) - DS570.K36ส75 2548 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063172             กลุ่มชาติพันธุ์กระซองที่อาศัยอยู่ในตำบลด่านชุมพล และกลุ่มชาติพันธุ์ซำเรที่ตำบลนนทรีย์ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์มีความใกล้เคียงกัน ทั้งประวัติศาสตร์ชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน การกระจายตัว ลักษณะบ้านเรือนที่นิยมนำวัสดุจากในป่ามาสร้างเป็นบ้าน สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขาและเนินเตี้ยๆ พื้นที่โดยรอบเป็นป่าเหมาะ แก่การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ไร่สับปะรด ฯลฯ ทำให้ส่วนใหญ่พวกเขามีอาชีพเกษตรกร อีกทั้งเมื่อก่อนพวกเขายังมีรายได้จากการหาของในป่าไปขาย จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้ส่งผลต่อวัฒนธรรมในด้านต่างๆอย่าง อาหารพื้นบ้าน สุขภาพ ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับผีซึ่งถือเป็นกลไกหนึ่งในการควบคุมคนในสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองกลุ่มอีกด้วย แต่ถึงแม้ทั้งสองกลุ่มจะมีความกล้ายกันทางวัฒนธรรมมากเพียงใด ทั้งสองกลุ่มก็มีความแตกต่างกันทางภาษา รายละเอียดทางวัฒนธรรมรวมถึงจิตสำนึกทางชาติพันธุ์ที่เป็นคนละกลุ่มกัน
ดนตรีในสังคมวัฒนธรรมของชาวชอง ตำบลตะเคียนทอง จังหวัดจันทบุรี สายพิรุณ สินฤกษ์ กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2549 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- ML3758.ส64 2546 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046469             ชาวชอง เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองจันทบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นที่บ้านตะเคียนทองและบ้านคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ มีวิถีชิวิตที่ให้ผู้ชายเข้าป่าล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงทำงานบ้านงานเรือน ใช้ภาษาชองสื่อสารกับพวกเดียวกัน สร้างความบันเทิงโดยการร้องรำทำเพลง โดยจะมีพ่อหมอหรือพ่อเพลง เป็นคนที่ชาวบ้านให้การนับถือและเป็นผู้นำในการประกอบพิธีต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีความรู้ในการประกอบพิธีและร้องเพลงประกอบพิธีได้ ในส่วนของดนตรีก็ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทยภาคกลางค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ เช่น กลองยาว ตะโพน กลองหนัง โทน-รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และฆ้องฝาก เพลงของชาวชองนั้นสะท้อนให้เห็นความเชื่อ วิธีชีวิตและสังคมของชาวชอง เช่นเพลงเชิญผีบรรพบุรุษทำให้เห็นถึงความเชื่อว่าลูกหลานสามารถติดต่อสื่อสารกับวิญญาณบรรพบุรุษได้โดยให้เพลงเป็นสื่อกลาง เพลงในพิธีแต่งงานจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของเจ้าบ่าว เพลงเชิญผีที่เกี่ยวข้องความเชื่อเรื่องผีสางและวิญญาณของชาวชอง เป็นต้น
การทำบุญส่งทุ่งชองจันทบุรี ระยอง ตราด ธรรม พันธ์ศิริสด ออกอากาศทางโทรศัทน์สันที่ 14 มกราคม 2544 เวลา 18:55น. ทางภาคข่าวภูมิภาค Sac Pamphlet (Contact Counter Service 8th floor) - จุลสาร 00138 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046819             การทำบุญส่งทุ่ง ถือเป็นพิธีกรรมที่มีรากเหง้ามาจากกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ทั้งยังคงสืบต่อมาถึงปัจจุบันนี้ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด โดยชาวชองมีความเชื่อว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยหรือชะตากรรมชีวิตของมนุษย์นั้นมีที่มาจากท่านยมทูตจากยมโลก ที่ลงมาลงโทษและสอดส่องดูแลมนุษย์ การทำบุญส่งทุ่งจึงเปรียบเสมือนเสบียงอาหารระหว่างยมทูตกลับยมโลก และแม้จะเป็นกลุ่มคนชองเหมือนกันแต่การทำบุญส่งทุ่งในแต่ละชุมชนนั้นจะมีเอลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากวันทำพิธีนั้นไม่ได้ถูกกำหนดตายตัว ตลอดจนลักษณะพิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆในงานมีรายระเอียดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
 
รายงานการวิจัยเรื่องงานหัตถกรรมพื้นบ้านชาวชอง กาญจนา จินตกานนท์ และศิริพร สมัครสโมสร. [กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543] Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - DS570.ช5 ก62 2543 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056620              ชาวชอง หมู่บ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ้านไร่ จังหวัดตราด นับถือศาสนาพุทธแต่วัฒนธรรมและความเชื่อบางอย่างมีลักษณะเป็นของชาวชองโดยเฉพาะ ใช้ภาษาชองกับชาวชองด้วยกัน ไม่มีภาเขียน ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ในอดีตใช้ทรัพยากรจากป่ามาสร้างที่อยู่แต่ปัจจุบันมีการรับเอาวัสดุสมัยใหม่เข้ามาใช้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาไร่ หาของป่า ล่าสัตว์ ผู้ชายจะเป็นผู้นำครอบครัว ส่วนผู้หญิงจะเป็นแม่บ้าน ทั้งประเพณีและพิธีกรรมจะมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่อง “ผี” นอกจากนั้นชาวชองยังมีการทำเครื่องจักสานที่ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น สมุก เสื่อ กระบุง กะโล่ กระจาด ข้อง กระชอน และชนาง เพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในการทำมาหากินและนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรม 
การฟ้อนรำของชาวชอง : กรณีศึกษา หมู่บ้านกระทิง ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี หฤทัย นัยโมกข์ กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- GV1703.ท9ห43 2543 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046222             ชาวชอง บ้านกระทิง ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีลักษณะการแต่งกายเรียบง่าย โดยทั่วไปอยู่ตามป่าเขา ที่ราบระหว่างหุบเขา รวมกันเป็นกลุ่ม 20-30 ครอบครัว แบ่งงานกันระหว่างชายและหญิง โดยผู้ชายจะหาของป่า ล่าสัตว์เล็ก ๆ ส่วนผู้หญิงจะทำงานบ้านต่าง ๆ ชาวชองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จึงมีลักษณะใจดี โอบอ้อมอารีและช่วยเหลืองานชาวชองด้วยกันไม่ว่าจะตอนทำงานประกอบอาชีพหรืองานประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ เพลงพื้นบ้านที่ชาวชองใช้จะมีความยาวไม่มากนัก บทร้องจะเป็นภาษาชองปนกับภาษาเขมร ใช้คำสั้นๆ เนื้อหาบอกเล่าความเป็นอยู่โดยทั่วไป เครื่องดนตรีที่ใช้จะเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ไม่มีเครื่องดำเนินทำนอง อีกทั้งยังมีการฟ้อนรำที่อยู่คู่กับการประกอบพิธีกรรมมาช้านาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของกลุ่มชุมชน โดยผู้ฟ้อนรำจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผู้ประกอบพิธีและผู้เข้าร่วมพิธี ท่าที่ใช้ในการฟ้อนรำจะมีทั้งการเลียนแบบกิริยาคนและกิริยาสัตว์ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับขั้นตอนในการดำเนินชีวิตทำให้เลียนแบบจากชีวิตประจำวันของชาวบ้านเอง
รายงานการวิจัย เรื่อง งานหัตกรรมพื้นบ้านชาวชอง The handicraft of Chong นางสาวกาญจนา จินตกานนท์. นางสาวศิริพร สมัครสโมสร [กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543] SAC Library--Research and Thesis (7th floor) -- DS570.ช5ก62 2543 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056620             ชาวชอง หมู่บ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ้านไร่ จังหวัดตราด นับถือศาสนาพุทธแต่วัฒนธรรมและความเชื่อบางอย่างมีลักษณะเป็นของชาวชองโดยเฉพาะ ใช้ภาษาชองกับชาวชองด้วยกัน ไม่มีภาเขียน ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ในอดีตใช้ทรัพยากรจากป่ามาสร้างที่อยู่แต่ปัจจุบันมีการรับเอาวัสดุสมัยใหม่เข้ามาใช้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาไร่ หาของป่า ล่าสัตว์ ผู้ชายจะเป็นผู้นำครอบครัว ส่วนผู้หญิงจะเป็นแม่บ้าน ทั้งประเพณีและพิธีกรรมจะมีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่อง “ผี” นอกจากนั้นชาวชองยังมีการทำเครื่องจักสานที่ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น สมุก เสื่อ กระบุง กะโล่ กระจาด ข้อง กระชอน และชนาง เพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในการทำมาหากินและนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรม
อารยธรรมชองจันทบุรี ธรรม พันธุศิริสด [จันทบุรี] : หนังสือพิมพ์สยามนิวส์, 2541-2542 Sac Library - Books (7th floor) - DS570.ช5ธ4 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015993             เมืองเพนียต วัดทองทั่ว ตำบลนารายณ์ อำเภอเมือง จันทบุรี หรืออาณาจักรจันทรบูรเดิมที่ตั้งอยู่ทางจอยใต้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เป็นเครื่องบ่งบอกการมีอยู่ของอารยธรรมชอง จันทรบุรี ที่อยู่มานานมีอายุนับหลายพันปีมาแล้ว ซึ่งในอารยธรรมเก่าแก่แห่งนี้ได้มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าชาวชอง ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวชองอย่าง ประเพณีของเรื่องชู้สาว ความเชื่อเรื่องผี ภาษาที่ภายในหนังสือเล่มได้รวบรวมดัชนีคำศัพท์ภาษาชองเอาไว้ อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึงเนื้อหาของนิทรรศการชื่อ อาณาจักรจันทรบูร เมืองเพนียตที่ผู้เขียนกล่าวว่าเหมือนเป็นการชำระประวัติศาสตร์จันทรบุรีครั้งที่1 นอกจากนี้ยังกล่าวถึงคติความเชื่อเรื่อง การเกษียรสมุทรด้วยทับหลังถาลาบริวัต ซึ่งเป็นสมบัติอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญต่อชาวชอง แห่งจังหวักจันทรบุรี
ภาษาชอง หมู่บ้านคลองแสง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด กุลวดี แพทย์พิทักษ์ กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539 SAC library- Research and Thesis (7th floor) - PL4195.ช5 ก74 2539 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028121               การศึกษา ภาษาชอง หมู่บ้านคลองแสน ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ภาษาชอง เป็นภาษาที่กลุ่มชาติพันธุ์ชอง ใช้สื่อสารกันภายในกลุ่มซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่อยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด รวมถึงจังหวะดปง กมพด และเสียมเรียบ ในประเทศกัมพูชา
              การศึกษาพบว่า ระบบภาษาชองมี 3 ชนิดคือ หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ และลักษณะน้ำเสียง โดยหน่วยเสียงภาษาชองแบ่งเป็น พยัญชนะต้นเดี่ยว 21 หน่วยเสียง พยัญชนะท้าย 13 หน่วยเสียง พยัญชนะควบกล้ำ 13 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงสระแบ่งเป็น สระเดี่ยว 18 หน่วยเสียง มีสระเสียงสั้น 9 หน่วยเสียง และสระเสียงยาว 9 หน่วยเสียง  และมีสระประสม 3 หน่วยเสียง ส่วนลักษณะน้ำเสียงมี 3 ลักษณะ คือระบบคำของภาษาชองส่วนมากเป็นคำ 1-2 พยางค์ มีหน่วยคำอิสระและหน่วยคำผูกพัน และการสร้างคำเป็นลักษณะคำประสาน คำประสม และคำซ้ำ ส่วนลักษณะวลีแบ่งเป็น นามวลี กริยาวลี สถานวลี และวิเศษณ์วลี และในการสร้างประโยคในภาษาชองนั้นมี ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสั่ง และประโยคคำถาม โดยเรียงเป็น ส่วนประธาน กริยา และกรรม ตามลำดับ 
 
ลักษณะแฮปโพลไทป์ของยีนบีดาอี-โกลบินในชนเผ่าซาไกและชาวชอง เยาวลักษณ์ วิลัย กรุงเทพฯ : [จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย], 2538 SAC Library - Research and Thesis (7th floor) - DS570.ง7ย75 2538 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00035918              วิทยานิพนธ์การศึกษาความถี่ยีนบีตาอีโกลบินในชนเผ่าซาไก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และชาวชอง ตำบลคลองพลู อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อศึกษาลักษณะแฮปโพลไทป์ของยีนบีตา-โกลบินในชนเผ่าทั้งสอง เพื่อนำมาอธิบายถึงต้นกำเกิดหรือความสัมพันธ์ของชาติพันธุ์ระหว่างกลุ่มชนต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์และการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงบรรยาย จากการวิจัยพบว่าเกือบทั้งหมดของยีนบีตาอีโกลบินในชาวชองและชาวเขมรมีต้นกำเนิดเดียวกัน
ภาษาชอง หมู่บ้านทุ่งตาอิน จังหวัดจันทบุรี สิริกาญจน์ เจริญธรรม. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาิวทยาลัยศิลปากร, 2530 Sac Library - Research and Thesis (7th floor) - PL4195.ช5 ส646 2530 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006232           กลุ่มคนชองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชองในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยที่มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่งมีอัตลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “ภาษาชอง” เป็นภาษาในตระกูลภาษามอญ-เขมร หรือ Austroasiatic มีเสียงคล้ายภาษาเขมรและเป็นภาษาที่ไม่มีภาษาเขียน ในปัจจุบันนี้ภาษาชองเริ่มเลือนหายไปในรุ่นคนหนุ่มสาว เนื่องจากใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่และคนคุ้นเคยเท่านั้น ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาภาษาชองในหมู่บ้านทุ่งตาอิน ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ทั้งระบบเสียง โครงสร้างพยางค์ ชนิดรูปแบบคำและประโยค ผ่านการเก็บข้อมูลโดยตรงจากผู้บอกภาษาในหมู่บ้านแห่งนี้   
การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชาวชอง สุเรขา สุพรรณไพบูลย์ [กรุงเทพฯ] : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2530. SUT คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ - DS570.ช5 ส75 http://library.su.ac.th/search?/X{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E28}{u0E36}{u0E01}{u0E29}{u0E32}{u0E01}{u0E25}{u0E38}{u0E48}{u0E21}{u0E0A}{u0E32}{u0E15}{u0E34}{u0E1E}{u0E31}{u0E19}{u0E18}{u0E38}{u0E4C}{u0E0A}{u0E32}{u0E27}{u0E0A}{u0E2D}{u0E07}&SORT=D/X{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E28}{u0E36}{u0E01}{u0E29}{u0E32}{u0E01}{u0E25}{u0E38}{u0E48}{u0E21}{u0E0A}{u0E32}{u0E15}{u0E34}{u0E1E}{u0E31}{u0E19}{u0E18}{u0E38}{u0E4C}{u0E0A}{u0E32}{u0E27}{u0E0A}{u0E2D}{u0E07}&SORT=D&SUBKEY=การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชาวชอง/1,2,2,B/frameset&FF=X{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E28}{u0E36}{u0E01}{u0E29}{u0E32}{u0E01}{u0E25}{u0E38}{u0E48}{u0E21}{u0E0A}{u0E32}{u0E15}{u0E34}{u0E1E}{u0E31}{u0E19}{u0E18}{u0E38}{u0E4C}{u0E0A}{u0E32}{u0E27}{u0E0A}{u0E2D}{u0E07}&SORT=D&1,1,             ชาวชอง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ภายในพื้นที่ตะวันออก โดยเฉพาะในเขตท่ามะขาม จังหวัดจันทบุรี วิถีชีวิตของกลุ่มคนชองนั้นผูกพันกับผืนป่า ในด้านเศรษฐกิจที่มีการประกอบอาชีพ ทั้งการนำของป่ามาขายในเมือง เช่น สมุนไพรยาต่างๆ โดยนำมาแลกเปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็นในการชีวิตอื่นๆ ในด้านประเพณีความเชื่อ สังคมชาวชองมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น “ภาษาชอง” ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรเขียน กลุ่มชนรุ่นหลังจึงเรียนรู้วิถีบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการบอกเล่าที่ไม่มีการบันทึก หรือประเพณี “ผีหิ้ง” และ “ผีโรง” ที่สะท้อนถึงความเชื่อการนับถือผีบรรพบุรุษ ผู้ที่อาวุโสของหมู่บ้านจึงได้รับการเคารพนับถือ เป็นผู้นำของหมู่บ้าน ในด้านการปกครองจึงมีการจัดระเบียบสังคมผ่านระบบอาวุโส ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเอกลักษณ์วิถีดั้งเดิมเหล่านี้กำลังเลือนหายไปพร้อมกับประสบภาวะยากจนในชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในนามความเจริญและการพัฒนาแบบสมัยใหม่
แผนที่ภาษาชองถิ่นต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรี : การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Isara Choosri Nakhonpathom : Mahidol University, 2002 SAC Library - Research and Thesis (7th floor) - PL4195.C56 I83 2002 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033902             วิทยานิพนธ์การศึกษาความเหมือนและความแตกต่างของภาษาชองในถิ่นต่าง ๆ ในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอโป่งน้ำร้อน ในปีค.ศ. 2001-2002 ผู้วิจัยได้ใช้ภาษาศาสตร์และปัจจัยด้านภูมิศาสตร์มาทำการศึกษา และนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนที่เพื่อแสดงภาพรวมของพื้นที่ที่ใช้ภาษาชอง ผู้วิจัยได้เสนอว่าภาษาชองในจังหวัดจันทบุรีแบ่งได้เป็น 3 ภาษาถิ่น โดยแบ่งเป็นภาษาชองถิ่นเหนือ หรือชองลอ 1, ภาษาชองถิ่นใต้ หรือชองลอ 2 และภาษาชองเฮิบซึ่งเป็นภาษาชองถิ่นตะวันออก ต่างจากงานศึกษาของ Marie Martin ที่แบ่งภาษาชองออกเป็น 2 ภาษาถิ่น คือ ชองลอ และชองเฮิบ ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้ภาษาชองเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีการสอนให้คนรุ่นหลัง 
Ethnographic notes on the chong (ชอง) population in Chanthaburi province, southeast Thailand Weber, Karl E., 1939- Bangkok : Office of the Senior Research Fellow of the South Asia Institute of Heidelberg University at the German Cultural Institute, 1976 SAC library- Research and Thesis (7th floor) - DS570.C46W42 1976 http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00035918             การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชอง ในจังหวัดจันทบุรี เป็นการจดบันทึกทางชาติพันธุ์วิทยาที่ผู้ศึกษาได้ทำการลงเก็บข้อมูล และได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา การอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งการกลืนกลายและการผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่โดยรอบ
            ผลการศึกษาพบว่าในจังหวัดจันทบุรีมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่หลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ชาวชองส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเทือกเขาที่เป็นเส้นกั้นระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทย และบางพวกก็อาศัยอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน พวกเขามีลักษณะทางกายภาพแบบใดยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเพราะพวกเขามีลักษณะคล้ายกันกับหลายกลุ่ม ชาวชองส่วนใหญ่มักทำเกษตรกรรม มีอาหารการกิน วิถีชีวิตที่แตกต่างกันเล็กน้อยตามสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ แต่ยังมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความเชื่อ ภาษา ฯลฯ ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แต่ด้วยพวกนั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี อีกทั้งอิทธิพลความเป็นสังคมสมัยใหม่ ส่งผลให้พวกเขาถูกกลืนกลายกลายเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย