Title | Author | Imprint | Collection | Url | Annotation |
---|---|---|---|---|---|
ฐานข้อมูลภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนอาเซียน | ดำรงพล อินทร์จันทร์, บรรณาธิการ. | กรุงเทพฯ : ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 2560 | Book: GN316 .ฐ63 2560 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00093584 | หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล โดยมีข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์โส้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนของไทยรวมอยู่ด้วย ภาษาของชาวโส้จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตร – เอเชียติค (Austro – Asiatic) ในบางครั้งมีการเข้าใจผิดว่าชาวโส้ โซ่ กะโซ่ เป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี ปัจจุบันชาวโส้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน บริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร |
ภาษาโซ่ (ทะวืง) วจีลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร | หทัยรัตน์ มาประณีต | - | วัฒนธรรม. ปีที่ 53, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2557), หน้า 60-66 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00050157 | บทความนี้กล่าวถึงการศึกษาภาษาของชาวโซ่ (ทะวืง) ที่อยู่ในตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งหนีภัยสงครามจากเมืองคำเกิด แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยข้ามแม่น้ำโขงผ่านเทือกเขาภูพานมาตั้งรกรากอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน สำหรับภาษาโซ่ (ทะวืง) เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) ที่ไม่มีระบบตัวอักษร ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตเนื่องจากเหลือผู้พูดและฟังภาษาโซ่ (ทะวืง) ประมาณ 800-1,000 คน ประกอบกับชาวโซ่ (ทะวืง) มีทัศนคติด้านลบกับภาษาของตน เพราะมีคนกลุ่มอื่นที่ฟังไม่เข้าใจและดูถูกว่าเป็นภาษาของคนป่า รวมถึงชาวโซ่ (ทะวืง) ที่มีการศึกษา หรือผู้ที่แต่งงานข้ามชาติพันธุ์ไม่ยอมพูดภาษาของตน ดังนั้น ก่อนที่จะสูญเสียรากเหง้าและมรดกภูมิปัญญาของชาวโซ่ (ทะวืง) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ทำโครงการวิจัย “อนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทโซ่ (ทะวืง) ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ”เพื่อฟื้นฟูและถ่ายทอดภาษาโซ่ (ทะวืง) โดยการพัฒนาระบบตัวเขียนเพื่อสร้างหลักเกณฑ์การเขียนที่ถูกต้องด้วยอักษรไทย ผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียน ทำให้เกิดการสืบทอดและคงอยู่ของภาษาโซ่ (ทะวืง) ต่อไป |
โส้ พลังผีพลังคน | ทีวีไทย (นิรมล เมธีสุวกุล) | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials: CDF 000546 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070896 | ดิทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตของชาวโส้ ในหมู่บ้านหนองหอย อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ที่มีความเชื่อเรื่องผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่าหากทำอะไรไม่ดีหรือทำให้ผีไม่พอใจ ผีก็จะทำให้ตัวเองเจ็บป่วย จึงมีพิธีกรรมที่เรียกว่า “การเหยา” เป็นพิธีกรรมสื่อสารระหว่างผีกับคนผ่านหมอเหยา เพื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เจ็บป่วยและวิธีการรักษา โดยใช้บทกลอน ทำนองลำ และแคนประกอบการให้จังหวะ พร้อมเครื่องคาย (เครื่องไหว้ครู) ประกอบการเหยาด้วย แม้จะรักษาอาการเจ็บป่วยหายแล้วแต่ผีก็กลับมาทำร้ายได้อีก จึงต้องมีพิธีลงสนามเลี้ยงผีประจำปี หรือภาษาโส้เรียกว่า แซงสนัมประจำกะมอ เป็นพิธีกรรมสำคัญที่รวมผู้คนที่เคยผ่านพิธีการเหยาจากหมอเหยาในหมู่บ้านหรือผ่านการรักษาจากหมอเหยานั้นๆมาทำพิธีร่วมกัน มักจัดขึ้นในหมู่บ้านของตนเป็นประจำทุกปี ระหว่างเดือน 4 หรือเดือน 5 ก่อนเข้าสู่ฤดูทำนาทำไร่ เพื่อเลี้ยงผีที่เคยเชิญออกจากร่าง รวมถึงบูชาหมอเหยาที่เคยรักษาให้ตนหายเจ็บป่วยเป็นการตอบแทนบุญคุณปีละครั้ง |
คนโส้กุสุมาลย์ | ทีวีไทย (นิรมล เมธีสุวกุล) | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553] | Audio Visual Materials: CDF 000807 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070894 | สารคดีนี้นำเสนอเกี่ยวกับชาวไทโส้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแอ่งสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งชาวไทโส้เป็นชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ นับถือผี รวมทั้งได้เสนอเกี่ยวกับ งานโส้รำลึก ที่จัดขึ้นเพื่อบวงสรวงพระอรัญอาสา ผู้นำการตั้งถิ่นฐานของชาวโส้ในพื้นที่แอ่งสกลนคร ในงานโส้รำลึกนี้จะจัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เปรียบเสมือนวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทโส้ จะมีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่จะให้ความสำคัญกับการไหว้ผีบรรพบุรุษที่ก่อกำเนิดชาวโส้ หรือ ผีตะปูน นั่นเอง ทั้งยังได้มีการเสนอข้อมูลของบ้านหนองหอย ในอำเภอกุสุมาลย์ ซึ่งยังคงเป็นชุมชนชาวโส้ที่ยังคงมีวัฒนธรรมของโส้อย่างชัดเจน ใช้ภาษาโส้ในการสื่อสาร ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะพากันไปกราบไหว้หอผีที่เชื่อว่าดูแลคนทั้งหมู่บ้าน และได้มีพิธีการบูชาผีบรรพบุรุษเพื่อเป็นสิริมงคลกับลูกหลานในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นพิธีกรรมและวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง |
โซ่ทะวืงที่ส่องดาว ทีวีไทย | ทีวีไทย (นิรมล เมธีสุวกุล) | กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552] | Audio Visual Materials: CDF 000601 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00068478 | สารคดีนี้นำเสนอเกี่ยวกับโซ่ทะวืงที่ยังคงเหลืออยู่จำนวนไม่มากเพียง 2,000 คนในประเทศไทย ที่ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยเนื้อหามีการพูดถึงการใช้ภาษาโซ่ทะวืงในการสื่อสาร ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาเวียดนาม ในกลุ่มภาษาสาขาเวียตติก ปัจจุบันภาษาโซ่ทะวืงเริ่มเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติ แต่ก็ได้รับความร่วมมือในการร่วมฟื้นฟูภาษานี้ร่วมกับคนในชุมชน หมู่บ้านที่ยังคงมีการใช้ภาษาโซ่ทะวืงเหลือเพียง 4 หมู่บ้านเท่านั้น ได้แก่ บ้านหนองแวง บ้านหนองเจริญ บ้านดงสร้างคำ และบ้านหนองม่วง ทั้ง 4 หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบหลากหลายของชาติพันธุ์ทั้ง ย้อ ลาว ภูไท และโซ่ทะวืง ทางรายการได้มีการลงพื้นที่ที่บ้านหนองม่วง ซึ่งมีชาวโซ่ทะวืงหนาแน่นที่สุด มีการสื่อสารด้วยภาษาที่หลากหลายแต่กลับมีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง การใช้ภาษาโซ่ทะวืงจะเห็นได้ชัดในการใช้เรียกชื่อสมุนไพร จะมีสมุนไพรหลายชนิดที่รู้จักกันเฉพาะภาษาโซ่ทะวืงเท่านั้น ในด้านการละเล่นต่างๆของชาวโซ่ทะวืงจะเป็นท่าร่ายรำที่สนุกสนานและเลียนแบบจากสัตว์ |
เราะออกุสุมาลย์ สบายดีกุสุมาลย์ | สมชัย คำเพราะ | - | เนชั่นสุดสัปดาห์. ปีที่ 17, ฉบับที่ 872 (ก.พ. 2552), หน้า 53 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00025227 | บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับ “เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ 28 ครบรอบ 170 ปี เมืองกุสุมาลย์มณฑล” ซึ่งเป็นงานที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและผู้คนในชุมชน เพื่อให้เห็นความสำคัญ สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทโส้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ที่มีประวัติความเป็นมาว่า ชาวไทโส้ได้อพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และโยกย้ายเพื่อหนีโรคระบาดจนตั้งถิ่นฐานที่บริเวณตลาดอำเภอกุสุมาลย์ จนถึงปัจจุบัน ชาวไทโส้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีภาษาพูดเป็นของตนเองซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษามอญ-เขมร และมีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ (ผี) ในงานเทศกาลโส้รำลึก มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไทโส้ในรูปขบวนแห่เจ้าเมืองจำลอง ขบวนแห่ขันหมากเบ็งหรือพานบายศรี ขบวนแสดงวิถีชีวิตชาวไทโส้ ขบวนแห่สิ่งของเครื่องใช้จำเป็นของชาวไทโส้ เช่น เครื่องมือหาเปลา ของเล่นเด็ก เครื่องจักสาน เป็นต้น ขบวนฟ้อนรำของหญิงสาวที่สวมชุดประจำชาติพันธุ์ไทโส้ สวมผ้าซิ่นทอด้วยฝ้ายมัดหมี่ เสื้อผ้าฝ้ายแขนกระบอกย้อมสีคราม ขลิบแดง ห่มด้วยสไบลวดลายสวยงาม และสังเกตได้ว่า หากหญิงใดที่เกล้ามวยผมสูงแสดงว่ายังไม่ผ่านการแต่งงาน หากหญิงใดเกล้ามวยต่ำบริเวณท้ายทอยแสดงว่าผ่านการแต่งงานมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีการแสดงลายกลอง คือการตีกลองเป็นเป็นจังหวะของชาวไทโส้ ประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรี เช่น พิณ แคน ซอ และการร่ายรำฟ้อนโส้ทั่งบั้ง เป็นต้น |
การเล่นลายกลองกิ่งสกลนคร | สายัณห์ บุญใบ | - | เพลงดนตรี ปีที่ 14, ฉบับที่ 6 (ก.พ. 2552), หน้า 32-37 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00023419 | บทความนี้กล่าวถึง การเล่นลายกลองกิ่ง ซึ่งถือเป็นศิลปะชั้นสูงของชาวไทโส้ ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร หรือที่เรียกกันว่า “กลองจิ่ง” ในภาษาถิ่น ปัจจุบัน กลองชนิดนี้นิยมใช้ติดประกอบขบวนแห่งานบุญตามงานเทศกาล และใช้ตีเพื่อประกอบจังหวะฟ้อนแบบต่างๆ นักตีกลองบางคนอาจแสดงลีลาลวดลายเลียนแบบท่าทางสัตว์ที่ตนรู้จัก และตั้งชื่อท่าทางการตีกลองในแต่ละท่า ซึ่งในภาษาอีสานเรียกท่วงทำนองหรือลีลาแบบแผนหนึ่งๆ ว่า “ลาย” โดยแบ่งออกเป็น 1) ลายใหญ่ หรือ ลายหลัก และ 2) ลายย่อย หรือ ลายสลับ โดยมีการตี 3 ลักษณะ ได้แก่ จังหวะหลัก จังหวะแทรกและจังหวะส่ง การเล่นลายกลองกิ่งของไทโส้จะแสดงในเทศกาลโส้รำลึก โดยจัดขึ้น ณ สนามหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 เป็นประจำของทุกปี |
สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : โส้ | ยงยุทธ บุราสิทธิ์ | นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551 | Book: DS570.ส92ย24 2551 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070038 | สารานุกรมเล่มนี้กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานอย่างละเอียดของชาวโส้, โซ่ หรือกะโซ่ ชาวบ้านทั่วไปเรียกตนเองว่า “โส้” แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เขียนว่า “กะโซ่” ซึ่งการเรียกขานชาวโส้นั้นยังมีนักภาษาศาสตร์จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ โส้, โส้ (ทะวืง), โส้ (บรู) อีกด้วย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชาวโส้ ทั้งประวัติตามตำนานท้องถิ่นและประวัติศาสตร์การอพยพจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาอาศัยในประเทศไทยที่จังหวัดสกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, กาฬสินธุ์ และหนองคาย โดยคาดการณ์ว่ามีกลุ่มคนที่พูดภาษาโส้ในประเทศไทยอยู่ประมาณ 70,000 คน รวมถึงข้อมูลลักษณะที่อยู่อาศัย การแต่งกาย ภาษา การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร ภูมิปัญญาในการรักษาโรคและการละเล่นของชาวโส้ |
แซงซะนาม สื่อพิธีกรรมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ศักดิ์ศรีชาวไทโส้ | ณฐมน บัวพรมมี, กาญจนา แก้วเทพ | - | วารสารวัฒนธรรมไทย. ปีที่ 47, ฉบับที่ 11 (ต.ค. 2551), หน้า 38-39 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00044272 | บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การใช้สื่อพิธีกรรมแซงซะนาม เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ศักดิ์ศรีชาวไทโส้ บ้านโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม พิธีกรรมแซงซะนาม หรือ ลงสนาม เป็นพิธีกรรมประจำปี จัดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณในด้านต่างๆ ตั้งแต่การปกปักษ์รักษาน้ำสำหรับทำนาหล่อเลี้ยงชีวิต รวมไปถึงการช่วยให้หายเจ็บป่วย สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ การแสดงความกตัญญูต่อ “แม่แก้ว” หรือหมอเหยาผู้เป็นสื่อกลางติดต่อกับสิ่งเหนือธรรมชาติ (ผี) จากงานวิจัยพบว่า ยุคสมัยของการธำรงรักษาอัตลักษณ์ศักดิ์ศรีที่สัมพันธ์กับพิธีกรรมแซงซะนามของชาวไทโส้บ้านโพนจาน แบ่งเป็น 3 ยุค คือ ยุคแรก (ประมาณ พ.ศ.2508) นับตั้งแต่ก่อตั้งชุมชน ชุมชนใช้วิธีปิดตัวจากโลกภายนอกเพื่อรักษาอัตลักษณ์ของชาวไทโส้ในชุมชน โดยมีปัจจัยเอื้ออำนวยคือถนนหนทางและไฟฟ้าที่ยังเข้าไม่ถึง ชาวไทโส้ยังคงประกอบอาชีพทำไร่ทำนา แต่เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจะพึ่งหมอเหยาร่วมกับการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาแล้วใช้พิธีแซงซะนามเป็นการรำลึกถึงบุญคุณ ยุคที่สอง (พ.ศ.2528-2548) กระแสโลกาภิวัตน์หลั่งไหลเข้าสู่ชุมชน ชาวไทโส้วัยหนุ่มสาวในชุมชนทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไม่นิยมปฏิบัติตามประเพณีเดิม เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย คนหนุ่มสาวอายที่เกิดเป็นชาวไทโส้ ทำให้ครูโรงเรียนบ้านโพนจานพยายามดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อฟื้นฟูประเพณีชาวไทโส้ในโรงเรียน เช่น การรณรงค์แต่งกายแบบชาวไทโส้ ภาษาโส้-ไทย-อังกฤษ วันละคำ ยุคที่สาม (พ.ศ.2549-ปัจจุบัน) ชุมชนได้ร่วมมือกับโครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข (สพส.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินกิจกรรมด้วยกระบวนการทำงานวัฒนธรรมเชิงรุก ทำให้ผลของการฟื้นฟูพิธีกรรมแซงซะนามไปสู่เยาวชนรุ่นใหม่ในชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนจนถึงทุกวันนี้ |
ที่ระลึกงานเฉลิมฉลอง 25 ปี จังหวัดมุกดาหาร ตำนาน 237 ปี เมืองมุกดาหาร 2550 | - | อุบลราชธานี : สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร, 2550 | Book: DS589.ม7ท74 2550 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00069371 | หนังสือเล่มนี้รวบรวมภาพและเรื่องราวในอดีต ตั้งแต่สมัยก่อตั้งเมืองมุกดาหาร ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรมในท้องถิ่น และการพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร สมัยรัชกาลที่ 3 ในเหตุการณ์การปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ กองทัพไทยได้ยกทัพข้ามแม่น้ำโขงไปกวาดต้อนผู้คนจากดินแดนลาวให้อพยพมาตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ภาคอีสาน จึงเป็นสาเหตุให้จังหวัดในภูมิภาคนั้นรวมถึงจังหวัดมุกดาหารมีผู้คนหลายหลายกลุ่ม โดยเฉพาะจังหวัดมุกดาหารมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันจำนวน 8 กลุ่มด้วยกัน ชาวไทยกะโซ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งใน 8 กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดมุกดาหารด้วย ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้นำภาพถ่ายของชาวกะโซ่ในอดีต และภาพพิธีการเหยาหรือการทำบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวไทยกะโซ่อีกด้วย |
งานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอกุสุมาลย์ | สภาวัฒนธรรมอำเภอกุสุมาลย์ กองการศึกษาเทศบาลตำบลกุสุมาลย์. | สกลนคร: สภาวัฒนธรรมอำเภอกุสุมาลย์ กองการศึกษาเทศบาลตำบลกุสุมาลย์, 2549 | Book: DS570.ส9ง63 2549 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070569 | หนังสือที่ระลึกจากงานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอกุสุมาลย์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทโส้ ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยรวบรวมความเป็นมาของชาวไทโส้ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม งานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอกุสุมาลย์ เป็นงานประจำปีของชาวโส้ จัดในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ในงานจะมีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีชาวไทโส้ เช่น การแสดงรำโส้ทั่งบั้ง การละเล่นลายกลองหรือการตีกลองของชาวไทโส้ การแสดงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีพื้นเมือง การแสดงศิลปะของชาวไทโส้ งานหัตถกรรมต่างๆ การแสดงวิถีชีวิตของชาวไทโส้ รวมถึงการประกวดธิดาโส้เพื่อแสดงการแต่งกายประจำเผ่าไทโส้ เป็นต้น |
ประเพณีไทโส้อำเภอกุสุมาลย์ | กองการศึกษาเทศบาลตำบลกุสุมาลย์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้อำเภอกุสุมาลย์. | สกลนคร : กองการศึกษาเทศบาลตำบลกุสุมาลย์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์, 2548 | books: DS570.ส9ป46 2548 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00070568 | หนังสือประเพณีไทยโซอำเภอกุสุมาลย์ ผู้เขียนได้รวบรวมนำเอาข้อมูลจากเอกสารประกอบ “เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ 4 ประจำปี 2528” หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและประเพณีวัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ความหมายของคำว่า “โส้” “โซ่” หรือ “กะโซ่” รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งการเกิด การตาย การแต่งงาน ความรู้เกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ และการละเล่นพื้นเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทโส้ได้เป็นอย่างดี ตลอดจนชี้ให้เห็น ถึง ความจำเป็นในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่าไว้เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาต่อไป |
แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย | สุวิไล เปรมศรีรัตน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, อภิญญา บัวสรวง, ...[และคนอื่นๆ] | กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2547 | Research and Thesis: P35.ท9อ72 2547 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00043616 | หนังสือเล่มนี้เป็นงานวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆในประเทศไทย โดยมีการเสนอข้อมูลการกระจายของกลุ่มภาษา ด้วยสีและสัญลักษณ์บนแผนที่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางด้านภาษาและชาติพันธุ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยการนำความรู้ด้านภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ความรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์และศาสตร์ในการจัดทำแผนที่ มาประยุกต์เข้าด้วยกัน ในส่วนของผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษาโซ่ และ โซ่ (ทะวืง) เป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก ภาษาโซ่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาษาที่มีคนพูดจำนวนน้อย ในขณะเดียวกันภาษาโซ่ (ทะวืง) กลับพบว่าเป็นภาษาที่มีคนพูดน้อยมาก โดยจะเห็นได้จากการนำเสนอแผนที่ภาษาของชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคอีสาน นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ข้อสังเกตว่า ภาษาโซ่ (ทะวืง) เป็นภาษาที่มีปัญหาด้านการตาย การย้ายภาษา หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา โดยจากผลการสำรวจของนักภาษาศาสตร์พบว่าภาษาโซ่ (ทะวืง) ในปัจจุบันยังคงมีการพูดในเฉพาะเขตอำเภอสองดาว จังหวัดสกลนครเท่านั้น ส่วนที่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดอุดรธานี ไม่มีการพูดภาษานี้แล้ว ซึ่งการพูดภาษาโซ่ (ทะวืง) ที่อำเภอสองดาว จังหวัดสกลนคร กำลังอยู่ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลงของภาษาด้วยเช่นกัน |
สะลา | สำรวย เย็นเฉื่อย | - | สารวัฒนธรรม. ปีที่ 10, ฉบับที่ 2 (พ.ค./ส.ค. 2547), หน้า 12 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00026801 | บทความนี้ได้กล่าวถึงการละเล่นของชาวไทโส้ มีชื่อเรียกว่า “สะลา” ซึ่งการละเล่นนี้ ผู้เล่นส่วนใหญ่จะเป็นชาย โดยจะแต่งกายนุ่งผ้าขัดเตี่ยวมีชายห้อยข้างหลังเพียงอย่างเดียว ซึ่งพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้อธิบายไว้ในนิทานโบราณคดีเรื่องคนต่างจำพวกเกี่ยวกับกะโส้ อาศัยรวมกันเป็นปึกแผ่นที่เมืองกุสุมาลย์มณฑล จังหวัดสกลนคร โดยมีถิ่นเดิมอยู่ ณ เมืองมหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้าย เรื่องกะโส้นี้ไม่ได้เป็นที่รู้จักเนื่องด้วยมีจำนวนไม่มากและปัจจุบันไม่นิยมพูดภาษาไทโส้แล้วมีแต่เพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้น แต่ยังคงมีการสืบทอดประเพณีของตนเองอยู่ โดยเฉพาะใน “เทศกาลโส้รำลึก” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงต้นปี และพี่น้องไทโส้จะมารวมตัวกันจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการรักษาอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ |
เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ 22 | ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ | สกลนคร : สกลนครการพิมพ์, 2546 | book :DS570.ส9 ท75 2546 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00077800 | หนังสือเทศกาลโส้ลำลึกทั้งที่ 22 เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติและวัฒนธรรมของชาวไทยโส้ ซึ่งได้รวบรวมจากงานเขียนต่าง ๆ โดยเฉพาะพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยประวัติความเป็นมาและประวัติศาสตร์ของเมืองกุสุมาลย์ ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร การเริ่มตั้งถิ่นฐานของชาวไทโส้ ประเพณีที่น่าสนใจของพี่น้องชาวไทโส้ ได้แก่ ประเพณี “การเยา” ประเพณีการเกิด พิธี “เจียสลา” เพื่อการบูชาบรรพบุรุษ พิธี “อะเอียงดง” หรือการกินข้าวใหม่ของชาวไทโส้ พิธี “ชางกะมูด” เมื่อมีการตาย ทั้งยังอธิบายรูปแบบการร่ายรำและการละเล่นของชาวไทโส้ ทั้ง “รำโส้ทั่งบั้ง” “รำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์” และยังกล่าวถึงรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวไทโส้ รวมทั้งได้มีการรวบรวมคำศัพท์ของชาวไทโส้ในหมวดต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทโส้อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย |
บทความเรื่อง คน 7 จำพวก และประวัติลาว: จากลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและลิขิตของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ | ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, 2405-2486 | - | ศิลปวัฒนธรรม. 23, 9 (กรกฎาคม 2545) หน้า 162-169 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00005722 | จดหมายลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน) พระเถระผู้เป็นนักปราชญ์อีสาน เพื่อถามเกี่ยวกับคน 7 จำพวก คือ ผู้ไทย กะเลิง ย้อ แสก โย้ย กะตาก และกะโซ้ ที่ได้พบขณะไปตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสานเมื่อ พ.ศ.2449 ว่าคนเหล่านั้นเป็นใคร มีภูมิเดิมอยู่ที่ไหน และจดหมายลายพระหัตถ์อีกฉบับเพื่อสอบถามเกี่ยวกับประวัติของลาวว่าเป็นพวกลัวะหรือพวกละว้า โดยใจความจดหมายตอบกลับของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน)โดยสรุปที่เกี่ยวกับพวกกะโซ้ ดังนี้ พวกกะโซ้มีอยู่มากที่เมืองกุสุมาลยมณฑล จังหวักสกลนคร มีถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัยกองแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยทรงอธิบายว่าพวกกะโซ้เป็นพวกเผ่าข่าที่มีหลายกลุ่ม มีชื่อเรียกต่างกันออกไป เชื่อกันว่าชาวข่านั้นเป็นพี่น้องกับชาวไทยตามตำนานในพงศาวดารล้านช้างตอนหนึ่งที่กล่าวเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าปุ้ง ความว่า คนเราเกิดจากผลน้ำเต้า เมื่อนำเหล็กเผาไฟจนแดงแล้วเอามาแทงที่น้ำเต้า เมื่อถอนเหล็กออกมาคนก็ไหลออกมาจากน้ำเต้านั้น คนที่ออกมาก่อนมีผิวคล้ำเพราะโดนไฟเผาเป็นเผ่าข่า และเผ่าไทยออกมาทีหลังตอนไฟมอดหมดแล้วจึงมีผิวขาว ซึ่งถือว่าเป็นกุศโลบายของผู้แต่งตำนานในการปกครองทั้ง 2 เผ่าให้ปรองดองกัน |
นิทานโบราณคดี | สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2544 | Book: PL4209.4.ด66 2544 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00035926 | ในนิทานโบราณคดีเรื่องที่ 17 เรื่องแม่น้ำโขง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เล่าเรื่องที่ได้รู้เห็นเมื่อครั้งไปตรวจราชการที่มณฑลอุดรและอีสาน ในปีพ.ศ.2449 และกล่าวถึงเรื่องคนต่างจำพวกซึ่งกล่าวถึงกลุ่มคนจำนวน 8 กลุ่มที่รวมถึงคนพวกกะโซ่อยู่ด้วย เนื้อหาที่กล่าวถึงพวกกะโซ่นั้นกล่าวว่าเป็นพวกข่าที่มีภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่ในมณฑลอุดรหลายแห่งแต่อยู่รวมกันมากที่กุสุมาลยมณฑล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เล่าถึงการละเล่น “สะลา” และอธิบายการเล่นไว้อย่างละเอียด รวมทั้งกล่าวถึงเรื่องเล่าของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมที่เคยตรัสถามเจ้าเมืองกุสุมาลยมณฑลว่าพวกโซ่กินหมาจริงหรือไม่ พระอรัญอาสา เจ้าเมืองกุสุมาลยมณฑลจึงทูลรับว่า “พวกกะโซ่ชอบแจ๊ะจอ” และได้ทานหมาให้ทอดพระเนตรอย่างเอร็ดอร่อย |
เมืองมุกดาหาร | สุรจิตต์ จันทรสาขา | มุกดาหาร : สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร, 2543 | Book: DS589.ม7ส73 2543 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00048024 | หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเมืองมุกดาหาร โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหามีกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งกล่าวรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะโซ่ไว้ด้วย ชาวไทยกะโซ่, กะโส้, โซ่ หรือโส้ ซึ่งมาจากคำว่าข่าโซ่ หมายถึงคนข่าพวกหนึ่งในตระกูลมอญเขมร มีลักษณะและชาติพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์แต่ลักษณะภาษาจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลออสโตรอาเชียติค พวกะโซ่นี้เดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในจังหวัดมุกดาหารชาวกะโซ่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอดงหลวงเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะใช้นามสกุลเดียวกัน คือ วงศ์กะโซ่ พิธีกรรมของชาวกะโซ่ที่ยังคงรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ โซ่ถั่งบั้งหรือสลา พิธีซางกะมูด และพิธีเหยา |
นครพนม | กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร. | กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999, 2543 | Book: DS589.น3ก32 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00040621 | หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดนครพนม ซึ่งรวมทั้งการกล่าวถึงประชากรที่อาศัยในจังหวัดนครพนม จำนวน 693,620 คน (จากข้อมูลสถิติประชากรปี พ.ศ. 2539) โดยชาวไทยกระโส้หรือโส้ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วอพยพมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนครพนมในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังการปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ และชาวโส้นั้นอาศัยอยู่มากในพื้นที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน และอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม |
ประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย | คุณหญิงสุริยา รัตนกุล...[และคนอื่น] | กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542 | Research and Thesis: GN635.ท9ค49 2542 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00020135 | การประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “ประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย” ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกนั้นเป็นตระกูลภาษาเก่าแก่ในอาเซียอาคเนย์ ปัจจุบันมีกลุ่มผู้พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกในประเทศไทยมากกว่า 20 กลุ่ม จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และนักปราชญ์ด้านชาติพันธุ์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ยืนยันว่ากลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกในประเทศไทย แยกออกเป็น 8 สาขา โดยภาษาโซ่จะอยู่ในกลุ่มกตุ (KATUIC) ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มมอญ-เขมรตะวันออก (EASTERN MON-KHMER) การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับกลุ่มชนที่พูดภาษาโซ่ (ทะวืง) มีเพียง 1-3 ชิ้น และเป็นเนื้อหาที่ถูกกล่าวร่วมกับกลุ่มชนอื่นๆ โดยมีงานวิจัยที่เป็นประโยชน์กับการศึกษาภาษาโซ่ เช่น งานรวบรวมพจนานุกรมภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกภาษาต่างๆ ซึ่งมีพจนานุกรมภาษาโซ่ (ทะวืง) ไทย-อังกฤษ (2542) รวมอยู่ด้วย |
มุกดาหาร : อัญมณีชายฝั่งโขง | ดวงจำปา | กรุงเทพฯ : แสงปัญญาเลิศ, 2542 | Book: DS589.ม7ด52 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00018208 | หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ภาพถ่ายและข้อมูลที่ได้จากการลงเก็บข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน เช่น ที่ตั้ง อาณาเขต สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสถานที่สำคัญ สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประชากรที่อยู่ในจังหวัดมุกดาหารที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 8 กลุ่ม เนื่องจากเป็นจังหวัดชายแดนจึงมีผู้คนอพยพโยกย้ายกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งชาวไทยโส้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลดงหลวง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ ประเพณีรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขงที่จะมีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 8 กลุ่ม นำการแสดงประจำกลุ่มของตนเองมาจัดแสดงและเป้นการพบปะพี่น้องชาติพันธุ์ประจำปีอีกด้วย |
กลุ่มชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร | - | - | ศิลปวัฒนธรรม : 18, 3(ม.ค. 2540) ;หน้า 104-109 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00004077 | บทความนี้กล่าวถึงความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร ที่มีทั้งไทยอีสานหรือไทยลาวที่ตั้งรกรากกระจัดกระจายทุกอำเภอ รวมทั้งได้กล่าวถึงชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ ที่อาจจะเห็นชัด เฉพาะจุด เช่น ภูไท กระเลิง ย้อ ญวน แสก และโย้ย มีการกล่าวถึงความเป็นมาและการตั้งรกรากของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร รวมทั้งได้กล่าวถึงรูปแบบการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม ดนตรี เครื่องแต่งกาย การนับถือผี คติธรรมและความเชื่อ การใช้ภาษาและการสื่อสาร ซึ่งวัฒนธรรมของ กลุ่มชนเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือเป็นวัฒนธรรมย่อยที่ควรค่าต่อการศึกษาซึ่งจะเกี่ยวโยงและบ่งบอกถึงความเป็นมาของชนชาตินั้นๆ ในภาพรวมได้เป็นอย่างดี ในบทความเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนครนี้ยังได้กล่าวรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์โส้ไว้ด้วย พวกธรอหรือโส้ มีภาษาที่เรียกว่าโส้ โดยนักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาโส้กับส่วยอยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามอญ-เขมรสาขากะตุ ชาวโส้มีความเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณเวทมนตร์ไสยศาสตร์มาก ซึ่งเห็นได้จากพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ พิธีเหยาหรือเยา เป็นพิธีการทรงเจ้าเข้าผีเพื่อบำบัดความเจ็บป่วย พิธีเลี้ยงผีแจหรือผีเรือน พิธีชางกะมู๊ด เป็นพิธีที่จะทำเมื่อคนตาย พิธีหรือประเพณีเหล่านี้มีการสอดแทรกความเชื่อเรื่องผีหรือสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่ด้วย ชาวไทโส้ในแอ่งสกลนครรวมตัวกันอยู่ในอำเภอกุสุมาลย์ มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจโดยเฉพาะด้านดนตรีซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม โดยพิธีกรรมจะมีเครื่องดนตรีที่เป็นองค์ประกอบ เช่น กระจับปี่ (พิณ) ซอหนังกบ กลองเล็ง โปงลาง พังฮาด ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น |
ผ้าชาวโส้ ใน ผ้าไทย | ทรงคุณ จันทจร, พิสิฏฐ์ บุญไชย, แสงเพชร สุพร | กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2537 | Books Chapter: TS1413.ท9ค35 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00002010 | การศึกษาประวัติความเป็นมาของผ้าชาวโส้ในอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร จากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต โดยสามารถแบ่งได้ 4 ยุค ดังนี้
ในบทความยังได้รวบรวมขั้นตอนและเทคนิคการผลิตผ้าไหมและฝ้ายของชาวโส้ ลายผ้าที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา ธรรมชาติ หรือทรงเรขาคณิต ลักษณะการแต่งกายของชาวโส้ที่ยังคงแต่งกายแบบเรียบง่าย นิยมใส่เสื้อสีพื้น เช่น ดำ ขาว คราม สมัยโบราณชายจะนิยมสวมเสื้อคอตั้ง ติดกระดุม นุ่งผ้าเตี่ยวหรือสวมกางเกงขาก๊วย หากชายใดสวมใส่ลูกประคำเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผู้นั้นเรียนวิชาทางไสยศาสตร์ หญิงสวมเสื้อคอกลม แขนกระบอก มีกระดุมผ่าอกขลิบแดง นุ่งซิ่น รวมถึงการใช้ผ้าประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือความเชื่อทางไสยศาสตร์ เป็นต้น |
โส้ทั่งบั้ง การละเล่นเพื่อพิธีกรรมของชาวไทยโซ่ | พุฒ บุตรรัตน์ | - | วัฒนธรรมไทย. ปีที่ 28, ฉบับที่ 4 (เม.ย. 2532), หน้า 32-35 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00052024 | บทความนี้กล่าวถึงภูมิหลังและความเป็นมาของชาวไทยโซ่ในประเทศไทยพอสังเขป และกล่าวถึงการละเล่นหรือพิธีกรรม “โส้ทั่งบั้ง” หรือในภาษาโส้เรียกว่า “โทรอติงเกา” และเป็นการละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่งของชาวไทยโซ่ โดยการใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งลงกับพื้นดินเป็นจังหวะเพื่อประกอบพิธีต่างๆ ชาวไทยโซ่จะเล่นทั่งบั้งในงานพิธีเกี่ยวกับผีซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเล่นในพิธีศพ นอกจากนี้ในบทความยังได้มีการอธิบายรูปแบบการแต่งกายของผู้เล่นทั่งบั้ง ในอดีตผู้เล่นล้วนเป็นชายล้วน นุ่งผ้าเตี่ยวมีชายห้อยข้างหลัง โดยการละเล่นเป็นการเดินร้องรำเป็นวง แต่การเล่นโส้ทั่งบั้งในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปคือใช้ผู้หญิงเป็นผู้เล่นด้วย โดยให้มีส่วนในการฟ้อนรำและเล่นเครื่องตีประกอบอีกจำนวนมาก |
ไปดูชาวโส้ตัดเวรตัดกรรม | ทรงวิทย์ ดลประสิทธิ์ | - | ศิลปวัฒนธรรม.8,4 (ก.พ. 2530), หน้า 96-104 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00000547 | บทความนี้เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงความเป็นมาของชาวโส้ ทั้งจากตำนานและเอกสารประวัติศาสตร์ รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวโส้โดยเฉพาะชาวโส้ในหมู่บ้านดอนยาง ตำบลนาขมิ้น จังหวัดนครพนม ซึ่งค่อนข้างยากจน ยังคงยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและความเชื่อที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ผู้เขียนได้นำเสนอความเชื่อเรื่องการตัดเวรตัดกรรมในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวโส้ ไม่ว่าจะเป็นการทำพิธีเหยาที่มีทั้งการทำเพื่อเรียกขวัญ รักษาคนป่วยและแก้บน พิธีซางกระมูดหรือพิธีกรรมที่ทำขึ้นภายหลังจากมีคนตายตามความเชื่อเพื่อส่งให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติซึ่งสัมพันธ์กับพิธีโส้ทั่งบั้ง พิธีโส้ทั่งบั้งนี้นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีซางกระมูดแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมสำคัญของชาวโส้อีกมาก เช่น พิธีเหยา พิธีแซงสนาม เป็นต้น หลังจากประกอบพิธีซางกระมูดและโส้ทั่งบั้งแล้วจะมีการทำพิธีตัดเวรตัดกรรมด้วยการนำอาวุธมีคมตัดสายสิญจน์ที่กองฟอนก่อนจะมีการประชุมเพลิง นอกจากขั้นตอนและอุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรมที่ถูกอธิบายไว้อย่างละเอียดพร้อมกับความเชื่อในพิธีกรรม ผู้เขียนยังได้นำภาพประกอบของการทำพิธีซางกระมูดและโส้ทั่งบั้งมารวมไว้อีกด้วย
|
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน : ฉบับต้นแบบ | - | กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2528 | Book: DS568ธ57ส27 ล.4 Reference Books (7th floor) | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00001127 | การรวบรวมข้อมูลจัดทำสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสานได้คัดเลือกคำว่า “เหยา” มาอธิบายไว้ “เหยา” เป็นพิธีกรรมรักษาคนไข้ ในเนื้อหามีการกล่าวถึงสาเหตุของการเหยาไว้ 2 ประการ คือ 1. ความเชื่อที่เกิดจากปัญหาการดำรงชีวิตประจำวัน 2. ชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องผี ทั้งนี้ ยังได้อธิบายวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมและขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม ช่วงวัน เวลา สถานที่ในการประกอบพิธีกรรมอย่างละเอียด |
ภาษาถิ่นตระกูลไทย (พร้อมทั้งภาษาตระกูลต่าง ๆ ในประเทศไทย) | เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. | นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2523 | Book: PL4191.ร823 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00015634 | เอกสารฉบับนี้รวบรวมภาษาถิ่นตระกูลไทยและภาษาตระกูลต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งภาษาโซ่ (So) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตร – เอเชียติค หรือที่รู้จักกันในนามภาษามอญ – เขมรนั้น ความจริงแล้วภาษาตระกูลมอญ – เขมรเป็นภาษาสาขาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตร – เอเชียติค ภาษาโซ่ หรือบางทีเรียกว่าข่าโซ่ (KahSo) เป็นภาษาในตระกูลภาษามอญ – เขมร สาขากะตุ (Katuic) สันนิษฐานว่าชาวโซ่อพยพมาจากประเทศลาว เพราะพบชาวโซ่อาศัยอยู่มากในจังหวัดนครพนม สกลนครและหนองคายแต่ไม่พบในจังหวัดชายแดนประเทศเขมร อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการสำรวจจำนวนผู้พูดภาษานี้อย่างแน่ชัด แต่จากการประมาณคาดว่ามีผู้พูดภาษานี้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน |
ภาษาถิ่นแถบภูพาน | ทองคูณ หงส์พันธุ์ | สกลนคร : วิทยาลัยครูสกลนคร, 2519 | Book: PL4191.ท52 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00012412 | หนังสือเล่มนี้รวบรวมภาษาไทยของคน 7 กลุ่มที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงเทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับครูที่ปฏิบัติหน้าที่ตามโรงเรียนในหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมในพื้นที่นั้น ข้อมูลของชาวกะโซ่เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกรวบรวมไว้ ชาวกะโซ่อยู่อาศัยมากในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร อำเภอศรีสงครามและอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ชาวกะโซ่มีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่ปรากฏภาษาเขียน ลักษณะของภาษากะโซ่คล้ายภาษาเขมรและส่วย โดยมีหลายคำที่ออกเสียงตรงกัน ปัจจุบันบางคำได้เลือนหายไป กลายเป็นคำภาษาไทยอีสานแต่ออกเสียงสำเนียงไทยโซ่ นอกจากนี้ภาษาโซ่ด้วยกันอาจมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับท้องถิ่นและอิทธิพลของภาษาใกล้เคียง
|
ประเพณีชาวอีสาน (โซ่ถั่งบั้ง) | ประสิทธิ์ ตาตินิจ | - | วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 (มิ.ย. 2517), หน้า 35-38 | https://lib.sac.or.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00044832 | บทความนี้กล่าวถึงประเพณีโซ่ถั่งบั้ง ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวโซ่ ในท้องที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม คำว่า “โซ่ถั่งบั้ง” มีความหมายว่า โซ่กระทุ้งกระบอก โดยจะทำกันร่วมเป็นกลุ่มเพื่อทำให้เกิดเสียงคล้ายๆ เสียงดนตรี ในการทำพิธีเช่นนี้จะกระทำในเฉพาะงานศพเท่านั้น ทั้งยังอธิบายพิธีศพของชาวโซ่ เริ่มตั้งแต่เมื่อมีการตายเกิดขึ้นในหมู่บ้านก็จะจัดหาสถานที่สำหรับตั้งศพ การแต่งกายของผู้เข้าร่วมพิธี อุปกรณ์ที่ใช้ในงาน รูปแบบการดำเนินพิธี จนถึงการเสร็จสิ้นการเผาศพ โซ่ถั่งบั้ง นี้เป็นพิธีที่แปลกไปจากพิธีศพของชาวอีสานหรือท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่แสดงออกถึงความพร้อมเสียงทั้งทางด้านศิลปะ การร้องรำทำเพลง การแต่งกาย ตลอดจนการแสดงความรู้สึกในท่วงทำนองจังหวะและเนื้อร้องของเพลงของชาวโซ่ในท้องถิ่นนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นประเพณีที่ควรจะรักษาเอาไว้เพื่อเป็นแสดงถึงอัตลักษณ์และประเพณีที่ดีงามของชาวโซ่ต่อไป |
สารานุกรมชาติพันธุ์การแพทย์กลุ่มไท-ลาว และ ไท-โซ่ | วรางค์รัตน์ และคณะผู้วิจัย | สกลนคร : [ม.ป.พ.], [25--] | Reference Books : GN635.T4.ส6 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00000314 | สารานุกรมเรื่องนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัยของนายสุรัตน์ วรางค์รัตน์และคณะ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไท – ลาว, ไท – โซ่ ในส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์ไท – โซ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดภาษามอญ – เขมร ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลของชาวบ้านในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สาระสำคัญของการศึกษาในครั้งนี้มุ่งเก็บรวบรวมคำพูดที่เป็นคำศัพท์ เสียง ประโยค ที่อธิบายความเจ็บป่วยในด้านกายวิภาคศาสตร์ ศัพท์สรีระวิทยา ชื่อโรค อาการ สาเหตุ พิธีกรรมการรักษา วิธีการรักษา และเวชภัณฑ์ด้านการรักษา เพื่อช่วยให้แพทย์และพยาบาลเข้าใจผู้ป่วยและวิธีการรักษาแบบพื้นบ้านมากขึ้น ทั้งนี้ พบคำศัพท์ที่พ้องเสียงกับภาษาของภาคกลางซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการวินิฉัยได้ โดยผู้วิจัยได้รวบรวมผลการศึกษาแล้วพบคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพและความเจ็บป่วยของชาวไท – โซ่ ราว 250 คำ |
The so people of Kusuman, Northeastern thailand In Ethnic group of Thailand : a collected Article V.9. | Kania, Raymond S | [S.L : S.N., 2007?] | Books Chapter: GN635.T4E85 V.9 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00053409 | งานเขียนนี้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ในหมู่บ้านของชาวโส้ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยเนื้อหานำเสนอวิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของชาวโส้ นอกจากนี้ ยังมีการอธิบายถึงลักษณะภูมิประเทศและการก่อตั้งบ้านเรือน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วงจรชีวิตของชาวโส้ ระบบครอบครัวและความสัมพันธ์ทางสังคม พิธีกรรมทางศาสนา ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น ในส่วนท้ายของบทความมีการเทียบเคียงการออกเสียงพยัญชนะและสระในภาษาโส้เทียบกับภาษาอังกฤษ รวมถึงภาพลายเส้นที่นำเสนอตะกร้า งานจักสาน งานหัตถกรรมและอุปกรณ์จับสัตว์แบบต่างๆ ของชาวโส้ |
So (Thavung) preliminary dictionary | Suwilai Premsrirat. | [Nakhon Pathom] : Institute of Language and Culture for Rural | Book: PL4351.S6S89 2004 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00044444 | หนังสือเรื่องนี้เป็นการจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ภาษาโซ่ (ทะวืง) – อังกฤษ – ไทย โดยในบทนำมีการอธิบายถึงตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติค ซึ่งภาษาโซ่ (ทะวืง) เป็นภาษาหนึ่งในสาขามอญ – เขมร ที่เป็นสาขาย่อยในภาษาดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการอธิบายโครงการทางภาษาของภาษาโซ่ (ทะวืง) ประวัติความเป็นมาของภาษา ข้อมูลภาษาศาสตร์เชิงสังคม สถานการณ์ของภาษาในหมู่บ้านโซ่ (ทะวืง) ข้อมูลในพจนานุกรมเล่มนี้รวบรวมจากชาวโซ่ในบ้านหนองแวง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ในปี ค.ศ. 1995 จะเห็นได้ว่าภาษาโซ่ (ทะวืง) นี้ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไทย – ลาว พบการใช้ภาษาลาวและญ้อจำนวนมากในภาษาโซ่ (ทะวืง) นอกจากคำศัพท์ภาษาโซ่ (ทะวืง) – อังกฤษ – ไทย แล้ว ยังมีตัวอย่างประโยคภาษาโซ่ (ทะวืง) – อังกฤษ – ไทย ดัชนีคำยืมจากภาษาไทย – ลาว และการรวมคำไทย – โซ่ (ทะวืง) ไว้อีกด้วย |
Ethnic groups of Thailand : Non-Tai-Speaking Peoples | Joachim Schliesinger. | Bangkok, Thailand : White Lotus Press, 2000 | Book: GN635.T4S34 2000 | https://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00020779 | หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาตระกูลไท จำนวน 38 กลุ่ม รวมถึงภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์โส้ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลออสโตร – เอเชียติค ในกลุ่มภาษามอญ – เขมร สาขากะตุ กลุ่มชาติพันธุ์โส้มีชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อย่างอื่นว่า ข่าโส้ และโซ่ อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเมืองและกุสุมาลย์ จำหวัดสกลนคร อำเภอนาหว้และท่าอุเทน จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์โส้ งานฝีมือและหัตถกรรม ขนบธรรมเนียม ลักษณะที่อยู่อาศัย การทำเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจ ประเพณีและความเชื่อ |