Title |
Author |
Imprint |
Collection |
Url |
Annotation |
บทบาทและพิธีกรรมของการทำนายที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ (ปลั้ง)ในหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น |
2551 |
เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2551 |
Books DS570.L3ค.94 2551 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084398 |
กล่าวถึงการประมวลพิธีกรรมความเชื่อ และการพยากรณ์เกี่ยวกับการทำนายชีวิต การศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการทำนายที่ผ่านมาในอดีตผ่านตำราตัวเขียน และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจเรื่องบทบาทการทำนายเกี่ยวกับชีวิตในชีวิตประจำวัน มีการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ประเพณีพิธีกรรม และวัฒนธรรมต่าง ๆของลัวะ (ปลั้ง) บ้านห้วยน้ำขุ่น อีกทั้งยังมีข้อมูลการทำนายเกี่ยวกับชีวิตที่น่าสนใจของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ คือ ตำราการทำนายชีวิตด้วยกระดูกไก่ และยังมีการทำนายเกี่ยวกับชีวิตอื่น ๆ อีก เช่น การทำนายที่เรียกว่า "ตัวพึ่ง"
|
ความเปลี่ยนแปลงที่ บ้านหมันขาว พี่น้องชาติพันธุ์ ถิ่น และ ลัวะ หลังได้รับสัญชาติไทย ใน วารสารผู้ไถ่ |
วรพจน์ สิงหา |
- |
Journal วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 36, ฉบับที่ 98 (พ.ค./ส.ค. 2558), หน้า 52-60 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00057950 |
บทความนี้ผู้เขียนต้องการบันทึกถึงเหตุการณ์การอพยพไปยังที่ต่าง ๆ ของพี่น้องเผ่าถิ่น และเผ่าลัวะ ก่อนที่จะมาอาศัยอยู่ที่บ้านหมันขาว และบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ หลังจากการได้รับสัญชาติไทย ซึ่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชุมชนบ้านหมันขาว ยังมีการบันทึกเรื่องราวของการรื้อฟื้นประเพณี ความเชื่อ เพื่อรักษาวัฒนธรรมของชนเผ่า รวมถึงการร่วมกันแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ชาวบ้านทุกคน ทุกวัยร่วมใจกันแก้ปัญหาเกิดขึ้นในชุมชน การปรับตัวเตรียมรับมือท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชนเผ่า |
ลัวะ |
คณะทำงานโครงการคลังปัญญางานพัฒนาชาวเขา 53 ปี |
กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555 |
Books DS570.ล4ส73 2555 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078965 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าลัวะ โดยมีเนื้อหาทั้งหมดสามส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงเรื่องสภาพทางสังคมวัฒนธรรมของความเป็นลัวะ บุคคลสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน มารยาททางสังคม ข้อห้ามที่สำคัญ ข้อนิยมกับปฏิทินกิจกรรมทางการเกษตรและสังคม และข้อแนะนำในการเข้าไปในชุมชน ส่วนที่สองกล่าวถึงเรื่องตำนานประวัติศาสตร์ เรื่องราวละว้าในอดีต และความรู้เกี่ยวกับลัวะ และส่วนที่สามกล่าวถึงเรื่องคุณค่าทางวัฒนธรรม ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรม ค่านิยม บทบาทของสตรีในสังคมชาวเผ่าลัวะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทคนิคการปลูกข้าวไร่แบบใหม่ของลัวะ |
พิธีกินดอกแดง ลัวะหนองน่าน ทีวีไทย |
ทีวีไทย |
กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] |
Audio Visual Materials CDF 000760 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070884 |
สื่อโสตทัศน์นี้กล่าวถึงชาวลัวะ หนองน่า ในเมืองน่าน ซึ่งสามารถพบในได้ทั่วไปเกือบทุกอำเภอของจังหวัดน่าน วิถีชีวิตของชาวลัวะส่วนมากมีความผูกพันกับธรรมชาติมากที่สุดและดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรมมาตั้งแต่บรรพชน ชาวลัวะในจังหวัดน่านมีทั้งหมด 2 กลุ่มด้วยกันคือกลุ่มไปรและกลุ่มมัล มีลักษณะภาษาใช้สื่อสารกับคล้ายกับขมุและลบีในทางภาษาถือว่าเป็นชาวมอญ ชาวลัวะมีอัตลักษณ์ที่สำคัญมากมายโดยเฉพาะ “พิธีกินดอกแดง” คือพิธีที่เกิดขึ้นหลังจากการไหว้ผีแคว้นและการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นจะมีการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้พืชผลงอกงามซึ่งจะมีดอกไม้สีแดงเบ่งบานอยู่ในไร่ข้าวทำให้มีการนำดอกแดงมาถวายให้กับเจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อเป็นการขอขมาและอันเชิญผีเจ้าที่มาสถิตที่ในหนองน่านอีกครั้ง |
หนังสือเพลงชีวิตคริสเตียนภาษาละว้า : นังซื เชีย จีวิต คริซเตียน ลปุง ลเวือะ |
คริสตจักรสัมพันธ์ภาคละว้า |
แม่ฮ่องสอน : คริสตจักรสัมพันธ์ภาคละว้า, [2550] |
Books BV397.ห36 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063603 |
หนังสือ “นังซื เชีย จีวิต คริซเตียน ลปุง ลเวือะ (หนังสือเพลงชีวิตคริสเตียนภาษาละว้า)” จัดพิมพ์ที่ สถานอบรมคริสต์เตียนหนองแม่ละ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่อง หนังสือเพลงชีวิตคริสเตียนภาษาละว้าจัดทำเพื่อบันทึกเนื้อเพลง คำร้อง พร้อมด้วยคีย์เพลงประกอบการเล่นดนตรี ในแต่ละบทเพลง รวมทั้งสิ้น 213 บทเพลง อาทิ เยซู ตาว เอะ, ระ พาวม ไม่ พะเยซูจาว, ลปุ ซง่ะ ปัว ตาว เอะ, แปน เนอึม มวน รพาวม, เมอ เกียฮ พัก, ปะอัม ฆวต โปน เปอะ, พะเยซู ป ตึก นึง ไมจ แตะ, รโจะ ดิ รพาวม เป็นต้น
|
รวมบทความวิชาการภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท |
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล |
กรุงเทพฯ : สหธรรมิก, 2548 |
Books P121.ม56 2548 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060719 |
กล่าวถึงการพัฒนาระบบตัวเขียนภาษาก๋องที่บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งภาษาก๋องมีเพียงแต่ภาษาพูดเท่านั้นไม่มีภาษาเขียน ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ทางภาษาจากผู้อาวุโสไปสู่รุ่นเด็ก อาจทำให้รับสารได้ไม่หมดไม่มีความยั่งยืนประกอบกับภาษาพูดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นภาษาเขียนจึงมีบทบาทสำคัญเพราะเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องราวต่างๆ อาทิวัฒนธรรมดั้งเดิม ประเพณีไหว้ผีหมู่บ้าน เพลงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมอื่นๆ |
นิทานลัวะ : เรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์จากชาวลัวะเมืองน่าน |
ปั๋น รกไพร |
[นครปฐม] : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546 |
Books PZ90.T5ป63 2546 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070099 |
กล่าวถึงภาษาและวัฒนธรรมของชาวลัวะ ได้มีการเรียบเรียงขึ้น เป็นภาษาไทยจากเรื่องเล่าภาษาลัวะ เป็นเรื่องเล่าที่ได้รับฟังมาเมื่อครั้งยังเยาว์วัยของ ลุงปั๋น รกไพร และลุงเฉลิม รกไพร โดยทั่วไปนิทานของชาวลัวะมักจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว วิถีชีวิตของผู้คน ในหมู่บ้านหรือเรื่องราวของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่อาจจะเคยเห็นในชีวิตประจำวัน ในวิถีชีวิตของชาวลัวะพวกเขาอาจมีความสัมพันธ์กับสัตว์ในป่าเขารอบ ๆ นิทาน 12 เรื่องของชาวลัวะจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสัตว์ประเภทต่าง ๆ กับผู้คน อาจจะเปรียบเสมือนภาพจำลองสังคมที่หลากหลายของมนุษย์ ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์ต่อกัน |
สั่งอพยพ : โครงการบังคับโยกย้ายถิ่นฐานชาวว้ารัฐฉานตะวันออก(2542-2544) |
พรสุข เกิดสว่าง |
เชียงใหม่ : โครงการเพื่อนไร้พรมแดน, 2545 |
Books DS528.2.L38ส62 2545 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043737 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลกระทบของโครงการโยกย้ายถิ่นฐานชาวว้าที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหลากหลายรูปแบบต่อกลุ่มระชากรว้ากว่า 126,000 คน ที่ถูกสั่งให้อพยพ และต่อประชากรท้องถิ่นในเขตรัฐฉานตอนใต้อีกกว่า 48,000 คน ที่ที่มีการย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการรายงานถึงสภาพปัญหาจากการสรุปวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตสถานการณ์ เอกสารทางการต่าง ๆ และการลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านว้า ไทยใหญ่ อาข่า และลาหู่ ตามแนวชายแดนไทย – พม่า ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2544 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการถูกสั่งอพยพในครั้งนี้ |
ชีวิต จิตวิญญาณและพิธีธรรมของชาวลัวะบ้านกอกน้อย ใน วารสารเมืองโบราณ |
ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช |
- |
Journal เมืองโบราณ : 27, 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2544) ; หน้า 95-103 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00007890 |
บทความนี้กล่าวถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวลัวะ ที่ยังคงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ยังคงสภาพชาวลัวะแบบดั้งเดิม ชาวลัวะมีความเชื่อประเพณีและพิธีกรรมมากมาย อาทิ ความเชื่อและพิธีกรรมที่ผูกพันกับป่าและไร่หมุนเวียน พิธีตะละมังระ พิธีกรรมที่เกี่ยวกับบ้านเรือน การเรียกขวัญ การแต่งงาน พิธีศพ รวมไปถึงความเชื่ออื่น ๆ ได้แก่ การสัก ประเพณีปีใหม่ พิธีกรรมในเดือนเกิด ชาวลัวะบ้านกอกน้อยพอใจในการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายและยึดมั่นต่อความเชื่อดังเดิมตามรอยบรรพบุรุษ และเนื่องจากกรมป่าไม้กำลังจะประกาศ เขตอุทยานแห่งชาติแม่โถทับพื้นที่หมู่บ้านและที่ทำกินซึ่งอาจจะทำให้การดำเนินชีวิตของชาวลัวะเปลี่ยนไปเช่นเดียวกับหมู่บ้านของชาวลัวะและปกา-เกอะญอ อีกกว่า 40 หมู่บ้าน ในเขตหลายตำบลของอำเภอแม่แจ่ม |
ชีวิต จิตวิญญาณและพิธีธรรมของชาวลัวะบ้านกอกน้อย ใน วารสารเมืองโบราณ |
ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช |
- |
Journal เมืองโบราณ : 27, 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2544) ; หน้า 95-103 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00007890 |
บทความนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างในเรื่องของสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ราบและที่สูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ของกลุ่มชนสองกลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่ราบ มีโอกาสการขยายตัว มีโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ดีกว่า เพราะสามารถตั้งถิ่นฐานได้อย่างถาวร การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดี มีโอกาสได้ติดต่อกับสังคมอื่น ๆ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สูงกว่า แตกต่างจากกลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่สูง ที่มีระดับการพัฒนาการที่ช้า เนื่องจากไม่มีการรวมกลุ่มการจัดระเบียบทางสังคม ยังคงอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นเครื่องชักโยง |
พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวถิ่นและชาวลัะในเขตตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน |
ทัศนีเวศ ยะโส |
เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543 |
Research and Thesis QK364.ท65 2543 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045951 |
กล่าวถึงการศึกษาและเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์จากพืช ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรมของชาวถิ่นและชาวลัวะ ในเขตตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการสอบถามชื่อพืชในภาษาท้องถิ่น วิธีการใช้ประโยชน์ และส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ การเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้มาตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้องโดยนำไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างหอพรรณไม้กรมป่าไม้ ผลการสำรวจที่ได้จะจำแนกตามการนำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ พืชอาหาร พืชสมุนไพร พืชที่ใช้ทำที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ พืชเศรษฐกิจ พืชที่ใช้ในพิธีกรรม และนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ |
สายพันธุ์ข่าว้าแดง |
สังคีต จันทนะโพธิ |
นนทบุรี : ธารบัวแก้ว, 2543 |
Books DS570.ล6ส62 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00027918 |
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเรื่องราวของเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยสังคีต จันทนะโพธิ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่าที่คอยทำร้ายผู้คนแปลกหน้าที่มาบุกรุกที่ดินที่ชนเขาเผ่านี้อาศัยอยู่ ในหนังสือเล่มนี้มีการใช้ชื่อเรียกชนเขาเผ่านี้ที่หลากหลายมาก คือ ว้า ละว้า ลัวะ ว่าห่าย ว้าป่า เฉียข่าล้า ข่าฉิน ข่ากุ๋ย แต่พวกเขาคือพวกเดียวกัน แตกต่างกันเพียงชื่อเรียก และบอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากิน วัฒนธรรม และประเพณีของชนเขาเผ่านี้ เช่น การใช้ใบไม้มาทำกรวยเพื่อรองน้ำฝนที่ขังอยู่ตามปล้องไม้ไผ่มาดื่มกิน , ประเพณีการล่าหัวมนุษย์ |
ลัวะ (ละว้า) : การศึกษาจากเอกสารคัมภีร์ใบลานและจารึก |
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว |
เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, [2543] |
Research and Thesis DS570.ล6อ47 2543 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058793 |
กล่าวถึงการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะหรือละว้า โดยศึกษาจากเอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลานและศิลาจารึกภาคเหนือ เป็นเรื่องราวที่ถูกบันทึก โดยพระสงฆ์หรือนักปราชญ์ ชาวไทยวนในอดีต เนื้อหาในรายงานแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกกล่าวถึงเรื่องราวของลัวะ ที่ปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและการกำเนิดของลัวะ ลัวะกับความสามารถในการการสร้างเมืองซึ่งตำนานต่าง ๆ ลัวะกับพุทธะศาสนา ประเพณีและพิธีกรรมของลัวะ ลัวะในวรรณกรรมล้านนา ลัวะในจารึก ลัวะกับตราหลวงหลาบเงิน และส่วนที่สองเป็นข้อมูลที่ศึกษาจากเอกสาร จารึก และเอกสารเกี่ยวกับลัวะ |
พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่าน |
ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล |
เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541 |
Research and Thesis QK364.ท63 2541 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045957 |
งานวิจัยเล่มนี้กล่าวถึงการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์จากพืชในบ้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของชาวเขาที่มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และเปรียบเทียบถึงการดำรงชีวิตของชาวเขาทั้งสามเผ่า คือ บ้านน้ำหลุ (เผ่าขมุ) บ้านเต๋ยกลาง (เผ่าลัวะ) และบ้านแจลง (เผ่าถิ่น) จังหวัดน่าน การทำวิจัยในครั้งนี้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เพื่อบันทึกรายชื่อพืช ประโยชน์ และสรรพคุณของพืช ผลการสำรวจพบว่า พืชอาหารนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดในบรรดาพืชทั้ง 5 ประเภท คือ พืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชสร้างที่อยู่อาศัย พืชเศรษฐกิจ และพืชที่นำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ โดยบ้านน้ำหลุ (เผ่าขมุ) มีการใช้ประโยชน์จากพืชมากที่สุด 165 ชนิด รองลงมา คือ บ้านเต๋ยกลาง (เผ่าลัวะ) 126 ชนิด และน้อยที่สุด คือ บ้านแจลง (เผ่าถิ่น) 97 ชนิด
|
ละว้า : พิธีกรรมและประเพณี |
ณัฏฐวี ทศรฐ |
กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท, 2540 |
Books GT355.ล6ณ63 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00007193 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพิธีกรรมและประเพณีของกลุ่มชาติพันธ์ละว้า ผู้วิจัยได้มีโอกาสลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม และร่วมในพิธีกรรมของ 3 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านละว้า โดยเริ่มศึกษาวิจัยปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 โดยใช้หมู่บ้านป่าแป๋ เป็นพื้นที่หลักในการเก็บข้อมูล ใช้พื้นที่บ้านช่างหม้อ และบ้านละอุบ เป็นที่ศึกษาของเรื่องพิธีกรรม และบ้านแปะ เป็นพื้นที่ศึกษาเปรียบเทียบ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและพิธีกรรมต่าง ๆ ไว้ได้ 6 พิธีกรรม ได้แก่ 1. พิธีเปิดพื้นที่ไร่และเสี่ยงทาย 2. พิธีเลี้ยงผีเรือน 3. พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน 4. พิธีแต่งงาน 5. พิธีศพ 6. พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ
|
ภาษาและวัฒนธรรมลัวะ : ศึกษาจากบทสนทนา 30 บท |
สุริยา รัตนกุล |
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก, 2539 |
Books PL4251.ล55ส74 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004606 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ โดยศึกษาจากบทสนทนา 30 บท อาทิการทักทาย การทำมาหากิน การเลี้ยงสัตว์ การประกอบอาหาร การถามทิศทาง ศาสนา ความเชื่อ และความเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละบทจะประกอบไปด้วย ส่วนที่เป็นบทสนทนา คำศัพท์เพิ่มเติม และไวยากรณ์โดยมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาวลัวะบ้านสกาด ข้อมูลที่ตั้งประชากร ลักษณะหมู่บ้าน อาชีพ ความเชื่อ ประเพณี และภาษา |
รำลึกพิธีขึ้นเสาสะกางแห่งชุมชนลัวะ ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม |
อัมพร จิรัฐติกร |
- |
Journal ศิลปวัฒนธรรม 17, 5 (มี.ค. 2539) หน้า 133-139 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00006450 |
บทความนี้กล่าวถึงบันทึกพิธีการขึ้นเสาสะกางแห่งชุมชนลัวะ จะเล่าถึงการประกอบพิธีการขึ้นเสาสะกาง ตั้งแต่ก่อนวันเริ่มพิธีจนพิธีเสร็จสิ้น ในครั้งนี้ได้มีการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนนักข่าว ทีวี ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล บันทึกภาพ เสียง เพื่อเก็บบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของชาวลัวะ การอธิบายวัฒนธรรมของชาวลัวะ แต่ด้วยความชุนละมุนวุ่ยวายของสื่อมวลชน อาจทำให้ชาวบ้านรู้สึกถึงความเสื่อมของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนี้ แต่หากไม่มีการบันทึกไว้พิธีกรรมนี้ก็อาจจะจางหายไปตามกาลเวลาที่แปรเปลี่ยนไปได้
|
นิทานพื้นบ้านละว้า |
ณัฏฐวี ทศรฐ |
[นครปฐม] : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539 |
Books GR312.L38ณ62 2539 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00011357 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ตลอดจนโลกทัศน์ต่าง ๆ ของชนชาติกลุ่มละว้า โดยมีพื้นฐานความเชื่อที่หลากหลาย นำมาสู่การสร้างเรื่องราวที่สอดของกับวิถีชีวิต การแสดงออกผ่านพฤติกรรมบางอย่าง ในเรื่องอันก่อให้เกิดเป็นคติสอนใจแก่ผู้อ่าน สะท้อนให้เห็นความเชื่อและโลกทัศน์ของชาวละว้า สิ่งเหนือธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ หนังสือนิทานพื้นบ้านละว้าเล่มนี้มีนิทานจำนวน 11 เรื่อง ได้แก่ ลูกกำพร้าบนดวงจันทร์ เด็กกำพร้ากับต้นไทร เด็กกำพร้ากับพญาเจ้าเมือง สามพี่น้อง แม่น้ำปิงกับแม่น้ำ สาละวิน ลูกกำพร้ากับสาวคนรัก พ่อค้าขายขี้ ลูกกำพร้าพ่อ พระเจ้ากับยักษ์ อมฝอย เด็กกำพร้าทุบเห็ด |
สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ละว้า = Lawa |
ณัฏฐวี ทศรฐ และสุริยา รัตนกุล. |
นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539 |
Books DS570.ล6ณ64 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00004938 |
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดพิมพ์สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยขึ้น เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 สำหรับการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำสารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์ “ละว้า” ผู้วิจัยได้ใช้พื้นที่บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่หลัก และได้ถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวละว้า จากศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ละว้า ซึ่งภายในเล่มจะให้รายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับชาวละว้า ดังนี้ ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ละว้า จำนวนประชากร ภาษา การแต่งกาย การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย อุปนิสัยและวิถีชีวิตโดยทั่วไป อาชีพและความเป็นอยู่ โครงสร้างทางสังคม ความเชื่อ และพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวละว้า |
ลัวะ แม่แจ่ม : ร่องรอยการผลิตในอดีตซึ่งหลงเหลือในปัจจุบัน ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม |
ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว |
- |
Journal ศิลปวัฒนธรรม 13, 2(ธ.ค. 2534),p.218-221 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002170 |
บทความ “ลัวะ แม่แจ่ม : ร่องรอยการผลิตในอดีตซึ่งหลงเหลือในปัจจุบัน” เป็นการศึกษาระบบเศรษฐกิจของชาวลัวะ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 4 หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่บนเนินเทือกเขาถนนธงชัย คือ ลัวะบ้านเฮาะ ลัวะบ้านกอกน้อย ลัวะบ้านมืดหลอง และลัวะบ้านแปะ เพื่อค้นหาร่องรอยการผลิตในอดีตของชุมชนดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจตกค้างอยู่ในสังคม ชาวป่า ชาวเขา ที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยี โดยบทความนี้จะเล่าถึงสภาพความเป็นอยู่ ข้อมูลประชากร การดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรมและความเชื่อ เป็นการสังเกตร่องรอยความเป็นลัวะในอดีตที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2531) ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด |
ผีลัวะ ล้านนา ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม |
ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว |
- |
Journal ศิลปวัฒนธรรม 13, 2(ธ.ค. 2534),p.218-221 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002170 |
บทความนี้จะกล่าวถึงผีลัวะ การเซ่นสรวงบูชาผีบรรพบุรุษ คือ ผีอารักษ์ ผีบ้านผีเรือน ผีปู่แสะย่าแสะ ผีบรรพบุรุษที่กำเนิดมาจากตำนานความเชื่อ วิรังคราชพ่ายรัก ที่ถูกบอกเล่าสืบต่อกันมา ทำให้ลัวะนับถือผีบรรพบุรุษคู่นี้ ทุกปีชาวลัวะจะมีการทำพิธีกรรมเพื่อบูชาผีต่าง ๆ ที่ลัวะนับถือ อาทิ การฆ่าหมูบูชาผีอารักษ์ของลัวะ ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณบ้านแปะ อำเภอจอมทอง โดยลัวะบ้านแปะ เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ สิทธิบัตรพิเศษที่เรียกว่า “ตราหลวงหลาบเงิน” ที่มีผีอารักษ์เป็นผู้คุ้มครองรักษา ซึ่งการบูชาผีอารักษ์ของลัวะ ต้องบูชาด้วยหมู 1 ตัว ซึ่งจะมีการจัดพิธีกรรมการฆ่าหมู เรียกว่า “การฆ่าอันสุนทรีย์” และจะต้องมีเครื่องเซ่นบวงสรวงต่าง ๆ เพื่อประกอบพิธีการบูชาผีอารักษ์ของลัวะ |
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนลัวะกับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ |
กฤษณา เจริญวงศ์ |
เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ, 2532 |
Research and Thesis DS570.ล6ก451 2532 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057824 |
งานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนลัวะกับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของกลุ่มชนลัวะ การย้ายถิ่นฐาน การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทราบถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนลัวะกับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนลัวะกับกลุ่มชนต่าง ๆ ในดินแดนล้านนา โดยการวิจัยครั้งนี้ ได้ข้อมูลมาจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่นเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีการบอกต่อ ๆ กันมา ในเขตพื้นที่ที่มีกลุ่มชนลัวะอาศัยอยู่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานที่เป็นเอกสารประเภทตำนานท้องถิ่นที่ผ่านการปริวรรตแล้ว ตำนานที่ถูกบันทึกไว้ในใบลาน และเอกสารจากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ลัวะ และวัน เดือน ปี ใน วารสารข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา |
จันทรบูรณ์ สุทธิ |
- |
Journal ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 13, ฉบับที่ 3(2532), หน้า 44-74 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00041364 |
บทความนี้กล่าวถึงความสำนึกในเรื่องเวลา คตินิยม ความเชื่อในเรื่อง วัน เดือน ปี ของชาวลัวะ ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มชนเพื่อนบ้านที่รายล้อมอยู่รอบ ๆ ภาษาลัวะมีความหลากหลาย บทความชิ้นนี้มีการกล่าวถึง จารีตประเพณี พิธีกรรม และอื่น ๆ ซึ่งจะใช้ภาษาลัวะของบ้านดง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหลัก การลำดับวันของชาวลัวะ มีการกำหนดตามแบบจันทรคติ กำหนดให้วันที่เห็นดวงจันทร์ครั้งแรกเป็นวันเริ่มต้นใหม่ของแต่ละเดือน ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากคนไทยภาคเหนือรุ่นใหม่ก็เริ่มมีการลำดับวันใช้ระบบการนับแบบสัปดาห์ที่มี 7 วัน เหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดขึ้นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน อาทิ การไม่นิยมประกอบพิธีกรรหลายอย่างในวันเสาร์และวันอาทิตย์ วันหยุดตามจารีตประเพณี วันดีและวันไม่ดีในการเกษตร เป็นต้น |
สนทนาสาธารณสุขและการแพทย์ ลัวะ-ปรัย = Prai medicalconversations |
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ |
นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล, 2531 |
Books PL4251.P7 ส75 2531 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00011321 |
หนังสือเล่มนี้เป็นบทสนทนาสาธารณสุขและการแพทย์ ลัวะ - ปรัย เป็นบทสนทนาสำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ใช้สำเนียงภาษาลัวะ / ถิ่น ที่บ้านวังเสา ตำบลชนแดนอำเภอเชียงกลางเป็นหลัก ในภาษาพื้นบ้านเรียกว่า แญงปรัย "ภาษาปรัย" มีเนื้อหาสาระสำคัญที่เป็นประเด็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาวเขาเผ่าลัวะ / ถิ่น ความเชื่อและวิธีการรักษาความเจ็บป่วยแบบพื้นบ้าน ลักษณะภาษาและคำศัพท์พื้นฐาน สำนวนที่เป็นประโยชน์ในการสนทนาต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นบทสนทนาได้รวบรวมคำถาม ต่าง ๆ ที่แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขใช้ในการซักประวัติทั่วไป ถามอาการต่าง ๆ ของโรคที่ปรากฏ ได้แก่ โรคไอ เป็นไข้ ระบบตา หู จมูก ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบผิวหนัง โรคฟัน ยาและวิธีการใช้ คำแนะนำทั่ว ๆ ไปทางด้านสุขภาพอนามัย แม่และเด็กกับโรคท้องร่วง และมีการรวบรวมบัญชีคำศัพท์ที่พบในหนังสือเล่มนี้ |
อันเนื่องมาแต่ ลัวะ เมืองน่าน ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม |
พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล |
- |
Journal ศิลปวัฒนธรรม : 8, 12 (ต.ค. 2530) ;หน้า 22-23 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00007206 |
บทความนี้กล่าวถึงหนังสือของอาจารย์ชนธิรา สัตยาวัฒนา ซึ่งเป็นนักวิชาการภาษาศาสตร์และวรรณคดีสมัยใหม่ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “ลัวะเมืองน่าน” ผู้เขียนได้มีความคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จากการอ่าน เกี่ยวกับการเขียนคำต่าง ๆ ที่มีความผิดพลาดเล็กน้อย อาทิ คำใช้เรียกกษัตริย์หรือจักรพรรดิ และความสงสัยจากการอ่านที่เกิดขึ้นกับผู้เขียนเรื่อง “ศึกม่าน” ที่ยกไปรุกรานพวกลัวะจนกลายเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่ามาจนถึงทุกวันนี้ในหมู่พวกลัวะเมืองน่าน ผู้เขียนหวังเพื่อฝากให้อาจารย์ชลธิรา ช่วยคนคว้า เพื่อตอบข้อสงสัยของผู้เขียนต่อไป
|
พจนานุกรมภาษาละว้า-ไทย = Lawa-Thai dictionary |
สุริยา รัตนกุล |
นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529 |
Reference Books PL4251.N63L38ส74 2529 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00011349 |
พจนานุกรมภาษาละว้า - ไทย เป็นพจนานุกรมที่ผู้จัดทำ ได้มีการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2523 ภาษาละว้าที่ใช้ศึกษาในการทำพจนานุกรมเล่มนี้ เป็นภาษาละว้า ในหมู่บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การเก็บข้อมูลของภาษาละว้า ส่วนใหญ่ได้มาจากคุณบุญพบ โบะบือ ภายในเล่มจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบเสียงภาษาละว้า การออกเสียง ทำนองเสียง การลงน้ำหนัก พยางค์ หน่วยเสียง สระ พยัญชนะ คำย่อ การเรียงลำดับคำ โดยใช้สระ และตัวสะกดต่าง ๆ นอกจากพจนานุกรมละว้าจะให้ความหมายเป็นภาษาไทยแล้ว ยังมีตัวอย่างประโยคประกอบเพื่ออธิบายคำศัพท์นั้น ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย |
สารรัตถคดีเหนือแคว้นแดนสยาม |
ปราณี ศิริธร |
กรุงเทพฯ : ลานนาสาร, 2528 |
Books DS485.B86ส64 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037600 |
กล่าวถึงชนชาติละว้าหรือลัวะ ซึ่งอยู่ในดินแดนรัฐชาน ชนเผ่าวะแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มหลายชื่อตามสำเนียงชาวไตยและชาวเหนือ แต่พวกเขาเรียกตนเองว่า “วู Vu” จะพบได้ในเขต บ้านบ่อหลวง - อมก๋อย - อมพาย ในเขตท้องที่อำเภอฮอด มีการบันทึกเหตุการณ์ของประวัติความเป็นมา การกู้ชาติในรัฐชาน การต่อสู้ของชนเผ่า วัฒนธรรมที่แสดงถึงความสามารถในการต่อสู้ การฝึกซ้อมการเข้าโจมตี ความกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยวของชนชาติที่มีความดุร้าย ป่าเถื่อน มาแต่โบราณกาล อย่างการล่าศรีษะเพื่อนมนุษย์เพื่อนำเซ่นสังเวยบวงสรวงผีบ้านผีเมือง
|
วรรณกรรมที่ไม่ได้จดลงเป็นตัวหนังสือของละว้า |
สุริยา รัตนกุล |
[กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2520] |
Books GR312.L38ส74 2520 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060955 |
บทความนี้เป็นเอกสารที่แจกในการสัมมนาเรื่อง ภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยจะกล่าวถึงวรรณกรรมที่ไม่ได้จดบันทึกลงเป็นตัวหนังสือของละว้า โดยจะแบ่งวรรณกรรมของละว้าออกเป็นประเภทต่าง ๆ 2 ประเภท คือ 1.) วรรณกรรมประเภทนิทาน ได้แก่ เรื่องเสือฝันว่าจะกินช้าง เรื่องพี่น้องสามคน และวรรณกรรมประเภทคำหยอก จะเป็นคำหยอกในกลุ่มหนุ่มสาวที่ใช้กล่าวคำรำพัน กล่าวถึงความคิดถึง โต้ตอบกันไปมาระหว่างหนุ่มสาว มีลักษณะคล้ายเพลงยาว ซึ่งวรรณกรรมของละว้าที่ถูกถ่ายทอดบอกเล่าต่อ ๆ กันมา จะชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรม การดำรงชีวิต และทัศนคติของละว้า ในบทความเล่มนี้จะมีการเล่าเรื่องของนิทานทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาละว้า พร้อมคำแปลและคำอธิบายภาษา |
รวบรวมคำภาษาละว้า |
สุริยา รัตนกุล |
นครปฐม : โครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยมหิดล, [2520] |
Books PL4251.L38ส74 2520 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059850 |
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมคำภาษาละว้า ซึ่งเป็นโครงการศูนย์ศึกษาวิจัยภาษาอาเชียอาคเนย์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเสนอในการสัมมนา เรื่อง “ภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย” เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประโยชน์จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้เรียนรู้ภาษาง่าย ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวันของละว้าโดยรวบรวมคำภาษาละว้าที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน เป็นพจนานุกรมคำศัพท์ภาษา ไทย - ละว้า และละว้า - ไทย รวมคำศัพท์ประมาณ 4,000 คำ พร้อมทั้งมีการยกตัวอย่างประโยคแสดงวิธีการใช้คำเหล่านี้ |
งานวิจัยด้านประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยา เรื่องลัวะ (ละว้า) บ่อหลวง |
ถิ่น รัติกนก |
เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2512 |
Books DS570.ล6ถ63 2512 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046439 |
งานวิจัยด้านประวัติศาสตร์และมนุษยวิทยา เรื่องลัวะ (ละว้า) บ่อหลวง เป็นโครงการวิจัย ชนชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง ก่อนการอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย โดยข้อมูลได้มาจากการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์บุคคลสำคัญของชุมชนนั้น ๆ ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และการสังเกตในขณะที่ได้ลงพื้นที่ เพื่อประกอบการศึกษาพิจารณาถึงประวัติความเป็นมาของชนชนาติลัวะ การดำรงชีวิต ลักษณะภายนอก การแต่งกาย อาชีพ ภาษา การประกอบพิธีกรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และประเพณีต่าง ๆ ของชนชาติลัวะที่ได้ถ่ายทอดไว้ให้บุคคลรุ่นหลังที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในภายหลัง |
ประเพณีลัวะ ใน วารสารศิลปากร |
สารสิทธิ์ประกาศ (พร อยู่หุ่น) |
- |
Journal ศิลปากร. ปีที่ 4, ฉบับที่ 5 (ม.ค. 2504), หน้า 62-68 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00041121 |
บทความนี้กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนลัวะในหลายพื้นที่ ส่งผลถึงการดำรงชีวิต การทำมาหากิน การประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไปบ้าง จนทำให้ก่อเกิดวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่หลากหลาย บทความนี้จะกล่าวถึงการประกอบพิธีกรรมในประเพณีต่าง ๆ ของลัวะ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ บ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากการทำไร่ทำนาแล้ว ยังมีการประกอบอาชีพช่างเหล็ก จึงก่อให้เกิดประเพณีหนึ่ง ก็คือ ประเพณีการหลอมเหล็ก และบ้านช่างหม้อน้อย อำเภอแม่-สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีการประกอบอาชีพการทำไร่ทำนา จึงก่อให้เกิดประเพณีการทำไร่ จำแนกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนตัด ก่อนเผาไหม้ และเมื่อเผาเสร็จ จะมีการเซ่นไหว้ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละขั้น และประเพณีอื่น ๆ ของลัวะบ้านช่างหม้อน้อย ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต ได้แก่ เมื่อเจ็บไข้จะมีการเซ่นผี การปลูกเรือน เวลาฟ้าผ่า การแต่งงาน การตาย |
Survival of natural environment Lua Highlanders, Nan,Thailand |
Tanit Wongsprasert |
ChiangMai: Arawan, 2018 |
Books DS570.L8 T35 2018 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095526 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิถีชีวิตตามธรรมชาติแวดล้อมของชาวลัวะที่อาศัยอยู่บนดอยภูคาจังหวัดน่านของประเทศไทยจากการศึกษาข้อมูลของคุณธานิต วงษ์ประเสริฐ ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้กับชายแดนระหว่างไทย-ลาว มีพื้นที่ทั้งหมด 1,680 ตารางกิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 -1980 เมตร ชาวลัวะมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์ที่สามารถใช้ดำรงชีพได้ เช่น ไม้ค้ำ สามารถนำมาใช้สร้างบ้านเรือนได้ และพืชที่เป็นอันตราย เช่น ไม้ฮักมะนาวจะมีลักษณะคล้ายลูกเลมอนถ้าหากมีคนกินหรือสัมผัสผิวหนังจะทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวม เป็นต้น ส่วนสัตว์ประจำถิ่นของชาวลัวะที่พบเห็นได้บ่อยคือ กบ พวกเขามักจะจับมาทำเป็นอาหาร ได้แก่ กบออน เท้าของมันจะมี 3 นิ้วคล้ายกับเป็ดมักจะพบในเวลากลางคืน และเขียดแห๊ด มีลักษณะลำตัวของมันจะเป็นลายและนิ้วเท้ายาวมีแค่ 2 นิ้วเท่านั้น |
Program planning inside out : understanding Prai perspectives on education and culture |
Jordan-Diller,Kari |
Arizona : Arizona State University, 2008 |
Research and Thesis DS570.L8 J67 2008 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00095506 |
งานวิจัยเล่มนี้กล่าวถึงการศึกษาความเข้าใจในมุมมองด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไปรที่อาศัยอยู่หมู่บ้านน้ำแลทางเหนือของประเทศไทย ผู้วิจัยกล่าวไว้ว่าข้อเสียที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการใช้ภาษาที่สองภายในโรงเรียนและเป้าหมายที่ต้องการคือการสื่อสารภาษาไทยเพื่อเพิ่มคุณค่าด้านวัฒนธรรมของชาวไปร ซึ่งมาตรฐานการศึกษาบริเวณเขตชายแดนของประเทศไทยในโรงเรียนมีภาษาที่ใช้สื่อสารกันมากกว่า 70 ภาษาแต่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาทางการ ภายในห้องเรียนจะมีครูชาวไทยที่สอนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์นี้ด้วยคู่มือการศึกษาเพื่อให้นักเรียนเหล่านี้เข้าใจพวกเขานั้นมีสังคมเป็นของตนเองไม่ว่าจะเป็นประวัติ เป้าหมาย คุณค่าและความรู้ที่แตกต่างจากคนอื่น ผู้วิจัยได้ตั้งคำคำถามการวิจัยเกี่ยวชาวไปรไว้ว่า อะไรคือมุมมองด้านประสบการณ์การศึกษาของชาวไปร และ ชาวไปรสามารถขบหลักสูตรด้วยการเป็นนักศึกษาไทยได้อย่างไร |
The Lua of Nan Past and Present in Confrontation with the Thai State In Tai culture |
Satyawadhna, Cholthira |
- |
Tai culture vol. 5, no. 2 (Dec. 2000), p.140-155 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00030878 |
บทความนี้กล่าวถึงอดีตและปัจจุบันของชาวลัวะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่านโดยการศึกษาข้อมูลของคุณชลธิรา สัตยาวัฒนา ผู้ศึกษาเล่าว่าผู้นำของชนเผ่าลัวะในสมัยนั้นมีชื่อว่า “ภูวงษ์’ ได้มีการปฏิวัติการตั้งถิ่นฐานและปฏิวัติศาสนาจากเดิมที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาพุทธ หลังจากที่ภูวงษ์เสียงชีวิตจากการถูกจับกุมลูกศิษย์ของเขาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยจับภรรยาและลูกของภูวงษ์ขังไว้และเสียชีวิตลงในจังหวัดน่านเช่นกัน วิถีชีวิตในการทำไร่ นา สวนและเลี้ยงสัตว์ ชาวลัวะนับถือศาสนาพุธ มีหลายประเพณีที่ถูกยกเลิกเเละเริ่มหายไป แต่ประเพณีและความเชื่อที่เห็นได้ที่สุดคือ ความเชื่อเรื่องผีบ้าน ผีเรือน ภาษาที่ใช้สื่อสารกันคือ ภาษามอญ-ขแม ปัจจุบันมีชุมชนทั้งหมด 146 ชุมชนและมีประกรประมาณ 28,516 คน ซึ่งอาศัยอยู่บนบริเวณที่ราบสูงในจังหวัดน่าน |
The Lua of Lanna : A Study from Lanna Archives In Tai culture |
Wichienkeeo, Aroonrut |
- |
Tai culture vol. 5, no. 2 (Dec. 2000), p.132-139 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00030877 |
บทความนี้กล่าวถึงการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหอจดหมายเหตุของล้านนาจากคุณอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ชาวลัวะหรือลวะของล้านนาเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่สำคัญ ในอดีตนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับทางภาคเหนือของประเทศไทยคือดอยตุงตั้งอยู่บนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงใหม่ ตามตำนานเล่าว่ามีผู้ชายที่มีความชาญฉลาดอยู่คนหนึ่งชื่อว่า “ปูเจาเลาโจก” หรือ “ปูเจา” เป็นผู้นำของชาวลัวะมีความเก่งกาจเกี่ยวกับช่างเงินเป็นอย่างมากและมีความร่ำรวยรวมทั้งลูกศิษย์มากมาย ปูเจามีภรรยาชื่อว่า “จาเทา” ทั้งสองคนนี้ทีฟาร์มและตลาดขนาดใหญ่อยู่บนดอยสุเทพแต่หลังจากนั้นกลับถูกยึดครองพื้นที่โดยพระราชาอยุธราชทำให้ต้องอพยพหนีออกมาอยู่เมืองหิรัญนครซึ่งเป็นสถานที่ที่พระเจ้ามังรายเกิดในปี 1239 ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกเรียกว่า “ล้านนา” ส่วนชาวลัวะบนดอยสุเทพจากการข้อมูลการศึกษาตามตำนานเล่าสมัยก่อนชาวลัวะเรียกสถานที่นี้ว่า “เวียงสวนดอก” แต่หลังจากพระเจ้ามังรายได้ปกครองมีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาโดยใช่ชื่อว่า “นพบุรีศรีนครเชียงใหม่” ซึ่งปัจจุบันนี้คือจังหวัดเชียงใหม่ |
Dynamics of ethnic cultures across national boundaries in Southwestern China and mainland southeast |
Hayashi Yukio and Yang Guangyuan |
Chiang Mai : Lanna Cultural Center, Rajabhat Institute Chiang Mai ; Kyoto : Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, 2000 |
Books DS523.3.D953 2000 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037954 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและเอเชียแผ่นดินใหญ่ โดยการศึกษาข้อมูลจากงคุณโยกิโอ ฮายาชิ จะศึกษาข้อมูลหลัก 3 อย่าง คือ 1. ความสัมพันธ์ 2. สังคม และ 3. ภาษา ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงเมืองยูนานที่ตั้งอยู่บนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เขตชายแดนของจีน รอบเขตชายแดนจะอยู่ติดกับประเทศเวียดนาม ลาว พม่าอีกทั้งยังมีประเทศไทยเป็นบ้าน ในยูนานมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ทั้งหมด 16 เชื้อชาติ ภาษาที่ใช้ในการเขียนและพูดจะเป็นการแชร์ภาษาของตนเอง และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคร่งศาสนา |
From Lawa to Mon, from Saa' to Thai : historical and anthropological aspects of Southeast Asian soci |
Condominas, Georges |
Canberra : Dept. of Anthropology, Research School of Pacific Studies, Australian National University, 1990 |
Books HM291.C628 1990 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00007158 |
กล่าวถึงการศึกษาแง่มุมประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาของชาวลัวะที่อาศัยอยู่แม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่จากการศึกษาข้อมูลของคุณจอร์จ คอนโดไมนัส ตามตำนานเล่าไว้ว่า พระราชาวิลังกา เป็นพระราชาองค์สุดท้ายของชาวละว้าได้พบรักกับคามะเทวี พระราชาแห่งลำพูนเป็นผู้ที่นำชาวมอญจากละโว้เข้ามายังแผ่นดินของตนเอง ซึ่งละโว้ในปัจจุบันคือจังหวัดลพบุรี โดยเป็นช่วงศตวรรษที่ 8 นั้นพระราชาหริพูนชัยคือผู้ที่ปกครองชาวมอญก่อนยุคการปกครองของพระราชามังราย ซึ่งประวัติของพระนางคามะเทวีกล่าวว่าเป็นพระธิดาของพระราชาอินทราและภรรยาคนที่ 5 ตอนเกิดได้ถูกนำทิ้งลงแม่น้ำแต่วาสุเทวาได้มาพบและนำอาหารและน้ำให้แก่นาง ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะกล่าวประวัติของพระนางคามะเทวีอย่างละเอียดอีกด้วย
|
The Lawa Lasom! E poetry In The journal of the Siam Society |
Suriya Ratanakul |
- |
The journal of the Siam Society 73, 1-2 (January - July 1985), p. 183-203 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002132 |
บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนทางภาคเหนือของประเทศไทย ตามตำนานเล่าว่าในปี 1969 องค์หญิงวิภาวดี รังสิตทรงได้เสด็จไปเยี่ยมชมหมู่บ้านของชาวละว้าที่อำเภออำไพ จังหวัดเชียงใหม่พบว่าภายในหมู่บ้านนั้นมีทั้งหมด 4 ชนชั้น ได้แก่ 1) เชื้อสายราชวงศ์ 2) ขุนนาง 3) หมอผี และ 4) สามัญชนหรือชาวละว้า และบทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาษาของชาวละว้า โดยคุณสุริยา รัตนากุล ซึ่งได้เริ่มศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 197 ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการทำพจนานุกรมภาษาละว้าเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาละว้าพร้อมทั้งยังมีวลีและประโยคซึ่งมีมากกว่า 4000 คำ การวางแผนในการทำพจนานุกรมนั้นยากที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์เพราะขณะที่ผู้ศึกษาได้ลงพื้นที่สำรวจนั้นเขามักจะได้พบคำศัพท์ใหม่เสมอ |
Some social and religious institutions of the lawa (Northwestern Thailand): part III In Journal of t |
Kauffmann, H.E |
- |
Journal of the Siam Society 68, 1 (January 1980), pp. 87-124 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00003145 |
บทความนี้กล่าวถึงสถาบันทางสังคมและศาสนาของชาวละว้าที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกแยงเหนือของประเทศไทย บทความนี้คือบทที่ 3 ที่ศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรมการตายของชาวละว้า โดยผู้ที่ศึกษาข้อมูลคือคุณคัฟแมน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1. พิธีงานศพของเด็กวัยรุ่น ในตอนเย็นของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 ชายวัยรุ่นอายุ 15 ปี เสียชีวิตจากไข้ที่ไม่ทราบชื่อ การทำพิธีจะมีเพียงผู้ใหญ่เท่านั้นที่อยู่ในงานเผาศพและจะเป็นผู้ชายทั้งหมด 2. อีกหนึ่งกรณีของการเสียชีวิต ซึ่งศพคือเด็กทารกวัย 2 เดือนที่ถูกห่อด้วยผ้าสะอาดสีขาววางอยู่บนกรอบที่สานด้วยไม้ไผ่ มีการถวายข้าว เนื้อหมู สุรา และจุดเทียนไขวางไว้หน้าศพ 3. พิธีกรรมหลังจากการตาย จะมีการเล่มเกม ชื่อว่า “เสือกินวัว” จะเป็นการเล่นตอนกลางคืนโดยชาวละว้าจะตื่นกันตลอดทั้งคืน
|
Some social and religious institutions of the lawa (Northwestern Thailand): part II In Journal of th |
Kauffmann, H.E |
- |
Journal of the Siam Society: 65, 1 (January 1977): pp. 181-226 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00003145 |
บทความนี้คือส่วนที่สองเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเคลือบดินเผาในสมัยอยุธยาซึ่งจะกล่าวถึงวิธีการปลูกและปั้นดินเผาโดยคุณคัฟแมนตามประวัติศาสตร์เล่าว่าคนสมัยอยุธยามักใช้เครื่องปั้นดินเป็นส่วนมากไม่ว่าจะเป็นหม้อทำอาหาร เตาและเครื่องครัวอีกหลายชนิด ซึ่งเครื่องปั้นดินแบบดั้งเดิมประเภทหลักที่มักจะคือ หม้อข้าว ใช้หุงข้าว ส่วนหม้อแกง ใช้ทำอาหารหลากหลายชนิด ผู้ศึกษากล่าว่าปัจจุบันสามารถพบเครื่องปั้นดินเผาได้ที่ตลาดหม้อดินมีราคาประมาณ 40-50 บาท มีการดัดแปลงรูปทรงหลายแบบ เช่น เหยือก โอ่งมังกร เพื่อใช้ประดับห้องครัว ห้องน้ำ หรือการวางไว้หน้าบ้านโดยการประดับไว้เพื่อความสวยงาม สถานที่ที่พบมากที่สุดคือจังหวัดราชบุรี |
The Khalo of Mae Rim Lawa : a rement of the Lawa Population of Northern Thailand In The journal of t |
Flatz, Gebhard |
- |
The journal of the Siam Society 58 part2(July 1970), p. 87-103 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002111 |
บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าจากการศึกษาค้นคว้าของคุณเกบฮาร์ด แฟลตซ์เกี่ยวกับร่องรอยของชาวละว้าที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มักจะมีความเชื่อเรื่องผีบ้าน ผีเรือนซึ่งประเพณีของชาวละว้าที่จะพบคือการไหว้ผีบ้าน ผีเรือน 2 ครั้งต่อปีในประเพณีนี้จะมีการเต้นรำซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเต้นของชาวอินเดียแดงอีกทั้งยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับศสานาพุทธและสื่อสารกันโดยใช้ภาษามอญ และได้มาตั้งแต่ถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีแต่ชาวละว้าเท่านั้นและจะมีมากว่า 2 หมู่บ้านขึ้นไป ซึ่งคำว่า “ละว้า” นั้นเป็นคำที่คนไทยตั้งให้ แต่ตัวพวกเขามักจะเรียกตนเองว่า “ขโล” หรือ “พโล” ไม่มีการอ้างอิงว่าชนเผ่านี้อพยพมาจากที่ไหนแต่คนไทยเชื่อว่าพวกเขาเป็นชาวละว้าที่หนีออกมาจากกลุ่มของตนเอง ซึ่งบทความนี้จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาษาของชาวละว้าและชาวขโลซึ่งผู้ศึกษาได้ทำตารางแสดงคำศัพท์จำนวน 200 คำ |
The End of the Lua' Year |
Kunstadter, Peter |
[s.l.] : University of Washington, 1967 |
Books DS570.L8K86 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00013059 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงชาวลัวะ โดยการศึกษาข้อมูลจากคุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ กล่าวว่าสิ้นปีของชาวลัวะนั้นคือช่วงการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จสมบูรณ์แล้วโดยจะมีพิธีกรรม 3 พิธี ในช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าววันสุดท้ายคือ 1) พิธีที่เรียกว่าจิตวิญญาณของชาวบ้านจากทุ่งนา 2) พิธีไล่วิญญาณร้ายของหมู่บ้าน และ 3)พิธีถวายอาหารให้แก่วิญญาณผู้ที่ปกครองหมู่บ้านให้ผ่านไปปีหน้าได้ ซึ่งวันถัดไปหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วหมู่บ้านจะถูกปิดไม่มีการเข้าและออกจากหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ก่อนวันที่หมู่บ้านจะถูกปิดจะมีการสังเวยหมูโดยการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจากไม้ไผ่และชาวบ้านจะซื้อมันในราคา 30 บาทต่อกำปั้น |
The Lawa guardian of Chiengmai In The journal of the Siam Society |
Kraisri Nimmanhaeminda |
- |
The journal of the Siam Society 55, 2 (July 1967), p. 185-225 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002107 |
บทความนี้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธ์ละว้าที่อาศัยอยู่บนดอยสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าของคุณไกรศรี นิมมานเหมินดา ปี ค. ศ. 1967 พบว่าชาวละว้ามีความเชื่อว่าชนเผ่าของเขามีการปกครองโดยวิญญาณผู้พิทักษ์ คือ ปู่แสะ ย่าแสะและสุเทวฤษี ตามตำนานเล่าว่าปู่แสะ ย่าแสะและลูกชายของเขาเป็นยักษ์ที่อาศัยอยู่บนดอยสุเทพ วันหนึ่งพระพุทธทรงเดินผ่านมายักษ์ทั้ง 3 ตนเกิดอาการหิวอยากกินเลือดของพระองค์ พระพุทธเจ้าจึงทรงแผ่เมตตาให้กับยักษ์ทั้ง 3 ตน โดยลูกชายยอมรับศีลจึงขอบวชเป็นพระฤาษี นามว่า ปู่ฤาษีสุเทวฤษี ส่วนปู่แสะและย่าแสะขอกินเนื้อสัตว์ปีละครั้ง ซึ่งในปัจจุบันชาวละว้าได้มีการตั้งศาลไว้เพื่อกราบไหว้และจะมีประเพณีการไหว้ศาลโดยการถวายเนื้อสัตว์ปีละครั้ง |
Ethnology and Ecology of the Lua? and S'kaw Karen Hill People of Northwest Thailand |
Kunstadter, Peter |
Princeton, N.J., : Princeton University, Center of International Studies, 1965 |
Books DS570.L8K85 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037586 |
หนังสือเล่มนี้เป็นโครงงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์และนิเวศวิทยาของชาวลัวะรวมทั้งชาวคเรนเป็นชาวเขาที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการศึกษาข้อมูลของคุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ จุดประสงค์ของการทำวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อ 1. อธิบายและวิเคราะห์วัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคมระหว่างชาวเขา 2 กลุ่ม คือ ชาวลัวะและชาวคาเรน 2. เพื่อศึกษาระบบเกษตรกรรม 3. เพื่อเปรียบเทียบและหาความแตกต่างระว่างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ชนเผ่า วิธีการเก็บข้อมูลจะเป็นการสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยศึกษาจากการทำทริปทั้งหมด 2 ช่วง โดยทริปแรกคือช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1963 – สิงหาคม 1964 และทริปที่สองคือช่วงเดือนธันวาคม 1964 – มกราคม 1965 รวมทั้งยังมีการบันทึกตารางเวลาและการทำงานของผู้ศึกษาอย่างละเอียด ซึ่งผลของการทำวิจัยนั้นพบว่าไม่พบชาวคเรน แต่ในประเทศไทยแต่พบชนเผ่านี้ที่ประเทศพม่าโดยการอ้างอิงจากเขียนของคุณมาร์แชล ปี ค.ศ. 1920 |
The Lawa and Sgau Karen in Northwestern Thailand In The journal of the Siam Society |
Obayashi, Targo |
- |
The journal of the Siam Society :52, 2 (July 1964), p. 199-214 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00002106 |
บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าและคเรนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งหมู่บ้านที่ทั้ง 2 ชาติพันธุ์นี้อาศัยอยู่ระหว่างอำเภอแม่สะเรียงและกองลอย ภายในหมู่บ้านมีทั้งหมด 45 หลังคาเรือนและอยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียง 25 กิโลเมตร ลักษณะของชาวละว้าผู้ชายจะมีความสูงประมาณ 160 ซม. ส่วนผู้หญิงจะสูงประมาณ 150 ซม. มีผิวคล้ำและตามลำตัวจะมีขน เด็กทารกจะมีลักษณะคล้ายกับชาวมองโกเลียน ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารพูดคุยจะเป็นภาษถิ่นของชาวละว้า หมู่บ้านที่อาศัยจะอยู่สูงและใกล้กับหุบเขาซึ่งรอบเขาจะเต็มไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนชาวคเรนจะลักษณะคล้ายกับชาวละว้า ภาษาที่สื่อสารกันคือ ภาษาไทยและพม่าผสมกันแต่ชาวคเรนจะไม่เข้าใจภาษาชองละว้า ที่อยู่อาศัยของชาวคเรนจะลักษณะเป็นบ้านที่สร้างโดยไม้ไผ่และมีเตาผิงวางไว้ ซึ่งในบทความต้องการเปรียบความแตกต่างระหว่างชาวละว้าและคเรนโดยการศึกษาข้อมูลของคุณทาร์โก โอบายะชิ |
Two Lawa vocabularies : The Lawa of the Baw Luang Plateau In Journal of the Siam Society |
Kerr, A. F. G |
- |
Journal of the Siam Society vol. 21,part. 1 (JUL. 1927), p.53-63 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00021350 |
บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าเป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณแควน้อย แควใหญ่และบ่อหลวงทางตะวันตกเฉียงของจังหวัดเชียงใหม่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการผสมกันจากหลายชนเผ่าและนับถือศาสนาพุทธแต่มีความเชื่อเกี่ยวกับผี การเลี้ยงผีเสื้อบ้านหรือเรียกอีกอย่างว่าผีหมู่บ้าน วิถีชีวิตของชาวละว้ามักจะทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์จำพวกวัว ควาย หมู ไก่ เวลาว่างก็ทอผ้า ตำข้าว จักสาน เช่น กระบุง ตะกร้า ฯลฯ ฤดูแล้งชอบเข้าป่าล่าสัตว์ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงความแตกต่างและเปรียบเทียบการออกเสียงของชาวละว้าในกาญบุรี ซึ่งมีการสำรวจสืบค้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1922 โดย ดร.เอ เอฟ จี เคอร์ |
Ethnologic Notes In Journal of the Siam Society |
Kerr, A.F.G |
- |
Journal of the Siam Society : 18, 2 (AUG. 1924) : p. 135-144 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00021335 |
บทความนี้กล่าวถึงการบันทึกของชาวละว้าบริเวณที่ราบสูงในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลของ ดร.เคอร์ ในปี 1922 พบว่าชาวละว้านั้น ทั้งหมด 7 หมู่บ้านอยู่ที่ราบสูงบัวหลวงซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1000-1100 เมตร และเป็นมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าไม้ ในเดือนธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างชาวละว้ากับชาวลาวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ชาวละว้าจะมีผิวค่อนข้างคล้ำและตัวเล็กกว่าชาวลาว การแต่งกายของผู้ชายชาวละว้าจะคล้ายกับชาวลาวส่วนผู้หญิงจะสวมใส่เสื้อที่หลวม ใส่กำไลเงินไว้ที่ข้อมือทุกคน รวมทั้งไว้ผมยาวโดยการม้วนเป็นปมไว้ข้างหลังและคลุมด้วยผ้าพันรอบศีรษะ ส่วนภาษาจะมีความแตกต่างกันมากแต่มีบ้างบางคำที่ชาวละว้ายืมมาจากชาวลาว เช่น ยม หิน และชาวลาวก็มีการยืมคำมาจากชาวละว้าเช่นกัน ได้แก่ คำว่า ไถและเผื่อ เป็นต้น |
The Lawa, additional note In Journal of the Siam Society |
Seidenfaden, Erik |
- |
Journal of the Siam Society : 17,2 (1923) : p.101-102 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00001042 |
บทความนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากคุณพระ เพชรบูรณ์บุรี โดยคุณอีริค เซเดนฟาเดน ซึ่งชนเผ่านี้มีลักษณะคล้ายกับคนอินเดียแดง วิถีชีวิตของชาวละว้านั้นมักจะอาศัยอยู่เป็นกระท่อมโดยวัตถุดิบการสร้างจากธรรมชาติ นับถือสาสนาพุทธและมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณผีบ้านผีเรือน ผีฟ้า ส่วนเทศกาลไหว้ผีป่าโดยการถวายข้าว เป็ด และไก่ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงช่วงที่ชาวละว้าเข้ามามีบทบาทในสมัยสงครามระหว่างประเทศพม่าและประเทศไทย |
The Lawa or Chaubun in Changvad Petchabun In Journal of the Siam Society |
Petchabunburi, Phra |
- |
Journal of the Siam Society vol. 14, part. 1 (Apr. 1921), p. 19-51 |
https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00024446 |
บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าจากการศึกษาโดยคุณพระ เพชรบูรณ์บุรี ในปี 1921 พบว่าชาวละว้านั้นเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่พบได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งชนเผ่านี้มีลักษณะคล้ายกับคนไทยแต่ชาวละว้าจะมีผิวที่คล้ำกว่าและมักจะอาศัยอยู่บริเวณหุบเขาหรือที่ราบสูง คนทั่วไปส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า “ละว้า” แต่สำหรับคนไทยมีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เชาว์บูรณ์” วิถีชีวิตของชาวละว้านั้นมักจะอาศัยอยู่เป็นกระท่อมโดยวัตถุดิบการสร้างจากธรรมชาติ และทำไร่ นา สวน เลี้ยงสัตว์ เพื่อการดำรงชีพ ชนเผ่าละว้านี้นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณผีบ้านผีเรือน ผีฟ้า ส่วนเทศกาลไหว้ผีป่าจะมีในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมของทุกปี และกล่าวถึงการแปลภาษาละว้าเป็นภาษาไทยและอังกฤษที่ชาวชนเผ่านี้ใช้สื่อสารกัน รวมทั้งยังมีการเปรียบเทียบภาษาละว้าที่อาศัยอยู่จังโคราชที่มีตารางเปรียบเทียบอย่างชัดเจน |
Laa (Lawa) Nan Cholthira Satyawadhna |
Cholthira Satyawadhna |
Bangkok : The Siam Society Under Royal Patronage, 19--? |
Audio Visual Materials VT 001247 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063811 |
สื่อโสตทัศน์นี้กล่าวถึงชาวลัวะหรือละว้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่านของประเทศไทย จากการศึกษาและบันทึกข้อมูลโดยคุณชลธิรา สัตยาวัฒนา ในช่วง 2000 ปีก่อนได้เกิดวิกฤตการณ์หนึ่งกับชาวเหนือที่เรียกว่า “วิกฤตการณ์ล้านนา” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับชาวละว้ากับชาวพม่า จากการสันนิษฐานของผู้ศึกษากล่าวว่าชาวพม่าพยายามที่จะเข้ามายึดครองพื้นที่ของชาวละว้า เมง และคนไทยในล้านนา หลังจากการรบกันชาวลัวะ ชาวเมงและคนไทยได้หลบหายเข้าไปในป่า ต่อมาชาวลัวะได้มาปรากฎอยู่ที่จังหวัดน่านและเรียกตนเองว่า “เอิ่น” คือภาษาขแมแปลว่า ทาส และมีอธิบายความแตกต่างของชาวลัวะที่อาศัยอยู่ระหว่างจังหวัดน่านและอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ |
Bibliography on the Lawa |
Suchada Rodcharen |
Bangkok : Battelle Memorial Institute/Thailand Information Center, [n.d.] |
Books DS570.L8S83 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00039462 |
หนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของผู้วิจัยที่เคยศึกษาประวัติของชาวละว้าโดยการรวบรวมหมายเลขเอกสารจากศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทยซึ่งข้อมูลที่ได้มีนั้นไม่เป็นความลับแต่อย่างใด มีทั้งหมด 57 หมายเลขและมีปีที่ตีพิมพ์หนังสือ แต่ละหมายเลขจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดถี่ถ้วนจากการที่ผู้วิจัยได้ค้นหาจากศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย อาทิ หมายเลข 00366 คุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ ปีที่ตีพิมพ์ ตุลาคม 1967 มีข้อมูลด้านการวิจัยของชาวละว้าที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศไทยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับประวัติ วัฒนธรรม เกษตรกรรม กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และด้านเศรษฐกิจของชนเผ่าละว้า |
ซมญุ แต่งงานลัวะ Somyu lua wedding ceremony |
สถาบันวิจัยสังคมและสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
[เชียงใหม่ : สถาบัน, ม.ป.ป.] |
Audio Visual Materials CDF 000621 |
https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069996 |
กล่าวถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู ประเพณีพิธี การแต่งงานของชาวลัวะ ซึ่งชาวลัวะจะมีวิถีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อาศัยการปลูกพืชผัก สวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ผล และมีการเลี้ยงสัตว์ ไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมโดยการฆ่าแล้วนำไปเซ่นไหว้ผี เช่น พิธีด้านการเกษตร พิธีแต่งงาน พิธีไหว้ผีต่าง ๆ เป็นต้น จึงทำให้ลัวะไม่มีสัตว์เลี้ยงเหลือสำหรับขาย การแต่งงานชาวลัวะจะถือสายตระกูลทางฝ่ายชาย ผู้หญิงที่แต่งงาน จะต้องถือผีตามสายตระกูลของฝ่ายชาย และต้องเปลี่ยนการเรียกสถานภาพตามอย่างสามีของตน หลังแต่งงานผู้ชายจะนำภรรยามาอยู่บ้าน เมื่อบุตรชายคนต่อไปแต่งงานก็แยกไปปลูกเรือนเป็นของตัวเอง บุตรชายคนสุดท้องจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมรดกและเลี้ยงดูพ่อแม่ตลอดชีวิต บางแห่งเช่นที่บ้านช่างหม้อ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังแต่งงานผู้ชายต้องมาอยู่บ้านผู้หญิง ผู้ชายมีโอกาสนำภรรยากลับไปบ้านบิดามารดาของตนได้ก็ต่อเมื่อมีบุตรด้วยกัน
|
ขมุ ลัวะ / ถิ่นและมลาบรี(ผีตองเหลือง) ในจังหวัดน่านและปัญหาในการเรียกชื่อ |
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ |
[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.] |
Books DS589.น9ส75 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00061056 |
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลของการศึกษา และสำรวจด้านภาษาศาสตร์ของชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน ซึ่งพูดภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร ถึง 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มขมุ กลิ่นถิ่นหรือลัวะ และกลุ่มมลาบรี หรือผีตองเหลือง หนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจภาษาศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ และเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มชนต่าง ๆ เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งอาจมีชื่อเรียกหลายชื่อ หรือชื่อหนึ่งอาจเป็นชื่อของกลุ่มชนต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งกลุ่ม จนทำให้เกิดความสับสนในการเรียก อาทิ ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มถิ่น หรือลัวะ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละมาจากเหตุและผลที่ต่างกัน เช่น ชื่อพื้นบ้าน คือ ชื่อที่กลุ่มนี้เรียกตนเอง ชื่อพื้นเมือง คือ ชื่อที่ชาวน่านใช้เรียกกลุ่มชนนี้ และชื่อราชการ คือ ชื่อที่ทางราชการใช้เรียกกลุ่มชนนี้ |
ละว้า และ ลัวะ |
สุริยา รัตนกุล |
[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.] |
Books DS570.ล6ส74 |
https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060958 |
บทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวความแตกต่างทางมานุษยวิทยา และภาษาของชนเผ่าละว้า และลัวะ ซึ่งเป็นที่สับสนกันในคำว่า “ละว้า” กับ “ลัวะ” มีการกล่าวถึงผลงานการค้นคว้า และการวิจัยของผู้ทำวิจัยที่สำคัญหลายท่าน อาทิ หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต ที่ทรงค้นคว้าเรื่องราวทางมานุษยวิทยาของชนเผ่าละว้า และเผยแพร่ลงในวารสาร Anthropos เป็นต้น ในท้ายบทความมีการนำคำศัพท์มาเปรียบเทียบ ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างภาษาละว้า ในเขตพื้นที่ตำบลป่าแป๋ อำเภอม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับภาษามัล (ที่คนไทยเรียก “ลัวะ”) ในเขตพื้นที่บ้านสกาดกลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ใน 8 หมวดคำศัพท์ ได้แก่ หมวดดินฟ้าอากาศและธรรมชาติ หมวดต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหาร หมวดสัตว์ป่าและสัตว์บ้าน หมวดเครือญาติ หมวดอวัยวะต่าง ๆ หมวดเครื่องดื่ม หมวดเวลา และหมวดจำนวนนับ |