Title Author Imprint Collection Url Annotation
แม้ว สุดาวดี เตชานันท์ กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555 Book: DS570.ม8ส735 2555 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00078967 หนังสือเรื่อง “แม้ว” เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ
ของไทย โดยรวบรวมเป็นชุดความรู้ทั้งหมด 4 เรื่อง คือ 1. สภาพทางสังคมวัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ของความเป็นแม้ว ในเรื่องบุคคลสำคัญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ข้อห้ามข้อนิยามสำคัญของกลุ่มชน 2. ตำนานเรื่องฝิ่น การรักษาโรค และพิธีกรรมเฉพาะกลุ่มเครือญาติ 3. คุณค่าทางวัฒนธรรมทางด้านความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างบ้าน การทำนาย การบำบัดรักษา เครื่องมือประกอบพิธีกรรม เพลง และการละเล่น 4. เกร็ดความรู้ความแตกต่างต้นกัญชงและต้นกัญชา ผู้นำแม้วระดับท้องถิ่น ซึ่งหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการอันเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าแม้วเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รู้จักกลุ่มชน
บนพื้นที่สูงกลุ่มนี้

 
ม้งลาวในประเทศไทย : นโยบายและการดำเนินการของภาครัฐไทย (2518-2552) สุภางค์ จันทวานิช กรุงเทพฯ : กรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย, 2554 Books: DS570.ม8ม24 2554 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00074073 หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการอพยพของชาวม้งลาวเข้ามายังประเทศไทยตั้งแต่ยุคสงครามเย็นจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ ลักษณะการอพยพของชาวม้งลาวได้เปลี่ยนจากการหลบหนีภัยสงครามมาเป็นการย้ายถิ่นฐานหลายรูปแบบปะปนกัน ทำให้มีประเด็นในเชิงสิทธิมนุษยชนที่มีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันในแง่สิทธิของคนกลุ่มนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ให้ความสนใจและติดตามนโยบายและการดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มม้งถ้ำกระบอก กลุ่มม้งห้วยน้ำขาว และกลุ่มม้งที่มีสถานะเป็นบุคคลที่ได้รับความห่วงใยจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติที่อยู่ในอาคารควบคุมด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดหนองคาย แม้ชาวม้งทุกกลุ่มนี้จะไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย แต่ก็อยู่ในความสนใจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในหมู่ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ตลอดจนผู้ที่สนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
 
รายงานผลการวิจัยเรื่องการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่า อุดม เจริญนิยมไพร เชียงใหม่ : สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT), 2549 Research and Thesis: DS570.ม8อ734 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060021 งานวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูงของประเทศไทย ซึ่งได้ศึกษาองค์ความรู้ จารีตประเพณี ความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชนเผ่าม้งและกะเหรี่ยง ที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายชีวภาพที่ยั่งยืน การปรับตัวของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายข้อกฎหมายและกระบวนการพัฒนาที่เข้ามาในชุมชน โดยใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จากการศึกษาพบว่า ประวัติศาสตร์และโครงสร้างของชุมชน ผู้นำตามประเพณี มีความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ต่อการใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
(ดิน น้ำ ป่า สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) อย่างเป็นระบบ มีความคิด ความเชื่อ จารีตประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ
ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้มีปัจจัยที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนทำให้เกิดการกลืนกินวัฒนธรรมของชนเผ่าจนเกือบสูญหาย เกิดจากการพัฒนาที่มาจากภายนอกที่เน้นเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ ศาสนาใหม่ ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ และการเข้ามาสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ส่งผลกระทบทั้งสิ้นต่อการปรับตัวและการต่อต้านของชุมชนในอดีต

 
เค่ง : เครื่องดนตรีในวิถีชีวิตม้ง มณเฑียร รุ่งหิรัญ [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.,ม.ป.ป.] Research and Thesis: ML541.ท9ม38 2549 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056205 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา "เค่ง" ซี่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทแคนของชาวม้ง โดยศึกษา ณ ตำบลเข็กน้อยอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเรื่องลักษณะทางกายภาพ ระบบเสียง
การสร้างและบทบาทหน้าที่เค่งในสังคมชาวม้ง ผลการศึกษาพบว่า "เค่ง" เป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องลม

ที่มีระบบบันไดเสียง 6 เสียงซึ่งโน๊ตตัวที่ 1(F4) และโน๊ตตัวที่ 6 (F3) ห่าง 1 ช่วงเสียง (1 Octave) ลักษณะทางกายภาพของเค่งมี 3 ส่วน ได้แก่ เต้าเค่ง ท่อเสียงและลิ้นทองเหลือง การสร้างเค่งของลุงกะเปา คีรีกุลไพศาล
มีหลายขั้นตอนเริ่มจากการจัดหาวัสดุ เตรียมวัสดุ และสร้างเค่ง การสร้างเค่งต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญอย่างมาก โดยเฉพาะการแต่งลิ้นทองเหลืองเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ เสียงเค่งที่ดีหมายถึงการเป่าเพื่อเลียนเสียงคำพูดได้ชัดเจน บทบาทของเค่งต่อสังคมวัฒนธรรมม้งมี 10 ด้าน ดังนี้ เอกลักษณ์ความเป็นม้ง บทบาททางด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์ บทบาททางด้านพิธีกรรม บทบาทการรวมคนในสังคมม้งให้เป็นหนึ่งเดียวกัน บทบาททางด้านเศรษฐกิจ บทบาททางด้านระบบเครือญาติ บทบาททางด้านการศึกษาและการขัดเกลาทางสังคม บทบาททางด้านวรรณกรรม และการสื่อสาร บทบาททางด้านนันทนาการและการเกี้ยวพาราสี และเค่ง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม

 
ถือติ : พลวัตของพิธีกรรมและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนม้ง อะภัย วาณิชประดิษฐ์ [กรุงเทพฯ] : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, 2548 Research and Thesis: DS570.ม8อ646 2548 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00060261 งานวิจัยเล่มนี้กล่าวถึงความเป็นมาในการประกอบพิธีกรรมถือติซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อของม้งบ้านแม่สาใหม่ หมู่ 6 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ –ปุย งานเขียนได้กล่าวถึงม้งในหมู่บ้านว่าเป็นกลุ่มที่เคยอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและย้ายไปอยู่พม่าก่อนที่จะกลับมาตั้งหมู่บ้านกับกลุ่มที่ยังอยู่ในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง สำหรับจุดมุ่งหมายของการทำพิธีถือติก็เพื่อขอให้เทพถือติหรือเทพที่เป็นเจ้าที่ผืนแผ่นดินให้ความคุ้มครองพืช สัตว์เลี้ยงและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติและมนุษย์ ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องการประกอบพิธีกรรมถือติได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
เช่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ม้งได้อาวุธปืนจากทหารญี่ปุ่น ทำให้ไม่กลัวอันตรายจากสัตว์ป่าเท่าเมื่อก่อน การเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ การปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ฯลฯ ทำให้พิธีกรรมถือติลดบทบาทสำคัญลง ปัจจุบันม้งบ้านแม่สาใหม่ได้นำความเชื่อเรื่องพิธีกรรมถือติมาปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัยเพื่อใช้ในการอนุรักษ์ป่าเขาต้นน้ำลำธาร

 
ม้ง : หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง ประสิทธิ์ ลีปรีชา กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548 Research and Thesis: DS570.ม8ป46 2548 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048604 หนังสือเล่มนี้เป็นรายงานการวิจัยที่ผู้ศึกษาได้ทำการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลจากชาวม้ง
ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้นำเสนอบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่ส่งผลต่อการอพยพเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ของชาวม้ง ความเป็นมาและสถานภาพปัจจุบันของชาวม้งที่เข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ และความสำคัญของทุนทางสังคมที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนและการประกอบอาชีพในเมือง รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม กลุ่มชาติพันธุ์ และในระดับข้ามชาติ ซึ่งงานวิจัยเล่มนี้ผู้เขียนได้นำเสนอการสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของชาวม้ง อันเนื่องมาจากบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการทางวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของชาวเขาเผ่าม้ง ในชุมชนเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเ วานุรัตน์ แสนยากุล กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547 Research and Thesis: DS570.ม8ว63 2547 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037525 งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติการเกิดของชุมชนเข็กน้อยในสมัยที่กำลังมีการต่อสู้เพื่อต่อต้านการปกครองของรัฐ และพัฒนาการทางวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของชาวม้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ติดต่อกับคนพื้นราบ โดยศึกษากลุ่มประชากรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ในชุมชนเข็กน้อย ตำบลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเข็กน้อยเกิดขึ้นพร้อมกับการตั้งค่ายพักทหารอาสาสมัครชาวเขาซึ่ง
ผลจากการนำชาวม้งมาอยู่รวมกัน ทำให้เกิดหมู่บ้านชาวม้งสมัยใหม่ขึ้น และได้รับการดูแลช่วยเหลือรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง มีการติดต่อค้าขายกับชาวพื้นราบจนเกิดการยอมรับและปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตในการอยู่ร่วมกัน ปัจจัยอีกด้าน คือชาวม้งในชุมชนเข็กน้อยได้รับการศึกษาจนสามารถนำความรู้มาพัฒนาชุมชนจนมีความแตกต่างไปจากหมู่บ้านอื่น ทั้งทางด้านวัฒนธรรมทางสังคมและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ

 
ศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมข วิชัย จ้าวเจริญ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547 Research and Thesis: DS570.ม8ว72 2547 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00059834 งานวิจัยเล่มนี้ศึกษาศักยภาพและการจัดการ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชนม้งบ้านป่าเกี๊ยะใน หมู่ 8 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชุมชนนี้แต่เดิมได้ทำการเกษตรแบบดั้งเดิมคือปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน กระทั่งทางการได้มีนโยบายห้ามการปลูกฝิ่นเมื่อ พ.ศ.2528 ม้งจึงหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อทดแทนฝิ่นที่เคยปลูกแต่เดิม การเปลี่ยนมาปลูกพืชเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม แม้จะทำให้ม้งมีรายได้มากขึ้นแต่ก็ทำให้มีหนี้สินเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจากคนภายนอกชุมชนรวมทั้งปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐในเรื่องประกาศพื้นที่อนุรักษ์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ที่ทับซ้อนกับที่ทำกินของคนในชุมชน อุปสรรคเหล่านี้ทำให้ม้งต้องร่วมมือกันเพื่อจัดสรรการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งน้ำในชุมชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าทรัพยากรในชุมชนจะยังคงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของคนในชุมชน
 
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยของเยาวชนชาวเขาเผ่าม้งบ้านป่าคา ตำบลคีรีราษฎร์ รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ [กรุงเทพฯ] : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2547 Research and Thesis: HE5613.6.ท9ร72 2547 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056776 งานวิจัยเล่มนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของเยาวชนชาวเขาเผ่าม้ง บ้านป่าคา ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ระหว่างเดือนตุลาคม 2546 – กรกฎาคม 2547 จำนวน 80 คน ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัย การรณรงค์ การเผยแพร่เรื่องการขับขี่ปลอดภัย ผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม การสังเกต การเก็บข้อมูลเชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดกิจกรรมสุขศึกษาให้กับเยาวชน พบว่าเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัย ดีกว่าก่อนการวิจัย แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงาน ความหลากหลายของกิจกรรม
การเพิ่มพูนทักษะด้านการประเมินความเสี่ยงบนถนน และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการใช้รถใช้ถนน
ที่เหมาะสมสำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง
ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง หมู่บ้านสบเป็ด อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บุญลอย จันทร์ทอง {ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2547] Research and Thesis: DS570.ม8บ74 2547 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046283 งานวิจัยเล่มนี้ศึกษาวิจัยดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง กรณีศึกษาหมู่บ้านสบเป็ด อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดนตรีในวัฒนธรรมมุขปาฐะ ในพิธีกรรมงานศพ รวมทั้งลักษณะทางดนตรีของบทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชาวเขาเผ่าม้งตามแบบดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าม้ง สามารถแยกประเด็นการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือพิธีกรรมของงานศพการศึกษาดนตรีในวัฒนธรรมและบทเพลงของการวิเคราะห์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชาวเขาเผ่าม้งยังคงรักษาความเป็นวัฒนธรรมของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานศพความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณและขั้นตอนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน ส่วนดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในงานศพ อยู่ในตระกูลเครื่องลม และใช้เครื่องมือที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ได้มีการสืบทอดกันมาช้านาน ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นในยุคสมัยใด บทเพลงใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมงานศพเป็นส่วนใหญ่
โดยชาวม้งถือว่าดนตรีกับพิธีกรรมการงานศพเป็นสิ่งที่ควบคู่กันและมีความสำคัญที่สุดของชาวม้ง
การใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าของชุมชนชาวพื้นเมือง ม้ง และกะเหรี่ยงในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สุทัศน์ สุภาษี เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 Research and Thesis: DS570.ม8ส74 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056300 งานวิจัยเล่มนี้ศึกษาเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าของชุมชนชาวพื้นเมือง ม้ง และกะเหรี่ยง
ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัย สถานภาพทางภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการเข้าไปใช้ผลิตภัณฑ์จากป่า ภูมิปัญญาชนเผ่าในการเข้าไปใช้ รักษา อนุรักษ์ ตลอดจนการจัดการป่าและการดำรงชีพที่อาศัยผลิตภัณฑ์จากป่าของชุมชนเมือง พบว่าชุมชนพื้นเมือง ม้งและกะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานอยู่ในระดับความสูงต่างกัน ยังผลให้มีสภาพป่า ชนิดของป่า ความหลากหลายทางชีวภาพต่างกัน โดยชุมชนม้งมีการใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าน้อยที่สุด แต่ต้องการใช้พื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชพาณิชย์มากที่สุด ชุมชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าทั้งพืช สัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์เลี้ยง ในการเข้าไปใช้ รักษา อนุรักษ์ ตลอดจนการจัดการป่าของชุมชนที่ศึกษาในปัจจุบัน ได้ใช้วิธีจัดการด้วยภูมิปัญญาอันเป็นวัฒนธรรม ความเชื่อที่เป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธ์ที่มีอยู่ เพื่อควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรป่าไม้ และพื้นที่โดยอาศัยอำนาจรัฐ ผ่านทางกฎหมายและกฎของชุมชนที่ตั้งขึ้น
พลวัตของความรู้ท้องถิ่นในฐานะปฏิบัติการของการอ้างสิทธิเหนือทรัพยากรบนที่สูง : กรณีศึกษาชุมชนม้ง บ้าน อะภัย วาณิชประดิษฐ์ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 Research and Thesis: DS570.ม8อ64 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038033 วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาการอ้างสิทธิชุมชนของชุมชนม้งบ้านแม่สาใหม่ ภายใต้สถานการณ์แย่งชิงความชอบธรรมในการอ้างสิทธิเข้าถึงทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์ของรัฐที่ปิดกั้นสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรของคนในท้องถิ่น ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ค้นพบการสร้างและใช้อำนาจของชุมชนในท้องถิ่น 3 ประการ ภายใต้บริบทของการแย่งชิงทรัพยากรบนพื้นที่สูง คือ 1) การอ้างสิทธิชุมชนนั้น ชุมชนได้ใช้ความรู้ของชุมชนท้องถิ่นเองในรูปของจารีต ประเพณี ซึ่งชาวบ้านคุ้ยเคยและมีฐานะเป็นอุดมการณ์อำนาจของชุมชน
สร้างความชอบธรรมต่อการอ้างสิทธิชุมชน โดยชุมชนสามารถนิยามคุณค่าใหม่ให้องค์ความรู้ท้องถิ่นของตนเอง
มีศักยภาพในการต่อรองอำนาจอย่างต่อเนื่อง 2) ในการอ้างสิทธิชุมชนนั้น ชุมชนไม่ได้ผูกขาดอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว ตรงกันข้ามชุมชนกลับพยายามเสนอรูปแบบการจัดการร่วมกับผู้ได้เสียทุกฝ่าย แม้โดยกฎหมายแล้วเป็นเพียงสิทธิโดยพฤตินัยก็ตาม และ 3) การที่รัฐไม่ได้รับรองสิทธิชุมชนให้มีความชอบธรรมโดยกฎหมายนั้น เนื่องจากการจัดการทรัพยากรเป็นประเด็นนิเวศการเมือง โดยเฉพาะเป็นปัญหาในระดับโครงสร้างเชิงสถาบัน ดังนั้น ชุมชนจึงตระหนักถึงการปฏิบัติการและเคลื่อนไหวทางสังคมในทุกระดับ เพื่อแสวงหาอำนาจการต่อรองให้กับการอ้างสิทธิชุมชนมีความชอบธรรมโดยกฎหมาย

 
การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชาวไทยภู นันทนา แรงจริง เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 Research and Thesis:: DS570.ม8น63 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046002 งานวิจัยเล่มนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว ทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง
มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมและ
การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าม้งก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งทำวิจัยในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปางอุ๋ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน โดยทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เพิ่มขึ้นภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

 
ปัญหาม้งอพยพสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกกับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว พิทักษ์ อินทิยศ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 Research and Thesis: DS570.ม8พ64 2546 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045121 งานวิจัยเล่มนี้ศึกษาถึงพัฒนาการ วิเคราะห์และประเมินแนวโน้มของปัญหาผู้อพยพชาวเขาเผ่าม้งที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรีกับผลกระทบที่มีต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและลาวในยุคหลังสงครามเย็น โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งหมด 17 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งฝ่ายไทยและลาวเห็นว่า ม้งอพยพที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยขณะนี้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลาวและไทย ทำให้ลาวหวาดระแวงไทยเรื่อยมาว่า ให้การสนับสนุนม้งกลุ่มนี้ เพื่อต่อต้านรัฐบาลลาว โดยแนวโน้มในอนาคตของความหวาดระแวงจะเป็นอย่างไรไม่สามารถชี้ชัดได้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศในเวลานั้นว่าเป็นอย่างไร หากไทยแก้ไขปัญหาผู้อพยพม้งที่ถ้ำกระบอกอย่างเป็นรูปธรรม โอกาสรื้อฟื้นความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจย่อมมีสูง ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจและเป็นเครื่องมือสร้างความผูกพันต่อกันอันจะนำไปสู่ความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืนในอนาคต
องค์ความรู้ชนเผ่าม้ง : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ สมาคมรวมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย กรุงเทพฯ : สมาคม, [2545?] Books: DS570.ม8อ2 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038604 เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวม้ง โดยเนื้อหาเล่าถึงประวัติ ความเป็นมาของชาวม้ง วงศ์ตระกูล และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็นความรู้ที่สะสมมาช้านานจากประสบการณ์ของบรรพบุรุษ มาเผยแพร่และถ่ายทอดสู่ลูกหลานและคนในชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการดูแล และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันกระแสนิยมเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมากขึ้นและมีบทบาทขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งทางด้านหัตถกรรม การแพทย์พื้นบ้าน รวมถึงการดูแลรักษาป่าและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรเผ่าม้งในเขตศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ สมพันธุ์ พาโสวัง เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 Research and Thesis: DS570.ม8ส45 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045255 งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรเผ่าม้งในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกร จำนวน 55 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาพบว่า เกษตรกรมีอายุโดยเฉลี่ย 32.07 ปี
หากพิจารณาในแง่ของการนับถือศาสนา จะเห็นว่า เกษตรกรได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น ในด้านการศึกษา เด็กในวัยเรียนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในชั้นมัธยมศึกษาจำนวนเด็กชายได้เข้าเรียน ร้อยละ 100 ส่วนเด็กหญิงยังมีผู้ไม่เข้าเรียนร้อยละ 3.10 ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ. 2539
ที่มีผู้ไม่ได้เข้าเรียนถึงร้อยละ 5.90 ส่วนเกษตรกรที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง) ในเรื่องของการควบคุมประชากรพบว่า เกษตรกรมีอัตราการเกิดลดลงจากร้อยละ 3.59 ในปี
พ.ศ.2539 เป็นร้อยละ 2.85 ในปี พ.ศ.2544 ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.26 ในปี พ.ศ. 2539 เป็นร้อยละ 0.52 ในปี พ.ศ. 2544 เรื่องของการย้ายถิ่นฐาน เกษตรกรไม่มีการย้ายถิ่นฐาน ในขณะที่
ปี พ.ศ. 2539 มีการย้ายถิ่นฐานออกร้อยละ 1.53 จำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ย 7.05 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม การถือครองที่ทำกินเฉลี่ยต่อครอบครัวลดลงจาก 7.30 ไร่ในปี พ.ศ. 2541 เป็น 7.19 ไร่แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดิน ระบบการปลูกพืชส่วนใหญ่เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรมีรายได้และมีความเป็นอยู่ดีขึ้น การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรยังประสบปัญหาต่างๆ เช่น ขาดความรู้ ขาดแคลนเงินทุน ราคาผลผลิตตกต่ำ ขาดตลาดรับซื้อผลผลิต เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรยังมีความขัดแย้งกับหน่วยงานอุทยานแห่งชาติและชาวเมืองพื้นราบเกี่ยวกับด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้และดินอีกด้วย เกษตรกรมีความต้องการสนับสนุนด้านการประกอบอาชีพ ไม้ดอกและพืชผักพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคและแมลงสูง

 
สภาพเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ที่มีผลต่อการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ วุฒิฉัตร ศรีพาเพลิน เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 Research and Thesis: DS570.ม8ว73 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038659 งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าม้ง ที่มีผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือชาวเขาเผ่าม้งในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาใช้แบบสอบถามและการสังเกตพฤติกรรม
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการอนุรักษ์ธรรมชาติของชาวเขาเผ่าม้งมีพฤติกรรมการอนุรักษ์ดิน ป่าไม้ น้ำ และการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งมีผลทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม

 
ผลกระทบของโครงการพัฒนาจุดสุมเมืองหนองแฮดต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวม้ง : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่บ เวียงมาลา วางมัว กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 Research and Thesis: HN700.4.Z9ล6ว82 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038025 งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงการพัฒนาจุดสุมเมืองหนองแฮดต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวม้ง หมู่บ้านแก่วประตู เมืองหนองแฮด แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้ให้ข้อมูลเป็นชาวม้งหมู่บ้านแก่วปะตูและผู้นำของโครงการพัฒนาจุดสุมเมืองหนองแฮด จำนวน 152 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่การสังเกตุและสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในหมู่บ้านแก่วปะตูเป็นผลกระทบมาจากการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจัดโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งผลจากการขัดเกลาทางสังคมโดยผ่านสื่อต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุโดยมีการวางแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นผลให้ระบบสังคมและวัฒนธรรมของหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไป
 
พลวัตการใช้ที่ดินของชุมชนม้งในป่าอนุรักษ์ใกล้เมืองเชียงใหม่ : กรณีศึกษาหมู่บ้านดอยปุย อุทยานแห่งชาติ ดาริกา ห้วยทราย เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545 Research and Thesis: HD890.55.ฮ9ช9ด6 2545 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045206 งานวิจัยเรื่องนี้ได้ศึกษาชุมชนในป่าอนุรักษ์แห่งหนึ่งใกล้เมืองเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. ศึกษาพลวัตการใช้ที่ดินของชุมชนม้งในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในชุมชน และเพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาพลวัตการใช้ที่ดิน ใช้วิธีวิจัยโดยการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ การสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การอยู่ใกล้เมืองและใกล้ตลาด มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ช่วงก่อนการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติ และภายหลังจากการก่อตั้งอุทยาน การเติบโตของการท่องเที่ยวในหมู่บ้านนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร ครัวเรือนชาวม้งที่มีฐานะดีได้จ้างแรงงานชาวกะเหรี่ยงมาช่วยทำงานในไร่ ในขณะที่ครอบครัวที่ยากจน มีแนวโน้มจะละทิ้งการทำเกษตรไป อย่างไรก็ตาม การอยู่ใกล้เมืองช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทั้งในภาคการเกษตรและนอดภาคเกษตรกรรม
 
บทบาทชายหญิงด้านอนามัยเจริญพันธุ์: กรณีศึกษาชุมชนม้งแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย : รายง เสถียร ฉันทะ กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544 Research and Thesis: DS570.ม8ส83 2544 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038640

งานวิจัยเล่มนี้ผู้เขียนพยายามทำความเข้าใจและอธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของบทบาทชายหญิง กับการแสวงหาพฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์ ในประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมวัฒนธรรม ที่มีผลต่อการสร้างความต้องการทางเพศในสังคมของช่วงวัยต่าง ๆ รวมไปถึงการคาดหวังเพศของบุตร การแสวงหาพฤติกรรมด้านอนามัยการเจริญพันธุ์เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว อนามัยของแม่และเด็ก ภาวะการมีบุตรยาก การตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ การแท้ง เพศศึกษา พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความรุนแรงทางเพศ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของม้งจะเปลี่ยนไปอย่างไร ผู้ชายก็ยังเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในทุกเรื่อง ถึงแม้ว่าปัจจุบันผู้หญิงจะมีบทบาทมากขึ้นมีอำนาจในการต่อรอง แต่เพศชายก็เป็นใหญ่กว่าเพศหญิงในสังคมของม้ง

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับการอยู่รอดของชุมชนชาวม้งบ้านดอยปุย อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียง ลีศึก ฤทธิ์เนติกุล กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2544 Research and Thesis: DS570.ม8ล63 2544 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046015 งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ศึกษาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร
การท่องเที่ยวและการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2. เพื่อส่งเสริมกระบวนการในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ภายในชุมชนและองค์กรภายนอกชุมชนที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาและใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนโดยตรงและต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึก การศึกษาชนบทอย่างมีส่วนร่วม การระดมสมองและการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพ และนำเสนอผลด้วยวิธีการพรรณาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าชุมชนบ้านดอยปุย มีประชากร 1,284 คน 109 ครัวเรือน 6 กลุ่มชาติพันธุ์ สามารถทำงานร่วมกันได้ ส่งผลต่อเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวชุมชนบ้านดอยปุยอย่างสม่ำเสมอโดยรูปแบบการท่องเที่ยว มีทั้งที่ไปกันเองและกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไปกับบริษัทนำเที่ยว สำหรับการศึกษาทรัพยากรธรรมชาติพบว่าผืนป่าได้รับการฟื้นฟูจนเกือบอุดมสมบูรณ์

 
ม้ง (แม้ว) คณะครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน [เชียงราย : โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน, 2543] Books: DS570.ม8ค36 2543 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00030159

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมประวัติความเป็นมา รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา ที่แสดงให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมที่งดงามและทรงคุณค่า ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานสืบสานตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีพระประสงค์ให้อนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เพื่อให้เป็นมรดกทางภูมิปัญญาเพื่อสืบทอดถึงอนุชนรุ่นหลังต่อไป

ชุมทางคนแม้ว สังคีต จันทนะโพธิ นนทบุรี : ธารบัวแก้ว, 2543 Books: DS570.ม8ส62 2543 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019453

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากเอกสารหลายแหล่งและจากการได้พบเห็นและสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวแม้วจริงๆ โดยเนื้อหาเล่าถึงความเป็นมาถิ่นกำเนิดของคนแม้ว วิถีชีวิตของชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอาณาจักรอยู่บนภูเขาอันมีความเป็นอยู่แตกต่างไปจากคนพื้นราบหลายประการ รวบไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความแตกต่างออกไป แต่ประเพณีที่ชาวแม้วให้ความสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิต คือ การสืบทอดตระกูล หรือการแต่งงานซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวแม้ว และประเพณีงานศพที่ต้องบอกว่า หากมีชาวแม้วตายหนึ่งคนไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เลย

ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชาวม้งในจังหวัดเชียงใหม่ วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม [เชียงใหม่] : มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2543 Research and Thesis: DS570.ม8ว633 2543 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056313

งานวิจัยเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด องค์ประกอบและบริบททางสังคม วัฒนธรรมของชุมชนที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในพื้นที่ชุมชนชาวม้งในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าการจะแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือขององค์กรชุมชนในการแก้ปัญหาดังนี้ 1. ต้องสร้างกระแสความคิดให้ชุมชน มองเห็นความสำคัญของปัญหาด้วยตนเอง จากความเดือดร้อนที่มาจากยาเสพติด 2. ต้องส่งเสริม สนับสนุนให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เพื่อใช้มาตรการทางสังคมมาสนับสนุนการออกกฎระเบียบร่วมกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 3. ต้องสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในองค์กรชุมชน
โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ด้านปัญหายาเสพติดเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

กระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรบนที่สูงอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนม้งบ้านสันป่าเก บัณฑูรย์ วาฤทธิ์ เชียงใหม่ : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543 Research and Thesis: S544.5.ท9บ63 2543 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037872

งานวิจัยเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรบนที่สูงอย่างยั่งยืน โดยศึกษาชุมชนม้งบ้านสันป่าเกี๊ยะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่าชาวเขาเผ่าม้งสามารถถ่ายทอดความรู้แบบดั้งเดิมและประสบการณ์ด้านการเกษตรบนที่สูงอย่างยั่งยืนผ่านสถาบันครอบครัว มีการจัดระบบการเกษตรออกเป็น 2 แบบ คือการเกษตรแบบยังชีพ
และการเกษตรแบบผลิตเพื่อด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการใช้และจัดการทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรบนที่สูงอย่างยั่งยืน

เฒ่าภูเขา สังคีต จันทนะโพธิ นนทบุรี : ธารบัวแก้ว, 2542 Books: DS570.ม8ส63 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00019532

หนังสือเล่มนี้เล่าถึงวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าแม้วที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศหาเลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูก ล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร แต่ในสังคมของมนุษย์ไม่เว้นแม่แต่ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บนภูเขา
ความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม หรือแม้แต่หลักประกันทางครอบครัว ทำให้เกิดการเบียดเบียน ทะเลาะวิวาท การเอารัดเอาเปรียบ เพียงเพื่อผลประประโยชน์ส่วนตนและการเอาตัวรอดในสังคม

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นชาวเขาเผ่าม้ง สมควร ใจกระจ่าง เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542 Research and Thesis: DS570.ม8ส43 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045790

งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นชาวเขาเผ่าม้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชาวเขาเผ่าม้งที่มีอายุระหว่าง 13-19 ปี อยู่นอกระบบโรงเรียน จำนวน 316 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นชาวเขาเผ่าม้ง เป็นชาย ร้อยละ 53.5 และเพศหญิง ร้อยละ 46.5 มีอายุเฉลี่ย 16 ปี เคยมีพฤติกรรมการไปมาหาสู่กับเพื่อนต่างเพศมากที่สุด ร้อยละ 65.2 ในกลุ่มชาวเขาเผ่าม้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์จะเป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 และเพศหญิง ร้อยละ 15.0 มีเพศสัมพันธ์กับคนรัก ร้อยละ 76.8
ซึ่งกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์จะใช้ถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศเพียง ร้อยละ 20.5 2. ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้านคือ อายุ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การย้ายถิ่น ค่านิยมเรื่องเพศ สิ่งกระตุ้นทางเพศ และการคล้อยตามกลุ่มเพื่อน 3. ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศอย่างมีนัยยะสำคัญางสถิติในทุกด้านคือปัจจัยด้านความรู้เรื่องเพศศึกษา และเจตคติเรื่องเพศ

ปัญหาชาวม้งกับความมั่นคงแห่งชาติ: ศึกษาเฉพาะกรณีชาวม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก สมชาย วิษณุวงศ์ กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, 2542 Research and Thesis: DS570.ม8ส42 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037680

งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีส่วนผลักดันหรือเอื้ออำนวยให้ชาวม้งเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับความมั่นคงของชาติในปัจจุบัน 2. เพื่อวิเคราะห์นโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาชาวม้งโดยทั่วไปตลอดจนชาวม้งที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก 3. เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติ
ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาชาวม้งในประเทศไทยตลอดจนแนวทางดำเนินการอันเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาชาวม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก 4. เพื่อเสนอยุทธศาสตร์สำหรับการแก้ไขปัญหาชาวม้งในประเทศไทย อันเป็นภาพรวมทั้งยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาชาวม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอก ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเอกสาร และเสนอรายงานแบบพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาชาวม้งในที่พักสงฆ์ถ้ำกระบอกเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ เกิดจาก ปัญหาผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหาชาวม้งที่มีส่วนเกี่ยวพันกับขบวนการต่อต้านรัฐบาลลาว ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านสังคม
สาธารณสุข และปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์จากชาวม้งซึ่งทำการสร้างรูปหล่อคล้ายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยไม่ได้รับอนุญาต 2. การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาทางราชการได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยมีนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ในการดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2536 ซึ่งประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งเท่านั้น
เพราะยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการที่สำคัญได้แก่ปัญหาด้านนโยบายและการบริหารงานของทางราชการ ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ ปัญหาขีดจำกัดด้านกำลังพล โดยเฉพาะการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านในการเข้าไปแก้ปัญหา

ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการจัดการทรัพยากรและการรักษาพยาบาลของม้ง ทรงวิทย์ เชื่อมสกุล เชียงใหม่ : ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542 Books: S938.ท42 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037563

เอกสารฉบับนี้เป็นรายงานทดลองนำเสนอของนักวิจัยภาคสนามผู้เข้าร่วมโครงการของศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของศูนย์ฯ โดยเนื้อหาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ของม้ง วิถีชีวิตความเป็นอยู่และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การจัดการดิน น้ำป่า ที่ดิน น้ำ สัตว์ป่า และป่า ระบบความเชื่อเรื่องการเจ็บป่วย การรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพรที่ได้จากการเพาะปลูกขึ้นเอง การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องสมุนไพร และการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านของคนในชุมชนชาวม้ง

ชนกลุ่มน้อยกับปัญหายาบ้า : ศึกษากรณีชาวเขาเผ่าม้ง บุตรี อุดมสิทธิพันธุ์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542 Research and Thesis: DS570.ม8บ73 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037909

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภูมิหลังที่ป็นปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้ชาวเขาเผ่า
ม้งอพยพเข้าสู่ประเทศไทย (2) ศึกษาถึงผลกระทบจากกรณีที่ชาวเขาเผ่าม้งค้ายาเสพติดผลการศึกษาพบว่าสาเหตุการอพยพลี้ภัยทางการเมืองจากสงคราม ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะเวลาดังนี้คือ 1. ระยะที่ 1 อพยพลี้ภัยสงครามจากประเทศจีน เข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน คือ ประเทศเวียดนาม ลาวและไทย ประมาณ พ.ศ. 2460
2. ระยะที่ 2 อพยพลี้ภัยจาการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศลาวเป็นระบบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2518
การอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทยในระยะแรกก่อให้เกิดปัญหาคือ 1.ปัญหาภายในประเทศ การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์วิทยาแก่แหล่งต้นน้ำลำธาร กระทบต่อสังคม
2. ปัญหาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3. มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย
ที่กลายเป็นประเทศผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ของโลก อีกทั้งการแพร่ระบาดของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ได้โฆษณาชวนเชื่อแก่ชาวเขาที่อยู่ถิ่นธุรกันดารก่อความไม่สงบในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ การรับเอาค่านิยมและวัฒนธรรมจากคนพื้นราบ ความต้องการที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม กอปรกับการดำเนินการให้สัญชาติที่ล่าช้าของทางราชการ ทำให้ชาวเขามีความต้องการเป็นคนไทย ถูกนำเข้าสู่วงจรค้ายาบ้า เพื่อให้ได้เงินจำนวนมาก
ในการสนองความต้องการ จนกลายเป็นปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและเร่งแก้ไข โดยการออกมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ในการช่วยเหลือและแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีบุตรของคู่สมรสชาวเขาเผ่าม้งที่ภรรยาอายุต่ำกว่า 20 ปี อำเภอพบพระจังหวัดตาก รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ [ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.] Research and Thesis: DS570.ม8ร7 2542 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046470

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีบุตรของคู่สมรสชาวเขาเผ่าม้ง
ที่ภรรยาอายุต่ำกว่า 20 ปี อำเภอพบพระ จังหวัดตาก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากคู่สมรสชาวเขาเผ่าม้ง ที่ภรรยาอายุต่ำกว่า 20 ปี อำเภอพบพระ จำนวน 320 คู่ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยแบบสัมภาษณ์ และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวแปรปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ด้วยสถิติไคว์สแควร์และใช้ การวิเคราะห์จำแนกประเภท วิธีวิเคราะห์แบบขั้นตอน เพื่อคัดเลือกปัจจัยที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มของกลุ่มสามี กลุ่มภรรยา และกลุ่มคู่สมรส ผลการวิจัยพบว่า คู่สมรสชาวเขาเผ่าม้งที่ภรรยาอายุต่ำกว่า 20 ปี มีบุตรที่มี ชีวิต ร้อยละ 65.6 และจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับการมีและไม่มีบุตร ในกลุ่มสามี กลุ่มภรรยา และกลุ่ม คู่สมรส พบว่า ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของกลุ่มสามี และการได้รับการสนับสนุนให้มี บุตรจากบิดามารดา มีความสัมพันธ์กับการมีบุตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และจากผลการวิเคราะห์จำแนกประเภทแบบขั้นตอน พบว่าปัจจัยที่สามารถอธิบายความ แตกต่างระหว่างกลุ่มได้ มี 1 ตัวแปรได้แก่ ตัวแปรการได้รับการสนับสนุนให้มีบุตร จากบิดามารดา เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการมีและไม่มีบุตรของกลุ่มสามี กลุ่มภรรยา และกลุ่มคู่สมรส ได้ร้อยละ 67.81 ร้อยละ 68.75 และร้อยละ 68.75 ตามลำดับ โดยกลุ่มสามี กลุ่มภรรยา และกลุ่มคู่สมรส ที่ได้รับการสนับสนุนให้มีบุตร จากบิดามารดาสูง เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะมีบุตร

แม้ว สมัย สุทธิธรรม กรุงเทพฯ : บริษัท 2020 เวิลด์ มีเดีย, 2541 Books: DS570.ม8ส46 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00013951

หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือสารคดี ชุด ชีวิตของชนกลุ่มน้อยบนดอยสูง ซึ่งภายในเล่ม
ได้กล่าวถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวเขาเผ่าแม้ว (ม้ง) ไว้สำหรับ
ผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

รายงานการวิจัยเรื่องภาวะอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีชาวเขาเผ่าม้ง สมควร ใจกระจ่าง [กรุงเทพฯ : ศูนย์วางแผนครอบครัวชาวเขา กระทรวงสาธารณสุข, 2541] Research and Thesis: DS570.ม8ส425 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056351

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีชาวเขาเผ่าม้ง
กลุ่มตัวอย่างเป็นเป็นสตรีชาวเขาเผ่าม้งที่อยู่ในช่วงอายุ 13-44 ปี จำนวน 527 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่สุดมีอายุระหว่าง 15-19 ปี อายุของการเริ่มมีประจำเดือนอยู่ในช่วง 13-15 ปี ส่วนมากไม่มีอาการผิดปกติทั้งก่อนและหลังมีประจำเดือน 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัวและรับรู้ประโยชน์ของการวางแผนครอบครัว 3. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็ก และยังมีความรู้ในการดูแลสุขภาพเด็กเกี่ยวกับการรับวัคซีนเด็กโดยเฉพาะโรคบาดทะยัก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างจะมีการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 1 ครั้งจนถึง 13 ครั้ง โดยเฉลี่ย 4. กลุ่มตัวอย่างมีภาวะการมีบุตรยาก แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปตรวจหรือแก้ไข ส่วนการแท้งบุตรเคยแท้งร้อยละ 14.7 สาเหตุการแท้งเนื่องจากทำงานหนัก 5. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์โดยเฉพาะมดลูกและเต้านม และ 6. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และไม่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่เคยป้องกันการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ โดยให้เหตุผลว่าเชื่อใจสามีว่าจะไม่มีโรคและไม่ทราบวิธีการป้องกัน

คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ มัง และ กะเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา ศตนันท์ เชื้อมหาวัน [กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541] Research and Thesis: PL4251.ท9ศ33 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033928

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำเรียกสีพื้นฐานและคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง ตลอดจนการรับรู้สีและทัศนคติที่ผู้พูดภาษาดังกล่าวมีต่อสี โดยเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์คือบัตรสีจำนวน 208 บัตรสี  ผลการวิจัยสรุปเนื้อหาสำคัญได้ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยงมีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานคือ 12, 5, 6 และ 5 คำ ตามลำดับ ส่วนการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานนั้น ภาษาที่ศึกษาทั้งหมดมีกลวิธีในการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐาน 3 วิธี ผลการวิเคราะห์การรับรู้สีและทัศนคติที่มีต่อสีพบว่า ผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยงมีการรับรู้ใจกลางของทุกประเภทสีคล้ายคลึงกัน ส่วนการรับรู้ขอบเขตสี พบว่าผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง มีการรับรู้ขอบเขตของประเภทสีเขียวได้ดีที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ทัศนคติที่มีต่อสีพบว่า
ผู้พูดภาษาเหล่านี้มีทัศนคติบวกต่อสีสดและสีเข้ม และมีทัศนคติลบต่อสีตุ่นและสีอ่อน

พหุลักษณ์ของสำนึกทางชาติพันธุ์ : ม้งภูสวยกับการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและการเมือง มนตรา พงษ์นิล กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 Research and Thesis: DS570.ม8ม33 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018123

งานวิจัยเรื่องนี้ได้ศึกษาที่หมู่บ้านม้งน้ำเงิน ในอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่
โดยทำการวิจัยภาคสนามในหมู่บ้านเป็นระยะเวลา 1 ปี และใช้วิธีการวิจัยเก็บข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น
เอกสารชั้นรอง การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วน ผลการวิจัยพบว่าหมู่บ้านภูสวย
มีความแตกต่างและหลากหลายทางศาสนาเศรษฐกิจ และชาติพันธุ์ คือ มีชาวม้งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในหมู่บ้าน นอกจากนี้เป็นชาวจีนฮ่อ คนไทย/คนเมือง ชาวกะเหรี่ยง และคนต่างด้าวอาศัยอยู่ด้วย และมีศาสนาพุทธ ผี คริสต์ อิสลาม ที่นับถือแตกต่างกันไปทั้งภายในและระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ความแตกต่างดังกล่าวมิได้มีความหมายมากเมื่อถูกแทนที่ด้วยระบบความสัมพันธ์ต่อกันทางเศรษฐกิจพืชพาณิชย์ การค้า การปกครอง
และความทันสมัยและอิทธิพลของการท่องเที่ยวในบริบทของสังคมไทยที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ดังนั้น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จึงสามารถอยู่ร่วมกันเป็นพหุสังคมได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งกันมากนัก ชาวม้งมีการปรับใช้สัญลักษณ์ดั้งเดิมและรับเอาสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมใหม่เช่นการใช้ระบบการปกครองสมัยใหม่เป็นกลไกสร้างกระบวนการในการพยายามรักษาอำนาจและผลประโยชน์ให้คงอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ไม่ว่าจะเป็นการตระหนักรับรู้ในอำนาจของคนเมืองที่แสดงผ่านการทำพิธีกรรมการทรงของคนเมืองในหมู่บ้านหรือการปรับใช้พิธีกรรมของตนเพื่อลดความวิตกกังวลทางจิตใจ เมื่อได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจทุนนิยมหรือการกระทำของอำนาจรัฐ

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้ง บ้านห้วยน้ำไซ อำเภอนครไทย จังหวัดพิ ปรารถนา มงคลธวัช กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 Research and Thesis: DS570.ม8ป45 2541 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00038037

งานวิจัยเรื่องเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้ง บ้านห้วยน้ำไซ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่ช่วยรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้งและมีสมมติฐาน 10 ข้อ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีสังคมและวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิควิจัยทางมานุษยวิทยา เช่น การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสำรวจลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน การสำรวจประชากร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสำคัญ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และอื่นๆ ผลวิจัยพบว่า จากสมมติฐาน 10 ข้อ มีอยู่ 8 ข้อที่เป็นไปตามสมมุติฐาน (ผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางศาสนา
ผู้นำทางการศึกษา ผู้นำทางเศรษฐกิจ ผู้นำทางศิลปะและนันทนาการ และการเพิ่มประชากรของชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งเป็นปัจจัยภายในช่วยรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ส่วนปัจจัยภายนอกช่วยรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่นักท่องเที่ยว และหน่วยงานของราชการ)

ชาวเขาเผ่าม้งกับความมั่นคงแห่งชาติ อุดมชัย องคสิงห กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, 2540 Research and Thesis: DS570.ม8อ73 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00037673

กล่าวถึงการศึกษานโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับม้ง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาม้งในประเทศไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งกลุ่มประชากรศึกษา ได้แก่ ม้งที่อยู่ในภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน ฯลฯ ในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดเลย และม้งอพยพจากประเทศลาวที่เข้ามาหลังจากที่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาอยู่ที่สำนักสงฆ์
ถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากม้งตั้งแต่อดีตจนถึง
ทุกวันนี้ ได้แก่ ม้งร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ต่อสู้กับกองกำลังฝ่ายรัฐบาลไทยที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ เมื่อ พ.ศ.2510 -2528 ปัญหาการทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม ปัญหาหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ได้แก่ กลุ่มม้ง
อพยพที่อยู่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกที่มี 20,000 กว่าคน การไม่ทำตามกฎหมาย คุกคามคนพื้นราบ
ก่ออาชญากรรม เรียกร้องการได้สัญชาติทั้ง ๆ ที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย สะสมอาวุธ ขบวนการต่อต้านลาวหรือ ขตล. ซึ่งก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากรัฐบาลลาวว่าไทยจะให้ความสนับสนุน เป็นต้น

การเปรียบเทียบทัศนคติของชาวเขาเผ่าม้งกับเผ่ากะเหรี่ยงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในตำบลแม่แดด อำเภอแ สมเกียรติ ทองมี เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540 Research and Thesis: QH541.14.ส48 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045628

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทั่วไปและทัศนคติของชาวเขาเผ่าม้งกับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนปัญหาและความต้องการของชาวเขาเผ่าม้งและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ผู้ให้ข้อมูล คือ ชาวเขาม้งกับเผ่ากะเหรี่ยง จำนวน 104 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ อายุของชาวเขาเผ่าม้งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 21-70 ปี และมีสถานภาพสมรสแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ และนับถือผีทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และไม่ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เดินทางเข้าไปในตัวเมือง 1-3 ครั้งต่อปี มีอาชีพปลูกกะหล่ำปลี รับจ้างทั่วไป จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 9 คน รายได้เฉลี่ย 51,216 บาทต่อคนต่อปี ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 25.65 ไร่ แรงงานที่ช่วยในด้านการเกษตรเฉลี่ย 4.27 คน ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 41-60 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว และไม่ได้เรียนหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และไม่ได้เข้ามาในตัวเมือง จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 7 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และเลี้ยงสัตว์ รวมถึงนับถือศาสนาพุทธ รายได้เฉลี่ย 12,023.88 บาท ต่อคนต่อปี ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 13.60 ไร่ แรงงานที่ช่วยในด้านการเกษตร มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 4.08 คน

การปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ในชุมชนเมืองของชาวเขาเผ่าม้ง: กรณีศึกษาเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ลีศึก ฤทธิ์เนติกุล [เชียงใหม่ : ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา, 2540] Research and Thesis: DS570.ม8ล65 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00033961

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ชาวเขาเผ่าม้งต้องเข้ามาดำรงชีวิตในเมือง ศึกษาปัญหาและการปรับตัวทางวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอด ผลกระทบกับวัฒนธรรมดั้งเดิมอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความผูกพันกับชุมชนดั้งเดิมและการปรับตัวกับชุมชนใหม่ ผลจากการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ มีการใช้วิธีการแบบพื้นบ้านควบคู่กับการใช้วิธีการแพทย์สมัยใหม่ วัฒนธรรมการควบคุมทางสังคมมีการใช้กฎจารีตประเพณีและการใช้กฎหมายบ้านเมืองโดยการใช้กฎหมายบ้านเมืองนั้นมักจะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกันบ้างในด้านศิลปะและการแสดงนั้น ชางม้งในเมืองเชียงใหม่ยังคงรักษาศิลปะดั้งเดิมไว้ ในขณะที่คนรุ่นใหม่บางส่วนได้ปรับเปลี่ยนการเต้นรำตามยุคสมัยปัจจุบันมาใช้ด้วย ในด้านเกี่ยวกับความเชื่อ ชาวม้งในตัวเมืองเชียงใหม่ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ วิญญาณต่าง ๆ และมีการปฏิบัติการเซ่นไหว้เช่นเดิม โดยที่ชาวม้งถือว่าการลงมาในเมืองเชียงใหม่เป็นการลงมาทำมาหากินเท่านั้นบ้านพิธีกรรมจริง ๆ ก็คือ ชุมชนดั้งเดิม ในด้านเศรษฐกิจนั้นมีการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงจากการทำเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพมาสู่การประกอบอาชีพการอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการค้าขาย โดยเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้าระหว่างชาวม้งด้วยกันเอง ชาวม้งกับคนพื้นราบ และชาวม้งกับคนต่างประเทศ ในปัจจุบันการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนพื้นราบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการส่งเสริมบริการวางแผนครอบครัวศึกษาในพื้นที่ชาวเขาเผ่าม้ง สมควร ใจกระจ่าง [กรุงเทพฯ] : ศูนย์วางแผนครอบครัวชาวเขา, 2540 Research and Thesis: DS570.ม8ร7ส425 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00056909

งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมบริการวางแผนครอบครัว ในกลุ่มประชากรชาวเขาเผ่าม้งที่เป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์คู่อายุ 15-44 ปี ทำการศึกษาในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มสตรีในวัยเจริญพันธุ์ จำนวน 111 คน ส่วนใหญ่อายุ 25-29 ปี
มีบุตรมีชีวิต เฉลี่ย 4 คน มีการตั้งครรภ์เฉลี่ยคนละ 4 ครั้ง อายุเฉลี่ยเมื่อมีบุตรคนแรกประมาณ 17 ปี
เกือบร้อยละ 70 มีบุตรคนเล็กอายุไม่เกิน 2 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 8 คน จากการดำเนินงานการให้บริการคุมกำเนิดถึงบ้านแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีการให้ความรู้และให้บริการในหมู่บ้านในช่วงระยะเวลา 6 เดือน มีอัตราการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 16.3 เห็นได้ว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทัศนคติในการคุมกำเนิดที่ถูกต้องอย่างเห็นได้ชัด

รายงานการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของชาวเขาเผ่าม้งบ้านดอยปุย-ช่างเคี่ยน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลีศึก ฤทธิ์เนติกุล เชียงใหม่ : ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่, 2540 Research and Thesis: DS570.ม8ล64 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043922

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อมูลทั่วไปด้านบุคคล เศรษฐกิจและสังคม และด้านจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของชาวเขาเผ่าม้งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของชาวเขาเผ่าม้งบ้านดอยปุย-ช่างเคี่ยน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษามีอายุเฉลี่ย 33.98 ปี
ส่วนใหญ่มีการศึกษา ป.4 – ป.6 ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารจากหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน ใช้ที่ดินเพื่อปลูกไม้ผล ปลูกข้าว และปลูกผัก การใช้ไม้ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟืน เครื่องใช้และสร้างที่อยู่อาศัย เก็บผลผลิตจากป่ามากที่สุดคือหน่อไม้ และส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้น้อย ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูก และการมีส่วนร่วมโดยรวมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้ มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูก และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีส่วนร่วมโดยรวมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นไม่มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันและความชุกของโรคขาดสารไอโอดีน ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านขุนวาง อำเภอแม่วาง ปรีชา วงศ์ทิพย์ เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540 Research and Thesis: DS570.ม8ป44 2540 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00046005

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดโรคขาดสารไอโอดีน ระดับความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการป้องกันกับภาวะการขาดสารไอโอดีนของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านขุนวาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกทุกครัวเรือนที่มีอายุ 15-60 ปี ครัวเรือนละ 1 คน จำนวนทั้งหมด 80 คน ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคขาดสารไอโอดีนของประชากร 15-60 ปี ร้อยละ 20.7 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 42 และทราบว่าโรคขาดสารไอโอดีนเป็นโรคที่รักษาได้มีเพียงร้อยละ 38.6 ทราบวิธีการเสริมน้ำยาไอโอดีนเข้มข้นในน้ำดื่มและน้ำปลาเพียงร้อยละ 38.6 และ 1.1 ตามลำดับ ทราบว่าอาหารที่มีสารก่อให้เกิดโรคขาดสารไอโอดีนมีเพียงร้อยละ 5.7 ในด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีร้อยละ 90.9 นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ที่เคยตรวจภาวะการขาดสารไอโอดีนเพียงร้อยละ 38.6 เท่านั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนกับภาวะการขาดสารไอโอดีน พบว่าความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความรู้มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนกับภาวะการขาดสารไอโอดีน จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชาวไทยภูเขากลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนยังไม่ดีพอและมีพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรรณรงค์ให้ความรู้ และสนับสนุนสารเสริมไอโอดีนให้แก่ชาวไทยภูเขากลุ่มนี้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

การศึกษามาตรการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนชาวเขา: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลเข็กน้อย อำเภ นภดล ศักดิ์เจริญชัยกุล [ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.] Research and Thesis: DS570.ม8น32 2538 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00045317

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจของชาวเขาเผ่าม้ง
ต่อยาเสพติด พฤติกรรม การใช้ยาและสภาพการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง มาตรการในการดำเนินการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนชาวเขาเผ่าม้งและเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนป้องกันกันปัญหายาเสพติดในชุมชนชาวเขาเผ่าม้งและชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าต่อไป
โดยกลุ่มประชากรศึกษาคือกลุ่มผู้เสพยาเสพติดชาวม้ง จำนวน 100 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้เสพยาเสพติดชาวม้งส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 46-65 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีรายได้อยู่ในระหว่าง 1,200 - 5,000 บาท/ปี สาเหตุที่ผู้เสพยาติดชาวม้งติดยาเสพติดส่วนใหญ่เนื่องมากจากการเจ็บป่วยและช่วยให้คลายปวดเมื่อยร่างกายจากการทำงาน และจะใช้วิธีการเสพโดยการสูบ ส่วนปริมาณยาเสพติดที่ใช้และจำนวนครั้งที่เสพส่วนใหญ่จะใช้ฝิ่นและเสพ 1 - 3 ครั้งต่อวัน สำหรับจำนวนเงินที่ใช้ซื้อยาเสพติดส่วนใหญ่จะใช้ตั้งแต่ 10-100 บาทต่อวัน ชนิดของยาเสพติดติดที่แพร่ระบาดในชุมชนส่วนใหญ่มี 4 ชนิด (ฝิ่น ผงขาว กัญชา ยาม้า) สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนชาวเขามีด้วยกันหลายด้าน เช่น ด้านเจ้าหน้าที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ บางคนมีส่วนรู้เห็น การซื้อขายยาเสพติด
ในชุมชน ด้านกฎหมาย ได้แก่ การลงโทษผู้ค้ายาเสพติดน้อยเกินไป ผู้ค้ายาเสพติด ได้แก่ มีผู้ค้ายาเสพติดในชุมชนจำนวนมาก เป็นต้น ส่วนทางด้านมาตรการในการดำเนินการป้องกันปัญหาเสพติดในชุมชนชาวเขา
มีหลายมาตรการด้วยกัน เช่น ด้านมาตรการการศึกษา ได้แก่ ควรส่งเสริมครอบครัวให้รู้จักดูแลเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ ด้านมาตรการทางด้านกฎหมาย ได้แก่ การเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ค้ายาเสพติดให้มากขึ้น เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบการเกษตรกรรมผสมผสานบนที่สูงของชาวเขาเผ่าม้งบ้านช้างเคี่ยน-ดอยปุย จังหวั ลีศึก ฤทธิ์เนติกุล เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538 Research and Thesis: DS570.ม8ล656 2538 http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00057844

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปด้านส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมและด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อการยอมรับระบบการเกษตรกรรมผสมผสานบนที่สูงของชาวเขาเผ่าม้งบ้านช่างเคี่ยน-ดอยปุยในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 99 ครัวเรือน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ สอบถามหัวหน้าครัวเรือน
ทุกครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้งมีอายุเฉลี่ย 42.60 ปี ติดยาเสพติด
คิดเป็นร้อยละ 13.1 ส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าชั้น ป.4 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 8.01 คน และสมาชิกในครัวเรือนที่สามารถเป็นแรงงานโดยเฉลี่ย 4.93 คน ส่วนใหญ่มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมอยู่ในเกณฑ์ดี
มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรน้อย เข้ารับการฝึกอบรมการเกษตรที่สูงปานกลาง ส่วนใหญ่มีการรับฟังรายการการเกษตรจากสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นบางครั้ง มีรายได้ทั้งหมดของครัวเรือนต่อปีโดยเฉลี่ย 98,035.35 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 18.576 ไร่ เกษตรกรชาวเขาเผ่าม้งส่วนใหญ่มีความตระหนักถึงคุณประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความมุ่งหวังในชีวิตของตนเองและอนาคตของลูกหลาน ปัญหาของเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้งในการยอมรับกระบวนการเกษตรกรรมผสมผสาน ได้แก่ ลักษณะของพื้นที่
ทำการเกษตรกรรม และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมที่มีการกระจัดกระจาย ทำให้เสียเวลาและแรงงาน
ในการดูแลรักษา