Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
"ลกข่อ" ประตูแห่งสวัสดิภาพหมู่บ้านอาข่า | สุชาดา ลิมป์ | - | สารคดี. ปีที่ 35, ฉบับที่ 414 (ส.ค. 2562), หน้า 134-135 : ภาพประกอบ | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057185 | สถาบันวิจัยชาวเขาร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์บ้านชาวเขา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับรูปแบบที่อยู่อาศัยของชาวเขาที่มีถิ่นฐานอยู่บนดอยสูงจำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ กระเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า ลัวะ ถิ่น ขมุ และมลาบรี ในบทความนี้ผู้เขียนให้ความสนใจในหมู่บ้านอาข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประตูหมู่บ้านที่เรียกว่า “ลกข่อ” ซึ่งถือเป็นประตูศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาข่าที่สร้างอยู่ทางด้านหน้าและด้านหลังของหมู่บ้าน เพื่อคุ้มครองปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรือสิ่งลี้ลับจากป่าไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้านได้ ประตูศักดิ์สิทธิ์นี้ประดับด้วยของที่เป็นมงคลหลายอย่าง เช่น ตุ๊กตาแกะสลักชาย-หญิง ไม้แกะสลักรูปนก หอก ดาบ และเฉลวซึ่งเป็นไม่ไผ่สานที่เชื่อว่าจะป้องกันภูติผีไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ประตูหมูบ้านนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หากใครละเมิดหรือลบหลู่ ชาวบ้านจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีที่ประตูเพื่อขอขมาต่อลกข่อนั่นเอง |
ซูเปอร์มาร์เกตอาข่า อาหารชาวดอย | วาสนา เพิ่มสมบูรณ์ | - | สารคดี. ปีที่ 32, ฉบับที่ 381 (พ.ย. 2559), หน้า 90-99 : ภาพประกอบ ISSN 08571538 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057185 | ผู้เขียนบทความถ่ายถอดเรื่องราววิถีชีวิตและวัฒนธรรมอาหารของชาวอาข่า ผ่านเรื่องเล่าซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้สัมผัสจากหมู่บ้านอาข่าในจังหวัดเชียงราย ชาวอาข่าแต่ละหมู่บ้านจะให้ความสำคัญกับป่าซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของผู้คนในหมู่บ้าน ในการเข้าป่าแต่ละครั้งผู้ชายจะมีหน้าที่เตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บของป่า ตกปลา หรือล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงก็มีหน้าที่จัดเตรียมเสบียงและอุปกรณ์ปรุงอาหารเพื่อทำกินในป่าระหว่างการเดินทาง นอกจากจะเข้าป่าเพื่อหาพืชผัก สัตว์น้ำ และสัตว์ป่าเพื่อนำกลับมาประกอบเป็นอาหารแล้ว ในการเดินป่าแต่ละครั้ง ชาวอาข่าที่มีความรู้ด้านยาสมุนไพร ก็จะเก็บพืชสมุนไพรเพื่อนำกลับออกมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรคอีกด้วย การเดินเข้าไปหาของป่าของชาวอาข่าจึงเทียบได้กับการเดินซุป เปอร์มาเก็ตของคนเมืองนั่นเอง |
พิธีกรรมบุญข้าวใหม่อาข่า | กฤติพงศ์ จูเปาะ | - | วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 36, ฉบับที่ 99 (ก.ย./ธ.ค. 2558), หน้า 69-71 : ภาพประกอบ | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00091883 | ข้าวเป็นหนึ่งในพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ชาวอาข่าปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ในการทำไร่นั้นชาวอาข่าจะบุกเบิกพื้นที่ป่าและใช้เพื่อเพาะปลูกเพียงหนึ่งหรือสองปี จากนั้นก็จะย้ายไปบุกเบิกพื้นที่ป่าแห่งใหม่ การทำไร่แบบนี้เรียกว่า “ไร่หมุนเวียน” ภูมิปัญญาการทำไร่ของชาวอาข่ามีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ การทำไร่แบบญ้านะ คือการบุกเบิกพื้นที่ทำไร่ด้วยการตัดโค่นต้นไม้และเผา อีกรูปแบบหนึ่งคือการทำไร่แบบญ้าเพ่อ คือการใช้พื้นที่ที่ผ่านการเพาะปลูกมาแล้วหนึ่งปีเพื่อทำไร่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากขั้นตอนในการทำไร่แล้ว ชาวอาข่ายังประกอบพิธีกรรมต่างๆ ควบคู่ไประหว่างที่รอผลผลิตตามความเชื่อดั้งเดิม เช่น พิธีโล้ชิงช้า พิธีเชิดชูผู้นำทางวัฒนธรรม พิธีแบ่งปันผลผลิตให้แก่ผู้นำพิธีกรรม พิธีกินข้าวใหม่ และพิธี “หมี่ จ่า คือ หมี เลอ-เออ” ซึ่งเป็นพิธีขออโหสิกรรมกับสิ่งมีชีวิตและเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำไร่ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา |
อ่าข่าเร่ขาย ชาติพันธุ์ ร่างกายกับความเป็นคนอื่นที่เลี่ยงไม่ได้ | ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ | เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558 | Books (7th floor) DS570.อ6พ94 2558 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00097613 | อ่าข่าเร่ขาย หมายถึง ชนบนพื้นที่สูงกลุ่มอาข่า ที่เดินเร่ขายสินค้าในเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะบริเวณตลาดไนท์บาซ่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ และค่านิยมของสังคมสมัยใหม่ ชี้นำให้เกิดความต้องการเงินสดในหมู่ชนบนพื้นที่สูงมากขึ้น จึงเกิดการหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในเมืองและธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องการหาประโยชน์จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว่าบ่อยครั้งพวกเขาจะถูกปฏิบัติอย่างไร้ไมตรี ทั้งจากผู้ค้าที่มีกิจการร้านค้าอยู่ในบริเวณนั้น และจากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่รู้สึกรำคาญกับการเสนอขายสินค้าของพวกเขา แต่ชาวอาข่าที่มีเพียงร่างกายและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นทุนก็ถือได้ว่าเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ยังคงเดินเร่ขายสินค้าในบริเวณนั้ โดยสวมใส่ชุดชาติพันธุ์และเดินเร่ขายสินค้าไปตามริมทาง |
อ่าข่า | ทีวีไทย | นครปฐม : สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556 | Audio Visual Materials :CDF 000404 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00081286 | สารคดีชุดอ่าข่านี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 ตอน ได้แก่ โลกของอ่าข่า อ่าข่าในมายาคติ โล้ชิงช้า อ่าข่าย้อง และอ่าข่าในเมืองเชียงใหม่ เนื้อหาในแต่ละตอนสะท้อนให้เห็นแง่มุมอันหลากหลายของชาวอ่าข่าที่น่าสนใจ ทั้งความคิด ความเชื่อ และวิถีการดำเนินชีวิต ผ่านประเพณีและพิธีกรรมภายใต้เครื่องแต่งกายหลากสีสัน ชาวอ่าข่ามีถิ่นที่อยู่กระจายไปตามภูเขาสูงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลาว เวียดนาม พม่า และไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดอื่นๆทางตอนเหนือของประเทศ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คน ไม่เพียงเฉพาะคนเมืองเท่านั้นแต่ชาวอ่าข่าที่อยู่บนยอดดอยสูงก็ได้รับผลกระทบจนทำให้มีค่านิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเช่นกัน |
ระบบสุขภาพชุมชน : วิถีการดูแลรักษากระดูกหักของชนเผ่าอาข่า | นภาพร ราชวงศ์ | - | สุขศาลา. ปีที่ 4, ฉบับที่ 16 (ม.ค. 2555), หน้า 43-45 : ภาพประกอบ (ภาพสีบางภาพ) ISSN 1906-196X | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060658 | บทความนี้มุ่งเน้นเรื่องภูมิปัญญาการแพทย์ด้านการรักษาอาการกระดูกหักของหมอพื้นบ้านอาข่า เขียนจากประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพประจำสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ที่มีโอกาสเข้าสังเกตการณ์การรักษาอาการกระดูกหักของหมอพื้นบ้าน โดยขั้นตอนการรักษามีทั้งการใช้สมุนไพร น้ำมนต์ อุปกรณ์สำหรับทำเป็นเฝือก มีการบริกรรมคาถาและการปฏิบัติตนตามความเชื่อร่วมด้วย ผู้เขียนเฝ้าติดตามอาการของกรณีตัวอย่างจนทราบข่าวว่าผู้ป่วยหายดี สามารถกลับไปประกอบอาชีพและมีความพึงพอใจกับกระบวนการรักษาแบบพื้นบ้านที่ไม่ต้องถูกเจาะขาฝังเหล็กตามวิธีการของแพทย์แผนปัจจุบัน จากกรณีตัวอย่างนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยจึงได้มีมุมมองใหม่ต่อระบบสุขภาพชุมชน มีการพัฒนาการให้บริการแบบผสมผสาน เช่น ในกรณีที่กระดูกหัก เจ้าหน้าที่จะให้หมอพื้นบ้านร่วมดูฟิล์มเอ็กซ์เรย์ หากอาการไม่รุนแรงมากนักก็ให้รักษาด้วยการแพทย์พื้นบ้าน แต่หากมีอาการที่เสี่ยงต่ออันตรายก็ส่งตัวไปรักษาต่อในโรงพยาบาล นับเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างผสมผสาน ใช้ชุมชนเป็นฐานจนเกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน |
อีก้อ | กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | กรม, 2555 | Books (7th floor) DS570.อ6 ส73 2555 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078963 | หนังสือ “อีก้อ” เป็นหนึ่งในหนังสือชุด “องค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขา” ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ จึงได้ตั้งโครงการขึ้นเพื่อค้นหา รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์จากงานวิจัยต่างๆ จนได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทั้งหมด 9 เล่ม ในส่วนของเล่มนี้เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าอีก้อ โดยแยกเนื้อหาออกเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ สภาพทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน ข้อห้าม ข้อนิยมต่างๆที่สำคัญ และเรื่องที่สองคือ คุณค่าทางวัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติของชาวอีก้อในด้านการประกอบพิธีกรรม ความเชื่อ และการละเล่นต่างๆ |
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวอาข่า หมู่บ้านเหมืองแร่ ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ | พนาภรณ์ ศรีมูล | - | หน้าจั่ว ฉบับที่ 26 (2554), หน้า 179-199 : ภาพประกอบ, แผนที่ ISSN 08571457 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00076013 | บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง “พลวัตทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาติพันธุ์อาข่า : กรณีศึกษาหมู่บ้านเหมืองแร่ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่” ชาวอาข่ากลุ่มนี้นับถือศาสนาคริสต์ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ ดังนั้นองค์ประกอบของผังหมู่บ้านจึงต่างไปจากคติการวางผังแบบจารีตดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนความเชื่อและศาสนา ส่งผลให้ชาวอาข่าที่นี่สร้างหมู่บ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปจากบรรพบุรุษ ประกอบกับวิถีชีวิตที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ทำให้ชาวอาข่าหมู่บ้านเหมืองแร่ปรับแนวคิดทางสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป |
ภารกิจปิดฝังมิดะ | ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร และ อันยา โพธิวัฒน์ | เชียงใหม่ : เนรพูสีไทย, 2554 | Books (7th floor) ML410.จ46พ93 2554 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00080228 | คำว่า “มิดะ” เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2493 จากหนังสือชื่อ “30 ชาติในเชียงราย” โดยบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในขณะนั้น ต่อมาศิลปินเพลงชาวเหนือ จรัล มโนเพ็ชร ได้แต่งเพลงชื่อ “มิดะ” มีเนื้อหากล่าวถึงหญิงสาวผู้เป็นครูสอนเพศศึกษาให้แก่เด็กหนุ่มชาวอาข่า และมีการกล่าวถึง “ลานสาวกอด” ซึ่งเป็นที่เข้าใจในหมู่คนทั่วไปว่าคือสถานที่พลอดรักของหนุ่มสาวชาวอาข่า อย่างไรก็ดี เรื่องราวของ “มิดะ” และ “ลานสาวกอด” ยังเป็นที่ถกเถียงระหว่างกลุ่มชาวอาข่ารุ่นใหม่และกลุ่มเพื่อศิลปิน จรัล มโนเพ็ชร รวมทั้งนักวิชาการ ว่าบุคคลและสถานที่นี้มีอยู่จริงหรือไม่ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่ตีพิมพ์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงศิลปินผู้ล่วงลับ แต่ยังถ่ายทอดเรื่องราวของ “มิดะ” และ “ลานสาวกอด” ในมุมมองของศิลปินผู้มีจินตนาการอีกด้วย |
จังหวะชีวิตแม่ค้าอาข่า ใน ภาพยนตร์จากโครงการสนับสนุนผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ พ.ศ. 2553 | จะคะแต และ คารีน่า | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2553 | Audio Visual Materials :SAC 000558 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069522 | โครงการสนับสนุนผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานมานุษยวิทยาทัศนา (Visual anthropology) โดยการจัดการอบรมการผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมสร้างภาพยนตร์ของตนเอง “จังหวะชีวิตแม่ค้าอาข่า” เป็นหนึ่งในภาพยนตร์จากโครงการนี้ในปีพ.ศ. 2553 ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของหญิงอาข่าที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มในสังคมเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบอาชีพค้าขายสินค้าหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองบริเวณถนนข้าวสาร ซึ่งต้องมีการปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับสังคมและการประกอบอาชีพ ทั้งในเรื่องของอาหารการกินและการใช้ภาษา โดยจะเห็นได้ว่าชาวอาข่ากลุ่มนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี |
อ่าข่าในมายาคติ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials :CDF 000545 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070933 | “อ่าข่าในมายาคติ” เป็นสารคดีชาติพันธุ์ตอนที่ 1 จากจำนวนทั้งหมด 5 ตอนของรายการพันแสงรุ้ง ชุด อ่าข่า เนื้อหารายการเริ่มจากการทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า เช่น ชื่อกลุ่มที่ควรเรียกว่า “อ่าข่า” หรือ “อาข่า” ซึ่งเป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์นี้ใช้เรียกตนเอง ส่วนชื่อ “อีก้อ” นั้นไม่ควรนำมาใช้ และยังมีภาพมายาคติที่เกี่ยวข้องกับชาวอ่าข่าอีกหลายประการที่ถูกสร้างและผลิตซ้ำจนเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปในสังคมรวมทั้งแวดวงวิชาการ ในขณะที่ชาวอ่าข่าพยายามโต้แย้งและค้นคว้าหลักฐานเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกับสังคมมาโดยตลอด เช่นเรื่อง “คะจี” หรือ “มิดะ” หญิงหม้ายที่มีหน้าที่สอนเรื่องเพศให้กับเด็กหนุ่มอาข่า หรือ ลานดินบริเวณหน้าหมู่บ้านที่ถูก “คนนอก” เรียกว่า “ลานสาวกอด” และให้คำนิยามว่าเป็นลานสำหรับให้หนุ่มสาวมากอดพลอดรักกันอย่างอิสระเสรี ในขณะที่ชาวอาข่ายืนยันว่าเป็นเพียงลานวัฒนธรรมที่ชาวบ้านจะมาร้องรำทำเพลงหรือคนหนุ่มสาวมาพบปะกันแต่เพียงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ชาวอ่าข่าต้องประสบเนื่องจากความไม่เข้าใจกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับเจ้าหน้าที่รัฐหรือนโยบายของรัฐ เช่น สิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิในที่ทำกิน และสิทธิความเป็นพลเมือง ปัญหาทั้งหมดนี้ทำให้ชาวอาข่าต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อพยายามแก้ไขอคติที่คนในสังคมมีต่อชาวอ่าข่า |
อาข่าเมืองในเชียงใหม | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials :CDF 000780 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063244 | รายการพันแสงรุ้ง ตอน อ่าข่าในเมืองเชียงใหม่ นำเสนอวิถีชีวิตของชาวอ่าข่าที่โยกย้ายเข้ามาทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ จากการสัมภาษณ์นายกสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย พบว่าปัญหาหลักในการย้ายถิ่นจากยอดดอยลงสู่เมืองของชาวอาข่าคือการขาดแคลนที่ทำกินเนื่องจากพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกยึดคืนเพื่อนำไปปลูกป่า และเยาวชนอาข่าในปัจจุบันที่เข้าเรียนหนังสือในระบบโรงเรียนก็ไม่ได้สืบทอดอาชีพต่อจากพ่อแม่ จึงต้องลงมาทำงานรับจ้างในเมือง หรือขายสินค้าโดยใช้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ นอกจากนี้สารคดียังนำเสนอรูปแบบการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายของชาวอ่าข่าในเมืองเชียงใหม่ โดยมีแกนนำเป็นผู้ริเริ่มความคิดและรวบรวมเงินลงทุนเพื่อที่จะสร้างหมู่บ้านอ่าข่าในเมือง ให้ชาวอ่าข่ากว่า 60 ครอบครัวได้เข้ามาอยู่อาศัยร่วมกัน |
อาข่าย้อง | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials :CDF 000779 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070936 | รายการพันแสงรุ้ง ตอน อ่าข่าย้อง ถ่ายทอดเรื่องราวจารีต ขนบธรรมเนียม ข้อห้ามต่างๆ ที่สืบทอดต่อกันมาของชาวอ่าข่าที่เรียกว่า “อ่าข่าย้อง” กลุ่มชาวอ่าข่าจาก 4 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า จีน ลาว มีการรวมตัวกันเพื่ออภิปรายถึงความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอ่าข่าที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ในการประชุมอภิปรายมีการนำวัฒนธรรมประเพณีแต่ละประเภทมาวิเคราะห์รูปแบบและร่วมกันหาทางออกให้ประเพณีเหล่านี้ได้รับการสืบสานต่อไป โดยมีการตกลงปรับเปลี่ยนจารีตประเพณีบางอย่างให้เข้ากับสภาพวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันของชาวอ่าข่า เพื่อรักษาระบบใหญ่เอาไว้ให้ลูกหลานชาวอ่าข่าได้เรียนรู้ต่อไป |
โล้ชิงช้า | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials :CDF 000778 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070935 | รายการพันแสงรุ้งตอนนี้ นำเสนอเทศกาลโล้ชิงช้าของชาวอ่าข่า บ้านอ่าข่าพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กว่าร้อยละ 70 ของพิธีกรรมทั้งหมดของชาวอ่าข่าล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพื่อให้ชาวบ้านมั่นใจได้ว่าจะมีความมั่นคงทางอาหาร มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี ประเพณีโล้ชิงช้าจะทำกันในช่วงฤดูฝนขณะที่ต้นข้าวกำลังงอกงาม ในวันแรกผู้หญิงอ่าข่าจะมาตักน้ำที่บ่อศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำไปประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้บรรพชนในวันเดียวกัน วันที่สองเป็นวันสร้างชิงช้าซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ และแต่ละบ้านมักจะสร้างชิงช้าเล็กๆ เอาไว้ให้เด็กๆ ได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน ในขณะที่โล้ชิงช้าก็จะเปล่งเสียงอวยพรขอให้คนในหมู่บ้านมีความอยู่ดีกินดี การทำพืชไร่มีความอุดมสมบูรณ์ ตกกลางคืนจะมีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน การเฉลิมฉลองจะดำเนินไปจนครบ 4 วัน จนในวันสุดท้ายผู้นำพิธีกรรมจะผูกสายเชือกชิงช้าไว้กับเสา เป็นอันจบเทศกาลโล้ชิงช้าสำหรับปีนี้ ในปัจจุบันชาวอาข่ารุ่นใหม่ได้รับกระแสความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ละเลยที่จะทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงของพิธีกรรม ทำให้พิธีโล้ชิงช้าเริ่มมีให้เห็นน้อยลงทุกที |
สัญชาติไทยกับการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ : ศึกษากรณีกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าหมู่บ้านพญาไพรเล่ามา จังหวัดเชียงราย | อาทิตย์ วงศ์อทิติกุล | - | กระแสอาคเนย์ ปีที่ 6, ฉบับที่ 70 (ต.ค. 2552), หน้า 37-49 ISSN 1905-1352 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00058321 | บทความนี้กล่าวถึงชาวอาข่าไร้สัญชาติ หมู่บ้านพญาไพรเล่ามา จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับสัญชาติไทยโดยการยื่นคำร้องต่อรัฐ โดยผ่านกระบวนการได้มาซึ่งสัญชาติไทยของชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่สูงที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งจากประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษที่อพยพมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ความไม่เข้าใจในสถานะบุคคลของตนเอง ความไม่เข้าใจในวิธีการและขั้นตอนการติดตามความคืบหน้าในการยื่นคำร้อง ผู้เขียนยังชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงภายหลังการได้สัญชาติของชาวอาข่า พบว่ามีการเปลี่ยนด้านสิทธิ 3 ด้าน คือ สิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิด้านการเมือง และสิทธิด้านสังคม รวมทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ซึ่งเกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการได้สัญชาติไทย เช่น ความพยายามในการพูดภาษาไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้เข้าเรียนหนังสือหรือเคยทำงานในพื้นที่อื่น การเปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็นภาษาไทยโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนราษฎร หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผู้ออกใบสูติบัตร ซึ่งชาวอาข่าส่วนใหญ่ก็เต็มใจที่จะใช้ชื่อภาษาไทยนี้ เนื่องจากให้ความรู้สึกว่ามีความกลมกลืนกับคนไทยอื่นๆ ที่อาศัยอยู่พื้นที่ราบ จึงทำให้เกิดอัตลักษณ์แบบทวิลักษณ์ที่ไม่หยุดนิ่งตายตัว ลื่นไหลไปตามสถานการณ์และประสบการณ์ที่ปัจเจกบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ด้วย |
เพศภาวะ เพศวิถีและเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในลาว (สังคมอาข่า) | ศรีสุวรรณ วรบุตร | เชียงใหม่ : ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552 | Books (7th floor) RA644.A25ศ456 2552 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070393 | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าพื้นที่เมืองสิงและเมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางชาติพันธุ์กับเพศวิถีและการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งยังมีจุดประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนำเสนอต่อสาธารณชน โดยเน้นย้ำในประเด็นเพศวิถี เนื่องจากโรคเอดส์เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับเพศวิถี และเพศภาวะที่สังคมสร้างขึ้น ผ่านกระบวนการขัดเกลาของสถาบันสังคม เช่น วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีการวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาว ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งวัฒนธรรมทางเพศของชาวอาข่าที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ |
บวชป่าอาข่าที่แม่มอญ | ทีวีไทย | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials :VT 000705 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068897 | บ้านแม่มอญ ตำบลห้วยชมพู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนต้นน้ำที่มีทั้งชาวอาข่าและชาวลีซูอาศัยอยู่ โดยทั้งสองกลุ่มต่างมีความชื่อในเรื่องผีว่าเป็นเจ้าของและผู้ดูแลทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ ดังนั้นการจะกระทำการใดต้องมีการเซ่นไหว้บอกกล่าวขออนุญาตจากผีเสียก่อน ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันพึ่งพิงธรรมชาติและผืนป่า ไม่ว่าจะเป็นการปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง หรือการโค่นฟันต้นไม้เพื่อทำการเกษตร ทำให้ชาวเขาถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า แต่ทว่าชาวอาข่าก็มีความเคารพและตระหนักในความสำคัญของผืนป่า โดยมีการร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ ปรับวิถีการทำไร่ให้เป็นไร่หมุนเวียนและอยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมบวชป่าในทุกๆปี ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเคารพต่อผีป่าผีขุนและบูชาผีป่าเพื่อให้ดูแลต้นไม้ ไม่ให้ใครเข้าไปลักลอบตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ดำเนินพิธีโดยกลุ่มหมอผีหรือผู้นำทางพิธีกรรมและชาวบ้านในพื้นท |
การเข้าทรง : วิถีสืบทอดทวิภพของชาวอาข่า | เตือนใจ ดีเทศน์ | - | สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ : 55, 19 (ก.พ. 2551) : หน้า 66-67 : ภาพประกอบ ISSN01250787 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00055841 | ชาวอาข่ามีความเชื่อเรื่องวิญญาณหรือผีบรรพบุรุษสืบต่อกันมาช้านาน ในการทำกิจกรรมหรือประกอบพิธีกรรมใดๆของชาวอาข่ามักจะมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทั้งในโลกของจิตวิญญาณบรรพบุรุษและโลกมนุษย์คู่ขนานกันอยู่เสมอ การสืบทอดภารกิจผู้นำบางตำแหน่งสามารถทำได้จากพ่อสู่ลูก เช่น ผู้นำประเพณี ผู้นำช่างตีเหล็กหรือตีเงินของหมู่บ้าน ในขณะที่อีกหลายตำแหน่ง เช่น “อะพิญิผ่า” หรือหญิงเข้าทรง จะต้องผ่านการคัดสรรจากชุมชนและวิญญาณบรรพบุรุษตามลำดับขั้นเสียก่อน การสืบทอดตำแหน่งหรือพิธีกรรมต่างๆ ของชาวอาข่าเกิดขึ้นจากการร่วมปฏิบัติเนื่องจากภาษาอาข่าไม่มีตัวหนังสือเพื่อบันทึกเรื่องราว เมื่อมีการจัดกิจกรรมหรือพิธีกรรมใดก็ตาม คนในชุมชนต้องรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ไปยังคนรุ่นถัดไป |
อาข่าผู้น่ารัก | ปรัชญา ปิ่นแก้ว | กรุงเทพฯ : แฮปปี้โฮม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, 2551 | Audio Visual Materials :MP 000026 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00063244 | ภาพยนตร์ “อาข่าผู้น่ารัก” เข้าฉายเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551 บอกเล่าเรื่องราวของ “หมี่จู” เด็กหญิงชาวเขาเผ่าอาข่าผู้ซุกซน จนมีเหตุให้ต้องถูกส่งลงไปอยู่กับญาติที่พื้นราบ ชีวิตใหม่ในเมืองช่วงแรกของหมี่จูเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เธอได้ทำงานพิเศษด้วยการรับจ้างถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยว เมื่อเวลาผ่านไปหมี่จูได้เรียนรู้หลายอย่างเกี่ยวกับชีวิตและเริ่มอยากที่จะถ่ายทอดความคิดที่มีให้คนอื่นได้รับรู้ หมี่จูได้กลับมาหมู่บ้านอีกครั้งและพบว่ามีทีมงานสารคดีโทรทัศน์ขึ้นมาถ่ายทำรายการในหมู่บ้าน หมี่จูพยายามรวบรวมภาพถ่ายจากครอบครัวต่างๆ นำมาเรียงร้อยเรื่องราวเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของเธอที่มีต่อหมู่บ้านและสมาชิกในครอบครัวผ่านการถ่ายทำสารคดีจนเกิดเป็นความซาบซึ้งใจให้กับทุกคน นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่พยายามนำเสนอวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าอาข่า ผ่านบทภาพยนตร์ที่เข้าใจง่าย สนุกสนาน สามารถดูได้ทุกวัย |
ย้อนรอยประเพณีวัฒนธรรมอาข่า | โครงการคลังข้อมูลและสื่อชาติพันธุ์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | [เชียงใหม่ : โครงการ, 2551] | Audio Visual Materials :CDF 000369 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060600 | สารคดีชุดนี้ผลิตขึ้นเพื่อสื่อความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า โดยเฉพาะเรื่องประเพณีและวัฒนธรรม คณะผู้จัดทำได้เดินทางเข้าร่วมสังเกตการณ์และบันทึกภาพงานปีใหม่ลูกข่าง ณ บ้านแสนเจริญ (เก่า) อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในเดือนมกราคมปีพ.ศ.2550 เช้าวันแรกของงานปีใหม่ หญิงชาวอาข่าจะพากันไปตักน้ำที่แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ใกล้หมู่บ้านเพื่อนำมาใช้ในการประกอบพิธี ในขณะที่คนอื่นๆ จัดเตรียมอาหารและเครื่องบูชาสำหรับไหว้บรรพบุรุษ ในวันที่สองชาวอาข่าจะแต่งตัวสวยงามแล้วพากันออกมาทำกิจกรรมภายในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการร้องเพลง เล่นดนตรี เต้นรำ เล่นลูกข่าง ชมการแสดงและกิจกรรมย้อนรอยประเพณีวัฒนธรรมอ่าข่าที่จัดโดยองค์กรบริหารส่วนตำบลวาวีที่ลานแดข่องหรือลานวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน วันที่สามถือเป็นวันเริ่มปีใหม่และมีการจัดเครื่องบูชาเพื่อไหว้บรรพบุรุษอีกครั้ง ส่วนวันสุดท้ายชาวอาข่าจะออกมาจัดกิจกรรมที่ลานแดข่อง และเล่นลูกข่างร่วมกันอย่างสนุกสนาน |
อาข่า ตำนานแห่งขุนเขา | โครงการคลังข้อมูลและสื่อชาติพันธุ์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | [เชียงใหม่ : โครงการ, 2551] | Audio Visual Materials :CDF 000369 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060600 | โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างผู้คนในเมืองและชนบท เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความต้องการทำงานเพื่อสังคมและสนใจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคคลทั่วไป ได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศน์อาสาสมัครของโครงการ รายการใต้ฟ้าสีฟ้า ตอน ตำนานแห่งขุนเขานี้ นำเสนอภาพการทำกิจกรรมของอาสามัครที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำการท่องเที่ยวและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสประสบการณ์จริงจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งของการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน |
อ่าข่าย็อง : พื้นที่การค้าในเมืองกับพลวัตทางชาติพันธุ์ของอาข่า | ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ | - | สังคมศาสตร์. ปีที่ 19, ฉบับที่ 2 (2550), หน้า 60-99 ISSN 0125-4138 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060672 | บทความนี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง “อ่าข่า” หรือ “อาข่า” กับสังคมเมือง เมื่อชาวอ่าข่าต้องมาทำการค้าอยู่ในเมืองบริเวณตลาดเชียงใหม่ไนท์บาซ่า ถึงแม้ว่าในอดีตความเป็นชาติพันธุ์อ่าข่าได้รับการถ่ายทอดและควบคุมโดยระบบความเชื่ออย่างเข้มข้น จนสามารถสร้างความรับรู้ถึงเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ได้โดยทั่วไป ในขณะที่พลวัตทางชาติพันธุ์ของชาวอาข่าในปัจจุบันไม่ได้ยึดติดกับถิ่นที่อยู่ แต่มีความเลื่อนไหลข้ามพรมแดนทางสังคมและวัฒนธรรมจนกลายเป็นที่มาของคำว่า “อ่าข่าเมือง” ด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างสังคมเมืองและสังคมดั้งเดิม ทำให้ชาวอ่าข่าต้องเจรจาต่อรองและเผชิญกับความหลากหลายที่ท้าทายต่อการรักษาความเป็นตัวตน และปรับสร้างความเป็นอาข่าที่จะสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ในสังคมเมือง |
คนชายขอบกับการเฝ้าระวังรัฐ กรณีชุมชนอาข่า ใน การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 6 รัฐ : จากมุมมองของชีวิตประจำวัน | กนกรัตน์ ยศไกร | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2550 | Audio Visual Materials :SAC 000166 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00053030 | จากวาทกรรมของภาครัฐในอดีตที่ผ่านมาทำให้ชาวอาข่าหรือคนบนพื้นที่สูงมีภาพที่ออกมาสู่สังคมในทางลบ เช่น มีความเกี่ยวข้องกับระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นผู้ที่ทำลายระบบนิเวศน์บนพื้นที่สูง หรือเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเสพติดและค้าอาวุธ ทำให้รัฐมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปแทรกแซงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์โดยอ้างเหตุผลด้านการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง เกิดการไล่รื้อที่ดินทำกินจนชาวบ้านได้รับผลกระทบและมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจนโยบายและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำเสนอผลงานได้ลงพื้นที่เพื่อทำการวิจัยที่บ้านป่าคาสุขใจ ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในหมู่บ้านนี้ยังคงใช้ชีวิตแบบผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมและเศรษฐกิจแบบการค้าขายสมัยใหม่ มีความเปลี่ยนแปลงในกรรมสิทธิที่ทำกินเนื่องจากต้องสละที่ดินส่วนหนึ่งคืนให้กับรัฐบาลเนื่องมาจากนโยบายป่าไม้ ในขณะที่ครอบครัวมีการขยายเพิ่มขึ้น ทำให้ที่ดินที่ครอบครองอยู่ไม่สามารถแบ่งกันให้เพียงพอต่อการทำกิน จนสมาชิกครอบครัวต้องออกไปขายแรงงานในเมืองมากขึ้น ในขณะเดียวกันการติดต่อประสานงานด้านเอกสารหรือสิทธิของชาวบ้านกับภาครัฐก็มีความล่าช้าและเกิดปัญหากระทบกระทั่งระหว่างรัฐกับชาวบ้านอยู่เสมอ จนชาวบ้านต้องสร้างยุทธวิธีต่างๆ ในการต่อรอง และหาแนวร่วมเพื่อทำให้การติดต่อกับภาครัฐเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น |
กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย | มูลนิธิกระจกเงา. โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน | เชียงราย : มูลนิธิกระจกเงา, 2549 | Books (7th floor) GN495.6.ก47 2549 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060736 | หนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดการเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยวีดิโอซีดีจำนวน 1 แผ่น และหนังสือคู่มือการดำเนินกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ 1 ฉบับ สำหรับเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอนเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยมีกิจกรรมสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกระบวนการยอมรับและเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฎให้เห็นในสังคม เนื้อหาภายในชุดการเรียนรู้นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ อาข่า ลาหู่ เมี่ยน และปกาเกอะญอ นอกจากนี้คณะผู้จัดทำยังได้รวบรวมข้อมูลสถิติทางประชากร วัฒนธรรมประเพณี และแนวคิดวิเคราะห์สภาพปัญหา ตลอดทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นให้แก่ครูผู้สอนและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป |
ตำราการแพทย์และสมุนไพรชนเผ่าอาข่า (Ak Kha) | ยิ่งยง เทาประเสริฐ | [เชียงราย] : วิทยาลัยแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2549 | Books (7th floor) R644.ท9ต643 2549 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075767 | ตำรานี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการดูแลรักษาสุขภาพของหมอชาวอาข่า ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ การแพทย์อาข่าหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของชาวเขาเผ่าอาข่า เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของชาวอาข่า ความเชื่อ แนวคิดด้านสุขภาพทั้งในเรื่องการเกิด การตาย สาเหตุแห่งความเจ็บป่วย อาการของโรค และการเยียวยารักษา ทั้งการบำบัดทางจิตด้วยพิธีกรรม การบำบัดทางกาย และการบำบัดด้วยยาสมุนไพร องค์ประกอบที่สองของตำราว่าด้วยเรื่องยาสมุนไพร ซึ่งได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรที่หมออาข่ารู้จัก มีการสำรวจแหล่งสมุนไพร ศึกษาและขยายพันธุ์พืชสมุนไพรของชุมชน รวมไปถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและยาสมุนไพร เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าอ้างอิง และสืบทอดภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าเป็นสำคัญ |
คู่มือวิธีการเก็บรักษาและการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์พืชของชนเผ่าอาข่าบ้านอาแย | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2556 | Books (7th floor) R644.ท9ต643 2549 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00075767 | องค์ความรู้การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชของชนเผ่าอาข่านี้ เน้นศึกษาวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชผักและผลไม้ท้องถิ่นในชุมชนอาแย ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งพัฒนาการด้านการเกษตรของชนเผ่าอาข่า ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและเศรษฐกิจ โดยมีทีมวิจัยเป็นคนในชุมชนอาแยทั้งหมด หนังสือคู่มือนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการการประกอบอาชีพและผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งปฏิทินฤดูกาล ตั้งแต่ปีพ.ศ.2523 ไปจนถึงปีพ.ศ.2556 ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรของชุมชนได้เป็นอย่างดี |
การเสวนาทางวิชาการเรื่อง "กระบวนการเรียนรู้ของชนเผ่าอาข่าในการสืบทอดวัฒนธรรม" | อุทัย ปัญญาโกญ | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2549 | Audio Visual Materials :SAC 000230 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00047948 | การเสวนาทางวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก พื้นที่ศึกษาหมู่บ้านห้วยขี้เหล็ก ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ร่วมเสวนาโดยวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นครูในหมู่บ้านที่มีชาวอาข่าอาศัยอยู่ โดยจะนำเสนอเนื้อหาจากมุมมองของนักวิชาการการศึกษาที่มีความสนใจในเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ วิทยากรอีกสองท่านเป็นชาวอาข่าจากจังหวัดเชียงราย จะนำเสนอเนื้อหาเรื่องเล่าจากมุมของคนใน โดยในการเสวนาครั้งนี้นอกจากจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ความเชื่อ วิถีชีวิต และการสืบสานความรู้ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของชาวอาข่าแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับข้อเท็จจริงบางประการของวัฒนธรรมอาข่าที่ถูกเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณชน จากมุมมองของคนในวัฒนธรรมอีกด้วย |
การเสวนาเรื่อง ชีวิตชนเผ่าอาข่าในภาพยนตร์ชาติพันธุ์ | Manu Luksch | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2548 | Audio Visual Materials :SAC 000261 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00042463 | การเสวนานี้เป็นหัวข้อเกี่ยวกับภาพยนตร์ชาติพันธุ์ที่มีเนื้อหากล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่อยู่ในประเทศไทย ลาว และมณฑลยูนนาน ประเทศจีน สร้างโดยนักภาพยนตร์แนวชาติพันธุ์ชาวออสเตรีย ที่มีความสนใจในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีตัวอักษรใช้ในภาษาเขียน ตัวภาพยนตร์มีความยาว 90 นาที เป็นการนำเสนอเรื่องราวของชาวอาข่าในสามมิติที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เหตุการณ์แรกคือเมื่อผู้จัดทำภาพยนตร์ได้ติดตามผู้อาวุโสชาวอาข่าไปร่วมประชุมที่มณฑลยูนนานประเทศจีน ส่วนที่สองคือการนิยามอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อาข่าในมุมมองของชาวอาข่าเอง และด้านที่สามนำเสนอให้เห็นกระบวนการถ่ายทำภาพยนตร์จากการมีส่วนร่วมของชาวอาข่า โดยนำเสนอเนื้อหาจากมุมมองของคนในผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม |
อ่าข่าไนท์บาซาร์ การค้ากับความเป็นชาติพันธุ์ ใน 'การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 4 : เรื่อง "วัฒนธรรมไร้อคติ ชีวิตไร้ความรุนแรง" | ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ | กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2548 | Audio Visual Materials :SAC 000164 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043006 | เนื้อหาจากการเสวนา “อ่าข่าไนท์บาซาร์ การค้ากับความเป็นชาติพันธุ์” เป็นส่วนหนึ่งจากงานวิจัยโครงการ “อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ : การเมืองเชิงวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทยภาคเหนือ” เกิดจากการตั้งคำถามถึงการเข้ามาทำมาค้าขายในสังคมเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางสังคม และธรรมเนียมปฏิบัติจากชีวิตประจำวันที่อยู่บนยอดดอยมาสู่วิถีชีวิตในสังคมเมืองอย่างไร ชาวอ่าข่าในประเทศไทยคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาตั้งหมู่บ้านอยู่บนยอดเขาทางตอนเหนือของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งเกิดโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนดอย รวมทั้งนโยบายป่าไม้ของภาครัฐทำให้เกิดการแบ่งแยกคนออกจากป่า ประกอบกับชาวเขารุ่นใหม่เห็นโอกาสทางการศึกษาและช่องทางทำกินในสังคมเมืองจึงทำให้เกิดการหลั่งไหลของชาวเขาเผ่าต่างๆ รวมทั้งชาวอ่าข่าเข้าสู่เมืองมากขึ้น การเสวนาครั้งนี้มุ่งประเด็นไปที่กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในย่านธุรกิจไนท์บาร์ซาตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจากงานวิจัยจะเห็นได้ว่าอัตลักษณ์และพรมแดนทางชาติพันธุ์ของกลุ่มชาวอ่าข่าสามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามเงื่อนไขทางสังคมหรือสภาวการณ์ที่ต้องประสบพบเจอในวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงรักษาความเป็นตัวตนและจุดยืนทางชาติพันธุ์เอาไว้ได้ |
อาข่า : หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง | ปนัดดา บุณยสาระนัย และ หมี่ยุ้ม เชอมือ | เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 | Books (7th floor) DS570.ช6ป36 2547 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043905 | เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์อาข่า ทั้งจากการสัมภาษณ์และสังเกตวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนบนพื้นที่สูง ปัจจัยที่ผลักดันให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองมากขึ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตของชาวอาข่าที่โยกย้ายเข้าสู่เมืองกับหมู่บ้านที่เป็นถิ่นฐานเดิม โดยสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและกลุ่มคนทำงาน ในส่วนสุดท้ายของเล่ม เป็นการนำเสนอเรื่องราวชีวิตของชาวอาข่ากรณีศึกษาจำนวน 6 กรณี ที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการดำรงชีวิตของชาวอาข่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมเมือง |
ภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรและการดูแลความเจ็บป่วยของ "อาข่า" ใน นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพ และสิทธิชุมชน | ไรวรรณ แสงศร | เชียงใหม่ : บริษัท วิทอินดีไซน์ จำกัด, 2547 | Books (7th floor) (Book chapter) DS570.ช6ย5 2547 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00039430 | บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง “นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพ และสิทธิชุมชน” ที่นำเสนอให้เห็นว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศนั้นขึ้นอยู่กับวิธีคิดและมุมมองที่แตกต่างกันออกไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษานี้จะช่วยให้มองเห็นปัญหาและสามารถจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ชาวอาข่าในประเทศไทยส่วนใหญ่อพยพมาจากแคว้นเชียงตุงประเทศพม่า ซึ่งในอดีตจะทำไร่ในป่าดงดิบ เป็นการทำไร่แบบตัดฟันโค่นเผา เปลี่ยนผืนป่าไปเป็นผืนไร่ แล้วใช้ประโยชน์จากการทำไร่ติดต่อกันเป็นเวลา 3-5 ปี เมื่อดินหมดความสมบูรณ์แล้วจึงปล่อยให้ป่าพื้นตัวแล้วย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปที่อื่นก่อน เมื่อป่าคืนความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งจึงกลับมาทำกินในที่ดินเดิม ผู้บุกเบิกผืนป่าคือผู้ถือสิทธิในการครอบครองที่ดิน หากที่ดินแปลงใดไม่ได้ใช้ประโยชน์ญาติพี่น้องหรือชาวบ้านในชุมชนสามารถขอเข้าใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์ได้ ถือว่าพื้นที่ทำไร่เป็นของชุมชน แต่ปัจจุบันการถือครองพื้นที่ทำกินเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละครอบครัว และไม่มีพื้นที่ป่าใหม่ให้บุกเบิกเพิ่มอีกแล้ว การทำไร่ซ้ำที่เดิมทุกปีส่งผลให้ผลผลิตของชาวอาข่าลดลงอย่างมากในปัจจุบัน และเกิดภาวะผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคในหมู่บ้าน |
การฟื้นฟูและสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ของชาวอาข่าในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ใน วาทกรรมอัตลักษณ์ | ปนัดดา บุณยสาระนัย | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2547 | Books (7th floor) (Book chapter) GN316.ศ731 2547 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037109 | บทความนี้มุ่งที่จะเสนอให้เห็นภาพชีวิต สังคม วัฒนธรรม และกระบวนความคิดเรื่องอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวอาข่าในแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชาวอาข่าในประเทศไทย ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้หลังจากการเข้าร่วมประชุมนานาชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวฮานี/อาข่า ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปีพ.ศ.2545 โดยต้องการสะท้อนให้เห็นกระบวนการฟื้นฟูและการสร้างอัตลักษณ์ของชาวอาข่าทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีความยืดหยุ่นในพรมแดนทางวัฒนธรรมสูง ทำให้ชาวอาข่าในหลายรัฐชาติที่แตกต่างกัน สามารถปรับตัวและฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ร่วมกันได้ เช่น การสร้างสำนึกร่วมกันทางประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์ เครือญาติ และวงศ์ตระกูล |
"อ่าข่า" : พิธีกรรม ความเชื่อ ความจริง และความงาม กุศโลบายดำรงวิถีแห่งชนเผ่า | เบญจวรรณ วงศ์คำ, บรรณาธิการ | เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค, 2546 | Books (7th floor) DS570.อ6อ62 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037648 | โครงการวิจัย “การเสริมสร้างศักยภาพและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอ่าข่า” กรณีตัวอย่างชุมชนวิจัยของชาวอ่าข่า บ้านห้วยขี้เหล็ก ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการรวบรวม เก็บข้อมูลพิธีกรรมประเพณี วิเคราะห์ความเชื่อที่เป็นองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาซึ่งชาวอ่าข่าได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ส่วนในระยะที่ 2 เป็นการขยายผลนำสู่การท่องเที่ยวเพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งนอกจากจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรม ความเป็นอยู่และประเพณีที่ถูกต้องของชาวอ่าข่าแก่ผู้ที่มาท่องเที่ยวในชุมชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนอ่าข่าได้เรียนรู้และสืบสานพิธีกรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองต่อไป แม้ว่าคนทั่วไปมักเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า “อาข่า” แต่หัวหน้าโครงการวิจัยมีความตั้งใจจะออกเสียงว่า “อ่าข่า” เนื่องจากเป็นสำเนียงที่ถูกต้องตามการของเสียงของชาวเผ่ามากที่สุด |
การรักษาพยาบาลพื้นบ้านของอาข่า | อุไรวรรณ แสงศร | - | ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 20, ฉบับที่ 1(2545), หน้า 133-154 : ภาพประกอบ ISSN 0125-2046 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060649 | “อาข่า” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และภาษาพูดเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ชาวอาข่าถ่ายทอดประวัติความเป็นมา ความเชื่อ หลักปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งภูมิปัญญาทางการแพทย์ผ่านการบอกเล่าปากเปล่า โดยไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หัวหน้าครอบครัวซึ่งได้รับการสืบทอดต่อกันมาจะเป็นผู้วินิจฉัยโรคให้กับคนในครอบครัว หากไม่สามารถวินิจฉัยได้จึงจะพาไปหายีผ่า และพิมะช่วยวินิจฉัย โดยการรักษาความเจ็บป่วยจะมีทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ การใช้สมุนไพร การใช้คาถาอาคม การรักษาด้วยพิธีกรรม และการบำบัดอาการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ด้วยหมอพื้นบ้าน เช่น หมอนวด หมอบีบ หมอดีด ปัจจุบันพืชสมุนไพรมีจำนวนน้อยลงเนื่องจากป่าไม้ถูกทำลายไปมาก อย่างไรก็ตามชาวอาข่าก็ยังนิยมปลูกพืชสมุนไพรเอาไว้ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่หากมีผู้ป่วยหนักก็จะหันมารักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลัก |
เรื่องลับน่ารู้ของอีก้อ | ปิยพงศ์, (นามแฝง) | กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2544 | Books (7th floor) DS570.อ6ป64 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044824 | เนื้อหาหนังสือเล่มนี้เป็นการบอกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งได้รวบรวมและศึกษาข้อมูลเป็นระยะเวลา 32 ปี นับจากครั้งแรกที่เดินทางไปยังหมู่บ้านชาวเขาเมื่อปีพ.ศ.2512 จนได้รู้จักกับกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ผู้เขียนพรรณนาถึงเรื่องราวที่พบเจอไว้ครบทุกด้าน ทั้งเรื่องรูปร่างลักษณะและการแต่งกายของชาวอาข่า บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสถานที่ต่างๆโดยรอบหมู่บ้าน ระบบครอบครัว ระบบเศรษฐกิจ การทำเกษตรไร่นาและวิถีชิวิตที่มีความผูกพันธ์เชื่อมโยงกับป่า รวมทั้งคติความเชื่อ เทศกาลประเพณี และการประกอบพิธีกรรมต่างๆที่ชาวอาข่ายังยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้เขียนยังชี้ให้เห็นปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่งเดิมทีชาวอาข่าจะสูบฝิ่นเพื่อคลายเครียดและใช้รักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป ต่อมาเมื่อเฮโรอีนเริ่มแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่ ชาวอาข่าก็หันไปเสพติดเฮโรอีนกันมากขึ้น จนเกิดเป็นปัญหาลักเล็กขโมยน้อยและปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ที่ถูกกระแสวัฒนธรรมใหม่จากสังคมเมืองเข้ามากระทบจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมเริ่มเลือนหายไปทีละน้อย |
สารคดีส่องโลกธรรมชาติ : ประเพณีชาวเขาเผ่าอะข่า | - | กรุงเทพฯ : โรต้า อินเตอร์เนชั่นแนล, 2544 | Audio Visual Materials :CDF 000217 | https://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00028319 | ชาว “อะข่า” หรือ “อาข่า” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในทุกๆปีจะมีการประกอบพิธีกรรมต่างๆที่สำคัญตลอดทั้งปี เช่น การเซ่นประตูผีของหมู่บ้าน พิธีเซ่นบ่อผีน้ำ พิธีกินข้าวใหม่ และพิธีโล้ชิงช้าเป็นต้น สารคดีประเพณีชาวเขาเผ่าอะข่านี้ นำเสนอเรื่องประเพณีต่างๆ ที่สำคัญและน่าสนใจของชาวอะข่า ได้แก่ “พิธีโล้ชิงช้า” หมู่บ้านสามัคคีเก่า จังหวัดเชียงรายที่จัดขึ้นทุกปีในช่วงปลายเดือนสิงหาคม เพื่อเซ่นไหว้เทพธิดาผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่พืชผลในไร่ “พิธีกรรมปล่อยเสือ” ที่เป็นการปลดปล่อยวิญญาณตามความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจที่จัดขึ้นในงานศพ โดยทีมงานได้ถ่ายทำจากหมู่บ้านอะข่าบนยอดดอยแม่สลอง อีกพิธีกรรมหนึ่งที่ชาวอะข่าถือว่ามีความสำคัญมากกว่าทุกๆพิธี คือ พิธีฉองปิเย๊อะหรือพิธีปีใหม่ลูกข่าง ถ่ายทำ ณ หมู่บ้านอ่าข่า บ้านแม่สแลบล่าง ซึ่งมีระยะเวลาการจัดงานยาวนาน 4 วัน 3 คืน นอกจากจะเป็นพิธีที่จัดเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่แล้ว พิธีฉองปิเย๊อะก็มีการเซ่นไหว้ผีและบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่คอยดูแลความอุดมสมบูรณ์ของพืชไร่ เช่นเดียวกับพิธีอื่นๆ ของชาวอะข่า |
อีก้อ หรือ อาข่า | คณะครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน | เชียงราย : โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน, 2543 | Books (7th floor) DS570.อ6ค36 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030158 | หนังสือนี้รวบรวมข้อมูล ประวัติความเป็นมา ศิลปะและรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเงินของชาวเขาเผ่า “อีก้อ” หรือ “อาข่า” เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าต่อสาธารณชน โดยแยกข้อมูลประวัติความเป็นมาและภาพเครื่องประดับกว่า 10 ชนิดไว้ในแต่ละหน้า ที่มาของการจัดทำหนังสือเล่มนี้มาจากโครงการสืบค้นศิลปวัฒนธรรมเครื่องประดับชาวเขาที่ทำด้วยเงิน ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ดำเนินงานโดยโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีเยาวชนชาวเขาศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก ในระยะแรกมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 13 คน ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับคุณค่าของศิลปะเครื่องเงิน และสามารถผลิตเครื่องเงินเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมชาวเขาให้ดำรงอยู่ตลอดไป |
ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากรและการรักษาความเจ็บป่วยของ 'อีก้อ' | อุไรวรรณ แสงศร | ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542 | Books (7th floor) DS570.อ6อ79 2542 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045741 | หนังสือฉบับนี้เป็นรายงานทดลอง “ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น” นำเสนอโดยนักวิจัยภาคสนามและผู้เข้าร่วมโครงการของศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเนื้อหาความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์อีก้อ หรือ อาข่า ในประเทศไทย ลักษณะชุมชนและการตั้งบ้านเรือน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน ระบบเครือญาติ และการปกครองในชุมชน โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาชุมชนบ้านแสนสุข ซึ่งเป็นหมู่บ้านอีก้อในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ผู้เขียนได้ให้ข้อมูลประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดทั้งระบบการปกครองของชุมชน ที่สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมของชาวเขาเผ่าอีก้อโดยทั่วไป นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการทรัพยากร ความเชื่อ พิธีกรรม และภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการรักษาความเจ็บป่วยของชาวอีก้ออีกด้วย |
อีก้อ | สมัย สุทธิธรรม | กรุงเทพฯ : 2020 เวิลด์ มีเดีย, 2541 | Books (7th floor) DS570.อ6ส46 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00013950 | หนังสือเล่มนี้ เป็น 1 ใน 6 เล่มของหนังสือชุด สารคดีชีวิตชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง บอกเล่าเรื่องราวของชาว “อีก้อ” หรือชื่อที่พวกเขาเรียกตนเองว่า “อาข่า” ที่ย้ายถิ่นฐานจากบริเวณต้นแม่น้ำ “ไท้ฮั่วสุย”หรือแม่น้ำดอกท้อ ลงใต้เรื่อยมาจากประเทศจีนสู่ประเทศพม่า ประเทศลาว และทางตอนเหนือสุดของประเทศไทย โดยนิยมตั้งหมู่บ้านอยู่บนดอยสูงที่มีอากาศหนาวเย็น มีพื้นที่กว้างสำหรับเด็กๆ และใช้เป็นที่ชุมนุมหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆของหมู่บ้าน ที่สำคัญคือต้องมีป่าไม้และลำห้วยโดยรอบ เพื่อความสะดวกในการหาอาหารหรือบุกเบิกเป็นที่ทำกิน ภายในหนังสือนี้ยังกล่าวถึงการแต่งกาย ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดทั้งพิธีกรรมและความเชื่อเรื่องผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์และโชคลางของชาวอีก้ออีกด้วย |
ระบำลานสาวกอด | เนาวรัตน์ พลเดช | - | วารสารไทย. ปีที่ 17, ฉบับที่ 66 (เม.ย. 2540), หน้า 71-76 : ภาพประกอบ ISSN0125-572X | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060665 | บทความนี้เล่าจากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวบนยอดดอยในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านอาข่า และได้ชมการแสดงระบำชาวเขาแบบดั้งเดิม จัดขึ้นบริเวณลานสาวกอดซึ่งเป็นลานกว้างในหมู่บ้านที่เป็นจุดนัดพบของชาวบ้านในเวลากลางคืน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวจะมีจำนวนและบทบาทมากกว่าวัยอื่นๆ สามารถพบเห็นได้ในทุกหมู่บ้านอาข่าบ้านยกเว้นหมู่บ้านที่นับถือศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้อธิบายลักษณะเพลงที่ชาวอาข่าใช้ในการแสดงระบำในลานสาวกอด และยกตัวอย่างเพลงต่างๆ ที่ได้รับการแปลเนื้อหาเป็นภาษาไทยไว้ในบทความทั้งหมด 7 เพลงด้วยกัน
|
การักษาพยาบาลพื้นบ้านของอาข่า ใน กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง : การรักษา เยียวยา ผู้คน ชุมชน และสภาพแวดล้อม | กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. กรมประชาสงเคราะห์. สถาบันวิจัยชาวเขา | สถาบันวิจัยชาวเขา, 254-? | Books (7th floor) (Book chapter) GN492.5.ว62 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036707 | บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวอาข่าในประเทศไทย โดยย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อมีการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ประเทศไทย ประวัติของชาวอาข่าไม่ชัดเจนมากนักเนื่องจากภาษาอาข่าไม่มีตัวเขียน จึงไม่มีบันทึกประวัติต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่เพียงการบอกเล่าปากเปล่าสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น เช่นเดียวกับการรักษาเยียวยาความเจ็บป่วยของชาวอาข่าก็เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาสืบต่อกันมา ชาวอาข่ามีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผี และพลังเหนือธรรมชาติเป็นอย่างมาก ความเชื่อนี้ก่อให้เกิดพลังที่จะเสริมสร้างความร่วมมือต่างๆ กันในชุมชน การประกอบพิธีกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดความเจ็บป่วยด้วยเช่นกัน กระบวนการรักษาความเจ็บป่วยของชาวอาข่าจะใช้ยาสมุนไพรเป็นหลัก โดยมีหมอยาในหมู่บ้านที่สืบทอดความรู้ทางสมุนไพรต่อๆกันมาเป็นผู้รักษา นอกจากนั้นก็ยังมีการรักษาด้วยคาถาอาคม การรักษาด้วยพิธีกรรม และในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อยก็รักษาด้วยวิธีการของหมอพื้นบ้าน เช่น การนวด การใช้มือดีด การใช้น้ำมนต์ เป็นต้น |
บ้านอีก้อ : ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวบ้าน | อุไรวรรณ แสงศร | เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา, 2539 | Books (7th floor) DS570.อ6อ74 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00021594 | หนังสือ “บ้านอีก้อ : ความเชื่อและภูมิปัญญาชาวบ้าน” เป็นเอกสารที่ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในงานแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวเขา ปีพ.ศ.2539 ณ วัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบส่วนจัดแสดงบ้านอีก้อ เนื้อหาภายในเล่มอธิบายสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านอีก้อ หรือ อาข่า ตั้งแต่สถานที่ตั้งและพื้นที่ส่วนต่างๆ ของหมู่บ้าน ไปจนถึงโครงสร้างและส่วนประกอบของบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน รวมทั้งพิธีกรรมและข้อห้ามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างบ้าน โดยจะเห็นได้ว่าการสร้างบ้านของชาวอีก้อสะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อและภูมิปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองได้อย่างชัดเจน |
สถานภาพสตรีอีก้อกับแนวทางพัฒนา | อุไรวรรณ แสงศร | - | ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (2532), หน้า14-20 ISSN 0125-2046 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060649 | สตรี “อีก้อ” หรือที่เรียกตัวเองว่า “อ่าข่า” มีสถานภาพทางสังคมที่ต้องอยู่เบื้องหลังผู้ชาย มีสิทธิในการตัดสินใจเฉพาะกิจกรรมในครอบครัวเท่านั้น ลักษณะนิสัยทั่วไปของผู้หญิงอีก้อ จะเป็นคนขยันขันแข็ง อดทน รักครอบครัว เก็บตัว และมีความกตัญญู นอกจากหน้าที่รับผิดชอบในงานบ้านและการทำไร่แล้ว ผู้หญิงอีก้อไม่มีสิทธิแสดงความเห็นในที่ชุมชนหรือมีบทบาทสำคัญต่อกิจกรรมของชุมชน แต่ก็มีบางพิธีกรรมที่ยกย่องให้ผู้หญิงเป็นผู้ทำพิธีกรรมกับผู้ชายได้ โดยจะมีตำแหน่งเฉพาะลงไป เช่น พี้หม่อหรือแม่เฒ่าผู้ทำพิธีแต่งงาน หมอตำแย ยากาชิยะหรือหมอยาสมุนไพร และยาแย้มะซึ่งนับเป็นสถานภาพสูงที่สุดของผู้หญิงอีก้อ สามารถประกอบพิธีกรรมสำคัญและแสดงความเห็นในกิจกรรมของชุมชนได้ ผู้หญิงที่จะเป็นยาแย้มะได้จะต้องเป็นผู้ที่มีคนนับหน้าถือตามาก และมีฐานะดี เนื่องจากต้องออกค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ จากสถานภาพของผู้หญิงอีก้อตามที่กล่าวมา ผู้ที่ต้องการเข้าไปทำงานกับชุมชนอีก้อจึงควรวางแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ ความเชื่อ และข้อปฏิบัติต่างๆ ของชุมชน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น |
วัน เดือน ปี อีก้อ | ศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ และจันทรบูรณ์ สุทธิ | - | าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 13, ฉบับที่ 3 (2532), หน้า 75-96 ISSN 0125-2046 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060649 | อีก้อหรืออาข่า เป็นกลุ่มชาวเขาที่มีการรับเอาอารยธรรมของจีนมาใช้ในระบบวัน เดือน ปี โดยมีการใช้สัญลักษณ์สัตว์ในการลำดับวันและปี ระบบเวลาของอีก้อมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ปรากฎการณ์ธรรมชาติ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและพิธีกรรม และกิจกรรมเพื่อการยังชีพ เช่น การทำไร่นา การล่าสัตว์ การแต่งงาน จุดมุ่งหมายสำคัญของการจำแนกวันเวลาของชาวอีก้อ ก็เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมตามวิถีชีวิต และจารีตประเพณีให้สอดคล้องกับฤดูกาลตามธรรมชาตินั่นเอง เนื่องจากระบบวัน เดือน ปี ของอีก้อมีความผสมผสานระหว่างอารยธรรมจีนและระบบจันทรคติไทย ผู้เขียนจึงได้ให้ข้อมูลเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของทั้งสองระบบไว้ในบทความนี้ |
โล้ชิงช้าบูชาอึมซาแยะ พิธีกรรมของอีก้อ | นายไหม (นามแฝง) | - | ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 6, ฉบับที่ 3 (ม.ค. 2528) : หน้า 50-54 : ภาพประกอบ ISSN0125-3654 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057402 | “อีก้อ” หรือ “อาข่า” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงรักษาความเชื่อเรื่องพิธีกรรมและการนับถือผีบรรพบุรุษไว้อย่างมั่นคง พิธีโล้ชิงช้าเป็นพิธีกรรมที่ชาวอีก้อทุกหมู่บ้านยึดถือปฏิบัติต่อกันมาอย่างยาวนาน จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพ “อึมซาแยะ” ที่จะขอความอุดมสมบูรณ์ให้แก่การปลูกข้าวและเพื่อบูชาผีบรรพบุรุษ ชิงช้าของชาวอีก้อมีทั้งหมด 3 แบบ แต่ที่เกี่ยวข้องกับพิธีโล้ชิงช้ามี 2 แบบคือ ชิงช้าแบบ 4 เสา และชิงช้าแบบที่ใช้เสาไม้ 2 ต้น ซึ่งทั้งสองชนิดจะทำไว้กลางลานดินของหมู่บ้าน พิธีนี้ใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน โดยกำหนดให้วันมดเป็นวันแรกเพื่อจัดเตรียมงาน วันที่สองคือวันควายซึ่งเป็นวันดีตามความเชื่อของชาวอีก้อและเป็นวันเริ่มทำพิธี วันที่สามคือวันเสือ และวันสุดท้ายของพิธีจะตรงกับวันม้า การจัดพิธีโล้ชิงช้าจะทำขึ้นทุกปี เป็นเทศกาลรื่นเริงใหญ่ที่คนหนุ่มสาวและทุกคนในหมู่บ้านจะออกมาเฉลิมฉลองร่วมกัน เทียบได้กับเทศกาลขึ้นปีใหม่เลยทีเดียว |
พิธีโล้ชิงช้าของชาวเขาเผ่าอีก้อ | อุไรวรรณ แสงศร และ สารภี มณีโชต | - | ข่าวสารศูนย์วิจัยชาวเขา. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน 2527), หน้า 3-7 : ภาพประกอบ | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060649 | พิธีโล้ชิงช้าของชาวอาข่าในบทความนี้ คณะผู้เขียนได้บันทึกข้อมูลจากการลงพื้นที่หมู่บ้านแม่สะแล็ปล่าง ซึ่งได้จัด “พิธีโล้ชิงช้า” หรือ “หละเฉอะบิ” เพื่อระลึกถึงเทพธิดา “อึมซาแยะ” ที่สามารถดลบันดาลให้ผลผลิตจากการเพาะปลูกของชาวบ้านมีความอุดมสมบูรณ์ พิธีโล้ชิงช้าถูกจัดขึ้นทุกปีในช่วงกลางเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ข้าวกำลังออกรวงงอกงาม โดยใช้เวลาประกอบพิธีทั้งหมด 4 วัน ได้แก่ วันแรกซึ่งถือเป็นวันสำหรับเตรียมสิ่งของที่ต้องใช้ตลอดระยะเวลา 4 วันที่ทำพิธี วันที่สองเป็นวันทำพิธีสร้างชิงช้าโดยมี “หยื่อมะ” เป็นผู้ประกอบพิธีและโล้ชิงช้าเป็นคนแรก จากนั้นก็ตามด้วยสมาชิกคนอื่นๆในหมู่บ้าน และมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์กันในช่วงกลางคืน วันที่สามของการจัดงานจะมีการทำพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษด้วยเรื่องเซ่น ได้แก่ ข้าวปุก เหล้า และน้ำชา ส่วนในวันสุดท้ายของงานก็ยังคงมีการโล้ชิงช้าในช่วงเวลากลางวัน พอตกเย็นหยื่อมะก็จะเก็บชิงช้าโดยผู้เชือกโล้ไว้กับเสาต้นใดต้นหนึ่ง เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีโล้ชิงช้าสำหรับปีนี้ และจะมีการจัดพิธีอีกครั้งในปีหน้า |
บ้านอีก้อ | อุไรวรรณ แสงศร | เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา, 2526 | Books (7th floor) DS570.อ6อ73 2526 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037318 | หนังสือฉบับนี้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชาวเขากลุ่ม “อีก้อ” หรือ “อาข่า” ตั้งแต่ประวัติการย้ายถิ่นฐานจากประเทศจีนเข้ามายังตอนเหนือของประเทศไทย เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นเรื่องบ้านและหมู่บ้านของชาวอีก้อ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ตั้งแต่ประตูทางเข้าหมู่บ้าน ลานกิจกรรมต่างๆ เขตป่าสงวนและแหล่งน้ำประจำหมู่บ้านซึ่งจะปรากฎให้เห็นในหมู่บ้านอีก้อทุกแห่ง นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตัวบ้านและพิธีกรรมต่างๆ ในการสร้างบ้าน ซึ่งชาวอีก้อจะให้ความสำคัญกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ตามบริเวณต่างๆ ทั้งในตัวบ้านและภายในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ในท้ายเล่ม ผู้เขียนได้กล่าวถึงสุขลักษณะของหมู่บ้านอีก้อ เช่น การขับถ่าย การจัดสรรที่อยู่ระหว่างคนกับสัตว์เลี้ยง และการกำจัดขยะมูลฝอยภายในหมู่บ้าน เป็นต้น
|
อะขื่อบะโคะท๊อ | อุไรวรรณ แสงศร | - | ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 5, ฉบับที่ 3/4 (- 2524), หน้า 32-33 ISSN 0125-2046 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060649 | “อะขื่อบะโคะท๊อ” คือชื่อพิธีกรรมที่ชาวเขาเผ่า “อีก้อ” หรือ “อาข่า” ได้จัดขึ้นเพื่อป้องกันความเจ็บป่วยหรือโรคระบาด ผู้เขียนได้บรรยายรายละเอียดในการประกอบพิธีจากประสบการณ์ที่ได้พบเจอ ขณะที่เข้าไปทำงานในหมู่บ้านอีก้อที่เกิดโรหัดและโรคอีสุกอีใสระบาดขึ้นในหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะคัดเลือกเด็กหนุ่มให้ไปหาสุนัขจากหมู่บ้านอื่นมาทำพิธีคล้ายกับการบูชายัญ โดยขณะทำพิธีจะห้ามคนจากหมู่บ้านอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน และห้ามจัดกิจกรรมสันทนาการในหมู่บ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าโรคระบาดจะหมดไป การประกอบพิธีตามความเชื่อเช่นนี้ ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจะได้ผลจริงหรือไม่ แต่ก็เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้รับการสืบทอดและยึดถือต่อกันมาของชาวอีก้อเป็นระยะเวลานาน |
รายงานประจำปี 2524 โครงการศึกษาค้นคว้าวิธีการพัฒนาชาวเขาระดับหมู่บ้าน, เผ่าอีก้อ | พินิจ พิชยกัลป์ | เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยชาวเขา, 2524 | Books (7th floor) DS570.อ6พ64 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040610 | รายงานนี้เป็นรายงานปีที่ 2 ของ “โครงการศึกษาค้นคว้าวิธีการพัฒนาชาวเขาระดับหมู่บ้าน, เผ่าอีก้อ” ซึ่งได้เริ่มศึกษาปีแรกเมื่อพ.ศ.2522 ในพื้นที่ศึกษาหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ หรือ อาข่า จำนวน 4 หมู่บ้านในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ห้วยส้านเก่า ห้วยส้านใหม่ ห้วยส้านกลาง และสามัคคีใหม่ โครงการในปีนี้เป็นการทำงานต่อเนื่องจากปีแรก เรื่องการสร้างประปาหมู่บ้านในชุมชนอีก้อ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าชาวเขาเผ่าอีก้อให้ความสำคัญกับความเชื่อเรื่องผีน้ำเป็นอย่างมาก แม้จะประสบปัญหาการขาดน้ำดื่มน้ำใช้อย่างรุนแรง แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังคัดค้านการสร้างประปาหมู่บ้านด้วยเกรงว่าจะทำให้ผีน้ำไม่พอใจและบันดาลให้เกิดหายนะแก่ชุมชนได้ ส่วนที่สองของรายงานเป็นโครงการที่เริ่มปฏิบัติในปีพ.ศ.2524 ได้แก่การศึกษาภาวะผู้นำในชุมชนห้วยส้านกลาง ระบบทะเบียนบุคคลชาวเขาเพื่อให้ชาวเขามีหลักฐานทางทะเบียนที่จะใช้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรณีต่างๆ และการศึกษาภาวะการขาดแคลนข้าวเนื่องจากปัญหาผลผลิตข้าวตกต่ำ โดยมีการศึกษามูลเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหานี้ |
บทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของสตรีชาวเขาเผ่าอีก้อ | ละเอียด ชอบธรรม | เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยชาวเขา กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2523 | Books (7th floor) DS570.อ6ล65 2523 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00039817 | รายงานฉบับนี้เป็นการศึกษาเพื่อที่จะได้ทราบถึงบทบาทและสถานภาพของสตรีของชาวเขาเผ่า “อีก้อ” หรือ “อาข่า” ผู้ศึกษาได้ลงปฏิบัติงานภาคสนามตามหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดเชียงรายราวๆ 20 หมู่บ้าน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2521 - พ.ศ.2522 ด้วยความมุ่งเน้นที่จะศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของสตรีชาวเผ่าอีก้อ รายงานฉบับนี้จึงไม่ได้มีเพียงข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์อีก้อเท่านั้น แต่ยังมุ่งประเด็นสำคัญไปที่กลุ่มสตรี ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ทัศนคติ และบทบาทของสตรีแต่ละวัยในสถานภาพที่ต่างกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ของสตรีกับเครือญาติที่เป็นเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม จากการศึกษานี้พบว่า สตรีชาวอีก้อต้องแบกภาระอย่างหนักทั้งในครัวเรือนและภาระทางเศรษฐกิจนอกครัวเรือน ในขณะที่สามีใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเสพฝิ่นและทำงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมชาวอีก้อที่ยกย่องสถานภาพของผู้ชายไว้สูงกว่าผู้หญิงนั่นเอง |
ปีใหม่อีก้อ | ละเอียด ชอบธรรม | - | ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา. ปีที่ 2, ฉบับที่ 4 (2521), หน้า 9-13 ISSN 0125-2046 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060658 | พิธีปีใหม่หรือ “กระท้อมพ้า” ของชาวเขาเผ่าอีก้อ จัดขึ้นหลังจากที่ทุกครอบครัวเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและบวงสรวงผีบรรพบุรษที่ชาวอีก้อเชื่อว่าช่วยให้การปลูกข้าวได้ผลผลิตดี คนในชุมชนมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และมีความเป็นอยู่ที่ดี พิธีปีใหม่ของชาวอีก้อใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน มีหัวหน้าพิธีกรรมหรือ “หยือมะ” เป็นผู้กำหนดวันดีสำหรับเริ่มพิธีเป็นวันแรก ในวันนี้ผู้หญิงอีก้อแต่ละครอบครัวจะออกไปตักน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านเพื่อมาใช้ในการประกอบพิธี ในขณะที่ผู้หญิงที่ไม่เกี่ยวข้องและผู้ชายออกป่าล่าสัตว์และหาอาหาร หรือนำของไปขายในเมืองเพื่อนำเงินมาซื้อของใช้ที่จำเป็น ในวันนี้จะมีการทำพิธีบวงสรวงผีบรรพบุรุษในช่วงบ่าย วันที่สองของปีใหม่เป็นวันที่ทุกคนจะรวมกลุ่มพูดคุย เสพฝิ่น หรือเล่นการพนัน ทำกิจกรรมต่างๆ และกินเลี้ยงกันอย่างสนุกสนาน ในวันที่สามจะมีพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษอีกครั้ง นอกจากนั้นก็จะมีการฆ่าหมูเพื่อนำกลับไปปรุงอาหารเลี้ยงคนในบ้านและนำไปกินที่บ้านหัวหน้าพิธีกรรม วันสุดท้ายของพิธีปีใหม่ยังคงเป็นอีกหนึ่งวันที่ชาวอีก้อยังไม่ทำงานและจะออกไปเที่ยวเล่นตามอัธยาศัยที่ไหนก็ได้ |
ชาวเขาเผ่าอีก้อ | โรงเรียนสงครามจิตวิทยา. กรมยุทธศาสตร์ทหาร. กองบัญชาการทหารสูงสุด | กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการปฏิบัติการจุตวิทยาแห่งชาติ, 2518 | Books (7th floor) DS570.A3ก19 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000717 | หนังสือ “ชาวเขาเผ่าอีก้อ” ค้นคว้าวิจัยโดยข้าราชการนักศึกษา โรงเรียนสงครามจิตวิทยา และตีพิมพ์เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานราชการต่างๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับชาวเขาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า นอกจากเนื้อหาโดยทั่วไป เช่น ประวัติความเป็นมาของชาวเขาเผ่า “อีก้อ” หรือ “อาข่า” บ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ความสัมพันธ์กับรัฐบาล หน่วยงานราชการและคดีความ รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ และขีดความสามารถด้านการทหารของชาวเขาเผ่าอีก้ออีกด้วย |
ครอบครัวอีก้อ | วสันต์ ณ ถลาง | - | โบราณคดี ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (ต.ค. 2516), หน้า 157-167 : ภาพประกอบ | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060658 | “อีก้อ” หรือ “อาข่า” เป็นชนกลุ่มน้อยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ครอบครัวอีก้อเป็นครอบรัวขยายที่มีขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยครอบครัวพ่อแม่และครอบครัวของลูกชายเนื่องจากประเพณีการแต่งงานของชาวอีก้อ ฝ่ายหญิงจะต้องเป็นผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่บ้านฝ่ายชาย สังคมอีก้อเป็นสังคมที่ยกย่องให้ผู้ชายมีฐานะที่สูงกว่าผู้หญิง นอกจากจะถูกจำกัดสิทธิทางสังคมบางประการแล้ว ผู้หญิงอีก้อยังต้องทำงานอย่างหนักทั้งงานบ้านและงานในไร่ ในขณะที่ผู้ชายทำงานน้อยและเสพติดฝิ่นกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้หากภรรยาไม่สามารถให้กำเนิดลูกชายได้ สามีก็มีสิทธิที่จะหาภรรยาเพิ่มเพื่อให้ได้ลูกชายมาสืบสกุล ชาวอีก้อมีระบบนับถือผู้อาวุโส และครอบครัวส่วนมากจะมาจากสายตระกูลเดียวกัน จึงมีความผูกพันธ์แน่นแฟ้น หากครอบครัวใดทำเรื่องผิดพลาดเสื่อมเสียก็จะส่งผลกระทบกันไปทั้งหมด |
ข้อห้ามและข้อนิยมเบื้องต้นทางสังคมของชาวเขาเผ่าอีก้อ | พินิจ พิชยกัลป์ | [เชียงใหม่] : สถาบันวิจัยชาวเขา, 2517 | Books (7th floor) DS570.อ6พ63 2517 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037528 | รายงานนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อนิยมและข้อห้ามด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่า “อีก้อ” หรือ “อาข่า” เพื่อใช้ประโยชน์ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกองสงเคราะห์ชาวเขาที่จะออกปฏิบัติงานในท้องที่ที่มีชาวเขาอาศัยอยู่ ข้อมูลในรายงานนี้มีทั้งเรื่องประวัติความเป็นมาและการอพยพโยกย้ายของเผ่าอีก้อ ข้อมูลประชากร การใช้ภาษา ข้อห้ามและข้อนิยมในการเลือกที่ตั้งหมู่บ้าน การจัดสรรพื้นที่ต่างๆ ในหมู่บ้าน และการสร้างบ้าน นอกจากนั้นยังบรรยายลักษณะต่างๆ ของชาวอีก้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกาย หรือวิถีปฏิบัติทั่วไปในชีวิตประจำวัน รายงานนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเครือญาติและการตั้งครอบครัวของชาวอีก้อ การปกครองหมู่บ้าน การประกอบอาชีพ การนับถือศาสนา โชคลาง และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในส่วนท้ายของรายงานกล่าวถึงข้อนิยมในการบำบัดรักษาผู้เจ็บป่วย การเกิด การตาย และทัศนคติทั่วไปเกี่ยวกับชีวิต ข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป ที่ต้องเข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนห่างไกลเหล่านี้ เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจระหว่างกันและได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติงาน |
The Akha, rife with feasts in Feasting in Southeast Asia | Hayden, Brian and Ralana Maneeprasert | Honolulu : University of Hawai’i Press, [2016] | Books (7th floor) (Book chapter) GT4876.5.H39 2016 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00096058 | บทความตอนนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีเลี้ยงฉลองโอกาสสำคัญต่างๆของชาวอาข่าในบริบททางสังคม โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ Michael Joseph Clarke ในตอนต้นของบทความผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมและระบบการปกครองของชาวอาข่า เพื่อเป็นฐานในการทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมการเลี้ยงฉลองของชาวอาข่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าจุดประสงค์ของการจัดงานเลี้ยงฉลองนั้น นอกจากจะมีขึ้นเพื่อพบปะสังสรรค์หรือพูดคุยธุระการงานแล้ว อีกนัยหนึ่งก็ถูกจัดขึ้นเพื่อเป้าหมายทางสังคมของกลุ่มผู้สืบเชื้อสาย หรือสืบสายตระกูล ถือเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวและวงศ์ตระกูลได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากการจัดงานเลี้ยงฉลองแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายต่างๆสูง ผู้ที่สามารถจัดงานเลี้ยงฉลองได้ต้องเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีและเป็นที่นับหน้าถือตาของผู้คนในระดับหนึ่ง |
Space and the production of cultural difference among the Akha prior to globalization : channeling the flow of life | Tooker, Deborah E | Amsterdam : Amsterdam University Press, 2012 | Books (7th floor) DS570.A35T665 2012 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077970 | เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เขียนจากประสบการณ์ภาคสนามของผู้เขียน ที่ทำงานท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในประเทศไทยตอนเหนือและประเทศอื่นโดยรอบ ก่อนที่จะมีการผนวกรวมเข้ากับรัฐชาติในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยจะเน้นช่วงปีค.ศ.1982-1985 กรอบเนื้อหาของการศึกษามีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ การจัดการพื้นที่ในเชิงวัฒนธรรมของสังคมอาข่าในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งมีหลักความคิดที่แตกต่างจากชาวยุโรป ส่วนที่สองคือความสัมพันธ์ของการจัดการพื้นที่ในความหมายเชิงวัฒนธรรม และการจัดการพื้นที่ในความหมายของความเป็นดินแดน เศรษฐศาสตร์การเมือง และประวัติศาสตร์ ส่วนสุดท้ายที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือคือการอภิปรายเปรียบเทียบและทฤษฎีเกี่ยวกับความหมายของพื้นที่ ที่สัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์และการเมืองในภาพรวม รวมทั้งโครงสร้างทางอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า |
The Akha and Phu Noi minorities of Laos in the 1920s | Roux, Henri | Bangkok, Thailand : White Lotus Press, c2011 | Books (7th floor) GN635.L28R68 2011 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073554 | หนังสือเล่มนี้นำเสนอข้อมูลและภาพประกอบที่มีความสมบูรณ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและภูน้อยในประเทศลาวช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของประชากรกลุ่มนี้ที่หาดูได้ยากเนื่องจากในยุคสมัยนั้นยังไม่มีชาวยุโรปเข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวมากนัก เนื้อหาภายในเล่มเผยให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้คน ต้นกำเนิด ลักษณะทางกายภาพ ที่อยู่อาศัย ขนบธรรมเนียม ความเชื่อเรื่องผี พิธีกรรมและงานเฉลิมฉลอง ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยเนื้อหาที่เขียนอย่างเป็นระบบและภาพประกอบที่ไม่สามารถหาดูได้จากที่ไหน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นดังขุมทรัพย์สำหรับผู้ที่สนใจในกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองกลุ่มนี้ |
Songs of memory : Traditional music of the Golden Triangle | Vorreiter, Victoria | Chiang Mai : Resonance, 2009 | Books (7th floor) ML3799.V67 2009 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062973 | สามเหลี่ยมทองคำเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศไทย ลาว และพม่า โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายกลุ่มอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทั้งกะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลาหู่ อาข่า และลีซู ผู้เขียนได้บันทึกเรื่องราวแห่งดนตรีและพิธีกรรมแบบดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า และบรรยายให้เห็นภาพความเชื่อมโยงระหว่างดนตรีและวิถีชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผู้คนบนพื้นที่สูงตั้งแต่เกิดจนตาย สำหรับสังคมอาข่าจะมีผู้นำจิตวิญญาณเป็นผู้ดำเนินการประกอบพิธีกรรมและขับร้องเสียงเพลงในพิธีต่างๆ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นการประกอบพิธีศพ ผู้นำจินวิญญาณจะขับร้องเพลงเพื่อนำทางวิญญาณผู้ตายไปสู่ภพหน้า นอกจากนี้ดนตรีและเสียงเพลงของชาวอาข่ายังมีบทบาทในหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น การเกี่ยวข้าว การร้องรำทำเพลงในงานเทศกาล โดยมีเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่หลากหลายถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นดนตรี ดังที่ผู้เขียนได้รวบรวมภาพถ่ายเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ มาประกอบเป็นข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ภายในเล่มแล้ว |
Changing livelihoods of the Akha in Muang Sing and Muang Long in Laos in living in a globalized world : ethnic minorities in the Greater Mekong Subregion | Houmphan Rattanavong | Chiang Mai, Thailand : Mekong Press, 2008 | Books (7th floor) (Book chapter) GN635.R45L585 2008 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057127 | เมืองสิงและเมืองลองอยู่ในแขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว ติดกับชายแดนประเทศพม่าและประเทศจีน ประชากรส่วนใหญ่ของทั้งสองเมืองเป็นชาวเขาเผ่าอาข่า ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอาข่าผูกพันกับการปลูกข้าวแบบเลื่อนลอย การปลูกฝิ่น และการหาของป่า แม้ว่าภูมิประเทศที่ตั้งถิ่นฐานของชาวอาข่าจะอยู่บนพื้นที่สูงที่ห่างไกล แต่กระนั้นชุมชนชาวอาข่าก็ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิถีชีวิตสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์และผลกระทบจากนโยบายรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้เขียนได้ลงพื้นที่วิจัยเรื่องราวของชาวอาข่าบนพื้นที่สูงเป็นเวลาหลายปี และหวังว่ารายงานจากบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้ชุมชนอาข่ามีความเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก ท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อชุมชนเป็นอย่างมาก |
Religious conversion and ethnic identity : The Karen and the Akha in northern Thailand in living in a globalized world : ethnic minorities in the Greater Mekong Subregion | Panadda Boonyasaranai and Kwanchewan Buadaeng | Chiang Mai, Thailand : Mekong Press, 2008 | Books (7th floor) (Book chapter) GN635.R45L585 2008 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057127 | การเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนาในหมู่ชาวเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย เป็นประเด็นศึกษาที่นักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจมาหลายทศวรรษ เมื่อเปรียบเทียบกับชนส่วนใหญ่บนที่ราบซึ่งนับถือศาสนาพุทธพบว่า อัตราการเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาไปเป็นศาสนาคริสต์ของชาวเขามีสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด ความน่าสนใจของการศึกษานี้อยู่ที่วิถีการดำเนินชีวิตของชาวเขา ซึ่งผู้เขียนมุ่งเน้นไปที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและอาข่า ที่ยังคงดำรงเอาไว้ซึ่งความเชื่อและวิถีปฏิบัติแบบดั้งเดิม ควบคู่ไปกับความเชื่อทางศาสนาที่เข้ามาใหม่ได้อย่างกลมกลืน |
Akha of Northwest Laos : Modernity and Social Suffering in Challenging the Limits : Indigenous Peoples of the Mekong Region | Lyttleton, Chris and Gravers, Mikael | Chiang Mai, Thailand : Mekong Press, 2008 | Books (7th floor) (Book chapter) GN635.R45C535 2008 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057132 | บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในเขตเมืองสิงและเมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ การตั้งรกรากของชาวอาข่า การทำไร่เลี่อนลอย และการกวาดล้างฝิ่นตามนโยบายสมัยใหม่ของรัฐบาลลาว ความพยายามในการยกเลิกการทำไร่เลื่อนลอยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายอนุรักษ์ป่าไม้ของรัฐบาล ในขณะที่การโยกย้ายถิ่นฐานของชนบนพื้นที่สูงลงสู่พื้นราบก็เป็นส่วนสำคัญของการจัดสรรพื้นที่เพื่อที่จะจัดระบบบริการของภาครัฐให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ในส่วนของความพยายามในการลดจำนวนการปลูกฝิ่นก็เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสงครามยาเสพติดที่เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก สำหรับชาวอาข่า ฝิ่นเป็นพืชสำคัญที่มีการปลูกมายาวนาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านสันทนาการ การรักษาความเจ็บป่วย และเพื่อเป็นรายได้หรือนำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชาวพื้นราบ ชาวอาข่ายังเชื่อด้วยว่าฝิ่นสามารถนำมาทำเป็นยาครอบจักรวาล สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยได้มากมายหลายโรค นโยบายของรัฐทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายของชาวอาข่าจากยอดเขาลงสู่เมือง และต้องเผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากหลากหลายประการ โดยเห็นได้จากอัตราการเจ็บป่วย การตาย และความยากจนของชาวอาข่าที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ |
Significance and role of the chicken in the Akha worldview | Sukanya Sujachaya, Chomnard Sitisarn | - | Manusya. vol. 8, sp.no. 9 (2005 Supplement), p.62-79 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00062696 | จากการศึกษาภาคสนามเกี่ยวกับคติความเชื่อของชาวอาข่า 2 กลุ่มในจังหวัดเชียงรายพบว่า ชาวอาข่าแบ่งไก่ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ไก่ป่าแดง ไก่ล่อ และไก่บ้าน ความแตกต่างของไก่ทั้งสามชนิดคือ ชาวอาข่าเชื่อว่าไก่ป่าแดงเป็นไก่ในโลกของจิตวิญญาณและมีไว้เพื่อบริโภคเท่านั้น โดยจะไม่นำมาเป็นเครื่องบูชาในพิธีกรรมต่างๆ ส่วนไก่ล่อซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของไก่บ้าน แต่มีขนาด สี และเสียงขันคล้ายๆกับไก่ป่าแดง ถูกมองว่าอยู่ระหว่างโลกของมนุษย์และโลกของจิตวิญญาณและมีสถานะที่สูงกว่าไก่บ้าน ในขณะที่ไก่บ้านซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์ เป็นเหมือนสื่อกลางระหว่างมนุษย์และผีบรรพบุรุษ ชาวอาข่าใช้ไก่บ้านเพื่อบริโภคและเป็นเครื่องบูชาในโอกาสต่างๆ จึงเห็นได้ว่าตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรมเกี่ยวกับไก่เป็นความเชื่อหนึ่งที่สำคัญของชาวอาข่า สะท้อนให้เห็นมุมมองของชาวอาข่าที่มีต่อโลก ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จิตวิญญาณ มนุษย์ และสัตว์ |
Border landscapes : the politics of Akha land use in China and Thailand | Sturgeon, Janet C. | Chiang Mai : Silkworm Books, c2005 | Books (7th floor) DS528.2.K37S78 2005 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057462 | พื้นฐานเนื้อหาของงานเขียนชิ้นนี้มาจากงานวิจัยภาคสนามและการค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์ โดยผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นวิถีที่แตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า “อาข่า” ในประเทศไทย และ “ฮานิ” ในประเทศจีน ในด้านความเป็นอยู่ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศชายขอบและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยเปรียบเทียบกันในบริบททางการเมือง ซึ่งจะเห็นได้ว่าชาวอาข่าในประเทศจีนมีสถานะเป็นพลเมืองของประเทศและมีบทบาททางสังคมในฐานะเป็นผู้ผลิตข้าว ในขณะที่ชาวอาข่าในประเทศไทยไม่ได้รับการยอมรับสถานะการเป็นพลเมืองของชาติ มากไปกว่านั้นในบางพื้นที่ยังมีความพยายามจากภาครัฐที่จะแยกชาวอาข่าออกมาจากพื้นที่ป่าสงวน โดยรัฐมองว่าชาวเขาและชาวอาข่าเป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่านั่นเอง
|
Laos and ethnic minority cultures : Promoting heritage | Goudineau, Yves | Paris : UNESCO, 2003 | Books (7th floor) DS555.44.L36 2003 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00036165 | หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในประเทศลาว ภายในตัวเล่มแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการเกริ่นนำให้เห็นภาพวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในประเทศลาว และภารกิจเร่งด่วนที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ ส่วนที่สองเกี่ยวกับความหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ภาษาและวรรณกรรม ดนตรี รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และหัตถศิลป์สิ่งทอ เนื้อหาส่วนที่สามนำเสนอประสบการณ์อนุรักษณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา จีน ไทย และเวียดนาม ในขณะที่ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องการปฏิบัติการระดับชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชนกลุ่มน้อยในประเทศลาว |
The Akha journal of the Golden Triangle | Akha National Congress | Salem, Oregon : Akha National Congress, 2003 | Books (7th floor) DS570.A35A34 2003 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040956 | วารสารฉบับนี้รวบรวมบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเขาเผ่าอาข่า ทั้งด้านความเป็นอยู่และประเพณี พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ การทำเกษตรกรรม ดนตรี รวมทั้งระบบการศึกษาสมัยใหม่จากตะวันตกที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตชาวอาข่าโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นอกจากนี้ยังมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการปกครองและปัญหาจากการปราบปรามยาเสพติดของรัฐไทยซึ่งทำให้เกิดการสังหารชาวอาข่าเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามถึงสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยขึ้นมาอย่างกว้างขวาง ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งของวารสารฉบับนี้คือ มีข้อมูลเกี่ยวกับร่างอนุสัญญาว่าด้วยชนพื้นเมืองและประชากรที่เป็นชนเผ่าในประเทศเอกราช ซึ่งมีใจความหลักเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมืองนั่นเอง |
Akha oral literature | Lewis, Paul W | Bangkok, Thailand : White Lotus Co., Ltd, 2002 | Books (7th floor) GR380.L49 2002 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030891 | หนังสือเล่มนี้รวบรวมเกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่องเล่าของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งนิทาน ตำนาน มหากาพย์ บทกวีเรื่องกำเนิดมนุษย์ สุภาษิตคำพังเพย และเพลงกล่อมเด็ก ผู้เขียนใช้เวลาร่วม 50 ปีในการถ่ายทอดวรรณกรรมเรื่องเล่าเหล่านี้ให้เป็นภาษาเขียนโดยการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเห็นได้ว่าชาวอาข่าที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน พม่า ลาว และไทย ล้วนแต่มีวรรณกรรมเรื่องเล่าที่เป็นเอกลักษณ์และถูกถ่ายทอดส่งต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนคลังปัญญาที่มีทั้งความสนุกสนาน และตลกขบขัน จากเรื่องเล่าที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษ |
The Akha : Guardians of the forest | Goodman, Jim | [Bangkok] : Teak House, 1997 | Books (7th floor) DS731.K38G66 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015223 | กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าถือเป็นหนึ่งในกลุ่มชนบนพื้นที่สูงแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีวิถีชีวิตที่มีสีสัน ทั้งจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่แปลกตาและประเพณีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใคร ต้นกำเนิดของชาวอาข่าอยู่ที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน จากนั้นจึงได้กระจายเข้าสู่ประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และตอนเหนือของประเทศไทย เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ บอกเล่าเรื่องราวของชาวอาข่าตั้งแต่ครั้งเริ่มแสวงหาที่อยู่อาศัยท่ามกลางป่าเขา ความเชื่อเรื่องผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างชาวอาข่ากับป่าไม้รวมทั้งความสัมพันธ์กับโลกภายนอก นอกจากนี้ยังมีเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอาข่า กิจกรรมสันทนาต่างๆ ที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน ตลอดทั้งการศึกษาสามัญของเยาวชนอาข่า แม้ว่าโลกภายนอกจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งยังส่งผลกระทบไปยังกลุ่มคนบนพื้นที่สูงไม่น้อย แต่ชาวอาข่าก็ยังคงพยายามสืบสานวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนเอาไว้ |
Meet the Akhas | Goodman, Jim | Bangkok : White Lotus, 1996 | Books (7th floor) DS570.K38G66 1996 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012992 | หนังสือเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ให้แก่นักศึกษาและนักเดินทางที่มีความสนใจในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ แม้ว่าชาวอาข่าจะมีถิ่นที่อยู่กระจายกันไปตามพื้นที่สูงของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย แต่ชาวอาข่าในประเทศไทยถือเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจและมีผู้ต้องการเดินทางเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตมากที่สุดในภูมิภาค เนื้อหาภายในเล่มอธิบายถึงสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรรู้เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น การปลูกสร้างบ้านเรือนและความเป็นอยู่ในหมู่บ้านอาข่า การทำเกษตรกรรมบนยอดเขา วิถีชีวิตและความเชื่อของชาวอาข่าตั้งแต่เริ่มถือกำเนิดจนกระทั่งถึงแก่ความตาย และส่วนสำคัญในตอนท้ายของเล่มคือการเรียนรู้ภาษาพูดของชาวอาข่า เพื่อการสื่อสารในพื้นที่ด้วยความเข้าใจนั่นเอง |
Begging for Blessing among Akha Highlanders of Northern Thailand in Merit and blessing in mainland Southeast Asia in comparative perspective | Kammerer, Cornelia Ann | New Haven, Conn. : Yale University Southeast Asia Studies, c1996 | Books (7th floor) (Book chapter) GN635.S58M47 1996 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00055486 | บทความนี้เขียนโดยนักวิจัยที่คลุกคลีอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในประเทศไทยเมื่อครั้งเข้ามาศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ในปีค.ศ.1979-1981 นอกจากเป็นนักวิจัยแล้วผู้เขียนยังมีแม่บุญธรรมเป็นสตรีชาวอาข่าอีกด้วย จากการได้ใช้ชีวิตร่วมกับชาวอาข่าทำให้ผู้เขียนมีทั้งประสบการณ์และข้อสงสัยเกี่ยวกับการสวดขอพรตามความเชื่อของชาวอาข่า ซึ่งมีความเชื่อในการบูชาผีบรรพบุรุษและสวดขอพรแตกต่างไปจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในประเด็นหนึ่งคือ แม้ว่าสังคมอาข่าจะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นอาวุโส แต่ทุกคนก็มีความเท่าเทียมกันในการที่จะได้รับพรจากผีบรรพบุรุษในฐานะลูกหลาน การบูชาผีบรรพบุรุษของชาวอาข่าจึงไม่ได้ทำเพื่อให้ผีบรรพบุรุษพึงพอใจเท่านั้น หากแต่ผู้ขอพรก็จะได้รับความเป็นศิริมงคล และความอุดมสมบูรณ์แก่ชีวิตกลับมาด้วยเช่นกัน |
'Wayfarers of the Thai forest :the Akha /by Frederic V.Grunfeld and the editors of Time-Life Books ; photographs by Michael Freeman. | Grunfeld, Frederic V. | Amsterdam : Time-Life Books, c1982 | Books (7th floor) DS570.K38G78 1982 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012992 | หนังสือนี้เขียนจากประสบการณ์ของนักประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและช่างภาพผู้มีประสบการณ์เดินทางเพื่อทำงานในหลายพื้นที่ ทั้งสองใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการอยู่อาศัยและศึกษาเรื่องราวของชาวอาข่าในหมู่บ้านท่ามกลางป่าเขาสูงทางตอนเหนือของประเทศไทยที่มีชื่อเรียกในหนังสือเล่มนี้ว่าหมู่บ้าน “Napeh” ทั้งคู่อาศัยอยู่กับครอบครัวของผู้นำหมู่บ้าน เพื่อที่จะเรียนรู้ความเป็นอยู่ พิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอาข่าในทุกๆ ด้าน ทั้งในเรื่องการแต่งกาย ความสัมพันธ์ของชาวอาข่ากับป่าไม้ที่ผสมกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน ความเชื่อเรื่องการสร้างที่อยู่อาศัยและความเชื่ออื่นๆ ตลอดทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆของชาวอาข่า ที่ส่งผ่านไปยังผู้สืบทอดแบบปากต่อปาก รุ่นสู่รุ่น ล้วนแล้วแต่ทำให้ชาวอาข่ามีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากชาวไทยในพื้นที่ราบทั้งสิ้น |
Socio-economic roles of the Akha women | - | [s.l. : s.n., 1970?] | Books (7th floor) DS731.K38S63 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043465 | เพื่อที่จะทำความเข้าใจบทบาทด้านเศรษฐกิจสังคมของสตรีชาวอาข่า หนังสือเล่มนี้ได้เริ่มปูพื้นฐานความเข้าใจสังคมอาข่าตั้งแต่เรื่องประวัติการย้ายถิ่นฐาน จำนวนประชากร การใช้ภาษา ไปจนถึงเรื่องลักษณะพื้นฐานด้านเศรษฐกิจสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า โดยแยกเป็นลักษณะเฉพาะด้านสังคม และลักษณะเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ในส่วนของบทบาททางเศรษฐกิจสังคมของสตรีอาข่านั้น เริ่มตั้งแต่ชีวิตวัยเด็กที่ต้องเรียนรู้การทอผ้าและตัดเย็บเครื่องแต่งกาย รวมทั้งมีหน้าที่รับผิดชอบงานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมอาหาร ทำความสะอาดบ้าน ตีข้าว หาบน้ำ ตัดฟืน ไปจนถึงการทำไร่ สตรีอาข่ามีภาระรับผิดชอบมากมายตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเข้าสู่วัยแต่งงาน สตรีอาข่าหลายคนต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวและซื้อฝิ่นให้สามี จึงจะเห็นได้ว่าหลังจากแต่งงานไปแล้ว หญิงสาวชาวอาข่าจะมีร่างกายที่ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากต้องทำงานหนักตลอดเวลานั่นเอง |
Minority groups in Thailand | American University. Cultural Information Analysis Center | Washington : Headquarters, Dept. of the Army, 1970 | Books (7th floor) GN635.T5A64 1970 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00052409 | หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งหมด 18 บท ครอบคลุมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยทั้งหมด 19 กลุ่ม ในแต่ละบทประกอบไปด้วยข้อมูลขนาดประชากรและสถานที่ตั้งของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ภาษา ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะนิสัย โครงสร้างทางสังคม วิถีปฏิบัติและข้อห้าม ความเชื่อทางศาสนา องค์ประกอบทางเศรษฐกิจและการเมือง ทักษะในการสื่อสาร โดยในบทที่ 14 เป็นข้อมูลของชาวเขาเผ่าอาข่าพร้อมแผนที่แสดงที่ตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องเข้าไปทำงานร่วมกับชาวอาข่า และเพื่อเป็นประโยชน์กับกองทัพและประชาชนโดยทั่วไปที่มีความสนใจในข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ |
Akha and Miao : Problems of applied ethnography in farther India | Bernatzik, Hugo Adolf | Haven, Human Relations Area Files, 1970 | Books (7th floor) DS731.M5B413 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00007051 | หนังสือเล่มนี้แปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน เนื้อหาทั้งหมดแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกพูดถึงที่มาของชื่อเรียกอาข่าและแม้ว ประวัติการตั้งถิ่นฐาน การจัดการทางสังคมและการปกครอง ทั้งในเรื่องลำดับเครือญาติ สถาบันครอบครัว ผู้สืบสกุล และการปกครองในระดับผู้นำหรือประมุขของชุมชน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปะแขนงต่างๆ ความเชื่อทางศาสนา ตำนาน และการรักษาโรค ในตอนที่สองเป็นเรื่องของลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม การทหาร การติดต่อสื่อสารและการค้า ภาษา ข้อมูลประชากรของชาวอาข่าและแม้วโดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง ในตอนท้ายพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและผลกระทบที่ได้รับจากลัทธิอาณานิคม โดยแยกเป็นกรณีของแต่ละประเทศ ได้แก่ จีน พม่า ไทย และในภูมิภาคอินโดจีน |
The Semai :a nonviolent people of Malaya | Robert Knox Dentan | New York : Holt, Rinehart and Winston, 1968 | SAC Library-Books-DS595.D44 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00007228 | ชาวเซไม (Semai) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแถบแหลมมลายู มีความน่าสนใจต่อการศึกษาของนักมานุษยวิทยาหลายประการ เช่น พวกเขาเป็นหลักฐานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ที่แสดงให้เห็นถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชนพื้นเมืองโบราณและมีการแพร่กระจายประชากรไปทั่วทุกพื้นที่ ในขณะเดียวกัน วิถีชีวิตแบบชนเผ่าดั้งเดิมของชาวเซไมที่ยังคงทำการตัด เผา เพาะปลูก และเก็บเกี่ยวพืชพรรณในบริเวณแห่งนั้นเป็นเวลา 1-2 ปีแล้วอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ที่สำคัญที่สุด พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ไม่มีวัฒนธรรมด้านความขัดแย้งและความรุนแรง |
Manuscript Book I (1998) (Planned dissertation) | Geusau, Alting Von | [Chiang Mai : n.p., 19--?] | Books (7th floor) DS731.K38G48 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033691 | หนังสือนี้รวบรวมต้นฉบับแผนงานวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาปรัชญา ที่เขียนขึ้นระหว่างลงพื้นที่วิจัยชุมชนชาวอาข่าทางตอนเหนือของประเทศไทย ระหว่างปีค.ศ.1977-1979 หัวข้อวิจัยของผู้เขียนครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายประเด็น เช่น ด้านประชากร ภาษา วิถีชีวิต ความเชื่อและศาสนา รวมทั้งความเป็นชายขอบของชาวอาข่าในประเทศไทย ในส่วนของบทความที่ค้นคว้าเรื่องการจัดการระบบนิเวศน์และที่อยู่อาศัยก็ได้ถูกนำเสนอในงานประชุมที่ประเทศฟิลิปปินส์ในปีค.ศ.1996 นอกจากนี้ยังมีบันทึกเกี่ยวกับหมู่บ้านอาข่าที่บอกเล่าเรื่องราวโดยสตรีผู้นำอาข่า หัวหน้าหมู่บ้าน ครู และหมอผีประจำหมู่บ้าน |
The situation of the hill peoples, a mountain peoples stay in Thailand | La Fon Itching Funguso | Bangkok : The Siam Society Under Royal Patronage, 19--. | Audio Visual Materials :VT 001400 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00067388 | ชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่สูงของประเทศไทยเป็นกลุ่มที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม และการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส แต่หากจะศึกษาให้ลึกลงไปในเรื่องสถานการณ์ของชาวเขาในประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องศึกษาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในพื้นที่กว้างออกไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม รวมทั้งมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศก็มีสถานการณ์ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งระบอบการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศโดยเฉพาะการปกครองแบบสังคมนิยมก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการมีตัวตนของชนกลุ่มน้อย ดังจะเห็นได้จากประเทศจีนในอดีตที่มีการกดดันชนกลุ่มน้อยอย่างหนักจากรัฐบาล จนต้องมีการอพยพย้ายถิ่นลงมาทางใต้ นอกจากนี้การที่จะศึกษาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยยังต้องทำความเข้าใจกับความเป็นมาที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยมีวิถีชีวิต ระเบียบปฏิบัติ และค่านิยมที่แตกต่างจากชาวพื้นราบซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย |
ประเพณีงานศพอาข่า | กลุ่มศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป. | Audio Visual Materials :CDF 000031 | http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00073546 | สารคดีประเพณีงานศพอาข่านี้ถ่ายทำที่บ้านแสนเจริญเก่า ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ผู้ทำพิธีคือ “พิมะ” และ “ผู้นำพิธีสวด” พิธีศพของชาวอาข่ากินเวลาหลายวัน ระหว่างพิธีจะมีการเซ่นไหว้ด้วย หมู ไก่ และควายในแต่ละวันตามความเชื่อ พิมะและผู้นำพิธีจะสวดแยกวิญญาณระหว่างผู้ที่ล่วงลับไปแล้วกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และสวดอำลาวิญญาณ นอกจากการสวดเพื่อส่งวิญญาณผู้เสียชีวิตแล้วก็จะมีการสวดเพื่อขอพรอีกด้วย โดยเริ่มจากเจ้าภาพเป็นผู้ขอพรจากพิมะก่อน จากนั้นก็ขอพรจากผู้อาวุโสที่มาร่วมงาน ในพิธีศพของชาวอาข่าจะมีการวาดร่างกายชายผู้หนึ่งให้เป็นแมวลายตามความเชื่อเพื่อที่จะไม่ให้ผู้เสียชีวิตกลายเป็นผีปอบ หลังจากต้มไก่สุกแล้วจะให้ชายผู้เป็นแมวลายกินเป็นคนแรก เมื่อเสร็จพิธีเจ้าภาพจะรินเหล้าเพื่อขอพรแมวลายอีกครั้ง จากนั้นแมวลายจะวิ่งไปตามหมู่บ้าน เมื่อแมวลายหยุดที่บ้านใดเจ้าของบ้านจะออกมารินเหล้าให้แมวลายเพื่อขอพร ในวันสุดท้ายของพิธีจะมีการฆ่าควายเพื่อเซ่นไหว้ หลังจากนั้นจะชำแหละควายเพื่อให้พิมะนำส่วนหนึ่งไปต้มสำหรับเซ่นไหว้ อีกส่วนก็นำมาแบ่งให้แก่พิมะ ผู้ทำพิธี และญาติผู้เสียชีวิต และส่วนสุดท้ายแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่มาร่วมพิธ |