Title Author Imprint Collection Url Annotation
ผู้ไทห้วยหีบ ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 77 (ก.ย. 2561), หน้า 97-100 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068720 ผู้ไทห้วยหีบเป็นบทความที่นำเสนอการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนตามแบบวิถีไทยในชนบท วัตถุประสงค์คือเพื่อต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวผู้ไทและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ไทจากถิ่นต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งในครั้งนี้งานผู้ไทโลกได้จัดขึ้นที่ชุมชนผู้ไทบ้านห้วยหีบ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร แต่เดิมผู้ไทห้วยหีบอพยพมาจากวังอ่างคำ มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมการแต่งกายที่โดดเด่นคือ ทั้งชายหญิงนุ่งผ้าพื้นดำแต่งแถบด้วยผ้าแดง พูดภาษาผู้ไทแบบสกลนครที่มีภาษาไทย้อผสมผสาน ภายในงานหนุ่มสาวจากผู้ไทจากหลายชุมชนต่างแต่งกายมาด้วยแพรไหมผืนงาม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับเงินคงอัตลักษณ์ที่ยังยึดถือกันอย่างเหนียวแน่นไม่เสื่อมคลาย
 
ดนตรี วิถีผู้ไท ในมนต์เสน่ห์บ้านสวนนอเวียง-รสสา ใน วารสารทางอีศาน ศรายุทธ วังคะฮาต - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 77 (ก.ย. 2561), หน้า 11-16 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068711 ในบทความได้กล่าวถึงงานดนตรีที่บ้านสวนนอเวียง-รสสาที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม และกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเมืองเรณูนคร ซึ่งในอดีตได้โยกย้ายมาจากเวียดนามสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาจนถึงประเทศไทย ปัจจุบันวิธีชีวิตของชาวผู้ไทแบบดั้งเดิมยังคงเหลืออยู่และจับต้องมองเห็นได้ที่บ้านสวนนอเวียง-รสสา โดยถ่ายทอดผ่านทางบทเพลง ดนตรี ลีลา ท่วงทำนอง เช่น การฟ้อนเลาะตูบ เลาะผามซึ่งโดยปกติจะฟ้อนในงานบุญผะเหวด แต่เมื่อวิถีชีวิตและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป การฟ้อนจึงกลายเป็นการแสดงอย่างหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ให้ประเพณีของชาวผู้ไทไม่สูญหายไปจากท้องถิ่น
เรื่องเล่าจากราวตากผ้าของแม่ ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 79 (พ.ย. 2561), หน้า 108-111 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00069596 ผู้เขียนได้ใช้ประสบการณ์และแรงบันดาลใจจากราวตากผ้าหลังบ้านของแม่ มาเรียบเรียงเป็นบทความเรื่องผ้าทอของชาวผู้ไท ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสร้างมูลค่าและยังเป็นรายได้หลักของบางครอบครัว ผ้าทอหนึ่งผืนสามารถนำมาใช้ทำผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอื่นๆได้มากมาย  แต่ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้คือ เสื้อหมอบคอลายผู้ไท ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทแถบอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันผ้าทอผู้ไทเป็นผ้าที่มีราคาสูง เพราะทำจากเส้นฝ้ายธรรมชาติ และทำมือทุกขั้นตอน ด้วยการส่งเสริมจากรัฐจึงทำให้เป็นที่นิยมในหมู่ทักท่องเที่ยว และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรม รากเหง้าให้คงอยู่สืบต่อไป
เที่ยวงานวัดถิ่นผู้ไท สุขใจอิ่มบุญที่ก้านเหลืองดง ใน วารสารทางอีศาน ศรายุทธ วังคะฮาต - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 80 (ธ.ค. 2561), หน้า 60-63 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00069611 งานวัดถิ่นผู้ไท สุขใจอิ่มบุญ คือโครงการชวนเที่ยว 55 เมืองรองทั่วไทย ที่บ้านก้านเหลืองดง ตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร หมู่บ้านก้านเหลืองดงเป็นชุมชนชาวผู้ไทที่อพยพมากจากเมืองวัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในบทความมีการอธิบายถึงวัฒนธรรมต่างๆ และแสดงภาพถ่ายขบวนแห่ของชุมชน การละเล่นพื้นบ้านอย่างการต่อหมากข่าง แต่ที่เห็นจะเป็นที่สนุกสนานและเป็นที่นิยมของเด็กๆชาวผู้ไทมากที่สุดคือ หมากกิ้งก่อง เครื่องเล่นที่ดัดแปลงมาจากไม้ไผ่มาทำอาวุธปืน มีการสาธิตการปรุงอาหาร การแสดงรื่นเริงอย่างคณะกลองเจิ่งจากพี่น้องผู้ไท บ้านนาโลก และการประชันหมอลำจากหมอลำผู้ไทมุกดาหารกับหมอลำผู้ไทกาฬสินธุ์
ท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีผู้ไท ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 69 (ม.ค. 2561), หน้า 104-107 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068053 ท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีผู้ไท กล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวผู้ไท มีการจัดงานดนตรีวิถีผู้ไทที่บ้านสวนนอเวียง-รสสา บ้านบ่อสมสะอาด ตำบลเรณูใต้ จังหวัดนครพนม ซึ่งที่มาของกิจกรรมในครั้งนี้คือต้องการขับเคลื่อนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีชาวเมืองเรณู ที่ยังคงรักษาสืบต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสมาคมผู้ไทโลก ร่วมกับบ้านสวนนอเวียง-รสสา และกลุ่มชุมเฮา เจ้าข๋อย โรงเรียนสอนคนและฝึกควายไถนาร่วมมือกันเพื่อเผยแพร่วิถีชีวิตชาวผู้ไท และนำไปสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น
 
เฆี่ยนเขย ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 7, ฉบับที่ 74 (มิ.ย. 2561), หน้า 66-69 เฆี่ยนเขย คือหนึ่งในลำดับขั้นตอนของพิธีกินดองหรือพิธีแต่งงานชาวผู้ไท ความเฆี่ยนเขย เป็นข้อห้ามสำหรับเขยผู้ไทมิให้กระทำแก่ญาติพี่น้องฝ่ายเมีย โดยเจ้าโคตรลุงตาหรือพ่อตาจะกล่าวกับลูกเขยหลังจากทำการสู่ขวัญ เป็นคำสอนที่สืบทอดกันมาในกลุ่มของชาวผู้ไท ซึ่งในฉบับนี้กล่าวถึงข้อที่ 31 – 53 คัดลอกจาก เอกสาร พระอธิการสมิทธิ์ สมาจาโร ฮีตเค้าคองเขยผู้ไท พิมพ์ครั้งที่ 1วัดหอไตรเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2513
ผู้ไทกะป๋อง ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 61 (พ.ค. 2560), หน้า 58-60 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065628 ผู้ไทกะป๋อง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่อพยพมาจากเมืองกะป๋อง ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้เมืองวังอ่างคำ ทางภาคเหนือของของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวผู้ไทกะป๋องมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดคือ นิยมนุ่งเสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง ในบทความผู้เขียนได้บรรยายถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวผู้ไท ที่นำมาแสดงในขบวนแห่เปิดงานวันผู้ไทโลก ครั้งที่ 8 ณ อำเภอวาริชภูมิ มีการละเล่น การแสดงพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีเหยา, แซงสนาม นอกจากนั้นยังมีนิทรรศการภาพถ่ายชาติพันธุ์ผู้ไท ประวัติผู้ไท การออกร้านสินค้าพื้นเมือง สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการสักการะปู่เจ้ามเหศักดิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวผู้ไท
แกงอ่อมหวายผู้ไท ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 62 (มิ.ย. 2560), หน้า 52-55 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065787 แกงอ่อมหวาย คือเมนูอาหารจานเด็ดที่ชาวผู้ไทภูมิใจนำเสนอแก่ผู้มาเยี่ยมเยือนถึงชานเรือน ด้วยวัฒนธรรมที่เรียบง่าย และวิถีชีวิตที่อิงอยู่กับธรรมชาติเป็นหลักทำให้อาหารพื้นบ้านยังได้รับความนิยมในหมู่ชาวผู้ไท ในบทความนี้นำเสนอหวาย พืชเศรษฐกิจที่เป็นทั้งรายได้และอาชีพของชาวผู้ไทแถบสกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครพนม และเป็นอาหารขึ้นชื่อที่มีสรรพคุณทางยารักษาโรค หน่อหวาย สามารถนำมาทำเป็นแกงหวาย ซุบหวาย ลาบ ต้มจิ้มแจ่ว เรียกได้ว่าเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชาวผู้ไท มีสรรพคุณทางยาเป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ นอกจากนั้นลำต้นหวายแก่ยังสามารถนำไปผลิตเครื่องจักรสานเพื่อสร้างมูลค่าและรายได้แก่คนในครอบครัว
เครื่องร้อย/เครื่องพัน ในประเพณีบุญเดือน 4 ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 63 (ก.ค. 2560), หน้า 54-58 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00066009 บทความนี้กล่าวถึงงานบุญเดือน 4 ของชาวผู้ไทที่ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งคนหนุ่มคนแก่ทุกครัวเรือน เมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจงานประจำวันก็จะมารวมตัวกันเพื่อโชว์ฝีมือการทำเครื่องจักรสาน หรือที่เรียกกันว่า เครื่องร้อย เพื่อใช้ในประเพณีงานบุญกองใหญ่ เดือน 4 ซึ่งจะนำมาประดับตกแต่งแขวนเรียงรายรอบศาลา ประกอบด้วย กระยอง, ธงช่อธงชัย, ห่อเมี่ยงหมาก, มาลัยดอกไม้ร้อยเป็นพวงระย้า, ปักธงธิวใหญ่ ผ้าทอลายขิด ทั้งหมดนี้คือการอุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษ ซึ่งมีการเตรียมการมาแรมปี เป็นการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน และหากครอบครัวใดสามารถสร้างกองบุญได้มากก็สื่อถึงความศรัทธาที่มีอย่างแรงกล้าต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว
ฟ้อน-ลำผู้ไท ใน วารสารทางอีศาน เพ็ญศรี นิลโสม - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 64 (ส.ค. 2560), หน้า 60-63 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00066193 การฟ้อนของชาวผู้ไทเป็นการละเล่นเพื่อความรื่นเริงในฤดูกาลงานบุญต่างๆ ส่วนลำผู้ไทคือภาษาพูดของคนผู้ไทที่ใส่ทำนอง เนื้อร้อง ส่วนมากจะเป็นการเกี้ยวพาราสีของคนหนุ่มสาว มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย จิดจึ้ง แคน ปี่ โหวด กลองตุ้ม หมากกลิ้ง-กล่อม นิยมเล่นในงานบุญประเพณีต่างๆ และการฟ้อน-ลำผู้ไทในแต่ละจังหวัดก็แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น สังเกตได้จากการแต่งกายและท่วงทำนองของดนตรี ซึ่งในบทความฉบับนี้มีตัวอย่างภาพการฟ้อนของชาวผู้ไท อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเรณูนคร จังหวัดกาฬสินธุ์
 
"เครื่องร้อย เครื่องพัน" สานศิลป์ศรัทธาในป่าวงกต ใน วารสารทางอีศาน ธีรภาพ โลหิตกุล - Journal ทางอีศาน. ปีที่ 6, ฉบับที่ 67 (พ.ย. 2560), หน้า 12-15 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00068069 กองบุญ คือสิ่งของที่ลูกหลานปรารถนาจะส่งไปให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับได้ใช้ในชีวิตหลังความตาย ในบทความนี้กล่าวถึงการทำบุญเดือนสี่ หรือที่ชาวไทอีสานเรียกกันว่า บุญผะเหวด หรือบุญพระเวสสันดร ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานกองบุญใหญ่ที่สภาวัฒนธรรม ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หัวใจของงานคือการแห่แหนผ้าผะเหวดไปรอบศาลาธรรมของวัดประจำหมู่บ้าน บนศาลาธรรมจะเห็นม่านดอกไม้ ใบไม้ ธงช่อธงชัย กระยองใส่ดอกไม้ ตลอดจนแผ่นทอ ทั้งหมดนี้ก็คือเครื่องร้อยเครื่องพันดังชื่อของบทความ ซึ่งความหมายที่แท้จริงของสิ่งเหล่านั้นก็คือ บันไดสวรรค์ที่จะนำทางให้เราไปสู่แดนนิพพาน
ผู้ไท ลูกแถน : ความเป็นมาคนอีสาน ภาคพิเศษ สุเทพ ไชยขันธุ์ กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2557 Books DS570.ผ7ส77 ภาค 2 2557 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078568 คำว่า “แถนเราพบคำๆ นี้ในหลายความหมาย คือแปลว่าเทพเจ้า (ผีบรรพบุรุษ) แถนที่เป็นชื่ออาณาจักรโบราณในจีน และเมืองแถนซึ่งตั้งอยู่ที่เวียดนาม ย้อนกลับไปตั้งแต่ยังเป็นอาณาจักรสมัยโบราณ มีการศึกษาประวัติศาสตร์โดยอาศัยนิทานพื้นบ้านของชาวไทดำ ไทขาว ลื้อดำ ลาวลื้อ ปายี และคนไท(ไต)ในสุโขทัย ในรูปแบบของตำนาน เช่น ตำนานน้ำเต้าน้ำปุง และนิทานพญาแถน ผู้เขียนคือสุเทพ ไชยขันธ์ ได้เดินทางไปค้นคว้าดัวยตนเองบันทึกเรื่องราวที่ได้พบจากการไปพักอาศัยในชุมชนต่างๆของชาวผู้ไทในหลายๆ ประเทศมาเรียบเรียง เพื่ออธิบายอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผ่านวรรณกรรมพื้นบ้านของผู้ไทนานาชาติหลากหลายกลุ่มที่กระจัดกระจายอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ภาษาผู้ไทเพื่อสุขภาพ : ผู้ไท-ไทย-อังกฤษ ธัญญลักษณ์ ไชยสุข มอลเลอร์รพ และ Asger Mollerup กรุงเทพฯ : บางกอก อิมเมจ แอดเวอร์ไทซิ่ง, 2556 Books PL4195.ผ7ธ62 2556 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081379 ภาษาผู้ไทเพื่อสุขภาพนำเสนอภาษาที่ชนเผ่าผู้ไทในแถบอำเภอเขาวงจังหวัดกาฬสินธุ์ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  อยู่ในตระกูลไท-กะได(Tai-Kadai) แปลเป็นสามภาษาด้วยกันคือ ผู้ไท-ไทย-อังกฤษ มีตารางการเปรียบเทียบตัวอักษรและวรรณยุกต์เพื่อศึกษาการออกเสียง โดยใช้การบันทึกเสียงและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์เป็นกราฟ รวมทั้งคำศัพท์ที่จะช่วยให้สื่อสารอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  เพราะผู้สูงอายุและกลุ่มชนเผ่ายังอนุรักษ์การใช้ภาษาดั้งเดิมจึงเป็นปัญหาสำหรับบุคลากรที่มาจากถิ่นอื่นซึ่งไม่คุ้นเคย
 
ผู้ไท ลูกแถน : ความเป็นมาคนอีสาน ภาคพิเศษ สุเทพ ไชยขันธุ์ กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2556 Books DS570.ผ7ส77 2556 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078568 ผู้ไทคือใคร มาจากไหน และชีวิตความเป็นอยู่รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีนั้นเป็นอย่างไร คำตอบอยู่ในหนังสือผู้ไท ลูกแถน ซึ่งสุเทพ ไชยขันธ์ ได้รวบรวมและทำการศึกษาเรื่องราวของชาวผู้ไทที่ข้ามแม่น้ำโขง อพยพเรื่อยมาตั้งแต่อดีต จนมาตั้งถิ่นฐานในสยามอย่างถาวร กลายมาเป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์ มีภาษา วัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามชาวผู้ไทไม่ได้มีเฉพาะแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังกระจัดกระจายอยู่ที่เวียดนาม(เดียนเบียนฟู) ลาว(เวียงจันทน์) ก่อนจะเลยมาถึงสิบสองปันนา และในประเทศไทยตามจังหวัดดังกล่าวต่อไปนี้ นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี บึงกาฬ ศรีสะเกษ มหาสารคามสุดท้ายคือจังหวัดสกลนครซึ่งมีคนผู้ไทมากที่สุดในประเทศไทย
ผ้าทอผู้ไทย ประทับใจ สิกขา อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2554 Books TT848 .ป563 2554 ฉ.2 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074616 ผ้าทอผู้ไทยคือวัฒนธรรมประเพณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวผู้ไทย โดยหนังสือผ้าทอผู้ไทยได้นำเสนอประวัติชาวผู้ไทย วัฒนธรรมการแต่งกาย การทอผ้า ขั้นตอนการย้อมผ้าด้วยเปลือกไม้ การย้อมคราม และภาพถ่ายลวดลายผ้าทอที่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่ชาวผู้ไทยอาศัยอยู่ ซึ่งในที่นี้จะนำเสนอผ้าทอชาวผู้ไทยในแถบภาคอีสานแบ่งตามจังหวัดดังนี้ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
 
เลี้ยงผีผู้ไท ทีวีไทย ทีวีไทย กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] Audio Visual Materials CDF 000769 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070921 ทุกชุมชนมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของตัวเอง เช่นเดียวกับชาวผู้ไทที่บ้านโนนยาง อำเภอหนองสูงจังหวัดมุกดาหาร ก็จะมีพิธีเหยา และการเลี้ยงผีเหยา หรือที่เรียกว่าการรักษาอาการเจ็บป่วยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วยอำนาจของผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ รายการพันแสนรุ้ง ตอนเลี้ยงผีผู้ไทได้ติดตามเพื่อศึกษาพิธีกรรมของหมอเหยา ซึ่งหมอเหยาจะเป็นผู้รักษาทำการเรียกขวัญให้กับคนป่วย และเชื่อว่าความเจ็บป่วยที่รักษาไม่หายเกิดขึ้นจากการกระทำของผี หมอเหยาถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือหมอลำหรือหมอเหยาผีดอกไม้ หมอเหยากลุ่มนี้จะใช้น้ำหอมกลิ่นหอมติดต่อกับผีรักษาอาการเจ็บป่วย กลุ่มที่สองคือหมอเหยาผีขี้เหล้า จะใช้เหล้าติดต่อสื่อสารกับวิญญาณ และกลุ่มที่สามหมอเหยาเอาฮูปเอาฮอย ในกลุ่มนี้จะสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติในพิธีงานบุญสำคัญ เช่นงานบุญผะเหวด
 
ผู้ไทบ้านโนนยาง ทีวีไทย ทีวีไทย กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] Audio Visual Materials CDF 000768 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070920 คนผู้ไทนับถือผี นับถือธรรมชาติ และนับถือพุทธ รายการพันแสงรุ้งนำเสนอเรื่องราวของชาวผู้ไทที่อาศัยอยู่ในบ้านโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางประการไปตามยุคสมัย และกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชาวผู้ไทที่อพยพมาจากเวียดนามและลาวจนมา ตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทย เล่าถึงประเพณี ชีวิต อาหารการกิน อาชีพ และการละเล่น การนับถือผีบรรพบุรุษ   โดยเฉพาะประเพณีสำคัญคือประเพณีงานบุญเดือน 6 หรือบุญผะเหวดที่ยังคงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  
เอาฮูปเอาฮอย ทีวีไทย ทีวีไทย กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] Audio Visual Materials CDF 000770 กล่าวถึงประเพณีการเสี่ยงทาย หรือการระเล่นผีป่าเป็นหนึ่งในการละเล่นในงานบุญผะเหวด ปัจจุบันพบได้เฉพาะที่วัดพิจิตรสังฆาราม ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร มีการตกแต่งธงนานาชนิดบนศาลาวัด มีเทศมหาชาติและกองบุญเพื่อชักชวนน้องบ้านใกล้เรือนเคียงมาทำบุญร่วมกัน และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการละเล่นตามความเชื่อดั้งเดิมคือเอาฮูปเอาฮอย ฮูป ฮอยคือหัวแทนของเพศชายและเพศหญิง สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ คนผู้ไทอาศัยน้ำฟ้าทำงาน ทำไร่นา การละเล่นหรือประเพณีงานบุญจึงเป็นงานที่ทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ และยังเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษ เจ้าปู่ตาที่เชื่อกันว่าเป็นผู้คุ้มครองดูแลคนในชุมชนให้ปลอดภัยอยู่ดีมีสุข
 
ทัศนคติของเยาวชนต่อประเพณีแต่งงานของชาติพันธุ์ผู้ไทยและญ้อ ชยา ภาคภูมิ สาขาวิชา การวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วจ 323.1593 ช46ท https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=70098&query= งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงประเพณีแต่งงานของชาติพันธุ์ผู้ไทย อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และชาวญ้อ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในอดีตและปัจจุบัน และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อประเพณีแต่งงาน ของเยาวชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย และญ้อ ที่มีระดับการศึกษาและเพศที่แตกต่างกัน วิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดการกลมกลืนของวัฒนธรรมอื่นที่เข้ามาสอดแทรกในประเพณีการกินดอง แต่ยังคงไว้ซึ่งคติความเชื่ออันดีงามเช่น การไหว้ผีบรรพบุรุษ การทำบายศรีสู่ขวัญ การเตรียมเรือนหอหรือห้องหอที่บ้านเจ้าสาว การเฆี่ยนเขย  และเพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและสามารถปฏิบัติตนตามแบบประเพณีวัฒนธรรมที่ดี
ประเพณีกินดองของชาวภูไท ตำบลโพนทอง ตำบลเรณู ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อัมพร นันนวล สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ธบ072 ว2552 392.5 อ555ป https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=17027&query= ประเพณีกินดองหรือประเพณีแต่งงานของชาวภูไทเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน และคงเอกลักษณ์ของตนไว้ด้วยการมีคำสอนเจ้าบ่าวที่เรียกกันว่า คำเฆี่ยนเขย งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาความเป็นมาของประเพณีกินดองของชาวภูไท ในตำบลโพนทอง ตำบลเรณู ตำบลเรณูใต้ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม และเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีกินดองไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรชาวผู้ไทยที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มผู้รู้ ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนเรณูนครวิทยานุกุล กลุ่มผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ล่ามผู้ประกอบพิธีในงานแต่งงาน และกลุ่มทั่วไป ได้แก่ ผู้อยู่ในพิธีกรรมประเพณีการกินดองของชาวภูไท
 
เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่องหลากหลายชาติพันธุ์รวมใจไทยเป็นหนึ่ง กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552 Books DS570.ก645 2552 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00072552 การบรรยายเรื่องหลากหลายชาติพันธุ์รวมใจไทยเป็นหนึ่ง กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย วิเคราะห์การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ศึกษาประวัติความเป็นมา ถิ่นที่อยู่ ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา  กลุ่มชาติพันธุ์ที่นำมาบรรยายประกอบไปด้วยชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ที่อพยพมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชาวเลแห่งอันดามัน หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามเกาะและริมฝั่งทะเลในประเทศไทย และชนชาติมอญในสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชาติที่พูดภาษามอญ-เขมร แบ่งออกเป็นสองพื้นที่ ได้แก่ มอญในดินแดนไทย และมอญในดินแดนพม่า
รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ตามระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก กรณีศึกษาตาม - กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552 Research and Thesis G155.A1ร64 2552 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00065688 รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ตามระเบียบเศรษฐกิจตะวันออก –  ตะวันตก กรณีศึกษา ตามเส้นทางหมายเลข 12 และ 9 ได้ทำการศึกษาบริบทและศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านชาติพันธุ์ ตามพื้นที่ดังนี้ ชนเผ่าแสก ชนเผ่าไทยกวน และชนเผ่าผู้ไทยที่จังหวัดนครพนม ชนเผ่าโส้ บ้านหนองยางน้อย จังหวัดมุกดาหาร ตามเส้นทางหมายเลข 12 ในลาวและเวียดนาม เริ่มจากเมืองท่าแขก จังหวัดคำม่วน และจังหวัดกวางบิงห์ ประเทศเวียดนาม เส้นทางหมายเลข 9 เริ่มต้นจากเมืองท่าแขก จังหวัดคำม่วน ถึงจังหวัดกวางตริประเทศเวียดนาม คณะผู้ทำการวิจัยได้มีการวิเคราะห์ว่าการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านและเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆอย่างไร ซึ่งการศึกษามีด้วยกัน 3 ด้าน คือเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการท่องเที่ยวเช่น ประเพณีงานบุญต่างๆ รวมถึงสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ทำมือจากธรรมชาติ  ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
 
การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนชาวภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ลักษณากร สัตถาผล ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา ม.ร. ล2278 2550 https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=42932&query= ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวภูไท ทั้งในด้านศาสนา เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนชาวภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และชาวภูไทที่อยู่นอกเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ คือหมู่บ้านหนองกุง และหมู่บ้านป่าโจด จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการความเชื่อ วิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมที่มีอิทธิพลต่อชาวภูไท ตลอดจนรวบรวมข้อมูลประเพณีต่างๆเพื่อบันทึกเป็นหลักฐานการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต โดยผลการศึกษาในงานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้แบ่งเป็น 5 ประเพณีใหญ่ๆ ที่ยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบันมีดังนี้ ประเพณีบุญเดือนสาม มีความสำคัญกับวิถีชีวิตสังคมเกษตรกรรมของชาวภูไท พิธีเลี้ยงเจ้าปู่มเหสักข์และพิธีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีการเหยา หรือการรักษาโรคที่เกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติที่ดลบันดาลให้เกิดการเจ็บป่วย ประเพณีงานแต่งงาน และสุดท้ายคือประเพณีงานศพ
 
คติความเชื่อและระบบสังคมกับการปลูกสร้างเรือนพื้นบ้านและชุมชนผู้ไท นพดล ตั้งสกุล และ จันทนีย์ วงศ์คำ ขอนแก่น : ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548 Books GR 490 .น33 2548 https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044171 งานวิจัยชุดนี้ได้กล่าวถึงวิถีชีวิตและคติความเชื่อผ่านทางวัฒนธรรมการสร้างที่อยู่อาศัยในแบบของชาวผู้ไท โดยผู้เขียนได้ให้คำนิยามว่าเรือนเป็นเครื่องหมายแห่งพลังและความรุ่งโรจน์ของผู้ไท รูปแบบเรือนของชาวผู้ไทสามารถแบ่งได้ดังนี้ เฮือนหัวลอย เฮือนเปิง และเฮือนชั่วคราว ซึ่งเรือนทั้งสามแบบจะแบ่งตามประเภทของการใช้งาน มีการสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนถึงคติความเชื่อและแนวคิดในการปลูกเรือน แต่ด้วยแนวโน้มของการพัฒนาประเทศจากสังคมเมืองสู่ชนบททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน กรอบแห่งประเพณีและจารีตที่สืบต่อกันมาลดลงจึงทำให้เรือนที่สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติถูกทดแทนด้วยบ้านแบบสมัยใหม่มากขึ้น 
สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ผู้ไทย สมใจ ดำรงสกุล นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, [2546] Books DS570.ผ7ส49 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063183 สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาวผู้ไทจากการสัมภาษณ์ การออกภาคสนาม และร่วมสังเกตการณ์ในงานประเพณีงานบุญต่างๆ ซึ่งได้ศึกษาจากชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร นำมารวบรวมเรียบเรียงเป็นประวัติความเป็นมาของชาวผู้ไทย อธิบายการแพร่กระจายของประชากรที่อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยไปจนถึงที่อยู่อาศัยและลักษณะบ้านเรือน ภาษา การแต่งกายเครื่องนุ่งห่ม การทำมาหากิน ศาสนาและความเชื่อ เช่น การเลี้ยงผี การฟ้อน
การตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ อมรรัตน์ วันยาว สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วจ 495.91152 อ44ก https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=57945&query= ภาษาในการตั้งชื่อสะท้อนถึงความดีงาม ลักษณะสังคม และวิถีชีวิต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีความมุ่งหมายในการศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางด้านโครงสร้างทางภาษา ที่มาของคำที่ใช้และความหมายของชื่อเพื่อศึกษาภาพสะท้อนทางสังคมด้านค่านิยม และความเชื่อจากการตั้งชื่อบุคคล โดยมีแนวคิดในการศึกษาค้นคว้าด้วยกัน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. โครงสร้างทางภาษาเกี่ยวกับจำนวนพยางค์ของคำที่นำมาตั้งชื่อ 2. ที่มาของการตั้งชื่อ (ว่าเป็นภาษาใดเช่น ไทย, บาลี, สันสกฤต) 3.ความหมายของคำที่นำมาตั้งชื่อ ซึ่งกรอบแนวคิดนี้จะเป็นเกณฑ์เพื่อนำมาเปรียบเทียบการตั้งชื่อบุคคลในแต่ละกลุ่มอายุ
ชนเผ่าผู้ไทยกับการมีบทบาททางการเมืองบนเทือกเขาภูพานระหว่างปี พ.ศ.2488-2523 ปิยะมาศ อรรคอำนวย มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545 Research and Thesis DS589.ผ7ป63 2545 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00032869 วิทยานิพนธ์เล่มนี้นำเสนอบทบาททางการเมืองของชนเผ่าผู้ไทยหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คือในปี พ.ศ. 2488-2499 ชาวผู้ไทยได้เข้ามามีบทบาทร่วมกับขบวนการเสรีไทยในภาคอีสาน ประกอบไปด้วยชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์คือต่อต้านญี่ปุ่น และเพื่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเห็นใจที่จะมองเอกราชและประชาธิปไตยให้แก่ประเทศไทย และกล่าวถึงการเข้ามามีบทบาททางการเมืองของชนเผ่าผู้ไทยร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ความตื่นตัวทางการเมือง แนวคิดที่เป็นปัจจัยผลักดันให้ชาวผู้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2500-2523
 
รายงานโครงการวิจัย สัญลักษณ์ "ผี" ในความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวผู้ไท พิเชฐ สายพันธ์ [ปทุมธานี] : สถาบันไทคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545 Research and Thesis DS570.ผ7พ62 2545 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056270 รายงานโครงการวิจัยในปีที่ 2 นี้ กล่าวถึงลำดับความสำคัญของผีในวัฒนธรรมของชาวผู้ไท และความเชื่อในเรื่องผี ตั้งแต่ผีผู้เป็นที่เคารพสักการะเช่น เจ้าปู่มเหศักดิ์ ปู่ถลา นางผีเทียมฟ้า ไปจนถึงผีบรรพบุรุษ และผีซึ่งเป็นญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งในรายงานวิจัยเล่มนี้ได้ศึกษาพิธีศพ และความตายจากกลุ่มผู้ไทเรณูนคร จังหวัดนครพนม และแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พิธีศพ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ภาคอีสาน โดยยกตัวอย่างของชาวไทดำ บ้านนาป่าหนาด ชาวแสก จังหวัดนครพนม ชาวย้อในเขต จังหวัดนครพนม และสกลนคร
รูปแบบประเพณีงานศพของชาวผู้ไทยเรณูนครอำเภอเรณู จังหวัดนครพนม ปรางทอง ดีวงษ์ สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วจ 393 ป46ร https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=66739&query= ไม่ว่าจะอดีตหรือปัจจุบันประเพณีพิธีกรรมในชีวิตของชาวผู้ไทยก็ยังคงปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต กล่าวได้ว่าเป็นประเพณีสุดท้ายในชีวิตของบุคคลนั้นๆ ในงานวิจัยอิสระนี้จะกล่าวถึงเรื่องประเพณีงานศพของชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จุดมุ่งหมายคือเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบประเพณีงานศพที่มีความเชื่อต่างถิ่นเข้ามาผสมผสาน อันมีสาเหตุมาจากการสื่อสาร การศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ พื้นที่ที่ทำการศึกษา มีจำนวนทั้งหมด 12 หมู่ในตำบลเรณูนคร และกลุ่มตัวอย่างคือผู้รู้ หรือผู้อาวุโสทั้งชายหญิงเพื่อดำเนินการค้นคว้าและเก็บรวบรวมองค์ความรู้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
“ผู้ไท” ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ใน วารสารจุลสารไทยคดีศึกษา พิเชฐ สายพันธ์ - Journal จุลสารไทยคดีศึกษา. ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (พ.ย.2544-ม.ค.2545), หน้า 44-52 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00067328 บทความนี้ศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทที่ยังเป็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ว่า แท้ที่จริงแล้ว ผู้ไทในสยามนั้นมีที่มาจากไหน และใครคือบรรพบุรุษของชาวผู้ไท และเป็นผู้ไทกลุ่มเดียวกับผู้ไทในที่อื่นๆหรือไม่ เนื่องด้วยคำว่าผู้ไทนั้น ใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยหลายๆกลุ่มรวมกันที่ใช้ภาษาตระกูล ไท- กะได  ผู้เขียนจึงได้ยกเอาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาวผู้ไทที่กระจายตัวอยู่ในเขตรอยต่อภาคเหนือของประเทศลาว กับเวียดนาม(สิบสองจุไท) มาพิจารณาหาความเหมือน และแตกต่างที่เป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของผู้ไทในประเทศไทย เช่น พงศาวดารเมืองแถง พงศาวดารเมืองไล ตำนานน้ำเต้าน้ำปุง เอกสารของพระโพธิวงศาจารย์ เป็นต้น
วรรณยุกต์ภาษาอีสาน(ลาว) ที่พูดโดยคนอีสาน ผู้ไทย และโซ่ ในชุมชนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลน พรสวรรค์ นามวัง [กรุงเทพฯ] : สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544 Research and Thesis PL4195.ส2พ45 2544 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00041470 เนื่องจากในชุมชนมักจะมีหลายกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่ละกลุ่มชนก็มีภาษาแม่เป็นของตนเอง ดังนั้นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษากลาง ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาและวิเคราะห์ภาษาอีสาน (ลาว) ที่พูดโดยคนอีสาน คนผู้ไทย และคนโซ่ ในชุมชนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ว่าคนทั้งสามกลุ่มนี้มีการใช้ภาษาที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไรเมื่อใช้ภาษาอีสานในการติดต่อสื่อสาร และภาษาแม่ดั้งเดิมนั้นจะมีอิทธิพลต่อระบบเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษากลางหรือไม่ โดยจะศึกษาจากระบบวรรณยุกต์ และสัทลักษณ์ของวรรณยุกต์ในภาษาอีสานที่พูดโดยคนอีสาน คนผู้ไทย และคนโซ่ และใช้โปรแกรม Windows cecil ในการวิเคราะห์เสียงของผู้พูด ซึ่งจะเลือกใช้คำพยางค์เดียว หรือคำเดี่ยวมาใช้ศึกษาเป็นหลัก
รายงานโครงการวิจัยสัญลักษณ์ "ผี" ในความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาของชาวผู้ไท พิเชฐ สายพันธ์ [ปทุมธานี] : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544 Research and Thesis DS570.ผ7พ67 2544 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056699 กล่าวถึง ผี และความตายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวผู้ไท รายงานฉบับนี้จึงต้องการเปรียบเทียบประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชาวผู้ไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและประเทศลาว นำเสนอกรอบแนวคิดในด้านพิธีกรรมการนับถือผีของชาวผู้ไท ว่ามีผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมในชุมชนที่ชาวผู้ไทต้องเผชิญอย่างไร และอธิบายถึงการดำรงอยู่และกลไกของสัญลักษณ์ผีอย่างเป็นระบบ  เนื่องจากในปัจจุบันก็ยังคงให้ความสำคัญกับการนับถือผีแต่ก็มีศาสนาพุทธเข้ามาอยู่ร่วมกับคติความเชื่อเดิมภายในท้องถิ่นที่ตนอาศัย จึงทำให้ชาวผู้ไทมีต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ท่ามกลางภาวะสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 
ฟ้อนผู้ไท : พิธีกรรมการแสดงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พิเชฐ สายพันธ์ กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2543? Research and Thesis GV1703.ท9พ62 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00023554 การศึกษาการฟ้อนผู้ไท คือการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อชาวผู้ไทในเรณูนคร งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอความหมายและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยใช้พิธีกรรมการฟ้อนในฐานะที่เป็นละครทางสังคม และเพื่อเข้าใจกลไกทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นภูมิปัญญาของกลุ่มชาวผู้ไท โดยศึกษาด้วยการสัมภาษณ์จากคนในพื้นที่ และคนนอกพื้นที่ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องและนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลภาคสนาม เช่น จากที่มีการฟ้อนรำในงานบุญ ฟ้อนเพื่อความสนุกสนานผ่อนคลาย ปัจจุบันการฟ้อนรำได้กลายเป็นการแสดงชนิดหนึ่งที่นำเสนอขายแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการความแปลกใหม่ มีการนำเครื่องดนตรีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้นอกเหนือไปจากเครื่องดนตรีโบราณนอกจากนั้นการฟ้อนยังมีนัยสำคัญที่เชื่อมโยงถึงการปรับเปลี่ยนความเชื่อและวิถีชีวิตเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
การวิเคราะห์ชื่อสกุลในอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร สุนันทา หันชัยศรี สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วจ 929.259349 ส73ก 2542 https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=63994&query= ชื่อสกุลคือวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงการสืบเชื้อสายวงศ์วานว่านเครือ และยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมายระบุถึงตัวตน และบุคคลนั้นๆ ว่ามีที่มาจากที่ใด วิทยานิพนธ์เรื่องการวิเคราะห์ชื่อสกุลในอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จึงต้องการศึกษาวัฒนธรรมภาษาชื่อสกุล และโลกทัศน์ที่ปรากฏในชื่อสกุลที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษ อาชีพ สถานที่ คำมงคล ลักษณะท่าทาง ลักษณะทางธรรมชาติ ศาสนา หรือแม้แต่สิ่งเร้นลับเหลือธรรมชาติ แนวคิดการตั้งชื่อสกุลสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และเพื่อทำความเข้าใจในสังคมของกลุ่มชนต่างๆที่อาศัยอยู่ในอำเภอดงหลวงที่มีความเชื่อแตกต่างกันออกไป ประกอบไปด้วยชาวไทยอีสาน ชาวผู้ไทย ชาวไทยข่า(บรู) ชาวไทยกะโซ่ และชาวไทยย้อ
ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเมืองเรณูนคร วิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 Research and Thesis HT169.น2ว62 2542 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043108 กล่าวถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไท เมืองเรณูนคร จังหวัดนครพนม เทียบกับชาวผู้ไทบ้านหนองโอ่งใหญ่ และที่ตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูงจังหวัดมุกดาหาร เน้นองค์ประกอบพิจารณา 5 ประเด็นดังนี้ ด้านสังคมการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านกายภาพ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามยุคด้วยกันคือ ยุคดั้งเดิมที่ใช้ธรรมเนียมลาวโบราณ (พ.ศ.2387-2446) ยึดถือประเพณีและจารีตเป็นสำคัญ ยุคที่สองคือยุคของการเปลี่ยนแปลง (พ.ศ.2447-2488) การปกครองเป็นนโยบายการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางจากเจ้าเมืองมาเป็นนายอำเภอ แต่คติความเชื่อและวัฒนธรรมยังคงเป็นที่ยึดถือของคนในท้องถิ่นดังเดิม และยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2489-2542) ที่สังคมเมืองมีความซับซ้อนขึ้น เพราะการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม การดำเนินชีวิตจึงปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยมีความเป็นปัจเจกมากกว่าจะวัฒนธรรมร่วมที่เคยยึดถือกันในชุมชน
 
บทบาทเครือญาติของชาวผู้ไทบ้านธาตุ อำเภอภาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร วิภาดา อินทรพานิชย์ มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542 Research and Thesis DS589.ผ7ว64 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043377 บทบาทเครือญาติของชาวผู้ไทบ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครได้ทำการศึกษาถึงโครงสร้างและกฏเกณฑ์ในระบบการสร้างเครือญาติของชาวผู้ไทด้วยการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย คือหัวหน้าครอบครัวชาวผู้ไท จำนวน 50 คน ผู้อาวุโสของตระกูลหลัก 12 ตระกูล ตระกูลละ 1 คน พบว่าโครงสร้างครอบครัวของชาวผู้ไทมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ซึ่งหมายความว่าชาวผู้ไทบ้านธาตุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนครนี้มักไม่มีการแต่งงานแยกครอบครัวออกไปเหมือนกับชนเผ่าอื่นๆ แต่จะแต่งงานและอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีการลำดับเครือญาติซึ่งจะบอกสถานภาพของบุคคลนั้นๆ ภายในครอบครัว มีกฏการสืบเชื้อสาย มีการถ่ายทอดประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อผ่านทางวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย 
ภาษาภูไทเมืองเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ นครพนม : โรงเรียนเรณูวิทยาคาร, 2541? Books PL4191.ช64 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031979 หนังสือภาษาภูไท เมืองเรณูนคร อธิบายการใช้ภาษาภูไท โดยนำพยัญชนะในภาษาภูไท และภาษาไทยมาเปรียบเทียบกัน ศึกษาการออกเสียง การใช้คำ การลำดับคำสรรพนาม ลักษณะนามในภาษาภูไท โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มด้วยกันคือลักษณะนามที่ใช้กับคน และลักษณะนามที่ใช้กับสิ่งของ มีการประมวลคำศัพท์ที่ใช้พูดกันในภาษาภูไทเมืองเรณูนคร เช่น คำที่ใช้เรียกวงศาคณาญาติ คำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ ร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร กิริยาอาการ เครื่องแต่งกาย ยวดยานพาหนะ และปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
 
การกิ๋นดองฮองภูไทเมืองเว (แต่งงานชาวภูไทที่เมืองเรณูนคร), เขยและคำเฆี้ยนเขยภูไท (เขยและคำสอนเขยภูไทเ ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ นครพนม : โรงเรียนเรณูวิทยาคาร, 2541 Books DS570.ภ7ช64 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031981 การกิ๋นดองฮองภูไทเมืองเว คือหนังสือที่รวบรวมประเพณีการแต่งงานของชาวภูไทเมืองเรณูนคร (จังหวัดนครพนม) พิธีแต่งงานของชาวภูไทเป็นพิธีที่มีแบบแผนขั้นตอน ตั้งแต่หนุ่มสาวเริ่มปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ การหาพ่อล่าม การทำพิธีแต่งงาน นอกจากนั้นยังกล่าวถึงฮีตหรือประเพณีที่ใช้สำหรับหนุ่มสาวที่หนีตามกันหรือแค่ผู้ข้อไม้ข้อมือกันโดยไม่ได้ผ่านพิธีแต่งงาน และสุดท้ายคือคำเฆี่ยนเขย หรือคำสอนเขยภูไท ซึ่งพ่อล่ามจะทำการเฆี่ยนเขยด้วยเงื่อนไขข้อสัญญา นัยว่าเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวผู้ไทยึดถือและปฏิบัติกันมา
 
สถานภาพและบทบาทหมอเหยาในสังคมชาวผู้ไทย : ศึกษากรณีบ้านหนองบัว ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร สุรเดช ปริโต มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2541 Research and Thesis GN477.ส74 2541 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057569 กล่าวถึงสถานภาพและบทบาทหมอเหยา โดยเป็นการศึกษาหมอเหยาที่บ้านหนองบัว ตำบลบึงทวาย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เพื่อศึกษาวิธีการเข้าสู่สภาพหมอเหยาและบทบาทในสังคมของชาวผู้ไทย ถึงแม้ว่าปัจจุบันการรักษาพยาบาลจะก้าวหน้าด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ แต่การรักษาด้วยพิธีกรรมแบบดั้งเดิมของชาวผู้ไทยก็ยังคงอยู่ เพราะความเชื่อที่ว่าความเจ็บป่วยด้วยอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาตินั้นจะแก้ไขได้ด้วยการให้หมอเหยารักษาไม่ใช่วิธีทางการแพทย์ การศึกษาเรื่องหมอเหยาจึงถือว่าเป็นการอนุรักษ์และรวบรวมความรู้ที่เป็นความเชื่อ ภูมิปัญญา หน้าที่บทบาทของหมอเหยาที่ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
 
การศึกษาเปรียบเทียบระบบวรรณยุกต์ในภาษาของคน "ลาว" คน "ญ้อ" และคน "ผู้ไท" ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพน พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 Research and Thesis PL4191.พ63 2541 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037650 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาระบบวรรณยุกต์ในภาษาของคนลาว คนญ้อ และคนผู้ไทที่อาศัยอยู่ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ระบบวรรณยุกต์ด้วยการฟัง และวิเคราะห์สัทลักษณะของวรรณยุกต์ด้วยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ หรือการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเสียงในภาษาพูดเพื่อหาข้อสรุปว่า ในบริเวณที่มีคนพูดภาษาต่างกันแต่ภาษาอยู่ในตระกูลเดียวกัน แต่ละภาษาจะยังคงความแตกต่างของวรรณยุกต์ไว้ได้หรือไม่ และมีการแปรของวรรณยุกต์คล้ายคลึงกันหรือไม่ ถ้ามีจะมากน้อยเพียงใด มีการแสดงตารางของภาษาเน้นศึกษาจากคำพยางค์เดียวมาเป็นต้นแบบและเปรียบเทียบกันทั้งสามภาษาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
 
การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนคร = Fon Puthai in Renu Nakhon พจน์มาลย์ สมรรคบุตร 2541 Research and Thesis GV1703.ท9พ23 2541 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045318 การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนคร เป็นธรรมเนียม ขนมประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต สามารถแบ่งได้ดังนี้ การฟ้อนเพื่อรักษาโรค การฟ้อนเพื่อการละเล่นในงานรื่นเริง แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การฟ้อนที่เคยเป็นประเพณีได้กลายเป็นเพียงศิลปะการแสดงแขนงหนึ่งที่ยังพบเห็นได้ในงานต่างๆ วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงเน้นศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการท่าฟ้อนของชาวผู้ไทยในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ระหว่างพ.ศ. 2539-2540 โดยทำการค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการและลงภาคสนามเพื่อบันทึกภาพและสังเกตการณ์ รวมทั้งสัมภาษณ์จากบุคลากรที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้แสดง นักดนตรี ผู้ทำการฝึกซ้อมหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการฟ้อนผู้ไทย เพื่อทำการรวบรวมให้เป็นองค์ความรู้และเป็นสมบัติทางวิชาการของนาฏยศิลป์ไทยสืบต่อไป
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท : หอเย็น วัดสิมนาโก - มหาสารคาม : นางนวลออฟเซ็ท, 2541 Books AM79.ท9พ63 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033326 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไทนำเสนอเรื่องราวกลุ่มชนเผ่าไทย-ลาวที่อาศัยอยู่บ้านนาโก จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวถึงประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความเชื่อในการบำบัดรักษาด้วยการเรียกขวัญ ปลอบขวัญ ปัจจุบันคือพิธีกรรมเหยาของชาวผู้ไท ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย และเน้นบทบาทของ แม่หญิง อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลเรือน การทอผ้าที่จะใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน  งานฝีมือหัตกรรมจักรสาน หรือที่รู้จักกันในชื่อโมย
ฟ้อนรำภูไทเมืองเรณูนคร : อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ นครพนม : โรงเรียนเรณูวิทยาคาร, 2541 Books GV1703.ท9ช64 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031976 การฟ้อนรำภูไทเป็นการแสดงและการละเล่นที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเชื่อและประเพณีของชาวภูไทเมืองเรณูนคร ปัจจุบันคือตำบลเรณู อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีความเป็นมาดั้งเดิมคือถือว่าเป็นการฟ้อนเพื่อเฉลิมฉลองและนมัสการองค์พระธาตุเรณู  ถวายพระยาแถนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ศิลปวัฒนธรรมการฟ้อนรำพื้นเมืองแบบชาวภูไทไม่ได้เน้นความสวยงามหรือความพร้อมเพรียง แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนที่แสดงออกมาของแต่ละบุคคล มีด้วยกัน 19  ท่า ซึ่งส่วนใหญ่เลียนแบบท่าทางเคลื่อนไหวของสัตว์ เช่น ท่าเสือชมหมอก ท่าลมพัดพร้าว ต่อมาในปี พ..2498 ชาวเผ่าต่างๆ ได้มีโอกาสนำศิลปะการฟ้อนรำไปแสดงถวายหน้าที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ หนึ่งในนั้นก็คือการฟ้อนรำประเพณีภูไท
 
การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีเหยา ของชาวผู้ไท ศึกษากรณีชาวผู้ไท อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ทรงคุณ จันทจร มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540 Research and Thesis DS589.ผ7ท42 2540 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037644 งานวิจัยเล่มนี้ศึกษาความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมในการรักษาผู้ป่วยด้วยพิธีเหยา และศึกษาบทบาทของหมอเหยาของชาวผู้ไทย โดยใช้กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นกรณีศึกษา มีการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของหมอเหยาและชาวบ้าน เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ว่าพิธีเหยานั้นมีความสำคัญ และมีบทบาททางสังคมในกลุ่มชาวผู้ไทยอย่างไร การเหยาคือการักษาคนป่วยด้วยการเรียกขวัญ เพราะชาวผู้ไทยเชื่อว่าการเจ็บป่วยนั้นเชื่อมโยงกันระหว่างร่างกายและจิตใจ รวมทั้งอำนาจผี เทวดาที่ก่อให้เกิดอาการป่วยไข้ ดังนั้นการเหยาจึงถือเป็นการรักษาพยาบาลชนิดหนึ่งที่สืบทอดกันมาในสังคมชาวผู้ไทยจนถึงปัจจุบัน
ผญาของชาวผู้ไทย กิ่งอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สุเนตร วีระภัทร วิชาเอกไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วจ 895.91003 ส73ผ 2538 https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=66197&query= ผญาตามความหมายของชาวอีสานหมายถึงคำพูด ถ้อยคำเชิงอุปมา อุปไมย เป็นบทร้อยกรองสั้นๆ และเป็นได้ทั้งคติ สุภาษิต หรือสำนวน กล่าวได้ว่าเป็นคำพูดที่แฝงไปด้วยความงามทางภาษา ผญาของชาวผู้ไทยก็มีบทบาทและความสำคัญเช่นเดียวกัน และผญาของชาวผู้ไทยในที่นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวม จัดประเภท วิเคราะห์รูปแบบเนื้อหาสาระผญาของชาวผู้ไทยที่กิ่งอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งผญาของชาวผู้ไทยจัดประเภทได้ ดังนี้ ผญาภาษิต ผญาคำพังเพย ผญาเกี้ยว และผญาอวยพร แต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตในด้านศาสนา ด้านครอบครัวการครองเรือน การทำมาหากิน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการกล่าวในพิธีมงคลต่างๆ มีความไพเราะคมคาย ผญาจึงนับเป็นวรรณกรรมอีกชิ้นที่สะท้อนถึงแนวคิด และชีวิตของชาวผู้ไทยผ่านถ้อยคำ
รายงานการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงวิถีครอบครัวและชุมชนอีสาน : กรณีผู้ไทย สุวิทย์ ธีรศาศวัต [ขอนแก่น] : ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2538 Research and Thesis DS570.ผ73ส75 2538 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00031670 กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในบ้านหนองโอใหญ่ ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัด มุกดาหาร และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวิถีครอบครัวที่เปลี่ยน จากสังคมเกษตรกรรมหรือทำไร่ไถนาอย่างคนรุ่นเก่า ไปเป็นอาชีพผสมหรืออาชีพอื่นๆที่สามารถทำรายได้ เลี้ยงครอบครัวได้มากกว่า รวมทั้งประเพณี จารีตที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิมของชาวผู้ไทยบางอย่างก็ถูกยกเลิก ด้วยปัจจัยหลายๆประการ งานวิจัยเล่มนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดจนวัฒนธรรมดั้งเดิม มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา  
อาหารของชาวผู้ไทยอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ปิติ แสนโคตร วิชาเอกไทยศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม วจ 641.5 ป73อ 2537 https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=66853&query= ชาวผู้ไทยมีความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ดีและไม่ดีในภาวะต่างๆ งานวิจัยฉบับนี้จึงต้องการศึกษาคติความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของชาวผู้ไทยที่อาศัยอยู่ในอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และศึกษาแหล่งที่มาของอาหารซึ่งส่วนมากเป็นอาหารที่ได้จากภูเขา ทุ่งนา แหล่งน้ำ รวมถึงกรรมาวิธีการปรุงอาหาร และยังกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้การบริโภคอาหารตามแหล่งธรรมชาติเหล่านี้ลดลงซึ่งอาจส่งผลกระทบให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวผู้ไทยเปลี่ยนแปลงไป การวิจัยทำโดยการสำรวจและสัมภาษณ์จากกลุ่มประชากรที่เป็นชาวผู้ไทยโดยกำเนิด และสำรวจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ที่จะทำให้สามารถอธิบายถึงพัฒนาการด้านการบริโภคอาหารของชาวผู้ไทยได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาผู้ไทกับภาษาลาวโซ่ง อรพันธ์ อุนากรสวัสดิ์ [กรุงเทพฯ] : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536 Research and Thesis PL4191.อ43 2536 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006308 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาผู้ไท ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กับภาษาลาวโซ่ง ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยศึกษาจากลักษณะหน้าที่ของเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ อาศัยข้อมูลจากผู้ที่ยังใช้ภาษาผู้ไทและลาวโซ่งในชีวิตประจำวันมาทำการเปรียบเทียบว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อันอาจจะนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของชาวผู้ไทต่อไป
การแต่งกายของชาวผู้ไทยบ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรณี วงศ์จำปาศรี มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2536 Research and Thesis GT1520.ผ7พ44 2536 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036607 ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ได้มีการศึกษาชาวผู้ไทย บ้านกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับเรื่องคติความเชื่อในการแต่งกาย พบว่าการแต่งกายจะขึ้นอยู่กับวัยและโอกาส เช่น การออกไปงานบุญ ไปทำงาน ก็จะมีการแยกใช้ผ้าทอที่มีลักษณะแตกต่างกัน แบ่งตามรูปแบบได้ถึง 6 ประเภทซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคติความเชื่อในการแต่งกายดังนี้ การทำเครื่องแต่งกาย คติความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องประดับ เครื่องนุ่มห่ม และการแต่งกายของชาวผู้ไทย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญและเชื่อมโยงกับชีวิตดังคำกล่าวที่ว่าเครื่องนุ่งห่มต่างๆล้วนเป็นของมีวิญญาณนี่คือความเชื่อของชาวผู้ไทยที่มีต่อการแต่งกายและการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ ซึ่งท้ายที่สุดเครื่องนุ่มห่มทั้งหลายเหล่านี้เมื่อหมดวาระการใช้งานแล้วก็จะถูกนำไปทิ้งยังโคนต้นไม้เพื่อให้เปื่อยและผุพังไปเองตามธรรมชาติ
ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ทวีพร สุวรรณราช วิทยาลัยครูอุบลราชธานี DDC: 417 ท213ร https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=7610&query= งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาและสำรวจเบื้องต้นถึงจำนวนภาษา และจำนวนผู้พูดภาษาท้องถิ่นที่เป็นภูมิลำเนาดั้งเดิมของตนในจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นบริเวณที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มชนตระกูลไทย-ลาว กลุ่มชนตระกูลมอญ-เขมร และที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่คือชาวจีน เวียดนาม และอินเดีย แต่นอกจากภาษาไทยถิ่นอีสานที่ใช้พูดกันแล้ว ผลจากการสำรวจยังพบว่ามีภาษาถิ่นอื่นๆอีกมาก เช่น เขมร บรู ส่วย และกุย ใช้พูดกันในบริเวณหมู่บ้านชายแดน แถบอำเภอน้ำยืน นาจะหล่วย โขงเจียม และภาษาภูไทย แถบอำเภอเสนางคนิคม และชานุมาน และด้วยความหลากหลายของภาษานี้ ภาษาจึงมีความเกี่ยวพันธ์อย่างลึกซึ้งกับวัฒนธรรม การเข้าใจภาษาช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรม การเข้าใจวัฒนธรรมก็จะสามารเข้าถึงจิตใจของเจ้าของวัฒนธรรมได้มากยิ่งขึ้น
 
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวผู้ไทย ศึกษาเฉพาะกรณีกิ่งอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร รัตนาภรณ์ พัศดุ มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2535 Research and Thesis DS589.ผ7ร63 2535 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036605 กล่าวถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวผู้ไทย ที่อาศัยอยู่ในกิ่งอำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร แต่เดิมชาวผู้ไทยกลุ่มนี้อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อ ในแขวงสุวรรณเขต  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งปัจจัยที่จะนำมาศึกษามีดังนี้ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยา รักษาโรค และด้านสังคม ได้แก่ ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา ความเชื่อ ผู้วิจัยได้ นำเสนอจากสภาพแวดล้อมและแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่ยังคงมีอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวผู้ไทย โดย ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เพื่อเป็นวิทยากรและให้ข้อมูลเบื้องต้น
 
ไท-อีสาน ใน วารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ วงศ์ พลนิกร - Journal รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับที่ 13 (เม.ย. 2534), หน้า 106-122 https://lib.sac.or.th/Catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00065416 คำว่าไท คือคนอีสานที่มีเชื้อสายไท เรียกตนเองว่าไท ตามด้วยชื่อท้องถิ่นที่ตนอาศัย เช่น ไท-อุดรธานี ไท-ร้อยเอ็ด ไท-โคราช ไท-เวียงจันทน์ ไท-หลวงพระบาง ไท-สุโขทัย ไท-อยุธยา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวบ้านที่อพยพโยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นั้นๆ บทความไท - อีสาน บรรยายถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องราวความเป็นมา ภูมิปัญญาความเจริญในทางศิลปะ วรรณคดี ประเพณี ตลอดจนวัฒนธรรมจารีตที่สืบทอดกันมา อธิบายถึงการจัดการปกครองหัวเมืองภาคอีสานในอดีต มีภาษาและตัวหนังสือที่ใช้กันในกลุ่มคนไท-อีสาน มีการนับถือศาสนานับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นความเชื่อดั้งเดิม มีขนบธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ
ภูมิศาสตร์ภาษาจังหวัดสกลนคร : การศึกษาโดยใช้ศัพท์ บัญญัติพร สมบัติเมืองกาฬ กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533 Research and Thesis PL4195.ส2บ62 2533 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00005776 กล่าวถึงภาษาถิ่นตระกูลไทในจังหวัดสกลนคร มีด้วยกัน 4 ภาษา คือ ภาษาย้อ ภาษาผู้ไทย ภาษากะเลิง และภาษาโย้ย ว่ามีการใช้พูดอยู่ในบริเวณท้องที่ใด เพื่อนำผลการศึกษามาทำแผนที่โดยอาศัยนำคำศัพท์มาเปนเกณฑ์เปรียบเทียบกัน ผลจากการสำรวจพบว่าทั้ง 4 ภาษานั้น พื้นที่บริเวณที่ใช้ศัพท์ต่างกันของภาษาถิ่นในสกลนคร แบ่งได้ 6 บริเวณในจังหวัดสกลนคร ดังนี้ ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้  ตะวันตก ภาคใต้ บริเวณตอนกลาง และบริเวณที่เป็นกระเปาะเล็กๆ ทางตอนเหนือของตอนกลางจังหวัดสกลนคร และการศึกษาในครั้งนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลคือการอนุรักษ์ภาษาไทยอันเป็นมรดกของชาติที่สำคัญ มุ่งเน้นการพัฒนาชนบทและการสื่อสารเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น
 
คติการปลูกเรือนผู้ไทย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ไพโรจน์ เพชรสังหาร 2531 Research and Thesis GR312.พ943 2531 https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00084809 งานวิจัยฉบับนี้ศึกษารูปแบบ ส่วนประกอบ โครงสร้างประโยชน์ใช้สอยของเรือนชาวผู้ไทย การวางผังบ้านการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้สอยในกิจกรรมต่างๆ การสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น ลานบ้าน ทางสัญจรภายใน เล้าข้าวหรือยุ้งข้าว ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นเสากลมแบบพื้นบ้าน หรือที่เรียกันว่าเสากลิ้งกลม โดยทำการศึกษาจากในท้องที่เขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธ์ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจแนวคิด ความเชื่อ และประเพณีของกลุ่มชาวผู้ไทยท้องถิ่น นอกจากนั้นยังมีประเพณีการขึ้นเรือนใหม่ มีความเชื่อเกี่ยวกับการฝังของมงคลภายในบริเวณบ้านเรือน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคติของชาวผู้ไทยที่ยังสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต
ภาษาถิ่นแถบภูพาน ทองคูณ หงส์พันธุ์ สกลนคร : วิทยาลัยครูสกลนคร, 2519 Books PL4191.ท52 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012412 ชนเผ่าในแถบพูพานกระจัดกระจายอยู่ในท้องถิ่นแถบสกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ หนังสือภาษาถิ่นแถบพูพานได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของภาษาในชนเผ่าทั้ง 7 เผ่า ซึ่งมีด้วยกัน 5 ภาษา ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน คือไทยแสก ไทยภูไท ไทยโซ่และไทยข่า(สองภาษานี้คล้ายคลึงกับภาษาเขมร) ส่วนไทยย้อ(ญ่อ,ไม่ปรากฏว่าเดิมมีเชื้อสายมาจากที่ใด แต่ภายหลังสืบได้ว่ามาจากเวียงจันทน์) ทั้งหมดนี้นำมาเปรียบเทียบกันเป็นสามภาษาคือ ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยอีสาน และอีก 5 ภาษาตามลำดับ เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาถิ่น